Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ในปัจจุบันการใช้งานของอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดต่อวงจรทางด้าน Output ที่นำไปตัดต่อ Load ของฮีตเตอร์ (Heater) หรือ Motor ส่วนใหญ่มักจะใช้ Relay หรือ Megnetic แต่ยังมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดต่อ Load อีกอย่างหนี่งที่เราพบเห็นกันบ่อยเช่นกัน นั่นก็คือ โซลิดสเตตรีเลย์ (Solid State Relay) แล้วระหว่าง Solid State Relay กับ Relay ทั่วไปต่างกันอย่างไร และลักษณะงานแบบไหนที่ควรใช้ Solid State Relay วันนี้เราจะมาแนะนำกัน โดยให้เห็นถึงโครงสร้างภายใน (ดังแสดงในรูปที่ 1.1 และ 1.2)

     รีเลย์ (Relay) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ตัด-ต่อวงจร โดยใช้แม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งปกติถ้ามีการจ่ายไฟเข้าที่ตัวรีเลย์ (Relay) จะทำให้ขดลวดเหนี่ยวนำหน้าสัมผัสติดกัน จึงมีสถานะปิดวงจร (Closed Circuit) แต่ถ้าหากไม่มีการจ่ายไฟให้ รีเลย์ (Relay) ขดลวดเหนี่ยวนำหน้าสัมผัสไม่ติดกัน จะมีสถานะเปิดวงจร (Open Circuit)


รูป 1.1 แสดงโครงสร้างภายในของรีเลย์ (Relay)

     โซลิดสเตตรีเลย์ (Solid State Relay) หรือตัวย่อ SSR คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ ที่ไม่ใช้หน้าสัมผัสในการตัด-ต่อวงจร โดยใช้เทคโนโลยีของ เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ที่ไม่มีส่วนเคลื่อนที่ จึงไม่มีเสียงในขณะเวลาตัด-ต่อของหน้าสัมผัส (Contact)


รูป 1.2 แสดงโครงสร้างภายในของโซลิดสเตตรีเลย์ (Solid State Relay)

     รีเลย์ (Relay) และ โซลิดสเตตรีเลย์ (Solid State Relay) ก็มีความแตกต่างกัน ซึ่งในบทนี้เราจะมาเปรียบเทียบทั้งสองชนิดนี้ว่ามีข้อดี ข้อเสีย ต่างกันอย่างไร (ดังตาราง)

Relay Solid State Relay
 
        1. จำนวนครั้งในการตัดต่อน้อย เนื่องจากหน้าสัมผัสเป็นแมคคานิค                 1. มีอายุการใช้งานนาน
        2. หน้าสัมผัสของ Relay ค้าง และเสียง่าย                 2. ตัดต่อรวดเร็ว / ราคาแพง
        3. อาจเกิดการสัญญาณ (Debouche)                 3. ไม่มีปัญหาการเกิดสัญญาณ (Debouche)
        4. เสียงดังเวลาตัดต่อ                 4. ไม่มีเสียงเวลาตัดต่อ
        5. ง่ายในการตรวจเช็ค                 5. ใช้งานนาน ๆ จะเกิดความร้อนสะสม (แนะนำใช้ Heatsink ร่วม)


     ซึ่งโดยทั่วไปนิยมใช้ โซลิดสเตตรีเลย์ (Solid State Relay) ในการควบคุมการทำงาน ของ Resistive Load เช่น ฮีตเตอร์ (Heater ), หลอดไฟ หรือ Inductive Load เช่น Motor และมักจะเลือกใช้ Solid State Relay แทน Relay ทั่วไปใช้กับงานที่มีความถี่ในการตัดต่อบ่อย เพื่อลดปัญหาการสึกหรอของหน้าสัมผัส (Contact), การเกิด Arc และอายุการใช้งานของอุปกรณ์

     นอกจากนี้ยังมีชนิดของ Solid State Relay ให้เลือกหลายหลากแบบ เช่น Solid State Relay สำหรับแรงดันไฟ DC (Solid State DC) , Solid State Relay แบบเร่ง-หรี่ (Phase Angle control)Solid State Relay สำหรับใช้กับแผง PCB และมีให้เลือกทั้งแบบ 1 เฟส , 2 เฟส และ 3 เฟส ซึ่งมีรูปร่างที่แตกต่างกันของ Solid State Relay ตามลักษณะการติดตั้ง ดังรูป

Solid State Relay แบบ Slim
เหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่จำกัด

Solid State Relay แบบ Phase Angle Control
เหมาะสำหรับงานควบคุมแบบเร่ง-หรี่

Solid State Relay สำหรับแผง PCB


ข้อแนะนำ : เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ Solid State Relay ควรติดตั้งอุปกรณ์สำหรับระบายความร้อน (Heatsink) ให้กับ Solid State Relay ดังรูป


โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK