Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text
การต่อลงดิน
การเลือกขนาดสาย วิธีติดตั้ง และความต้านทานระหว่างหลักดินกับดิน
4.1 วงจรและระบบไฟฟ้ากระแสที่ต่อลงดิน
วงรจและระบบไฟฟ้ากระแสสลับตามที่กำหนดไว้ข้อ 4.1.1ถึง 4.1.2 ต้องต่อลงดินส่วนวงจรและระบบอื่นนอกจากนี้ จาจต่อลงดินก็ได้
� 4.1.1 ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 50 โวลต์ แต่ไม่ถึง 1,000โวลต์ ต้องต่อลงดินเมื่อมีสภาพตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
��� 4.1.1.1 เป็นระบบ 3 เฟส 4 สาย และนำตัวนิวทรัลเป็นสายวงจรด้วย
��� 4.1.1.2 เป็นระบบ 3 เฟส 4 สาย และจุดกึ่งกลางของเฟสใดเฟสหนึ่งใช้เป็นสายวงจรด้วย
��� 4.1.1.3 เป็นระบบ 3 เฟส 3 สาย
��� 4.1.1.4 เป็นระบบ 1 เฟส 3 สาย หรือ 1 เฟส 2 สาย
� 4.1.2 วงจรและระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000 โวลต์ ขึ้นไป ถ้าจ่ายไฟให้บริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดเครื่อนไหวที่จะได้ต้องต่อลงดิน แต่ถ้าจ่ายไฟฟ้าให้บริภัณฑ์ไฟฟ้าอื่นๆอนุญาตให้ต่อลงดินได้แต่ต้องไม่ขัดกับ ข้อกำหนดข้ออื่นๆ
ยกเว้น� ระบบที่มีตัวจ่ายไฟแยกต่างหาก(Separately Derived Systems)โดยเฉพาะระบบไฟฟ้าที่รับพลังงานจากเครื่องกำหนดไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า คอนเวอร์เตอร์ที่มีขดลวดซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อจ่ายไฟให้ระบบไฟฟ้าพิเศษและ ไม่มีการต่อทางไฟฟ้ากับวงจรระบบอื่น ไม่บังคับให้ต่อลงดิน หากต้องการต่อลงดินตามข้อ 4.1.1 ข้างต้นจะต้องปฏิบัติตาม ข้อ 4.6 ด้วย
4.2 วงจรและระบบไฟฟ้าที่ห้ามต่อลงดิน
�4.2.1 วงจรของปั้นจั่นที่ใช้งานอยู่เหนือวัสดุเส้นใยที่อาจลุกไหม้ได้ ซึ่งอยู่ในบริเวณอันตราย
�4.2.2 วงจรที่กำหนดให้ใช้สำหรับสิ่งที่อำนวจความสะดวกเพื่อรักษาสุขภาพ
4.3 การต่อลงดินของระบบประธาน
� 4.3.1 ระบบไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าที่ยต้องต่อลงดินตาทข้อ 4.1 จะต้องต่อลงดินที่บริภัณฑ์ประธานแต่ละชุด จุดต่อลงดินต้องอยู่ในจุดที่เข้าถึงสะดวกที่ปลายตัวนำประธาน หรือบัสหรือขั้วต่อที่ต่อเข้ากับตัวนำนิวทรัลของตัวนำประธานภายในบริภัณฑ์ ประธาน ในกรณีหม้อแปลงไฟฟ้าติดตั้งภายนอกอาคารจะต้องต่อลงดินเพิ่มอีกอย่างน้อย 1 จุด ทางด้านไฟออกของหม้อแปลงไฟฟ้า ณ จุดที่ติดตั้งหม้อแปลงหรือจุดอื่นท่ี่แหมาะสม ห้ามต่อลงดินที่จุดอื่นๆ อีกทางด้านไฟออกของบริภัณฑ์ประธาน
ข้อยกเว้นที่1 ถ้าอาคารนั้นรับไฟจากตัวนำประธานมากกว่า 1 ชุดซึ่งอยู่ภายในสิ่งห่อหุ้มเดียวกัน หรือติดตั้งแยกคนละสิ่งห่อหุ้มแต่อยู่ติดกันและต่อถึงกันทางด้านไฟออก ที่จุดต่อถึงกันนี้สามารถต่อตัวนิวทรัลหรือสายที่มีการต่อลงดินของตัวนำ ประธานลงหลักเพียงชุดเดียวก็ได้
ข้อยกเว้นที่2 .ในกรณีที่มีการต่อฝาก ระหว่างบัสบาร์นิวทรัลกับบัสบาร์ต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้่ที่บริภัณฑ์ประธาน ตามข้อ 4.15.6 สามารถต่อสายต่อหลักดินเข้ากับบัสบาร์ต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีต่อฝาก นั้นได้
� 4.3.2 ระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 โวลต์ที่่มีการต่อลงดินที่จุดใดๆ จะต้องเดินสายที่มีการต่อลงดินนัน้นไปยังบริภัณฑ์ประธานทุกชุดและต่อต่อฝาก เข้ากับสิ่งห่อหุ้มของบริภัณฑ์ประธาน สายดังกล่าวจะต้องเดิมร่วมไปกับสายเส้นไฟด้วย
4.4 การต่อลงดินของวงจรที่มีบริภัณฑ์ประธานชุดเดียวจ่ายไฟให้อาคาร 2 หลัง หรือมากกว่า
� 4.4.1 แต่ละอาคารต้องมีหลักดินเพื่อต่อสายที่มีการต่อลงดินของวงจรและระบบไฟฟ้ากระแสสลับและเครื่องห่อหุ้มของเครื่องปลดวงจรลงดิน
� 4.4.2 อนุญาติให้ไม่ต้องทำหลักดินของแต่ละอาคารตามข้อ 4.4.1 ก็ได้ถ้ามีสภาพตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
�� 4.4.2.1 ในอาคารมีวงจรย่อยชุดเดียวและไม่ได้จ่ายไฟให้แก่บริภัณฑ์ที่ต้องต่อลงดิน
�� 4.4.2.2 มีการ เดินสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าร่วมกับตัวนำอื่นวงจร เพื่อไปต่อส่วนที่ไม่เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าของบริภัณฑ์ไฟฟ้าระบบท่อโลหะ ภายในและโครงสร้างของอาคารที่ต้องการลงดินสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้านั้นจะต้อง มีการต่อฝาลงดินที่อาคารอีกหลังหนึ่ง
4.5 ตัวนำที่มีการต่อลงดินของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ
� สำหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้ภายในอาคาร สายตัวนำของระบบต้องมีการต่อลงดินตัวนำที่มีการต่อลงดินต้องทำตามข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
�4.5.1 ระบบ 1 เฟส 2 สาย กำหนดให้ตัวนำนิวทรัลเป็นสายที่่ต่อลงดิน
�4.5.2 ระบบ 1 เฟส 3 สาย กำหนดให้ตัวนำนิวทรัลเป็นสายที่่ต่อลงดิน
�4.5.3 ระบบ 3 เฟส 3 สาย กำหนดให้ตัวนำเส้นใดเส้นหนึ่งต่อลงดิน
�4.5.4 ระบบ 3 เฟส 4 สาย กำหนดให้ตัวนำนิวทรัลเป็นสายที่่ต่อลงดิน
4.6 การต่อลงดินสำหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่มีตัวจ่ายแยกต่างหาก
� ระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่มีตัวจ่ายแยกต่างหากต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้
�4.6.1 ต้องใช้สายต่อฝากลงดิน (ที่มีขนาดตามข้อ 4.15.6.3 ซึ่งกำหนดขนาดจากสายเส้นไฟของระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหาก) เชื่อมต่อสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า(ของระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหาก)เข้ากับ สายตัวนำที่มีการต่อลงดินของระบบไฟฟ้า การต่อฝากให้ทำที่จุดใดก็ได้ระหว่างระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหากกับเครื่อง ป้องกันกระแสเกินตัวแรกเท่านั้น
�4.6.2 สายต่อหลักดินที่เชื่อมต่อหลักดินเข้ากับสายตัวนำที่มีการต่อสายลงดินของ ระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหากให้ใช้ขนาดตามข้อ 4.19 ซึ่งกำหนดขนาดจากสายเส้นไฟของระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหาก
�4.6.3 หลักดินเป็นไปตามข้อ 2.4 และต้องอยู่ใกล้จุดต่อลงดินมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
4.7 การต่อลงดินของเครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะของตัวนำประธานและของบริภัณฑ์ประธาน
����� เครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะของตัวนำประธานและของบริภัณฑ์ประธานต้องต่อลงดิน
4.8 เครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะของสายตัวนำ ต้องต่อลงดิน
� ข้อยกเว้นที่1 เครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะสั้นๆซึ่งป้องกันความเสียหายทางกายภาพที่มีการต่อ สายเคเบิลหรือใช้จับยึดสาย ไม่บังคับให้ต่อลงดิน
� ข้อยกเว้นที่2 เครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะของสายที่ต่อจากการติดตั้งเดิมที่เป็นการเดินสาย แบบเปิดเดินสายบนตุ้มหรือใช้สายที่มีเปลือกนอกไม่เป็นโลหะไม่จำเป็นต้องต่อ ลงดินถ้าระยะเดินสายที่เพิ่มมีความยาวไม่เกิน 8 เมตรไม่สัมผัสกับดินหรือโลหะที่ต่อลงดิน หรือวัสดุที่เป็นตัวนำ และมีการป้องกันไม่ให้บุคคลสัมผัส
4.9 การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ หรือชนิดที่มีการเดินสายถาวร
����� บริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ หรือชนิดที่มีการเดินสายถาวร ส่วนที่เป็นโลหะที่เปิดโล่งและไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าของบริภัณฑ์ ไฟฟ้าดังกล่าวต้องต่อลงดินเมื่อมีสภาพตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
�4.9.1 ห่างจากพื้นหรือโลหะที่ต่อลงดินไม่เกิน 2.4 เมตรในแนวดิ่ง หรือ1.5เมตรในแนวระดับ และบุคคลอาจสำผัสโดยบังเอิญ
�4.9.2 อยู่ในสถานที่เปียกหรือชื้นและไม่ได้แยกอยู่ต่างหาก
�4.9.3 มีการสัมผัสไฟฟ้ากับโลหะ
�4.9.4 อยู่ในบริเวณอันตราย
�4.9.5 รับไฟฟ้าจากสายชนิดหุ้มส่วนนำกระแสไฟฟ้าด้วยโลหะ (Metal-Clad,Metal-Sheath) หรือสายที่เดินในท่อสายโลหะเว้นแต่ที่ได้ยกเว้นในข้อ4.8
4.10 การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ทุกขนาดแรงดัน
������� บริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ทุกขนาดแรงดัน ส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งและไม่เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า บริภัณฑ์ไฟฟ้าต่อไปนี้ต้องต่อลงดิน
� 4.10.1 โครงของแผงสวิตช์
� 4.10.2 โครงของมอเตอร์ชนิดติดกับที่
� 4.10.3 กล่องของเครื่องควบคุมมอเตอร์ ยกเว้นฝาครอบสวิตช์ ปิด-เปิดที่มีฉนวนรองด้านใน
� 4.10.4 บริภัณฑ์ไฟฟ้าของลิฟล์ปั้นจั่น
� 4.10.5 บริภัณฑ์ไฟฟ้าในอู่จอดรถ โรงมหรสพ โรงถ่ายภาพยนตร์ สถานีวิทยุและโทรทัศน์
������������ ยกเว้น โคมไฟแบบแขวน
4.11 การต่อลงดินของบริภัณฑ์ซึ่งได้รับกระแสโดยตรง
����� บริภัณฑ์ซึ่งไม่ได้รับกระแสไฟฟ้าโดยตรง ส่วนที่เป็นโลหะของบริภัณฑ์ต่อไปนี้ต้องลงดิน
� 4.11.1 โครงและร่างของปั้นจั่นที่ใช้ไฟฟ้า
� 4.11.2 โครงของผู้โดยสารลิฟต์ที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าแต่มีสายไฟฟ้าติดอยู่
� 4.11.3 ลวดสลิงซึ่งใช้ยกของด้วยแรงคนและลวดสลิงของลิฟต์ที่ใช้ไฟฟ้า
� 4.11.4 สิ่งกั้นที่เป็นโลหะ รั้ว หรือสิ่งห่หุ้มของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันระหว่างสายเส้นไฟเกิน 1,000 โวลต์
4.12 การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีสายพร้อมเต้าเสียบ
���� บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีสายพร้อมเต้าเสียบ ส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งของบริภัณฑ์ไฟฟ้าจะต้องต่อลงดินถ้ามีสภาพตามข้อใด ข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
� 4.12.1 ใช้ในบริเวณอันตราย
� 4.12.2 ใช้แรงดันไฟฟ้าวัดเทียบกับดินเกิน 150 โวลต์
������������� ข้อยกเว้นที่ 1 มอเตอร์ที่มีการกั้น
������������� ข้อยกเว้นที่ 2 โครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าทางความร้อน ซึ่งมีฉนวนกั้นระหว่างโครงโลหะกับดินอย่างถาวร
������������� ข้อยกเว้นที่ 3 บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ระบุว่าเป็นฉนวน 2 ชั้นหรือเทียบเท่า ซึ่งมีเครื่องหมายแสดงชัดเจนว่าไม่ต้องต่อลงดิน
� 4.12.3 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในสถานที่อยู่อาศัยต่อไปนี้
������������ 4.12.3.1 ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง เครื่องปรับอากาศ
������������ 4.12.3.2 เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เครื่องล้างจาน เครื่องสูบน้ำทิ้ง เครื่องใช้ไฟฟ้าในตู้เลี้ยงปลา
������������ 4.12.3.3 เครื่องมือชนิดมือถือที่ทำงานด้วยมอเตอร์ (Hand-Held Motro-Operated Tools)
������������ 4.12.3.4 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำงานด้วยมอเตอร์ เช่น เครื่องเล็มต้นไม้ เครื่องตัดหญ้า เครื่องขักถูชนิดใช้น้ำ
������������ 4.12.3.5 ดวงโคมไฟฟ้าชนิดหยิบยกได้
������������ ยกเว้น บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ระบุว่าเป็นฉนวน 2 ชั้นหรือเทียบเท่า ซึ่งมีเครื่องหมายแสดงชัดเจนว่าไม่ต้องต่อลงดิน
�4.12.4 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้ในสถานที่อยู่อาศัย ต่อไปนี้
����������� 4.12.4.1 ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง เครื่องปรับอากาศ
����������� 4.12.4.2 เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เครื่องล้างจาน เครื่องสูบน้ำทิ้ง เครื่องใช้ไฟฟ้าในตู้เลี้ยงปลา
����������� 4.12.4.3 เครื่องมือชนิดมือถือที่ทำงานด้วยมอเตอร์
����������� 4.12.4.4 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำงานด้วยมอเตอร์ เช่น เครื่องเล็มต้นไม้ เครื่องตัดหญ้า เครื่องขักถูชนิดใช้น้ำ
����������� 4.12.4.5 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสายพร้อมเต้าเสียบใช้ในสถานที่เปียกหรือชื่น หรือบุคคลอื่นที่ใช้ยืนอยู่บนพื้นดินหรือพื้นโลหะ หรือทำงานอยู่ในถังโลหะหรือหม้อน้ำ
����������� 4.12.4.6 เครื่องมือที่อาจนำไปใช้ในที่เปียก หรือ ใช้ในบริเวณที่นำไฟฟ้าได้
����������� 4.12.4.7 ดวงโคมไฟฟ้าชนิดหยิบยกได้
����������� ขอยกเว้นที่1 เครื่องมือและวัดโคมไฟฟ้าชนิดหยิบยกได้ ที่อาจนำไปใช้ในที่เปียกหรือใช้ในบริเวณที่นำไฟฟ้าได้ ไม่บังคับให้ต่อลงดินถ้ารับพลังไฟฟ้าจากหม้อแปลงนิรภัยที่ขดลวดด้านไฟออกมี แรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 50 โวลต์ และไม่ต่อลงดิน
����������� ขอยกเว้นที่2 บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ระบุว่าเป็นฉนวน 2 ชั้นหรือเทียบเท่าหรือมีเครื่องหมายแสดงชัดเจนว่าไม่ต้องต่อลงดิน
4.13 ระยะห่างจากตัวนำระบบล่อฟ้า
������� ท่อสาย เครื่องห่อหุ้ม โครงโลหะ และส่วนโลหะอื่นของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ไม่เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าต้องมีระยะ ห่างจากตัวนำระบบล่อฟ้าไม่น้อย 1.80 เมตร หรือต้องต่อฝากเข้ากับตัวนำระบบล่อฟ้า
4.14 วิธีต่อลงดิน
������� 4.14.1 การต่อสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีตัวจ่ายแยกต่างหากโดยเฉพาะ ต้องปฏิบัติตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 4.6.1 การต่อสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่บริภัณฑ์ประธานต้องปฏิบัติดังนี้
������������������ 4.14.1.1 ระบบไฟฟ้าที่มีการต่อลงดิน ให้ต่อฝากสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าเข้ากับตัวนำประธานที่มีการต่อลงดินและสาย ต่อหลักดิน
��������������������������������� ยกเว้น กรณีต่อลงดินของห้องชุดในอาคารชุดให้เป็นไปตามที่กำหนดในบทที่ 9
������������������ 4.14.1.2 ระบบไฟฟ้าที่ไม่มีการต่อลงดิน ให้ต่อฝากสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าเข้ากับสายต่อหลักดิน
������� 4.14.2� ทางเดินสู่ดินที่ใช้ได้ผลดี
�������������������� ทางเดินสู่ดินจากวงจร บริภัณฑ์ไฟฟ้า และเครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะ ต้องมีดังนี้
�������������������� ลักษณะดังนี้
�������������������� 4.14.2.1 เป็นชนิดติดตั้งถาวรและมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้า
�������������������� 4.14.2.2 มีขนาดเพียงพอสำหรับนำกระแสลัดวงจรทุกชนิดที่อาจเกิดขึ้ได้อย่างปลอดภัย
�������������������� 4.14.2.3 มีอิมพีแดนซ์ต่ำเพียงพอที่จะจำกัดแรงดันไฟฟ้าวัดเทียบกับดินไม่ให้สูงไป และช่วยให้เครื่องป้องกันกระแสเกินในวงจรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
�������� 4.14.3 การใช้หลักดินร่วมกัน
������������������� ถ้าระบบไฟฟ้ากระแสสลับมีการต่อลงดินภายในอาคารหรือสถานที่ตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ 4.3 และข้อ 4.4 แล้ว ต้องใช้หลักดินนั้นสำหรับต่อเครื่องห่อหุ้มสายและส่วนที่เป็นโลหะของ บริภัณฑ์ไฟฟ้าลงดินด้วยสำหรับอาคารที่รับไฟจากแหล่งจ่ายไฟแยกกันต้องใช้หลัก ดินร่วมกัน หลักดินสองหลักหรือมากกว่าที่ต่อฝากว่าที่ต่อฝากเข้าด้วยกันอย่างใช้ได้ผลดี ถือว่าเป็นหลักดินหลักเดียว
�������� 4.14.4 การต่อของบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ หรือชนิดที่มีการเดินสายถาวร
������������������� ส่วนที่เป็นโลหะของบริภัณฑ์ไฟฟ้าและไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า ถ้าต้องการต่อลงดินจะต้องต่อโดยวิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้
������������������� 4.14.4.1 โดยใช้สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าประเภทต่างๆตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ4.17
������������������� 4.14.4.2 โดยใช้สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าเดินสายร่วมไปกับสายวงจรในท่อสายเดียวกันหรือ เป็นส่วนหนึ่งของสายเคเบิลหรือสายอ่อนสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าอาจหุ้มฉนวน หรือไม่หุ้มฉนวนก็ได้ ฉนวนหรือเปลืกของสายดินต้องเป็นสีเขียวหรือเขียวแถบเหลือง
���������������������������������� ข้อยกเว้นที่1� สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดหุ้มฉนวนขนาดใหญ่กว่า 10 ตร.มม. อนุญาติให้ทำเครื่องหมายที่ถาวรเพื่อแสดงว่าเป็นสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ ปลายสายและทุกแห่งที่เข้าได้ การทำเครื่องหมาย ต้องใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
����������������������������������������������������� 1.1) ปอกฉนวนหรือเปลือกส่วนที่มองเห็นทั้งหมดออก
����������������������������������������������������� 1.2) ทำให้ฉนวนหรือเปลือกส่วนที่มองเห็นเป็นสีเขียว
����������������������������������������������������� 1.3) ทำเครื่องหมายบนฉนวนหรือเปลือกส่วนที่มองเห็นด้วยเทปพันสายหรือแถบกาวสี เขียว
���������������������������������� ข้อยกเว้นที่2 ถ้าการบำรุงรักษากระทำโดยผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง อนุุญาติให้ทำเครื่องหมายถาวรที่ปลายสายและทุกแห่งที่เข้าถึงได้ที่ฉนวนของ ตัวนำในเคเบิลหลายแกนเพื่อนแสดงว่าเป็นเป็นสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า การทำเครื่องหมายต้องใช้วิธีหนึ่งวิธีใดดังต่อไปนี้
����������������������������������������������������� 2.1) ปอกฉนวนหรือเปลือกส่วนที่มองไม่เห็นทั้งหมดออก
����������������������������������������������������� 2.2) ทำให้ฉนวนหรือเปลือกที่มองเห็นเป็นสีเขียว
����������������������������������������������������� 2.3) ทำเครื่องหมายเป็นฉนวนหรือเปลือกส่วนที่มองเห็นด้วยเทปพันสายหรือแถบกาวสี เขียว
�������� 4.14.5 บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ถือว่ามีการต่อลงดินอย่างใช้ได้ผลดี
������������������� ส่วนที่เป็นโลหะของบริภัณฑ์ไฟฟ้าซึ่งไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า เมื่อมีสภาพดังต่อไปนี้ถือว่ามีการต่อลงดินแล้ว
������������������� 4.15.5.1 บริภัณฑ์ไฟฟ้ากระแสสลับที่ยึดแน่และสัมผัสทางไฟฟ้ากับโครงสร้างโลหะที่ รองรับและโครงสร้างโลหะดังนั้นต่อลงดินตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 4.14.4 แล้วไม่อนุญาตให้ใช้โครงสร้างโลหะของอาคารแทนสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้านั้น
������������������� 4.15.5.2 โครงโลหะของผู้โดยสารลิฟต์ที่แขวนกับลวดสลิง ซึ่งคล้องหรือพันรอบเพลากว้านของมอเตอร์ลิฟต์ที่ต่อลงดินตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ� 4.14.4
�������� 4.14.6 บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีสายพร้อมเต้าเสียบ
������������������� ส่วนที่เป็นโลหะของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีพร้อมเต้าเสียบ ซึ่งไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า ถ้าต้องต่อลงดินให้ใช้วิธีใดดังต่อไปนี้
������������������� 4.14.6.1 โดยใช้สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าเดินสายร่วมกับสายวงจรอยู่ภายในสายเคเบิลสหรือ สายอ่อนเดียวกัน และปลายสายต่อเข้ากับขาดินของเต้าเสียบชนิดขาดินตายตัวสายดินของบริภัณฑ์ ไฟฟ้าอาจไม่หุ้มฉนวนก็ได้ ถ้าหุ้มฉนวนสีของฉนวนต้องเป็นสีเขียวหรือเขียวแถบเหลือง
������������������� 4.14.6.2 โดยใช้สายอ่อนหรรือแถบโลหะแยดต่างหากอาจจะหุ้มฉนวนหรือไม่หุ้มฉนวนก็ได้แต่ ต้องมีการป้องกันความเสียหายทางกายภาพ
4.15 การต่อฝาก
การต่อฝากมีจุดประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่ามีความต่อเนื่องทางไฟฟ้า และสามารถรับกระแสลัดวงจรใดๆที่อาจเกิดขึ้น
������� 4.15.1 การต่อฝากที่บริภัณฑ์ประธาน
������������������ ส่วนที่เป็นโลหะซึ่งไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าของบริภัณฑ์ไฟฟ้าต่อไปนี้ต้องมีการต่อฝากถึงกันอย่างใช้ผลดี
������������������ 4.15.1.1 ท่อสายรางเคเบิลและเปลือกนอกที่เป็นโลหะของตัวนำประธาน
������������������ 4.15.1.2 เครื่องห่อหุ้มของบริภัณฑ์ประธาน
������������������ 4.15.1.3 ท่อสายโลหะของสายต่อหลักดิน
4.15.2 วิธีต่อฝากที่บริภัณฑ์ประธาน
���������� การต่อถึงกันทางไฟฟ้าที่บริภัณฑ์ประธานที่ต้องปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
������������������ 4.15.2.1 ต่อฝากตู้บริภัณฑ์ประธานเข้ากับตัวนำประธานเส้นที่การต่อลงดินตามวิธีที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 4.22
�������������������������������� ยกเว้น บริภัณฑ์ประธานของห้องชุดให้เป็นไปตามข้อ 9.1.12
������������������ 4.15.2.2 โดยใช้ข้อต่อแบบมีเกลียวต่อเข้ากับกล่องหรือสิ่งห่อหุ้มที่ทำเกลียวในเมื่อ ใช้ท่อโลหะหนาหรือท่อโลหะหนาปานกลางการต่อให้ใช้ประแจขันให้แน่น
������������������ 4.15.2.3 โดยใช้ข้อต่อแบบไม่ต้องใช้เกลียวต่อให้ท่อใให้แน่นสนิทเมื่อใช้โลหะบาง
������������������ 4.15.2.4 ใช้สายต่อฝากหรืออุปกรณ์อื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมรอบรอยต่อที่ช่องน็อกเอา ต์เพื่อให้การต่อลงดินมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้า
������������������ 4.15.2.5 ใช้อุปกรณ์อื่นๆเช่น ใช้บุชชิงแบบมีขั้วต่อสายดินพร้อมกับล็อกนัต
��������� 4.15.3 การต่อขั่วต่อสายดินของเต้าเข้ากับกล่องโลหะ
��������������������� ขอยกเว้นที่1 กล่องโลหะเป็นแบบติดตั้งบนพื้นผิว การสัมผัสโดยตรงระหว่างกล่องกับเต้ารับถือได้ว่าเป็นการต่อลงดินของเต้ารับ เข้ากับกล่อง������������������������������������������� �������� ข้อยกเว้นที่ไม่ใช้กับเต้ารับที่ติดตั้งบนฝาครอบที่ได้ระบุว่ามีความต่อ เนื่องทางไฟฟ้าาเพียงพอระหว่างกับเต้ารับ
���� ขอยกเว้นที่2 อุปกรณ์สัมผัสหรือก้านยื่นซึ่งได้ออกแบบและระบุว่าให้ใช้ร่วมกัยสกรูยึด เพื่อเป็นวงจรต่อลงดินระหว่างเต้ารับกับกล่องชนิดติดตั้งเสมอผิว
���� ขอยกเว้นที่3 กล่องแบบติดตั้งบนพื้นผิวซึ่งได้ออกแบบและระบุว่ามีความต่อเนื่องลงดินทางไฟฟ้าระหว่างกล่องกับอุปกรณ์
���� ขอยกเว้นที่4 ในกรณีที่ต้องการลดการลบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในวงจรสายดิน อาจใช้เต้ารับที่มีฉนวนคั่นระหว่าขั้วต่อลงดินกับสิ่งที่ยึดหรือติดตั้ง เต้ารับโดยต่อขั้วต่อสายดินของเต้ารับเข้ากับสายดินของบริภัณฑืไฟฟ้าเป็นสาย หุ้มฉนวนเดินร่วมไปกับสายของวงจร สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้านนี้อาจ������������������������������������������� เดินผ่านแผงย่อยแผงเดียวหรือหลายแผงโดยไม่ต้องต่อกับตัวแผงก็ได้แล้วไปต่อ เข้ากับขั้วต่อสายดินของบริภัณฑ์ประธานด้านไฟออก
�������� 4.15.4 การต่อฝาห่อหุ้มอื่นๆ
�� ท่อสายที่เป็นโลหะ รางเคเบิล เครื่องห่อหุ้มโครงเครื่องประกอบในการติดตั้งและส่วนที่เป็นนโลหะอื่นๆที่ ไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า ถ้าสิ่งเหล่านี้ทำทำหน้าที่สายดินต้องมีการต่อถึงกันทางไฟฟ้าและสามารถลด กระแสลัดวงจรใดๆ เกลียวและหน้าสัมผัสให้ขูดสีหรือสิ่งเคลือบอื่นๆที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้าออก ก่อนทำการต่อ เว้น������������������� แต่ใช้อุปกรณ์การต่อที่ออกแบบไว้โดยเฉพาะ
�������� 4.15.5 การต่อฝากในบริเวณอันตราย
������������������� ส่วนเป็นโลหะของบริภัณฑ์ไฟฟ้าและไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าที่ทุกระดับ แรงดันไฟฟ้าซึ่งอยู่ในบริเวณอันตรายต้องต่อถึงกันทางไฟฟ้าตามวิธีที่กำหนด ไว้ในข้อ 4.15.2.2-4.15.2.5 โดยเลือวิธีให้เหมาะกับการเดินสาย
������� 4.15.6สายต่อฝากลงดิน และสายต่อฝากของบริภัณฑ์ไฟฟ้า
������������������ 4.15.6.1 สายต่อฝากลงดิน แลละสายต่อของฝากของบริภัณฑ์ไฟฟ้าต้องเป็นชนิดตัวนำทองแดง
������������������ 4.15.6.2 สายต่อฝากลงดิน และสายต่อฝากลงดิน และสายต่อฝากของบริภัณฑ์ไฟฟ้าต้องติดตั้งตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4.22 เมื่อเป็นสายต่อลงดินของวงจรหรือบริภัณฑ์ไฟฟ้าและข้อ 4.24 เมื่อเป็นสายต่อหลักดิน
����������������� 4.15.6.3 สายต่อฝากของบริภัณฑ์ไฟฟ้าทางด้านไฟเข้าของบริภัณฑ์ประธานและสายต่อฝากลงดิน ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าขนาดของสายยต่อหลักดินที่กำหนดไว้ในตาราง 4-1ถ้าสายเส้นไฟของตัวนำประธานมีขนาดใหณ่กว่าาที่กำหนนดไว้ในตาราง 4-1ให้ใช้สายต่อขนาดไม่เล็กกว่าร้อยละ 12.5ของตัวนำปรระธานขนาด������������������������������� ใหญ่ที่สูดถ้าใช้ตัวนำประธานเดินในท่อสายหรือเป็นสายเคเบิลมากกว่า 1 ชุดขนาดกัน แต่ละท่อสายหรือสายเคเบิลให้ใช้สายต่อฝากที่มีขนาดที่ไม่เล็กว่าที่ ได้������������������������������� กำหนดไว้ในตารางดังกล่างโดยคำนวนจากขนาดของสายในแต่ละท่อสายหรือสายเคเบิล
�4.15.6.4 สายต่อฝากของบริภัณฑ์ไฟฟ้าด้านไฟออกของบริภัณฑ์ประธานต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า ขนาดของสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ได้กำหนดไว้ในตารางที่ 4-2
4.16 ชนิดของสายต่อหลักดิน
������� สายต่อหลักดินต้องเป็นตัวนำทองแดง เป็นชนิดตัวเดียวหรือตัวนำตีเกลียวหุ้มฉนวนและต้องเป็นตัวนำเส้นเดียวยาว ตลอดโดยไม่มีการต่อ แต่ถ้าเป็นบัสบาร์อนุญาตให้มีการ������� ต่อได้
4.17 ชนิดของสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า
สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่เดิมมร่วมสายไปกลับสายของวงจรต้องเป็นดังต่อไปนี้
������ 4.17.1 ตัวนำทองแดง หุ้มฉนวนหรือไม่หุ้มฉนวนก็ได้
������ 4.17.2 เปลือกโลหะของสายเคเบิลชนิด AC ,MI และ MC
������ 4.17.3 บัสเวย์ที่ได้ระบุให้ใช้แทนสายสำหรับต่อลงดินได้
4.18 วิธีติดตั้งสายดิน
������� 4.18.1 สายต่อหลักดินหรือเครื่องห่อหุ้มต้องยึดแน่นกับสิ่งรองรับสายนี้จะต้องร้อย ในสายท่อไฟฟ้าหรือใช้เคเบิลแบบมีการเกราะเมื่อใช้ในสถานที่ที่อาจเกิดความ เสียหายหายทางกายภาพ
������� 4.18.2 เครื่องห่อหุ้มโลหะของสายต่อหลักดินจะต้องมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้านับ ตั้งแต่จุดที่ต่อกับตู้ หรือบริภัณฑ์ไฟฟ้าจนถึงหลักดิน และมีการต่อเต้ากับหลักดินอย่างมั่นคงด้วแคลป์หรืออุปกรณ์อื่นๆที่เหมาะสม ถ้าเครื่องหุ้มห่มนี้ไม่ต่อเนื่องทางไฟฟ้าให้ใช้สายต่อฝากที่ปลายทั้งสอง ข้างของเครื่องหุ้มห่ม
������� 4.18.3 สายดินบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่เป็น เกราะสายเคเบิล เปลือกนอกโลหะของสายเคเบิลหรือเป็นสายแยกในช่องเดินสายหรือแกนๆหนึ่งใน เคเบิลต้องติดตั้งใช้เครื่องประกอบ หัวต่อ ข้อต่อที่ได้รับการรับรองสำหรับวิธีการเดินสายวิธีนั้นๆในการติดตั้งต้องใช้ เครื่องมือที่เหมาะสมและต้องขันให้แน่
4.19 ขนาดสายต่อหลักดินของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ
������� สายต่อหลักดินต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าที่ได้กำหนดไว้ในตารางที่ 4-1
4.20 ขนาดสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า
������� 4.20.1 กำหนดให้บริภัณฑ์ไฟฟ้าต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าที่ได้กำหนดไว้ในตารางที่ 4-2
������� 4.20.2 ในกรณีเดินสายควบ ถ้ามีสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ให้เดินขนานกันไปในแต่ละท่อสาย และให้คำนวณขนาดสายดินจากพิกัดหรือขนาดปรับตั้งของเครื่องป้องกันกระแสเกิน ของวงจรนั้น
���������� ในกรณีเดินสายหลายวงจรในท่อสายเดียวกัน แต่ใช้สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าร่วมกันในท่อสายนั้น ให้คำนวณขนาดสายดินพิกัดหรือขนาดปรับตั้งของเครื่องป้องกันกระแสเกินที่ใหญ่ ที่สุดที่ป้องกันในสายท่อสายนั้น
���������� ในกรณีเครื่องป้องกันกระแสเกินเป็นชนิดอัตโตนมัติปลดวงจรทันที หรือเป็นเครื่องป้องกันกระแสลัดวงจรของมอเตอร์ขนาดสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า นั้นให้เลือกตามพิกัดของเครื่องป้องกันการใช้งานเกินกำลังของมอเตอร์
���������� ข้อยกเว้นที่1 สำหรับสายพร้อมเต้าเสียบของบริภัณฑ์ไฟฟ้าซึ่งใช้ไฟฟ้าจากวงจรซึ่งมีเครื่อง ป้องกันกระแสเกินมีขนาดไม่เกิน 20 แอมแปร์ สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่เป็นตัวนำทองแดงและเป็นแกนหนึ่งของสายอ่อน อาจมีขนาดเล็กกว่าที่กำหนดไว้ในตาราง 4-2 ได้แต่ต้องไม่เล็กกว่าขนาดสายตัวนำของวงจรและไม่เล็กกว่า1.0 ตร.มม.
���������� ข้อยกเว้นที่2 สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ไม่ต้องเป็นต้องใหญ่กว่าสายตัวนำของวงจรของบริภุณฑ์ไฟฟ้านั้น
���������� ข้อยกเว้นที่3 ในกรณีที่ใช้เกราะหุ้มสายเคเบิลหรือเปลือกหุ้มสายเคเบิล เป็นสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ตามที่อนุญาตในข้อ 4.17.2
4.21 จุดต่อสายหลักดิน (เข้ากับหลักดิน)
������� จุดต่อของสายต่อหลักดินเข้ากับหลักดินต้องอยู่ในที่เข้าถึงได้ โดยต้องเลือกจุดต่อและวิธีการต่อเพื่อให้มีความมั่งคงทนและใช้ได้ผลดี
������� ข้อยกเว้น จุดต่อกับหลักดินที่อยู่ในคอนกรีต หรือฝังอยู่ในดิน ไม่จำเป็นต้องอยู่ในที่ซึ่งเข้าถึงได้
����������������������������������������������������� ��ตารางที่4-1
������������������������������ �ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดินของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ

ขนาดตัวนำประธาน

 

 

(ตัวนำทองแดง)

 

 

(ตร.มม.)

 

 

ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดิน

 

 

(ตัวนำทองแดง)

 

 

(ตร.มม.)

 

 

ไม่เกิน 35

 

 

10*

 

 

เกิน 35 แต่ไม่เกิน 50

 

 

16

 

 

เกิน 50แต่ไม่เกิน 95

 

 

25

 

 

เกิน 95 แต่ไม่เกิน 185

 

 

35

 

 

เกิน 185แต่ไม่เกิน 300

 

 

50

 

 

เกิน 300 แต่ไม่เกิน 500

 

 

70

 

 

เกิน 500

 

 

95

 

 

 

หมายเหตุ* แนะนำให้ติดตั้งท่อโลหะหนา ท่อโลหะหนาปานกลาง ท่อโลหะบาง หรืออโลหะ และการติดตั้งสอดคล้องตามข้อ 5.4. และ 5.8
4.22 การต่อสายดินและสายต่อฝากต้องใช้วิธีเชื่อมด้วยความร้อน หรือใช้หัวต่อแบบบีบ ประกับจับสายหรือสิ่งอื่นที่ระบุให้ใช้เพื่อการนี้ ห้ามใช้ต่อโดยการบัดกรีเป็นหลัก
4.23 การต่อสายดินเข้ากับกล่อง
������ ในแต่ละกล่องถ้ามีสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าอยู่หลายเส้น แต่ละเส้นต้องต่อถึงกันทางไฟฟ้าเป็นอย่างดี และต้องจัดให้การต่อลงดินมีความต่อเนื่องโดยไม่ขาดตอนแม้ว่าจะถอดหรือปลด วงจรเครื่องประกอบ หรือสิ่งอื่นที่ได้รับไฟฟ้าจากกล่องนั้น
������� 4.23.1กล่องโลหะ
����������������� ต้องต่อสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีอยู่ในกล่องโลหะ ซึ่งอาจเป็นสายเดียวหรือสายเข้ากับกล่องโลหะ โดยต่อที่สลักเกลียวสายดิน ซึ่งห้ามใช้งานในหน้าที่อื่น หรือใช้ต่อในอุปกรณ์ที่ได้ระบุให้ใช้สำหรับการต่อลงดิน
�� 4.23.2 กล่องอโลหะสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีอยู่ในกล่องอโลหะต้องต่อเข้ากับขั้ว ต่อสายดินเข้าเต้าเสียนหรืออุปการณ์ประกอบหรือติดตั้งไว้ในกล่องนี้
������������������������������������������������������������������������������������������ ตารางที่ 4-2
������������������������������������������������������������������������ ขนาดต่ำสุดของสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า

พิกัดหรือขนาดปรับตั้งของเตรื่องป้องกันกระแสเกินไม่เกิน

 

 

(แอมแปร์)

 

 

ขนาดต่ำสุดของสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า

 

 

(ตัวน


สำนักงานใหญ่

เลขที่ 119 ซอยสีม่วงอนุสรณ์ ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2693-7005 (อัตโนมัติ 20 คู่สาย),
แฟ็กซ์: 0-2277-3565(ฝ่ายขาย) และ 0-2276-7221 (ฝ่ายบัญชี)
Email: sales@primusthai.com

สาขาชลบุรี

เลขที่ 207/37 หมู่ 9 ถ.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110
โทรศัพท์: 038-763-147,174
แฟ็กซ์: 038-763-057
Email: lamchabung@primusthai.com

สาขาสมุทรปราการ

เลขที่ 135 หมู่ 2 ถ.เทพารักษ์ ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์: 0-2708-2669-3
แฟ็กซ์: 0-2708-2670
Email: samutprakan@primusthai.com

สาขาพระราม 2

เลขที่ 4/21-22 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทรศัพท์: 0-2451-6338-41
แฟกซ์:0-2451-6342
Email: primusrama2@primusthai.com

สาขาปทุมธานี

เลขที่ 22/21 หมู่ 9 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 10120
โทรศัพท์: 0-2520-3404-6
แฟกซ์: 0-2520-3408
Email: pathumtani@primusthai.com