Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ปัจจุบันได้มีการพัฒนาโซลูชั่นการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรหรือประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเครื่องจักร รวมถึงความสามารถของผู้ปฎิบัติงานและการบริหารจัดการระบบต่าง ๆ ด้วยระบบ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ที่ช่วยให้การเก็บข้อมูลการทำงานเป็นเรื่องง่ายและสามารถบริหารข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ
 
     ระบบ OEE ย่อมาจาก (Overall Equipment Effectiveness) กล่าวคือ การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร คือวิธีการคำนวณความสามารถในการทำงานทั้งหมดของเครื่องจักรภายในโรงงานโดยอ้างอิงจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและสรุปออกมาเป็นตัวเลข โดยในบทความที่ผ่านมาผู้บรรยายได้กล่าวถึงประโยชน์ของการนำระบบ OEE มาประยุกต์สำหรับงานอุตสาหกรรม ในหัวข้อ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ไว้ในหัวข้อ “OEE (Overall Equipment Effectiveness) มีประโยชน์อย่างไรต่ออุตสาหกรรมการผลิต?” ซึ่ง OEE (Overall Equipment Effectiveness) ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในการติดตามตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น มี Report พร้อมทั้งเก็บข้อมูลเรียกดูย้อนหลังได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และยังสามารถรู้ถึงสาเหตุของความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการ คือ สามารถแยกประเภทการสูญเสียและรายละเอียดของสาเหตุนั้น ทำให้สามารถที่จะปรับปรุงลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบ สามารถแจ้งเตือนผู้ปฏิบัติงานทันทีเมื่อมีปัญหา ทำให้รู้เร็ว ผลิตได้เร็ว ลดการสูญเสีย เพิ่มผลผลิต แสดงผล Real Time ผ่านระบบ Online ต่าง ๆ โดย OEE (Overall Equipment Effectiveness) ดังตัวอย่าง
 
การเก็บข้อมูลสามารถ Export ออกมาเป็น Report ได้ เช่น OEE Report รายงานการหยุดทำงานและรายงานคุณภาพ การแสดงประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรด้วยบอร์ดแสดงผล (OEE) Overall Equipment Effectiveness
 
     โดยนัยสำคัญของเครื่องจักรที่ดีไม่ใช่เป็นเพียงแค่เครื่องจักรที่ไม่เสีย เปิดสวิตช์เมื่อใดทำงานได้เมื่อนั้น หากแต่ต้องเป็นเครื่องจักรที่เปิดขึ้นมาแล้วทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คือเดินเครื่องได้เต็มกำลังความสามารถ แต่ถ้าเครื่องจักรใช้งานได้ตลอดเวลาและเดินเครื่องได้เต็มกำลังแต่ชิ้นงานที่ผลิตออกมาไม่มีคุณภาพก็คงไม่มีประโยชน์อะไร ดังนั้นเรื่องคุณภาพของงานที่ออกมาจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะใช้ในการพิจารณาเครื่องจักร และที่สำคัญเครื่องจักรที่ดีต้องใช้งานได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ปัจจัยหลัก ๆ ที่จะทำให้การเก็บข้อมูลหรือการ Monitor มีประสิทธิภาพ คือ อุปกรณ์ในการ Monitor และเก็บข้อมูล โดยผู้บรรยายสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้
 
     Target Board, Target Counter หรือ ป้ายแสดงสถานะในการผลิต เครื่องแสดงผลการนับจำนวนแบบดิจิตอล ช่วยวางแผนการผลิตในงานอุตสาหกรรม ทั้งในเรื่องของขั้นตอนการผลิต วิธีการการผลิตหรือการควบคุมการผลิต เป็นต้น ทำให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการการผลิต ลดการสูญเสียผลผลิตที่เกิดขึ้น โดยสามารถแจ้งเตือนผู้ปฏิบัติงานในสายการผลิต (Line Production) หรือผู้วางแผนการผลิต (Production Planner) แบบ Real Time ด้วยการแสดงผลที่เป็นอักษร สัญลักษณ์ ตัวเลข เป็นต้น เหมาะสำหรับงานการผลิตในอุตสาหกรรมแสดงผลแบบ Real Time ใช้แสดงผลควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมาย ลดความผิดพลาดหรือใช้ตรวจสอบสถานะการทำงานของเครื่องจักร การนับจำนวนของเข้า Stock โดยสามารถตั้งค่าผ่าน Computer และ Remote ได้ สามารถทํางานได้ทั้งนับขึ้นและนับลง รับอินพุตจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่าง ๆ เช่น Proximity Switch, Encoder, Mechanical Contact, NPN, PNP เป็นต้น
 
     โดยผู้บรรยายขอยกตัวอย่าง Target Board, Target Counter หรือ ป้ายแสดงสถานะในการผลิต รุ่น TGA-Series และ TGM-Series ยี่ห้อ Primus ดังนี้
 
การตั้งเป้าหมายในการผลิต โดยมีกำหนดชื่อโมเดลสินค้า
ในสายการผลิต (Line Production)     
การตั้งเป้าหมายในการผลิต ที่มีค่าเพิ่มขึ้นตามเวลา
และมีค่าเปอร์เซ็นต์โชว์
TARGET : กำหนดเป้าหมายในการผลิตจำนวน 10,000 ชิ้น
ACTUAL : จำนวนที่ผลิตได้จริง 10,000 ชิ้น
DIFF : ผลต่างของการผลิต (TARGET - ACTUAL) = 0 ชิ้น (100%)
สรุป : การผลิตสินค้า Lot นี้ ได้ทั้งหมด 100% เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
PLAN : กำหนดเป้าหมายในการผลิตจำนวน 1 ชิ้น : ภายในเวลาที่กำหนด (TIME)
ACTUAL : จำนวนที่ผลิตได้จริง 1ชิ้น ตามเวลาที่กำหนด
DIFF : ผลต่างของการผลิต (PLAN - ACTUAL) = 100% (ภายในเวลาที่กำหนด)
สรุป : การผลิตสินค้า Lot นี้ ได้ทั้งหมด 100% ภายในเวลาที่กำหนด เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
 
     ยกตัวอย่าง Big Display Digital Counter หรือ เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล 1 แถว รุ่น CMT-007B ยี่ห้อ Primus ดังนี้
 
Big Display Digital Counter 1 แถว รุ่น CMT-007B ขนาด Dimension CMT-007B


     Big Display Digital Counter หรือ เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล 1 แถว สําหรับงานผลิตในงานอุตสาหกรรม แสดงผลด้วย 7-Segment แบบ Real Time ใช้เพื่อควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมาย ลดความผิดพลาดหรือใช้ตรวจสอบสถานะการทํางานของเครื่องจักรนับจํานวนของเข้า Stock สามารถทํางานได้ทั้งนับขึ้นและนับลง รับอินพุตจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่าง ๆ เช่น Proximity Switch, Encoder, Mechanical Contact, NPN, PNP สามารถรับอินพุตได้เร็วถึง 10kHz มีโหมดการทํางานให้เลือก 11 โหมด สามารถกดปุ่ม Shotcut โดยการกดปุ่ม F เพื่อตั้งค่า Set Point, กดปุ่ม Down เพื่อแสดงค่า Total, กดปุ่ม Up เพื่อ Reset ค่า Count และเก็บบันทึกค่าการนับด้วย FRAM สามารถ Link กับ Computer หรือ PLC ได้ทาง RS485 และสามารถ Monitor, Logging, Edit ค่าได้

     สำหรับการคำนวณ OEE ทางผู้ประกอบการจำเป็นต้องแยก Factor ย่อย ๆ ของ OEE ออกมาก่อน แล้วจึงนำไปเข้าสูตรการคำนวณ OEE โดยมีรายละเอียดดังนี้
 

OEE (Overall Equipment Effectiveness) %
 
OEE (Overall Equipment Effectiveness) มีค่าสูง

OEE % = Availability % x Performance % x Quality %
 
OEE มีค่าสูง = ต้นทุนการผลิตต่ำ


     จากสูตรการคำนวณดังกล่าว โดยผู้บรรยายได้ยกตัวอย่างในบทความที่ผ่านมาในหัวข้อ “OEE (Overall Equipment Effectiveness) มีประโยชน์อย่างไรต่ออุตสาหกรรมการผลิต?” ดังนั้น ในวันนี้ผู้บรรยายขอยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Target Board, Target Counter หรือ ป้ายแสดงสถานะในการผลิต รุ่น TGA-Series และ TGM-Series ยี่ห้อ Primus ร่วมกับ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ดังนี้

     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Target Board, Target Counter หรือ ป้ายแสดงสถานะในการผลิต รุ่น TGA-Series และ TGM-Series ยี่ห้อ Primus ร่วมกับ OEE (Overall Equipment Effectiveness)
 
     จากภาพเป็นการแสดงค่าการคำนวณ OEE แบบ Real Time เพื่อตรวจสอบและวัดประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรว่ามีสาเหตุอะไรถึงทำให้ค่าประสิทธิภาพของเครื่องจักรต่ำ Availability% , Performance% , Quality% เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
 
     ข้อดีของการประยุกต์ใช้ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ในอุตสาหกรรมการผลิต ดังนี้
     • สามารถรวบรวมข้อมูลการควบคุมเครื่องจักรของพื้นที่การผลิตทั้งหมด ส่งผลให้มีแผนการ Maintenance ที่ชัดเจน ไม่ส่งผลกระทบกับการผลิตสินค้า
     • พนักงานทราบข้อมูลในการผลิตที่ชัดเจน เช่น Plan, Actual, Diff, Eff (%), Time, Master Plan เป็นต้น
     • พนักงานทราบสถานะการทำงานของเครื่องจักร (ความผิดปกติต่าง ๆ Downtime Breaktime Changeover) และค่า OEE รวมถึงสถานะการสั่งงาน การติดตามคุณภาพ และสาเหตุการหยุดทำงานได้แบบ Real Time
     • ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการผลิตจะถูกเก็บไว้ใน Computer Server สามาถเรียกดูได้ไม่สูญหาย
     • สามารถ Export ออกมาเป็น Report ได้ เช่น OEE Report รายงานการหยุดทำงานและรายงานคุณภาพ
     • วิเคราะห์และวางแผนเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการวัดผลของการปรับปรุงกระบวนการ
     • สามารถดูข้อมูลต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ได้ โดยผ่านอุปกรณ์เสริม V-BOX
 
     นอกจากจะมีข้อดีแล้ว ยังมีข้อที่ควรระวังในการใช้ระบบ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ดังนี้
     • ควรมีการเก็บข้อมูลที่ครบถ้วน แม่นยำ
     • ทุกการคำนวณในโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีการจดบันทึกที่ครบถ้วน ถูกต้อง หากขาดตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งจะทำให้ข้อมูลในการคำนวณน้อยเกินไป ทำให้ผลการคำนวณออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริง เกิดผลเสียในระยะยาว
     • หน่วยการคำนวณต้องเหมือนกัน หากข้อใดข้อหนึ่งใช้ตัวแปรด้านเวลาเป็นหน่วยชั่วโมง ตัวแปรด้านเวลาของข้อที่เหลือจำเป็นต้องใช้หน่วยชั่วโมงเช่นกัน หากเป็นนาทีก็ต้องเปลี่ยนให้เป็นนาทีเหมือนกัน ไม่เช่นนั้นข้อมูลที่คำนวณได้จะผิดเพี้ยน
     • สำหรับการทำงานจริงแล้ว นอกจากการคำนวณด้วยบุคคล การใช้เครื่องมือประเภท IoT ในการเก็บข้อมูลการทำงาน ก่อนทำผ่านการประมวลผลด้วยโปรแกรมคำนวณค่าสำหรับโรงงาน อาจจะเป็นวิธีที่ดีกว่า ง่ายกว่า ลดความผิดพลาดได้มากกว่า เหมาะสำหรับการทำงานในระยะยาวเป็นอย่างยิ่ง
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
 
ผลิตนมกล่อง ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตขวดพลาสติก


Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Bar Graph Indicator With Alarm Unit  Digital Temperature Indicator Digital Indicator Signal Tower Light


โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK