Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

     มีการสอบถามเข้ามามากเกี่ยวกับการต่อวงจร แบบสตาร์-เดลต้า (Star-Delta) ว่าต่อแบบไหนดีกว่ากัน และต่อแบบไหนเหมาะสมกว่ากัน ดังนั้นเราจึงขออธิบายการต่อและยกตัวอย่างการต่อแบบสตาร์-เดลต้า (Star-Delta)
     เช่น ในกรณีที่มีฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) ขนาด 380V 3000W ต่อแบบสตาร์ (Star) การออกแบบขดลวดภายในที่ถูกออกแบบไว้ต่อขด จะทนแรงดันได้ที่ 220V แต่ถ้าหากผู้ใช้งานต้องการอยากจะเปลี่ยนมาต่อแบบเดลต้า (Delta) จะทำให้แรงดันที่ตกคร่อมของขดลวดแต่ละขด = 380V ซึ่งเกินแรงดันปกติที่รับได้ (220V) จะทำให้ฮีตเตอร์ขาดได้

การต่อแบบสตาร์ แรงดันที่ตกคร่อมขดลวดแต่ละขด = 220VAC

การต่อแบบเดลต้า  แรงดันที่ตกคร่อมขดลวดแต่ละขด = 380VAC

     ส่วน คำถาม เรื่องการต่อฮีตเตอร์ (Heater) จาก Y → △  (แบบสตาร์ เป็นเดลต้า) สามารถต่อได้หรือไม่และจะมีผลอย่างไร
     คำตอบ คือ ต่อไม่ได้ อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เนื่องจากในการออกแบบขดลวด แบบสตาร์ (Y)
แรงดันตกคร่อมที่ขดลวดฮีตเตอร์ แต่ละขด จะมีค่า = 220V และแรงดันตกคร่อมที่ขดลวดฮีตเตอร์แต่ละขด
แบบเดลต้าจะมีค่า = 380V จะทำให้กำลังวัตต์เพิ่มขึ้น 3 เท่า ซึ่งถ้านำมาต่อใช้งานจะทำให้ฮีตเตอร์ขาดได้

     และถ้าต่อฮีตเตอร์ (Heater) จาก Y → △ สามารถต่อได้หรือไม่และจะมีผลอย่างไร
     คำตอบ คือ ต่อได้ เนื่องจาก แรงดันตกคร่อมที่ขดลวดฮีตเตอร์ แบบเดลต้า △ จะมีค่า = 380V ถ้านำมาต่อแบบสตาร์ (Y) ที่มีแรงดันตกคร่อมขดลวดฮีตเตอร์ = 220V สามารถทำได้ แต่จะทำให้ฮีตเตอร์ได้รับแรงดันลดลงและกำลังวัตต์ของฮีตเตอร์ลดลง 3 เท่า ทำให้ความร้อนที่ได้ลดลงไปด้วย จากการคำนวณ ดังนี้

… เราจะมาคำนวณหาค่าความต้านทานจากขดลวดแต่ละขดกันก่อน ...

จากสูตร R = V2/ P → 380V2/ 1000W = 144.4 Ohm (ดังนั้น ค่าความต้านทานที่ขดลวดแต่ละขด
ที่ 1000W จะเท่ากับ 144.4 Ohm)

… ต่อมา จะคำนวณหาค่ากำลังวัตต์ (Watt) ที่ได้จาการต่อทั้ง 2 แบบ ...

จากสูตร  Y   P = V2/ R → 220V2/ 144.4 Ohm = 335 Watt
จากสูตร  △   P = V2/ R → 380V2/ 144.4 Ohm = 1000 Watt

     จะเห็นได้ว่า ถ้าหากเรานำฮีตเตอร์ (Heater) แบบเดลต้า (Delta) มาต่อแบบสตาร์ (Star) จะกำลังวัตต์ที่ได้ลดลง ทำให้เกิดปัญหาฮีตเตอร์ไม่ร้อน ทำอุณหภูมิไม่ได้ตามที่ต้องการ ส่งผลให้งานที่ออกมาไม่มีประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของฮีตเตอร์สั้นลง เป็นต้น

แสดงการต่อใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater)

ข้อแนะนำ : วิธีการคำนวณกระแสของฮีตเตอร์ แบบสตาร์-เดลต้า (Star-Delta)
 
     ยกตัวอย่างในการคำนวณหากระแสของ ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) 3 เฟส 380V 3000W 

แบบ Star-Delta ดังนี้



     สรุปผลที่ได้จากการคำนวณ จะเห็นได้ว่าการต่อทั้งสองแบบ กระแสที่ได้จะเท่ากันหรือฮีตเตอร์กินกระแสรวมเท่ากันนั่นเอง ทีนี้ผู้ใช้งานคงได้ข้อมูลเพื่อช่วยในการออกแบบขดลวดภายในฮีตเตอร์สำหรับการต่อใช้งานให้เหมาะสม และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของฮีตเตอร์ได้เป็นอย่างดีด้วยค่ะ

นอกจากนี้ยังมีฮีตเตอร์ (Heater) แบบต่าง ๆ ดังนี้

ฮีตเตอร์ทิวบูล่าร์/ท่อกลม (Tubular Heater)

ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater)

เซรามิคฮีตเตอร์ (Ceramic Heater)

ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater)

ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater)

ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater)

ฮีตเตอร์ไล่ความชื้น (Anti-Condensation Heater)

ฮีตเตอร์ลมร้อน (Hot Air Heater)


.....ข้อมูลเพิ่มเติมฮีตเตอร์.....