Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     Flow (การไหล) หรือ ของไหล (Fluid) คือ สสารที่สามารถเปลี่ยนรูปและเคลื่อนที่ได้โดยอาศัยแรงของภาชนะเหล่านั้นในการบังคับรูปทรงของไหล ในรูปแบบของของเหลว (Liquid) เช่น น้ำ, ไอ (Vapor), แก๊ส (Gas) เป็นต้น ตามรูปทรงของภาชนะต่าง ๆ ที่บรรจุ ซึ่งของไหล (Fluid) ดังกล่าวถูกนำมาควบคุมในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยการใช้อุปกรณ์ เช่น โฟลว์สวิทช์ (Flow Switch) หรือ โฟลว์มิเตอร์ (Flow Meter) เป็นต้น มาใช้ในการวัดปริมาตร ปริมาณหรืออัตราการเคลื่อนที่ของของไหล (Fluid) ผ่านภาชนะ เช่น ท่อหรือราง เป็นต้น เพื่อบังคับควบคุมทิศทางการไหลให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการ (Flow Direction) โดยโฟลว์สวิทช์ (Flow Switch) และโฟลว์มิเตอร์ (Flow Meter) มีความแตกต่างกันอย่างไรนั้น ในวันนี้เราจะมาแนะนำกันในหัวข้อ Flow Switch แตกต่างจาก Flow Meter อย่างไร?
 
     โฟลว์สวิทช์ (Flow Switch) เป็นอุปกรณ์ชนิดที่เป็นสวิทช์ (ON-OFF) ที่ติดตั้งไว้กับท่อ เป็น Flow สวิทช์แบบใบพาย (รุ่น WS-01) เพื่อตรวจจับการไหลของน้ำหรือของไหลในท่อ เมื่อมีของไหลผ่านจะทำให้หน้าสัมผัส (Relay Contact) ของสวิทช์ทำงาน โดยหน้าสัมผัสมีทั้งแบบปกติปิด (NC) และแบบปกติเปิด (NO) ต่อใช้งานในการควบคุมการไหลเพื่อคุมปั๊ม เช่น ใช้สำหรับตรวจจับการไหลของน้ำในการป้องกันปั๊มน้ำไม่ให้เดินตัวเปล่า เนื่องจากจะทำใหปั๊มน้ำเกิดความเสียหาย (Run Dry) ดังรูป 1.1

รูป 1.1 ลักษณะการติดตั้ง Flow Switch โดยการยึดเกลียว เพื่อตรวจจับอัตราการไหลของน้ำในท่อ รุ่น WS-01 (แบบใบพาย 3 ระดับ)
 
     ข้อแนะนำ : การติดตั้งตัว Flow Switch แบบใบพาย ควรเว้นระยะห่างจากข้องอ, วาล์วหรืออุปกรณ์อื่น ๆ อย่างน้อย 5 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ จึงจะสามารถทำงานได้ดีที่สุด
 
     โฟลว์มิเตอร์ (Flow Meter) เป็นส่วนหนึ่งของการวัดการไหล (Flow Measurement) ซึ่ง Flow Meter ทำหน้าที่ในการวัดปริมาตร, ปริมาณหรืออัตราการเคลื่อนที่ของไหล (Fluid) ผ่านภาชนะ เช่น ท่อหรือราง เป็นต้น โดยสามารถหาค่าพื้นที่หน้าตัด ปริมาตร เทียบกับว่าเวลาที่ของไหลนั้นไหลผ่านมาได้ ซึ่งโดยปกติจะไม่วัดค่าได้แบบตรง ๆ แต่จะอาศัยการวัดค่าความเร็ว (Speed)  ของการเคลื่อนที่จากของไหล (Fluid) ที่เกิดจากค่าความดัน จาก 2 จุด จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการไหลจากของไหล โดยหากความดันฝั่งใดมีความดันที่มากกว่าก็จะดันให้ของไหลนั้นไหลไปยังฝั่งที่มีค่าความดันต่ำกว่า และนำค่าความเร็วมาคูณกับพื้นที่หน้าตัด ก็จะได้เป็นค่าอัตราการไหล (Flow Rate) ออกมา และโฟลว์มิเตอร์ (Flow Meter) ยังมีชนิดที่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับการไหล (Flow Sensor) หรือเซ็นเซอร์ส่งสัญญาณการไหล (Flow Transmitter) ที่สามารถแสดงค่าได้อีกด้วย ดังรูป 1.2

รูป 1.2 ชนิดของ Flow Meter ที่มีหน้าจอแสดงผลของกการวัดปริมาตร, ปริมาณหรืออัตราการเคลื่อนที่ของไหล (Fluid) เป็นต้น
 
     สรุปความแตกต่างระหว่าง Flow Switch กับ Flow Meter
 
Flow Switch Flow Meter
• ไม่มีหน้าจอแสดงผลอัตราการไหล
• เอาท์พุทแบบ Relay Output
• ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้
• มีความแม่นยำในการวัดน้อยกว่า Flow Meter
• มีหน้าจอแสดงผลอัตราการไหลแบบเข็มและแบบดิจิตอล
• มีเอาท์พุทแบบ 4-20mA, Pulse Output
• สามารถบันทึกข้อมูลได้
• มีความแม่นยำในการวัดมากกว่า Flow Switch

     จากที่ได้ทราบข้อแตกต่างระหว่าง Flow Switch กับ Flow Meter กันไปแล้วนั้น จากข้อมูลดังกล่าวแล้ว โดยธรรมชาติของของไหล (Fluid) ยังมีตัวแปรหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ทำให้ประสิทธิภาพในการวัดของอุปกรณ์ Flow Switch, Flow Meter, Flow Sensor, Flow Transmitter มีค่าความคลาดเคลื่อนในการวัด ดังนี้
 
     ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่สามารถส่งผลกระทบกับการวัดอัตราการไหล ของ Flow Switch และ Flow Meter, Flow Sensor, Flow Transmitter ดังนี้
        • อุณหภูมิ (Temperature) ผลจากการเปลียนแปลงอุณหภูมิของของไหล มีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหล ซึ่งจำเป็นต้องมีการวัดค่าของอุณหภูมิ เพื่อนำมาเป็นค่าชดเชยในการวัด
        • ความดัน (Pressure) จะเป็นตัวอ้างอิงในการวัดค่าการวัดอัตราการไหลของปริมาตร ซึ่งจะนิยมระบุไว้ในกรณีที่การวัดนั้นไม่ได้อยู่ภายใต้ความดันบรรยากาศ
        • ความหนืด (Viscosity) หรือ ค่าแรงต้านการไหลของของไหล ซึ่งเป็นสมบัติเฉพาะตัวของของไหลต่าง ๆ โดยถ้าค่าความหนืดมีค่าสูงจะต้องใช้ค่าความต่างของแรงดันมากเพื่อให้ของไหลนั้นเคลื่อนที่ โดยค่าความหนืดสามารถหาได้จากค่าแรงเค้นเฉือนต่ออัตราเฉือน
        • ความหนาแน่น (Density) อัตราส่วนระหว่างปริมาณของมวลสารต่อหน่วยปริมาตร ซึ่งเป็นสมบัติทางกายภาพของวัสดุ
        • ความอัดตัวได้ (Compressibility) เป็นค่าที่บ่งบอกถึงปริมาตรต่อความดัน โดยความดันจะมีผลต่อปริมาตรเป็นอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องนำค่าความดันมาคิดด้วย
        • แรงตึงผิว (Surface Tension) คือค่าแรงต้านที่ผิวหน้าของของเหลว ซึ่งเป็นแรงที่ใช้ยึดเกาะติดระหว่างพื้นผิวของโมเลกุล

 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK