Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ฮีตเตอร์ (Heater) คือ อุปกรณ์ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานโดยอาศัยหลักการนำพาความร้อนโดยผ่านขดลวดตัวนำ (R) ทำให้เกิดกระแสขึ้น ในปัจจุบันมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร, อุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น งานอบสี, บรรจุภัณฑ์, งานขึ้นรูปพลาสติก เป็นต้น โดยฮีตเตอร์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไปแบ่งออกเป็นประเภทตามการใช้งาน ดังนี้
 
ตัวอย่างรูปแบบของฮีตเตอร์ (Heater) ประเภทของฮีตเตอร์แบ่งลักษณะตามการใช้งาน
ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่เครื่องฉีดพลาสติก
ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater) เพื่อให้ความร้อนกับแผ่นแม่พิมพ์
ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) เพื่อต้มน้ำมัน-ของเหลว หรือต้มสารเคมี
ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่แม่พิมพ์ในการอุ่นของเหลว-อุ่นกาว
ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) เพื่อให้ความร้อนในการอุ่นของเหลว
ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เพื่อให้ความร้อนกับอากาศในการอบแห้ง-ไล่ความชื้น
ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater) ให้ความร้อนโดยการแผ่รังสี งานอบสี, อบขนม, อบอาหาร ฯลฯ
 
     โดยในการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) ประเภทต่าง ๆ จะต้องมีการออกแบบให้เหมาะสมกับงานนั้น ๆ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานเบื้องต้น เช่น ขนาดของฮีตเตอร์ (W*H) / ขนาดท่อ (Tube), แรงดันไฟฟ้า (Volt), กำลังวัตต์ (Watt) เป็นต้น (ขึ้นอยู่กับประเภทของฮีตเตอร์) และถ้ามีการบำรุงรักษาที่ถูกวิธีจะทำให้ฮีตเตอร์ (Heater) ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ แต่บ่อยครั้งที่ผู้ใช้งานมักจะพบปัญหาอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ที่สั้นผิดปกติหรือขาดบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือฮีตเตอร์ขาดอันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
 
     สาเหตุของอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater) สั้น หรือฮีตเตอร์ (Heater) ขาดบ่อย
     • การจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสม เช่น ฮีตเตอร์ 220V จ่ายแรงดัน 380V ทำให้เสียหาย
     • กำลังวัตต์ที่ไม่เหมาะสมกับขนาดฮีตเตอร์ เช่น ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) ที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 5W/CM2
     • การเลือกใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสมกับงาน เช่น ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) นำไปใช้งานกับน้ำที่มีสารเคมี แต่เลือกใช้วัสดุที่ไม่สามารถทนต่อสารเคมีได้ เช่น สแตนเลส SUS304 เป็นต้น
     • คราบตะกรันติดที่ท่อฮีตเตอร์ เช่น ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater), ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ที่สะสม ถ้าไม่หมั่นทำความสะอาดจะทำให้การถ่ายเทความร้อนไม่ดี ทำให้ฮีตเตอร์ (Heater) ทำงานหนักขึ้น
     • อุปกรณ์ควบคุม เช่น Temperature Controller หรือ Thermostat ไม่ตัดการทำงาน ทำให้ฮีตเตอร์ทำงานตลอดเวลา
 
     ดังนั้นในบทความนี้ผู้บรรยายจึงขอแนะนำอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ทางผู้ใช้งานทราบการแจ้งเตือนการขาดของฮีตเตอร์ (Heater) ก่อนที่จะส่งผลเสียให้ชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์เสียหาย ในหัวข้อ “แจ้งเตือนก่อนชิ้นงานมีปัญหาด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm)” เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) โดยเฉพาะ เพื่อแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงความผิดปกติของฮีตเตอร์ (Heater) ก่อนที่จะทำให้สินค้าหรือไลน์การผลิตเกิดความเสียหาย โดยใช้หลักการของการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละตัว โดยมีวิธีการเช็คดังตัวอย่างต่อไปนี้
 
     ยกตัวอย่างการใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาด รุ่น CM-005N-4CH (Heater Break Alarm) แบบ Input 4 Channel ที่ทำงานแยกอิสระจากกัน ต่อร่วมกับอุปกรณ์แสดงผลค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ รุ่น CM-005DN (Digital Monitor for Heater Break Alarm)

ตัวอย่างการต่อใช้งานอุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาด รุ่น CM-005N-4CH (Heater Break Alarm) Input 4 Ch.
ต่อร่วมกับอุปกรณ์แสดงผลค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ รุ่น CM-005DN (Digital Monitor for Heater Break Alarm)
 
     อธิบายการทำงานของอุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาด โดยต่ออุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาด รุ่น CM-005N-4CH (Heater Break Alarm) แบบ Input 4 Channel ที่ทำงานแยกอิสระจากกัน ร่วมกับอุปกรณ์แสดงผลค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ รุ่น CM-005DN (Digital Monitor for Heater Break Alarm) เพื่อแจ้งเตือนความผิดปกติให้ผู้ปฏิบัติทราบถึงสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) หากกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดหรือชุดใดไม่มีกระแสไหลผ่านหรือกระแสไหลผ่านน้อยกว่าค่าที่ตั้งไว้ แสดงว่าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวนั้นขาด หรือภายในชุดนั้นมีฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดตัวนึงขาด อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาดรุ่น CM-005N-4CH (Heater Break Alarm) ก็จะแจ้งเตือน Alarm ทันที โดยหากมีการต่อไฟ Warning Light รุ่น TLW ร่วมด้วย ไฟก็จะติดพร้อมกับที่เครื่องแสดงผล CM-005DN ก็จะโชว์สถานะและตำแหน่งที่ฮีตเตอร์เกิดผิดปกติ จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถทราบและเข้าตรวจสอบได้ทันที ซึ่งจากข้อความข้างต้นจะมีประโยชน์อย่างมากกับเครื่องจักรที่มีการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) จำนวนหลายตัวและหลายโซนเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะหากฮีตเตอร์ (Heater) เส้นใดเส้นหนึ่งขาดโดยที่ผู้ปฏิบัติงานไม่รู้อาจจะทำให้ชิ้นงานเสียหายได้
 
     ดังนั้นในวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นสำหรับการเช็คฮีตเตอร์ขาดนั้น หวังว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับผู้ใช้งานได้ไม่มากก็น้อย และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) การเลือกใช้อุปกรณ์ต่อร่วมก็สำคัญเช่นกัน เช่น Temperature Controller, Solid State Relay, Temperature Sensor เป็นต้น
 
     สรุปข้อดีของการแจ้งเตือนก่อนชิ้นงานมีปัญหาด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) ดังนี้
     1. ป้องกันชิ้นงานเสียหายอันเนื่องจากฮีตเตอร์ชำรุด ในกรณีที่ผู้ใช้งานฮีตเตอร์จำนวนหลายตัวในเครื่องเดียวในการให้ความร้อนกับชิ้นงาน
     2. เข้าถึงหน้างานได้รวด ง่ายต่อการ Maintenance เพราะอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH จะมี LED และ Alarm แสดงสถานะการขาดของฮีตเตอร์ (Heater) ทำให้ช่างทำการซ่อมหรือเปลี่ยนฮีตเตอร์ (Heater) ได้ทันทีเนื่องจากทราบตำแหน่งฮีตเตอร์ (Heater) ที่เสียหายชัดเจน
     3. เพิ่มอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ เช่น ในกรณีที่มีฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดตัวหนึ่งขาด คุณจะไม่สามารถทราบเลยว่ามีฮีตเตอร์ (Heater) ขาดเกิดขึ้น เพราะเนื่องจากอุณหภูมิที่ได้นั้นยังมีค่าเท่าเดิม แต่ผลลัพธ์คือการทำงานของฮีตเตอร์ตัวที่ใช้ได้มีการทำงานหนักขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อายุการใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater) สั้นลง
     4. ประหยัดเวลาในการตรวจเช็ค เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงาน ไม่ต้องเสียเวลาในการตรวจเช็คความผิดปกติของฮีตเตอร์ (Heater) ให้ยุ่งยากเพราะสามารถดูได้จาก LED ที่กระพริบ หรือดูจาก Monitor ได้เลย
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
 
เครื่องขึ้นรูปพลาสติก ห้องอบสี เครื่องฉีดพลาสติก
 

Current Transformer Heater Digital Temperature Controller PID Control Function Digital Temperature Controller Digital Temperature Indicator

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK