Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ในอุตสาหกรรมฉีดหรือขึ้นรูปพลาสติกต่าง ๆ ในปัจจุบัน มักมีการติดตั้งใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่หลักสิบตัวไปจนถึงเป็นร้อยตัวต่อเครื่อง เพื่อทำหน้าที่ให้ความร้อนแก่ชิ้นงาน และทางผู้ใช้งานย่อมเคยเจอเหตุการณ์ที่ชิ้นงานที่ผลิตออกมาไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการโดยผู้ใช้งานเองก็ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะมาจากอุณหภูมิที่ไม่เพียงพอของฮีตเตอร์ (Heater) อันเนื่องมาจากฮีตเตอร์ (Heater) อาจมีการชำรุด ทำให้ไม่สามารถทำอุณหภูมิได้ตามที่ต้องการ และกว่าทางผู้ใช้งานจะทราบว่าฮีตเตอร์ (Heater) เกิดการชำรุดหรือฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) นั้น อาจทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหายไปแล้ว ส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายหรือเสียเวลาในการตรวจหาว่าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวไหนขาดอีกด้วย และยังมีสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) โดยสรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้
     1. การจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสม เช่น ฮีตเตอร์ (Heater) 220V จ่ายแรงดัน 380V ทำให้เสียหาย
     2. กำลังวัตต์ที่ไม่เหมาะสมกับขนาดฮีตเตอร์ เช่น ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) ที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 5W/CM2 เป็นต้น
     3. การเลือกใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสมกับงาน เช่น ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) นำไปใช้งานกับน้ำที่มีสารเคมี แต่เลือกใช้วัสดุที่ไม่สามารถทนต่อสารเคมีได้ สแตนเลส SUS304 เป็นต้น
     4. คราบตะกรันติดที่ท่อฮีตเตอร์ เช่น ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ที่สะสม ถ้าไม่หมั่นทำความสะอาดจะทำให้การถ่ายเทความร้อนไม่ดี ทำให้ฮีตเตอร์ทำงานหนักขึ้น
     5. อุปกรณ์ควบคุม เช่น Temperature Controller หรือ Thermostat ไม่ตัดการทำงาน ทำให้ฮีตเตอร์ (Heater) ทำงานตลอดเวลา

     ดังนั้นทางผู้บรรยายจึงขอแนะนำอุปกรณ์ที่จะช่วยทางผู้ใช้งานประหยัดเวลาในการตรวจเช็ค อีกทั้งยังสามารถป้องกันและลดปัญหาชิ้นงานเสียหายได้อีกด้วย คือ อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาดโดยเฉพาะ เพื่อแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงความผิดปกติของฮีตเตอร์ (Heater) ก่อนที่จะทำให้สินค้าหรือไลน์การผลิตเกิดความเสียหายเกิดขึ้น (ดังรูป)

อุปกรณ์สำหรับเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm)
Model : CM-005N-4CH
เครื่องแสดงผลค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์
(Digital Monitor For Heater Break Alarm)
Model : CM-005DN


     ข้อดีของการใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm)
     • ลดความเสียหายของสินค้าหรือชิ้นงานอันเนื่องมาจากฮีตเตอร์ขาด (Heater Break)
     • ง่ายต่อการซ่อมบำรุงรักษา เนื่องจากทราบตำแหน่งฮีตเตอร์ (Heater) ที่เสียหายชัดเจน
     • ป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อฮีตเตอร์ (Heater) ตัวอื่น ๆ ในเครื่องเดียวกัน ทำงานหนักชดเชยแทนตัวที่เสียหาย
     • เข้าถึงหน้างานได้รวดเร็ว เพื่อลดความเสียหายของสินค้าหรือชิ้นงาน อันเนื่องมาจากฮีตเตอร์ขาด (Heater Break)
     • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงาน
     • ประหยัดเวลาในการตรวจเช็คกรณีที่เกิดฮีตเตอร์ (Heater) ขาด หรือ Short Circuit เพราะสามารถดูได้จาก LED ที่กระพริบ หรือดูจาก Monitor ได้เลย
     • Monitor และ Record ข้อมูลผ่าน MODBUS RTU RS-485 ได้
     • ไม่ต้องต่อร่วมกับ CT (Current Transfomer) ภายนอก ทำให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้ได้

     โดยในวันนี้ผู้บรรยายจะขอยกตัวอย่าง วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH ต่อใช้งานร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005D (Digital Monitor For Heater Break Alarm) เพื่อแสดงค่ากระแสของฮีตเตอร์ (Heater) กับเครื่องเทอร์โมฟอร์มพลาสติก และการใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH ต่อใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ในงานห้องอบสี ดังรูปตัวอย่าง

     ตัวอย่างที่ 1 : ยกตัวอย่างวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH ต่อร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005D (Digital Monitor For Heater Break Alarm) กับ เครื่องเทอร์โมฟอร์มพลาสติก


     จากรูป ตัวอย่างที่ 1 วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH ต่อร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005DN (Digital Monitor For Heater Break Alarm) กับเครื่องเทอร์โมฟอร์มพลาสติก โดยต่อใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH เพื่อเช็คฮีตเตอร์ (Heater) จำนวน 20 ตัว โดยแบ่งเป็นฮีตเตอร์ (Heater) จำนวน 5 ตัว ใน 1 ชุดการคอนโทรล ทั้งหมด 4 ชุดคอนโทรล และต่อร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005DN (Digital Monitor For Heater Break Alarm) สำหรับตั้งค่ากระแส Heater Break โดยจะตั้งค่าให้ต่ำกว่าค่ากระแสจริงที่ฮีตเตอร์ทั้ง 5 ตัวที่ใช้งาน หากเกิดความผิดปกติฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดตัวนึงในชุดนั้นขาด อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาดรุ่น CM-005N-4CH (Heater Break Alarm) ก็จะแจ้งเตือน Alarm ทันที โดยที่ไฟ Warning Light รุ่น TLW ก็จะติด พร้อมทั้งที่เครื่องแสดงผล CM-005DN จะโชว์สถานะและตำแหน่งที่ฮีตเตอร์เกิดผิดปกติ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทราบและเข้าตรวจสอบได้ทันที

     ตัวอย่างที่ 2 : ยกตัวอย่างวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH ต่อใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ในงานห้องอบสี


     จากรูป ตัวอย่างที่ 2 ยกตัวอย่างวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH ต่อใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ในงานห้องอบสี โดยต่อใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH เพื่อเช็คฮีตเตอร์ (Heater) จำนวน 40 ตัว โดยแบ่งเป็นฮีตเตอร์ (Heater) จำนวน 20 ตัว ต่อ 1 ชุดการคอนโทรล ทั้งหมด 2 ชุดคอนโทรล โดยใน 1 ชุดการคอนโทรล จะทำการตรวจเช็คฮีตเตอร์ (Heater) 2 Group (1 Group = 10 Heater) และต่อใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ สำหรับตั้งค่ากระแส Heater Break พร้อมทั้งดูสถานะต่าง ๆ ของฮีตเตอร์ โดยจะตั้งค่ากระแส Heater Break ให้ต่ำกว่าค่ากระแสจริงที่ฮีตเตอร์ทั้ง 10 ตัวใช้งาน เมื่อเกิดความผิดปกติกับฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดตัวนึงในชุดนั้นขาด อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาดรุ่น CM-005N-4CH (Heater Break Alarm) ก็จะแจ้งเตือน Alarm ทันที โดยที่ไฟ Warning Light รุ่น TLW ก็จะติด พร้อมทั้งที่หน้า Software จะโชว์สถานะและตำแหน่งที่ฮีตเตอร์เกิดผิดปกติ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทราบและเข้าตรวจสอบได้ทันที

     จากตัวอย่างข้างต้น ในการยกตัวอย่างวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH ทั้งการต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์แสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) รุ่น CM-005DN โดยอุปกรณ์แสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) รุ่น CM-005DN จะสามารถแสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละตัวได้สูงสุดถึง 8 ตัว (ต่อเข้ากับ CM-005N-4CH 2 ตัว) และวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH ต่อใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากกับเครื่องจักรที่มีการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) หลาย Zone เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะถ้าฮีตเตอร์ (Heater) เส้นใดเส้นหนึ่งขาดโดยที่ผู้ปฎิบัติงานไม่รู้จะทำให้ชิ้นงานเสียหายได้ ดังนั้นในวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นสำหรับการเช็คฮีตเตอร์ขาดนั้น หวังว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับผู้ใช้งานได้ไม่มากก็น้อย และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) นั้น การเลือกใช้อุปกรณ์ต่อร่วมก็สำคัญเช่นกัน เช่น Temperature Controller, Solid State Relay, Temperature Sensor เป็นต้น

     ดังนั้น จากที่ผู้บรรยายกล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปข้อดีของการลดปัญหาชิ้นงานเสียหายด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) ดังนี้
     1. ป้องกันชิ้นงานเสียหายอันเนื่องจากฮีตเตอร์ชำรุด ในกรณีที่ผู้ใช้งานฮีตเตอร์จำนวนหลายตัวในเครื่องเดียวในการให้ความร้อนกับชิ้นงาน
     2. เพิ่มอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ เช่น ในกรณีที่มีฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดตัวหนึ่งขาด คุณจะไม่สามารถทราบเลยว่ามีฮีตเตอร์ (Heater) ขาดเกิดขึ้น เพราะเนื่องจากอุณหภูมิที่ได้นั้นยังมีค่าเท่าเดิม แต่ผลลัพธ์คือการทำงานของฮีตเตอร์ตัวที่ใช้ได้มีการทำงานหนักขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อายุการใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater) สั้นลง
     3. ง่ายต่อการ Maintenance เพราะอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH จะมี LED และ Alarm แสดงสถานะการขาดของฮีตเตอร์ (Heater) ทำให้ช่างทำการซ่อมหรือเปลี่ยนฮีตเตอร์ (Heater)ได้ทันที
     4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงาน ไม่ต้องเสียเวลาในการตรวจเช็คความผิดปกติของฮีตเตอร์ (Heater)ให้ยุ่งยาก

     ข้อแนะนำ : การออกแบบฮีตเตอร์ (Heater) และการเลือกประเภทของฮีตเตอร์ (Heater) ให้เหมาะสมกับลักษณะงานในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ทำให้ช่วยลดปัญหาชิ้นงานเกิดความเสียหายได้ เช่น การใช้ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่เครื่องฉีดพลาสติก, ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater) เพื่อให้ความร้อนกับแผ่นแม่พิมพ์, ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) เพื่อต้มน้ำมัน-ของเหลวหรือต้มสารเคมี, ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่แม่พิมพ์ในการอุ่นของเหลว-อุ่นกาว, ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) เพื่อให้ความร้อนในการอุ่นของเหลว, ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เพื่อให้ความร้อนกับอากาศในการอบแห้ง-ไล่ความชื้น, ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater) ให้ความร้อนโดยการแผ่รังสี งานอบสี, อบขนม, อบอาหาร ฯลฯ โดยฮีตเตอร์ (Heater) สามารถนำมาใช้งานร่วมกับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) เช่น Thermocouple, RTD Pt100, เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) หรือ Thermostat, Solid State Relay เป็นต้น

     อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm) เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภท ดังนี้
     • อุตสาหกรรมพลาสติก 
     • อุตสาหกรรมยานยนต์ 
     • อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม
     • อุตสาหกรรมสิ่งทอ ฯลฯ

     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน

เครื่องเทอร์โมฟอร์มพลาสติก เครื่องฉีดพลาสติก ห้องอบสีรถยนต์

Heater Break Alarm Heater ฮีตเตอร์ NTC/PTC Temperature Coefficient Digital Temperature Controller Digital Temperature Controller PID Control Function


โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK