Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ฮีตเตอร์ (Heater) อุปกรณ์ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานต่าง ๆ เช่น งานอบสี, บรรจุภัณฑ์, งานขึ้นรูปพลาสติกในภาคอุตสาหกรรม โดยทั่วไปแล้วฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละประเภทจะมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกัน แต่บ่อยครั้งที่ฮีตเตอร์ (Heater) มีอายุการใช้งานที่สั้นผิดปกติหรือฮีตเตอร์เกิดความเสียหาย (ขาด) โดยที่ผู้ใช้งานนั้นก็ไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ซึ่งเราก็ได้มีนำเสนอสาเหตุและวิธีการป้องกันฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) กันไปแล้วในหัวข้อ ฮีตเตอร์ขาดเกิดจากอะไร? ทำให้ผู้ใช้งานได้ทราบถึงวิธีการตรวจเช็คเบื้องต้น เพื่อสามารถยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ได้ และอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้กระบวนการผลิตเกิดความเสียหาย คือ ฮีตเตอร์ทำงานผิดปกติหรือฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) นั่นเอง

     ในการเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น การใช้มัลติมิเตอร์ (Multimeter) วัดและอ่านค่าความต้านทาน (Resistor) ถ้าฮีตเตอร์ขาดจะวัดค่าโอห์ม (Ohm) ไม่ขึ้น หรือการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) โดยใช้อุปกรณ์ตรวจวัดค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์เพื่อแจ้งเตือนความผิดปกติของฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm) และยังมีอีกหนึ่งวิธีในการเช็ค Heater ว่ายังทำงานอยู่ปกติหรือไม่ คือการใช้ Temperature Controller ในการควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งถ้า Heater ขาด อุณหภูมิก็จะตก ถึงแม้ว่า Temp Control จะพยายามจ่าย Output เต็มที่เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้ได้ก็ตาม แต่อุณหภูมิก็ไม่ขึ้นหรือตกลงเรื่อย ๆ (ขึ้นอยู่กับว่าขาดกี่ตัวจากทั้งหมดกี่ตัว) หรือบางท่านอาจใช้วิธีการตั้ง Alarm ไว้ว่าอุณหภูมิต่ำกว่าค่า ๆ หนึ่ง ให้ Alarm ทำงานก็ได้เช่นกัน แต่ในบางครั้งก็ช้าไป อาจจะทำให้ชิ้นงานอาจเสียหายไปแล้วก็ได้และจะแก้ไขอย่างไร?

     โดยในวันนี้เราจะมาแนะวิธีที่แก้ปัญหาที่ตรงจุดโดยการใช้เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temp Control) ในหัวข้อ วิธีการเช็คฮีตเตอร์ขาดด้วย Temperature Controller ซึ่งการใช้ Temp Control เพื่อควบคุมการเพิ่มหรือลดค่าอุณหภูมิตามช่วงอุณหภูมิที่ต้องการใช้งานและตามเวลาที่กำหนดได้ โดยใช้ฟังก์ชั่น Heater Break Alarm หรือ CT Input เพื่อตรวจเช็คสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) ว่ายังทำงานอยู่ปกติไม่ได้ขาดหรือเสีย โดยการนำ CT (Current Transformer) คล้องไว้ที่สายไฟของ Heater เพื่อวัดกระแสและ Temp Control จะทำการสั่ง Output Alarm ในกรณีที่ไม่มีกระแสไหลผ่านแสดงว่า Heater ขาด ฟังก์ชั่น Alarm Heater Break จะทำงาน ซึ่งทำให้สามารถทราบสถานะ Heater ขาดได้ โดยมีหน้าจอแสดงผล (ดังรูป)


หน้าจอแสดงผลของ Temperature Controller แสดงสถานะฟังก์ชั่น Heater Break Alarm และวงจรการต่อใช้งาน

     การทำงานของ Temperature Controller คือ การใช้งานฟังก์ชั่น CT Input เพื่อเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) โดยการนำเอา CT Max. 30A (Current Transformer) มาคล้องกับสายไฟที่ต่อฮีตเตอร์ (Heater) แล้วนำ CT มาต่อเข้า Temp Controller ได้โดยตรง โดย Temp Control จะตรวจเช็คกระแสที่ไหลผ่านตัวฮีตเตอร์ (Heater) ซึ่งจะมีกระแสไหลผ่านอยู่ค่า ๆ หนึ่ง จากการกำหนดค่ากระแส (Current) ของผู้ใช้งานที่ต้องการจะตรวจเช็ค ซึ่ง CT (Current Tranformer) จะเป็นตัวคอยตรวจเช็คกระแสที่ไหลผ่านตัวฮีตเตอร์ หากฮีตเตอร์ขาดหรือไม่มีกระแสไหลผ่านในขณะที่ Output ของ Temperature Controller ทำงาน ก็จะส่งสัญญาณ Alarm แจ้งเตือนให้ทราบว่าขณะนี้ฮีตเตอร์ขาดโดยการต่อวงจร (ดังรูป)

     การต่อใช้งาน Temperature Controller รุ่น TMP-95 ร่วมกับ CT โดยมีฟังก์ชั่น CT Input เพื่อเช็คว่าฮีตเตอร์ (Heater) ขาดหรือไม่


การต่อใช้งาน Temperature Controller รุ่น TMP-95 ร่วมกับ CT ฟังก์ชั่น CT Input เพื่อเช็คฮีตเตอร์ขาด

     ในกรณีที่เครื่องจักรที่มีการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) หลาย Zone ในระบบ โดยต้องการเช็ค Heater หลาย ๆ ตัวพร้อมกัน ก็สามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N ซึ่งจะทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว (ที่กระแส 50 A. ได้ถึง 4 ตัว) ในเวลาเดียวกัน โดยต่อสายคล้องผ่าน CT (Current Transformer) เพื่อทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว ถ้าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดไม่มีกระแสไหลผ่าน แสดงว่า Heater ตัวนั้นขาด

     หรือในกรณีฮีตเตอร์ (Heater) ทำงาน คือ มีกระแสไหลผ่านตลอดเวลาอันเนื่องจาก Solid State Relay Short Circuit หรือหน้า Contact ของ Magnetic Arc. ติดกัน โดยที่ Output ของ Temperature Controller ไม่สั่งงาน จะทำให้มี Alarm เตือนความผิดปกติ โดยต่อร่วมกับเครื่องแสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) รุ่น CM-005D เพื่อแสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละตัว ได้สูงสุดถึง 8 ตัว (ต่อเข้ากับ CM-005N 2 ตัว) เพื่อ Alarm แจ้งเตือนให้ผู้ปฏิบัติทราบถึงสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) ดังรูป


รูปแสดงตัวอย่างวงจรการต่อใช้งานของอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N
โดยต่อคล้องผ่าน CT ร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005D

การประยุกต์ใช้งาน Temperature Controller
     เหมาะสำหรับเครื่องจักรพลาสติก เครื่องบรรจุต่าง ๆ เครื่องจักรอาหาร เตาอบ เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ

Digital Temperature Controller PID Control Function Heater Break Alarm Digital Monitor For Heater Break Alarm

Current Transformer,CT

Heater

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK