Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     CT (Current Transformer) คือ หม้อแปลงกระแสไฟฟ้า (ซีที) และ PT (Potential Transformer) คือ หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า (พีที) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
     CT (Current Transformer) หรือ หม้อแปลงกระแสไฟฟ้า (ซีที) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการลดทอนกระแสไฟฟ้าที่มีค่าสูงให้เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีค่าต่ำเพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า เมื่อต้องการวัดกระแสไฟฟ้าที่มีค่าสูงกว่าพิสัย (Range) ของเครื่องวัดกระแสไฟฟ้านั้น เช่น แอมป์มิเตอร์ (Ammeter) ที่ใช้งานทั่วไปจะสามารถวัดกระแสไฟฟ้าได้โดยตรงที่ 5A เท่านั้น  หากในกรณีที่ต้องการวัดกระแสไฟฟ้าที่มากกว่า 5A จำเป็นจะต้องต่อผ่าน CT โดย CT (Current Transformer) จะทำหน้าที่วัดกระแสไฟฟ้าทางด้านอินพุต (Input Current) และลดทอนกระแสไฟฟ้าตามอัตราส่วน (Ratio) ของ CT แต่ละรุ่นโดยให้เหลือกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ 5A เช่น กระแสไฟฟ้าทางด้านอินพุตหรือทางด้านปฐมภูมิ (Primary) 100A เมื่อต่อผ่าน CT (ตามรูปโครงสร้าง 1.2) แล้ว กระแสไฟฟ้าทางด้านเอาต์พุตหรือทางด้านทุติยภูมิ (Secondary) จะลดลงเหลือเพียง 5A ตามอัตราส่วนของ CT แล้วนำไปต่อร่วมกับแอมป์มิเตอร์ Amp meter เพื่อวัดและแสดงค่ากระแสไฟฟ้า
 
     ในการเลือกใช้ CT ควรเลือกให้เหมาะสมกับหน้างานที่จะนำไปใช้ เนื่องจาก CT มีหลายแบบ ดังนี้ CT (Current Transformer) แบบแกนคล้องสาย (Clamp-On) เหมาะสำหรับงานที่เราต้องการพกพาไปวัดค่ากระแสไฟฟ้าตามจุดต่าง ๆ , CT (Current Transformer) แบบแกนแยก (Split Core) เหมาะสำหรับติดตั้งในตู้คอนโทรล ง่ายในการติดตั้ง ไม่จำเป็นต้องถอดสายหรือถอดบัสบาร์ เมื่อมีการติดตั้ง CT หรือเปลี่ยนตัว CT ใหม่ , CT (Current Transformer) แบบแกนคล้องสาย เหมาะสำหรับใช้ติดตั้งในตู้คอนโทรลทั่วไป มีลักษณะดังรูป 1.1
 
Q50 Series DP Series MSQ Series
CT (Current Transformer)
แบบแกนคล้องสาย (Clam-On)
CT (Current Transformer)
แบบแกนแยก (Split Core)
CT (Current Transformer)
แบบแกนคล้องสาย (Fixed core)

รูป 1.1 ลักษณะหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า CT แบบแกนคล้องสาย (Clamp-On) , CT แบบแกนแยก (Split Core) , CT แบบแกนคล้องสาย (Fixed core)

 
โครงสร้างของ CT (Current Transformer) ดังรูป 1.2

รูป 1.2 แสดงโครงสร้างของ CT (Current Transformer)
 
     จากรูป 1.2 โครงสร้างของ CT (Current Transformer) หม้อแปลงกระแสไฟฟ้า ด้านบนจะเห็นว่าขดลวดทางด้านปฐมภูมิ (Primary Winding) มีสายไฟหรือบัสบาร์ผ่านแกนของ CT เพียงเส้นเดียว หมายความว่า CT วัดกระแสไฟฟ้าจะใช้งานกับโหลดได้หนึ่งตัวต่อ 1 เฟส ในส่วนของขดลวดทางด้านทุติยภูมิ (Secondary Winding) จะมีการพันขดลวดที่แกน Hollow Core จำนวนรอบของขดลวดมากกว่า โดยแกนวงกลมของหม้อแปลงวัดกระแสไฟฟ้า (CT) ทำมาจากเหล็กซึ่งเป็นวัสดุที่มีความสูญเสียต่ำ ซึ่งมีความสำคัญต่อค่าความแม่นยำของตัว CT ในการทำงานของ CT จะอาศัยหลักการวัดกระแสไฟฟ้าทางด้านอินพุต (Input Current) และลดทอนกระแสไฟฟ้าทางด้านเอาต์พุต (Output Current) แบบสัดส่วน (Ratio) เพื่อไปต่อร่วมกับ Ampmeter
 
     PT (Potential Transformer) หรือ หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า (พีที) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ใช้ในการลดค่าแรงดันไฟฟ้าที่มีค่าสูงให้เป็นแรงดันไฟฟ้าที่มีค่าต่ำลง เป็นแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งานจริงเพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า เมื่อแรงดันไฟฟ้าที่ต้องการวัดนั้นมีค่าสูงกว่าพิสัย (Range) ของเครื่องวัด เช่น โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) เป็นต้น โดยอัตราส่วนของด้านแรงดันสูง (High Voltage) คือด้าน Primary จะมีขนาดมาตรฐานเท่ากับแรงดันของสายเมน เช่น 220V, 440V,  2200V เป็นต้น ซึ่งด้าน Primary และด้านแรงดันต่ำ (Low Voltage) คือด้าน Secondary โดยทั่วไปมักจะมีขนาดแรงดัน เช่น 110V, 220V,380V เป็นต้น โดยมีลักษณะดังรูป 1.3
 

รูป 1.3 ลักษณะหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า PT (Potential Transformer)
 
 
โครงสร้างของ PT (Potential Transformer) ดังรูป 1.4

รูป 1.4 แสดงโครงสร้างของ PT (Potential Transformer)
 
     จากรูป 1.4 โครงสร้างของ PT (Potential Transformer) หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าจะมีโครงสร้างที่เหมือนกันกับหม้อแปลงไฟฟ้าโดยทั่วไป โดยประกอบด้วยขดลวดปฐมภูมิ (Primary Winding) และขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Winding) พันอยู่รอบแกนเหล็ก หลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า (PT) คือ จะอาศัยหลักการเหนี่ยวนำของขดลวดทั้งสองที่พันอยู่บนแกนเหล็กเดียวกัน โดยจะแปลงแรงดันไฟฟ้าสูงทางด้านขดลวดปฐมภูมิ (Primary) ให้มีพิกัดแรงดันไฟฟ้าต่ำลงที่ทางด้านทุติยภูมิ (Secondary) เพื่อให้เหมาะสมกับพิสัย (Range) ของโวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานในการวัดแรงดันไฟฟ้าอีกด้วย ซึ่งหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าจะมีอัตราส่วนของหม้อแปลง (Transformer Ratio 11000/110V)
 
แสดงตัวอย่างการต่อใช้งาน CT (Current Transformer) หม้อแปลงกระแสไฟฟ้า (ซีที) 

ตัวอย่างการต่อใช้งาน CT (Current Transformer) ร่วมกับเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า Multifunction Power Meter (KM-07)

 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK