Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ปัจจุบันมีการใช้งานอุปกรณ์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าในการวัดค่าต่าง ๆ ในงานอุตสาหกรรม เช่น การวัดค่าแรงดัน (Pressure), อุณหภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity), ค่าพลังงานทางไฟฟ้า (Electrical Energy) เป็นต้น ภายในกระบวนการ โดยมีเครื่องควบคุมที่รับสัญญาณอินพุตแบบอนาล็อก (4-20mA/0-10VDC) จากอุปกรณ์เครื่องมือวัดเหล่านี้ และมีหน้าคอนแทคเอาต์พุตสำหรับตัด-ต่อ (Relay Output) ของอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ ในการควบคุมจะสามารถควบคุมอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ ได้เพียงตัวต่อตัวเท่านั้น ซึ่งหากในระบบมีอุปกรณ์เครื่องมือวัดหลาย ๆ ตัว จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติสำหรับควบคุมอุปกรณ์เครื่องมือวัดหรือควบคุม Robot ตลอดจนควบคุมการทำงานของเครื่องจักร (Auto Machine) เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง Solution ในระบบ ซึ่งอุปกรณ์ที่ว่านี้ก็คือ PLC (พีแอลซี) ย่อมาจาก Programmable Logic Control และ HMI ย่อมาจาก (Human Machine Interface) ซึ่งเราได้มีการนำเสนอข้อมูลกันไปแล้วในหัวข้อ PLC + HMI คืออะไร?
 
     ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบของ PLC (พีแอลซี) ที่มี HMI อยู่ภายในตัวเดียว เพื่อง่ายต่อการออกแบบทำให้เป็น PLC+HMI (Programmable Logic Control + Human Machine Interface) รวมอยู่ในตัวเดียวกัน โดยที่ PLC+HMI เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมระบบการทำงานของเครื่องจักรต่าง ๆ สามารถใช้แทนการควบคุมแบบวงจรรีเลย์ (Relay Circuit) ที่ใช้งานยุ่งยากในอดีต เนื่องจาก PLC+HMI สามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ Input และ Output ได้โดยตรง โดยที่เราสามารถเขียนโปรแกรมคำสั่งป้อนเข้าไปในอุปกรณ์ PLC+HMI โดยการใช้โปรแกรม Ladder ตามที่ต้องการก็สามารถใช้งานได้ทันที หรือหากต้องการเปลี่ยนเงื่อนไขการทำงานของเครื่องจักรใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายเพียงแค่เปลี่ยนแปลงคำสั่งในโปรแกรมใหม่เท่านั้นเอง โดยมีตัวอย่างหน้าตาของ Ladder Program (ดังรูป)
  
ตัวอย่าง Ladder Program
 
     PLC+HMI ในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก ทั้งในส่วนของ Hardware และ Software โดยเฉพาะระบบการประมวลผลของไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ให้มีการตอบสนองที่เร็วขึ้น มีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง และมีฟังก์ชั่นในการจัดเก็บหรือถ่ายโอนข้อมูลได้ง่าย ทำให้ง่ายต่องานที่มีความซับซ้อน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมได้หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมพลาสติก, อุตสาหกรรมยาง, อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมในยุค 4.0 เป็นอย่างมาก ซึ่งในในวันนี้เราจะมาพูดถึงประโยชน์ของการใช้ PLC+HMI ในการควบคุมเครื่องจักร ในหัวข้อ "ทำไมต้องใช้ PLC+HMI ในการควบคุมเครื่องจักรในยุคปัจจุบัน"
 
     ประโยชน์ของการใช้งาน PLC+HMI ในการควบคุมเครื่องจักร ดังนี้
        • PLC+HMI ควบคุมระบบการทำงานของเครื่องจักรต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        • PLC+HMI เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ Input และ Output ได้หลากหลาย
        • PLC+HMI ง่ายต่อการใช้งาน ตรวจสอบการทำงาน หรือการ Maintenance
        • PLC+HMI มีฟังก์ชั่นต่าง ๆ การทำงานหลากหลาย สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานกับงานอุตสาหกรรมได้มากมาย
        • PLC+HMI ลดความซับซ้อนในการออกแบบระบบ เนื่องจากมีทั้ง HMI และ PLC อยู่ภายในตัวเดียว
 
     ซึ่ง PLC+HMI มีหลากหลายรุ่นที่แตกต่างกัน ในที่นี้จะยกตัวอย่าง PLC ยี่ห้อ Unitronics เพื่อให้ผู้ใช้งานได้พิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน ดังนี้
        • PLC ที่มีขนาดเล็ก (Micro PLC) เช่น รุ่น Jazz series, Jazz-J series, M91 เป็นต้น
            - มีจำนวน Input/Output ไม่มากนักสำหรับใชักับงานที่มีเงื่อนไขไม่ซับซ้อนมาก
        • Vision PLC เช่น รุ่น V120, V230, V290, V130-J, V350-J, V560, V570, V700-T20BJ, V1210-T2BJ, V1040-T20B เป็นต้น
            - สามารถเก็บข้อมูล (Data logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen
        • UniStream PLC เช่น รุ่น US5-B10-B1, USP-156-B10, USP-104-B10 เป็นต้น
            - เน้นกับงานที่ใช้กราฟฟิค หน้าจอแบบ Touch Screen
        • Samba PLC เช่น รุ่น SM35, SM43, SM70 เป็นต้น
            - สามารถเก็บข้อมูล (Data logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen (ราคาถูก) และรูปแบบในการตั้งค่าต่าง ๆ ที่ตัว PLC+HMI  เช่น PLC แบบใช้ปุ่มกด (Keypad Switch), PLC แบบ Touch Screen เป็นต้น
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
 
ระบบเครื่องกรองน้ำอัตโนมัติ ระบบพาสเจอร์ไรซ์ ระบบเครื่องพลังงานทดแทนด้วยลม
 


โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK