Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Signal Transmitter) คือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าทางด้านอินพุต (Input Signal) ให้เป็นสัญญาณอนาลอกมาตรฐาน (Analog Signal) ทางด้านเอาต์พุต (Output) เช่น 4-20mA, 0-10V เป็นต้น และสามารถรับอินพุตประเภท AC/DC Current, AC/DC Voltage, Resistance, Frequenc, RPM, Strain-Gauge และ Multi Input for Thermocouple, PT100 (RTD) ได้ โดยที่อินพุต-เอาต์พุตแยกอิสระจากกัน (Isolation) ทำให้ไม่เกิดการรบกวนสัญญาณต่อกัน และหากสัญญาณด้านอินพุต (Input) เกิดการช็อตก็จะไม่มีผลกระทบต่อสัญญาณด้านเอาต์พุต (Output) โดยประเภทของอุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Signal Transmitter) มีรูปแบบต่าง ๆ (ดังตาราง)
 
 
Signal Transmitter Programmable Signal Transmitter Digital Signal Transmitter Digital Loadcell Transmitter
EM-Series EM-L, EM-LC IM-Series IM-G

     โดยปัจจุบันเราสามารถพบเห็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Signal Transmitter) ในงานด้านอุตสาหกรรม (ดังตาราง)
 
     อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Signal Transmitter) สามารถแบ่งตามประเภทของสัญญาณอนาลอกมาตรฐานทางไฟฟ้าได้ 2 ประเภท ดังนี้
     1. สัญญาณกระแสไฟฟ้ามาตรฐานเป็นสัญญาณในรูปแบบของกระแสตรง (DC Current) 4-20mA คือ เมื่อวัดค่าที่ 0% กระแสที่ออกทางด้านเอาต์พุตจะได้ 4mA และเมื่อวัดค่าที่ 100% กระแสที่ออกทางด้านเอาต์พุตจะได้ 20mA (ดังตัวอย่างกราฟ) เป็นสัญญาณที่นิยมใช้กันอย่างมาก เนื่องจากสามารถส่งสัญญาณได้ระยะไกล และสัญญาณรบกวนจะน้อยกว่าสัญญาณที่เป็นแรงดันไฟฟ้า (ดังรูปกราฟที่ 1)
 

รูปกราฟที่ 1 แสดงตัวอย่างทางด้านเอาต์พุต รูปแบบของกระแสไฟฟ้า (DC Current) 4-20mA
 
     2. สัญญาณแรงดันไฟฟ้ามาตรฐานเป็นสัญญาณในรูปแบบของแรงดันไฟฟ้า (DC Voltage) 0-10VDC คือ เมื่อวัดค่าที่ 0% กระแสที่ออกทางด้านเอาต์พุตจะได้ 0Vdc และเมื่อวัดค่าที่ 100% กระแสที่ออกทางด้านเอาต์พุตจะได้ 10Vdc (ดังตัวอย่างกราฟ) ซึ่งสัญญาณมาตรฐานแบบแรงดันนี้ไม่เหมาะกับการส่งสัญญาณระยะไกล เนื่องจากจะเกิดความต้านทานของสายสัญญาณขึ้นและทำให้เกิดสัญญาณรบกวนได้ง่าย (ดังรูปกราฟที่ 2)
 

รูปกราฟที่ 2 แสดงตัวอย่างทางด้านเอาต์พุต รูปแบบของแรงดันไฟฟ้า (DC Voltage) 0-10VDC
 
     จากประเภทของสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานทางไฟฟ้าดังกล่าว ยังมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Signal Transmitter) ที่รับสัญญาณประเภทโหลดเซลล์ (Load Cell) เพื่อทำหน้าที่แปลงสัญญาณแรงดันไฟ DC จากวงจรโหลดเซลล์ (Load Cell) เป็นสัญญาณไฟฟ้า DCV หรือ DCmA โดยวันนี้ทางเราจะขอแนะนำอุปกรณ์แปลงสัญญาณประเภทโหลดเซลล์ (Load Cell Transmitter) เพิ่มเติม ในหัวข้อ "การประยุกต์ใช้งาน Digital Load Cell Transmitter ร่วมกับ PLC, Indicator, SCADA (DCS)" โดยขอยกตัวอย่างอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐานแสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Load Cell Signal Transmitter) ยี่ห้อ Primus รหัสสินค้า IM-G ดังต่อไปนี้
 
     อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Signal Transmitter) ยี่ห้อ Primus รหัสสินค้า IM-G

รูปแสดงโครงสร้างภายในของวงจร Load Cell และตัวอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์
เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Signal Transmitter)
 
     จากภาพอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Signal Transmitter) ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแรงดันไฟ DC จากวงจรภายในโหลดเซลล์ (Load Cell Circuit) หรือวงจรบริดจ์ (Bridge Circuit) เป็นสัญญาณไฟฟ้า DCV (0-10V) หรือ DCmA (4-20mA) โดยเซ็นเซอร์โหลดเซลล์ (Load Cell) จะถูกแปลงสัญญาณทางกลเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว โดยจะถูกรับจากแรงที่มากระทำ อาทิ แรงกด (Compression), แรงดึง (Force) หรือน้ำหนัก (Weight) ให้เปลี่ยนแปลงออกมาในรูปแบบของสัญญาณทางไฟฟ้า (mV/V) ซึ่งภายในโหลดเซลล์ (Load Cell) เกือบ 80% นั้น จะมีตัว Strain-Gauge จำนวน 4 ตัว อยู่ภายใน ซึ่งเป็นความต้านทานที่จะเปลี่ยนแปลงค่าไปตามแรงกดหรือแรงดึง โดยจัดเรียงในรูปแบบของวงจรบริดจ์ (Bridge Circuit) ดังรูปโครงสร้างข้างต้น
 
     ซึ่งโดยปกติตัว Load Cell Transmitter จะมีทั้งรูปแบบของปุ่มปรับหมุน หรือแบบ Dip Switch เพื่อนำสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (4-20mA, 0-10VDC) ทางด้านเอาต์พุตมาต่อใช้งานร่วมกับจอแสดงผล (Indicator) หรือเครื่องควบคุม (Controller) และ Load Cell Transmitter แสดงผลที่หน้าจอแบบดิจิตอล ซึ่งในหัวข้อนี้จะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐานหรือโหลดเซลล์ทรานสมิตเตอร์แบบดิจิตอล (Didital Load Cell Transmitter) โดยการประยุกต์ใช้งานร่วมกับ PLC, Indicator, SCADA (DCS) ดังตัวอย่างต่อไปนี้
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Signal Transmitter) ร่วมกับ PLC ยี่ห้อ UNITRONICS รุ่น V1040 Touch Screen+HMI
 
     จากภาพวงจรเป็นการแสดงการต่อวงจรระหว่าง Load Cell กับ Digital Load Cell Transmitter และ Digital Load Cell Transmitter กับ UNITRONICS รุ่น V1040 Touch Screen+HMI เพื่อส่งสัญญาณ Analog ของค่าน้ำหนักที่วัดได้ ณ ปัจจุบัน (Real Time) ไปใช้งานในการเขียนโปรแกรม PLC ต่อไป
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Signal Transmitter) ร่วมกับ Digital Indicator ยี่ห้อ Primus รุ่น TIM-94N และ Paperless Recorder ยี่ห้อ TOHO รุ่น TRM-20
 
     จากภาพวงจรเป็นการแสดงการต่อวงจรระหว่าง Load Cell กับ Digital Load Cell Transmitter และ Digital Load Cell Transmitter โดยจะทำการแยกสัญญาณ Analog ออกเป็น 2 Channel ต่อเข้ากับ Paperless Recorder ยี่ห้อ TOHO รุ่น TRM-20 เพื่อบันทึกค่าน้ำหนักที่วัดได้ และ Digital Indicator ยี่ห้อ Primus รุ่น TIM-94N เพื่อแสดงค่าน้ำหนักที่วัดได้ ณ ปัจจุบัน (Real Time)
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Signal Transmitter) ร่วมกับ SCADA (DCCS)

     จากภาพวงจรเป็นการแสดงการต่อวงจรระหว่าง Load Cell กับ Digital Load Cell Transmitter และ Digital Load Cell Transmitter ต่อเข้าระบบ SCADA (DCS)
 
     สรุปข้อดีของการประยุกต์ใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณประเภทโหลดเซลล์ (Digital Load Cell Transmitter) ร่วมกับ PLC, Indicator, SCADA (DCS)
     ข้อดีของการประยุกต์ใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Signal Transmitter)
     • เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Transmitter) ที่มีหน้าจอแสดงผลในตัว
     • อินพุต-เอาต์พุตแยกอิสระจากกัน (Isolation) ทำให้ไม่เกิดการรบกวนของสัญญาณ
     • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง เนื่องจากมีขนาดบาง
     • ลดการ Wiring สาย ทำให้ตู้คอนโทรล, ตู้ไฟฟ้า เป็นระเบียบ
     • สะดวกในการซ่อมบำรุงและตรวจสอบ
     • มี Option ให้เลือกใช้งาน เช่น เลือกสัญญาณ Analog มาตรฐาน 4-20mA, 0-10V ได้สูงสุดถึง 2 ช่องสัญญาณ และ RS-485 MODBUS RTU Protocol
 
     การประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Signal Transmitter)
     • เครื่องชั่งน้ำหนักหรือเครื่องแสดงค่าน้ำหนัก
     • อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร
     • อุตสาหกรรมพลาสติก
     • อุตสาหกรรมยาง, โพลิเมอร์, ยางไฟเบอร์ ฯลฯ
     • แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน ต่อใช้งานร่วมกับระบบ PLC, SCADA (DCS), Digital Indicator, Paperless Recorder
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
 
ชั่งน้ำหนักบนสายพาน เครื่องน้ำหนักการให้อาหารสัตว์ในฟาร์ม ชั่งน้ำหนักบนสายพานและส่งสัญญาณไปยังระบบ SCADA (DCS)


Digital Load Cell Indicator With Alarm S Type Load cell Single Point Load cell Comprssion And Tension Digital Frequency Meters With Alarm


โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK