Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     RTD/PT100/PTC/NTC เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ประเภทที่ใช้หลักการคล้าย ๆ กัน คือ ในการวัดอุณหภูมิ ค่าความต้านทาน (Resistance) จะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ แต่ RTD/PT100 และ PTC/NTC จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้
 
     • RTD/PT100 (Resistant Temperature Detector) คือ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ที่ค่าความต้านทาน (Resistance) จะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิโดยแปรผันตาม เช่น ที่อุณหภูมิ 0 ํC จะมีค่าความต้านทานที่ 100Ω และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าความต้านทาน (Resistance) จะเพิ่มขึ้น (Class B ย่านอุณหภูมิ -200 ํC ถึง 600 ํC)
     • PTC (Positive Temperature Coefficient) คือ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิประเภทเทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าความต้านทาน (Resistance) จะเพิ่มขึ้น (ค่าความต้านทานจะมีค่าเป็น กิโลโอห์ม (KΩ) เช่น 1KΩ, 2KΩ,10KΩ) โดยมีย่านการวัดอุณหภูมิ -30 ํC ถึง 130 ํC
     • NTC (Negative Temperature Coefficient) คือ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิประเภทเทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าความต้านทาน (Resistance) จะลดลง (ค่าความต้านทานจะมีค่าเป็น กิโลโอห์ม (KΩ) เช่น 2KΩ, 10KΩ) โดยมีย่านการวัดอุณหภูมิ -30 ํC ถึง 130 ํC
 
     *เราจะเห็นได้ว่า RTD/PT100 กับ PTC จะมีหลักการทำงานคล้าย ๆ กัน คือ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นความต้านทานจะเพิ่มขึ้น แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ ค่าความต้านทานที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น เช่น RTD/PT100 จะมีค่าความต้านทานที่ 0 ํC  = 100Ω และนอกจาก RTD/PT100 แล้ว RTD ยังมี PT1000 จะมีค่าความต้านทานที่ 0 ํC = 1000Ω และ PT500 จะมีค่าความต้านทานที่ 0 ํC = 500Ω ซึ่ง NTC จะมีความค่าความต้านทานมีหน่วยเป็นกิโลโอห์ม (KΩ) แต่ NTC จะมีความแตกต่างกับ RTD/PT100 และ PTC เพราะเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นความต้านทานจะน้อยลง*
 
     เมื่อเราทราบหลักการทำงานของ RTD/PT100/PT500/PT1000/PTC/NTC จะทำให้เราสามารถแยกแยะ Temperature Sensor แต่ละชนิดได้ว่า Temperature Sensor มีความแตกต่างกันอย่างไร โดยใช้มิเตอร์วัดค่าความต้านทานของ Temperature Sensor ชนิดนั้น ๆ
     
     ซึ่ง เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) RTD/PT100/PTC/NTC แต่ละประเภท มีหลักการทำงานอย่างไร ในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำกัน
 
     เริ่มต้นจาก อาร์ทีดี RTD/PT100 เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิที่ค่าความต้านทานของโลหะจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ มีลักษณะโครงสร้างและสัญลักษณ์ (ดังรูป)

รูปแสดงโครงสร้างและสัญลักษณ์ของ RTD/PT100 แบบ 3 สาย
 
     หลักการทำงานของ อาร์ทีดี RTD/PT100 วัดอุณหภูมิโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานของลวดโลหะ ซึ่งที่ 0 ํC จะมีค่าความต้านทานค่าหนึ่งตามที่กำหนด เช่น RTD/PT100 จะมีค่า 0 ํC ที่ 100Ω  โดยลวดโลหะนี้จะพันอยู่บนแกนที่เป็นฉนวนไฟฟ้า มีคุณสมบัติทนต่อความร้อน แกนสำหรับพันเส้นลวดส่วนใหญ่ทำมาจากแพลตทินัมที่เคลือบด้วยเซรามิก ขดลวดนี้ต้องทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ความสั่นสะเทือน เพราะเมื่อขดลวดได้รับความร้อนจะขยายตัวและเมื่อเย็นลงจะหดตัว โดยแกนที่ใช้พันขดลวดต้องมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวใกล้เคียงและสัมพันธ์กับการขยายตัวของเส้นลวด
     อาร์ทีดี RTD/PT100 เป็นเซ็นเซอร์อุณหภูมิที่ใช้หลักการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานของโลหะ หากอุณหภูมิมีค่าสูงขึ้นค่าความต้านทานก็จะสูงขึ้นด้วย (ดังสมการ)
     โดยค่าสัมประสิทธิ์ของการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานไฟฟ้าของโลหะแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน เช่น แพลตทินัม  (Platinum) จะมีค่าเท่ากับ 0.003926Ω (Ω/ ํC) จากย่านอุณหภูมิ 0 ํC ถึง 100 ํC, นิกเกิล (Nickel ) = 0.00672Ω (Ω/ ํC), ทองแดง (Copper) = 0.00427Ω (Ω/ ํC) เป็นต้น อาร์ทีดี RTD/PT100 ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมนิยมใช้วัสดุที่ทำมาจากแพลตทินัม (Platinum) เนื่องจากมีความเที่ยงตรง (Precision) และมีความเป็นเชิงเส้น (Linearity) สูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุชนิดอื่น
     Temperature Sensor ชนิด RTD/PT100 สามารถวัดย่านอุณหภูมิที่ติดลบได้ดี (Class B -200 ํC ถึง 600 ํC) จึงเหมาะสมกับการนำไปใช้กับงานที่ต้องการความละเอียดและแม่นยำสูง เช่น อุตสาหกรรมอาหารและยา, พลาสติก เป็นต้น โดยนำไปต่อใช้งานร่วมกับเครื่องแสดงผลอุณหภูมิ (Temperature Indicator), เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller), เครื่องบันทึกอุณหภูมิ (Recorder) หรือ PLC เป็นต้น เพื่อแสดงผลและควบคุมอุณหภูมิในระบบต่อไป
 
     ตัวอย่างลักษณะการนำไปต่อใช้งาน RTD/PT100
RTD/PT100 (TSP-10) ต่อใช้งานร่วมกับเครื่องแสดงผลอุณหภูมิ
(Temperature Indicator) Model : CM-006N
RTD/PT100 (TSP-08) ต่อใช้งานร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิ
(TOHO Temperature Controller) Model : TTM-i4N
RTD/PT100 (TSP-08) ต่อใช้งานร่วมกับเครื่องบันทึกอุณหภูมิ
(TOHO Recorder TRM-20 Series)
RTD/PT100 (TSP-08) พร้อม PT100 Transmitter 4-20mA (TM-012P)
ต่อใช้งานร่วมกับ PLC UNITRONICS Model : V1210-T20BJ

     เซ็นเซอร์หัววัดอุณหภูมิประเภทเทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) PTC และ NTC เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิที่มีย่านการวัดอุณหภูมิไม่สูงมาก มีลักษณะโครงสร้างและสัญลักษณ์ (ดังรูป)

 รูปแสดงโครงสร้างและสัญลักษณ์ของ PTC และ NTC
     
     เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิประเภท PTC/NTC หรือตัวต้านทานความร้อน (Thermal Resistor) นี้ จะทำหน้าที่ตรวจจับอุณหภูมิที่ไม่สูงมาก (ประมาณ -30 ํC ถึง 130 ํC) ทำมาจากโลหะออกไซต์ เช่น แมงกานีส, นิกเกิล, โคบอลด์, ทองแดง เป็นต้น เนื่องจากสารเหล่านี้มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งในการต่อใช้งานร่วมกับเครื่องแสดงผลอุณหภูมิ (Temperature Indicator) หรือเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) ที่เป็นยี่ห้อของทางผู้ผลิตเท่านั้น เนื่องจากค่าความต้านทานของหัววัดกับย่านอุณหภูมิทางผู้ผลิตจะเป็นผู้กำหนด (Fix) ขึ้นเอง เช่น PTC จะมีค่า 1K, 2K และ NTC จะมีค่า 2K, 10K (ใช้งานร่วมกับ Temperature Indicator Model : DEF-03N) เป็นต้น เพื่อการอ่านค่าและโชว์ค่าอุณหภูมิที่ถูกต้อง
     หลักการทำงานของThermistor ชนิด PTC/NTC  มีหลักการทำงาน คือค่าความต้านทานของตัวมันจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น (PTC) แต่การเพิ่มขึ้นของค่าความต้านทาน จะไม่เป็นเส้นตรง 
     ลักษณะงานที่ถูกนำไปใช้ในการตรวจจับอุณหภูมิของ Thermistor ชนิด PTC/NTC เช่น ในตู้แช่, เครื่องทำความเย็น, ตู้อบอาหาร, ตู้เย็น เป็นต้น ในการต่อใช้งานร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอล สำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น (Model : DEF-01, DEF-03N)
 
     ตัวอย่างลักษณะการนำไปต่อใช้งาน PTC/NTC

รูปแสดงการต่อใช้งานเซ็นเซอร์ PTC/NTC ร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอล (DEF-01) สำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น

 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK