Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ปัจจุบันการสื่อสารแบบไร้สายในภาคอุตสาหกรรม (Industrial Communication Wireless) ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการพัฒนาระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรมให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการนำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless Technology) กับอุปกรณ์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าต่าง ๆ และคอมพิวเตอร์ (Computer) หรือเครื่องจักร (Machine) ในระบบอัตโนมัติให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งเป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นความสะดวกสบายของผู้ใช้ ลดการใช้สาย เคลื่อนย้ายสะดวกในกรณีที่ต้องบำรุงรักษา และเพื่อประสิทธิภาพของข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารเป็นหลัก ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีไร้สาย (Wireless Technology) โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารไร้สาย (Wireless Communication System) คือ เครื่องส่งสัญญาณช่องทางการรับ-ส่งสัญญาณ และผู้รับสัญญาณ อธิบายได้ดังนี้
 
     เทคโนโลยีไร้สาย (Wireless Technology) เป็นวิธีการถ่ายโอนข้อมูลจากจุด A ไปยัง B (หรือระหว่างสองจุดขึ้นไป) โดยไม่ต้องใช้ตัวนำไฟฟ้าหรือตัวกลางทางกายภาพ มี 3 ประเภท ดังนี้
     • เครือข่ายบริเวณกว้างแบบไร้สาย (WWAN) เป็นการใช้คลื่นวิทยุ (แต่เครือข่ายแม่ใช้สาย) และส่งไปยังจุดเชื่อมต่อไร้สายหนึ่งจุดหรือหลายจุด ซึ่งผู้ใช้ไร้สายสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบมีสายได้
     • เครือข่ายพื้นที่ส่วนบุคคลแบบไร้สาย (WPAN) เป็นเครือข่ายระยะสั้น (มักจะเป็นช่วง 30 ฟุต) โดยใช้เทคโนโลยีบลูทูธและเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เข้ากันได้ เช่น โทรศัพท์, บีคอนบลูทูธพลังงานต่ำ (BLE) ใกล้ตำแหน่งศูนย์กลาง
     • เครือข่ายไร้สายในพื้นที่ (WLAN) มาจากสัญญาณโทรศัพท์มือถือจากผู้ให้บริการเซลลูลาร์
 
     เทคโนโลยีการสื่อสารที่นิยมใช้กันในยุคปัจจุบันเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) ภายใต้เครือข่าย LoRaWAN และ Wi-Fi โดยมีความหมาย ดังนี้
     เทคโนโลยีไร้สาย LoRaWAN
          LoRa หมายถึง โปรโตคอลการเชื่อมต่อเฉพาะในส่วนของ Link
          LoRaWAN หมายถึง การเชื่อมต่อในลักษณะของการเป็นโครงข่าย
 
     LoRaWAN หรือ Long Range Wide Area Network เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) แบบวงกว้างและสื่อสารได้ในระยะไกล ใช้พลังงานต่ำ (เมื่อเทียบกับ WiFi และ Bluetooth) โดยอาศัยโปรโตคอล LoRa ในการพัฒนาเพื่อให้รองรับอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานต่ำ ๆ ได้หลากหลาย ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากในกลุ่มงานด้าน IoT (Internet of  Thing) เช่น การเชื่อมต่อ Power Meter System เพื่อ Monitor & Analysis และ Record บันทึกข้อมูลในงานอุตสาหกรรม เป็นต้น สำหรับโครงสร้างของ LoRaWAN จะประกอบด้วยหลายอุปกรณ์ เช่น อุปกรณ์ปลายทางจะส่งสัญญาณไปยัง Gateway หลังจากนั้น Gateway จะสื่อสารกับ Server ด้วย TCP และ UDP (ดังรูป)

โครงสร้างของ LoRaWAN หรือ Long Range Wide Area Network
 
     เทคโนโลยีไร้สาย WiFi หรือ Wi-Fi
          WIFI ถือเป็นส่วนย่อยของ Wireless คือ เทคโนโลยีแบบไร้สายอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อเชื่อมต่อกันแบบไร้สายแล้ว จะเรียกว่า การเชื่อมต่อ Wireless แบบ WiFi นั่นเอง
 
     WiFi หรือ Wi-Fi (Wireless Fidelity) เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่ได้รับความนิยมที่ช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารข้อมูล หรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายโดยใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อกลาง โดยสามารถใช้ได้กับมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (WLAN) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11 ระบบ WiFi ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายสื่อสารกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณและติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้น (ดังรูป)

โครงสร้างของ WiFi หรือ Wireless Fidelity
 
     จากข้อมูลข้างต้นของ LoRaWAN หรือ Long Range Wide Area Network และ WiFi หรือ Wireless Fidelity ทำให้ผู้อ่านได้ทราบถึงความหมายระหว่างเทคโนโลยีไร้สายแบบ LoRaWAN กับ WIFI กันไปแล้วนั้น โดยรูปแบบการสื่อสารไร้สายดังกล่าวได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย เช่น การวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์แบบไร้สาย (Wireless Humidity & Temperature Transmitter), การบันทึกข้อมูล (Data Record), การเก็บข้อมูล (Data Logger) ที่มีความแม่นยำ, การ Monitor ผ่านระบบเครือข่าย (Network System) ตลอดจนการควบคุมการใช้พลังงานทางไฟฟ้าด้วยมิเตอร์วัดพลังงานทางไฟฟ้า (Power Energy Meter) เพื่อการวางแผนในการประหยัดพลังงานต่อไป เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีไร้สายแบบ LoRaWAN กับ WIFI ก็มีความแตกต่างกัน ดังนั้นในบทความนี้ทางเราจะขอเปรียบเทียบการสื่อสารทั้ง 2 รูปแบบนี้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงข้อมูลที่ชัดเจนและการเลือกใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น ในหัวข้อ “เปรียบเทียบการสื่อสารไร้สายแบบ LoRaWAN และ WIFI ในงานอุตสาหกรรมต่างกันอย่างไร?” ดังตารางต่อไปนี้
 
เปรียบเทียบการสื่อสารไร้สายแบบ LoRaWAN และ WIFI ในงานอุตสาหกรรมต่างกันอย่างไร?
LoRaWAN หรือ Long Range Wide Area Network WiFi หรือ Wireless Fidelity
• ระยะการส่งข้อมูลสูง
• ใช้พลังงานต่ำ
• Bandwidth ต่ำ
• ความยากในการใช้ Setup ปานกลาง
• ระยะการส่งข้อมูลต่ำ
• ใช้พลังงานสูง
• Bandwidth สูง
• ความยากในการใช้ Setup ปานกลาง

 

     จากตารางการเปรียบเทียบการสื่อสารไร้สายแบบ LoRaWAN และ WIFI ในงานอุตสาหกรรมต่างกันอย่างไรดังกล่าว ทางเราจึงขอนำเอามายกตัวอย่างในการต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าในงานภาคอุตสาหกรรม ดังต่อไปนี้
 
     ตัวอย่าการต่อใช้งานมิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้าแบบไร้สาย LoRaWAN รุ่น KM-24-L และดึงค่าอุณหภูมิจาก Digital Indicator ผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณ RS-485 เป็น LoRa (Converter) รุ่น RM-012-L เพื่อ Monitor, Analysis, Record ผ่าน Prisoft Software

การต่อใช้งานมิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้าแบบไร้สาย LoRaWAN รุ่น KM-24-L และดึงค่าอุณหภูมิจาก Digital Indicator
ผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณ RS-485 เป็น LoRa (Converter) รุ่น RM-012-L เพื่อ Monitor, Analysis, Record ผ่าน Prisoft Software ในระบบอุตสาหกรรม
 
     ตัวอย่างการต่อใช้งานมิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้า (Multimeter) รุ่น KM-07N ร่วมกับ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ RS-485 เป็น WIFI (Converter) รุ่น RM-012-WIFI เพื่อ Monitor, Analysis, Record ผ่าน Prisoft Software

การต่อใช้งานมิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้า (Multimeter) รุ่น KM-07N ร่วมกับ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ RS-485
เป็น WIFI (Converter) รุ่น RM-012-WIFI เพื่อ Monitor, Analysis, Record ผ่าน Prisoft Software ในระบบอุตสาหกรรม
 
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานการสื่อสารไร้สายแบบ LoRaWAN กับ WIFI
 
วัดค่าพลังงานจาก Generator ใช้วัดและเก็บค่าอุณหภูมิในโกดังเก็บสินค้า วัดและคิดค่าไฟฟ้าแยกตามห้อง
ภายในอาคารจาก KM-24-L

Multifunction Power Meter Single Phase kWh-Meter With LoRa Wireless Humidity & Temperature Transmitter LoRa Baseboard interface UART UNIVERSAL INPUT 2/4 CHANNEL LoRa CLICK
 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK