Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     Timer (ไทม์เมอร์) หากเราพูดถึง Timer หลายท่านคงเข้าใจได้ว่า คือ อุปกรณ์ตั้งเวลาในควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามเงื่อนไขและเวลาที่ตั้งไว้  เช่น ควบควมการเปิด-ปิดไฟ หรือตั้งเวลาเปิดเครื่องปรับอากาศ, ตั้งหน่วงการทำงานของมอเตอร์ขนาดเล็ก, ตั้งหน่วงการทำงานของปั๊ม, ตั้งหน่วงการทำงานของพัดลมดูดอากาศ เป็นต้น อีกทั้ง Timer ตั้งเวลายังถูกนำมาใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมและเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรในโรงงาน ในกรณีที่มีการใช้งาน Timer เพื่อตั้งเวลาตาม Function ต่าง ๆ ของ Timer แต่ละรุ่น โดยจะใช้ Timer มากกว่า 1 ตัว หรือจำนวนหลาย ๆ ตัว เพื่อควบคุมการทำงานเปิด-ปิด (ON-OFF) ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครื่องจักรหรือภายในตู้คอนโทรลซึ่งมีอุปกรณ์ในระบบหลายประเภท จึงมีเงื่อนไขในการตั้งเวลาที่แตกต่างกันเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์แต่ละตัวในระบบการผลิต โดย Timer (ไทม์เมอร์) ที่ใช้งานทั่วไป มีดังนี้

     Timer (ไทม์เมอร์) ที่ใช้งานโดยทั่วไปมีทั้งแบบดิจิตอล (Digital Timer), แบบอนาล็อก/แบบปรับหมุน (Analog Timer) ดังรูป

Digital Timer
Digital Timer (PT-03N) Timer Switch (SMW-Series)

 

Delay Slim Timer
Star Delta Timer
(PF-01)
Delay On Operate Timer
(PF-02)
Multi-Function Timer
(PF-03)
2 Channel Multi-Function Timer
(PF-04)

 

Relay Timer Switch Recycle Timer
Delay On Make Timer
(PA-01)
By Pass Timer
(PA-02)
Delay On Break Timer
(PA-03)
Universal Recycle Timer
(PM-020)
Recycle Timer With Pause
(PM-025)


     จากตัวอย่างไทม์เมอร์ (Timer) รูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจากบทความครั้งที่ผ่านมาเราได้มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับไทม์เมอร์ (Timer) กันไปแล้วในหัวข้อเรื่อง “การเลือกใช้ Timer ในงานอุตสาหกรรมให้เหมาะสมกับการใช้งาน” โดยในวันนี้เราจะมาต่อเนื่องด้วยการพูดถึงหลักการทำงานและวิธีการต่อใช้งานไทม์เมอร์แบบดิจิตอล (Digital Timer) ซึ่งเป็น Timer ที่หน้าจอแสดงผลแบบตัวเลข 7-Segment (รุ่น PT-03N) และแสดงผลแบบ OLED (รุ่น SMW-Series) สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยสามารถตั้งเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ตามเวลาที่ต้องการได้ด้วยปุ่ม Keypad ในหัวข้อ "หลักการทำงานของดิจิตอลไทม์เมอร์ (Digital Timer) และวิธีเลือก Functionใช้งาน" โดยขอยกตัวอย่างไทม์เมอร์แบบดิจิตอล (Digital Timer) รุ่น PT-03N ยี่ห้อ Primus โดยเน้น Function การทำงานดังข้อมูลต่อไปนี้

