Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     PLC หรือ พีแอลซี ย่อมาจาก โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ (Programmable Logic Controller) เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานต่าง ๆ ซึ่งสามารถรับสัญญาณอินพุต (Input) และส่งออกสัญญาณเอาต์พุต (Output) จากอุปกรณ์เครื่องมือวัดได้โดยตรง โดยภายในมี Microprocessor ที่เป็นมันสมองในการสั่งการ เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติเลยก็ว่าได้
 
     ในปัจจุบันได้มีนำ PLC มาใช้งานในอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีหลายรุ่นแตกต่างกันเพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกใช้ให้เหมาะสม เช่น PLC ที่มีขนาดเล็ก (Micro PLC) ที่มีจำนวน Input/Output ไม่มากนัก และ Vision PLC ที่มีการแสดงผลหน้าจอแบบ Graphic, LCD หรือ PLC แบบใช้ปุ่มกด (Keypad Switch), PLC แบบ Touch Screen เป็นต้น โดย PLC แต่ละรุ่นจะมีจำนวนอินพุต (Input) และเอาต์พุต (Output) ของอุปกรณ์ที่สามารถทำการเชื่อมต่อกับ PLC ได้แตกต่างกัน รวมถึง Port ที่ใช้ในการสื่อสารต่าง ๆ กับ PLC ด้วย โดย PLC แยกตามประเภทการใช้งานและงบประมาณ ยกตัวอย่าง PLC ยี่ห้อ Unitronics ดังนี้
 
     ประเภทของ PLC (Programmable Logic Controller) ยี่ห้อ Unitronics
 
UniStream PLC Vision PLC Samba PLC Jazz & M91 PLC
UniStream PLC เน้นกับงานที่ใช้กราฟฟิคหน้าจอแบบ Touch Screen Vision PLC สามารถเก็บข้อมูล (Data Logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen Samba PLC สามารถเก็บข้อมูล (Data Logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen (ราคาถูก) Jazz and M91 PLC มีขนาดเล็กกะทัดรัด (Micro PLC) หน้าจอแบบ LCD


     โดยส่วนมากในงานอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภทจะมีระบบควบคุมอัตโนมัติ (Automatic System) ที่ใช้ PLC เป็นตัวควบคุม และ HMI เป็นตัวสื่อสารระหว่างผู้ใช้งาน (Human) กับตัว PLC โดยให้ PLC สั่งงานไปที่เครื่องจักร (Machine) ซึ่งการทำงานของ PLC จะคล้ายกับหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่มีอินพุต (Input), หน่วยประมวลผล (Process Microprocessor ) และเอาต์พุต (Output) เพื่อต่อออกไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมือวัดอื่น ๆ ในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร (Machine) ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิต

     ดังนั้นในการใช้งาน PLC ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีการหมั่นตรวจเช็คเป็นประจำ เนื่องจาก PLC จะประกอบไปด้วยภาคส่วนของอินพุต (Input), หน่วยประมวลผล (Process Microprocessor) และเอาต์พุต (Output) ซึ่งอาจจำเป็นจะต้องหมั่นดูแลตรวจสอบและซ่อมบำรุงรักษาเป็นประจำ เช่น การทำความสะอาด, ตรวจเช็คแบตเตอรี่ใน PLC, การตรวจเช็คพอร์ตสื่อสาร เป็นต้น
 
     โดยในวันนี้ทางผู้บรรยายจะขอแนะนำการบำรุงรักษาในหัวข้อ “วิธีดูแลบำรุงรักษา PLC” เพื่อยืดอายุการใช้งานและลดความเสียหายของ PLC ดังนี้
 
     • ควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ เนื่องจากอุปกรณ์ PLC มีส่วนประกอบของแผงวงจรและขั้วไฟฟ้าต่าง ๆ เมื่อใช้งานในงานอุตสาหกรรมที่มีฝุ่นและความร้อนให้หมั่นทำความสะอาดตลอดเวลา เพื่อลดฝุ่นไปเกาะในส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้ PLC ทำงานได้ไม่ดีและไม่เต็มประสิทธิภาพ และในการทำความสะอาดควรจัดทำแผนในการ Maintenance ให้สอดคล้องกับไลน์การผลิตอุปกรณ์ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับการผลิต และควรใช้แรงดันลมระดับกลางในการเป่าทำความสะอาดเพื่อไล่ฝุ่น และในส่วนของแผงวงจรอาจใช้ Contact Cleaner ใช้ในการทำความสะอาด
 
     • ควรตรวจสอบแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ของ PLC บางรุ่นจะมีคาร์ปาซิเตอร์ เมื่อมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่ข้อมูลยังคงอยู่ แต่ในบางรุ่นซึ่งไม่มีคาร์ปาซิเตอร์ ก่อนทำการเปลี่ยนต้องทำการสำรองข้อมูลก่อน และควรทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ในการเปลี่ยนแต่ละครั้ง โดยแบตเตอรี่จะมีการติดตั้งในหน่วยประผลกลางของ PLC ทำหน้าที่จ่ายกระแสเพื่อรักษาข้อมูลและโปรแกรมที่ใช้ในการทำงาน โดยส่วนมากอายุการใช้งานของแบตเตอรี่มีอายุการใช้งาน 5-10 ปี หากเป็น PLC ที่มีอายุการใช้งานมายาวนานแบตเตอรี่อาจเสื่อม ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับขั้วของวงจรที่ต่อกับแบตเตอรี่ หรือหากในกรณีที่ไฟของแบตเตอรี่อ่อนย่อมส่งผลให้การนำข้อมูลมาใช้หรือโปรแกรมทำได้ไม่เต็มที่
 
     • ควรตรวจสอบพอร์ตสื่อสารเป็นประจำ ในการบำรุงรักษาอาจต้องมีการถอด PLC ออกมาในแต่ละชิ้น พอร์ตอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ กับ PLC ก็เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่มีความสำคัญ หากตัวเชื่อมต่อไม่ดีอาจส่งผลให้การรับ-ส่งข้อมูลเกิดปัญหาได้ การตรวจสอบพอร์ตหลังจากที่ทำการบำรุงรักษาแล้วจะทำการเช็คดังนี้
         - ตรวจสอบการทำงานของ PLC โดยดูจาก LED ที่แสดงสถานะการทำงานของ CPU โดยตรวจเช็คว่าอยู่ในสภาพทำงาน (RUN) หรือไม่
         - ตรวจสอบที่ไฟสถานะของพอร์ตสื่อสาร สีเขียว คือ ทำงานถูกต้อง สีแดงเมื่อไม่สามารถทำการเชื่อมต่อได้ โดยปกติไฟในจุดนี้ควรกระพริบอยู่ตลอดหากข้อมูลส่งผ่านอย่างต่อเนื่อง
         - หากพบว่าไฟมีสถานะแจ้งเตือนความผิดปกติ ควรตรวจสอบขั้วสัญญาณว่ามีอาการหลวมหรือหลุดหรือไม่ หากมีคาบฝุ่นให้ทำความสะอาดโดยการเป่าลมไล่ฝุ่นออก
         - หากตรวจสอบตามข้อที่ 1-3 แล้วยังเกิดปัญหาการสื่อสารควรตรวจสอบสายสัญญาณว่ามีการขาดชำรุดหรือไม่ การขาดชำรุดอาจเกิดขึ้นภายในต้องตรวจสอบโดยใช้มิเตอร์ร่วมด้วย
 
     ยกตัวอย่างภาพการตรวจสอบแบตเตอรี่ของ PLC รุ่น VISION 130 ยี่ห้อ UNITRONICS

รูปตัวอย่างที่ 1 : ภาพการตรวจสอบแบตเตอรี่ของ PLC รุ่น Vision 130 ยี่ห้อ Unitronics
 
     จากรูปตัวอย่างที่ 1 : วิธีการตรวจสอบแบตเตอรี่ PLC Unitronics ให้ดูในส่วนของ SB7 (SYSTEM BIT) ถ้า มีค่า =1 หมายถึง แบตเตอรี่กำลังอ่อนหรือหมดให้รีบทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่ เนื่องจากถ้าแบตเตอรี่หมดจะส่งผลให้ค่าต่าง ๆ ของ PLC หาย จะทำให้เครื่องจักรไม่สามารถทำงานได้เพราะเครื่องจักรต้องมีค่าพารามิเตอร์ในการควบคุม เช่น Setpoint หรือ Time Counter ใน PLC ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง Backup ข้อมูล และโปรแกรมไว้ก่อนทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่
 
     ตัวอย่างภาพการตรวจสอบพอร์ตสื่อสารของ PLC รุ่น VISION 130 ยี่ห้อ UNITRONICS

รูปตัวอย่างที่ 2 : การเช็คการสื่อสารของ Port PLC โดยทำการเชื่อมต่อสายเข้ากับ Port1 ของ PLC รุ่น Vision 130 ยี่ห้อ Unitronics
 
     จากรูปตัวอย่างที่ 2 : ด้านบนเป็นการเช็คการสื่อสารของ Port  PLC โดยทำการเชื่อมต่อสายเข้ากับ Port1 ของ PLC จากนั้น เลือก PC Port เป็น Port เดียวกันกับ Device Manager ใน Hardware บนคอมพิวเตอร์ แล้วเข้าไปที่เมนู Connection ตามด้วยเมนู Communication and OS จากนั้นเลือก Baud Rate 115200 แล้วทำการกด Get OPLC Information ถ้าเชื่อมตัวได้จะปรากฏ Model, O/S ในหน้านี้ กรณีเชื่อมตัวไม่ได้ให้เช็คที่คอมพิวเตอร์ก่อนหรือสายที่เชื่อมต่อมีการเสียบอยู่หรือไม่ จากนั้นให้เช็ค Comport ว่า Detect เป็น Comport ไหน
 
     ข้อดีของการดูแลบำรุงรักษา PLC ดังนี้
     • ยืดอายุการใช้งานของ PLC+HMI
     • มีแผนการ Maintenance ที่ชัดเจน ไม่ส่งผลกระทบกับการผลิตสินค้า
     • หลีกเลี่ยงปัญหาเครื่องจักรหยุด
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
 
ระบบควบคุมปั๊มลม เครื่องทดสอบอุปกรณ์ ระบบจ่ายเคมี
 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK