Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     PLC (Programmable Logic Controller) พีแอลซี อุปกรณ์สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องจักรแบบอัตโนมัติที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม โดย PLC มีหน้าจอแสดงผลรูปแบบต่าง ๆ เช่น PLC จอแสดงผลชนิดตัวอักษร, PLC จอแสดงผลชนิด TFT ความละเอียดสี 65,536สี+LED BACKLIGHT, PLC จอแสดงผลแบบ Touch Screen ที่ถูกออกแบบให้แสดงผลเป็นรูปภาพ (Picture), กราฟิก (Graphics), ตัวเลข (Number) และกราฟเส้น (Line Graph) เป็นต้น มีขนาดจอตั้งแต่ 3.5” - 15.6” (Unitronics) ซึ่งแต่ละรุ่นก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป โดยในวันนี้เราจะขอแนะนำ PLC แบบหน้าจอสัมผัส (Touch Screen) แบบโปรแกรมได้ สามารถทำงานได้ทั้งการรับและการแสดงผลข้อมูล ซึ่งในส่วนของการใช้งานหน้าจอทัชสกรีน (Touch Screen) ร่วมกับ PLC มีส่วนประกอบหลัก ๆ ด้วยกัน 3 ส่วน คือ ตัว Touch Screen, Cable Link และส่วนที่เป็น Software นั่นเอง 

     PLC หน้าจอแบบ Touch Screen เป็นการทำงานในรูปแบบการส่งและรับข้อมูลของ Register ต่าง ๆ ใน PLC ไม่ว่าจะเป็น Input, Relay หรือ Output โดยมาแสดงในรูปแบบของกราฟิก, รูปภาพ, ค่าตัวเลข, ค่าตัวอักษร หรืออื่น ๆ บนหน้าจอ Touch Screen ซึ่ง Register เหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กับ Ladder Diagram ที่ได้โปรแกรมเอาไว้ใน PLC เช่น การโปรแกรมออกแบบ Switch ไว้บนหน้าจอ Touch Screen และกำหนดค่า Register เมื่อกดปุ่มดังกล่าวในหน้าจอ Touch Screen จะส่งผลให้ Register ใน PLC ทำงานด้วย โดย Touch Screen PLC มีรูปแบบดังนี้

PLC Touch Screen
SAMBA V570 COLOR OPLC 1040 COLOR OPLC V280 GRAPHIC/TOUCH OPLC V530 GRAPHIC/TOUCH OPLC UNISTREAM COLOR OPLC

     จากรูปตารางแสดงรุ่นต่าง ๆ ของ PLC Touch Screen ยี่ห้อ Unitronics วันนี้ผู้บรรยายจะขอยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Function Timer ที่มีอยู่ในตัวของ PLC Touch Screen ในหัวข้อ “เทคนิคการใช้ Function Timer ใน PLC Touch Screen ว่ามีข้อดีอย่างไร” และตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานอย่างไร ดังตัวอย่างต่อไปนี้

     ตัวอย่างที่ 1 : การเขียน Ladder Diagram การควบคุมเวลาการเปิด-ปิดไฟในอาคารสำหนักงานด้วย Function Timer ร่วมกับหน้าจอ Touch Screen V1040
     จากรูปตัวอย่างที่ 1 : เป็นการเขียน Leader โดยใช้ Timer 2 ตัวในการเปิดและปิดปั๊มน้ำ โดยสามารถตั้งเวลาเปิด-ปิดที่หน้าจอ Touch Screen ได้เพียงการกดปุ่ม Start ปั๊มน้ำตามเวลาที่ตั้ง และเมื่อครบเวลาที่ตั้งอีกตัวก็จะสั่งปิดปั๊ม
 
     ตัวอย่างที่ 2 : การประยุกต์ใช้งานการควบคุมเวลาการเปิด-ปิดไฟในอาคารสำหนักงานด้วย Function Timer ร่วมกับหน้าจอ Touch Screen V1040
     จากรูปตัวอย่างที่ 2 : เป็นภาพตัวอยากการนำ PLC และ HMI มาใช้ควบคุมปั้มน้ำในงานอาหารและโรงงานอุตสาหกรรม โดยควบคุมการทำงานแบบ TIME ON TIME OFF โดยใช้ TIMER ภายใน PLC เป็นตัวสั่งงาน และยังสามารถดูการทำงานผ่านมือถือด้วยระบบ CLOUD MONITORING ได้

     ข้อดี “เทคนิคการใช้ Function Timer ใน PLC Touch Screen” ดังนี้
     • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งเนื่องจาก PLC Touch Screen มี Function Timer ในตัว
     • ลดความผิดพลาดในการจดบันทึกของผู้ปฏิบัติงาน สามารถดู Report ได้
     • สามารถจำค่าที่เซตไว้ได้ในกรณีที่ไฟดับ
     • ค่าของ TIMER ของ PLC อ้างอิงจากฐานเวลาของนาฬิกา  จึงง่ายต่อการเขียนและตั้งค่า
     • ในกรณีงานที่มีการใช้งานแบบ RTC (Real Time Clock) สามารถนำมาใช้งานได้โดยง่าย 

     เทคนิคการใช้ Function Timer ใน PLC Touch Screen เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภท ดังนี้
     • โรงงาน
     • อาคาร, สำนักงาน
     • ฟาร์ม
     • เกษตรกรรม
     • งานระบบบำบัดน้ำเสีย ฯลฯ

     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC
 
ระบบควบคุมปั้มน้ำ ควบคุมรอบ Inverter ระบบบำบัดน้ำเสีย

 

Switching Power Supply Relay Module อุปกรณ์สำหรับรับ-ส่ง สัญญาณ Relay Unit Interface Signal Transmitter I/O Modules

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK