Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     PLC ย่อมาจาก โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ (Programmable logic Controller) เป็นอุปกรณ์สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องจัก หรือระบบโซลูชั่นต่าง ๆ แบบอัตโนมัติ เนื่องจาก PLC จะมีส่วนที่เป็นอินพุต (Input) ที่ต่อเข้ากับตัวเซ็นเซอร์ (Sensor) หรือสวิตช์ (Switch) ต่าง ๆ และเอาต์พุต (Output) สามารถต่อออกไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรได้ทันที โดยการป้อนโปรแกรมคำสั่งเข้าไปในตัว PLC ที่มี Microprocessor ถือว่าเป็นสมองสำหรับสั่งการที่สำคัญของ PLC และสามารถควบคุมการทำงานของระบบให้มีความยืดหยุ่นเข้ากับระบบต่าง ๆ ได้ ทำให้ PLC ได้ถูกนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ฯลฯ ถือได้ว่าเราสามารถนำ PLC มาใช้งานได้อย่างครอบคลุมเลยก็ว่าได้ โดยเราได้พูดถึงประโยชน์ของ PLC ไว้ในหัวข้อก่อน ๆ กันไปแล้ว เช่น ทำไมต้องใช้  PLC+HMI ในการควบคุมเครื่องจักรในยุคปัจจุบัน หรือ การต่อใช้งาน Analog Input กับ PLC เป็นต้น แต่ก่อนที่จะนำ PLC มาใช้งานได้อย่างที่กล่าวมานั้น อีกหนึ่งเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเช่นกัน คือ การติดตั้ง PLC และการ Wiring สาย ซึ่งในวันนี้เราจะมาแนะนำกันในหัวข้อ “ข้อควรระวังในการติดตั้ง PLC (Programmable Logic Control) และการ Wiring สาย” ว่ามีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร?

การติดตั้ง PLC (Programmable Logic Control) ภาคด้านอินพุต (Input) และภาคด้านเอาต์พุต (Output)
     การติดตั้งภาคด้านอินพุต (Input) และภาคด้านเอาต์พุต (Output) สำหรับ PLC (Programmable Logic Control) เป็นขั้นตอนที่ลำดับต้น ๆ ที่สำคัญ และทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจในการเขียนคำสั่งหรือการโปรแกรมเงื่อนไขต่าง ๆ ในการควบคุม โดยภาษาที่ใช้ในการโปรแกรม PLC (Programmable Logic Control) ปัจจุบันมีหลากหลายขึ้นอยู่กับรุ่น, ยี่ห้อ และความชำนาญของผู้ใช้ เช่น
     • Ladder Diagram Language
     • Sequential Flow Chart Language
     • Function Block Diagram Language
     • Instruction List Language (Statement List Language)
     • Structure Text Language

ดังนั้นเพื่อลดข้อผิดพลาดและทำให้การติดตั้งง่ายขึ้นผู้ใช้ควรปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ดังนี้
     • การติดตั้งอินพุตและเอาต์พุตโมดูล I/O PLC (Programmable Logic Control) การติดตั้งโมดูล I/O และการเลือกวางตำแหน่งที่ถูกต้อง ซึ่งขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบประเภทของโมดูล โดยจะแบ่งภาคดิจิตอลอินพุต (Digital Input) ซึ่งรับเป็นไฟ 24VDC หรือ 0VDC ขึ้นอยู่กับการเลือกรับประเภทของสัญญาณอินพุตและดิจิตอลเอาต์พุต จะมีแบบที่นิยมใช้ก็คือแบบรีเลย์ (Relay) และแบบทรานซิสเตอร์ (PNP, NPN) ซึ่งจะต้องอ่านและดูคู่มือของอุปกรณ์นั้นก่อนที่จะ Wring สาย เพราะอุปกรณ์แต่ละรุ่นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป

     • ข้อควรพิจารณาในการเดินสายไฟ (Wiring)
       - เทอร์มินอล I/O แต่ละตัวสามารถรับสายไฟ (Cable Wire) หรือขนาดลวดหนึ่งเส้นหรือมากกว่าได้ ผู้ใช้ควรตรวจสอบขนาดสายไฟ (Cable Wire) ขนาดลวดและคุณภาพของสายไฟให้ถูกต้อง และการทนกระแสสูงสุดที่เหมาะสม
       - ควรติดป้ายกำกับที่สายไฟ (Cable Wire) และติดป้ายกำกับแต่ละบล็อก Terminal ให้ชัดเจน รวมถึงการเข้ารหัสสี (Color Code) ของลักษณะสัญญาณที่คล้ายกัน (เช่น AC : แดง, DC : น้ำเงิน, ทั่วไป : ขาว ฯลฯ) เพื่อช่วยให้การบำรุงรักษาและการแก้ไขปัญหาง่ายขึ้น
       - การมัดสายไฟเป็นเทคนิคที่ใช้กันทั่วไปเพื่อทำให้การเชื่อมต่อกับโมดูล I/O แต่ละโมดูลง่ายขึ้น ในวิธีนี้สายที่จะเป็นเชื่อมต่อกับโมดูลเดียวถูกมัดโดยทั่วไปใช้ Cable Tie รัด แล้วส่งผ่านท่อด้วยมัดลวดอื่น ๆ ที่มีลักษณะสัญญาณเดียวกัน ชุดอินพุต กำลังไฟและเอาต์พุตที่มีสัญญาณชนิดเดียวกันควรเก็บไว้ในท่อแยกต่างหาก หากเป็นไปได้เพื่อหลีกเลี่ยงสัญญาณรบกวน

     • ขั้นตอนการเดินสายไฟ (Wiring)
        เมื่อโมดูล I/O และสายไฟมีการตรวจสอบและติดป้ายกำกับ การแนะนำเบื้องต้นการเดินสาย (Wiring) ไปยังโมดูลสามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
        1. ก่อนการเดินสายไฟ (Wiring) ให้ปลดแหล่งจ่ายไฟเข้าจากคอนโทรลเลอร์และ I/O ก่อนการติดตั้ง PLC
        2. ตรวจสอบว่าโมดูลทั้งหมดอยู่ในช่องที่ถูกต้อง ตรวจสอบประเภทและหมายเลขรุ่นของโมดูล
        3. ทำการ Wiring สายตามคู่มือ Wiring Diagram ยกตัวอย่าง Vision1040+V200-18-E3XB

        4. เมื่อทำการ Wiring สาย และ Download คำสั่งการเขียนโปรแกรมเข้าเครื่อง PLC เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการ Test คำสั่งและการ Control ด้านอินพุตและเอาต์พุต ว่าทำงานตามเงื่อนไขที่ต้องการหรือไม่ หากเป็นไปตามที่ต้องการให้ติดตั้งระบบให้เรียบร้อย

     ตัวอย่างการ Test PLC

     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC


 

Jazz Micro-OPLC Programmable Logic Control Programmable Logic Control Unistream Programmable Logic Control

Vision Programmable Logic Control

Switching Power Supply 5A

 


โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK