Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     การนับจำนวนชิ้นงาน (Counting) โดยทั่วไปกระบวนการผลิตในงานอุตสาหกรรมจะมีการนับจำนวนชิ้นงาน, วัตถุ หรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในกระบวนการ ซึ่งในการนับจำนวนนั้นอาจจะใช้เป็นมนุษย์ (Human), หุ่นยนต์ (Robot) หรือเครื่องจักร (Machine) ฯลฯ เพื่อเป็นการบ่งบอกสถานะที่ผลิตได้ตามแผนที่วางไว้ แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ระบบการนับแบบอัตโนมัติ (Automation Counting System) เนื่องจากมีความถูกต้องและแม่นยำในการนับชิ้นงานกว่ามนุษย์  โดยระบบการนับจำนวนชิ้นงาน (Counting) แบบอัตโนมัติจะประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ ดังนี้
 
     1. เซ็นเซอร์ (Sensor) คือ อุปกรณ์สำหรับตรวจจับชิ้นงาน เช่น Photoelectric Sensor, Proximity Switch เป็นต้น โดยแต่ละอุปกรณ์จะถูกนำเอาท์พุทของ เซ็นเซอร์ (Sensor) ไปต่อเข้าร่วมกับเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter), Target Counter หรือ PLC+HMI เพื่อแสดงผล และแจ้งเตือน Alarm ให้ผู้ใช้งานทราบ โดยเอาต์พุตของเซ็นเซอร์ (Sensor) ที่พบเห็นส่วนใหญ่ในงานภาคอุตสาหกรรม อาทิ เอาต์พุตประเภท NPN, PNP, NO, NC, Relay Contact เป็นต้น
 
     2. เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter/Target Counter) คือ เครื่องนับจำนวนและแสดงผลเพื่อโชว์ค่าให้ทราบจำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ในการผลิตแต่ละครั้ง โดยสามารถตั้งค่าเป้าหมาย (Target) ในการผลิต และจำนวนของชิ้นงานที่ผลิตได้จริง (Actual) ให้สอดคล้องกับ Target ที่ตั้งไว้ และมีการแสดงจำนวนผลต่างของชิ้นงานที่ตั้งเป้าไว้และผลิตได้จริง (Diff) เพื่อช่วยลดความผิดพลาด (Error) และสามารถวางแผนระยะเวลาในการผลิตได้ อุปกรณ์ที่ใช้งานกันโดยทั่วไปในการนับจำนวน (Counter) หรือรูปแบบการตั้งเวลานับชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักรและแสดงผล (Hour Counter) ในงานภาคอุตสาหกรรม เช่น เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter), Hour Counter, Target Counter หรือ PLC+HMI เป็นต้น
 
     3. Software โปรแกรมที่ช่วยทำให้ผู้ใช้สามารถตั้งค่าหรือ Monitor ผ่านหน้าจอ Computer, Mobile ได้ โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปตั้งค่าหรือดูค่าที่ตัวอุปกรณ์ และปัจจุบันผู้ใช้สามาถดู Monitor ผ่าน Internet of Thing ได้ ทำให้สะดวกในการติดต่อประสานงานหรือวางแผนในการผลิตในยุคปัจจุบัน
 
เซ็นเซอร์ (Sensor) เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) Software


     การนับจำนวนชิ้นงานแบบอัตโนมัติ (Automation Counting System) ที่ประกอบด้วย เซ็นเซอร์ (Sensor), เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter), เครื่องนับชัวโมงการทำงาน (Hour Counter) หรือ Target Counter และ Software ดังที่กล่าวมาข้างต้น ที่ผู้ใช้งานพบเห็นบ่อยในงานภาคอุตสาหกรรม ซึ่งการใช้งานนั้นถือว่าไม่ซับซ้อนมากนักและราคาไม่สูงมาก นอกจากนี้ในการนับจำนวนชิ้นงานยังสามารถทำการนับจำนวนผ่านเครื่องควบคุมอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า พีแอลซี (PLC) ได้อีกเช่นกัน โดยในการนับจำนวนชิ้นงานในรูปแบบต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอย่างไร? ในวันนี้เราจะขอแนะนำข้อเปรียบเทียบการนับชิ้นงานระหว่างการใช้ Digital Counter/Target Counter กับ พีแอลซี (PLC+HMI) ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร? ในหัวข้อ “เปรียบเทียบการนับจำนวนชิ้นงาน (Counting) ของอุปกรณ์ PLC+HMI (Function Counter) กับ Digital Counter ดีกว่ากันอย่างไร?” โดยยกตัวอย่างสินค้า PLC+HMI ยี่ห้อ UNITRONICS และ Digital Counter/Target Counter ยี่ห้อ PRIMUS ดังตาราง

     เปรียบเทียบการนับจำนวนชิ้นงาน (Counting) ระหว่าง PLC+HMI (Function Counter) กับ Digital Counter ดีกว่ากันอย่างไร?
 
PLC+HMI (Function Counter) เครื่องนับชิ้นงานแบบดิจิตอล (Digital Counter/Target Counter)
• สามารถโปรแกรมเงื่อนไขในการนับชิ้นงาน (Plan, Target, Diff) ได้ตามความต้องการโดยการเขียนโปรแกรม Ladder
• สามารถกำหนดหน้าจอการแสดงผลได้ตามความต้องการสำหรับรุ่น Vision, Unistream ยี่ห้อ Unitronics
• สามารถเพิ่มหรือขยาย Input/Output ได้ผ่าน I/O Expansion และ Snap I/O
• ใช้ภาษา Ladder ในการเขียนโปรแกรมคำสั่งหรือสื่อสารระหว่าง Computer กับ PLC
• ราคาค่อนข้างสูง
• สินค้านำเข้า
• สามารถออกแบบให้สามารถสื่อสารผ่าน Cloud ได้
• จำเป็นต้องระบุเลือกรุ่นสินค้าให้ตรงกับเงื่อนไขความต้องการตั้งแต่ตอนสั่งซื้อ
เนื่องจากอุปกรณ์จะถูกกำหนดมาโดยอ้างอิงจาก Specification
• ไม่สามารถกำหนดหน้าจอการแสดงผลได้ตามความต้องการสำหรับรุ่นมาตรฐาน
CMP-Series, CMT-007A ยี่ห้อ Primus แต่สำหรับรุ่น TGM-Series สามารถระบุจำนวนแถว, จำนวนหลักของการแสดง 7-Segment ได้
• ไม่สามารถเพิ่มหรือขยาย Input/Output ได้
• ใช้ Software ที่มาคู่กับอุปกรณ์ในการ Monitor หรือตั้งค่าเฉพาะรุ่นที่มี Option MODBUS RS-485 เท่านั้น
• ราคาพอเข้าถึงได้
• สินค้าผลิตด้วยฝีมือคนไทย
 


     จากตารางการเปรียบเทียบการนับจำนวนชิ้นงาน (Counting) ระหว่าง PLC+HMI (Function Counter) กับ Digital Counter ดังกล่าว สามารถต่อใช้งานได้ตามตัวอย่างดังต่อไปนี้

     ตัวอย่างการต่อใช้งาน V570 : Vision Programmable Logic Control+HMI (PLC+HMI) ร่วมกับ เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุแบบไม่สัมผัส (Photoelectric Sensor) เพื่อแสดงผลและแจ้งเตือน Alarm ในการนับชิ้นงานใน Line การผลิต

จากรูปเป็นการต่อเซ็นเซอร์เข้ากับ PLC เพื่อทำการนับชิ้นงานหรือใช้ในการควบคุมการทำงานของสายพานลำเลียง
 
     จากตัวอย่างการต่อใช้งาน V570 : Vision Programmable Logic Control+HMI (PLC+HMI) ร่วมกับ เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุแบบไม่สัมผัส (Photoelectric Sensor) เพื่อแสดงผลและแจ้งเตือน Alarm ในการนับชิ้นงานใน Line การผลิตดังกล่าว ทางเราขอยกตัวอย่างต่อด้วยการเขียนโปรแกรม Ladder ดังนี้
 
     ตัวอย่างเขียนโปรแกรมการต่อใช้งาน V1040 : Vision Programmable Logic Control+HMI (PLC+HMI) ร่วมกับ เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุแบบไม่สัมผัส (Photoelectric Sensor) เพื่อแสดงผลและแจ้งเตือน Alarm ในการนับชิ้นงานใน Line การผลิต

     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC+HMI (Programmable Logic Controller)
 
เครื่องจ่ายเคมี เครื่องทดสอบน้ำยาง ชุดแสดงการทำงานของเครื่องทำความเย็น

PLC , Programmable Logic Controller Switching Power Supply 2.5A Target Counter Photoelectric Sensor Primus Software

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK