Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

     มอเตอร์ (Motor) ถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนกระบวนการต่าง ๆ ในระบบอุตสาหกรรม และมอเตอร์เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ใช้งานในเครื่องจักร เช่น สายพานลำเลียงชิ้นงาน (Conveyer ), เครน, รอก, พัดลม (Blower) และปั๊มต่าง ๆ (Pump) โดยปกติการใช้งานมอเตอร์นั้นจะมีลักษณะการใช้งานแบบเดินต่อเนื่องหรือ เดิน ๆ หยุด ๆ ตามลักษณะการใช้งานที่ไม่เหมือนกันจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการที่จะยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์และลดการสึกหรอของอุปกรณ์อื่นที่ติดตั้งร่วมด้วย
     ซึ่งโดยทั่วไปในการต่อใช้งานควบคุมมอเตอร์นั้นจะต่อตรง (Direct On Line) อาจจะทำให้มีปัญหาเรื่องการกินกระแสไฟฟ้าที่สูงในช่วงสตาร์ท หรืออาจเกิดการสึกหรอของแมคคานิคต่าง ๆ ได้ วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการที่จะลดปัญหาเหล่านี้ด้วยการต่อแบบมีอุปกรณ์ช่วยในการออกตัวสตาร์ทและหยุด (Soft Start & Soft Stop) เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างการต่อแบบ DOL (Direct On Line) กับการต่อร่วมกับ Soft Start Motor

การสตาร์ทแบบต่อตรงมอเตอร์ DOL (Direct On Line) การสตาร์ทแบบต่อร่วม Soft Start & Soft Stop


 

กราฟแสดงกระแสขณะสตาร์ท
ผลที่ได้จากการสตาร์ทแบบต่อตรงมอเตอร์ DOL(Direct On Line) ผลที่ได้จากการสตาร์ทแบบต่อร่วม Soft Start & Soft Stop
ผลทางไฟฟ้า : เนื่องจากมอเตอร์มีแรงบิดที่สูง (Torque) ในการออกสตาร์ท (Start) ทำให้กินกระแสสูงมากกว่าปกติ ออกตัวไม่นิ่มนวลเกิดการกระชากและทำให้แรงดันไฟฟ้าตก ส่งผลให้อุปกรณ์ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ในระบบทำงานไม่เสถียร
ผลทางกล : ทำให้อายุการใช้งานสิ้นส่วนของอุปกรณ์ Mechanical ที่ติดตั้งกับมอเตอร์ (Motor) สั้นลง เช่น การสึกหรอของเฟือง สายพานในไลน์ผลิตเกิดการกระตุกหรือสั่น ชิ้นงานตกหล่น ทำให้กระบวนการผลิตมีปัญหา เป็นต้น
Soft Start & Soft Stop : นอกจากจะสามารถช่วยให้มอเตอร์ออกตัวและหยุดได้อย่างนิ่มนวล ไม่เกิดการกระชากแล้ว (Soft Start & Soft Stop) ยังช่วยลดกระแสในช่วงขณะสตาร์ทได้อีกด้วย และมีการปรับทางด้านแรงบิด (Torque) ทำให้มอเตอร์ออกตัวได้ในขณะที่มีโหลด (Load) เพื่อลดการสึกหรอของแมคคานิคและลดปัญหาชิ้นงานเสียหาย เนื่องจากเกิดการกระชากของมอเตอร์ช่วงสตาร์ท (Soft Start)