Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     เนื่องจากในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานอุปกรณ์เครื่องมือวัดและควบคุมต่าง ๆ ทางไฟฟ้า เช่น ที่มีการรับ-ส่ง และเชื่อมต่อสัญญาณในรูปแบบของสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) 4-20mA, 0-10Vdc ที่มาจากอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ เช่น Pressure Transmitter, Humidity Transmitter, Level Transmitter เป็นต้น และสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) ที่มาจากของอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ เช่น Photoelectric Sensor, Proximity Switch, Encoder, Contact, NPN, PNP เป็นต้น ซึ่งสัญญาณดังกล่าวเป็นสัญญาณการเชื่อมต่อในรูปแบบทางไฟฟ้า
 
     ซึ่งนอกจากนี้โรงงานอุตสาหกรรมได้มีการนำเอาสัญญาณในรูปแบบของ RS485 (Modbus RTU) มาใช้กันอย่างแพร่หลาย ในการเชื่อมต่อสื่อสาร โดยใช้สายเพียง 2 เส้น เท่านั้น ซึ่งก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับสัญญาณ RS485 กันก่อนว่าคืออะไร? และทำไมต้องใช้การเชื่อมต่อสัญญาณแบบ RS485
     
     RS485 (ย่อมาจาก Recommended Standard no. 485) คือ มาตรฐานการสื่อสารข้อมูลดิจิตอลแบบอนุกรม (Serial Communication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานในการสื่อสารเพื่อรับ-ส่งข้อมูล ระหว่างอุปกรณ์เครื่องมือวัดกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) โดยสามารถส่งสัญญาณได้ไกล (สูงสุดถึง 1.2 km.)
 
     หลักการทำงานของ RS485  RS485 เป็นมาตรฐานที่รับ-ส่งข้อมูลในแบบที่เรียกว่า Half Duplex คือ สามารถรับและส่งข้อมูลได้ทีละอย่างเท่านั้น ไม่สามารถทำทั้งสองอย่างได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งในการรับ-ส่งข้อมูลดิจิตอลแบบ RS485 นั้น จะส่งข้อมูลโดยใช้สายไฟเพียงแค่ 2 เส้น คือ A กับ B เป็นตัวบอกค่ารหัสดิจิตอล (Digital Code) โดยจะใช้ความแตกต่างของแรงดันไฟฟ้าระหว่างขั้ว A และ B เป็นตัวบอก ดังนี้
          • เมื่อ Va - Vb ได้แรงดันไฟฟ้าน้อยกว่า -200 mV คือสัญญาณดิจิตอลเป็น 1
          • เมื่อ Va - Vb ได้แรงดันไฟฟ้ามากกว่า +200 mV คือสัญญาณดิจิตอลเป็น 0

รูปแสดงการเชื่อมต่อ RS485 ระหว่างอุปกรณ์เครื่องมือวัด โดยใช้สาย 2 เส้น
 
     โดยหลักการทำงานของ RS485 แบบ Network สามารถเชื่อมต่อการรับ-ส่งข้อมูลแบบเครือข่าย (Network) โดยมีอุปกรณ์ในเครือข่ายได้สูงสุดถึง 32 ตัว (ดังรูป)

รูปที่ 1 ตัวอย่างการต่อใช้งาน Power Meter รุ่น KM-07-A-2 (จำนวน 32 ตัว)
สำหรับสื่อสารในการรับ-ส่งข้อมูลบนสัญญาณ RS485 แบบสาย 2 เส้น
 
     จากรูปที่ 1 เป็นการต่อสัญญาณ RS485 โดยใช้สายเพียง 2 เส้น ร่วมกับ Power Meter รุ่น KM-07-A-2 (สูงสุดจำนวน 32 ตัว) ผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (RS485 Converter) เพื่อเชื่อมต่อเข้าคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบการเชื่อมต่อสัญญาณ RS485 มาเป็นแบบไร้สาย (Wireless) โดยต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Converter) ทำให้ไม่ต้องยุ่งยากในการเดินสายที่มีระยะทางไกล ๆ ประหยัดเวลา รวมไปถึงงบประมาณค่าใช้จ่ายในการซื้อสายไฟหรือสายสัญญาณต่าง ๆ และยังสามารถส่งข้อมูลพร้อม ๆ กันได้ในหลายจุด โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำกันในหัวข้อ “การต่อสัญญาณ RS485 แบบไร้สาย (Wireless) ทำอย่างไร?” (ดังรูป)

รูปที่ 2 ตัวอย่างการต่อใช้งาน Power Meter รุ่น KM-23 สำหรับสื่อสารในการรับ-ส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณ RM-012 WiFi
บนสัญญาณ RS-485 แบบไร้สาย (Wireless)
 
     จากรูปที่ 2 การต่อสัญญาณ RS485 แบบไร้สาย (Wireless) ลักษณะการต่อจะคล้ายกันกับการต่อ RS485 แบบ 2 สาย เพียงแต่ไม่มีการเดินสายหรือเป็นการต่อแบบไร้สาย (Wireless) นั่นเอง โดยในการเชื่อมต่อสัญญาณต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณจาก TCP/IP เป็น RS-485/RS-232 ผ่านทาง WiFi หรือ RS-485/RS-232 เป็น TCP/IP ผ่านทาง WiFi สำหรับเป็นตัวกลางเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่รองรับ RS-485/RS-232 เช่น CNC, PLC, Weighting Scale, Scanner เป็นต้น ให้สามารถสื่อสารบนเครือข่าย TCP/IP ผ่านทาง WiFi ได้โดยตรง และยังสามารถสื่อสารผ่าน Protocol MODBUS จาก MODBUS TCP ไปยัง MODBUS RTU ได้อีกด้วย ในการใช้งานผ่าน WiFi สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเดินสายเคเบิลและการตั้งค่าอุปกรณ์สามารถตั้งได้ผ่านหน้า Web Browser ทั่วไป ๆ เช่น Internet Explorer หรือผ่านทางโทรศัพท์ได้เช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องลงโปรแกรมแต่อย่างใด

รูปที่ 3 ตัวอย่างการต่อใช้งานอุปกรณ์แสดงผลสำหรับสื่อสารในการรับ-ส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณ RM-012-L
บนเครือข่ายแบบไร้สาย LoRaWan (Wireless LoRaWan)
 
     จากรูปที่ 3 เป็นการต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Power Meter, Modbus TCP/IP I/O Module, Digital Indicator ร่วมกับอุปกรณ์แปลงสัญญาณจาก RS485 เป็น LoRaWAN แบบไร้สาย (Wireless) รุ่น RM-012-L สำหรับสื่อสารในการรับ-ส่งข้อมูลแบบไร้สายทุก ๆ 36 วินาที ไปยัง LoRaWAN Gateway ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์แสดงผลผ่าน Dashboard หรือส่งข้อมูลแบบไร้สายไปยัง Node Devices หรือ Slave Devices อื่นในระบบ LoRaWAN เหมาะกับงานที่ต้องการเก็บข้อมูลทุก ๆ ช่วงเวลา เป็น Smart Industries และ Smart Building สะดวกต่อการใช้งาน Online ระบบตลอดเวลา ลดแรงงานและให้ความถูกต้องในการจดบันทึก ประหยัดค่าใช้จ่าย
 
     อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้การเชื่อมต่อของสัญญาณมีความเสถียรภาพหรือไม่นั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
          • ลักษณะพื้นที่การติดตั้ง
          • พื้นที่ของการกระจายสัญญาณหรือสัญญาณรบกวน
          • ส่วนประกอบของอุปกรณ์ IT ที่ใช้ ( Specification), ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล
          • สภาพอากาศแวดล้อม, ระยะทางระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อ เป็นต้น

 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK