Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ปัจจุบันในสายการผลิต ที่มีกระบวนการผลิตสินค้าประเภทอาหารหรือเครื่องดื่มนั้น ในการออกแบบของบรรจุภัณฑ์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการดึงดูดผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เช่น บรรจุภัณฑ์เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษา, บรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุใส่อาหาร, บรรจุภัณฑ์ที่มีความสะอาดและปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ในท้องตลาดก็มีการออกแบบสีสันที่หลากหลายมากขึ้น แตกต่างกันไปแล้วแต่ยี่ห้อ เพื่อความสวยงามสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้า และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย ซึ่งการที่บรรจุภัณฑ์มีสีสีนที่มากขึ้นก็ทำให้การตรวจจับบรรจุภัณฑ์ยุ่งยากมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

     ดังนั้นจะต้องมีเซ็นเซอร์ (Sensor) เพื่อช่วยในการตรวจจับตำแหน่งที่จะทำการแพ็คสินค้า เช่น ตรวจจับตำแหน่งมาร์คสี, ตรวจสอบความเข้มสี, ตรวจสอบความแตกต่างสี เป็นต้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายของสีสันแต่ละยี่ห้อ ซึ่งโฟโตอิเล็กทริคเซ็นเซอร์ (Photoelectric Sensor) โดยทั่วไปจะตรวจจับเงื่อนไขดังกล่าวไม่ได้ แต่จะมีเซ็นเซอร์ที่ใช้ในการตรวจจับความแตกต่างของสี หรือ Color Mark Sensor ซึ่งเหมาะกับงานตรวจจับเครื่องหมายสีหรือแถบสีของบรรจุภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุหีบห่อ, ตรวจจับตำแหน่งของงานพิมพ์ เป็นต้น

     โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการตรวจจับของ Color Mark Sensor ในหัวข้อ “วิธีตรวจจับแถบสีของฉลากบรรจุภัณฑ์ ด้วย Color Mark Sensor” ที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเซ็นเซอร์ที่ใช้ในการตรวจจับความแตกต่างของสี มีวิธีการตรวจจับได้อย่างง่าย ๆ มาดูกันเลยว่าอุปกรณ์ Color Mark Sensor จะทำงานอย่างไร?

     Color Mark Sensor มีโหมดการทำงาน 2 โหมด คือ Color Mode และ Mark Mode โดย Color Mode ทำหน้าที่ตรวจจับแถบสีโดยใช้หลักการตรวจจับโทนสีของแถบสี 1 จุด ส่วน Mark Mode ทำหน้าที่ตรวจจับแถบสีโดยใช้หลักการเปรียบเทียบสีของแถบสี 2 จุด ดังนี้

        Color Mode เหมาะสำหรับแถบสีที่มีความแตกต่างของสีสูง เช่น สีพื้นหลังเป็นสีขาวและแถบสีที่ต้องการตรวจจับเป็นสีดำ เป็นต้น โดย Color Mode จะปล่อยลำแสงในการตรวจจับสี 3 สี คือ สีแดง (Red), เขียว (Green), น้ำเงิน (Blue) ดังรูป



รูปแถบสีที่เหมาะสำหรับ Color Mode
 
        Mark Mode เหมาะสำหรับแถบสีที่มีความใกล้เคียงของสีและความหลากหลายของสีสูง เช่น สีพื้นหลังเป็นสีฟ้าและแถบสีที่ต้องการตรวจจับเป็นสีน้ำเงิน เป็นโดย Mark Mode จะปล่อยลำแสงออกมาขึ้นอยู่กับสีที่เราทำการ Teaching และเปรียบเทียบสีของแถบสี ระหว่างแถบสีทั้ง 2 สี ดังรูป


รูปแถบสีที่เหมาะสำหรับ Mark Mode
 
     Color Mark Sensor ตัวนี้จะมีระยะการตรวจจับสีที่ 18 มิลลิเมตร แถบสีสามารถกระเพื่อมหรือขึ้น-ลงจากระยะกึ่งกลางได้ +/- 2 มิลลิเมตร และมีเอาต์พุตแบบ NPN หรือ PNP open collector Max. 100 mA/30 VDC และง่ายในการติดตั้ง

ระยะการติดตั้ง Color Mark Sensor
 
     เคล็ดลับการติดตั้งเซ็นเซอร์ Color Mark Sensor คือ การวิเคราะห์ความต้องการของการใช้งานอย่างระมัดระวัง เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดให้เลือกเซ็นเซอร์ที่มีขนาด Spot ที่ไม่ใหญ่มากกว่าจุดเครื่องหมายที่เล็กที่สุดที่จะตรวจจับ

     จะเห็นได้ว่าปัญหาการตรวจจับแถบสีที่ยุ่งยากจะกลายเป็นเรื่องง่ายถ้าใช้ Color Mark Sensor ไม่ว่าจะเป็นแถบสีต่าง ๆ ของฉลากที่เคลื่อนที่ผ่านเซ็นเซอร์ตัวนี้ Color Mark Sensor ก็สามารถตรวจจับแถบสีได้ไม่ยาก

     ยกตัวอย่างและอธิบายการตรวจจับแถบสีของเครื่องบรรจุภัณฑ์ โดยการทำงานของเครื่องบรรจุภัณฑ์จะทำการตวงหรือชั่งวัตถุดิบและทำการบรรจุภัณฑ์ โดยมี Color Mark Sensor เป็นอุปกรณ์บอกตำแหน่งในการบรรจุให้ได้ตรงตามฉลากที่ออกแบบไว้


เครื่องบรรจุภัณฑ์
 
     วิธีการใช้งาน Color Mark Sensor


     การประยุกต์ใช้งาน Color Mark Sensor
        • ตรวจสอบสีในอุตสาหกรรมการผลิต
        • ตรวจจับตำแหน่งมาร์คสี
        • ตรวจสอบความเข้มสี
        • ตรวจสอบความแตกต่างสี

Signal Tower Light Rotation Warning Light Digital Counter Color Vision Sensor Displacement Sensors

 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK