Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text
 การตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน
     การตรวจวัดการใช้พลังงานเป็นสิ่งจำเป็นในการที่จะทำให้ทราบถึงปริมาณการใช้พลังงานและประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งใช้ในการประเมินแนวทางการประหยัดพลังงาน การวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุน ตลอดจนการตรวจสอบติดตามผลการประหยัดที่เกิดขึ้นจริง หลังจากที่ได้ดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงาน
พื้นฐานของการตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและระบบที่ใช้พลังงานความร้อน รวมทั้งการประเมินการใช้พลังงานของโรงงานระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ได้แก่ ระบบส่งจ่ายไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ระบบอากาศอัด ระบบแสงสว่าง ระบบปั๊มน้ำและมอเตอร์ เป็นต้น ส่วนระบบที่ใช้พลังงานความร้อน ได้แก่ ระบบไอน้ำ ระบบน้ำมันร้อน และเตาอุตสาหกรรม เป็นต้น
 
     1. พื้นฐานการใช้พลังงาน
         การใช้พลังงานโดยทั่วไปสำหรับสถานประกอบการ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พลังงานไฟฟ้าและพลังงานกล ที่มีรูปแบบการใช้งาน 2 ด้าน คือ ด้านความดันและด้านความร้อน
 
          1.1  พลังงานไฟฟ้า
                 พลังงานไฟฟ้าแบ่งได้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับและไฟฟ้ากระแสตรง หลักการเหมือนกันคือแหล่งจ่ายพลังงานทำหน้าที่จ่ายพลังงานไปยังอุปกรณ์ (Load) เมื่ออุปกรณ์ได้รับพลังงานไฟฟ้าแล้วจะเปลี่ยนจากพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปแบบอื่น ๆ เช่น แสงสว่าง ความร้อน พลังงานกล เป็นต้น
 
                 ดังรูป การใช้พลังงานของวงจรไฟฟ้ากระแสสลับและกระแสตรง
 
การใช้พลังงานของวงจรไฟฟ้ากระแสสลับและกระแสตรง
 
การใช้พลังงานของวงจรไฟฟ้ากระแสตรง
 
          1.2  พลังงานกลในรูปของความดัน
                 ความดัน (Pressure) ความดันเกจ (gauge pressure) ความดันบรรยากาศ (atmospheric pressure) ความดันสมบูรณ์ (absolute pressure) อัตราการไหล (flow rate) ปริมาณแรงดันที่กระทำตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ การแสดงค่าความดันมีได้หลายอย่าง เช่น แรงต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ (นิวตันต่อตารางเมตร) ความสูงของแท่งของเหลว (มิลลิเมตรปรอท) หรือ การแสดงค่าโดยเทียบกับความดันบรรยากาศ เป็นต้น
 
           1.3 พลังงานกลในรูปความร้อน
                 ในทางอุตสาหกรรมมีการใช้พลังงานที่เปลี่ยนรูปแบบหรือส่งต่อกันไปเพื่อใช้งาน เช่น ระบบไฟฟ้า จ่ายแรงเคลื่อนไฟฟ้า 380 V ให้กับมอเตอร์ และมอเตอร์ขับเคลื่อนปั๊มน้ำสร้างความดันน้ำ 20 บาร์ ขับเคลื่อนน้ำอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ไหลไปยังเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่มีอุณหภูมิสูง 35 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อนไปยังน้ำ ทำให้น้ำมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น
ซึ่งการตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าพลังงานทางไฟฟ้า สามารถใช้อุปกรณ์ชุด Energy Saving Kit เป็นชุดกระเป๋ามิเตอร์วัดและวิเคราะห์ค่าพลังงานทางด้านไฟฟ้า โดยในชุดกระเป๋าจะประกอบไปด้วย
          1. KM-07-A-2 Multimiter Function
          2. CT 500/5A
          3. KM-18 Data Logger
          5. Software Primus Soft
 
 
ข้อมูลอ้างอิง
https://ienergyguru.com
 
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
HOTLINE : 090-197-9601
ID LINE : @primusthai
WEBSITE : http://www.primusthai.com/primus/product?productID=900