     กราฟแสดง 8 Function การทำงานของ Digital Timer

ช้ Timer 1 ในการทำงานสามารถกำหนดให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือนับลงก็ได้ โดย Timer จะทำงานตาม Input และสามารถใช้ Timer 3 สำหรับการ Auto Reset ได้ ใช้ Timer 1 และ Timer 2 โดยจะทำงานอิสระจากกัน สามารถกำหนดให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือลงก็ได้ โดย Timer ทั้งสองจะทำงานตาม Input และสามารถใช้ Timer 3 สำหรับ Auto Reset ได้ ใช้ Timer 1 ในการทำงานสามารถกำหนดให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือลงก็ได้ ทั้งนี้ Timer จะทำงานตาม Input และสามารถใช้ Timer 3 สำหรับ Auto Reset ได้ ใช้ Timer 1 และ Timer 2 โดยจะทำงานอิสระจากกัน สามารถกำหนดให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือลงก็ได้ Timer ทั้งสองจะทำงานตาม Input และสามารถใช้ Timer 3 สำหรับ Auto Reset ได้
 
ช้ Timer 1 และ Timer 2 โดยจะทำงานสัมพันธ์กัน สามารถกำหนดให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือลงก็ได้ Timer ทั้งสองจะทำงานตาม Input ใช้ Timer 1 และ Timer 2 โดยจะทำงานสัมพันธ์กัน สามารถกำหนดให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือลงก็ได้ Timer ทั้งสองจะทำงานตาม Input ใช้ Timer 1 และ Timer 2 และ Timer 3 โดยจะทำงานสัมพันธ์กัน สามารถกำหนดให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือลงก็ได้ Timer ทั้งสามจะทำงานตาม Input ใช้ Timer 1 และ Timer 2 และ Timer 3 โดยจะทำงานสัมพันธ์กัน สามารถกำหนดให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือลงก็ได้ Timer ทั้งสามจะทำงานตาม Input


     จากรูปตัวอย่างกราฟแสดง Function การทำงานของดิจิตอลไทม์เมอร์ (Digital Timer) ดังกล่าว ผู้อ่านสามารถเลือกวิธีการตั้งเวลาได้ถึง 8 Function และสามารถเลือกหน่วยเวลาเป็น mSec, Sec, Min และ Hour ได้จาก Keypad โดยการทำงานจะมีสวิตช์ควบคุมให้ Time Start (โดยต่อขั้ว 12 และ14) และในการรีเซ็ตค่าของ Timer สามารถทำได้โดยกดปุ่มรีเซ็ตจากด้านหน้าหรือต่อสวิตช์ควบคุมจากภายนอกได้ (โดยต่อขั้ว 12 และ 13) โดยขอยกตัวอย่างการต่อใช้งาน Digital Timer รุ่น PT-03N  ยี่ห้อ Primus เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรตามเวลาที่ผู้ใช้งานต้องการและวิธีการต่อสวิตช์ควบคุมจากภายนอก ดังนี้

รูปตัวอย่างการใช้ Function Digital Timer รุ่น PT-03N  ยี่ห้อ Primus เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องจักร



 
ใช้สำหรับงานควบคุมเวลาการอบขนมได้ โดยสามารถกำหนดเวลาให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือนับลงก็ได้ เมื่อครบเวลาแล้วจะสั่งให้เครื่องหยุดทำงานทันที โดยเลือกใช้ Function A

 

รูปตัวอย่างการใช้ Function Digital Timer รุ่น PT-03N  ยี่ห้อ Primus เพื่อควบคุมการทำงานของมอเตอร์ปั๊มน้ำ



 
ใช้สำหรับสลับของมอเตอร์ปั๊มน้ำ ใช้ Timer 1 เพื่อสั่งให้ Pump A ทำงาน, Timer 2 เพื่อสั่งให้ Pump B ทำงาน และ Timer 3 ป้องกันไม่ให้ Pump A กับ Pump B ทำงานพร้อมกัน โดยเลือกใช้ Funcgion G

 

     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Digital Timer (PT-03N)

ควบคุมการสลับการทำงานของแอร์ห้องเซิร์ฟเวอร์ ควบคุมเวลาการทำงานของโหลด ควบคุมเวลาการทำงานฮีตเตอร์เครื่องบรรจุภัณฑ์


Timer Switch Star Delta Timer Digital Timer Switch Target Counter
Hour Counter
 


โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK