Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ปัจจุบันในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีไลน์การผลิตสินค้า (Production Line) จะต้องมีระบบลำเลียงสินค้า (Conveyor System) หรือบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับการผลิตในกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภค-บริโภค เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ยา ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือสินค้าที่มีน้ำหนักเบา เป็นต้น การลำเลียงสินค้าโดยใช้สายพานลำเลียงแบบทั่วไป (Belt Conveyor) เป็นการลำเลียงจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งในหน่วยของการผลิตสินค้าในไลน์การผลิต มีความสะดวกในกรณีที่ต้องการการลำเลียงจำนวนมาก ซึ่งการใช้งานของสายพานลำเลียงต้องมีการตรวจเช็คเบื้องต้นว่าสายพานลำเลียงที่ใช้งานอยู่มีการสึก, ขาด, ชำรุด หรือไม่ หรือมีความตึงหย่อนมากหรือน้อยจนเกินไป
 
     นอกจากนี้ก็สามารถใช้เครื่องวัดและแสดงผลความถี่ (Frequency), ความเร็วรอบ (RPS) และความเร็วสายพาน (Line Speed) ที่มีหน่วยการแสดงผลได้หลายรูปแบบภายในตัวเดียว เช่น การแสดงผลค่าความถี่ (Frequency) ที่มีหน่วยการแสดงผลเป็น Hz, การแสดงค่าความเร็วรอบ หน่วยการแสดงผลเป็น รอบต่อวินาที (RPS) และการแสดงค่าความเร็วสายพาน (Line Speed) หน่วยการแสดงผลเป็น เมตรต่อนาที (m/min) ในการแสดงผลให้ผู้ใช้งานได้ทราบ ทำให้ช่วยควบคุมปริมาณหรือจำนวนการผลิตสินค้าได้ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการผลิต
 
     โดยทางเราขอยกตัวอย่างเครื่องวัดและแสดงผลความถี่หรือมิเตอร์วัดและแสดงผลความถี่แบบดิจิตอล (Digital Frequency Meter) รุ่น TFM-94N (ดังรูป)

เครื่องแสดงผลความถี่, ความเร็วรอบ และความเร็วสายพาน (Digital Frequency Meters with Alarm รุ่น TFM-94N)
 
     หลักการทำงานเครื่องวัดและแสดงผลความถี่หรือมิเตอร์วัดและแสดงผลความถี่แบบดิจิตอล (Digital Frequency Meter) รุ่น TFM-94N เป็นมิเตอร์วัดและแสดงผลค่าความถี่ (Frequency), ความเร็วรอบ (RPS) และความเร็วสายพาน (Line Speed) โดยสามารถตั้งค่า Pulse ต่อรอบของ Sensor และรัศมีของจานหมุนได้ ทําให้การวัดค่ามีความละเอียดและง่ายต่อการใช้งาน สามารถรับอินพุตประเภท Proximity Switch, Photoelectric Sensor, Encoder ในรูปแบบของสัญญาณ NPN, PNP และ Pulse และสามารถแสดงผลได้ทั้ง Hz, kHz, RPS, RPS, Cm/S, Cm/M, Cm/Hr, M/S, M/M, M/Hr (ตามการตั้งค่า) โดย Digital Frequency Meter รุ่น TFM-94N สามารถนำมาต่อใช้งานร่วมกับ Encoder, Proximity Switch, Photoelectric Sensor เป็นต้น (ดังตัวอย่าง)
 
     ตัวอย่าง เครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือ Digital Frequency Meter รับอินพุตประเภท Proximity Switch เพื่อทำการวัดความเร็วรอบของสายพานลำเลียง

ตัวอย่าง เครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือ Digital Frequency Meter รับอินพุตประเภท Proximity Switch
เพื่อทำการวัดความเร็วรอบของสายพานลำเลียง
 
     จากตัวอย่างข้างต้น ในวันนี้เราขอยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานของเครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือ Digital Frequency Meter รุ่น TFM-94N ในหัวข้อ "หลักการทำงานของเครื่องวัดและแสดงผลความถี่ (Frequency), ความเร็วรอบ (RPS) และ ความเร็วสายพาน (Line Speed)" โดยสามารถแบ่งประเภทจากลักษณะการวัดได้ดังนี้
 
     Contact Digital Frequency Meter เป็นการวัดความถี่ (Frequency), ความเร็วรอบ (Speed) และความเร็วสายพาน (Line Speed) แบบสัมผัส (Contact) โดยลักษณะการใช้งานจะใช้ตัวเซ็นเซอร์ Encoder แบบ Hollow Shaft ต่อเข้ากับแกนของมอเตอร์ หรือ Shaft ของเครื่องจักรโดยตรง และนำสัญญาณเอาต์พุตของตัวเซ็นเซอร์ต่อเข้ากับเครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือมิเตอร์วัดและแสดงค่าความถี่ (Digital Frequency Meter) เพื่อแสดงค่า และตั้งค่า Alarm เพื่อนำสัญญาณเอาต์พุตแบบ Relay และ Transfer Output ไปประยุกต์ใช้งาน (ดังตัวอย่างรูปที่ 1)
 
     ตัวอย่างรูปที่ 1 : เครื่องวัดและแสดงผลความถี่ (Digital Frequency Meter) รับอินพุตประเภท Encoder แบบ Hollow Shaft เพื่อทำการวัดความเร็วรอบของสายพานลำเลียง ติดตั้ง Encoder บริเวณท้ายของมอเตอร์

(ตัวอย่างรูปที่ 1) : การต่อใช้งานลักษณะนี้เหมาะสำหรับใช้งานวัดค่าความถี่ F (หน่วย : Hz, kHz)
หรือวัดค่าความเร็วรอบต่อวินาที, นาที (หน่วย : RPS, RPM) ได้ภายในอุปกรณ์เดียว Digital Frequency Meter รุ่น TFM-94N Series
 
     Non-Contact Digital Frequency Meter เป็นการวัดความถี่ (Frequency), ความเร็วรอบ (Speed) และความเร็วสายพาน (Line Speed) แบบไม่สัมผัส (Non-Contact) โดยลักษณะการใช้งานจะใช้ตัวเซ็นเซอร์ อาทิ Proximity Switch, Photoelectric Sensor เป็นต้น โดยใช้หลักการส่งคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Proximity Sensor) หรือใช้หลักการยิงลำแสง (Photoelectric Sensor) ในการตรวจจับเพลาหรือแกนของมอเตอร์แบบไม่สัมผัส และนำสัญญาณเอาต์พุตของตัวเซ็นเซอร์ต่อเข้ากับเครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือมิเตอร์วัดและแสดงค่าความถี่ (Digital Frequency Meter) เพื่อแสดงค่า และตั้งค่า Alarm เพื่อนำสัญญาณเอาต์พุตแบบ Relay และ Transfer Output ไปประยุกต์ใช้งาน (ดังตัวอย่างรูปที่ 2)
 
     ตัวอย่างรูปที่ 2 : เครื่องวัดและแสดงผลความถี่ (Digital Frequency Meter) รับอินพุตประเภท Proximity Switch, Photoelectric Sensor เพื่อทำการวัดความเร็วรอบของมอเตอร์

(ตัวอย่างรูปที่ 2) : การต่อใช้งานลักษณะนี้ เหมาะสำหรับใช้งานวัดค่าความถี่ F (หน่วย : Hz, kHz) หรือวัดค่าความเร็วรอบ (หน่วย : RPS, RPM)
หรือวัดค่า Line Speed (หน่วย : Cm/S, Cm/M, Cm/Hr, M/S, M/M, M/Hr) ได้ภายในอุปกรณ์เดียว Digital Frequency Meter รุ่น TFM-94N Series
 
     จากข้อมูลเนื้อหาดังกล่าว โดยทางเราได้นำมาสรุปข้อดีของการใช้งานเครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือมิเตอร์วัดและแสดงค่าความถี่ (Digital Frequency Meter) ได้ดังนี้
 
     • สามารถรับอินพุตได้หลากหลายในตัวเดียวกัน อาทิ Proximity Switch, Photoelectric Sensor, Encoder เป็นต้น
     • การ Wiring สายไม่ยุ่งยาก และตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงได้ง่าย
     • มี Digital Input Function เพื่อใช้งาน Zero, Hold Display, Show Peak High, Show Peak Low, Show Peak Different, Reset Alarm, Reset Peak and Minimum
     • ตั้งค่าการแสดงผลและการคำนวณ Pulse/รอบ ได้ง่าย
     • สามารถตั้งค่าหน่วยวัดความเร็วรอบได้ เช่น RPS, RPM
     • สามารถตั้งค่ารัศมีของจานหมุนได้หลากหลายหน่วย เช่น มิลลิเมตร, เซนติเมตร, เมตร
     • สามารถตั้งค่า Unit Line Speed หน่วยวัดความเร็วสายพานได้ เช่น Cm/S, Cm/M, Cm/H, M/S, M/M, M/H โดยสามารถเลือกหน่วยการวัด Line Speed และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนค่ารัศมีจานหมุน เพราะ Digital Frequency Meter จะคำนวณค่าในการวัดมาให้เลย
 
     จากข้อดีของเครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือ Digital Frequency Meter รุ่น TFM-94N Series สามารถตั้งค่าพารามิเตอร์เพื่อเป็นแนวทาง ดังตัวอย่าง
 











 

 

     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานเครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือ Digital Frequency Meter รุ่น TFM-94N Series
 
วัดความเร็วรอบของมอเตอร์ วัดความเร็วรอบและ Line Speed สายพานของลูกกลิ้ง วัดความเร็วรอบ และ Line Speed โรงงานทอผ้า

 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK