Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     PLC (Programmable Logic Controller) โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ : พีแอลซี หรือ PLC+HMI เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรแบบอัตโนมัติ หรือกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม โดยภายในมี Microprocessor เป็นมันสมองสั่งการที่สำคัญ PLC จะมีส่วนที่เป็นอินพุต (Input) และเอาต์พุต (Output) ที่สามารถต่อออกไปใช้งานได้ทันที มีรูปแบบหน้าจอแสดงผลต่าง ๆ เช่น PLC จอแสดงผลชนิดตัวอักษร, PLC จอแสดงผลชนิด TFT ความละเอียดสี 65,536สี+LED BACKLIGHT, PLC จอแสดงผลแบบ Touch Screen ที่ถูกออกแบบให้แสดงผลเป็นรูปภาพ (Picture), กราฟิก (Graphics), ตัวเลข (Number) และกราฟเส้น (Line Graph) เป็นต้น ซึ่ง PLC มีทั้งรุ่นราคาถูกจนไปถึงราคาที่คุ้มค่ากับการลงทุน และสามารถเลือกตามงบประมาณได้  โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำและทำความรู้จักกับหน้าจอ PLC Touch Screen ที่มีความทันสมัย มองเห็นภาพได้ชัดเจน เนื่องจาก PLC ประเภท Touch Screen ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมและมีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องจักรได้ง่ายขึ้น ทำให้เป็นที่นิยมถูกนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมได้หลากหลาย แบ่งตามประเภทต่าง ๆ ดังนี้

     หน้าจอ PLC Touch Screen ชนิดของจอสี (Color) และขาวดำ (Monochrome)

SAMBA Vision Color OPLC Vision Color Touch Screen OPLC Vision Color Touch Screen OPLC Vision Graphic / Touch Screen OPLC Unistream Color Touch Screen OPLC
SM-Series V570-Series V1040-Series V280-Series V530-Series USP-Series
Samba PLC (PLC+HMI) สามารถเก็บข้อมูล (Data Logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen Vision PLC (PLC+HMI) สามารถเก็บข้อมูล (Data Logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย มีหน้าจอแบบ Touch Screen UniStream PLC (PLC+HMI) เน้นกับงานที่ใช้กราฟิก หน้าจอแบบ Touch Screen


     คุณสมบัติหน้าจอ PLC Touch Screen
     Touch Screen คือการสามารถที่จะทำการซ้อนหรือเลื่อนหน้า (Screen) หรือ Page ในแต่ละหน้าได้ ทำให้เราประหยัดพื้นที่ในการเพิ่มฟังก์ชันของเครื่องจักรได้มากขึ้น และใช้การติดต่อสื่อสารแบบ 232/485 เป็นส่วนใหญ่  ก็สามารถที่ติดต่อ Operation Panel เข้ากับ PLC ได้แล้ว โดยการใช้งาน Touch Screen ร่วมกับ PLC มีอยู่ 3 ส่วนประกอบหลัก ๆ คือ
     
• ตัว Touch Screen / หน้าจอ Touch Screen
     
• Cable Link
     
• Software ซึ่งส่วนนี้จะทำหน้าที่เป็น Screen Editor ซึ่งการออกแบบกราฟฟิกหรือระบบต่าง ๆ ก็จะทำบน Screen Editor นี้ เมื่อข้อมูลครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์แล้วก็จะทำการโหลดข้อมูลเข้าสู่ทัชสกรีน (Touch Screen) หรือจะเป็นการแก้ไขได้แบบ Online ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบตัว Screen Editor นั่นเอง

     การทำงานของ Touch Screen ร่วมกับ PLC ก็คือการรับส่งข้อมูลของข้อมูลต่าง ๆ ที่เข้ามาใน PLC ไม่ว่าจะเป็น Input, Output หรือ Relay มาแสดงผลเป็นภาพกราฟิก (Graphic), รูปภาพ (Picture), ตัวเลข (Number) หรือแสดงผลอื่น ๆ ในรูปแบบบนจอ Touch screen ซึ่ง Register เหล่านี้จะสัมพันธ์กับ Ladder Diagram ที่เราได้โปรแกรมไว้ใน PLC หรือในส่วนของสัญลักษณ์ (Symbol) ก็จะนำข้อมูลของ Register ที่เรากำหนดไว้นั้นมาแสดงด้วยเช่นกัน โดยสามารถนำหน้าจอ PLC Touch Screen มาออกแบบกราฟิกเองได้  ซึ่งเราจะมาแนะนำตัวอย่างการออกแบบกราฟิกแบบง่าย ๆ มาฝากกัน ในหัวข้อ “วิธีการออกแบบกราฟิกบนหน้าจอ PLC Touch Screen แบบง่าย ๆ” โดยใช้ PLC Touch Screen ดังตัวอย่างต่อไปนี้

     ตัวอย่างการออกแบบหน้าจอแสดงผล ด้วยการใส่รูปภาพ (Picture), กราฟิก (Graphics), ตัวเลข (Number) และกราฟเส้น (Line Graph) ผ่าน Software ดังนี้

ตัวอย่างการออกแบบการเขียนคำสั่งควบคุมอุณหภูมิในตู้อบ พร้อมหน้าจอแสดงผล PLC+HMI แบบ Touch Screen รุ่น V1040


     จากรูปตัวอย่าง การออกแบบการเขียนคำสั่งควบคุมอุณหภูมิในตู้อบ พร้อมหน้าจอแสดงผล PLC+HMI แบบ Touch Screen รุ่น V1040 เป็นการสร้างหน้าจอกราฟิก เพื่อโชว์ระดับของเหลวในถังทั้งสองใบ รวมถึงการเขียนโปรแกรมรับสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) ที่เป็นระดับของเหลว โดยใช้เป็นสัญญาณ 4-20 mA แล้วทำมาเขียนเป็นสัญญาณ Linearization

ตัวอย่างการออกแบบการเขียนคำสั่งการแสดงผล Line การผลิต พร้อมหน้าจอแสดงผล PLC+HMI แบบ Touch Screen รุ่น V570


     จากรูปตัวอย่าง การออกแบบการเขียนคำสั่งการแสดงผล Line การผลิต พร้อมหน้าจอแสดงผล PLC+HMI แบบ Touch Screen รุ่น V570 เป็นตัวอย่างของกระบวนการต้มน้ำหรืออุ่นวัตถุดิบในถังจากนั้นนำมาบรรจุของในขวด โดยใช้ PLC V570 เป็นตัวอย่างของการเขียน Ladder เพื่อควบคุมอุณหภูมิแบบ ON-OFF

     จากข้อมูลข้างต้นสามารถสรุปข้อดีของการใช้ PLC+HMI แบบหน้าจอ Touch Screen ได้ดังนี้
     • สามารถออกแบบกราฟิก, ปุ่มกด (Switch) ได้ตามความต้องการ
     • เพื่อให้มีความยืดหยุ่นต่อการใช้งาน
     • กรณีใช้เป็นแบบ RS485 จะลดความซับซ้อนในการ Wiring สายคอนโทรล
     • ใช้โปรแกรมเดียวในการเขียนโปรแกรมหน้าจอและแลดเดอร์
     • เหมาะสำหรับพื้นที่จำกัด เพราะบางรุ่นมีขนาดเล็ก สามารถยึดหน้าตู้พร้อมกับ IO

     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC (Programmable Logic Controller)

ระบบควบคุม Booter Pump ระบบควบคุมปั๊มลม เครื่องเทสแรงอัดพลาสติก

Switching Power Supply Signal Tower Light ROTATION WARNING LIGHT Relay Module Slim Relay Module

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK