Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) คือ อุปกรณ์แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ AC (Alternating Current) ที่มีแรงดันสูง (High Voltage) แปลงเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง DC (Direct Current) ที่มีแรงดันต่ำ (LowVoltage) เช่น จากแรงดันไฟฟ้าทางด้านอินพุต (Input) 220Vac แปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าทางด้านเอาต์พุต (Output) ที่มีแรงดันต่ำ 5Vdc, 12Vdc, 24Vdc เป็นต้น
 
     สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) จะทำงานในลักษณะเดียวกันกับหม้อแปลงแรงดัน (Transformer) ทั่วไป แต่สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าและมีขนาดเล็กกว่า โดยหลักการทั่วไปของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) จะประกอบด้วยดังนี้
        1. เรคติไฟเออร์ (Rectifier) ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ AC (Alternating Current) ให้เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง DC (Direct Current)
        2. คอนเวอร์เตอร์ (Converter) ทำหน้าที่แปลงความถี่แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (Frequency Converter DC Voltage) ให้เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่ความถี่สูง (High Frequency AC Voltage) และแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ให้เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) โดยมีความต้านทานทางด้านเอาต์พุตของแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงให้ได้ตามความต้องการอีกครั้ง (ดังรูป)

รูปแสดงส่วนประกอบภายในโครงสร้างของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply)
 
     ปัจจุบันได้มีการนำเอาสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) มาใช้สำหรับแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่มีแรงดันสูง แปลงเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่มีแรงดันต่ำ กันอย่างแพร่หลายในภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม, องค์กร, สำนักงาน ฯลฯ เนื่องจากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์บางอย่างจำเป็นต้องใช้แรงดันไฟฟ้าต่ำแบบกระแสตรง (DC) เช่น อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องใช้ในสำนักงาน, คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม, อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ เป็นต้น เพื่อให้สามารถใช้งานกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นได้ และในการเลือกใช้งานสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ให้เหมาะสมนั้น ควรมีหลักในการเลือกอย่างไร โดยในวันนี้เราจะมาแนะกันในหัวข้อ “สิ่งที่ควรรู้ก่อนเลือกซื้อสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply)” ว่าควรพิจารณาอะไรบ้าง ดังนี้
 
     1. ก่อนที่จะเลือกซื้อต้องทราบว่าในระบบต้องใช้กระแสไฟฟ้าและแรงดันอินพุตเท่าไร เช่น โหลดกินไฟ 24VDC 100W มีขั้นตอนการคำนวณดังนี้
          วิธีการคำนวน คือ I = P/V = 100W/24V = 4.167A ดังนั้น เราควรเลือกสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) มากกว่า 4.167A ขึ้นไป เช่น รุ่น PM-024S-5(5A) เป็นต้น
               * I แทนด้วยค่ากระแส (Current), P แทนด้วยค่ากำลังวัตต์ (Watt), V แทนด้วยค่าแรงดัน (Voltage) *
 
     2. เลือกให้เหมาะสมกับพื้นที่ในการติดตั้ง (Installation) โดยสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) มีรูปแบบลักษณะการติดตั้งดังนี้
          • แบบ Front Mounting : กรณีมีพื้นที่เยอะและสามารถเจาะติดกับตู้คอนโทรลได้
          • แบบยึดราง (Din-Rail) : ถูกออกแบบมาใช้กับตู้คอนโทรลในงานอุตสาหกรรมมาโดยเฉพาะ ซึ่งมีขนาดเล็กแต่ประสิทธิภาพสูงและมีระบบการป้องกันที่ดี
 
     3. การพิจารณาเลือกซื้อสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ที่มีระบบการป้องกัน (Protection) ต่าง ๆ เช่น ระบบ  Short Circuit, Over Load, Over Voltage, Over Current หรือ Over Temperature เป็นต้น
 
     4. ควรเลือกสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ที่มีโครงสร้างในการระบายความร้อนได้ดี เนื่องจากความร้อนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) มีอายุการใช้งานที่สั้นลง
 
     จากข้อมูลหลัก ๆ ที่ทางเราได้นำเสนอข้างต้นนั้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถพิจารณาในการเลือกซื้อสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานสำหรับโหลดในระบบได้
 
     ตัวอย่างสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ที่พบเห็นได้ทั่วไปในภาคอุตสาหกรรม
 
Switching Power Supply
รุ่น PM-024S-5 : Rate Current 5A
Switching Power Supply
รุ่น PM-024S-2.5 : Rate Current 2.5A
Switching Power Supply
รุ่น PM-024S-1.2 : Rate Current 1.2A


     นอกจากนี้ สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ยังถูกนำมาต่อใช้งานในภาคอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแหล่งจ่ายแยก (Sink) หรือ Supply แยก ร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ ดังตัวอย่าง เช่น การต่อสัญญาณ 4-20mA (Pressure Transmitter) แบบ 2 สาย (4-20mA 2-Wire), การต่อสัญญาณ 4-20mA (Humidity Transmitter) แบบ 3 สาย (4-20mA 3-Wire) หรือการต่อสัญญาณ 4-20mA (Non-Contact Thermometer) แบบ 4 สาย (4-20mA 4-Wire) เป็นต้น โดยการต่อสัญญาณอนาล็อก 4-20mA แบบ 2 สาย, แบบ 3 สาย และแบบ 4 สายนี้ ขึ้นอยู่กับสัญญาณเอาต์พุต (Signal Output) ของอุปกรณ์เครื่องมือวัดหรือเซ็นเซอร์ (Sensor) ที่นำมาใช้งาน

     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply)


โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK