Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิในงานอุตสาหกรรมมีด้วยกันหลากหลายประเภท แต่ละประเภทก็จะเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เช่น Temperature Controller และ Thermostat  ทั้งสองนี้คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิตามที่เราต้องการ ซึ่งหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึง Temperature Controller กับ Thermostat ลักษณะการใช้งานต่างกันอย่างไร?
 
     Temperature Controller คือ เครื่องควบคุมอุณหภูมิ และ Process ต่าง ๆ แบ่งเป็นแบบ Analog Temperature Controller และ Digital Temperature Controller ที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลสัญญาณอินพุตจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple, RTD, NTC/PTC) หรือสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (4-20mA, 0-10VDC) และทำการสั่งงานเอาต์พุต (Relay, SSR, 4-20mA, 0-10VDC) เพื่อไปควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Heater, Solid State Relay, Motor, Vale, Pump Water เป็นต้น ตามเงื่อนไขที่ทำการตั้งค่าไว้ โดยกระบวนการควบคุมนั้นมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ เช่น ON-OFF Control, PID Control, Fuzzy Logic Control เป็นต้น
 
CMA-Series
Analog Temperature Controller
TMP-Series
Digital Temperature Controller
TTM-00W-Series
Digital Temperature Controller

     โดยการทำงานของ Temperature Controller ขอยกตัวอย่างดังรูปคือจะมีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple, RTD, NTC/PTC) ทำหน้าที่วัดอุณหภูมิส่งมาที่ Temperature Controller เพื่อทำการประมวลผลตามค่าที่ตั้งไว้ หากอุณหภูมิไม่ได้ตามที่ตั้งไว้ Temperature Controller จะจ่ายแรงดันไปให้ฮีตเตอร์ (Heater) เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้ได้ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ

ตัวอย่างการทำงานของ Temperature Controller ควบคุมอุณหภูมิในเตาอบให้ได้อุณหภูมิตามที่ต้องการ
 
     เทอร์โมสตัท (Thermostat) คือ อุปกรณ์สำหรับควบคุมอุณหภูมิภายในตู้ไฟฟ้า, เตาอบ, โรงเรือนเพาะชำ, ตู้ฟักไข่ เป็นต้น มีทั้งแบบ Analog Thermostat, Digital Thermostat และ Digital Hygrostat and Thermostat Controller (วัดอุณหภูมิและความชื้นในตัวเดียวกัน) โดยรับสัญญาณอินพุตจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิประเภท PTC ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์ที่เหมาะกับการควบคุมอุณหภูมิย่านต่ำ ๆ โดย Thermostat จะมีรุ่นที่มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิในตัว (Internal Input) และสามารถต่อเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิจากภายนอก (External Input) โดยรูปแบบการ Control เป็นแบบ ON-OFF (Cool/Heat) สามารถตั้งค่า Set Point อุณหภูมิโดยมีย่านเท่ากับ 0-80 ํC และความชื้นเท่ากับ 0-100% RH เพื่อควบคุมการสั่งงานของเอาต์พุต (Relay) ไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น พัดลม 2 ตัว ที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนภายในตู้คอนโทรลเพื่อสลับการทำงานของพัดลม ทำให้ยืดอายุการทำงานของพัดลมไม่ให้ทำงานหนักจนเกินไป เป็นต้น
 
CMA-001
                    Analog Thermostat                    
CMA-002
                    Digital Thermostat                    
CMA-004
Digital Hygrostat and Thermostat Controller


ตัวอย่างการติดตั้งของ Thermostat

     จากที่เราได้ทราบประเภทของ Temperature Controller กับ Thermostat ทั้ง 2 แบบนั้น เราจะมาอธิบายลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
 
     ลักษณะการใช้งานต่างกันของ Temperature Controller กับ Thermostat
 
เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) เทอร์โมสตัท (Thermostat)
• เหมาะกับการควบคุมอุณหภูมิที่ติดลบจนถึงอุณหภูมิที่สูง
• แบบ Digital Temperature Controller มี 7-Segment 2 แถว แสดงค่าอุณหภูมิที่วัดได้ และค่า Set Point ที่ตั้งไว้
• ไม่มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิในตัว (ทำให้ต้องหาซื้อเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิเพิ่ม)
• เซ็นเซอร์ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นระหว่างหัววัดอุณหภูมิหรือสัญญาณที่เป็น 4-20 mA
• มีรูปแบบการ Control ที่หลากหลาย เช่น ON-OFF Control, PID Control, Fuzzy Logic Control
• การตั้งค่า Set Point ซับซ้อน เนื่องจากเหมาะกับงานที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิที่มีความแม่นยำและละเอียดสูง
• Output มีให้เลือกแบบ Relay, SSR, 4-20mA, 0-10VDC
• การติดตั้งแบบ Panel
• เหมาะกับการควบคุมอุณหภูมิที่ย่านต่ำ 0-80%
• แบบ Digital Thermostat มี 7-Segment 1 แถว สำหรับแสดงค่าอุณหภูมิที่วัดได้
• มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิในตัว และสามารถต่อเซ็นเซอร์จากภายนอกได้
• มีรุ่นที่วัดอุณหภูมิและความชื้นในตัวเดียวกัน
• รูปแบบการ Control แบบ ON-OFF (Heat/Cool)
• การตั้งค่า Set Point ไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย
• Output แบบ Relay
• การติดตั้งแบบ Din Rial


 

     ตัวอย่าง Application การใช้งานกลุ่มเครื่องควบคุมอุณหภูมิในงานอุตสาหกรรม
 
อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ตู้ Server ตู้ไฟฟ้า, ตู้สวิทช์บอร์ด

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK