Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ฮีตเตอร์ (Heater) คือ อุปกรณ์ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานหรือของเหลว เช่น น้ำ, น้ำมัน, กาว, สารเคมี เป็นต้น โดยมีการออกแบบตามความเหมาะสม เพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การใช้ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่เครื่องฉีดพลาสติก, ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater) เพื่อให้ความร้อนกับแผ่นแม่พิมพ์, ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) เพื่อต้มน้ำมัน-ของเหลวหรือต้มสารเคมี, ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่แม่พิมพ์ ในการอุ่นของเหลว-อุ่นกาว, ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) เพื่อให้ความร้อนในการอุ่นของเหลว, ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เพื่อให้ความร้อนกับอากาศในการอบแห้ง-ไล่ความชื้น, ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater) ให้ความร้อนโดยการแผ่รังสี งานอบสี, อบขนม, อบอาหาร เป็นต้น
 
     ฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละประเภทดังกล่าวที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น หากมีการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานและมีการบำรุงรักษาที่ถูกวิธีจะทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น โดยเราได้มีการแนะนำไว้ในหัวข้อ 5 วิธีง่าย ๆ สำหรับยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater) แต่บ่อยครั้งที่เรามักจะพบปัญหาอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ที่สั้นผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุนั้น ปัญหานี้อาจเกิดขึ้นได้จากทางผู้ผลิตเองหรือผู้ใช้งานที่ใช้งานไม่เหมาะสมกับหน้างาน เช่น การใช้งานที่เกินกำลังวัตต์ของฮีตเตอร์ (ตามค่ากำหนด W/CM2 แต่ละประเภท) ทำให้ฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ก็เป็นได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินค้าหรือ Line การผลิต และเสียเวลาในการปฏิบัติงาน ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำอุปกรณ์ตรวจวัดค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์เพื่อแจ้งเตือนความผิดปกติของฮีตเตอร์ ในหัวข้อ "อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm) ดีอย่างไร?"
 
เครื่องเช็คฮีตเตอร์ขาด (CM-005)
(Heater Break Alarm)
เครื่องแสดงผลค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (CM-005D)
(Digital Monitor For Heater Break Alarm)
อุปกรณ์สำหรับเช็คฮีตเตอร์ขาด (CM-005N)
(Heater Break Alarm)


     อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm) แน่นอนว่า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาดโดยเฉพาะ เพื่อแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงความผิดปกติของฮีตเตอร์ (Heater) ก่อนที่จะทำให้สินค้า หรือ Line การผลิตเกิดความเสียหายเกิดขึ้น โดยมีข้อดี ดังนี้

     ข้อดีของการใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm)
        1. ลดความเสียหายของสินค้าหรือชิ้นงาน อันเนื่องมาจากฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) 
        2. ง่ายต่อการซ่อมบำรุงรักษา เนื่องจากทราบตำแหน่งฮีตเตอร์ (Heater) ที่เสียหายชัดเจน
        3. ป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อฮีตเตอร์ (Heater) ตัวอื่น ๆ ในเครื่องเดียวกัน ทำงานหนักชดเชยแทนตัวที่เสียหาย
        4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงาน
 
     ยกตัวอย่างวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N  ต่อร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005D (Digital Monitor For Heater Break Alarm) เพื่อแสดงค่ากระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ดังรูป

รูปแสดงตัวอย่างวงจรการต่อใช้งานของอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N
โดยต่อคล้องผ่าน CT ร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005D

     อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N จะทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว (ที่กระแส 50 A. ได้ถึง 4 ตัว) ในเวลาเดียวกัน โดยต่อสายคล้องผ่าน CT (Current Transformer) เพื่อทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว ถ้าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดไม่มีกระแสไหลผ่าน แสดงว่าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวนั้นขาด หรือในกรณีฮีตเตอร์ (Heater) ทำงาน คือ มีกระแสไหลผ่านตลอดเวลาอันเนื่องจาก Solid State Relay Short Circuit หรือหน้า Contact ของ Magnetic Arc. ติดกัน โดยที่ Output ของ Temperature Controller ไม่สั่งงาน จะทำให้มี Alarm เตือนความผิดปกติ เป็นต้น
 
     ซึ่งในกรณีนี้เราจะยกตัวอย่างอุปกรณ์แสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) รุ่น CM-005D ในการแสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละตัว ได้สูงสุดถึง 8 ตัว (ต่อเข้ากับ CM-005N 2 ตัว) เพื่อ Alarm แจ้งเตือนให้ผู้ปฏิบัติทราบถึงสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากกับเครื่องจักรที่มีการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) หลาย Zone เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะถ้าฮีตเตอร์ (Heater) เส้นใดเส้นหนึ่งขาดโดยที่ผู้ปฎิบัติงานไม่รู้จะทำให้ชิ้นงานเสียหายได้ ดังนั้นในวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นสำหรับการเช็คฮีตเตอร์ขาดนั้น หวังว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับผู้ใช้งานได้ไม่มากก็น้อย และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) นั้น การเลือกใช้อุปกรณ์ต่อร่วมก็สำคัญเช่นกัน เช่น Temperature Controller, Solid State Relay, Temperature Sensor เป็นต้น 
 
     ตัวอย่างการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับเช็คฮีตเตอร์ขาด (CM-005N) (Heater Break Alarm)

รูปแสดงตัวอย่างการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N โดยยึดกับราง Din Rail
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานฮีตเตอร์ (Heater)
 
เครื่องฉีดพลาสติก เครื่องอบอาหาร ห้องอบสี

Cartridge Heater Tubular Heater Digital Temperature Controller Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Digital Temperature Controller

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK