Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text
     มิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้า (Electrical Meter) โดยทั่วไปนั้นมีมากมายหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น มิเตอร์แบบพกพา (Clamp-On Meter) และ มิเตอร์ติดหน้าตู้แบบดิจิตอล (Digital Panel Meter) ที่วัดค่าต่าง ๆ ทางไฟฟ้า ทั้ง 1เฟส (Single Phase) และ 3 เฟส (Three Phase) เช่น Volt AC/DC, Amp AC/DC, Watt, kWh-MD, Hertz, PF เป็นต้น
   

แล้วทำไมถึงต้องเลือกใช้มิเตอร์วัดค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ทางไฟฟ้าแบบ True RMS (Electrical meter True RMS)
     เนื่องจากในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีเครื่องมือวัดและควบคุมหลากหลายชนิดและอุปกรณ์บางตัวอาจเป็นตัวสร้างสัญญาณฮาร์โมนิกส์ Harmonic ให้เกิดขึ้น ซึ่งตัวที่ทำให้เกิดสัญญาณฮาร์โมนิกส์ เช่น บัลลาสอิเล็กทรอนิกส์, อินเวอร์เตอร์ (Inverter), UPS หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปคลื่นทางไฟฟ้าที่มีความผิดเพี้ยนของรูปคลื่นสัญญาณ จึงส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้
     ในการเลือกใช้มิเตอร์วัดค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ทางไฟฟ้าควรเลือกให้เหมาะสม เพื่อที่จะได้วัดค่าต่าง ๆ ทางไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำและเที่ยงตรง ซึ่งนำผลที่ได้จากการวัดนี้ไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางไฟฟ้าและตัดสินใจในการเลือกหาวิธีป้องกันเพื่อปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้ดียิ่งขึ้น
     ปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าได้มีการออกแบบให้มีการวัดค่าต่าง ๆ ทางไฟฟ้า เช่น กระแสไฟฟ้า (Current), แรงดันไฟฟ้า (Voltage), วัตต์ (Watt), กิโลวัตต์ฮาว (Kilowatt Hour) ให้มีความแม่นยำและเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น แต่โดยทั่วไปมิเตอร์จะมีลักษณะการวัดอยู่ 2 แบบ คือวัดแบบค่าเฉลี่ย (Average Value Meter) และ วัดแบบ True RMS ในการวัดทั้ง 2 แบบนี้ต่างกันอย่างไร และควรเลือกใช้มิเตอร์(Meter) แบบใดจึงจะเหมาะสมกับงาน
 
     มิเตอร์ชนิดวัดค่าเฉลี่ย (Average Value Multimeter) VS มิเตอร์ชนิด True RMS
     1. การวัดแบบ Average คือ การวัดแบบค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับงานที่มีโหลดเป็นเชิงเส้น เช่น ฮีตเตอร์หรือมอเตอร์ ที่ความถี่ 50 Hz และไม่มีสัญญาณ Harmonic เพิ่มเข้ามา หากอุปกรณ์เหล่านี้มีสัญญาณ Harmonic เพิ่มเข้ามา และทำให้รูปคลื่นผิดเพี้ยนไป หากเราใช้มิเตอร์แบบ Average วัดค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ทางไฟฟ้านั้นจะทำให้วัดได้ไม่เที่ยงตรง
 

 
     2. การวัดแบบ True RMS คือ การวัดแบบค่าเฉลี่ยกำลังสอง RMS (Root Mean Square) เหมาะสำหรับงานที่มีโหลดไม่เป็นเชิงเส้น เช่น UPS, Inverter, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น มิเตอร์แบบ True-RMS สามารถวัดพารามิเตอร์ต่าง ๆ ทางไฟฟ้าที่มีสัญญาณ Harmonic เพิ่มอยู่ในระบบได้เที่ยงตรงกว่ามิเตอร์ที่มีการวัดแบบ Average
 

             จากสมการข้างต้น ทั้งค่า RMS จะมีค่ามากกว่าค่า Average ที่แตกต่างกันเล็กน้อย ในรูปคลื่น Sine wave (ดังรูป)
 


 
     และถ้าหากกราฟไม่เป็นรูปคลื่น Sine wave ค่า RMS และค่า Average ก็จะยิ่งแตกต่างกันมากขึ้น (ดังตาราง)
 
 
     ดังนั้นผู้ใช้งานต้องพิจารณาในการเลือกใช้มิเตอร์วัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า (Electrical Meter) ให้เหมาะสมกับงานในราคาที่เหมาะสมกันด้วยนะคะ
 
เราขอแนะนำมิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้า (Electrical Meter) แบบ True RMS ราคาถูกและมีหลายแบบให้เลือกใช้งาน
 
  Digital Volt Meter KM-09N-V                      Digital Hertz Meter KM-09N-H                   Digital Amp Meter KM-09N-A
 
สินค้าที่เกี่ยวข้อง
     #ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeter), #มัลติมิเตอร์ (Multimeter), #มิเตอร์วัดค่าพลังงานทางไฟฟ้า (Multifunction Meter), #มิเตอร์ติดหน้าตู้ (Panel Meter), #มิเตอร์แบบติดราง (Din Rail Multimeter), #มิเตอร์วัด Volt AC/DC, Amp AC/DC, Watt, kWh-MD, Hertz, PF

 
 
 
 
#มัลติมิเตอร์แบบพกพา (Clamp-On Meter) AC/DC True RMS, Multifunction Meter,AC/DC True RMS Clamp Meter, Din Rail Meter, Clip Amp