Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีกระบวนการผลิตสินค้า จะต้องมีการควบคุมอุณหภูมิของวัตถุดิบหรือชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาหารและยา, อุตสาหกรรมพลาสติก บรรจุภัณฑ์ ตลอดจนถึงอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงถลุงเหล็ก เป็นต้น เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งวิธีการควบคุมอุณหภูมิก็มีทั้งแบบง่ายโดยการใช้เทอร์โมสตัท (Thermostat) ในการตัดต่อฮีตเตอร์ (Heater) หรือเครื่องทําความเย็น (Cooling) ซึ่งจะได้ผลการควบคุมที่ค่อนข้างหยาบ แต่ในปัจจุบันการควบคุมอุณหภูมิได้มีการพัฒนาโดยการนำเอา Function ในการควบคุมรูปแบบต่าง ๆ เช่น การควบคุมแบบ Fuzzy, การควบคุมแบบ ON-OFF, การควบคุมแบบ PID, การควบคุมแบบ Self-Tuning, การควบคุมแบบ Auto-Tuning เป็นต้น เพื่อให้ได้ผลการควบคุมอุณหภูมิที่มีความละเอียดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในการควบคุมอุณหภูมิสำหรับงานบางประเภทที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิให้ได้ภายในเวลาที่ต้องการ เช่น การอบขนม, การอบสีรถยนต์, การอบหรือหลอมชิ้นงานเซรามิค เป็นต้น ซึ่งเป็นงานประเภทที่ไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบ่อย ๆ เนื่องจากจะทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นในวันนี้เราจะมาแนะนำการควบคุมอุณหภูมิในรูปแบบของ PID Control โดยกล่าวถึง Function การควบคุมอุณหภูมิแบบ Ramp Time Function ที่เป็น Function ของเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) ว่ามีความสำคัญอย่างไร? ในหัวข้อ "การควบคุมอุณหภูมิแบบ Ramp Time Function คืออะไร?"
 
     การควบคุมอุณหภูมิแบบ Ramp Time Function หรือการควบคุมอุณหภูมิแบบความชัน (อุณหภูมิค่อย ๆ เพิ่มขึ้น) คือ การกำหนดอัตราการเพิ่มอุณหภูมิต่อเวลา ( ํC/นาที หรือ  ํC/ชั่วโมง) หรือการตั้งค่าเพื่อเลี้ยงอุณหภูมิให้คงที่ไม่ให้เปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ นั่นเอง เช่น การตั้งค่าควบคุมความชัน (Ramp) ให้อุณหภูมิให้อุณภูมิค่อย ๆ เพิ่มขึ้น (Soft Start) ได้เป็น  ํC/นาที จนถึงค่าที่เราต้องการ แล้วจึงควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ไม่ให้เกิด Over Shoot เพื่อป้องกันการเพิ่มหรือลดอุณหภูมิที่เร็วเกินไป ซึ่งอาจเกิดผลเสียต่อชิ้นงานบางประเภทได้
 
     ตัวอย่างกราฟแสดงการควบคุมแบบ Ramp Time (ค่าอุณหภูมิให้เปลี่ยนแปลงเป็น  ํC/นาที)
     จากรูปตัวอย่างกราฟ จะเห็นได้ว่าการควบคุมแบบปกติ Temperature Controller จะทำอุณหภูมิให้ไปถึงค่าที่ต้องการให้เร็วที่สุด แต่ถ้าเป็นการควบคุมแบบ Ramp Time จะช่วยรักษาอุณหภูมิให้เป็นไปตามเวลาที่กำหนด
 
     ตัวอย่างการต่อใช้งานของ Temperature Controller แบบ Step โดยใช้  Function Ramp Time

รูปแสดงการต่อใช้งาน Temperature Controller แบบ Step ร่วมกับ Solid Stat Relay เพื่อควบคุมการทำงานของฮีตเตอร์ (Heater) ในการอบชิ้นงาน
 
     ข้อดีของการควบคุมอุณหภูมิแบบ Ramp Time Function หรือการควบคุมอุณหภูมิแบบความชัน
        1. ช่วยให้ควบคุมอุณหภูมิให้เป็นไปตามความต้องการในเวลาที่กำหนด
        2. ป้องกันการ Over Shoot
        3. ป้องกันการเพิ่มหรือลดอุณหภูมิที่เร็วเกินไป ซึ่งอาจเกิดผลเสียต่อชิ้นงานบางประเภทได้
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
        โดยการควบคุมอุณหภูมิแบบ Ramp Time Function หรือการควบคุมอุณหภูมิแบบความชันนี้เหมาะสมกับการควบคุมอุณหภูมิประเภทงานอบ, เซรามิก, แก้ว, อาหาร เป็นต้น (ดังรูป)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK