Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     OEE ย่อมาจาก Overall Equipment Effectiveness คือ การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรซึ่งเป็นวิธีการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ หรือประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเครื่องจักร ความสามารถของผู้ปฎิบัติงาน รวมถึงการบริหารจัดการได้อย่างดี โดย OEE (Overall Equipment Effectiveness) ออกแบบมาเพื่อช่วยในการติดตามตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น มี Report พร้อมทั้งเก็บข้อมูลเรียกดูย้อนหลังได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และยังสามารถรู้ถึงสาเหตุของความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการ คือ สามารถแยกประเภทการสูญเสียและรายละเอียดของสาเหตุนั้น ทำให้สามารถที่จะปรับปรุง ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบ
 
     ทำไมถึงต้องมีระบบ OEE (Overall Equipment Effectiveness) สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้าจะต้องมีการวัดประสิทธิผลการทำงานของเครื่องจักร เพื่อเป็นระบบติดตามผลและแจ้งเตือนผู้ปฏิบัติงานทันทีเมื่อมีปัญหา ทำให้รู้เร็ว ผลิตได้เร็ว ลดการสูญเสีย เพิ่มผลผลิต แสดงผล Real Time ผ่านระบบ Online ต่าง ๆ โดย OEE (Overall Equipment Effectiveness) จะมีสูตรการคำนวณดังนี้
 
     การคำนวณ OEE (Overall Equipment Effectiveness) จะมีส่วนประกอบหลัก 3 อย่าง คือ
     1. ลดช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำการผลิต (Unproductive Time) = Availability
     2. ลดระยะเวลาที่ใช้ผลิต (Cycle Time) = Performance
     3. ลดของเสีย/เศษที่เกิดจากการผลิต (Waste/Scrap) = Quality
 
     สำหรับการคำนวณ OEE ทางผู้ประกอบการจำเป็นต้องแยก Factor ย่อย ๆ ของ OEE ออกมาก่อน แล้วจึงนำไปเข้าสูตรการคำนวณ OEE โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
OEE (Overall Equipment Effectiveness) % OEE (Overall Equipment Effectiveness) มีค่าสูง
OEE % = Availability % x Performance % x Quality % OEE มีค่าสูง = ต้นทุนการผลิตต่ำ
 
     OEE (Overall Equipment Effectiveness) ถือเป็นอีกหนึ่งการคำนวณสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย และภายในการคำนวณนั้นยังสามารถแบ่งส่วนประกอบย่อยๆ ออกมา เพื่อตรวจสอบการทำงานได้อีกด้วย ซึ่งการใช้ OEE ให้ดีที่สุดนั้น ต้องมีการเก็บข้อมูลที่ครบถ้วน และการคำนวณที่ถูกต้อง
 
     ความหมายของสูตรคำนวณ OEE (Overall Equipment Effectiveness)
     • Availability % (อัตราการเดินเครื่อง) คือ ความพร้อมของเครื่องจักรในการทำงาน ระยะเวลาที่เครื่องจักรหยุด (Downtime Loss) มีสาเหตุมาจากเครื่องจักรขัดข้อง (Breakdowns) การปรับแต่งเครื่องจักร (Setup/Adjustments) หรือการจัดการกระบวนการการทำงานที่ไม่ดี (Management)
     • Performance % (ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง) คือ สมรรถนะการทำงานของเครื่องจักร การสูญเสียประสิทธิภาพ (Performance Loss)  มีสาเหตุมาจากการหยุดเล็กน้อย การเดินเครื่องตัวเปล่า (Minor Stoppage and Idling Losses) และการสูญเสียความเร็วของเครื่องจักร (Speed Losses)
     • Quality % (อัตราคุณภาพ) คือ ความสามารถในการผลิตของดีตรงตามข้อกำหนดของเครื่องจักร การสูญเสียด้านคุณภาพ (Quality Loss) มีสาเหตุมาจากความสูญเสียเนื่องจากชิ้นงานเสีย (Defects) งานซ่อม (Rework) และความสูญเสียช่วงเริ่มต้นการผลิต (Start up Loss)
 
     เครื่องจักรที่ดีไม่ใช่เป็นเพียงแค่เครื่องจักรที่ไม่เสีย เปิดสวิตช์เมื่อใดทำงานได้เมื่อนั้น หากแต่ต้องเป็นเครื่องจักรที่เปิดขึ้นมาแล้วทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คือ เดินเครื่องได้เต็มกำลังความสามารถ แต่ถ้าเครื่องจักรใช้งานได้ตลอดเวลาและเดินเครื่องได้เต็มกำลัง แต่ชิ้นงานที่ผลิตออกมาไม่มีคุณภาพก็คงไม่มีประโยชน์อะไร ดังนั้นเรื่องคุณภาพของงานที่ออกมาจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะใช้ในการพิจารณาเครื่องจักร และที่สำคัญเครื่องจักรที่ดีต้องใช้งานได้อย่างปลอดภัย ดังนั้นในวันนี้ผู้บรรยายจะยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้เครื่องแสดงผลการนับจำนวนแบบดิจิตอลหรือป้ายแสดงจำนวนสินค้า (Target Counter หรือ Target Board) ในงานการผลิต โดยแสดงผลแบบ Real Time
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เครื่องแสดงผลการนับจำนวนแบบดิจิตอลหรือป้ายแสดงจำนวนสินค้า (Target Counter/ Target Board) ในงานการผลิต ด้วยระบบ OEE (Overall Equipment Effectiveness)
     จากตัวอย่างการประยุกต์ใช้เครื่องแสดงผลการนับจำนวนแบบดิจิตอลหรือป้ายแสดงจำนวนสินค้า (Target Counter/Target Board) ในงานการผลิต ด้วยระบบ OEE (Overall Equipment Effectiveness) โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้
 
OEE แสดงค่าการคำนวณ = Aty. x  Perf. x Qty.
 
     Availability % (อัตราการเดินเครื่อง) แสดงค่าคำนวณ           =  เวลาที่ต้องการทำงาน (เวลารวมของแต่ละกะ) - เวลาที่หยุดทำงาน (Down Time)
                                                                                                                                      เวลาที่ต้องการทำงาน (เวลารวมของแต่ละกะ)
 
     Performance % (ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง) แสดงค่าคำนวณ =              เวลามาตรฐาน (Cycle Time) - จำนวนชิ้นที่ผลิตได้ (Actual)           
                                                                                                              เวลาที่ต้องการทำงาน (เวลารวมของแต่ละกะ) - เวลาที่หยุดทำงาน (Down Time)
 
     Quality % (อัตราคุณภาพ) แสดงค่าคำนวณ                                 =  จำนวนชิ้นงานทั้งหมด (Actual) - จำนวนชิ้นงานเสีย (NG)
                                                                                                                                  จำนวนชิ้นงานทั้งหมด (Actual)
 
     ผู้ใช้สามารถจัดทำ Report และวิเคราะห์วางแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพได้จากตารางดังนี้
 
• การเก็บข้อมูลสามารถ Export ออกมาเป็น Report ได้ เช่น OEE Report รายงานการหยุดทำงานและรายงานคุณภาพ
• วิเคราะห์และวางแผนเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการวัดผลของการปรับปรุงกระบวนการ
 
 
     ข้อดีของการประยุกต์ใช้ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ในอุตสาหกรรมการผลิตดังนี้
     • สามารถรวบรวมข้อมูลการควบคุมเครื่องจักรของพื้นที่การผลิตทั้งหมด ส่งผลให้มีแผนการ Maintenance ที่ชัดเจน ไม่ส่งผลกระทบกับการผลิตสินค้า
     • พนักงานทราบข้อมูลในการผลิตที่ชัดเจน เช่น Plan, Actual, Diff, Eff (%), Time, Master Plan เป็นต้น
     • พนักงานทราบสถานะการทำงานของเครื่องจักร (ความผิดปกติต่าง ๆ Downtime Breaktime Changeover) และค่า OEE รวมถึงสถานะการสั่งงาน การติดตามคุณภาพ และสาเหตุการหยุดทำงานได้แบบ Real Time
     • ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการผลิตจะถูกเก็บไว้ใน Computer Server สามาถเรียกดูได้ไม่สูญหาย
     • สามารถ Export ออกมาเป็น Report ได้ เช่น OEE Report รายงานการหยุดทำงานและรายงานคุณภาพ
     • วิเคราะห์และวางแผนเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการวัดผลของการปรับปรุงกระบวนการ
     • สามารถดูข้อมูลต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ได้ โดยผ่านอุปกรณ์เสริม V-BOX
 
     นอกจากจะมีข้อดีแล้ว ยังมีข้อที่ควรระวังในการใช้ระบบ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ดังนี้
 
     ข้อควรระวังในการใช้ OEE (Overall Equipment Effectiveness)
     • ควรมีการเก็บข้อมูลที่ครบถ้วน แม่นยำ
     • ทุกการคำนวณในโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีการจดบันทึกที่ครบถ้วน ถูกต้อง หากขาดตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งจะทำให้ข้อมูลในการคำนวณน้อยเกินไป ทำให้ผลการคำนวณออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริง เกิดผลเสียในระยะยาว
     • หน่วยการคำนวณต้องเหมือนกัน หากข้อใดข้อหนึ่งใช้ตัวแปรด้านเวลาเป็นหน่วยชั่วโมง ตัวแปรด้านเวลาของข้อที่เหลือจำเป็นต้องใช้หน่วยชั่วโมงเช่นกัน หากเป็นนาทีก็ต้องเปลี่ยนให้เป็นนาทีเหมือนกัน ไม่เช่นนั้นข้อมูลที่คำนวณได้จะผิดเพี้ยน
     • สำหรับการทำงานจริงแล้ว นอกจากการคำนวณด้วยบุคคล การใช้เครื่องมือประเภท IoT ในการเก็บข้อมูลการทำงาน ก่อนทำผ่านการประมวลผลด้วยโปรแกรมคำนวณค่าสำหรับโรงงาน อาจจะเป็นวิธีที่ดีกว่า ง่ายกว่า ลดความผิดพลาดได้มากกว่า เหมาะสำหรับการทำงานในระยะยาวเป็นอย่างยิ่ง
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
 
ตรวจสอบประสิทธิภาพของไลน์ผลิตอิเล็กทรอนิกส์ ตรวจสอบประสิทธิภาพของไลน์ผลิตกระเบื้องแผ่น ตรวจสอบประสิทธิภาพของไลน์ผลิตรถยนต์ สามารถดูข้อมูลประสิทธิภาพการผลิตผ่านระบบออนไลน์ได้
 

Digital Indicator,Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Digital Preset Counter เครื่องนับจํานวนแบบดิจิตอล Digital Counter เครื่องนับจํานวนแบบดิจิตอล Proximity Switch Photoelectric Sensor

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK