Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     พาวเวอร์มิเตอร์ (Power Meter) หรือ มัลติมิเตอร์ (Multifunction Power Meter) เป็นมิเตอร์ที่วัดและวิเคราะห์และแสดงผลค่าพลังงานต่าง ๆ ทางไฟฟ้าของหน่วยที่วัดได้ในขณะนั้น เช่น V (Line), V (Phase),  A (Phase), kW, kvar, kVA, kWh, kvarh, kVAh, PF, Hz, kW Demand, Peak Demand,  THD (Harmonic) เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน Power Meter บางรุ่นก็ได้มีการพัฒนาให้สามารถกําหนดช่วงเวลาในการเก็บค่าพลังงานไฟฟ้า (Tariff) ได้ 12 ช่วงเวลา และเก็บ Log File ของค่า Tariff ได้ 12 เดือน และยังสามารถวัดและตรวจเช็คค่าทางไฟฟ้าได้ เช่น Sag Swell, Over Voltage, Under Voltage, Over Current, Under Current, Phase Sequence, Phase Loss, Phase Unbalance, THD และ HD 0-63 Order และบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวได้ 50 ค่า สำหรับระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส และ 3 เฟส ได้อีกด้วย (ในรุ่น KM-07N-1)
 
     ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับมิเตอร์ (Meter) กันก่อน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมิเตอร์ (Meter) จะมีในรูปแบบการแสดงผลหลัก ๆ ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ การแสดงผลแบบเข็ม (Analog Meter) และการแสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Meter) ดังรูป
 
มิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter) มิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter)
มิเตอร์แบบเข็ม หรือ อนาล็อกมิเตอร์ (Analog Meter) ใช้วิธีการอ่านค่าในรูปแบบเข็ม มีสเกลของมิเตอร์เพื่อใช้ในการอ่านค่า หลักการทำงานของมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter) จะใช้หลักการของ Moving Coil โดยการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดเคลื่อนที่ (Moving Coil) ซึ่งเข็มของมิเตอร์จะเปลี่ยนแปลงมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสที่ไหลผ่านขดลวด ซึ่งในการอ่านค่าของมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter) อาจเกิดความผิดพลาดได้

มิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) ใช้วิธีการอ่านค่าในรูปแบบดิจิตอล โดยจะอาศัยหลักการของการเปลี่ยนแปลงสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) ที่เข้ามาให้เป็นสัญญาณดิจิตอล โดยผ่านตัว A/D Converter แล้วทำการแสดงผลผ่านตัวเลขในรูปแบบ LCD 7-Segment ซึ่งมีความแม่นยำของข้อมูลมากกว่ามิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter)


     จากข้อมูลตารางข้างต้นทำให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง มิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter) กับ มิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) ทั้งหลักการและรูปแบบในการอ่านค่าทางไฟฟ้าคร่าว ๆ กันไปแล้ว ซึ่งพาวเวอร์มิเตอร์ (Power Meter) หรือ มัลติมิเตอร์ (Multifunction Power Meter) ก็มีมากมายหลากหลายแบบในท้องตลาด โดยแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ ก็มีความแตกต่างกันออกไป แล้วเราจะมีวิธีการเลือกใช้งานแบบไหนที่ตรงกับหน้างานและสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการวางแผนการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเราได้มีการนำเสนอกันไปบ้างแล้วในบทความหัวข้อ มัลติมิเตอร์วัดและวิเคราะห์พลังงานทางไฟฟ้า และ SCADA SOFTWARE ระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรม โดยในวันนี้นี้เราจะมาแนะนำข้อมูลสำหรับการพิจารณาเลือกซื้อ Multifunction Power Meter ในหัวข้อ 4 สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อมัลติมิเตอร์ (Multimeter, Power Meter) ดังนี้

     1. ความละเอียด/ความเที่ยงตรง (Accuracy) ที่ต้องการใช้งาน
 
ตัวอย่างความละเอียด/ความเที่ยงตรง (Accuracy)
ของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) รุ่น
KM-07N-1
ตัวอย่างความละเอียด/ความเที่ยงตรง (Accuracy)
ของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Mete) รุ่น
KM-24-L

 

 

 

 

 


     ความเที่ยงตรงในการวัดค่าทางไฟฟ้าต่าง ๆ เป็นสิ่งที่จำเป็น โดยมิเตอร์แต่ละรุ่นจะมีความเที่ยงตรงที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับสเปคของอุปกรณ์นั้น ๆ ถ้าเราต้องการนำค่าทางไฟฟ้าต่าง ๆ ไปใช้งานเช่น นำไปใช้ในการเก็บค่าพลังงานไฟฟ้าและคิดเงินเป็นบิลค่าไฟเพื่อเปรียบเทียบกับบิลการไฟฟ้าที่เราจ่ายทุกเดือน หรือใช้ในการเก็บเงินรายเดือนของหอพักและอะพาร์ตเมนต์ ซึ่งจำเป็นต้องมีความเที่ยงตรงและแม่นยำในการวัด และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับแก่ผู้ใช้งาน

     2. ค่าที่ผู้ใช้ต้องการวัดเพื่อเลือกมิเตอร์ให้เหมาะสม
 
ตัวอย่างค่าที่วัดได้ของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter)
รุ่น
KM-07N-1
ตัวอย่างค่าที่วัดได้ของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter)
รุ่น
KM-24-L



 

 

 

 


     โดยทั่วไปการพิจารณาเลือกมิเตอร์ว่าสามารถวัดค่าอะไรได้บ้าง? ผู้ใช้สามารถพิจารณาจากตารางข้อมูลทางเทคนิคหรือคุณสมบัติจาก Data Sheet หรือพิจารณาจากหน้า Display ของพาวเวอร์มิเตอร์ (Meter) หรือ มัลติมิเตอร์ (Multimeter) ได้ โดยค่าที่วัดได้มีตั้งแต่ค่าทางไฟฟ้าค่าเดียว เช่น มิเตอร์วัด Volt, Amp, kWh Meter ไปจนถึงวัดค่าทางไฟฟ้าได้ทั้งหมดในตัวเดียว เช่น Power Meter

 
ตัวอย่าง การติดตั้งของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter)
รุ่น
KM-07N-1
ตัวอย่าง Input Impedance ของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter)
รุ่น
KM-24-L
การติดตั้งหน้าตู้คอนโทรล : ทำให้สามารถมองเห็นค่าได้อย่างชัดเจน การติดตั้งในตู้คอนโทรล : ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง


     4. ฟังก์ชั่นเพิ่มเติมพาวเวอร์มิเตอร์ (Meter) หรือ มัลติมิเตอร์ (Multimeter) ที่ต้องการ อาทิ พอร์ทสื่อสาร RS-485, Hour Counter, Protection Relay, Water Meter เป็นต้น

ตัวอย่าง ฟังก์ชั่นเพิ่มเติมของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter)
รุ่น
KM-07N-1
ตัวอย่าง ฟังก์ชั่นเพิ่มเติมของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter)
รุ่น
KM-24-L
Power Meter มีพอร์ทการสื่อสาร RS-485 ใช้สำหรับเก็บค่าทางไฟฟ้าต่าง ๆ และดูค่าพลังงานผ่านคอมพิวเตอร์แทนการเดินจดค่า
 
Power Meter มีพอร์ทการสื่อสาร RS-485 ใช้สำหรับเก็บค่าทางไฟฟ้าต่าง ๆ และดูค่าพลังงานผ่านคอมพิวเตอร์แทนการเดินจดค่า และยังสามารรับสัญญาณจากมิเตอร์น้ำได้ในตัวเดียวกัน

     จากข้อมูลการแนะนำ “4 สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อมัลติมิเตอร์ (Multimeter, Power Meter)”  ดังกล่าว เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการเลือกมิเตอร์ให้เหมาะสมแล้ว นอกจากนี้วิธีการต่อใช้งานมิเตอร์ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน ดังนั้นเราจึงขอยกตัวอย่างวิธีการต่อใช้งานมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) รุ่น KM-07N-1 ร่วมกับ Software Prisoft (ดังตัวอย่าง)
 
     ตัวอย่างการต่อใช้งานมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) รุ่น KM-07N-1 กับ Software Prisoft
 
     ตัวอย่างวิธีการต่อใช้งานมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) รุ่น KM-24-L ต่อร่วมกับมิเตอร์น้ำ และเชื่อมต่อผ่าน Software Prisoft
 

     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
 
การติดตั้ง Power Meter วัดค่าพลังงานตู้ MDB การติดตั้ง LoRa Meter เก็บค่าการใช้ไฟฟ้าและการใช้น้ำในหอพัก

3 Phase Power And Energy Meter With RS485 USB to RS-422/
RS-485 
Converter
Wireless RS-485 TO LoRaWAN Converter RS-485 DATA LOGGER Prisoft เป็น Software Web Server Monitoring System

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK