Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ฮีตเตอร์ (Heater) คือ อุปกรณ์ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานหรือของเหลว ที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น การใช้ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่เครื่องฉีดพลาสติก, ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater) เพื่อให้ความร้อนกับแผ่นแม่พิมพ์, ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) เพื่อต้มน้ำมัน, ของเหลวหรือต้มสารเคมี, ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่แม่พิมพ์ในการอุ่นของเหลว อุ่นกาว, ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) เพื่อให้ความร้อนในการอุ่นของเหลว, ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เพื่อให้ความร้อนกับอากาศในการอบแห้ง, ไล่ความชื้น, ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater) ให้ความร้อนโดยการแผ่รังสี งานอบสี, อบขนม, อบอาหาร เป็นต้น
 
     นอกจากนี้ยังมีฮีตเตอร์ (Hetaer) อีกหลายประเภท เช่น ฮีตเตอร์บอบบิ้น (Bobbin Heater), คอยล์ฮีตเตอร์ (Coil Heater), ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ (Hot runner Heater) เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเภทก็มีการนำไปใช้งานที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของลักษณะงาน
 
     ซึ่งฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละประเภทจะมีอายุในการใช้งานซึ่งหากใช้ไปนาน ๆ แล้วไม่มีการบำรุงรักษา 5 วิธีง่าย ๆ สำหรับยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater) หรือใช้งานไม่เหมาะสมกับหน้างานและใช้งานเกินกำลังวัตต์ของฮีตเตอร์ (ตามค่ากำหนด W/CM2 แต่ละประเภท) อาจทำให้ฮีตเตอร์ (Heater) ขาด หรือบางครั้งเกิดความเสียหายโดยไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ และทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหายไปแล้ว ทำให้มีผลกระทบต่อกระบวนการผลิต ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำ วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาดทำอย่างไรได้บ้าง ดังนี้
 
     1. วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด โดยใช้มิเตอร์วัดและอ่านค่าความต้านทาน (Resistor) (ดังรูป)

     ฮีตเตอร์ (Heater) ถือเป็นโหลด  R หรือ ตัวต้านทาน (Resistor) สามารถทำการวัดและอ่านค่าง่าย ๆ ได้ด้วยมัลติมิเตอร์ (Multimeter) รุ่น CENTER 110 โดยปรับ Scale ไปที่หน่วยโอห์ม (Ohm) กรณีฮีตเตอร์ขาดจะวัดค่าโอห์ม (Ohm) ไม่ขึ้น และกรณีฮีตเตอร์ใช้งานได้ปกติค่าโอห์ม (Ohm) จะขึ้น ตามสูตรการหาค่ากำลังไฟฟ้า P=I2R หรือ P=E2/R
 
     2. วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด โดยใช้ Temperature Controller รุ่น TMP-95 ที่มีฟังก์ชั่น CT Input เพื่อเช็คทำให้รู้ว่าฮีตเตอร์ (Heater) ขาดหรือไม่ โดยต่อวงจรการใช้งาน (ดังรูป)

รูปวงจรการต่อใช้งานของ Temperature Controller ฟังก์ชั่น CT Input เพื่อเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break)
 
     การใช้งานฟังก์ชั่น CT Input เพื่อเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) โดยการนำเอา CT Max. 30A (Current Transformer) มาคล้องกับสายไฟที่ต่อฮีตเตอร์ (Heater) แล้วนำ CT มาต่อเข้า Temp Controller ได้โดยตรง โดย Temp Control จะตรวจเช็คกระแสที่ไหลผ่านตัวฮีตเตอร์ (Heater) ซึ่งจะมีกระแสไหลผ่านอยู่ค่า ๆ หนึ่ง จากการกำหนดค่ากระแส (Current) ของผู้ใช้งานที่ต้องการจะตรวจเช็ค ซึ่ง CT (Current Tranformer) จะเป็นตัวคอยตรวจเช็คกระแสที่ไหลผ่านตัวฮีตเตอร์ หากฮีตเตอร์ขาดหรือไม่มีกระแสไหลผ่านในขณะที่ Output ของ Temperature Controller ทำงาน ก็จะส่งสัญญาณ Alarm แจ้งเตือนให้ทราบว่าขณะนี้ฮีตเตอร์ขาด
 
     3. วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด โดยใช้อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) ต่อร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005D (Digital Monitor For Heater Break Alarm) เพื่อแสดงค่ากระแสฮีตเตอร์ (Heater) (ดังรูป)

รูปวงจรการต่อใช้งานของอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N โดยต่อคล้องผ่าน CT ร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005D

     อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N จะทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว (ที่กระแส 50 A. ได้ถึง 4 ตัว) ในเวลาเดียวกัน โดยต่อสายคล้องผ่าน CT (Current Transformer) เพื่อทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว ถ้าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดไม่มีกระแสไหลผ่าน แสดงว่าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวนั้นขาด หรือในกรณีฮีตเตอร์ (Heater) ทำงาน คือ มีกระแสไหลผ่านตลอดเวลา อันเนื่องจาก Solid State Relay Short Circuit หรือหน้า Contact ของ Magnetic Arc. ติดกัน โดยที่ Output ของ Temperature Controller ไม่สั่งงาน จะทำให้มี Alarm เตือนความผิดปกติ เป็นต้น
 
     ซึ่งในกรณีนี้เราจะยกตัวอย่างอุปกรณ์แสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) รุ่น CM-005D ในการแสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละตัว ได้สูงสุดถึง 8 ตัว (ต่อเข้ากับ CM-005N 2 ตัว) เพื่อ Alarm แจ้งเตือนให้ผู้ปฏิบัติทราบถึงสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากกับเครื่องจักรที่มีการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) หลาย Zone เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะถ้าฮีตเตอร์ (Heater) เส้นใดเส้นหนึ่งขาดโดยที่ผู้ปฎิบัติงานไม่รู้จะทำให้ชิ้นงานเสียหายได้  ดังนั้นในวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นสำหรับการเช็คฮีตเตอร์ขาดนั้น หวังว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับผู้ใช้งานได้ไม่มากก็น้อยและเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) นั้น การเลือกใช้อุปกรณ์ต่อร่วมก็สำคัญเช่นกัน เช่น  Temperature Controller, Solid State Relay, Temperature Sensor เป็นต้น

Multimeter Heater Break Alarm Digital Monitor For Heater
Break Alarm
Finned Heater Digital Temperature Controller PID Control Function

 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK