Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     โหลดเซลล์ (Load Cell) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของแรงทางกล เช่น แรงกด (Compression), แรงดึง (Force) หรือน้ำหนัก (Weight) ให้เปลี่ยนแปลงออกมาในรูปแบบของสัญญาณทางไฟฟ้า (mV/V) โดยนำมาต่อใช้งานร่วมกับเครื่องแสดงผลโหลดเซลล์ หรือหน้าจอแสดงผลเซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก ในการแสดงค่าน้ำหนักของโหลดเซลล์ (Load Cell) เช่น การนำไปใช้ในการชั่งน้ำหนักส่วนผสมวัตถุดิบ (Mixing) ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง, การวัดค่าแรงดึง (Force) หรือแรงกด (Compression) หรือน้ำหนัก (Weight) ในกระบวนการผลิตสินค้า, การชั่งน้ำหนักของชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ หรือการชั่งน้ำหนักของรถบรรทุก เป็นต้น
 
     โหลดเซลล์ (Load Cell) ที่ผู้อ่านสามารถพบเห็นในงานอุตสาหกรรมสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้
 
Load Cell Type : S Beam Load Cell Type : Single Point Load Cell Type :  Bending Beam Load Cell Type : Pancake
Load Cell, loadcell Load Cell, loadcell Load Cell, loadcell Load Cell, loadcell
 
     จากตัวอย่างโหลดเซลล์ (Load Cell) ในการพิจารณาเลือกหน้าจอแสดงผลการชั่งวัดของโหลดเซลล์ (Load Cell) ก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้การชั่งวัดมีความสอดคล้องและแสดงผลได้อย่างแม่นยำ โดยจะมีวิธีเลือกใช้หน้าจอแสดงผลเซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) อย่างไร ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์ หรือเซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) กันก่อน ดังนี้
 
     หน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) คือ อุปกรณ์วัดและแสดงผลค่าสัญญาณแรงดันไฟฟ้า ที่ออกแบบมาให้สามารถวัดค่าแรงดันไฟฟ้าขนาดไมโครโวลต์ (Micro Volt) และมิลลิโวลต์ (mV) โดยเป็นการรับสัญญาณจากเซ็นเซอร์ประเภท Transducer Strain Gauge Sensor หรือ Load Cell Sensor เป็นต้น
 
Digital Load Cell Indicator ยี่ห้อ Primus รุ่น CM-013N ภาพวงจรการต่อใช้งาน


     การพิจารณาเลือกหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) มีปัจจัยสำคัญดังนี้

     1. Rate Signal mV/V Output ของโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell)
         ผู้ใช้ต้องทราบขนาดของ Rated Output Signal (mV/V) ของโหลดเซลล์ (Load Cell) ที่ต้องการต่อเข้ากับหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) ซึ่งในข้อมูลทางเทคนิคของโหลดเซลล์ (Load Cell) จะมีระบุ เช่น 1.5 mV/V, 2 mV/V, 2.5 mV/V, 3 mV/V, 3.3 mV/V by Excite Voltage 5V หรือ 10V ซึ่งโหลดเซลล์ (Load Cell) ที่มีค่า Rated Output Signal (mV/V) สูง จะยิ่งสามารถแสดงค่าได้ละเอียดมากขึ้น ดังนั้นหากผู้ใช้ทราบข้อมูล Rated Output Signal (mV/V) ของโหลดเซลล์ (Load Cell) เราก็จะสามารถเลือกหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) ให้ตรงกับ Spec ที่ต้องการได้ ยกตัวอย่างหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) รุ่น CM-013N ยี่ห้อ “PRIMUS”
 
     ตัวอย่าง Rate Signal mV/V ที่รองรับสัญญาณจากโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell)

ตารางตัวอย่าง Rate Signal mV/V ของหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) รุ่น CM-013N ยี่ห้อ “PRIMUS”
 

ตัวอย่าง Rate Signal mV/V ของโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell) รุ่น SP8-Series ยี่ห้อ “TUNA”
 
     2. จำนวน Load Cell สูงสุดที่สามารถรับได้
         ต้องทราบจำนวน Load Cell สูงสุดที่สามารถต่อเข้ากับหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) เนื่องจากหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) สามารถรองรับ Load Cell ได้เพียงแค่ 1 ตัว ซึ่งกรณีที่ต้องการต่อ Load Cell หลาย ๆ ตัว ขนานกันเพื่อแบ่งน้ำหนักกัน ก็จะทำให้ไม่สามารถต่อใช้งานได้ ในการต่อ Load Cell มากกว่า 1 ตัว จะนิยมใช้ตัว Junctions Box เพื่อเป็นตัวรวมสัญญาณก่อนเข้าหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator)
 
     ตัวอย่าง Junctions Box
 
         เนื่องจากผู้ใช้ต้องทราบแรงดันไฟฟ้า Power Supply เพื่อเลือกหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) ให้เหมาะสมกับการใช้งานและสะดวกในการซ่อมบำรุง
 
     ตัวอย่าง Power Supply ของหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator)

ตารางตัวอย่าง Power Supply ของหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) รุ่น CM-013N ยี่ห้อ “PRIMUS”
 
     4. สัญญาณเอาต์พุต
         สัญญาณเอาต์พุตของหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) นั้น โดยปกติจะเลือกใช้งานหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้งาน เช่น นำสัญญาณไป 4-20mA ไปจ่ายสัญญาณ Input ต่อ Invertor หรือการเลือกสัญญาณเอาต์พุตเป็นแบบ RS-485 เพื่อให้ส่งสัญญาณได้ไกล และใช้ Protocol MODBUS ในการสื่อสารข้อมูล เป็นต้น ซึ่งสามารถยกตัวอย่างชนิดของเอาต์พุตดังนี้
 
     ตัวอย่างสัญญาณเอาต์พุตหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator)

ตารางตัวอย่างสัญญาณเอาต์พุต (Output) หน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) รุ่น CM-013N ยี่ห้อ “PRIMUS”
 
     5. ระดับการป้องมาตรฐาน IP
         มาตรฐานการป้องกันฝุ่นและน้ำ IP ในการเลือกใช้งานหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) โดยส่วนใหญ่จะต้องถูกติดตั้งในบริเวณที่ต้องการชั่งน้ำหนัก ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องฝุ่น ดังนั้นควรเลือกหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) ที่มีการปิดมิดชิด โดยมี IP สูง ๆ
 
     ตัวอย่างระดับการป้องมาตรฐาน IP ของหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator)

ตารางตัวอย่างระดับการป้องมาตรฐาน IP ของหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) รุ่น CM-013N ยี่ห้อ “PRIMUS”
 
     6. การทนต่อแรงสั่นสะเทือน
         หลาย ๆ ครั้งที่ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากสายหลุดหรือน็อตคลายตัวจากแรงสั่นสะเทือนของมอเตอร์หรือสายพานลำเลียง ดังนั้นจุดเชื่อมต่อสายไฟต่าง ๆ ถ้าใช้เป็นแบบ Terminal Spring ก็จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
 
     จากปัจจัยในการพิจารณาเลือกหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) ดังกล่าว ผู้บรรยายขอยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานการต่อใช้งานหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) ร่วมกับ Load Cell Sensor จำนวน 4 ตัว ดังนี้
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานการต่อใช้งานหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) ร่วมกับ Load Cell Sensor จำนวน 4 ตัว

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานการต่อใช้งานหน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator)
ร่วมกับ Load Cell Sensor จำนวน 4 ตัว ผ่าน Junctions Box
 
     • ใช้งานได้ง่าย ความละเอียดในการชั่งน้ำหนักสูง
     • Calibration ได้ 2 แบบ Calibration by Load สามารถ Cal ได้ 2-8 จุด / Calibration by Key mV ได้ 2 จุด
     • มี Option ให้เลือกใช้งาน เช่น Analog Transfer Output มาตรฐาน 4-20mA, 0-10V และ RS-485 MODBUS RTU Protocol
 
     • เครื่องชั่งน้ำหนักหรือเครื่องแสดงค่าน้ำหนัก
     • ชุดทดสอบอุปกรณ์ แรงดึง/แรงกด
     • อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร
     • อุตสาหกรรมพลาสติก
     • อุตสาหกรรมยาง, โพลิเมอร์, ยางไฟเบอร์ ฯลฯ
 
     สรุปในบทความนี้ทางผู้บรรยายได้อธิบายถึงปัจจัยการเลือกใช้หน้าจอแสดงผลโหลดเซลล์/เซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก (Load Cell Indicator) ไปใช้งานให้เหมาะสมนั้น ควรต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น สัญญาณเอาต์พุต (Output Signal), สัญญาณอินพุต (External Input), จำนวน Load Cell สูงสุด, ไฟเลี้ยง, ขนาดในการติดตั้ง, มาตรฐาน IP รวมถึงการทนต่อแรงสั่นสะเทือน เป็นต้น และท่านผู้อ่านสามารถทราบวิธีการการต่อสายโหลดเซลล์ (Load Cell) แบบ 4 สาย และ 6 สาย ในบทความที่ผ่านมาในหัวข้อ “การต่อสายโหลดเซลล์ (Load Cell) แบบ 4 สาย และ 6 สาย”
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
 
ชุดทดสอบแรงกด ลูกถ้วนไฟฟ้า บรรจุของเหลวลงถัง ชุดทดสอบแรงดึง

Digital Indicator,Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Digital Load Cell Transmitter Digital Target Counter With RS485 Load cell Bar Graph Indicator With Alarm Unit

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK