Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Signal Transmitter) คือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณอะนาล็อกมาตรฐาน (Analog Signal) เช่น 4-20mA, 0-10V เป็นต้น ที่สามารถรับอินพุตประเภท Load Cell, Strain-Gauge, AC/DC Current, AC/DC Voltage, Resistance, Frequency, RPM และ Multi Input for Thermocouple, PT100 (RTD) ฯลฯ โดยที่อินพุต (Input) และเอาต์พุต (Output) แยกอิสระจากกัน (Isolation) จึงทำให้ไม่เกิดการรบกวนสัญญาณต่อกัน และหากสัญญาณด้านอินพุต (Input) เกิดการช็อตก็จะไม่มีผลกระทบต่อสัญญาณด้านเอาต์พุต (Output) ซึ่งสัญญาณเหล่านี้ในบางครั้งไม่สามารถนำมาใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมือวัดได้โดยตรง เนื่องจากเป็นสัญญาณที่ต่างชนิดกันของเครื่องมือวัดแต่ละตัว ดังนั้นจึงได้มีการกำหนดมาตรฐานของสัญญาณอนาล็อกขึ้น (4-20mA, 0-10VDC) เพื่อให้สามารถใชังานร่วมกับอุปกรณ์ประเภททรานสดิวเซอร์ (Transducer) หรืออุปกรณ์เครื่องมือวัดและควบคุมอื่น ๆ ได้ เช่น เซ็นเซอร์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter), เซ็นเซอร์วัดความชื้นและอุณหภูมิ (Humidity & Temperature Transmitter), เซ็นเซอร์วัดระดับแบบต่อเนื่อง (Level Sensor / Level Transmitter), เครื่องแสดงผล (Indicator), เครื่องควบคุม (Controller) หรือ PLC เป็นต้น โดยการนำเอาสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานทางด้านเอาต์พุต (Output Signal) ที่ได้จากอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Signal Transmitter) มาแสดงผลหรือควบคุมของระบบในโรงงานอุตสาหกรรม โดยในส่วนการนำไปใช้งานของ Signal Transmitter นั้น ท่านผู้อ่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในบทความที่ผ่านมาของเราได้ ในหัวข้อ “การนำไปใช้งานของ Signal Transmitter และการต่อใช้งาน Signal Transmitter แบบต่าง ๆ”

     โดยในวันนี้ผู้บรรยายขอยกตัวอย่างอุปกรณ์แปลงสัญญาณน้ำหนักหรือแรงดันจาก Load Cell โดยรับอินพุตจาก Strain-Gauge เช่น 1.5, 2, 2.5, 3, 3.3 mV/V by Excite Voltage 5Vdc หรือ 10Vdc ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (Analog Signal) 4-20mA, 0-10V รุ่น IM-G Series ยี่ห้อ Primus ที่มี Display 7-Segment แสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Load Cell Transmitter) ง่ายต่อการใช้งาน ดังนี้

Digital Load Cell Transmitter (IM-G-Series) อธิบายสัญลักษณ์ของ Display
อุปกรณ์แปลงสัญญาณน้ำหนัก หรือแรงดันจาก Load Cell ให้เป็นสัญญาณอะนาล็อกมาตรฐานแบบดิจิตอล ที่มี Display แสดงผลง่ายต่อการทำางาน


     อุปกรณ์แปลงสัญญาณน้ำหนักหรือแรงดันจาก Load Cell ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานแบบดิจิตอล (Digital Load Cell Transmitter) ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแรงดันไฟ DC จากวงจรโหลดเซลล์ (Load Cell) หรือวงจรบริดจ์ (Bridge Circuit) เป็นสัญญาณไฟฟ้า DCV (0-10V) หรือ DCmA (4-20mA) โดยเซ็นเซอร์โหลดเซลล์ (Load Cell) จะถูกแปลงสัญญาณทางกลเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว โดยจะถูกรับจากแรงที่มากระทำ อาทิ แรงกด (Compression), แรงดึง (Force) หรือน้ำหนัก (Weight) ให้เปลี่ยนแปลงออกมาในรูปแบบของสัญญาณทางไฟฟ้า (mV/V) ซึ่งภายในโหลดเซลล์ (Load Cell) เกือบ 80% นั้น จะมีตัว Strain-Gauge จำนวน 4 ตัว อยู่ภายในซึ่งเป็นความต้านทานที่จะเปลี่ยนแปลงค่าไปตามแรงกดหรือแรงดึง โดยจัดเรียงในรูปแบบของวงจรบริดจ์ (Bridge Circuit) ดังรูป

     ตัวอย่างวงจรของ Digital Load Cell Transmitter (IM-G-Series)
     ซึ่งโดยปกติตัว Load Cell Transmitter จะมีทั้งรูปแบบของปุ่มปรับหมุน หรือแบบ Dip Switch เพื่อนำสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (4-20mA , 0-10VDC) ทางด้านเอาต์พุตมาต่อใช้งานร่วมกับจอแสดงผล (Indicator) หรือเครื่องควบคุม (Controller) และ Load Cell Transmitter แสดงผลที่หน้าจอแบบดิจิตอล 

     โดยในวันนี้ผู้บรรยายจะขอแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับการ Calibrate Digital Load Cell Transmitter โดยยกตัวอย่างอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน หรือโหลดเซลล์ทรานสมิตเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Load Cell Transmitter) รุ่น IM-G Series ยี่ห้อ Primus ในหัวข้อ “แนะนำการ Calibrate อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (Digital Load Cell Transmitter)” ว่ามีเทคนิควิธการ Calibrate อย่างไร? เพื่อให้ค่าสัญญาณ Output มีความแม่นยำ โดย 2 ตัวอย่างดังนี้

     1. Calibrate by Key Sensor Rating (mV)
         การ Calibrate ค่าน้ำหนักในการชั่ง โดยกำหนดค่า mV ได้ 2 ตำแหน่ง คือ จุดเริ่มต้น (ไม่มีโหลดหรือไม่มีน้ำหนัก) และจุดสุดท้าย (มีโหลดสูงสุดหรือน้ำหนักสูงสุด)

     2. Calibrate by Load
         การ Calibrate ค่าน้ำหนักในการชั่ง โดยใช้โหลดจริงหรือน้ำหนักจริงในการ Calibrate สามารถ Calibrate ละเอียดได้สูงสุดถึง 8 ตำแหน่ง

     ตัวอย่างที่ 1 การต่อใช้งาน Load Cell และการ Calibrate by Key Sensor Rating (mV) (Digital Load Cell Transmitter)

     จากรูปตัวอย่างที่ 1 : การ Calibrate ค่าน้ำหนักในการชั่ง โดยกำหนดค่า mV ได้ 2 ตำแหน่ง คือ จุดเริ่มต้น (ไม่มีโหลดหรือไม่มีน้ำหนัก) โดยกำหนด 0.000mV และจุดสุดท้าย (มีโหลดสูงสุดหรือน้ำหนักสูงสุด) 20.000mV (ดังรูปที่ 1)

     รูปที่ 1

        มาทำความเข้าใจความหมายของสัญญาณโหลดเซลล์ (Load Cell) กันก่อนนะครับ
        หากจ่ายแรงดัน 10V. ให้กับโหลดเซลล์ที่มี Rated Output 2 mV/V ที่ Full load
        สมมติว่าเป็น 100 กิโลกรัม
        ดังนั้นเมื่อมีแรงกระทำต่อโหลดเซลล์ที่น้ำหนัก 100 กิโลกรัม สัญญาณที่ออกมาจะได้เท่ากับ 20 mV
        Excitation x mV = mV/V ที่ Full load

     ตัวอย่างที่ 2 การต่อใช้งาน Load Cell และการ Calibrate by Load (Digital Load Cell Transmitter)

     จากรูปตัวอย่างที่ 2 : การ Calibrate ค่าน้ำหนักในการชั่ง ใช้โหลดจริงหรือน้ำหนักจริง โดยการ Calibrate 3 ตำแหน่ง
          Calibrate จุดเริ่มต้น (ไม่มีน้ำหนัก) คือ 0 kg
          Calibrate จุดที่ 1 (น้ำหนัก 20 kg)
          Calibrate จุดที่ 2 (น้ำหนัก 40 kg)
          Calibrate จุดที่ 3 (น้ำหนัก 60 kg) เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวัดค่าน้ำหนัก (ดังรูปที่ 2)

     รูปที่ 2

     จากการแนะนำการ Calibrate อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (Digital Load Cell Transmitter) สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้

     อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (Load Cell Transmitter)
     • ใช้งานร่วมกับ PLC
     • ใช้งานร่วมกับ Digital Indicator
     • ใช้งานร่วมกับระบบ DCS
     • ใช้งานร่วมกับระบบ SCADA

     อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (Digital Load Cell Transmitter) เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภท ดังนี้
     • เครื่องชั่งน้ำหนักหรือเครื่องแสดงค่าน้ำหนัก, อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร, อุตสาหกรรมพลาสติก, อุตสาหกรรมยาง, โพลิเมอร์, ยางไฟเบอร์ ฯลฯ

   ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
 
เครื่องชั่งน้ำหนักหรือเครื่องแสดงค่าน้ำหนัก อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร/ชั่งน้ำหนักอาหาร
 
 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK