Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text
หน้าจอแสดง Err1 (TTM-i4N : Digital Temperature Controller)

TTM-i4N : Digital Temperature Controller ปัญหา : หน้าจอแสดง Err1 วิธีการแก้ไข 1. เช็คการตั้งค่า Type อินพุตว่าตรงกับหัววัดอุณหภูมิหรือไม่ 2. เช็คหัววัดอุณหภูมิแล้วตรง แสดงว่า IC ภาคอินพุตเสีย ซ่อมไม่ได้เนื่องจากตัวอุปกรณ์ไม่สามารถถอดได้    

Image Alternative text
หน้าจอแสดง Err.U (CM-013 : Digital Load Cell Indicator with Alarm)

CM-013 : Digital Load Cell Indicator with Alarm ปัญหา : หน้าจอแสดง Err.U วิธีการแก้ไข : ทำการ Cal ใหม่ และเช็คค่า Linearization ตั้งค่า nO-00 ตั้งค่าต่ำสุด , nO-01 ตั้งค่าสูงสุด    

Image Alternative text
5 ข้อดี ของพาวเวอร์มิเตอร์ขนาดเล็ก พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่นภายในตัว (Power Meter with Voltage Protection Relay)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Power Meter (พาวเวอร์มิเตอร์) คือ มิเตอร์ที่ใช้สำหรับวัดและวิเคราะห์ค่าพลังงานทางไฟฟ้า โดยสามารถแสดงค่าเป็นพารามิเตอร์และปริมาณพลังงานไฟฟ้าสำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส เช่น การวัดแรงดันไฟฟ้า (V), กระแสไฟฟ้า (I), กําลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ (Reactive Power), กำลังไฟฟ้าจริง และ V (Line), V (Phase), A (Phase), kW, kVA, kVar, kWh, kVarh, PF, Hz, kW Demand Peak Demand, THD (Harmonic) เป็นต้น        โดยส่วนใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมจะนำตัวพาวเวอร์มิเตอร์ (Power Meter) ไปใช้วัดค่าพลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตโดยต่อใช้งานกับอุปกรณ์ต่อร่วม ประกอบด้วยซอฟแวร์ (Software), อุปกรณ์แปลงสัญญาณ RS-485 (Converter) ที่มีทั้งรูปแบบการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) เช่น Wi-Fi หรือ LoRaWAN เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลด้านพลังงานมาใช้ในการวิเคราะห์ (Analysis) และเก็บบันทึกค่าได้ (Record) โดยนำข้อมูลที่ได้มาบริหารจัดการเพื่อไปใช้ในด้านการควบคุมหรือปรังปรุงการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด        Power Meter (พาวเวอร์มิเตอร์) วัดค่าพลังงานทางไฟฟ้าที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมก็มีหลากหลายรูปให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม ซึ่งเราขอนำเอาตัวอย่าง Power Meter หรือ Multifunction Meter สำหรับวัดค่าพลังงานทางไฟฟ้า ในระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส ยี่ห้อ Primus แบบติดหน้าตู้ (Panel) และติดราง (Din Rail) มายกตัวอย่าง ดังนี้   Panel Power Meter (Size 96x96 mm.) 1 Phase Volt-Amp-PF-Hertz True RMS Din Rail Power Meter (Size 90x105 mm.) 1 Phase Volt-Amp-kW-kWh-Hz, PF with Protection Relay Panel Power Meter (Size 96x96 mm.) 3 Phase Volt-AmpP-kWh with Protection Relay KM-09-U KM-22-1-DI KM-23-P9      นอกจากการใช้พาวเวอร์มิเตอร์ (Power Meter) เพื่อวัดค่าพลังงานไฟฟ้าแล้ว ในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีระบบป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage) เพื่อป้องความเสียหายที่อาจจะเกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ ที่มีความไวในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบไฟฟ้า เช่น ไฟกระชาก (Surge), ไฟเกินชั่วขณะ (Over Shoot), สัญญาณรบกวน (Noise), ฮาร์มอนิกส์ (Harmonic) เป็นต้น      ดังนั้นในวันนั้นเราจะมาแนะนำพาวเวอร์มิเตอร์ (Power Meter) ที่มีฟังก์ชั่นโวลท์เตจโปรเทคชั่น (Power Meter with Voltage Protection Relay) ภายในตัวเดียวกัน สำหรับวัดค่าพลังงานทางไฟฟ้าและป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage Protection Relay) เพื่อแจ้งเตือนหรือตัดต่อวงจรไฟฟ้าในระบบได้ทันท่วงที และนอกจากนี้ยังสามารถช่วยนับจำนวนการผลิตและวัดชั่วโมงการทํางานของระบบไฟฟ้าหรือเครื่องจักร (Hour Counter) ได้อีกด้วย (ดังตาราง)        พาวเวอร์มิเตอร์ขนาดเล็ก (72x72 mm.) พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่นภายในตัว (Power Meter with Voltage Protection Relay)   1 Phase V-A Meter with Voltage Protection Relay 3 Phase V-A Meter with Voltage Protection Relay 1 Phase V-A-kW-kWh Meter with Voltage Protection Relay 3 Phase V-A-kW-kWh Meter with Voltage Protection Relay (Standard 7-Segment Display) 3 Phase V-A-kW-kWh Meter with Voltage Protection Relay (Full 7-Segment Display) KM-20-P7 (Size 72x72 mm.) KM-21-P7 (Size 72x72 mm.) KM-22-1-P7 (Size 72x72 mm.) KM-22-P7 (Size 72x72 mm.) KM-23-P7 (Size 72x72 mm.)        จากตารางของพาวเวอร์มิเตอร์พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่น (Power Meter with Voltage Protection Relay) ขนาดเล็ก (72x72 mm.) ยี่ห้อ Primus ข้างต้น โดยในวันนี้เราขอแนะนำข้อดีของการใช้ Power Meter with Voltage Protection Relay ซึ่งทางเราได้สรุปมาเป็นข้อ ๆ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทำความเข้าใจและสามารถเลือกใช้ Power Meter ได้ตามความเหมาะสม ในหัวข้อ 5 ข้อดี ของพาวเวอร์มิเตอร์ขนาดเล็ก (72x72 mm.) พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่นภายในตัว (Power Meter with Voltage Protection Relay) กับฟังก์ชั่นโวลท์เตจโปรเทคชั่น (Voltage Protection Relay) โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้มีฟังก์ชั่นโวลท์เตจโปรเทคชั่น (Voltage Protection Relay) อยู่ในตัวเดียวกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถดูค่า (Monitor), บันทึกค่า (Record), วิเคราะห์ (Analysis), ปรับปรุง (Edit), ควบคุม (Control) และดูแลคุณภาพพลังงานไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าได้ สามารถช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับระบบ (System) หรือเครื่องจักร (Machine) ในกรณีที่ระบบไฟฟ้ามีสภาวะผิดปกติ (Under and Over Voltage, Phase Sequence, Phase Loss, Asymmetry Protection Relay, Under and Over Current Protection Relay) รวมไปถึงกระบวนการผลิต (Production Process) อีกทั้งยังประหยัดพลังงานและลดต้นทุนการซ่อมบำรุงได้เป็นอย่างดี        5 ข้อดี ของพาวเวอร์มิเตอร์ขนาดเล็ก (72x72 mm.) พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่นภายในตัว (Power Meter with Voltage Protection Relay)      1. ลดต้นทุนในการสั่งซื้ออุปกรณ์ Phase Protection (Under and Over Voltage, Phase Sequence, Phase Loss, Asymmetry Protection Relay, Under and Over Current Protection Relay), Hour Counter เพิ่ม      2. ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งที่ตู้ MDB, ตู้ไฟฟ้า เนื่องจากอุปกรณ์มีขนาดเล็ก (72x72 mm.) และมีฟังก์ชั่น Phase Protection, Hour Counter ครบจบเพียงในตัวเดียวกัน      3. ลดการ Wiring สายภายในตู้ MDB, ตู้ไฟฟ้า มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย      4. ง่ายในการซ่อมบำรุงและตรวจสอบ      5. พอร์ทสื่อสาร RS-485 เพื่อสื่อสารกับอุปกรณ์อื่น ๆ อาทิ Software, PLC หรือแปลงสัญญาณแบบไร้สาย Online ได้        จากข้อดีของการใช้พาวเวอร์มิเตอร์พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่น (Power Meter with Voltage Protection Relay) ขนาดเล็ก (72x72 mm.) ยี่ห้อ Primus ข้างต้น จึงสามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างพาวเวอร์มิเตอร์ (Power Meter) กับ พาวเวอร์มิเตอร์พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่น (Power Meter with Voltage Protection Relay) ดังตาราง        ตารางเปรียบเทียบ พาวเวอร์มิเตอร์ (Power Meter) กับ พาวเวอร์มิเตอร์พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่น (Power Meter with Voltage Protection Relay)   ตัวอย่างการติดตั้งพาวเวอร์มิเตอร์ (Power Meter) พร้อมอุปกรณ์อื่น ๆ ภายในตู้คอนโทรล ตัวอย่างการติดตั้งพาวเวอร์มิเตอร์พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่น (Power Meter with Voltage Protection Relay) รุ่น KM-23-P7 เพียงตัวเดียวในตู้คอนโทรล 1. วัดได้ทั้งระบบ 1 Phase และ 3 Phase 2. วัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า เช่น V (Line), V (Phase), A (Phase), kW, kWh, PF, Hz, kW Demand, Peak Demand 3. ไม่มี Function Phase Protection 4. ไม่มี Function Hour Counter 5. Communication : MODBUS RTU RS485 6. Installation : แบบ Panel ขนาด 96x96 mm.   1. วัดได้ทั้งระบบ 1 Phase และ 3 Phase 2. วัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า เช่น V (Line), V (Phase), A (Phase), kW, kWh, PF, Hz, kW Demand, Peak Demand เป็นต้น 3. Function Phase Protection : Under and Over Voltage, Under and Over Current, Phase Sequence, Phase Loss, Asymmetry Protection Relay 4. Function Hour Counter : สำหรับนับชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักรเพื่อทำการซ่อมบำรุงครั้งต่อไป 5. Function Counter : สำหรับวัดค่าพลังงาน (kWh) ต่อชิ้นงานที่ผลิตได้ เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิต 6. Communication : MODBUS RTU RS485 7. Installation : แบบ Panel ขนาดเล็ก 72x72 mm. ทำให้ตู้คอนโทรลเล็กลง ประหยัดต้นทุน      จากการสรุปข้อดีและข้อมูลการเปรียบเทียบของการใช้พาวเวอร์มิเตอร์พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่น (Power Meter with Voltage Protection Relay) ภายในตัวเดียวกัน ทางเราขอยกตัวอย่างการต่อใช้งานพาวเวอร์มิเตอร์พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่น (Power Meter with Voltage Protection Relay) รุ่น KM-23-P7 (ขนาดเล็ก 72x72 mm.) เพื่อวัดและวิเคราะห์ค่าพลังงานทางไฟฟ้าพร้อม Voltage Protection Relay ในกระบวนการผลิตอาหาร      การต่อใช้งานพาวเวอร์มิเตอร์พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่น (Power Meter with Voltage Protection) รุ่น KM-23-P7 ในการวัดและวิเคราะห์ค่าพลังงานทางไฟฟ้าพร้อม Voltage Protection เพื่อป้องกันมอเตอร์ในเครื่องจักร      การใช้งานพาวเวอร์มิเตอร์พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่น (Power Meter with Voltage Protection) รุ่น KM-23-P7-A โดยจะใช้วัดค่าพลังงานไฟฟ้าของเครื่องจักรเพื่อวิเคราะห์การกินพลังงานไฟฟ้าและป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Under -Over Volatge) ของระบบไฟฟ้า เพื่อสั่งตัดการทำงานของมอเตอร์ไม่ให้เสียหาย        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานพาวเวอร์มิเตอร์ (Power Meter)   KM-22-1-P7-A KM-21-DI-A วัดพลังงานไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้า ใช้ควบคุมตู้ MDB MULTIFUNCTION POWER METER RS-485 DATA LOGGER DIGITAL REMOTE DISPLAY PANEL Signal Tower Light ROTATION WARNING LIGHT โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
วิธีการออกแบบกราฟิกบนหน้าจอ PLC Touch Screen แบบง่าย ๆ

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      PLC (Programmable Logic Controller) โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ : พีแอลซี หรือ PLC+HMI เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรแบบอัตโนมัติ หรือกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม โดยภายในมี Microprocessor เป็นมันสมองสั่งการที่สำคัญ PLC จะมีส่วนที่เป็นอินพุต (Input) และเอาต์พุต (Output) ที่สามารถต่อออกไปใช้งานได้ทันที มีรูปแบบหน้าจอแสดงผลต่าง ๆ เช่น PLC จอแสดงผลชนิดตัวอักษร, PLC จอแสดงผลชนิด TFT ความละเอียดสี 65,536สี+LED BACKLIGHT, PLC จอแสดงผลแบบ Touch Screen ที่ถูกออกแบบให้แสดงผลเป็นรูปภาพ (Picture), กราฟิก (Graphics), ตัวเลข (Number) และกราฟเส้น (Line Graph) เป็นต้น ซึ่ง PLC มีทั้งรุ่นราคาถูกจนไปถึงราคาที่คุ้มค่ากับการลงทุน และสามารถเลือกตามงบประมาณได้  โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำและทำความรู้จักกับหน้าจอ PLC Touch Screen ที่มีความทันสมัย มองเห็นภาพได้ชัดเจน เนื่องจาก PLC ประเภท Touch Screen ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมและมีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องจักรได้ง่ายขึ้น ทำให้เป็นที่นิยมถูกนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมได้หลากหลาย แบ่งตามประเภทต่าง ๆ ดังนี้      หน้าจอ PLC Touch Screen ชนิดของจอสี (Color) และขาวดำ (Monochrome) SAMBA Vision Color OPLC Vision Color Touch Screen OPLC Vision Color Touch Screen OPLC Vision Graphic / Touch Screen OPLC Unistream Color Touch Screen OPLC SM-Series V570-Series V1040-Series V280-Series V530-Series USP-Series Samba PLC (PLC+HMI) สามารถเก็บข้อมูล (Data Logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen Vision PLC (PLC+HMI) สามารถเก็บข้อมูล (Data Logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย มีหน้าจอแบบ Touch Screen UniStream PLC (PLC+HMI) เน้นกับงานที่ใช้กราฟิก หน้าจอแบบ Touch Screen      คุณสมบัติหน้าจอ PLC Touch Screen      Touch Screen คือการสามารถที่จะทำการซ้อนหรือเลื่อนหน้า (Screen) หรือ Page ในแต่ละหน้าได้ ทำให้เราประหยัดพื้นที่ในการเพิ่มฟังก์ชันของเครื่องจักรได้มากขึ้น และใช้การติดต่อสื่อสารแบบ 232/485 เป็นส่วนใหญ่  ก็สามารถที่ติดต่อ Operation Panel เข้ากับ PLC ได้แล้ว โดยการใช้งาน Touch Screen ร่วมกับ PLC มีอยู่ 3 ส่วนประกอบหลัก ๆ คือ      • ตัว Touch Screen / หน้าจอ Touch Screen      • Cable Link      • Software ซึ่งส่วนนี้จะทำหน้าที่เป็น Screen Editor ซึ่งการออกแบบกราฟฟิกหรือระบบต่าง ๆ ก็จะทำบน Screen Editor นี้ เมื่อข้อมูลครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์แล้วก็จะทำการโหลดข้อมูลเข้าสู่ทัชสกรีน (Touch Screen) หรือจะเป็นการแก้ไขได้แบบ Online ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบตัว Screen Editor นั่นเอง      การทำงานของ Touch Screen ร่วมกับ PLC ก็คือการรับส่งข้อมูลของข้อมูลต่าง ๆ ที่เข้ามาใน PLC ไม่ว่าจะเป็น Input, Output หรือ Relay มาแสดงผลเป็นภาพกราฟิก (Graphic), รูปภาพ (Picture), ตัวเลข (Number) หรือแสดงผลอื่น ๆ ในรูปแบบบนจอ Touch screen ซึ่ง Register เหล่านี้จะสัมพันธ์กับ Ladder Diagram ที่เราได้โปรแกรมไว้ใน PLC หรือในส่วนของสัญลักษณ์ (Symbol) ก็จะนำข้อมูลของ Register ที่เรากำหนดไว้นั้นมาแสดงด้วยเช่นกัน โดยสามารถนำหน้าจอ PLC Touch Screen มาออกแบบกราฟิกเองได้  ซึ่งเราจะมาแนะนำตัวอย่างการออกแบบกราฟิกแบบง่าย ๆ มาฝากกัน ในหัวข้อ “วิธีการออกแบบกราฟิกบนหน้าจอ PLC Touch Screen แบบง่าย ๆ” โดยใช้ PLC Touch Screen ดังตัวอย่างต่อไปนี้      ตัวอย่างการออกแบบหน้าจอแสดงผล ด้วยการใส่รูปภาพ (Picture), กราฟิก (Graphics), ตัวเลข (Number) และกราฟเส้น (Line Graph) ผ่าน Software ดังนี้ ตัวอย่างการออกแบบการเขียนคำสั่งควบคุมอุณหภูมิในตู้อบ พร้อมหน้าจอแสดงผล PLC+HMI แบบ Touch Screen รุ่น V1040      จากรูปตัวอย่าง การออกแบบการเขียนคำสั่งควบคุมอุณหภูมิในตู้อบ พร้อมหน้าจอแสดงผล PLC+HMI แบบ Touch Screen รุ่น V1040 เป็นการสร้างหน้าจอกราฟิก เพื่อโชว์ระดับของเหลวในถังทั้งสองใบ รวมถึงการเขียนโปรแกรมรับสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) ที่เป็นระดับของเหลว โดยใช้เป็นสัญญาณ 4-20 mA แล้วทำมาเขียนเป็นสัญญาณ Linearization ตัวอย่างการออกแบบการเขียนคำสั่งการแสดงผล Line การผลิต พร้อมหน้าจอแสดงผล PLC+HMI แบบ Touch Screen รุ่น V570      จากรูปตัวอย่าง การออกแบบการเขียนคำสั่งการแสดงผล Line การผลิต พร้อมหน้าจอแสดงผล PLC+HMI แบบ Touch Screen รุ่น V570 เป็นตัวอย่างของกระบวนการต้มน้ำหรืออุ่นวัตถุดิบในถังจากนั้นนำมาบรรจุของในขวด โดยใช้ PLC V570 เป็นตัวอย่างของการเขียน Ladder เพื่อควบคุมอุณหภูมิแบบ ON-OFF      จากข้อมูลข้างต้นสามารถสรุปข้อดีของการใช้ PLC+HMI แบบหน้าจอ Touch Screen ได้ดังนี้      • สามารถออกแบบกราฟิก, ปุ่มกด (Switch) ได้ตามความต้องการ      • เพื่อให้มีความยืดหยุ่นต่อการใช้งาน      • กรณีใช้เป็นแบบ RS485 จะลดความซับซ้อนในการ Wiring สายคอนโทรล      • ใช้โปรแกรมเดียวในการเขียนโปรแกรมหน้าจอและแลดเดอร์      • เหมาะสำหรับพื้นที่จำกัด เพราะบางรุ่นมีขนาดเล็ก สามารถยึดหน้าตู้พร้อมกับ IO      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC (Programmable Logic Controller) ระบบควบคุม Booter Pump ระบบควบคุมปั๊มลม เครื่องเทสแรงอัดพลาสติก Switching Power Supply Signal Tower Light ROTATION WARNING LIGHT Relay Module Slim Relay Module โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ทำไมต้องใช้อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) ร่วมกับ ฮีตเตอร์ (Heater)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ฮีตเตอร์ (Heater) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานหรือของเหลว เช่น น้ำ, น้ำมัน, กาว, สารเคมี เป็นต้น มีการออกแบบตามความเหมาะสมเพื่อใช้กับลักษณะงานในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น การใช้ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่เครื่องฉีดพลาสติก, ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater) เพื่อให้ความร้อนกับแผ่นแม่พิมพ์, ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) เพื่อต้มน้ำมัน-ของเหลวหรือต้มสารเคมี, ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่แม่พิมพ์ในการอุ่นของเหลว-อุ่นกาว, ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) เพื่อให้ความร้อนในการอุ่นของเหลว, ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เพื่อให้ความร้อนกับอากาศในการอบแห้ง-ไล่ความชื้น, ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater) ให้ความร้อนโดยการแผ่รังสี งานอบสี, อบขนม, อบอาหาร ฯลฯ โดยฮีตเตอร์ (Heater) สามารถนำมาใช้งานร่วมกับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) เช่น Thermocouple, RTD Pt100, เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) หรือ Thermostat, Solid State Relay เป็นต้น        ฮีตเตอร์ (Heater) ประเภทต่าง ๆ ***สามารถออกแบบและผลิตตามตัวอย่างได้*** รูปแสดงฮีตเตอร์ (Heater) ประเภทต่าง ๆ        ในการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) ประเภทต่าง ๆ จะต้องมีการออกแบบให้เหมาะสมกับงานนั้น ๆ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานเบื้องต้น เช่น ขนาดของฮีตเตอร์ (W*H) / ขนาดท่อ (Tube), แรงดันไฟฟ้า (Volt), กำลังวัตต์ (Watt) เป็นต้น (ขึ้นอยู่กับประเภทของฮีตเตอร์) และถ้ามีการบำรุงรักษาที่ถูกวิธีจะทำให้ฮีตเตอร์ (Heater) ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ แต่บ่อยครั้งที่ผู้ใช้งานมักจะพบปัญหาอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ที่สั้นผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุหรือฮีตเตอร์ขาดอันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้      • การจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสม เช่น ฮีตเตอร์ 220V แต่จ่ายแรงดัน 380V ทำให้ฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ได้      • การเลือกกำลังวัตต์ที่ไม่เหมาะสมกับขนาดฮีตเตอร์ เช่น ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) หากเลือกเกินขนาดทำให้ฮีตเตอร์ร้อนเกิน อายุการใช้งานน้อยลงด้วย      • การเลือกใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสมกับงาน เช่น ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) นำไปใช้งานกับน้ำที่มีสารเคมี แต่เลือกใช้วัสดุที่ไม่สามารถทนต่อสารเคมีได้ (SUS304) เป็นต้น      • คราบตะกรันติดที่ท่อฮีตเตอร์ เช่น ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater), ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ที่สะสมทำให้เกิดการกัดกร่อนและฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ได้      • อุปกรณ์ควบคุม เช่น Temperature Controller หรือ Thermostat ไม่ตัดการทำงาน ทำให้ฮีตเตอร์ทำงานตลอดเวลา        ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อตัวฮีตเตอร์เองและสินค้าเกิดความเสียหาย โดยในการเช็คความผิดปกติของฮีตเตอร์หรือเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) จะมีวิธีใดบ้าง วันนี้เราจะมาแนะนำการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) ที่มีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น ด้วยการใช้อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) ในหัวข้อ "ทำไมต้องใช้อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) ร่วมกับ ฮีตเตอร์ (Heater)" ดังนี้   อุปกรณ์แสดงผลค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Monitor for Heater Break Alarm) อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาดหรืออุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) Input 4 Channel ทำงานแยกอิสระจากกัน Model : CM-005DN , Brand : PM Model : CM-005N-4-CH , Brand : PM        อุปกรณ์ช็คฮีตเตอร์ขาดหรืออุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาดโดยเฉพาะ เพื่อแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงความผิดปกติของฮีตเตอร์ (Heater) ก่อนที่จะทำให้สินค้าหรือไลน์การผลิตเกิดความเสียหาย โดยใช้หลักการของการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละตัว โดยมีวิธีการเช็คดังนี้        วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาดโดยใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาด รุ่น CM-005N-4CH (Heater Break Alarm) แบบ Input 4 Channel ที่ทำงานแยกอิสระจากกัน ต่อร่วมกับอุปกรณ์แสดงผลค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ รุ่น CM-005DN (Digital Monitor for Heater Break Alarm)        อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH จะทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว (ที่กระแส 50A ได้ถึง 4 ตัว) ในเวลาเดียวกัน โดยต่อสายคล้องผ่าน CT (Current Transformer) เพื่อทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว ถ้าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดไม่มีกระแสไหลผ่านแสดงว่าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวนั้นขาด และยังสามารถตั้งค่ากระแสต่ำเพื่อแจ้งเตือน Heater Break ได้ ในกรณีที่มีการต่อฮีตเตอร์จำนวนหลายตัวในชุดเดียวกันได้ หรือในกรณีฮีตเตอร์ (Heater) ทำงาน คือ มีกระแสไหลผ่านตลอดเวลาอันเนื่องจาก Solid State Relay Short Circuit หรือหน้า Contact ของ Magnetic Arc. ติดกัน โดยที่ Output ของ Temperature Controller ไม่สั่งงาน ก็จะมี Alarm แจ้งเตือนความผิดปกติเช่นกัน พร้อมทั้งยังสามารถต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์แสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ รุ่น CM-005DN เพื่อแสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละตัว ได้สูงสุดถึง 8 ตัว (ต่อเข้ากับ CM-005N-4CH จำนวน 2 ตัว)        ซึ่งในกรณีนี้เราจะยกตัวอย่างวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาดโดยใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาด รุ่น CM-005N-4CH (Heater Break Alarm) แบบ Input 4 Channel ที่ทำงานแยกอิสระจากกัน ต่อร่วมกับอุปกรณ์แสดงผลค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ รุ่น CM-005DN (Digital Monitor for Heater Break Alarm) เพื่อ Alarm แจ้งเตือนความผิดปกติให้ผู้ปฏิบัติทราบถึงสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) หากกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดหรือชุดใดไม่มีกระแสไหลผ่านหรือกระแสไหลผ่านน้อยกว่าค่าที่ตั้งไว้ แสดงว่าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวนั้นขาด หรือภายในชุดนั้นมีฮีตเตอร์ขาด ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากกับเครื่องจักรที่มีการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) จำนวนหลายตัวและหลายโซนเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะหากฮีตเตอร์ (Heater) เส้นใดเส้นหนึ่งขาดโดยที่ผู้ปฏิบัติงานไม่รู้อาจจะทำให้ชิ้นงานเสียหายได้ ดังนั้นในวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นสำหรับการเช็คฮีตเตอร์ขาดนั้น หวังว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับผู้ใช้งานได้ไม่มากก็น้อย และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) นั้น การเลือกใช้อุปกรณ์ต่อร่วมก็สำคัญเช่นกัน เช่น Temperature Controller, Solid State Relay, Temperature Sensor เป็นต้น        สรุปง่าย ๆ เลยว่าอุปกรณ์สำหรับเช็ค Heater ขาด CM-005N-4CH (Heater Break Alarm)      • สามารถเช็คกระแส Heater ที่กระแส 50A ได้ถึง 4 ตัว      • มี 4 Input (1 Input / 1 Heater) โดยสามารถเลือกได้ทั้ง 140-250VAC และ 10-30VDC      • สามารถตั้งค่าการตัดกระแส Heater Break ได้ (ใช้งานร่วมกับ CM-005DN หรือใช้งานผ่านพอร์ทสื่อสาร RS-485 MODBUS RTU PROTOCAL)      • ติดตั้งง่ายโดยการร้อยสายไฟผ่าน CT ไปยัง Heater (มี CT 50A ในตัว)      • มี Alarm Output Relay แจ้งเตือนเมื่อเกิด Heater Break หรือ Heater Short      • มี LED แสดงสถานะของ Heater แต่ละตัว      • มีพอร์ทสื่อสาร RS-485 MODBUS RTU PROTOCAL      • CM-005DN เป็นเครื่องแสดงผลค่ากระแสและสถานะของ Heater โดยต่อร่วมกับ CM-005N-4CH      • สามารถต่อร่วมกับ CM-005N-4CH ได้สูงสุด 2 ตัว ผ่าน Monitor Panel เพื่อแสดงผลค่ากระแส และสถานะของ Heater ได้ถึง 8 ตัว (ใช้งานร่วมกับ CM-005N-D)      • แสดงตำแหน่งของ Heater และค่ากระแสของ Heater ด้วย 7-Segment สีแดง พร้อม LED แสดงสถานะของ Alarm แต่ละตัว      • สามารถตั้งค่าการตัดกระแส Heater Break Setting      • มีระบบ Auto / Manual เพื่อดูสถานะของ Heater แต่ละตัว        ตัวอย่างวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด ของ Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ) แบบ 3 เฟส ในกรณีจับกลุ่มใช้งาน 3 ตัว โดยใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาดรุ่น CM-005N-4CH (Heater Break Alarm) แบบ Input 4 Channel ทำงานแยกอิสระจากกัน พร้อมอุปกรณ์แสดงผลค่ากระแสและสถานะของ Heater รุ่น CM-005DN (Digital Monitor for Heater Break Alarm) และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รูปตัวอย่างการต่อใช้งานอุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) Input 4 Channel ร่วมกับ Temp Control, SSR, Rotation Warning Light เพื่อแจ้งเตือนสถานะ Immersion Heater        วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด ของ Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ) แบบ 3 เฟส ในกรณีจับกลุ่มใช้งาน 3 ตัว ทำได้โดยการร้อยสายจาก Immersion Heater แต่ละเฟส ผ่าน CT ของอุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาดรุ่น CM-005N-4CH (Heater Break Alarm) แบบ Input 4 Channel ทำงานแยกอิสระจากกัน แล้วตั้งค่ากระแส Heater Break ที่อุปกรณ์แสดงผลค่ากระแสและสถานะของ Heater รุ่น CM-005DN (Digital Monitor for Heater Break Alarm) ให้ต่ำกว่าค่ากระแสจริงที่ Immersion Heater ใช้งาน หากเกิดความผิดปกติ ฮีตเตอร์ขดใดขาด กระแสของ Immersion Heater ก็จะตก อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาดรุ่น CM-005N-4CH (Heater Break Alarm) แบบ Input 4 Channel ทำงานแยกอิสระจากกัน ก็จะแจ้งเตือน Alarm ไฟ Warning Light รุ่น TLW ก็จะติด ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทราบได้ทันทีว่าฮีตเตอร์มีความผิดปกติและเข้าตรวจสอบได้ทันที        ตัวอย่างวิธีการต่อใช้งานสำหรับเช็คฮีตเตอร์ขาด ของ Tubular Heater (ฮีตเตอร์ท่อกลม) จำนวนหลายตัวใน 1 ชุด โดยใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาดรุ่น CM-005N-4CH (Heater Break Alarm) แบบ Input 4 Channel ทำงานแยกอิสระจากกัน พร้อมอุปกรณ์แสดงผลค่ากระแสและสถานะของ Heater รุ่น CM-005DN (Digital Monitor for Heater Break Alarm) และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รูปตัวอย่างการต่อใช้งานอุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) Input 4 Channel ร่วมกับ Temp Control, SSR, Rotation Warning Light เพื่อแจ้งเตือนสถานะ Tubular Heater        วิธีการต่อใช้งานสำหรับเช็คฮีตเตอร์ขาด ของ Tubular Heater (ฮีตเตอร์ท่อกลม) จำนวนหลายตัวใน 1 ชุด โดยสามารถร้อยสายจาก Solid State Relay ผ่าน CT ของอุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาด รุ่น CM-005N-4CH (Heater Break Alarm) แบบ Input 4 Channel ทำงานแยกอิสระจากกัน และต่อไปยัง Tubular Heater ทั้ง 3 ตัว (ที่ต่อขนานหรืออนุกรม) และไปตั้งค่ากระแส Heater Break ที่อุปกรณ์แสดงผลค่ากระแสและสถานะของ Heater รุ่น CM-005DN (Digital Monitor for Heater Break Alarm) ให้ต่ำกว่าค่ากระแสจริงที่ Tubular Heater ทั้ง 3 ตัวที่ใช้งาน หากเกิดความผิดปกติ ฮีตเตอร์ตัวใดตัวนึงในชุดนั้นขาด อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาด รุ่น CM-005N-4CH (Heater Break Alarm) แบบ Input 4 Channel ทำงานแยกอิสระจากกัน ก็จะแจ้งเตือน Alarm ไฟ Warning Light รุ่น TLW ก็จะติด ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทราบได้ทันทีว่าฮีตเตอร์มีความผิดปกติ และเข้าตรวจสอบได้ทันที        จากเนื้อหาดังกล่าวที่ทางเราได้นำเสนอ โดยสามารถนำมาสรุปถึงข้อดีของการใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm) ได้ดังนี้        ข้อดีของการใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm)      • เข้าถึงหน้างานได้รวดเร็ว เพื่อลดความเสียหายของสินค้าหรือชิ้นงานอันเนื่องมาจากฮีตเตอร์ขาด (Heater Break)      • ประหยัดเวลาในการตรวจเช็คกรณีที่เกิดฮีตเตอร์ (Heater) ขาด หรือ Short Circuit เพราะสามารถดูได้จาก LED ที่กระพริบ หรือดูจาก Monitor ได้เลย      • ทำให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุงรักษา เนื่องจากทราบตำแหน่งฮีตเตอร์ (Heater) ที่เสียหายชัดเจน      • ป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อฮีตเตอร์ (Heater) ตัวอื่น ๆ ในเครื่องเดียวกันทำงานหนักชดเชยแทนตัวที่เสียหาย      • Monitor และ Record ข้อมูลผ่าน MODBUS RTU RS-485 ได้      • อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) โดยสามารถติดตั้งยึดกับราง Din Rail ได้เลย      • ไม่ต้องต่อร่วมกับ CT ภายนอก ทำให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้ได้        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm)   เครื่องฉีดพลาสติก ห้องอบสีรถยนต์ เครื่องจักรผลิตอาหารสัตว์ Heater Break Alarm Digital Monitor For Heater Break Alarm Solid State Relay Temperature Controller Heater โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
หลักการทำงานของเครื่องวัดและแสดงผลความถี่ (Frequency), ความเร็วรอบ (RPS) และความเร็วสายพาน (Line Speed)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีไลน์การผลิตสินค้า (Production Line) จะต้องมีระบบลำเลียงสินค้า (Conveyor System) หรือบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับการผลิตในกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภค-บริโภค เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ยา ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือสินค้าที่มีน้ำหนักเบา เป็นต้น การลำเลียงสินค้าโดยใช้สายพานลำเลียงแบบทั่วไป (Belt Conveyor) เป็นการลำเลียงจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งในหน่วยของการผลิตสินค้าในไลน์การผลิต มีความสะดวกในกรณีที่ต้องการการลำเลียงจำนวนมาก ซึ่งการใช้งานของสายพานลำเลียงต้องมีการตรวจเช็คเบื้องต้นว่าสายพานลำเลียงที่ใช้งานอยู่มีการสึก, ขาด, ชำรุด หรือไม่ หรือมีความตึงหย่อนมากหรือน้อยจนเกินไป        นอกจากนี้ก็สามารถใช้เครื่องวัดและแสดงผลความถี่ (Frequency), ความเร็วรอบ (RPS) และความเร็วสายพาน (Line Speed) ที่มีหน่วยการแสดงผลได้หลายรูปแบบภายในตัวเดียว เช่น การแสดงผลค่าความถี่ (Frequency) ที่มีหน่วยการแสดงผลเป็น Hz, การแสดงค่าความเร็วรอบ หน่วยการแสดงผลเป็น รอบต่อวินาที (RPS) และการแสดงค่าความเร็วสายพาน (Line Speed) หน่วยการแสดงผลเป็น เมตรต่อนาที (m/min) ในการแสดงผลให้ผู้ใช้งานได้ทราบ ทำให้ช่วยควบคุมปริมาณหรือจำนวนการผลิตสินค้าได้ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการผลิต        โดยทางเราขอยกตัวอย่างเครื่องวัดและแสดงผลความถี่หรือมิเตอร์วัดและแสดงผลความถี่แบบดิจิตอล (Digital Frequency Meter) รุ่น TFM-94N (ดังรูป) เครื่องแสดงผลความถี่, ความเร็วรอบ และความเร็วสายพาน (Digital Frequency Meters with Alarm รุ่น TFM-94N)        หลักการทำงานเครื่องวัดและแสดงผลความถี่หรือมิเตอร์วัดและแสดงผลความถี่แบบดิจิตอล (Digital Frequency Meter) รุ่น TFM-94N เป็นมิเตอร์วัดและแสดงผลค่าความถี่ (Frequency), ความเร็วรอบ (RPS) และความเร็วสายพาน (Line Speed) โดยสามารถตั้งค่า Pulse ต่อรอบของ Sensor และรัศมีของจานหมุนได้ ทําให้การวัดค่ามีความละเอียดและง่ายต่อการใช้งาน สามารถรับอินพุตประเภท Proximity Switch, Photoelectric Sensor, Encoder ในรูปแบบของสัญญาณ NPN, PNP และ Pulse และสามารถแสดงผลได้ทั้ง Hz, kHz, RPS, RPS, Cm/S, Cm/M, Cm/Hr, M/S, M/M, M/Hr (ตามการตั้งค่า) โดย Digital Frequency Meter รุ่น TFM-94N สามารถนำมาต่อใช้งานร่วมกับ Encoder, Proximity Switch, Photoelectric Sensor เป็นต้น (ดังตัวอย่าง)        ตัวอย่าง เครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือ Digital Frequency Meter รับอินพุตประเภท Proximity Switch เพื่อทำการวัดความเร็วรอบของสายพานลำเลียง ตัวอย่าง เครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือ Digital Frequency Meter รับอินพุตประเภท Proximity Switch เพื่อทำการวัดความเร็วรอบของสายพานลำเลียง        จากตัวอย่างข้างต้น ในวันนี้เราขอยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานของเครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือ Digital Frequency Meter รุ่น TFM-94N ในหัวข้อ "หลักการทำงานของเครื่องวัดและแสดงผลความถี่ (Frequency), ความเร็วรอบ (RPS) และ ความเร็วสายพาน (Line Speed)" โดยสามารถแบ่งประเภทจากลักษณะการวัดได้ดังนี้        Contact Digital Frequency Meter เป็นการวัดความถี่ (Frequency), ความเร็วรอบ (Speed) และความเร็วสายพาน (Line Speed) แบบสัมผัส (Contact) โดยลักษณะการใช้งานจะใช้ตัวเซ็นเซอร์ Encoder แบบ Hollow Shaft ต่อเข้ากับแกนของมอเตอร์ หรือ Shaft ของเครื่องจักรโดยตรง และนำสัญญาณเอาต์พุตของตัวเซ็นเซอร์ต่อเข้ากับเครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือมิเตอร์วัดและแสดงค่าความถี่ (Digital Frequency Meter) เพื่อแสดงค่า และตั้งค่า Alarm เพื่อนำสัญญาณเอาต์พุตแบบ Relay และ Transfer Output ไปประยุกต์ใช้งาน (ดังตัวอย่างรูปที่ 1)        ตัวอย่างรูปที่ 1 : เครื่องวัดและแสดงผลความถี่ (Digital Frequency Meter) รับอินพุตประเภท Encoder แบบ Hollow Shaft เพื่อทำการวัดความเร็วรอบของสายพานลำเลียง ติดตั้ง Encoder บริเวณท้ายของมอเตอร์ (ตัวอย่างรูปที่ 1) : การต่อใช้งานลักษณะนี้เหมาะสำหรับใช้งานวัดค่าความถี่ F (หน่วย : Hz, kHz) หรือวัดค่าความเร็วรอบต่อวินาที, นาที (หน่วย : RPS, RPM) ได้ภายในอุปกรณ์เดียว Digital Frequency Meter รุ่น TFM-94N Series        Non-Contact Digital Frequency Meter เป็นการวัดความถี่ (Frequency), ความเร็วรอบ (Speed) และความเร็วสายพาน (Line Speed) แบบไม่สัมผัส (Non-Contact) โดยลักษณะการใช้งานจะใช้ตัวเซ็นเซอร์ อาทิ Proximity Switch, Photoelectric Sensor เป็นต้น โดยใช้หลักการส่งคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Proximity Sensor) หรือใช้หลักการยิงลำแสง (Photoelectric Sensor) ในการตรวจจับเพลาหรือแกนของมอเตอร์แบบไม่สัมผัส และนำสัญญาณเอาต์พุตของตัวเซ็นเซอร์ต่อเข้ากับเครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือมิเตอร์วัดและแสดงค่าความถี่ (Digital Frequency Meter) เพื่อแสดงค่า และตั้งค่า Alarm เพื่อนำสัญญาณเอาต์พุตแบบ Relay และ Transfer Output ไปประยุกต์ใช้งาน (ดังตัวอย่างรูปที่ 2)        ตัวอย่างรูปที่ 2 : เครื่องวัดและแสดงผลความถี่ (Digital Frequency Meter) รับอินพุตประเภท Proximity Switch, Photoelectric Sensor เพื่อทำการวัดความเร็วรอบของมอเตอร์ (ตัวอย่างรูปที่ 2) : การต่อใช้งานลักษณะนี้ เหมาะสำหรับใช้งานวัดค่าความถี่ F (หน่วย : Hz, kHz) หรือวัดค่าความเร็วรอบ (หน่วย : RPS, RPM) หรือวัดค่า Line Speed (หน่วย : Cm/S, Cm/M, Cm/Hr, M/S, M/M, M/Hr) ได้ภายในอุปกรณ์เดียว Digital Frequency Meter รุ่น TFM-94N Series        จากข้อมูลเนื้อหาดังกล่าว โดยทางเราได้นำมาสรุปข้อดีของการใช้งานเครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือมิเตอร์วัดและแสดงค่าความถี่ (Digital Frequency Meter) ได้ดังนี้        ข้อดีของการใช้งานเครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือ Digital Freqeuncy Meter รุ่น TFM-94N Series      • สามารถรับอินพุตได้หลากหลายในตัวเดียวกัน อาทิ Proximity Switch, Photoelectric Sensor, Encoder เป็นต้น      • การ Wiring สายไม่ยุ่งยาก และตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงได้ง่าย      • มี Digital Input Function เพื่อใช้งาน Zero, Hold Display, Show Peak High, Show Peak Low, Show Peak Different, Reset Alarm, Reset Peak and Minimum      • ตั้งค่าการแสดงผลและการคำนวณ Pulse/รอบ ได้ง่าย      • สามารถตั้งค่าหน่วยวัดความเร็วรอบได้ เช่น RPS, RPM      • สามารถตั้งค่ารัศมีของจานหมุนได้หลากหลายหน่วย เช่น มิลลิเมตร, เซนติเมตร, เมตร      • สามารถตั้งค่า Unit Line Speed หน่วยวัดความเร็วสายพานได้ เช่น Cm/S, Cm/M, Cm/H, M/S, M/M, M/H โดยสามารถเลือกหน่วยการวัด Line Speed และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนค่ารัศมีจานหมุน เพราะ Digital Frequency Meter จะคำนวณค่าในการวัดมาให้เลย        จากข้อดีของเครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือ Digital Frequency Meter รุ่น TFM-94N Series สามารถตั้งค่าพารามิเตอร์เพื่อเป็นแนวทาง ดังตัวอย่าง            ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานเครื่องวัดและแสดงผลความถี่ หรือ Digital Frequency Meter รุ่น TFM-94N Series   วัดความเร็วรอบของมอเตอร์ วัดความเร็วรอบและ Line Speed สายพานของลูกกลิ้ง วัดความเร็วรอบ และ Line Speed โรงงานทอผ้า   Increment Encoder ø 50 MM. Increment Encoder ø 38 MM. Programmable Increment Encoder ø 50 MM. Photoelectric Sensor Proximity Switch โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
3 วิธีการเลือกใช้ Wiring Duct (รางเก็บสายไฟ) ให้เหมาะสมกับงาน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Wiring Duct (รางเก็บสายไฟ) หรือนิยมเรียกกันง่าย ๆ ว่า "รางวายดัก" ใช้สำหรับเก็บสายไฟสำหรับงานเดินระบบสายไฟ, รางเก็บสาย LAN, รางเก็บสายโทรศัพท์ หรือรางเก็บสายคอนโทรลประเภทต่าง ๆ เช่น สายไฟฟ้า, สายใยแก้วนำแสง เป็นต้น เพื่อเก็บสายให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสามารถช่วยป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดจากสายไฟที่ไม่เป็นระเบียบ ถ้าหากมีสายไฟเยอะ ๆ อาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานหรือพื้นที่บริเวณนั้น และการใช้รางสำหรับเก็บสายไฟ (Wiring Duct) ทำให้ง่ายต่อการตรวจเช็คกรณีที่ต้องการเปลี่ยนหรือการต่อใช้งานอุปกรณ์ภายในตู้คอนโทรล (MDB), ตู้ไฟฟ้า หรือการเดินสายไฟภายในอาคาร เป็นต้น โดย Wiring Duct (รางเก็บสายไฟ) มีการใช้ตามลักษณะงานที่หลากหลาย เช่น งานเก็บสายตามอาคาร, สำนักงาน, งานเก็บสายไฟในตู้คอนโทรลในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งทางเราได้มีการนำเสนอกันไว้ในหัวข้อ 4 ข้อดีของ Wiring Duct (รางเก็บสายไฟ) ในตู้คอนโทรล        Wiring Duct (รางเก็บสายไฟ) หรือ รางวายดัก ที่ดีควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้      • สามารถดัดโค้งงอได้ (Bendable)      • แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน (Hight Impact)      • วัสดุเป็นฉนวนกันความร้อน ป้องกันการลามของไฟได้ (Fire Retardant)      • น้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง คีบราง Wiring Duct สามารถหักได้ด้วยมือ ไม่จำเป็นต้องใช้คีมในการตัด      • มีอุปกรณ์เสริม (Accessories) ให้เลือกใช้หลายประเภท เช่น ฝาครอบราง (Cover), ฉากกั้นราง (Separators), ตัวรวบสาย (Wire Retainers), หมุดยึด (Ductfix), ตัวกดสายในรางแบบล็อคสองข้าง (Wire Retainers), อุปกรณ์สำหรับยกราง (Din Rail Support Brackets), อุปกรณ์เสริมสำหรับติดตั้งราง Wire Duct กับราง Omega, ปลอกหุ้มสายไฟ (Braided Expandable Sleeving), คีมตัดราง (Mounting Clips) ฯลฯ      • มีมาตรฐานสากลรองรับ เช่น UL, CSA, CE, ISO 14001      Wiring Duct (รางเก็บสายไฟ) หรือ รางวายดัก ที่มีคุณสมบัติดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นของ Brand IBOCO ผลิตจากวัสดุพลาสติก ประเภท Polyamide 6 มีความทนทานและมีความยืดหยุ่นสูง ไม่หักง่าย จึงเหมาะสำหรับงานเก็บสายทุกประเภท และวัสดุยังเป็นฉนวนกันความร้อนและป้องกันการลามของไฟได้ดี มีมาตรฐานสากลรองรับ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้ดังนี้        ประเภท Wiring Duct (รางเก็บสายไฟ) ยี่ห้อ IBOCO   1. Wiring Duct แบบโปร่งพร้อมฝาปิด (Cover) เหมาะสำหรับงานเดินสายไฟงานคอนโทรลในตู้ MDB และงานเก็บสายไฟทั่ว ๆ ไป มีขนาดร่องตามความเหมาะสม เช่น ร่อง 4 mm., 5 mm., 8 mm. เป็นต้น 2. Wiring Duct แบบทึบพร้อมฝาปิด (Cover) เหมาะสำหรับงานเก็บสายไฟ เพื่อป้องกันฝุ่นหรือน้ำ, น้ำมัน เป็นต้น   3. Wiring Duct แบบทึบ ใช้ร่วมกับ Cable Gland เหมาะสำหรับงานเดินท่อสายไฟหรืองานลิฟท์ที่ต้องการแยกสายไฟในแต่ละชั้น          รางวายดัก (Wiring Duct) หรือ รางเก็บสายไฟ จะมีช่องว่างด้านข้างสำหรับการแยกสายไฟ เพื่อความสะดวกในการแยกสายเข้าตามจุดต่าง ๆ กรณีการใช้งานหลายจุด จึงไม่ต้องตัดแบ่งรางหลายส่วน ง่ายต่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายในตู้คอนโทรล (MDB), ตู้ไฟฟ้า หรือแผงควบคุม นิยมใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่มีปริมาณสายไฟที่ใช้งานจำนวนมาก เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรม งานระบบต่าง ๆ หรือคลังสินค้า โดยมีอุปกรณ์เสริมเพื่ออำนวยความสะดวก และมีความยืดหยุ่นในตัวเองสูงไม่แตกหักง่าย และในวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการเลือกใช้ Wiring Duct (รางเก็บสายไฟ) หรือ รางวายดัก แบบสรุปเป็นข้อ ๆ สำหรับความเหมาะสมในการเลือกใช้งาน ว่าในงานแต่ละประเภทควรเลือกใช้รางวายดัก (Wiring Duct) แบบใด ในหัวข้อ “3 วิธีการเลือกใช้ Wiring Duct (รางเก็บสายไฟ) ให้เหมาะสมกับงาน” ดังนี้        1. งานประเภทการเดินสายไฟ, การเก็บสายไฟในตู้คอนโทรล (MDB), ตู้ไฟฟ้าทั่ว ๆ ไป           ควรเลือกใช้รางวายดัก (Wiring Duct) แบบโปร่งพร้อมฝาปิด (Cover) โดยลักษณะของรางจะมีความหนา ด้านข้างจะเป็นช่องโปร่ง หรือเรียกว่า “ร่องหรือช่องสล็อต (Slotted)” สองฝั่ง โดยมีขนาด 4 mm., 5 mm., 8 mm. เป็นต้น และคุณสมบัติพิเศษของตัวซี่จะสามารถหักได้ง่ายด้วยมือโดยไม่ต้องใช้คีมตัด ทำให้ประหยัดเวลาและสะดวกกับผู้ใช้งาน ด้านบนจะมีฝาปิดตัวราง และภายในจะมีตัวรวบสายในรางพร้อมหมุดยึด (Wire Retainers) เพื่อเก็บสายไฟและมีรูไว้สำหรับยึดตัวรางให้ติดผนัง การใช้งานสามารถประกอบติดตั้งและแยกสายไฟเข้าตามจุดต่าง ๆ ได้ง่ายโดยไม่ต้องตัดแบ่งรางหลาย ๆ ส่วน ทำให้การติดตั้งสายไฟเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม เมื่อสายไฟเกิดการชำรุดหรือเสียหายสามารถซ่อมหรือเปลี่ยนสายไฟใหม่ได้ทันที (ดังรูปที่ 1)   (รูปที่ 1) ตัวอย่างรางวายดัก (Wiring Duct) แบบโปร่งพร้อมฝาปิด (Cover)        2. งานประเภทการเดินสายไฟ, การเก็บสายไฟในพื้นที่ที่มีฝุ่นละออง, น้ำ, น้ำมัน           ควรเลือกใช้รางวายดัก (Wiring Duct) แบบทึบพร้อมฝาปิด (Cover) โดยลักษณะของรางจะมีความหนา ด้านข้างจะทึบ ไม่มีช่องว่าง เหมาะกับการเดินสาย, การเก็บสายไฟในพื้นที่ที่มีฝุ่นละออง, น้ำ, น้ำมัน หรือสัตว์ต่าง ๆ อาทิ มด, แมลงสาบ, จิ้งจก, หนู ฯลฯ เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมดังกล่าวเข้าไปในสายไฟหรือระบบไฟฟ้า ซึ่งอาจส่งผลทำให้สายไฟเกิดการชำรุดเสียหาย หรืออายุการใช้งานของสายไฟหรือสายคอนโทรลในระบบสั้นลง (ดังรูปที่ 2)   (รูปที่ 2) ตัวอย่างรางวายดัก (Wiring Duct) แบบทึบพร้อมฝาปิด (Cover)        3. งานประเภทการเดินสายไฟ, การเก็บสายไฟงานลิฟต์, งานใช้ร่วมกับท่อสายไฟ           ควรเลือกใช้รางวายดัก (Wiring Duct) แบบทึบ ใช้ร่วมกับ Cable Gland โดยลักษณะของรางจะมีความหนา ด้านข้างจะมีช่องสล็อต (Slotted) ขนาด 18 mm. และ 23 mm. ระยะห่าง 50 mm. สำหรับต่อร่วมเข้ากับท่อร้อยสายหรือท่อแบบข้อต่อ เหมาะกับงานประเภทงานสายไฟที่ร้อยผ่านท่อ เช่น งานลิฟต์ เป็นต้น (ดังรูปที่ 3)   (รูปที่ 3) ตัวอย่างรางวายดัก (Wiring Duct) แบบทึบ ใช้ร่วมกับ Cable Gland        ข้อแนะนำในการเลือกใช้งานรางวายดัก (Wiring Duct) ควรเลือกรางที่มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดี ไม่ทำให้เกิดประกายไฟ สำหรับราง Wiring Duct ยี่ห้อ IBOCO นี้ มีมาตรฐานในการเจาะรู (DIN 43659) เพื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เสริมได้ ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกออกแบบเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน โดยทำร่องไว้เพื่อใช้ในการหักซี่ของรางได้ด้วยมือ ไม่จำเป็นต้องใช้คีมหรือเครื่องมือต่าง ๆ ในกรณีที่ต้องการหักที่ฐานด้านขอบรางก็สามารถตัดขอบด้านข้างและหักด้วยมือ (ดังรูป)        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานรางวายดัก (Wiring Duct) และอุปกรณ์เสริม (Accessories) IBOCO   ZP2 (หมุดยึด) ใช้ร่วมกับ Wiring Duct ใช้กับเคเบิ้ลไทร์ในการรวบสายไฟ CL (ตัวรวมสาย, รวบสาย) ใช้ร่วมกับ Wiring Duct ใช้ในการรวบสายไฟ แบบใช้ร่วมกับ Cable Gland ใช้ในการเดินท่อ Flex ร่วมกับ Wiring Duct เช่น งานลิฟต์ CONNECTORS Terminal Block  Relay Module Slim Relay Module Switching Power Supply โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
เปรียบเทียบการสื่อสารไร้สายแบบ LoRaWAN กับ WIFI ในงานอุตสาหกรรมต่างกันอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันการสื่อสารแบบไร้สายในภาคอุตสาหกรรม (Industrial Communication Wireless) ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการพัฒนาระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรมให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการนำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless Technology) กับอุปกรณ์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าต่าง ๆ และคอมพิวเตอร์ (Computer) หรือเครื่องจักร (Machine) ในระบบอัตโนมัติให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งเป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นความสะดวกสบายของผู้ใช้ ลดการใช้สาย เคลื่อนย้ายสะดวกในกรณีที่ต้องบำรุงรักษา และเพื่อประสิทธิภาพของข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารเป็นหลัก ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีไร้สาย (Wireless Technology) โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารไร้สาย (Wireless Communication System) คือ เครื่องส่งสัญญาณช่องทางการรับ-ส่งสัญญาณ และผู้รับสัญญาณ อธิบายได้ดังนี้        เทคโนโลยีไร้สาย (Wireless Technology) เป็นวิธีการถ่ายโอนข้อมูลจากจุด A ไปยัง B (หรือระหว่างสองจุดขึ้นไป) โดยไม่ต้องใช้ตัวนำไฟฟ้าหรือตัวกลางทางกายภาพ มี 3 ประเภท ดังนี้      • เครือข่ายบริเวณกว้างแบบไร้สาย (WWAN) เป็นการใช้คลื่นวิทยุ (แต่เครือข่ายแม่ใช้สาย) และส่งไปยังจุดเชื่อมต่อไร้สายหนึ่งจุดหรือหลายจุด ซึ่งผู้ใช้ไร้สายสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบมีสายได้      • เครือข่ายพื้นที่ส่วนบุคคลแบบไร้สาย (WPAN) เป็นเครือข่ายระยะสั้น (มักจะเป็นช่วง 30 ฟุต) โดยใช้เทคโนโลยีบลูทูธและเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เข้ากันได้ เช่น โทรศัพท์, บีคอนบลูทูธพลังงานต่ำ (BLE) ใกล้ตำแหน่งศูนย์กลาง      • เครือข่ายไร้สายในพื้นที่ (WLAN) มาจากสัญญาณโทรศัพท์มือถือจากผู้ให้บริการเซลลูลาร์        เทคโนโลยีการสื่อสารที่นิยมใช้กันในยุคปัจจุบันเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) ภายใต้เครือข่าย LoRaWAN และ Wi-Fi โดยมีความหมาย ดังนี้      เทคโนโลยีไร้สาย LoRaWAN           LoRa หมายถึง โปรโตคอลการเชื่อมต่อเฉพาะในส่วนของ Link           LoRaWAN หมายถึง การเชื่อมต่อในลักษณะของการเป็นโครงข่าย        LoRaWAN หรือ Long Range Wide Area Network เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) แบบวงกว้างและสื่อสารได้ในระยะไกล ใช้พลังงานต่ำ (เมื่อเทียบกับ WiFi และ Bluetooth) โดยอาศัยโปรโตคอล LoRa ในการพัฒนาเพื่อให้รองรับอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานต่ำ ๆ ได้หลากหลาย ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากในกลุ่มงานด้าน IoT (Internet of  Thing) เช่น การเชื่อมต่อ Power Meter System เพื่อ Monitor & Analysis และ Record บันทึกข้อมูลในงานอุตสาหกรรม เป็นต้น สำหรับโครงสร้างของ LoRaWAN จะประกอบด้วยหลายอุปกรณ์ เช่น อุปกรณ์ปลายทางจะส่งสัญญาณไปยัง Gateway หลังจากนั้น Gateway จะสื่อสารกับ Server ด้วย TCP และ UDP (ดังรูป) โครงสร้างของ LoRaWAN หรือ Long Range Wide Area Network        เทคโนโลยีไร้สาย WiFi หรือ Wi-Fi           WIFI ถือเป็นส่วนย่อยของ Wireless คือ เทคโนโลยีแบบไร้สายอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อเชื่อมต่อกันแบบไร้สายแล้ว จะเรียกว่า การเชื่อมต่อ Wireless แบบ WiFi นั่นเอง        WiFi หรือ Wi-Fi (Wireless Fidelity) เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่ได้รับความนิยมที่ช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารข้อมูล หรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายโดยใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อกลาง โดยสามารถใช้ได้กับมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (WLAN) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11 ระบบ WiFi ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายสื่อสารกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณและติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้น (ดังรูป) โครงสร้างของ WiFi หรือ Wireless Fidelity        จากข้อมูลข้างต้นของ LoRaWAN หรือ Long Range Wide Area Network และ WiFi หรือ Wireless Fidelity ทำให้ผู้อ่านได้ทราบถึงความหมายระหว่างเทคโนโลยีไร้สายแบบ LoRaWAN กับ WIFI กันไปแล้วนั้น โดยรูปแบบการสื่อสารไร้สายดังกล่าวได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย เช่น การวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์แบบไร้สาย (Wireless Humidity & Temperature Transmitter), การบันทึกข้อมูล (Data Record), การเก็บข้อมูล (Data Logger) ที่มีความแม่นยำ, การ Monitor ผ่านระบบเครือข่าย (Network System) ตลอดจนการควบคุมการใช้พลังงานทางไฟฟ้าด้วยมิเตอร์วัดพลังงานทางไฟฟ้า (Power Energy Meter) เพื่อการวางแผนในการประหยัดพลังงานต่อไป เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีไร้สายแบบ LoRaWAN กับ WIFI ก็มีความแตกต่างกัน ดังนั้นในบทความนี้ทางเราจะขอเปรียบเทียบการสื่อสารทั้ง 2 รูปแบบนี้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงข้อมูลที่ชัดเจนและการเลือกใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น ในหัวข้อ “เปรียบเทียบการสื่อสารไร้สายแบบ LoRaWAN และ WIFI ในงานอุตสาหกรรมต่างกันอย่างไร?” ดังตารางต่อไปนี้   เปรียบเทียบการสื่อสารไร้สายแบบ LoRaWAN และ WIFI ในงานอุตสาหกรรมต่างกันอย่างไร? LoRaWAN หรือ Long Range Wide Area Network WiFi หรือ Wireless Fidelity • ระยะการส่งข้อมูลสูง • ใช้พลังงานต่ำ • Bandwidth ต่ำ • ความยากในการใช้ Setup ปานกลาง • ระยะการส่งข้อมูลต่ำ • ใช้พลังงานสูง • Bandwidth สูง • ความยากในการใช้ Setup ปานกลาง        จากตารางการเปรียบเทียบการสื่อสารไร้สายแบบ LoRaWAN และ WIFI ในงานอุตสาหกรรมต่างกันอย่างไรดังกล่าว ทางเราจึงขอนำเอามายกตัวอย่างในการต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าในงานภาคอุตสาหกรรม ดังต่อไปนี้        ตัวอย่าการต่อใช้งานมิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้าแบบไร้สาย LoRaWAN รุ่น KM-24-L และดึงค่าอุณหภูมิจาก Digital Indicator ผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณ RS-485 เป็น LoRa (Converter) รุ่น RM-012-L เพื่อ Monitor, Analysis, Record ผ่าน Prisoft Software การต่อใช้งานมิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้าแบบไร้สาย LoRaWAN รุ่น KM-24-L และดึงค่าอุณหภูมิจาก Digital Indicator ผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณ RS-485 เป็น LoRa (Converter) รุ่น RM-012-L เพื่อ Monitor, Analysis, Record ผ่าน Prisoft Software ในระบบอุตสาหกรรม        ตัวอย่างการต่อใช้งานมิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้า (Multimeter) รุ่น KM-07N ร่วมกับ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ RS-485 เป็น WIFI (Converter) รุ่น RM-012-WIFI เพื่อ Monitor, Analysis, Record ผ่าน Prisoft Software การต่อใช้งานมิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้า (Multimeter) รุ่น KM-07N ร่วมกับ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ RS-485 เป็น WIFI (Converter) รุ่น RM-012-WIFI เพื่อ Monitor, Analysis, Record ผ่าน Prisoft Software ในระบบอุตสาหกรรม          ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานการสื่อสารไร้สายแบบ LoRaWAN กับ WIFI   วัดค่าพลังงานจาก Generator ใช้วัดและเก็บค่าอุณหภูมิในโกดังเก็บสินค้า วัดและคิดค่าไฟฟ้าแยกตามห้อง ภายในอาคารจาก KM-24-L Multifunction Power Meter Single Phase kWh-Meter With LoRa Wireless Humidity & Temperature Transmitter LoRa Baseboard interface UART UNIVERSAL INPUT 2/4 CHANNEL LoRa CLICK   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
เปรียบเทียบการนับจำนวนชิ้นงาน (Counting) ระหว่าง PLC+HMI (Function Counter) กับ Digital Counter ดีกว่ากันอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      การนับจำนวนชิ้นงาน (Counting) โดยทั่วไปกระบวนการผลิตในงานอุตสาหกรรมจะมีการนับจำนวนชิ้นงาน, วัตถุ หรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในกระบวนการ ซึ่งในการนับจำนวนนั้นอาจจะใช้เป็นมนุษย์ (Human), หุ่นยนต์ (Robot) หรือเครื่องจักร (Machine) ฯลฯ เพื่อเป็นการบ่งบอกสถานะที่ผลิตได้ตามแผนที่วางไว้ แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ระบบการนับแบบอัตโนมัติ (Automation Counting System) เนื่องจากมีความถูกต้องและแม่นยำในการนับชิ้นงานกว่ามนุษย์  โดยระบบการนับจำนวนชิ้นงาน (Counting) แบบอัตโนมัติจะประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ ดังนี้        1. เซ็นเซอร์ (Sensor) คือ อุปกรณ์สำหรับตรวจจับชิ้นงาน เช่น Photoelectric Sensor, Proximity Switch เป็นต้น โดยแต่ละอุปกรณ์จะถูกนำเอาท์พุทของ เซ็นเซอร์ (Sensor) ไปต่อเข้าร่วมกับเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter), Target Counter หรือ PLC+HMI เพื่อแสดงผล และแจ้งเตือน Alarm ให้ผู้ใช้งานทราบ โดยเอาต์พุตของเซ็นเซอร์ (Sensor) ที่พบเห็นส่วนใหญ่ในงานภาคอุตสาหกรรม อาทิ เอาต์พุตประเภท NPN, PNP, NO, NC, Relay Contact เป็นต้น        2. เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter/Target Counter) คือ เครื่องนับจำนวนและแสดงผลเพื่อโชว์ค่าให้ทราบจำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ในการผลิตแต่ละครั้ง โดยสามารถตั้งค่าเป้าหมาย (Target) ในการผลิต และจำนวนของชิ้นงานที่ผลิตได้จริง (Actual) ให้สอดคล้องกับ Target ที่ตั้งไว้ และมีการแสดงจำนวนผลต่างของชิ้นงานที่ตั้งเป้าไว้และผลิตได้จริง (Diff) เพื่อช่วยลดความผิดพลาด (Error) และสามารถวางแผนระยะเวลาในการผลิตได้ อุปกรณ์ที่ใช้งานกันโดยทั่วไปในการนับจำนวน (Counter) หรือรูปแบบการตั้งเวลานับชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักรและแสดงผล (Hour Counter) ในงานภาคอุตสาหกรรม เช่น เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter), Hour Counter, Target Counter หรือ PLC+HMI เป็นต้น        3. Software โปรแกรมที่ช่วยทำให้ผู้ใช้สามารถตั้งค่าหรือ Monitor ผ่านหน้าจอ Computer, Mobile ได้ โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปตั้งค่าหรือดูค่าที่ตัวอุปกรณ์ และปัจจุบันผู้ใช้สามาถดู Monitor ผ่าน Internet of Thing ได้ ทำให้สะดวกในการติดต่อประสานงานหรือวางแผนในการผลิตในยุคปัจจุบัน   เซ็นเซอร์ (Sensor) เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) Software      การนับจำนวนชิ้นงานแบบอัตโนมัติ (Automation Counting System) ที่ประกอบด้วย เซ็นเซอร์ (Sensor), เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter), เครื่องนับชัวโมงการทำงาน (Hour Counter) หรือ Target Counter และ Software ดังที่กล่าวมาข้างต้น ที่ผู้ใช้งานพบเห็นบ่อยในงานภาคอุตสาหกรรม ซึ่งการใช้งานนั้นถือว่าไม่ซับซ้อนมากนักและราคาไม่สูงมาก นอกจากนี้ในการนับจำนวนชิ้นงานยังสามารถทำการนับจำนวนผ่านเครื่องควบคุมอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า พีแอลซี (PLC) ได้อีกเช่นกัน โดยในการนับจำนวนชิ้นงานในรูปแบบต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอย่างไร? ในวันนี้เราจะขอแนะนำข้อเปรียบเทียบการนับชิ้นงานระหว่างการใช้ Digital Counter/Target Counter กับ พีแอลซี (PLC+HMI) ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร? ในหัวข้อ “เปรียบเทียบการนับจำนวนชิ้นงาน (Counting) ของอุปกรณ์ PLC+HMI (Function Counter) กับ Digital Counter ดีกว่ากันอย่างไร?” โดยยกตัวอย่างสินค้า PLC+HMI ยี่ห้อ UNITRONICS และ Digital Counter/Target Counter ยี่ห้อ PRIMUS ดังตาราง      เปรียบเทียบการนับจำนวนชิ้นงาน (Counting) ระหว่าง PLC+HMI (Function Counter) กับ Digital Counter ดีกว่ากันอย่างไร?   PLC+HMI (Function Counter) เครื่องนับชิ้นงานแบบดิจิตอล (Digital Counter/Target Counter) • สามารถโปรแกรมเงื่อนไขในการนับชิ้นงาน (Plan, Target, Diff) ได้ตามความต้องการโดยการเขียนโปรแกรม Ladder • สามารถกำหนดหน้าจอการแสดงผลได้ตามความต้องการสำหรับรุ่น Vision, Unistream ยี่ห้อ Unitronics • สามารถเพิ่มหรือขยาย Input/Output ได้ผ่าน I/O Expansion และ Snap I/O • ใช้ภาษา Ladder ในการเขียนโปรแกรมคำสั่งหรือสื่อสารระหว่าง Computer กับ PLC • ราคาค่อนข้างสูง • สินค้านำเข้า • สามารถออกแบบให้สามารถสื่อสารผ่าน Cloud ได้ • จำเป็นต้องระบุเลือกรุ่นสินค้าให้ตรงกับเงื่อนไขความต้องการตั้งแต่ตอนสั่งซื้อ เนื่องจากอุปกรณ์จะถูกกำหนดมาโดยอ้างอิงจาก Specification • ไม่สามารถกำหนดหน้าจอการแสดงผลได้ตามความต้องการสำหรับรุ่นมาตรฐาน CMP-Series, CMT-007A ยี่ห้อ Primus แต่สำหรับรุ่น TGM-Series สามารถระบุจำนวนแถว, จำนวนหลักของการแสดง 7-Segment ได้ • ไม่สามารถเพิ่มหรือขยาย Input/Output ได้ • ใช้ Software ที่มาคู่กับอุปกรณ์ในการ Monitor หรือตั้งค่าเฉพาะรุ่นที่มี Option MODBUS RS-485 เท่านั้น • ราคาพอเข้าถึงได้ • สินค้าผลิตด้วยฝีมือคนไทย        จากตารางการเปรียบเทียบการนับจำนวนชิ้นงาน (Counting) ระหว่าง PLC+HMI (Function Counter) กับ Digital Counter ดังกล่าว สามารถต่อใช้งานได้ตามตัวอย่างดังต่อไปนี้      ตัวอย่างการต่อใช้งาน V570 : Vision Programmable Logic Control+HMI (PLC+HMI) ร่วมกับ เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุแบบไม่สัมผัส (Photoelectric Sensor) เพื่อแสดงผลและแจ้งเตือน Alarm ในการนับชิ้นงานใน Line การผลิต จากรูปเป็นการต่อเซ็นเซอร์เข้ากับ PLC เพื่อทำการนับชิ้นงานหรือใช้ในการควบคุมการทำงานของสายพานลำเลียง        จากตัวอย่างการต่อใช้งาน V570 : Vision Programmable Logic Control+HMI (PLC+HMI) ร่วมกับ เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุแบบไม่สัมผัส (Photoelectric Sensor) เพื่อแสดงผลและแจ้งเตือน Alarm ในการนับชิ้นงานใน Line การผลิตดังกล่าว ทางเราขอยกตัวอย่างต่อด้วยการเขียนโปรแกรม Ladder ดังนี้        ตัวอย่างเขียนโปรแกรมการต่อใช้งาน V1040 : Vision Programmable Logic Control+HMI (PLC+HMI) ร่วมกับ เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุแบบไม่สัมผัส (Photoelectric Sensor) เพื่อแสดงผลและแจ้งเตือน Alarm ในการนับชิ้นงานใน Line การผลิต      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC+HMI (Programmable Logic Controller)   เครื่องจ่ายเคมี เครื่องทดสอบน้ำยาง ชุดแสดงการทำงานของเครื่องทำความเย็น PLC , Programmable Logic Controller Switching Power Supply 2.5A Target Counter Photoelectric Sensor Primus Software โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
แนะนำ 3 วิธีการต่อใช้งานของ Level Switch & Level Sensor แต่ละประเภท

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Level Sensor/Level Switch หรือ เซ็นเซอร์วัดระดับของเหลว ที่ใช้ในการตรวจวัดระดับของเหลว (Liquid) เช่น วัดระดับความสูงของน้ำหรือน้ำมันในถัง หรือวัดระดับน้ำในแท็งก์เก็บน้ำ เป็นต้น เพื่อต้องการทราบระดับของเหลวที่บรรจุอยู่ในภาชนะ แท็งก์น้ำ และเพื่อต้องการการควบคุมระดับน้ำให้ได้ตามที่ต้องการ โดย Level Sensor/Level Switch หรือเซ็นเซอร์วัดระดับของเหลว สามารถต่อร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมระดับน้ำ (Level Control), ตัวแสดงผลของระดับน้ำ (Level Indicator) เพื่อแสดงค่าหรือควบคุมระดับของเหลว เป็นต้น แล้วนำค่าต่าง ๆ นี้ไปใช้ในกระบวนการการผลิตต่อไป      Level Switch (สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลว) เป็น Level Switch ลูกลอยวัดระดับของเหลวแบบแกนสแตนเลส (SUS304/SUS316) โดยสามารถวัดระดับของเหลวประเภทนํ้า, น้ำมัน เป็นต้น ซึ่งใช้หลักการของ Magnet Switch เปลี่ยนแปลงสถานะของหน้าคอนแทค Relay แบบ NO/NC โดยมีหลักการทำงานการเปลี่ยนแปลงหน้าคอนแทค Relay จากการที่ลูกลอยเคลื่อนที่ขึ้น-ลงตามระดับของเหลว โดย Level Switch (สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลว) มีทั้งแบบติดตั้งด้านบนและด้านข้างถัง ตามตัวอย่างดังรูป   ตัวอย่างรูปแบบลักษณะการติดตั้ง Level Switch (สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลว) ตัวอย่างแบบของ Level Switch (สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลว)      Level Sensor (เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับของเหลว) เป็น Level Sensor เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับของเหลวแบบต่อเนื่อง โดยอาศัยหลักการการเปลี่ยนแปลงของค่าความต้านทานที่ฝั่งอยู่ภายในแกนของ Level Sensor ตามการขึ้น-ลงของลูกลอย และส่งสัญญาณเอาต์พุตเป็นสัญญาณอนาล็อก 4-20mA โดยผู้ใช้งานสามารถนำสัญญาณ 4-20mA ไปใช้งานต่อ โดยสามารถต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์แสดงผลหรืออุปกรณ์คอนโทรลต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ โดยบริเวณหัวกะโหลกของ Level Sensor (เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับของเหลว) จะถูงฝังด้วยอุปกรณ์แปลงสัญญาณ Thermocouple, RTD (PT100) and Resistance เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน 4-20mA ภายในและแกนทำจากวัสดุสแตนเลส (SUS304/SUS316) สามารถวัดระดับของเหลวประเภทนํ้า, น้ำมัน เป็นต้น (ดังรูป)   ตัวอย่างรูปแบบ Level Sensor (เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับของเหลว) ตัวอย่างแบบของ Level Sensor (เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับของเหลว)      Cable Float Level Switch (ลูกลอยวัดระดับแบบสายเคเบิ้ล) หรือลูกลอยวัดระดับแบบสายเคเบิ้ล ที่ผู้ใช้งานทำการติดตั้งโดยการหย่อน Cable Float Level Switch (ลูกลอยวัดระดับแบบสายเคเบิ้ล) ลงไปในถังหรือบ่อบําบัดน้ำเสียเพื่อตรวจระดับน้ำและควบคุมให้อยูในตําแหน่งสูงหรือต่ำตามต้องการ เมื่อน้ำมีระดับสูงขึ้นลูกลอยจะอยูในลักษณะแนวนอน ทำให้สวิตช์อยูในตําแหน่ง OFF แต่ถ้าน้ำอยูในระดับต่ำลูกลอยจะอยู่ในลักษณะแนวตั้ง ทําให้สวิตช์อยูในตําแหน่ง ON และสวิตช์ที่อยูภายในลูกลอยเป็นแบบ Mercury Switch (สวิตช์ปรอท) ทําให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานในการตัด-ต่อได้มากกว่า 500,000 ครั้ง ตัวอย่างรูป Cable Float Level Switch (ลูกลอยวัดระดับแบบสายเคเบิ้ล) ตัวอย่างแบบของ Cable Float Level Switch (ลูกลอยวัดระดับแบบสายเคเบิ้ล)        โดยปัจจุบัน Level Sensor/Level Switch หรือเซ็นเซอร์วัดระดับของเหลว สำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรมที่พบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่  Level Switch (สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลว), Cable Float Level Switch (ลูกลอยวัดระดับแบบสายเคเบิ้ล) หรือ Electrode Level Switch (อุปกรณ์วัดระดับแบบก้านอีเล็คโทรด), Ultrasonic Level Sensor (อุปกรณ์วัดระดับแบบอัลตร้าโซนิค) และ Capacitive Proximity Switch เป็นต้น ซึ่งการต่อใช้งานของเซ็นเซอร์วัดระดับของเหลว (Level Sensor) ในแต่ละเภทนั้นก็จะมีลักษณะการต่อใช้งานที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นเซ็นเซอร์วัดระดับของเหลว (Level Sensor) เหมือนกันก็ตาม โดยในวันนี้เราจะขอยกตัวอย่างการต่อใช้งานของ Level Switch & Level Sensor ในหัวข้อ 3 วิธีการต่อใช้งานของ Level Switch & Level Sensor แต่ละประเภทว่ามีวิธีและหลักการอย่างไร ดังนี้        แนะนำ 3 วิธีการต่อใช้งานของ Level Switch & Level Sensor แต่ละประเภท      1. วิธีการต่อใช้งาน Level Switch (สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลว) ควบคุมระดับน้ำในแท็งก์น้ำ ร่วมกับ Pump Control      2. วิธีการต่อใช้งาน Level Sensor (เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับของเหลว) แสดงและควบคุมระดับน้ำในแท็งก์น้ำ ร่วมกับ Digital Indicator      3. วิธีการต่อใช้งาน Cable Float Level Switch (ลูกลอยวัดระดับแบบสายเคเบิ้ล) ควบคุมระดับน้ำในถังบำบัดน้ำเสียร่วมกับ PLC        1. วิธีการต่อใช้งาน Level Switch (สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลว) ควบคุมระดับน้ำในแท็งก์น้ำ ร่วมกับ Pump Control        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Level Switch (สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลว) รุ่น LP-04 ควบคุมระดับน้ำในแท็งก์น้ำ ร่วมกับ Pump Control รุ่น CM-015 ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานวัดระดับน้ำในแท็งก์และควบคุมปั๊มน้ำ ด้วย Level Switch (LP-04) ที่แท็งก์บน และ Mini Level Switch (LP-01/LP-02) ที่บ่อพักน้ำ ร่วมกับ Pump Control รุ่น CM-015-2        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Side Level Switch (สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลวแบบติดตั้งด้านข้าง) รุ่น LP-13N/LP-14 ควบคุมระดับน้ำในแท็งก์น้ำ ร่วมกับ Pump Control รุ่น PM-021N-2 ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานวัดระดับน้ำในแท็งก์และควบคุมปั๊มน้ำด้วยก้าน Electrode ที่แท็งก์บน และ Side Level Switch (LP-13N/LP-14 ) ที่บ่อพักน้ำ ร่วมกับ Pump Control รุ่น PM-021N-2        2. วิธีการต่อใช้งาน Level Indicator (เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับของเหลว) เพื่อแสดงผลและควบคุมระดับน้ำในแท็งก์น้ำ ร่วมกับ PLC หรือ Bar Graph Indicator        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Level Sensor (เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับของเหลว) รุ่น LP-07-I (Output 4-20mA) เพื่อแสดงผลและควบคุมระดับน้ำในแท็งก์น้ำ ร่วมกับ PLC หรือ Level Sensor (เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับของเหลว) รุ่น LP-07 แสดงและควบคุมระดับน้ำในแท็งก์น้ำ Bar Graph Indicator รุ่น TIM-95G   ตัวอย่างการต่อใช้งาน Level Sensor (LP-07-I) และนำสัญญาณ 4-20mA ไปต่อเข้ากับอุปกรณ์ PLC ในการแสดงปริมาณของของเหลวภายในถัง หรือนำไปควบคุมปริมาณของเหลวภายในถังต่อได้ ตัวอย่างการต่อใช้งาน Level Sensor (LP-07) ร่วมกับอุปกรณ์ Transmitter (EM-EN-Series) ในการแปลงค่าจากความต้านทานออกมาเป็นสัญญาณ 4-20mA เพื่อนำไปต่อเข้ากับอุปกรณ์แสดงผล (Digital  Indicator) TIM-95G ในการแสดงปริมาณของเหลวภายในถัง โดยสามารถเห็นสถานะของของเหลวแบบบาร์กราฟและตัวเลขที่อุปกรณ์แสดงผล (Digital  Indicator) TIM-95G        3. วิธีการต่อใช้งาน Cable Float Level Switch (ลูกลอยวัดระดับแบบสายเคเบิ้ล) ควบคุมระดับน้ำในถังบำบัดน้ำเสียร่วมกับเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ        ตัวอย่างวิธีการต่อใช้งาน Cable Float Level Switch (ลูกลอยวัดระดับแบบสายเคเบิ้ล) รุ่น CP-01/CP-02 ควบคุมระดับน้ำในถังบำบัดน้ำเสียร่วมกับ Level Control รุ่น PM-021N-1 ตัวอย่างการต่อใช้งาน Cable Float Level Switch (CP-01) ร่วมกับ Level Control (PM-021N-1) สำหรับเช็คระดับน้ำ เมื่อถึงระดับ High หน้า Contact ก็จะทำงาน สั่งหยุดปั๊มสูบน้ำออกจากบ่อบำบัดน้ำเสีย        การประยุกต์ใช้งาน      • วัดและควบคุมระดับน้ำในแท็งก์คอนโด, หอพัก, อาคารสูง      • วัดและควบคุมระดับน้ำอุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม      • ระบบบำบัดน้ำเสีย        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Level Sensor/Level Switch (เซ็นเซอร์วัดระดับของเหลว/สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลว)   ตัวอย่างการใช้งาน วัดและควบคุมระดับน้ำในแท็งก์บนอาคารสูง ด้วย Level Switch (LP-04) (บนแท็งก์บน) และ Cable Float Level Switch (CP-01) ในบ่อพักน้ำ ตัวอย่างการต่อใช้งาน Level Sensor (LP-07-I) ในเครื่อง Retort เพื่อต้องการทราบปริมาณน้ำในแท็งก์ โดยนำสัญญาณอนาล็อก (Output 4-20 mA) ไปต่อเข้า PLC ในการแสดงผลปริมาณน้ำภายในแท็งก์ ตัวอย่างการใช้งาน Cable Float Level Switch (CP-01) ในบ่อบำบัดน้ำเสีย ร่วมกับ Level Control (PM-021N-1) สำหรับเช็คระดับน้ำ   Lever Control For Conductive Liquids Single Pump Relay Single Pump Controller Twin Pump Controller PLC , Programmable Logic Controller โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
3 ข้อดี ของการเลือกใช้งาน Programmable Encoder

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) เป็นเซ็นเซอร์ที่ใช้สำหรับการวัดระยะทาง (Distance Sensor), ความเร็วรอบ (Speed), ทิศทางการหมุนของมอเตอร์ (Direction of Rotation), องศาการเคลื่อนที่ โดยอาศัยหลักการทำงานโดยการเข้ารหัสจากระยะทางจากการหมุนของแกนเพลา แล้วทำการแปลงออกมาในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า (Pulse) เพื่อนำมาต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์แสดงผล เช่น เครื่องนับจำนวน (Digital Counter), เครื่องวัดความถี่และระยะทาง (Freqenecy Meter), พีแอลซี (PLC) เป็นต้น      ปัจจุบันได้มีการนำเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) มาประยุกต์ใช้ในงานในงานอุตสาหกรรมได้อย่างหลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมเครื่องบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ,  อุตสาหกรรมสิ่งทอ, อุตสาหกรรมหุ่นยนต์, อุตสาหกรรมสายพานลำเลียง, อุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น โดยเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ตามลักษณะของสัญญาณเอาต์พุต (Output Signal) คือ Encoder แบบ Increment หรือที่เรียกว่า Increment Encoder หรือ Rotary Encoder และ Encoder แบบ Absolute หรือที่เรียกว่า Absolute Encoder ซึ่งโดยหลักการเบื้องต้นของ Encoder ทั้ง 2 แบบนี้ มีหลักการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งทางเราได้มีการนำเสนอไว้ในหัวข้อ Increment Encoder ต่างกับ Absolute Encoder อย่างไร? โดยท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปดูข้อมูลที่ละเอียดเพิ่มเติมกันได้      เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) โดยปกติทั่วไปแล้วจะมีรูปแบบและลักษณะการติดตั้งอยู่ 2 แบบ คือ แบบแกนเพลา (Shaft) และ Hollow Shaft หรือแบบรูกลวง (ดังรูป) รูปแบบลักษณะการติดตั้ง Encoder แบบ Hollow Shaft รูปแบบลักษณะการติดตั้ง Encoder แบบ Shaft ตัวอย่างการติดตั้ง Encoder แบบ Hollow Shaft เข้ากับ Bearing Motor ตัวอย่างการติดตั้ง Encoder แบบ Shaft เข้ากับ Bearing Motor      เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) นั้นมีทั้งรูปแบบการกำหนดค่าพัลส์ต่อรอบ Pulse/Revolution ( Fixed Pulse) ในสเปคของแต่ละรุ่น และ Encoder รูปแบบการโปรแกรม (Programable) โดยการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่าน Software เพื่อกำหนดจำนวน Pulse/Revolution ของ Encoder ตามความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งในรูปแบบกำหนดค่าพัลส์ต่อรอบ P/R นั้น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงความละเอียดในการวัดระยะจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ใหม่ด้วยเช่นกัน ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ความยุ่งยากในการต่อสาย และอาจจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการติดตั้งใหม่      ในวันนี้เราจะมาแนะนำการเลือกใช้งานเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ในรูปแบบของการโปรแกรม (Programmable Encoder) โดยการต่อ Programmable Encoder รุ่น PR-04 ยี่ห้อ Primus เพื่อโปรแกรมเลือกพัลส์ต่อรอบ P/R ร่วมกับพอร์ตแปลงสัญญาณพร้อมสายแบบ USB (Converter+USB Cable) PR-PRO เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ผ่าน Software หรือต่อเข้ากับพีแอลซี (PLC) โดยตรง เพื่อสามารถเข้าไปตั้งค่าเปลี่ยนแปลงหรือเลือกย่านพัลส์ (Pulse) ได้ด้วยตนเอง (ตั้งแต่ 1-16,384 P/R) โดยผ่าน Software ดังนี้      ตัวอย่าง Programmable Encoder รุ่น PR-04 ยี่ห้อ Primus โดยต้องต่อร่วมกับพอร์ตแปลงสัญญาณพร้อมสายแบบ USB (Converter+USB Cable) รุ่น PR-PRO เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ผ่าน Software      ข้อดีของ Programmable Encoder ที่มีความแตกต่างจาก Encoder แบบกำหนด Pulse ทั่วไป โดยได้สรุปมาเป็น 3 ข้อ หลัก ๆ ในหัวข้อ 3 ข้อดี ของการเลือกใช้งาน Programmable Encoder ดังนี้      1. สามารถกำหนด Revolution Pulse (P/R) ผู้ใช้งานสามารถการกำหนดค่า Pulse/Revolution ได้ตั้งแต่ 1-16,384 Pulse/Revolution ในตัวเดียวกัน โดยผ่าน Software ได้ตามที่ต้องการ กรณี Encoder รุ่นเดิมที่เลิกผลิตแล้ว ค่า Pulse/Revolution ไม่ได้เป็นค่า Standard เราสามารถเลือกใช้ Programmable Encoder รุ่น PR-04 เพื่อนำ Encoder ไปใช้ทดแทนรุ่นเดิม เป็นต้น      2. สามารถกำหนดทิศทางการหมุน (Rotation) ผู้ใช้งานสามารถกำหนดทิศทางของการหมุนตามเข็มนาฬิกา (CW) หรือทวนเข็มนาฬิกา (CCW) เพื่อตรวจเช็คสถานะทิศทางการหมุนของมอเตอร์หรือการเคลื่อนที่ไปหรือกลับของวัตถุบนสายพานลำเลียง ทำให้ประหยัดเวลาในการเดินไปตรวจเช็คที่ตัวมอเตอร์ของผู้ปฏิบัติงาน      3. สามารถกำหนด Index Position ผู้ใช้งานสามารถกำหนดตำแหน่งหรือมุมในการเคลื่อนที่ของ Encoder เช่น ใน 1 รอบของการหมุน มุมที่ต้องการ 180 องศา เป็นต้น หรือกำหนดการเคลื่อนที่ของเครื่อง CNC ในการเคลื่อนที่ไปยังชิ้นงานและกลับมายังตำแหน่งเดิม เป็นต้น      จาก 3 ข้อดีของการเลือกใช้งาน Programmable Encoder ทำให้ผู้ใช้งานสามารถนำ Programmable Encoder มาประยุกต์ใช้งาน โดยต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อแสดงผลหรือควบคุมกำหนดทิศทางการหมุน และสามารถบอกทิศทางของการหมุนตามเข็มนาฬิกา (CW) หรือทวนเข็มนาฬิกา (CCW) เพื่อตรวจเช็คสถานะทิศทางการหมุนของมอเตอร์หรือการเคลื่อนที่ไปหรือกลับของวัตถุบนสายพานลำเลียง ทำให้ประหยัดเวลาในการเดินไปตรวจเช็คที่ตัวมอเตอร์ของผู้ปฏิบัติงานเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ได้ดังนี้      ยกตัวอย่างการต่อใช้งาน Programmable Encoder Model : PR-04-Series ยี่ห้อ Primus ร่วมกับ RPM Meter รุ่น CM-001-L เพื่อวัดความเร็วรอบและ Line Speed ของมอเตอร์      เหมาะสำหรับใช้งานวัดค่า RPM (หน่วย : รอบต่อนาที) หรือวัดค่า Line Speed (หน่วย : cm/s หรือ m/s) ได้ภายในอุปกรณ์เดียว RPM & Line Speed Meter รุ่น CM-001-L      ยกตัวอย่างการต่อใช้งาน Programmable Encoder Model : PR-04-Series ยีห้อ Primus ร่วมกับ Digital Frequency Meter รุ่น TFM-94 เพื่อวัด RPM หรือ Line Speed ได้ และมี Transfer Output แบบ 4-20mA หรือ 0-10VDC หรือ RS-485 Modbus RTU Protocol      เหมาะสำหรับใช้งานวัดค่าความถี่ F (หน่วย : Hz) หรือวัดค่า LINE SPEED (หน่วย : cm/s หรือ m/s หรือ mm/s) หรือวัดค่า RPM (หน่วย : รอบต่อนาที) ได้ภายในอุปกรณ์เดียว Digital Frequency Meters with Alarm Meter รุ่น TFM-94-Series      เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) แต่ละประเภทสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรมได้หลากหลาย ดังนี้      • Light-Duty Encoder ประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องพิมพ์, เครื่องมือแพทย์, ชิ้นส่วนอุปกรณ์เซมิคอนดัคเตอร์      • Industrial Encoder อุตสาหกรรมสิ่งทอ, อุตสาหกรรมพลาสติก, บรรจุภัณฑ์, อุตสาหกรรมเซรามิก, อุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม      • Heavy-Duty Encoder เครน, ลิฟต์, รถบรรทุกลำเลียง, อุตสาหกรรมน้ำมัน, อุตสาหกรรมเหมืองแร่      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Encoder วัดความเร็วรอบของ Motor โดยใช้ Programmable Encoder แบบ Hollow Shaft วัดระยะความยาวของการเคลื่อนที่ของสายพาน โดยใช้ Programmable Encoder แบบ Shaft วัดความเร็วรอบของสายพานการผลิต โดยใช้  Programmable Encoder แบบ Shaft Increment Encoder ø50 mm. Increment Encoder ø38 mm. RPM & LINE SPEED MINI TACHOMETER Digital Frequency Meters With Alarm โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
4 วิธีการเลือก Power SCR อย่างไรให้เหมาะสมกับงาน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      SCR (เอสซีอาร์) ย่อมาจาก ซิลิคอนคอนโทรลเร็คติไฟร์เออร์ (Silicon Control Rectifier) ที่เรียกกันโดยทั่ว ๆ ไป คือ SCR หรือ Power SCR เป็นอุปกรณ์จำพวกโซลิดสเตท (Solid State) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสวิตช์เปิด-ปิด (ON-OFF) ของวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นเครื่องปรับหรือควบคุมการจ่ายกำลังไฟฟ้าเพื่อควบคุมฮีตเตอร์ (Heater) ซึ่งมีข้อดี คือ ไม่มีการเคลื่อนไหวของหน้าสัมผัส (Contact) ขณะเปิด-ปิดวงจร จึงทำให้ไม่เกิดประกายไฟ (Spark) ทำให้มีอายุการใช้งานยาวนานและไม่เกิดเสียงรบกวนขณะทำงาน        Power SCR หรือ SCR Power Regulator ลักษณะการนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่มักนำไปใช้ในการควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าสำหรับฮีตเตอร์ (Heater) ทุกชนิด เช่น งานควบคุมฮีตเตอร์ของเตาหลอมที่ใช้ความร้อนสูง, งานควบคุมอินฟราเรดฮีตเตอร์ เป็นต้น        Power SCR หรือ SCR Power Regulator   ตัวอย่าง Power SCR หรือ SCR Power Regulator รูปแสดง % Output Voltage ของ Power SCR หรือ SCR Power Regulator 3-Phase SCR Power Regulator (PSTA-01N-Series) รูปแสดง % Output Voltage        Power SCR หรือ SCR Power Regulator เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของฮีตเตอร์ (Heater) ด้วยการควบคุมแบบ Phase Angle Control จากสัญญาณควบคุม 0-20mA, 4-20mA, 0-5Vdc, 1-5Vdc, 0-10Vdc, 2-10Vdc, Potentiometer 2-10K Ohm, Dry Contact เป็นต้น ทำให้สามารถควบคุมกำลังไฟที่จ่ายให้กับ Load ได้ตาม % ของสัญญาณควบคุม        จากบทความที่ผ่านมาทางเราได้มีการนำเสนอข้อมูลของ Power SCR หรือ SCR Power Regulator เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้งาน ในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้งาน SCR Power Regulator” เพื่อควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับฮีตเตอร์ (Heater) แบบ 3 เฟส ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจได้พอสังเขปเกี่ยวกับ Power SCR และในวันนี้เราจะมาแนะนำ ต่อด้วยวิธีการเลือก Power SCR เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ใช้งานที่กำลังค้นหา SCR Power Controller หรือ SCR Power Regulator ที่ตรงความต้องการได้อย่างเหมาะสม        และเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการเลือกใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยได้แบ่งเป็นข้อ ๆ ไว้ในหัวข้อ “4 วิธีการเลือก Power SCR อย่างไรให้เหมะสมกับงาน” ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่าง Power SCR หรือ 3-Phase SCR Power Regulator ของยี่ห้อ Primus รุ่น PSTA-01N-Series โดยการเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงานถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าเราเลือกใช้อุปกรณ์ได้เหมาะสมกับงานจะส่งผลให้งานของเรานั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการเลือกซื้อยกตัวอย่าง SCR Power Controller หรือ SCR Power Regulator มีดังต่อไปนี้   4 วิธีการเลือก Power SCR อย่างไรให้เหมะสมกับงาน 1. กระแสโหลด  (Rated Load Current) ต้องคำนึงถึงกระแสที่จะจ่ายให้กับโหลดนั้นมีขนาดเท่าไร โดยผู้ใช้งานสามาถดูได้จาก Name Plate จากด้านข้างของตัวอุปกรณ์ เพราะหากเลือกซื้ออุปกรณ์ที่จ่ายกระแสได้ไม่ถึงกระแสที่จะนำไปใช้งานจะทำให้โหลดนั้นไม่ทำงานได้ 2. ระบบกี่เฟส (Phase System) ควรคำนึงถึงระบบไฟฟ้าของโหลดว่าใช้กับระบบไฟกี่เฟส 1 Phase หรือ 3 Phase เพื่อเลือก SCR Power Controller หรือ SCR Power Regulator ให้เหมาะสมกับการใช้งาน 3. แรงดันไฟเลี้ยง (Power Supply) ควรทราบว่าอุปกรณ์ที่เราจะเลือกซื้อนั้นใช้ไฟเลี้ยงแบบใด เพราะหากเรานำอุปกรณ์ที่เลือกซื้อไปใช้งานเลยโดยไม่ดูว่าอุปกรณ์ชนิดนี้ใช้กับไฟเลี้ยงแบบใด เมื่อนำไปใช้งานจริงอาจทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายขึ้นได้ 4. ข้อมูลเทคนิคต่าง ๆ ที่จำเป็นดังตารางทาง Specification        ข้อดีของการเลือกใช้ Power SCR หรือ SCR Power Regulator (Model : PSTA-01N-Series) ยี่ห้อ Primus      • สามารถปรับตั้งค่า Output Voltage สูงสุด (Max) และค่า Control Signals ต่ำสุดที่จะเริ่มขับ Output Voltage (BIAS) ได้อิสระจากกัน      • สามารถตั้งค่า Rising Time ได้ 1-22 Seconds      • สามารถใช้กับระบบไฟ Main Power 480VAC ที่ความถี่ 50/60 Hz      • รับ Auxiliary Power (AC1, AC2) แยกอิสระ SCR Module      • รับสัญญาณ Input 4-20mA, 0-20mA, 0-5VDC, 1-5VDC, 2-10VDC, 0-10VDC, Potentiometer 2-10K Ohm, Dry Contact      • มี LED แสดงสถานะการทำงาน Power, Input, Output, TH Err, Fuse/Source Err      • สามารถตรวจจับ Power Out-Of-Phase, SCR Overheating และ Fuse Burn-Down แล้วแสดงที่ LED พร้อมทั้งแจ้งเตือนด้วย Alarm Dry Contact Output และหยุดขับ Output ทันที เมื่อไฟกลับมาปกติอุปกรณ์จึงเริ่มขับ Output เพื่อป้องกัน Fuse Burn-Down      • มี Heat Sink ระบายความร้อน        จากตาราง 4 วิธีการเลือก Power SCR อย่างไรให้เหมะสมกับงานและข้อดีของการเลือกใช้ Power SCR Power หรือ SCR Power Regulator ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น สามารถนำมาประยุกต์โดยการต่อใช้งาน Power SCR Power หรือ SCR Power Regulator (Model : PSTA-01N-Series ยีห้อ Primus) ร่วมกับ Load Heater ประเภท Coil Heater ดังนี้        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Power SCR หรือ SCR Power Regulator (Model : PSTA-01N-Series ยีห้อ Primus) ร่วมกับ Load Heater ประเภท Coil Heater        Power SCR หรือ SCR Power Regulator ใช้สำหรับการควบคุมความร้อนของเตาอบ เตาเผาไฟฟ้า โดยใช้ตัว PLC หรือ Controller เป็นตัวสั่งการ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการควบคุมแบบเร่งหรี่ เช่น งานอบอาหาร งานอบขนม งานอบเซรามิก เป็นต้น เพื่อควบคุมอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำ ลดค่าพลังงานไฟฟ้าและป้องกันอุณหภูมิขึ้น-ลงเร็ว อาจส่งผลให้ชิ้นงานเสียหายได้        ข้อแนะนำ : ในการเลือกใช้งาน Power SCR Controller หรือ SCR Power Regulator นั้น ควรใช้งานไม่เกิน 70% ของกระแสสูงสุดของ SCR เช่น SCR ขนาดพิกัดกระแส 100A ดังนั้น ฮีตเตอร์ (Heater) ที่ต่อร่วมไม่ควรเกิน 70A เป็นต้น        การประยุกต์ใช้งาน Power SCR หรือ SCR Power Regulator      • อุตสาหกรรมอาหาร เช่น เตาอบขนมปัง เครื่องขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์      • อุตสาหกรรมเครื่องประดับ เช่น ตู้อบพลอย      • อุตสาหกรรมเซรามิก เช่น เตาเผาเซรามิก        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Power SCR หรือ SCR Power Regulator   เตาอบอุโมงค์ เตาเผาพลอย เตาจิวเวอรี่ อุตสาหกรรมเซรามิค เช่น เตาเผาเซรามิค 3-Phase SCR Power Regulator Digital Temperature Controller Finned Heater ฮีตเตอร์ครีบ Tubular Heater ฮีตเตอร์ท่อกลม PLC , Programmable Logic Controller   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
10 วิธีในการพิจารณาเลือก Tower Light (ไฟแจ้งเตือนสถานะของเครื่องจักร) ให้เหมาะสม

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) คือ ไฟสัญญาณแจ้งเตือนสถานะการทำงานของเครื่องจักรในกระบวนการผลิต เพื่อเป็นสัญญาณในการแจ้งเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบถึงสถานะการทำงานของเครื่องจักร ยกตัวอย่างเช่น เครื่องจักรเกิดความขัดข้อง, เครื่องจักรหยุดการทำงาน, เครื่องจักรกำลังทำงาน หรือสาเหตุอื่น ๆ เป็นต้น        ปัจจุบันทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) ที่พบเห็นในงานประเภทอุตสาหกรรมจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ, รุ่น, รูปแบบการใช้งาน, ลักษณะการติดตั้ง, ขนาด, จำนวนชั้น, สี, แรงดันไฟเลี้ยง หรือการส่งข้อมูลแจ้งเตือนผ่าน Computer ด้วย RS-485 เพื่อนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม เช่น การแจ้งเตือนแบบไฟสัญญาณ (Signal Tower Light), การแจ้งเตือนแบบไฟสัญญาณพร้อมเสียง (Signal Tower Light With Buzzer) หรือรูปแบบของไฟหมุนสัญญาณแจ้งเตือน (Rotation Warning Light) เป็นต้น        รูปแบบของไฟสัญญาณแจ้งเตือนสถานะของเครื่องจักรทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) และ ไฟหมุนสัญญาณแจ้งเตือน (Rotation Warning Light) ดังรูป   ทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) TL40-Series ทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) TL60-Series ทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light)  TL80-Series ไฟหมุนสัญญาณแจ้งเตือน (Rotation Warning Light) TLW-Series ขนาด 40 mm. ขนาด 60 mm. ขนาด 80 mm. ขนาด 105 mm.        ทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) นอกจากรูปแบบต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว การต่อใช้งานก็มีความสำคัญต่อการเลือกใช้งานของ Tower Light เช่นกัน โดยมีการต่อกับไฟเลี้ยงทั้งแบบ Supply DC (12VDC, 24VAC/DC) และการต่อแบบใช้ Supply AC (220VAC) เป็นต้น เพื่อการนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสมในการต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบควบคุม เช่น การต่อใช้งานแบบแรงดันไฟเลี้ยง 24VAC/DC ส่วนใหญ่จะใช้งานร่วมกับ PLC เป็นหลัก โดยต่อจากสัญญาณ Output ของ PLC เช่น NPN หรือ PNP เพื่อสั่งให้ LED ของ Tower Light ติดค้าง (Continuous Lighting) หรือติดกระพริบได้ โดยคำสั่ง ON-OFF จาก PLC และมีการต่อใช้งานแบบแรงดันไฟเลี้ยง 24VAC/DC (Supply แยก) หรือแรงดันไฟเลี้ยง 220VAC (Supply แยก) ดังนี้        การต่อใช้งานแบบแรงดันไฟเลี้ยง 24VAC/DC (Supply แยก) เป็นการต่อใช้งานผ่านหน้าคอนแทค (External Contact) ในการต่อใช้งานโดยใช้สาย Common (สีเทา) แบบติดค้าง (Continuous Lighting) หรือใช้สาย Common (สีน้ำตาล) แบบติดกระพริบ (Flashing  Lighting) เพื่อสั่งให้ LED ของ Tower Light ทำงาน        การต่อใช้งานแบบแรงดันไฟเลี้ยง 220VAC (Supply แยก) เป็นการต่อใช้งานผ่านหน้าคอนแทค (External Contact) ในการต่อใช้งานโดยใช้สาย Common (สีเทา) แบบติดค้าง (Continuous Lighting) หรือใช้สาย Common (สีน้ำตาล) แบบติดกระพริบ (Flashing  Lighting) เพื่อสั่งให้ LED ของ Tower Light ทำงาน เป็นต้น ซึ่งทางเราได้มีการนำเสนอกันไว้ในหัวข้อ “การต่อใช้งาน Tower Light แบบใช้ Supply DC กับ แบบใช้ Supply AC ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร?” และเพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการเลือกไฟแจ้งเตือนสถานะของเครื่องจักร (Tower Light) หรือไฟหมุนสัญญาณแจ้งเตือน (Rotation Warning Light) ที่ถูกต้อง เพื่อสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยในวันนี้เราจะมาแนะกันต่อด้วยเทคนิคเพิ่มเติมในการเลือกใช้งาน Tower Light ในหัวข้อ “10 วิธีในการพิจารณาเลือก Tower Light (ไฟแจ้งเตือนสถานะของเครื่องจักร) ให้เหมาะสม” โดยได้สรุปมาเป็น 10 ข้อ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังนี้        ยกตัวอย่าง ทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) รุ่น TL-Series ยี่ห้อ Primus   10 วิธีในการพิจารณาเลือก Tower Light (ไฟแจ้งเตือนสถานะของเครื่องจักร) ให้เหมาะสม 1. สี (Color) สามารถเลือกจำนวนสีและระบุสีได้ตามความต้องการ ** สูงสุด 5 สี (เขียว, เหลือง, แดง, น้ำเงิน, ขาว) ซึ่งแต่ละสีจะมีความหมายในการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น สีแดง หมายถึง เครื่องจักรหยุดการทำงาน, สีเหลือง หมายถึง เครื่องจักรอยู่ระหว่างการซ่อม, สีเขียว หมายถึง เครื่องจักรกำลังทำงาน เป็นต้น 2. จำนวนชั้น (Floor) จำนวนชั้นสามารถระบุเลือกตั้งแต่ 1-5 ชั้น ได้ตามความต้องการ 3. ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter) การเลือกขนาดควรพิจารณาจากพื้นที่ที่ต้องการติดตั้ง 40 mm.,60 mm., 80 mm. เป็นต้น 4. รูปแบบสัญญาณไฟแจ้งเตือน (Alarm Pattern) สัญญาณไฟติดแบบต่อเนื่อง (Continuous Lighting) และสัญญาณไฟติดแบบกระพริบ (Continuous Lighting) **โดยสามารถเลือกการกระพริบของหลอดไฟด้วยวิธีการต่อสาย 5. มีเสียง (Buzzer) / ไม่มีเสียง (None Buzzer) Buzzer แจ้งเตือนที่ความดัง 90 dB Max (at 1M.) สามารถระบุว่าต้องการ Buzzer หรือไม่ต้องการได้ 6. แรงดันไฟเลี้ยง (Power Supply) แรงดันไฟเลี้ยงมีให้เลือกเป็น 24VAC/VDC และ 100-240VAC 7. Option RS-485 สามารถระบุเลือก RS-485 MODBUS RTU Protocol Communication 8. วัสดุ (Material) Tower : ABS-V0, Bracket : ABS-V0 / Steel / SUS316, Pole : Aluminum / SUS316 9. ระดับการป้อง (IP) IP54 (ป้องกันฝุ่นได้ แต่ฝุ่นที่เล็ดลอดเข้าไปนั้นต้องไม่มีผลใด ๆ ต่อการทำงานของอุปกรณ์ และป้องกันละอองน้ำที่ตกกระทบตัวอุปกรณ์ได้จากทุกทิศทาง) 10. รูปแบบการติดตั้ง (Installation)          จากตาราง 10 วิธีในการพิจารณาเลือก Tower Light (ไฟแจ้งเตือนสถานะของเครื่องจักร) ให้เหมาะสม หากผู้ใช้งานสามารถพิจารณาเลือกรุ่นให้เหมาะสมแล้วจะส่งผลให้เกิดข้อดีในการใช้งานดังนี้      • อายุการใช้งานของทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) ยาวนานขึ้น      • ทำให้ทราบถึงสถานะการทำงานของเครื่องจักรที่ถูกต้อง ไม่เกิดอันตรายกับพนักงาน และกรณีที่เครื่องจักรขัดข้องการแสดงสถานะด้วยสัญญาณเสียงและแสงหรือการกระพริบ ทำให้พนักงานแจ้งให้ช่างเข้ามาตรวจสอบได้อย่างรวดเร็ว      • การติดตั้งที่เหมาะสมทำให้ประหยัดพื้นที่และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย      • ช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม      • ประหยัดในการเดินสาย โดยการใช้ Option RS-485 เชื่อมต่อกับ PLC หรือ Computer        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Tower Light รุ่น TL-40-300-P3B3-GYR ร่วมกับ Digital Indicator TIM-94N-ABC-M เพื่อแสดงสถานะการทำงานอุณหภูมิของเครื่องจักร        จากรูปวงจรการต่อใช้งาน Tower Light เพื่อแสดงสถานะ โดยมี Alarm แจ้งเตือนอุณหภูมิของเครื่องจักร โดยสามารถตั้งค่าอุณหภูมิที่ต้องการให้ Alarm ทำงานเพื่อโชว์ที่ Tower Light ดังนี้ (สีแดง = High, สีเหลือง = Medium, สีเขียว = Low) เป็นต้น        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Tower Light รุ่น TL-60-300-P3B3-GYR ร่วมกับ Digital Counter CMT-007A-ABC-24-220 เพื่อแสดงสถานะการทำงานของไลน์ผลิตบรรจุภัณฑ์และแสดงผลโชว์สถานะ Alarm ของชิ้นงาน        จากรูปวงจรการต่อใช้งานของ Tower Light เป็นอุปกรณ์แสดงสถานะ Alarm ของไลน์ผลิตนมเพื่อนับชิ้นงานที่ตั้งค่าไว้ โดยมี 3 Setpoint ที่ตั้งค่าไว้ เพื่อนำไปโชว์สถานะ Alarm Tower Light (สีแดง Alarm 3 = 1000 ชิ้น, สีเหลือง Alarm 2 = 500 ชิ้น, สีเขียว Alarm 1 = 100 ชิ้น)        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานไฟสัญญาณแจ้งเตือนสถานะของเครื่องจักรทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light)   Tower Light แสดงสถานะการทำงานของเครื่องจักร Tower Light แสดงสถานะ Alarm ของตู้คอนโทรล ในกรณีที่ตู้คอนโทรลมีความร้อนเกินกว่าปกติ Rotation Warning Light Signal Tower Light Slim Relay Module Switching Power Supply 5A SPDT Relay Module   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
PLC+HMI ราคาถูก มีคุณสมบัติอะไรบ้าง?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      PLC (พีแอลซี) ย่อมาจาก โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ (Programmable Logic Controller) หรือ PLC+HMI เป็นการทำงานร่วมกัน โดยใช้ PLC เป็นตัวควบคุม และ HMI เป็นตัวสื่อสารระหว่างผู้ใช้งาน (Human) กับระบบ Module PLC หรือจอแสดงผลต่าง ๆ โดยให้ PLC สั่งงานไปที่เครื่องจักร (Machine) อีกที ปัจจุบันได้มีนำ PLC+HMI มาใช้งานในอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ฯลฯ เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือระบบโซลูชั่นต่าง ๆ แบบอัตโนมัติ ซึ่งพีแอลซี (PLC) มีหลากหลายรุ่นและยี่ห้อที่แตกต่างกันเพื่อการเลือกใช้ให้เหมาะสม เช่น PLC ที่มีขนาดเล็ก (Micro PLC) ที่มีจำนวน Input/Output ไม่มากนัก (ราคาถูก) และ Vision PLC ที่มีการแสดงผลหน้าจอแบบ Graphic, LCD หรือ PLC แบบใช้ปุ่มกด (Keypad Switch), PLC แบบ Touch Screen เป็นต้น โดย PLC แต่ละรุ่นจะมีจำนวนอินพุต (Input) และเอาต์พุต (Output) ของอุปกรณ์ที่สามารถทำการเชื่อมต่อกับ PLC ได้แตกต่างกัน รวมถึงพอร์ตที่ใช้ในการสื่อสารต่าง ๆ กับ PLC ด้วย        จากบทความที่ผ่านมาทางผู้จัดทำได้มีการนำเสนอในหัวข้อ “ทำไมต้องใช้ PLC+HMI ในการควบคุมเครื่องจักรในยุคปัจจุบัน” กันไปแล้ว ซึ่งได้มีการกล่าวถึงหลักการทำงานและการประยุกต์ใช้งาน รวมถึงแนะนำ PLC+HMI รุ่นและรูปแบบต่าง ๆ ที่พบเห็นในตลาดอุตสาหกรรม ซึ่งแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ ก็มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างกันออกไป โดยในวันนี้เราจะขอแนะนำ PLC+HMI สำหรับรุ่นราคาถูก ราคาประหยัด กรณีที่ผู้ใช้งานไม่ต้องการ Features พิเศษมากนัก เพื่อเป็นตัวเลือกให้กับผู้ใช้งานที่กำลังค้นหา PLC+HMI ที่ราคาไม่แรง แต่มีคุณสมบัติครบครัน ในหัวข้อ “PLC+HMI ราคาถูก มีคุณสมบัติอะไรบ้าง” โดยจะขอยกตัวอย่าง PLC+HMI รุ่น JAZZ-Series (Jazz, Jazz-J) ซึ่งเป็น PLC ที่มีขนาดเล็ก (Micro PLC) ดังนี้        คุณสมบัติ PLC+HMI รุ่น JAZZ-Series (Jazz, Jazz-J) รุ่นราคาถูก ราคาประหยัด   Jazz Micro-OPLC Programmable Logic Control+HMI (PLC+HMI) Model : JAZZ / Brand : UNITRONICS Jazz Micro-OPLC Programmable Logic Control+HMI (PLC+HMI) Model : JAZZ-J / Brand : UNITRONICS คุณสมบัติเด่น คุณสมบัติเด่น จอแสดงผลชนิดตัวอักษร/ตัวเลข 2 บรรทัด ออกแบบหน้าจอได้ 60 หน้า IP65/NEMA4X High-Speed Counter & PWM Output Auto-Tune PID, Up to 4 Loops สามารถต่อ Input Temperature ได้โดยตรง สามารถสื่อสารแบบ RS-232/485 ได้ (Option) รองรับ Font ได้ 15 ภาษา      จากคุณสมบัติของ Jazz Micro-OPLC Programmable Logic Control+HMI (PLC+HMI) Model : JAZZ Series (UNITRONICS) และ Model : JAZZ-J Series (UNITRONICS) ข้างต้นผู้ใช้สามารถพิจารณาเลือกการใช้งานจากข้อมูล Specification ได้ตามตารางด้านล่างนี้      Specification Jazz Micro-OPLC Programmable Logic Control+HMI (PLC+HMI)        ดังนั้น หากผู้ใช้มีงบประมาณที่จำกัด PLC ที่มีขนาดเล็ก (Micro PLC/Micro OPLC) รุ่น Jazz Series และ Jazz-J Series ก็สามารถเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ได้ดี โดยสิ่งที่ต้องพิจารณาเลือก PLC+HMI ให้เหมาะสมกับงาน เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดควรมีหลักการในการพิจารณาดังนี้      • ชนิดของ Input ที่รับเข้า PLC+HMI เป็นชนิดใด ตรงกับรุ่น PLC+HMI รุ่นราคาประหยัดหรือไม่      • ชนิดของ Output สำหรับนำไปต่อร่วมเพื่อควบคุมหรือสั่งงานเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ      • สามารถต่อการใช้งานและตรวจสอบการทำงาน หรือการ Maintenance ได้ง่ายหรือไม่      • พื้นที่ในการติดตั้ง PLC+HMI      • สามารถหาสายในการเชื่อมต่อ PLC ได้ง่าย        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Jazz Micro-OPLC Programmable Logic Control+HMI (PLC+HMI) ร่วมกับเซ็นเซอร์วัอุณหภูมิ เพื่อควบคุมการให้ความร้อนของ Heater ในการอบแห้งผลไม้ ตัวอย่างการนำ PLC Jazz Micro-OPLC Programmable Logic Control+HMI (PLC+HMI) มาต่อใช้งานร่วมกับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) เพื่อควบคุมการให้ความร้อนของ Heater ในการอบแห้งผลไม้        จากตัวอย่างการต่อใช้งาน Jazz Micro-OPLC Programmable Logic Control+HMI (PLC+HMI) ร่วมกับเซ็นเซอร์วัอุณหภูมิ เช่น Thermocouple, RTD Pt100 เพื่อควบคุมการให้ความร้อนของ Heater ในการอบแห้งผลไม้ข้างต้น โดยสามารถเขียนโปรแกรม Ladder ได้ดังนี้        ตัวอย่างการเขียนโปรแกรม Ladder การต่อใช้งาน Jazz Micro-OPLC Programmable Logic Control+HMI (PLC+HMI) ร่วมกับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) เพื่อควบคุมการให้ความร้อนของ Heater ในการอบแห้งผลไม้      จากรูปเป็นการเขียนแลดเดอร์โปรแกรมแบบง่ายที่เข้าใจง่าย โดยเมื่อเราตั้งค่า SETPOINT จะนำมาลบกับค่า Diff ซึ่งจะเป็นค่าที่ตั้งให้ฮีตเตอร์ทำงาน (OUT 0) โดยค่าอุณหภูมิ TEMP SENSOR ต้องน้อยกว่าค่า Diff และถ้าอุณหภูมิมมากกว่าค่า SETPOINT จะสั่งให้ฮีตเตอร์ (Heater) หยุดทำงาน      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC (Programmable Logic Controller)   ระบบสูบน้ำการประปาภูมิภาค ติดตั้งหน้างานที่จังหวัดพะเยา ตู้ควบคุมอุณหภมิและฆ่าเชื้อในโรงพยาบาล ระบบบำบัดน้ำเสีย Jazz Micro-OPLC Vision Programmable Logic Control Temperature Sensor Finned Heater Quartz Heater   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ข้อดีของการใช้ Pump Control ร่วมกับ Soft Start & Soft Stop Motor ในการควบคุมปั๊ม

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เครื่องควบคุมปั๊มน้ำ (Water Pump Control) หรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) เป็นอุปกรณ์ควบคุมปั๊มน้ำให้ทำงานสัมพันธ์กันระหว่างระดับของบ่อพักน้ำ (Water Well) และถังเก็บน้ำ (Water Tank) สามารถใช้ได้ทั้งระบบไฟ 1 Phase และ 3 Phase โดยมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ (Water Pump) ให้เป็นแบบอัตโนมัติ โดยสั่งให้ปั๊มหยุดขณะปิดวาล์วหรือสั่งปั๊มหยุดการทำงานในขณะน้ำขาดหรือแรงดันต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ปั๊มน้ำเสียหายหรือปั๊มน้ำไหม้เกิดขึ้น โดยมีการทำงาน 3 เงื่อนไข ดังนี้        เงื่อนไขการควบคุมปั๊มน้ำของเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ (Water Pump Control) หรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control)      1. Transfer Pump ระบบการสูบน้ำจากต้นทางไปยังปลายทาง (แบบเปิด) หรือจากถังน้ำด้านล่างส่งไปที่ถังน้ำด้านบน และใช้หลักการแรงโน้มถ่วงเพื่อไปจ่ายในระบบ เหมาะสำหรับตึก, อาคารสูง โดยใช้ก้านอิเล็กโทรด, ลูกลอย (Float) หรือ Level Control เป็นต้น      2. Booster Pump ระบบปั๊มน้ำเสริมแรงดัน คือ ระบบเพิ่มแรงดัน (แบบปิด) และรักษาระดับแรงดันน้ำในท่อ โดยใช้ถังแรงดันเป็นตัวช่วยทำให้แรงดันน้ำในระบบมีความสม่ำเสมอ โดยอาศัยการทำงานของ Pressure Switch ช่วยในการตัดต่อสั่งงาน (Start) และหยุดการทำงาน (Stop)      3. Drainage Pump ระบบปั๊มน้ำของบ่อบำบัดน้ำเสีย โดยจะเช็คระดับน้ำที่ไหลเข้ามาในบ่อโดยใช้ลูกลอย (Float) ในการตรวจจับระดับน้ำเพื่อสั่งให้ปั๊มทำงาน โดยจะทำงานตรงข้ามกันกับระบบ Transfer Pump        สำหรับการใช้งานแต่ละฟังก์ชันนั้นจะมีการทำงานแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับหน้างาน โดยเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ (Water Pump Control) จะมีหลายประเภท เช่น ในตู้ควบคุมปั๊มน้ำจะมีอุปกรณ์หลาย ๆ ตัวภายในตู้ ซึ่งอุปกรณ์หลัก ๆ ที่จะต้องมี คือ อุปกรณ์เช็คกระแสเกิน (Current Protection Relay), Over Load, อุปกรณ์ป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Voltage Protection Relay), อุปกรณ์ป้องกันปั๊มน้ำเดินตัวเปล่า (Dry Run Protection Relay), อุปกรณ์ควบคุมระดับน้ำ (Level Control), มิเตอร์วัดชั่วโมงการทำงาน (Hour Counter) และอุปกรณ์แสดงผลค่าต่าง ๆ ทางไฟฟ้า เช่น มิเตอร์วัดแรงดัน (Voltmeter), มิเตอร์วัดกระแส (Ampmeter) เป็นต้น โดยปัจจุบันมีเครื่องที่ตอบโจทย์ฟังก์ชันครบทุกการทำงานต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นที่รวมไว้อยู่ภายในตัวเดียว รุ่น CM-015 ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมปั๊มน้ำ, การป้องกันปั๊มน้ำ หรือการแสดงผลระดับน้ำหรือแสดงผลค่าทางไฟฟ้าต่าง ๆ เป็นต้น        1. เครื่องควบคุมปั๊มน้ำ (Control Water Pump) หรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control)   เครื่องควบคุมปั๊มน้ำแบบ DIN Rail (Pump Relay) เครื่องควบคุมปั๊มน้ำแบบ Panel (Digital Pump Controller) Model : PM-021N-3 ยี่ห้อ Primus Model : CM-015-2 ยี่ห้อ Primus Model : CM-015-2-3-E ยี่ห้อ Primus      เครื่องควบคุมปั๊มน้ำ (Control Water Pump) หรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) โดยทั่วไปจะใช้เซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ (Level Sensor) ประเภทต่าง ๆ ในการติดตั้ง เช่น ติดตั้งโดยการใช้สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลว (Level Switch), อุปกรณ์วัดระดับแบบก้านอีเล็คโทรด (Electrode Level Switch), สวิตช์ควบคุมแรงดัน (Pressure Switch) เป็นต้น      2. Soft Start and Soft Stop Motor (ซอฟสตาร์ทและซอฟสตอปมอเตอร์) Soft Start and Soft Stop Motor (ซอฟสตาร์ทและซอฟสตอปมอเตอร์) Soft Start and Soft Stop Motor (ซอฟสตาร์ทและซอฟสตอปมอเตอร์) กราฟแสดงผลที่ได้จากการสตาร์ทแบบต่อตรงมอเตอร์ (Direct On Line) กับผลที่ได้จากการสตาร์ท แบบต่อร่วม Soft Start & Soft Stop PI-01 (1.5HP) และ PI-02 (3HP) PI-03N (7.5HP) และ PI-04N (10HP)      Soft Start and Soft Stop Motor (ซอฟสตาร์ทและซอฟสตอปมอเตอร์) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการสตาร์ทและสตอปของมอเตอร์เพื่อลดกระแสในช่วง Start และลดอาการกระชากของกระแสไฟฟ้าในช่วงของการสตาร์ทของมอเตอร์ เมื่อเทียบกับการสตาร์ทแบบปกติที่ใช้คอนแทคเตอร์ และการสตาร์ทแบบซอฟสตาร์ทยังช่วยยืดอายุการใช้งานเมื่อทำงานร่วมกับระบบแมคคานิค ทำให้มอเตอร์และกลไกขับในการเคลื่อนต่าง ๆ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น      เครื่องควบคุมปั๊มน้ำ (Control Water Pump) หรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) และ Soft Start and Soft Stop Motor (ซอฟสตาร์ทและซอฟสตอปมอเตอร์) ข้อมูลโดยละเอียดทางผู้จัดทำได้มีการนำเสนอกันไปบ้างแล้ว โดยท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ เครื่องควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว พร้อมจอแสดงผล (Twin Pump Controller) และลดปัญหามอเตอร์กระชากขณะออกตัว ด้วย Soft Start & Soft Stop โดยในวันนี้เราจะขอยกตัวอย่างการใช้อุปกรณ์เครื่องควบคุมปั๊มน้ำ (Control Water Pump) หรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) และ Soft Start and Soft Stop Motor (ซอฟสตาร์ทและซอฟสตอปมอเตอร์) ด้วยการนำเอาอุปกรณ์ทั้ง 2 ประเภทนี้มาใช้งานร่วมกันในการควบคุมปั๊ม (Pump Control) ในหัวข้อ "ข้อดีของการใช้ Pump Control ร่วมกับ Soft Start & Soft Stop Motorในการควบคุมปั๊ม"        ตารางข้อดีของการใช้อุปกรณ์ควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control) ร่วมกับ Soft Start & Soft Stop Motor ในการควบคุมปั๊ม   ข้อดีของ Pump Control ยกตัวอย่างเป็นรุ่น CM-015-2 ข้อดีของ Soft Start & Soft Stop Motor ยกตัวอย่างเป็นรุ่น PI-Series • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง • การ Wiring สายไม่ยุ่งยาก และตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงได้ง่าย • มี Function ในตัวเดียวกันหลากหลาย โดยไม่ต้องจัดหาอุปกรณ์อื่นเพิ่ม • ประหยัดงบประมาณ • สามารถทราบระดับน้ำภายในบ่อพักน้ำ (Water Well) และถังเก็บน้ำสำหรับใช้งาน (Water Tank) ขณะทำงานได้ • สามารถมองเห็นสถานะการทำงานของ Pump แต่ละตัวได้ • สามารถมองเห็นสถานะความผิดปกติของระดับน้ำ, Sensor, Voltage Protection • ในกรณีที่ปั๊มตัวใดตัวนึงมีปัญหา เราสามารถ OFF เพื่อทำการตัดระบบได้ • ช่วยให้การออกตัวของมอเตอร์แบบนิ่มนวล ซึ่งจะมีประโยชน์มากกับระบบเครนที่ใช้ยกสินค้าและเครื่องจักรแบบสายพานลำเลียง • ช่วยลดกระแสขณะ Start Motor เมื่อเทียบกับการ Start แบบ Direct On Line (DOL) • ช่วยลดการสึกหรอของ Mechanical Part ที่ติดตั้งกับมอเตอร์ได้ • สามารถเปลี่ยนการ Start แบบเก่าที่ใช้ Magnetic Contactor โดยใช้ PI-Series แทนอุปกรณ์เดิมได้  และไม่ยุ่งยากในการต่อใช้งาน • อุปกรณ์มีขนาดเล็ก (Compact Size) ทำให้ประหยัดพื้นที่ในตู้ และสามารถยึดบนราง Din Rail ได้เลย          จากตารางข้อดีของ Pump Control และ Soft Start & Soft Stop Motor ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น หากเราใช้ Pump Control ร่วมกับ Soft Start & Soft Stop Motor สามารถต่อใช้งานร่วมกันได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้        ตัวอย่างการต่อใช้งานอุปกรณ์ควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control) รุ่น PM-021N-2-3 ร่วมกับ Soft Start & Soft Stop Motor รุ่น PI-03N ในการควบคุมการทำงานของปั๊ม        การต่อใช้งาน Din Rail Pump Control รุ่น PM-021N-2-3 ร่วมกับ Soft Start & Soft Stop Motor รุ่น PI-03N (7.5 HP) ในการคอนโทรลปั๊มน้ำ Single Pump ขนาด 7.5 HP โดยจะเริ่มจากการเช็คระดับน้ำของแทงก์บนและแทงก์ล่าง หากแทงก์บนที่ใช้งานมีระดับน้ำลดต่ำจนถึง Low ตัว Pump Control ก็จะทำการสั่งให้ปั๊มน้ำสูบน้ำขึ้นแทงก์ ส่วน Soft Start & Soft Stop Motor รุ่น PI-03N ก็จะช่วยในการออกตัวของปั๊มน้ำให้ออกตัวและหยุดแบบนิ่มนวล (Soft Start and Soft Stop) ทำให้มอเตอร์ไม่เกิดการกระชากและช่วยลดการกินกระแสในช่วงสตาร์ทได้อีกด้วย        ตัวอย่างการต่อใช้งานอุปกรณ์ควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control) รุ่น CM-015-2-3-E ร่วมกับ Soft Start & Soft Stop Motor รุ่น PI-04N ในการควบคุมการทำงานของปั๊ม        การต่อใช้งาน Panel Pump Control รุ่น CM-015-2-3-E ร่วมกับ Soft Start & Soft Stop Motor รุ่น PI-04N (10 HP) ในการคอนโทรลปั๊มน้ำ แบบ Twin Pump ขนาด 10 HP โดยจะเริ่มจากการเช็คระดับน้ำของทั้งแทงก์บนและแทงก์ล่าง หากแทงก์บนที่ใช้งานมีระดับน้ำลดต่ำจนถึง Medium ตัว Pump Control ก็จะทำการสั่งให้ปั๊มน้ำสูบน้ำขึ้นแทงก์ 1 ปั๊ม และหากระดับน้ำต่ำจนถึงระดับ Low จะช่วยเสริมทำงานเป็น 2 ปั๊ม โดย Soft Start & Soft Stop Motor รุ่น PI-04N ช่วยในการออกตัวของปั๊มน้ำให้ออกตัวและหยุดแบบนิ่มนวล (Soft Start and Soft Stop) ทำให้มอเตอร์ไม่เกิดการกระชากและช่วยลดการกินกระแสในช่วงสตาร์ทได้อีกด้วย        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   ตู้คอนโทรลปั๊มน้ำ Pump Controller Pump Controller Level Control For Conductive Liquids Level Switch Pressure Transmitters   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Process Monitor Software ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลักในการผลิตสินค้า โดยมีอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบภายในเครื่องจักรหรือภายในตู้ไฟฟ้า ตู้คอนโทรล เช่น เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor), เซ็นเซอร์วัดความชื้น (Humidity Sensor) ตลอดจนวัดค่าสัญญาณทางไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งอุปกรณ์เครื่องมือวัดเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการควบคุมเพื่อให้ได้ค่าตามที่ผู้ใช้งานต้องการ โดยส่วนมากจะใช้อุปกรณ์หรือเครื่องควบคุมที่มี Output Relay เพื่อตัด-ต่อ (ON-OFF) การทำงานของอุปกรณ์ที่ต้องการควบคุม ในกรณีที่ถึงค่าที่ตั้งไว้ (Set Point) เช่น เครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล (Digital Temperature Controller), อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat), อุปกรณ์ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิแบบดิจิตอล (Digital Hygrostat and Thermostat Controller) ภายในตู้ไฟฟ้า ตู้คอนโทรล เป็นต้น ซึ่งยังต้องใช้ผู้ปฏิบัติงานไปตรวจเช็คที่หน้างานในกรณีที่ต้องตั้งค่าอุปกรณ์หรือเครื่องจักรเกิดความขัดข้อง ซึ่งอาจจะตรวจสอบได้ไม่ครอบคลุมทั้งหมดภายในกระบวนการ ซึ่งปัจจุบันในอุตสาหกรรมได้มีการพัฒนาในรูปแบบของ Software เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลดังกล่าว โดยการ Monitor ผ่าน Computer ดังนี้        Process Monitor Software เป็นโปรแกรมบริหารจัดการด้านอุณหภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity), สัญญาณทางไฟฟ้า (Analog 4-20mA, 0-10V) ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถบริหารและวางแผนการใช้ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย Process Monitor Software สามารถแสดงผลและบันทึกค่าสัญญาณทางไฟฟ้าหรือค่าอุณหภูมิและความชื้นได้ ดังนี้ Thermocouple, RTD (PT100), Current Analog (0-20mA, 4-20mA), Voltage Analog (0-75mV, 0-150mV, 0-1VDC, 0-5VDC, 0-10VDC, +/- 0-75mVDC, +- 0-150mVDC, +/- 0-1VDC, +/- 0-5VDC, +/- 0-10VDC) หรือค่าอื่น ๆ เป็นต้น (ดังรูปตัวอย่าง) รูปตัวอย่าง Process Monitor Software        Process Monitor Software เป็นโปรแกรม Software Web Server Monitoring System สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์บน TCP/IP, RS485, RS232 และ LoraWan ได้ โดยจะทำหน้าที่อ่านค่าตัวแปรที่ผู้ใช้ต้องการผ่านระบบสื่อสารและนำมาเก็บข้อมูลใน Database บนเครื่อง PC และนำข้อมูลไปแสดงผลยังหน้า Webpage โดย Protocol ที่ Process Monitor Software สามารถรองรับการใช้งานได้ ดังนี้      • MODBUS RTU Mode บนระบบ RS485      • MODBUS TCP      • LoRaWAN 1.0 โดยใช้งานร่วมกัน Femto Gateway Gemtek และอุปกรณ์ LoRa Node ของ บริษัท ไพรมัส จำกัด        จากข้อมูลข้างต้นดังกล่าว ทำให้ผู้อ่านได้ทราบถึงคุณสมบัติเบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม Process Monitor Software หรือการใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจสอบภายในกระบวนการเพื่อการบริหารจัดการด้านอุณหภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity), สัญญาณทางไฟฟ้า (Analog 4-20mA, 0-10V) เป็นต้น และเพื่อให้ผู้อ่านได้นำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทางเราจึงขอนำเสนอหัวข้อ “ Process Monitor Software ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างไร?” โดยมีประโยชน์และข้อดี ดังนี้        ข้อดีของการใช้โปรแกรม Process Monitor Software      1. สามารถดูข้อมูลผ่าน Monitor ได้แบบ Real Time และได้รับการแจ้งเตือนที่รวดเร็วขึ้น      2. สามารถดูข้อมูลย้อนหลังด้วยกราฟ จากกลุ่ม Tag ที่ผู้ใช้งานสามารถกำหนดเองได้ และยังสามารถ Export ข้อมูลเป็น Excel      3. การลด Downtime      4. ลดต้นทุนในการ Wiring สาย      5. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน      6. เข้าถึงข้อมูลและปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานได้ทันทีจากการแจ้งเตือนผ่าน Line Notify        ตัวอย่างการใช้โปรแกรม Process Monitor Software ร่วมกับ Digital Indicator TIM-94N-A-M (RS-485) ในการ Monitor และบันทึกค่าอุณหภูมิและความชื่นภายในห้อง Clean Room        จากรูปตัวอย่าง เป็นการต่อใช้งานเพื่อดึงข้อมูลจาก Digital Indicator รุ่น TIM-94N-A-M จำนวน 32 ตัว มาเข้า Process Monitor Software เพื่อเก็บข้อมูล และ Monitor จะเห็นได้ว่า RM-012N-D เป็นอุปกรณ์ตัวแปลงสัญญาณ RS485ให้เป็นสายสัญญาณ Port USB เนื่องจาก Computer ไม่สามารถต่อสาย RS-485 ได้โดยตรง        ตัวอย่างการใช้โปรแกรม Process Monitor Software ร่วมกับ Load Cell Digital Indicator CM-013-M ในการ Monitor และบันทึกค่าน้ำหนัก        จากรูปตัวอย่าง เป็นการเชื่อมต่อระหว่าง Load Cell Indicator รุ่น CM-013-M และ Process Monitor Software แบบไร้สาย โดยใช้อุปกรณ์ตัวแปลงสัญญาณแบบสัญญาณ Wifi รุ่น RM-012-Wifi เพื่อดูค่าน้ำหนัก        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานโปรแกรม Process Monitor Software   บันทึกค่าอุณหภูมิและความชื้นห้อง Clean Room เช็คสถานะการทำงานของเครื่องฉีดพลาสติกและแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหา Monitor ค่าสถานะแบบ Real Time และแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหาผ่าน Line Digital Temperature Controller Digital Temperature Controller PID Control Function Digital Indicator,Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit 4 Channel Digital Indicator Hour Conter   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK  

Image Alternative text
หลักการทำงานของดิจิตอลไทม์เมอร์ (Digital Timer) และวิธีเลือก Function การใช้งาน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Timer (ไทม์เมอร์) หากเราพูดถึง Timer หลายท่านคงเข้าใจได้ว่า คือ อุปกรณ์ตั้งเวลาในควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามเงื่อนไขและเวลาที่ตั้งไว้  เช่น ควบควมการเปิด-ปิดไฟ หรือตั้งเวลาเปิดเครื่องปรับอากาศ, ตั้งหน่วงการทำงานของมอเตอร์ขนาดเล็ก, ตั้งหน่วงการทำงานของปั๊ม, ตั้งหน่วงการทำงานของพัดลมดูดอากาศ เป็นต้น อีกทั้ง Timer ตั้งเวลายังถูกนำมาใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมและเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรในโรงงาน ในกรณีที่มีการใช้งาน Timer เพื่อตั้งเวลาตาม Function ต่าง ๆ ของ Timer แต่ละรุ่น โดยจะใช้ Timer มากกว่า 1 ตัว หรือจำนวนหลาย ๆ ตัว เพื่อควบคุมการทำงานเปิด-ปิด (ON-OFF) ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครื่องจักรหรือภายในตู้คอนโทรลซึ่งมีอุปกรณ์ในระบบหลายประเภท จึงมีเงื่อนไขในการตั้งเวลาที่แตกต่างกันเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์แต่ละตัวในระบบการผลิต โดย Timer (ไทม์เมอร์) ที่ใช้งานทั่วไป มีดังนี้      Timer (ไทม์เมอร์) ที่ใช้งานโดยทั่วไปมีทั้งแบบดิจิตอล (Digital Timer), แบบอนาล็อก/แบบปรับหมุน (Analog Timer) ดังรูป Digital Timer Digital Timer (PT-03N) Timer Switch (SMW-Series)   Delay Slim Timer Star Delta Timer (PF-01) Delay On Operate Timer (PF-02) Multi-Function Timer (PF-03) 2 Channel Multi-Function Timer (PF-04)   Relay Timer Switch Recycle Timer Delay On Make Timer (PA-01) By Pass Timer (PA-02) Delay On Break Timer (PA-03) Universal Recycle Timer (PM-020) Recycle Timer With Pause (PM-025)      จากตัวอย่างไทม์เมอร์ (Timer) รูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจากบทความครั้งที่ผ่านมาเราได้มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับไทม์เมอร์ (Timer) กันไปแล้วในหัวข้อเรื่อง “การเลือกใช้ Timer ในงานอุตสาหกรรมให้เหมาะสมกับการใช้งาน” โดยในวันนี้เราจะมาต่อเนื่องด้วยการพูดถึงหลักการทำงานและวิธีการต่อใช้งานไทม์เมอร์แบบดิจิตอล (Digital Timer) ซึ่งเป็น Timer ที่หน้าจอแสดงผลแบบตัวเลข 7-Segment (รุ่น PT-03N) และแสดงผลแบบ OLED (รุ่น SMW-Series) สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยสามารถตั้งเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ตามเวลาที่ต้องการได้ด้วยปุ่ม Keypad ในหัวข้อ "หลักการทำงานของดิจิตอลไทม์เมอร์ (Digital Timer) และวิธีเลือก Functionใช้งาน" โดยขอยกตัวอย่างไทม์เมอร์แบบดิจิตอล (Digital Timer) รุ่น PT-03N ยี่ห้อ Primus โดยเน้น Function การทำงานดังข้อมูลต่อไปนี้      กราฟแสดง 8 Function การทำงานของ Digital Timer ใช้ Timer 1 ในการทำงานสามารถกำหนดให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือนับลงก็ได้ โดย Timer จะทำงานตาม Input และสามารถใช้ Timer 3 สำหรับการ Auto Reset ได้ ใช้ Timer 1 และ Timer 2 โดยจะทำงานอิสระจากกัน สามารถกำหนดให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือลงก็ได้ โดย Timer ทั้งสองจะทำงานตาม Input และสามารถใช้ Timer 3 สำหรับ Auto Reset ได้ ใช้ Timer 1 ในการทำงานสามารถกำหนดให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือลงก็ได้ ทั้งนี้ Timer จะทำงานตาม Input และสามารถใช้ Timer 3 สำหรับ Auto Reset ได้ ใช้ Timer 1 และ Timer 2 โดยจะทำงานอิสระจากกัน สามารถกำหนดให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือลงก็ได้ Timer ทั้งสองจะทำงานตาม Input และสามารถใช้ Timer 3 สำหรับ Auto Reset ได้   ใช้ Timer 1 และ Timer 2 โดยจะทำงานสัมพันธ์กัน สามารถกำหนดให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือลงก็ได้ Timer ทั้งสองจะทำงานตาม Input ใช้ Timer 1 และ Timer 2 โดยจะทำงานสัมพันธ์กัน สามารถกำหนดให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือลงก็ได้ Timer ทั้งสองจะทำงานตาม Input ใช้ Timer 1 และ Timer 2 และ Timer 3 โดยจะทำงานสัมพันธ์กัน สามารถกำหนดให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือลงก็ได้ Timer ทั้งสามจะทำงานตาม Input ใช้ Timer 1 และ Timer 2 และ Timer 3 โดยจะทำงานสัมพันธ์กัน สามารถกำหนดให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือลงก็ได้ Timer ทั้งสามจะทำงานตาม Input      จากรูปตัวอย่างกราฟแสดง Function การทำงานของดิจิตอลไทม์เมอร์ (Digital Timer) ดังกล่าว ผู้อ่านสามารถเลือกวิธีการตั้งเวลาได้ถึง 8 Function และสามารถเลือกหน่วยเวลาเป็น mSec, Sec, Min และ Hour ได้จาก Keypad โดยการทำงานจะมีสวิตช์ควบคุมให้ Time Start (โดยต่อขั้ว 12 และ14) และในการรีเซ็ตค่าของ Timer สามารถทำได้โดยกดปุ่มรีเซ็ตจากด้านหน้าหรือต่อสวิตช์ควบคุมจากภายนอกได้ (โดยต่อขั้ว 12 และ 13) โดยขอยกตัวอย่างการต่อใช้งาน Digital Timer รุ่น PT-03N  ยี่ห้อ Primus เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรตามเวลาที่ผู้ใช้งานต้องการและวิธีการต่อสวิตช์ควบคุมจากภายนอก ดังนี้ รูปตัวอย่างการใช้ Function Digital Timer รุ่น PT-03N  ยี่ห้อ Primus เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องจักร   ใช้สำหรับงานควบคุมเวลาการอบขนมได้ โดยสามารถกำหนดเวลาให้นับได้ทั้งแบบนับขึ้นหรือนับลงก็ได้ เมื่อครบเวลาแล้วจะสั่งให้เครื่องหยุดทำงานทันที โดยเลือกใช้ Function A   รูปตัวอย่างการใช้ Function Digital Timer รุ่น PT-03N  ยี่ห้อ Primus เพื่อควบคุมการทำงานของมอเตอร์ปั๊มน้ำ   ใช้สำหรับสลับของมอเตอร์ปั๊มน้ำ ใช้ Timer 1 เพื่อสั่งให้ Pump A ทำงาน, Timer 2 เพื่อสั่งให้ Pump B ทำงาน และ Timer 3 ป้องกันไม่ให้ Pump A กับ Pump B ทำงานพร้อมกัน โดยเลือกใช้ Funcgion G        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Digital Timer (PT-03N) ควบคุมการสลับการทำงานของแอร์ห้องเซิร์ฟเวอร์ ควบคุมเวลาการทำงานของโหลด ควบคุมเวลาการทำงานฮีตเตอร์เครื่องบรรจุภัณฑ์ Timer Switch Star Delta Timer Digital Timer Switch Target Counter Hour Counter   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
วิธีการเลือก Voltage Protection Relay (โวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      โวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์ (Voltage Protection Relay), เฟสโปรเทคชั่นรีเลย์ (Phase Protection Relay) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า รีเลย์ป้องกันไฟฟ้า เป็น Relay ประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับเช็คแรงดันไฟฟ้า (Voltage) หรือป้องกันความผิดปกติที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือระบบไฟฟ้า เพื่อสั่งปลดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดปัญหาออกจากระบบไฟฟ้าโดยเร็ว โดยมีเงื่อนไขในการป้องกันและตรวจเช็ค ดังนี้        • เช็คไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage) แรงดันในขณะที่ใช้งานมีค่าเกินหรือต่ำกว่าที่กำหนด        • เช็คเฟสขาดหาย (Phase Loss) แรงดันของเฟสใดเฟสหนึ่งขาดหายไป        • เช็คเฟสไม่สมดุลย์ (Phase Unbalance) แรงดันไฟฟ้าของแต่ละเฟสที่ต่างกัน        • เช็คลำดับเฟส (Phase Sequence) แรงดันไฟฟ้าของแต่ละเฟสสลับกันหรือการเรียงลำดับเฟสไม่ถูกต้องของระบบไฟ 3 เฟส 3 สาย (3 Phase/3Wire) และ 3 เฟส 4 สาย (3 Phase/4Wire)        Voltage Protection Relay (โวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์) ที่นิยมใช้งานโดยทั่วไปมีทั้งแบบปรับหมุน (คำนวณหาเปอร์เซ็นของช่วงแรงดันไฟเกิน (Over Voltage) และช่วงแรงดันไฟตก) และแบบดิจิตอล (Digital Phase Protection Relay) ที่สามารถตั้งโปรแกรมกำหนดค่าแรงดันไฟฟ้าตามค่าจริงได้เลย โดยไม่ต้องคำนวณเปอร์เซ็นต์ของแรงดันไฟฟ้าในการตัด-ต่อ (ON-OFF)        รูปแบบต่าง ๆ ของ Voltage Protection Relay (โวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์)   1 Phase Over & Under Voltage Relay 3 Phase Under & Over Voltage and Phase Monitor Relay 3 Phase Over & Under & Phase Breaking Relay with Neutral Digital Phase Protection Relay Digital Voltage Protection Relay Digital Voltage Protection Relay PM-011 PM-017/PM-017N PM-019/PM-019N VPM-D VPM-05-D VPM-06-P3-4      จากตาราง รูปแบบของ Voltage Protection Relay (โวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์) ที่ใช้งานโดยทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรมมีมากมายหลายแบบ แล้วหากต้องการใช้งานควรจะเลือกใช้งานแบบปรับหมุนหรือแบบดิจิตอล แล้วแบบไหนดีกว่ากัน? ซึ่งเบื้องต้นเราได้มีการนำเสนอข้อมูลกันไปแล้วในหัวข้อ “Digital Phase Protection Relay เฟสโปรเทคชั่นรีเลย์แบบดิจิตอล ดีอย่างไร?” ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าไปศึกษาเพื่อทำความเข้าใจในการพิจารณาเลือกใช้ Phase Protection Relay ให้เหมาะสมกับหน้างานได้      โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำผู้อ่านถึงวิธีในการเลือกใช้งาน Voltage Protection Relay หรือ Phase Protection Relay ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ในหัวข้อ “วิธีการเลือก Voltage Protection Relay (โวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์)” เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจและสามารถเลือกรุ่นใช้งานได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสมกับหน้างาน โดยมีหัวข้อสำคัญในการเลือกดังนี้        หัวข้อสำคัญในการเลือก Voltage Protection Relay (โวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์)        • ใช้กับระบบไฟกี่เฟส? เช่น 1 เฟส, 3 เฟส (3 เฟส 3 สาย, 3 เฟส 4 สาย)        • ใช้กับแรงดันอินพุท AC หรือ DC        • ต้องการหน้าจอแสดงผลแรงดันด้วยไหม?         • ต้องการรุ่นที่ง่ายต่อการติดตั้ง การตั้งค่า และการต่อสาย (Easy operation)        • ต้องการความแม่นยำในการวัด (Accuracy)        • ต้องการป้องกันความผิดปกติที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือระบบไฟฟ้า? อาทิ ป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage), เฟสขาดหาย (Phase Loss), เฟสไม่สมดุลย์ (Phase Unbalance), สลับเฟส (Phase Sequence) เป็นต้น        • ต้องการ Voltage Protection Relay แบบดิจิตอล (ปรับตั้งค่าแบบเลือกแรงดันที่ต้องการ) หรือแบบอนาล็อก (ปรับตั้งค่าแรงดันแบบเปอร์เซ็นต์)        • ต้องการเอาท์พุทกี่เอาท์พุทเพื่อไปต่อร่วมในการตัดวงจร Magnetic Contactor, Shunt Trip สำหรับ Circuit Breaker, Undervoltage Trip สำหรับ Circuit Breaker จะมีให้เลือกทั้งแบบ 1 Output และแบบ 2 Output        • ต้องการ Function Delay Time สำหรับหน่วงเวลาการตัด-ต่อวงจรด้วยไหม?        • ต้องการดูค่าย้อนหลัง (Memory Alarm) ของการตัดวงจรครั้งล่าสุดด้วยไหม?        • ต้องการ Function Hold Alarm เพื่อให้ Output Relay Trip ค้างไว้จนกว่าจะทำการ Reset ด้วยไหม?        จากหัวข้อสำคัญในการเลือก Voltage Protection Relay (โวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์) ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เราจำแนกคุณสมบัติของ Voltage Protection Relay (โวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์) ซึ่งทำให้ผู้อ่านสามารถเลือกได้ง่ายขึ้น โดยขอยกตัวอย่าง Voltage Protection Relay หรือ Phase Protection Relay ยี่ห้อ Primus ดังตารางต่อไปนี้      จากตาราง ในการเลือก Voltage Protection Relay (โวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์) จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้งานใช้ประกอบในการพิจารณาเลือกรุ่นที่เหมาะสมกับหน้างานของท่านได้ โดยต่อวงจรการใช้งานดังตัวอย่างต่อไปนี้        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Voltage Protection Relay (โวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์) รุ่น VPM-05-P3-4-D      จากรูปการต่อวงจรในการใช้งาน Voltage Protection Relay รุ่น VPM-05-P3-4 สำหรับป้องกันแรงดัน ไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage), เฟสไม่สมดุลย์ (Phase Unbalance), สลับเฟส (Phase Sequence) ของตู้ MDB แล้วนำไปต่อร่วมกับ Shunt Trip ของ Circuit Breaker เพื่อสั่งการปลดวงจร กรณีที่ระบบไฟผิดปกติจากที่ตั้งค่าไว้ ทำให้โหลดหรือเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมไม่เกิดความเสียหายหากมีความผิดปกติของแรงดันไฟฟ้า        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Voltage Protection Relay (โวล์ทเตจโปรเทคชั่นรีเลย์) รุ่น VPM-06-P3-4      จากรูปในการใช้งาน Voltage Protection Relay รุ่น VPM-06-P3-4 เป็น Protection Relay แบบ 2 Output Relay โดยแยกอิสระกันในการทำงาน และสามารถเลือกฟังก์ชันการป้องกันได้อย่างอิสระ เช่น ป้องกันแรงดันไฟตก (Under Voltage), แรงดันไฟเกิน (Over Voltage), เฟสไม่สมดุลย์ (Phase Unbalance), เฟสขาดหาย (Phase Loss), สลับเฟส (Phase Sequence) โดยจากรูปวงจรจะใช้ Output 1 ไปต่อร่วมกับหลอดไฟหน้าตู้เพื่อแสดงสถานะของแรงดันไฟตก (Under Voltage) และ Output 2 ไปต่อร่วมกับหลอดไฟหน้าตู้เพื่อแสดงสถานะของแรงดันไฟเกิน (Over Voltage) เพื่อได้เห็นค่าที่ผิดปกติได้ชัดเจน        จากข้อมูลที่ได้นำเสนอ วิธีการเลือก Voltage Protection Relay (โวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์) ข้างต้นนั้น ทางเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านจะเกิดความเข้าใจและสามารถเลือกรุ่นการใช้งานได้ด้วยตัวเอง หากท่านผู้อ่านต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ทางเราก็มี Engineer คอยให้คำปรึกษาและบริการแก่ท่านด้วยความยินดี Digital Voltage Protection Relay Phase Protection Relay 3 Phase Under&Over Voltage And Phase Monitor Relay 3 Phase Over & Under & Phase Breaking Relay With Neutral 1 Phase Over & Under Voltage Relay โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
แนะนำการใช้ Snap-In I/O Modules กับ PLC Touch Screen

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      I/O Modules ย่อมาจาก Input/Output Modules คือ โมดูลของอินพุต (Input) และเอาต์พุต (Output) ที่มีอยู่ในตัวเดียวกัน ใช้สำหรับเพิ่ม Input และ Output (I/O) ให้กับ PLC (Programmable Logic Control) โดยมีความหลากหลายของชนิด Input/Output (I/O) เช่น Digital, Analog, Temperature, Hi-Speed I/O, Loadcell, Strian Gauge เป็นต้น ที่รวมอยู่ในตัวเดียว จึงทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งภายในตู้คอนโทรล โดยผู้ใช้งานสามารถเลือก Input/Output Modules ได้ตามต้องการ และสามารถต่อขยาย I/O Modules เพิ่มได้ จึงเหมาะสำหรับงานภาคอุตสาหกรรมที่มีการควบคุมอุปกรณ์เครื่องมือวัด เช่น เครื่องควบคุมอุหภูมิ (Temperature Controller), เซ็นเซอร์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter), เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น (Humidity & Temperature Transmitter), เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ/ชิ้นงาน (Photoelectric Sensor), เซ็นเซอร์วัดน้ำหนัก (Load cell) ฯลฯ หรือควบคุม Robot ตลอดจนควบคุมการทำงานของเครื่องจักร (Auto Machine) ที่ครอบคลุมทั้ง Solution ในระบบ      ตัวอย่าง I/O Modules (Input/Output Modules)      I/O Modules สามารถต่อใช้งานร่วมกับ PLC+HMI ได้เกือบทุกรุ่น ยี่ห้อ Unitronics (ยกเว้น รุ่น Jazz) ทั้งรูปแบบปุ่มกด (Keypad) และแบบหน้าจอสัมผัส (Touch Screen) ซึ่งจากบทความที่ผ่านมาเราได้มีการนำเสนอเกี่ยวกับ PLC+HMI ในหัวข้อเรื่อง “การใช้ PLC Touch Screen ควบคุม Inverter” เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงคุณสมบัติและประโยชน์ของ PLC หน้าจอแบบ Touch Screen และการทำงานในรูปแบบการรับส่งข้อมูลใน Register ต่าง ๆ ของ PLC โดยแสดงในรูปแบบของกราฟิก, รูปภาพ, ค่าตัวเลข, ค่าตัวอักษร หรืออื่น ๆ บนหน้าจอ Touch Screen ซึ่ง Register เหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กับ Ladder Diagram ที่เราได้โปรแกรมเอาไว้ใน PLC แล้ว โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ Snap-In I/O Modules ที่ใช้สำหรับเพิ่ม I/O ให้กับ PLC (Unitronics) รุ่น V200, V500, V1040 และ V1210 โดยสามารถต่อจากด้านหลังของ PLC ได้เลย ว่ามีรูปแบบการใช้งานและประโยชน์อย่างไร ในหัวข้อ “แนะนำการใช้ Snap-In I/O Modules กับ PLC Touch Screen” ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ตัวอย่าง Snap-In I/O Modules      Snap-In I/O Modules เป็นโมดูล (Modules) ที่ใช้สำหรับเพิ่ม Input/Output (I/O) ให้กับ PLC รุ่น V200, V500, V1040 และ V1210 โดยต่อจากด้านหลังของ PLC ได้เลย ซึ่งผู้ใช้สามารถติดตั้งด้วยตัวเอง โดยมีความหลากหลายของ Input/Output (I/O) เช่น Digital, Analog, Temperature, Hi-Speed I/O รวมไว้ในตัวเดียวทำให้ประหยัดพื้นที่ในตู้คอนโทรลได้เป็นอย่างมาก      ตัวอย่างรุ่น Snap-In I/O Modules ยี่ห้อ Unitronics      Snap-In I/O Modules ดังตัวอย่างข้างต้น เราขอยกตัวอย่างการติดตั้งของ PLC Touch Screen รุ่น V280 และวงจรการต่อใช้งาน รุ่น V570 ร่วมกับ Snap-In I/O Modules รุ่น V200-18-E3XB (ดังตาาราง) ตัวอย่างการติดตั้งและต่อใช้งานของ PLC Touch Screen รุ่น V280 ร่วมกับ Snap-In I/O Modules รุ่น V200-18-E3XB วงจรการต่อใช้งานของ PLC Touch Screen รุ่น V570 ร่วมกับ Snap-In I/O Modules รุ่น V200-18-E3XB      จากวงจรจะเห็นว่ามีไฟเลี้ยง Snap รุ่นนี้ 24 VDC ทั้งช่อง Digital และช่อง Analog โดยช่อง Analog จะต่อกับสัญญาณ Thermocouple จำนวน 2 ช่อง และสัญญาณ Analog 4-20 mA จำนวน 2 ช่อง ส่วนของ Digital Input จะรับสัญญาณจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ เป็นไฟ 24 VDC เนื่องจากมีการใช้ Wiring แบบ PNP และในส่วนของเอาต์พุตจะใช้เป็นหน้าคอนแท็ก Relay ต่อไปยัง Load ขนาด 24 VDC      Snap I/O Modules รุ่น V200-18-E3XB5 นับได้ว่าเป็นอีกรุ่นที่ยอดนิยม เพราะมีทั้ง Digital Input/Output, Analog Input/Output อีกทั้งยังสามารถใช้เป็น Input รูปแบบ Temperature Sensor RTD/PT100 และ Thermocouple ได้ด้วย โดยจะมี Digital Input ทั้งหมด 18 Input, Digital Output 15 Out Relay และ 2 Output แบบ NPN Transistor นอกจากนั้นทางด้าน Analog Input ยังสามารถรับสัญญาณแบบอิสระได้ถึง 4 ช่อง ประกอบไปด้วย Analog 0-10V, 4-20 mA, PT100, Thermocouple และยังมี Analog Output แบบอิสระได้ถึง 4 ช่อง ประกอบไปด้วย Analog 0-10V, 4-20 mA เป็นต้น      ประโยชน์ของการใช้ Snap-In I/O Modules      • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งในตู้คอนโทรล      • ลดการ Wiring สาย ทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม      • มี Input และ Output ในตัวเดียวกัน และมีประเภท Input และ Output ให้เลือกหลากหลาย      • สะดวกในการซ่อมบำรุงและตรวจสอบ      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน ระบบควบคุมห้องแรงดันลบ ชุดแสดงผลการทำงานของเครื่องยนต์ ชุดควบคุมแสดงผลของเครื่องจักรกองทัพเรือ Vision Programmable Logic Control Vision Programmable Logic Control Vision Programmable Logic Control Vision Programmable Logic Control Switching Power Supply 2.5A โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
เครื่องควบคุมปั๊มน้ำแบบ DIN Rail (Pump Relay) กับแบบ Panel (Digital Pump Controller) แตกต่างกันอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปั๊มน้ำ (Water Pump) ที่มีการใช้งานกันในหอพัก, อะพาร์ตเมนต์, อาคารตึกสูง, คอนโดมิเนียมต่าง ๆ หรือในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยปั๊มน้ำ (Water Pump) จะทำหน้าที่ในการรับ-ส่งน้ำจากต้นทางไปยังปลายทางหรือสูบน้ำจากบ่อพักน้ำใต้ดินเข้าสู่ระบบในอาคารดังกล่าวโดยตรง เรียกว่า Transfer Pump และในกรณีที่มีการใช้น้ำมากเกินไปจะต้องมีใช้ปั๊ม 2 ตัว เพื่อช่วยกันทำงาน หากปั๊มตัวที่หนึ่งทำงานไม่ทันจะทำให้ระดับแรงดันตก (Under Voltage) หรือเรียกว่า Twin Pump โดยการควบคุมของเครื่องควบคุมปั๊มน้ำหรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) จะสั่งให้ปั๊มอีกตัวทำงาน ทำให้แรงดันและระดับน้ำในระบบคงที่ หรือเรียกว่า Booster Pump ซึ่งได้มีการพูดถึงกันไปแล้วในหัวข้อ “การควบคุมปั๊มน้ำ (Water Pump) แบบ Transfer Pump กับ Booster Pump ต่างกันอย่างไร?" และในวันนี้เราจะมาพูดถึงการควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ (Water Pump) โดยเครื่องควบคุมปั๊มน้ำหรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) โดยจะยกตัวอย่างรูปแบบในการติดตั้ง ในหัวข้อเปรียบเทียบเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Relay) ระหว่างแบบติดราง (DIN Rail) กับแบบติดหน้าตู้ (Panel Digital Pump Controller) โดยจะขอยกตัวอย่างของเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว พร้อมจอแสดงผล (Twin Pump Controller) ทั้ง 3 รุ่น ดังนี้        เครื่องควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว พร้อมจอแสดงผล (Twin Pump Controller)   เครื่องควบคุมปั๊มน้ำ แบบ DIN Rail  (Pump Relay) เครื่องควบคุมปั๊มน้ำ แบบ Panel (Digital Pump Controller) Model : PM-021N-3 ยี่ห้อ Primus Model : CM-015-2 ยี่ห้อ Primus Model : CM-015-2-3-E ยี่ห้อ Primus        เครื่องควบคุมปั๊มน้ำหรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) เป็นอุปกรณ์ควบคุมปั๊มน้ำให้ทำงานสัมพันธ์กันระหว่างระดับของบ่อพักน้ำ (Water Well) และถังเก็บน้ำ (Water Tank) สามารถใช้ได้ทั้งระบบไฟ 1-Phase และ 3-Phase โดยมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ (Water Pump) ให้เป็นแบบอัตโนมัติ เช่น สั่งให้ปั๊มหยุดขณะปิดวาล์วหรือสั่งปั๊มหยุดการทำงานในขณะน้ำขาดหรือแรงดันต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ปั๊มน้ำเสียหายหรือปั๊มน้ำไหม้เกิดขึ้น ซึ่งเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control) โดยทั่วไปจะใช้เซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ (Level Sensor) ประเภทต่าง ๆในการติดตั้ง เช่น ติดตั้งโดยการใช้สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลว (Level Switch), อุปกรณ์วัดระดับแบบก้านอีเล็คโทรด (Electrode Level Switch), สวิตช์ควบคุมแรงดัน (Pressure Switch) เป็นต้น        เครื่องควบคุมปั๊มน้ำหรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) จะทำหน้าที่ควบคุมปั๊มน้ำ (Water Pump) โดยแบ่งออกหลัก ๆ เป็น 3 ประเภทตามการใช้งาน        Booster Pump คือ การรักษาแรงดันภายในระบบให้มีความคงที่สม่ำเสมอ โดยอาศัยการทำงานของ Pressure Switch เป็นตัวตัดต่อการทำงานระบบ Booster pump ที่นิยมกันจะเป็นแบบทำงานสลับ และเสริมช่วยอีกตัวเพื่อใช้ปรับตั้งแรงดันตามความต้องการ ประกอบด้วยปั๊มน้ำจำนวน 2 ตัว สลับการทำงานและเสริมช่วยการทำงาน        Transfer Pump คือ รับ-ส่งน้ำจากต้นทางไปยังปลายทาง หรือจากบ่อด้านล่างส่งไปบ่อด้านบน นิยมใช้กันมากในอะพาร์ตเมนต์ แมนชั่น หรืออาคารตึกสูง คอนโดฯ ประกอบด้วยปั๊มน้ำจำนวน 2 ตัว สลับการทำงานและเสริมช่วยการทำงาน ในกรณีที่มีการใช้น้ำมากเกินไปจะต้องมีปั๊มอีกตัวเพื่อช่วยกันทำงานหากปั๊มตัวที่หนึ่งทำงานไม่ทัน        Drain Water Pump คือ เป็นการทำงานโดยจะวัดระดับน้ำเสียในบ่อเก็บโดยส่วนใหญ่จะใช้ลูกลอยแบบสายไฟ เนื่องจากน้ำมีความสกปรกมาก ไม่เหมาะกับก้านอิเล็กโทรด เช่น ในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะมีสิ่งปฏิกูลหรือน้ำเสียเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตซึ่งจะต้องใช้ตัวปั๊มในการดูดน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วทิ้งออกไป        โดย Pump Control แต่ละรุ่นก็มีข้อแตกต่างกัน แล้วผู้ใช้งานจะเลือกรุ่นไหนเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน ดังนั้นทางเราขอแนะนำเครื่องควบคุมปั๊มน้ำหรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) แบบติดราง (DIN Rail) และแบบติดหน้าตู้ (Panel Digital Pump Controller) โดยมีข้อเปรียบเทียบดังตารางต่อไปนี้   คุณสมบัติ เครื่องควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Relay) แบบ DIN Rail (Twin Pump) ยี่ห้อ Primus เครื่องควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Relay) แบบ Panel (Digital Pump Controller) (Twin Pump) ยี่ห้อ Primus Model : PM-021N-3 Model : CM-015-2 Model : CM-015-2-3-E การติดตั้ง (DIN Rail) (Panel) (Panel) เครื่องควบคุมการทํางานของปั๊มน้ำ 2 ตัว (Twin Pump) Yes Yes Yes ใช้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส Yes Yes 3 เฟส เท่านั้น การแสดงผลแบบหน้าจอ LCD No Yes Yes ใช้กับ Level Sensor ประเภท Electrode/Float Cable Switch/Pressure Switch Yes Yes Yes Function การทํางานแบบ Water Supply (Charging) และ Drainage (Discharging) Yes Yes Yes แสดงค่า Volt (V) และ Current (A) No Yes Yes Function Under & Over Voltage Yes Yes Yes Function Phase Sequence (For 3-Phase) Yes Yes Yes Function Phase Loss (For 3-Phase) Yes Yes Yes Function Hour Counter สําหรับวัดชั่วโมงการทํางานของปั๊มและแจ้งเตือนเพื่อทําการบํารุงรักษา No Yes Yes Function Dry Run Protection ป้องกันปั๊มเดินตัวเปล่าโดยไม่มีน้ำ No Yes Yes Function Current Relay Output ตัดการทํางานของปั๊มเมื่อกระแสเกิน No Yes Yes Latching Function สําหรับสลับการทํางานของปั๊ม 2 ตัว Yes Yes Yes Booster Function สําหรับสั่งปั๊ม 2 ตัวทํางานพร้อมกันในกรณีที่ระดับน้ำลดลงมาก Yes Yes Yes Alarm Relay Output สําหรับ Overflow, Hour, Voltage, Current and Dry Run No Yes Yes Alarm Relay Output สำหรับ Overflow, Low แทงค์บน และ Overflow แทงค์ล่าง (อิสระ) No No Yes Alarm Lock ย้อนหลัง No Yes Yes Event Lock ย้อนหลัง No Yes Yes Lock Function ป้องกันไม่ให้เปลี่ยน Setting No Yes Yes Memory สําหรับจําการทํางานของปั๊มก่อนไฟดับ Yes Yes Yes Communication RS-485 No Yes No      จากข้อมูลในตารางหวังว่าจะช่วยให้ผู้ใช้งานได้พิจารณาเลือกรุ่นสำหรับการติดตั้งและการใช้งานได้อย่างเหมาะสมแล้ว  และโดยทั่วไปเรามักจะพบเห็นตู้คอนโทรลปั๊มที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลาย ๆ ตัว ภายในตู้คอนโทรล อาทิ มิเตอร์วัดแรงดัน (Voltmeter), มิเตอร์วัดกระแส (Ampmeter), มิเตอร์วัดชั่วโมงการทำงาน (Hour Counter), อุปกรณ์เช็คกระแสเกิน (Current Protection Relay), อุปกรณ์ป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Voltage Protection Relay), อุปกรณ์ป้องกันปั๊มน้ำเดินตัวเปล่า (Dry Run Protection Relay), อุปกรณ์ควบคุมระดับน้ำ (Level Control) เป็นต้น ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานต้องสิ้นเปลืองพื้นที่ในการติดตั้งภายในตู้คอนโทรล อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ Function ครบถ้วนตามที่ต้องการ ดังนั้นทางเราขอแนะนำเครื่องควบคุมปั๊มน้ำหรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) แบบ DIN Rail (Pump Relay) และแบบ Panel (Digital Pump Controller) ที่มี Function ในการทำงานต่าง ๆ ครบถ้วนภายในตัว        ตัวอย่างการติดตั้งและการต่อใช้งานเครื่องควบคุมปั๊มน้ำแบบ DIN Rail (Pump Relay)   การติดตั้งเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ แบบ DIN Rail (Pump Relay) การต่อใช้งานเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ แบบ DIN Rail (Pump Relay)              การติดตั้งเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ แบบ Panel (Digital Pump Controller) รูปตู้คอนโทรลควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว พร้อมจอแสดงผล (Twin Pump Controller) รุ่น CM-015-Series        การต่อใช้งานเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ แบบ Panel (Digital Pump Controller) รูปการต่อสายและแสดงผลของเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ Panel (Digital Pump Controller)        ข้อดีของการใช้งานเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ แบบ DIN Rail (Pump Relay) และแบบ Panel (Digital Pump Controller) ดังตัวอย่าง Model : PM-021N และ CM-015 สรุปได้ดังนี้      • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง      • การ Wiring สายไม่ยุ่งยาก และตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงได้ง่าย      • มี Function ในตัวเดียวกันหลากหลาย โดยไม่ต้องจัดหาอุปกรณ์อื่นเพิ่ม      • ประหยัดงบประมาณ      • สามารถทราบระดับน้ำภายในบ่อพักน้ำ (Water Well) และถังเก็บน้ำสำหรับใช้งาน (Water Tank) ขณะทำงานได้      • สามารถมองเห็นสถานะการทำงานของ Pump แต่ละตัวได้      • สามารถมองเห็นสถานะความผิดปกติของระดับน้ำ, Sensor, Voltage Protection      • ในกรณีที่ปั๊มตัวใดตัวนึงมีปัญหา เราสามารถ OFF เพื่อทำการตัดระบบได้        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   ตัวอย่างการต่อใช้งาน Twin Pump Controller รุ่น CM-015-2-3-E ในโรงงาน โดยมีคอนเซ็ปงานต้องการควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว ในการเติมน้ำในแทงก์   ตัวอย่างการต่อใช้งาน Twin Pump Controller รุ่น CM-015-2-1 ที่ใช้สำหรับโครงการบ้านจัดสรร ในการสูบน้ำออกจากบ่อพักน้ำ เพื่อควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว เนื่องจากปั๊มเพียง 1 ตัวสูบออกไม่ทัน ตัวอย่างการต่อใช้งาน Twin Pump Controller รุ่น PM-021N-3 ที่ใช้สำหรับควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว ในการเติมน้ำในแทงก์   Level Control  Level Switch Electrode Holder Cable Float Switch  Electronics Overload Relay โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
แนะนำการต่อใช้งานและการติดตั้ง สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ของแต่ละรุ่น

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) เป็นแหล่งจ่ายไฟตรงที่คงค่าแรงดันแบบหนึ่ง โดยมีหลักการทำงาน คือ สามารถเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่มีแรงดันสูง (High Voltage) แปลงเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ให้มีแรงดันต่ำ (Low Voltage) หรือเป็นการลดทอนแรงดันสูงให้เป็นแรงดันต่ำนั่นเอง เช่น จากแรงดันไฟฟ้าทางด้านอินพุต (Input) 220Vac แปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าทางด้านเอาต์พุต (Output) ที่มีแรงดันต่ำ 5Vdc, 12Vdc, 24Vdc เป็นต้น        ในปัจจุบันได้มีการนำสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) มาใช้งานกันอย่างแพร่หลายในงานอิเล็กทรอนิกส์และเป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยมีส่วนที่สำคัญด้วยกัน 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้ รูปแสดงวงจรเบื้องต้นของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply)        จากบทความที่เราได้มีการนำเสนอกันไปแล้วในหัวข้อ “สิ่งที่ควรรู้ก่อนเลือกซื้อสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply)”  ซึ่งได้กล่าวถึงหลักการทำงานและสิ่งที่ควรรู้ก่อนเลือกซื้อสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ทำให้ผู้อ่านสามารถพิจารณาเลือกใช้งาน Switching Power Supply ได้อย่างเหมาะสม และในวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการต่อใช้งานและการติดตั้งสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ในหัวข้อ "แนะนำการต่อใช้งานและการติดตั้ง สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ของแต่ละรุ่น"        ก่อนอื่นเราขอแนะนำสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) แต่ละรุ่น ของยี่ห้อ PM กันก่อนว่ามีรุ่นอะไรบ้าง? โดยทั้งหมดมี 4 รุ่น ดังนี้   Switching Power Supply 220VAC to 24VDC (1.2A ) / 30W Switching Power Supply 220VAC to 24VDC (2.5A) / 70W Switching Power Supply 220VAC to 24VDC (5A) / 120W Switching Power Supply 220VAC to 12VDC (10A) / 120W Model : PM-024S-1.2 Model : PM-024S-2.5 Model : PM-024S-5 Model : PM-012S-10      บ่อยครั้งที่ผู้ใช้งานมักจะพบปัญหาไฟรั่วลงบนตัวอุปกรณ์สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) หรือพบอาการเสีย ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเกิดจากผู้ใช้งานทำการติดตั้ง และ Wiring สายไม่ถูกวิธีก็เป็นได้ ดังนั้นหากเรารู้วิธีการติดตั้ง Switching Power Supply ที่ถูกต้อง จะทำให้อุปกรณ์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและเป็นการป้องกันการเสียหายของตัวอุปกรณ์อีกด้วย โดยในการต่อสาย (Wiring) ของตัว Switching Power Supply หากเราต่อสายไฟเข้ากับตัวอุปกรณ์ผิดพลาดแล้ว อาจทำให้อุปกรณ์นั้นเสียหายหรือเกิดการระเบิดได้ ดังนั้นวิธีการติดตั้ง (Installation) และการต่อสาย (Wiring) ที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร? อธิบายได้ดังนี้        การติดตั้ง Switching Power Supply สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ DIN RAIL และ Front Mounting ดังนี้        • การติดตั้ง Switching Power Supply แบบ DIN RAIL   การติดตั้ง Switching Power Supply Model : PM-024S-2.5 เข้ากับ DIN RAIL (ด้านข้าง) การติดตั้ง Switching Power Supply Model : PM-024S-2.5 เข้ากับ DIN RAIL (ด้านหน้า)      การติดตั้งสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) เข้ากับรางปีกนก หรือ ราง DIN RAIL หรือการเคลื่อนย้ายออกจากรางปีกนก หรือ ราง DIN RAIL นั้น ผู้ใช้ควรใช้เครื่องมือที่ถูกต้องในการติดตั้งหรือเคลื่อนย้าย เช่น ไขควง เป็นต้น และปฏิบัติอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์นั้นเกิดความเสียหาย   รูปแสดงการติดตั้ง Switching Power Supply แบบ DIN RAIL จำนวน 2 ตัว      กรณีที่ผู้ใช้งานทำการติดตั้งสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) จำนวน 2 ตัวขึ้นไป ควรเว้นระยะห่างระหว่างตัวสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) อย่างน้อย 20 mm. และควรมีช่องว่างให้อากาศได้ถ่ายเทที่ด้านบนหรือด้านล่างอย่างน้อย 75 mm. เพื่อให้มีบริเวณที่ไว้ระบายความร้อนจากตัว Switching Power Supply          • การติดตั้ง Switching Power Supply แบบ Front Mounting สามารถติดตั้งได้หลายวิธี   ติดตั้งโดยใช้ Screws ติดตั้งโดยใช้อุปกรณ์เสริม        การต่อสาย (Wiring) สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply)      การต่อสาย (Wiring) เข้ากับขั้วต่อไฟ (Terminal) ของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) เป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ใช้จะต้องคำนึงในเรื่องของความถูกต้อง หากมีการต่อผิดพลาดอาจทำให้สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) เกิดความเสียหายหรือใช้งานไม่มีประสิธิภาพได้ โดยแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ลักษณะการต่อใช้งานไม่เหมือนกัน โดยเราจะขอยกตัวอย่างการต่อใช้งานสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) รุ่น PM-024S Series Brand Primus ดังนี้   Model : PM-024S-1.2 (ยี่ห้อ Primus) ตัวอย่างการต่อใช้งาน Switching Power Supply ร่วมกับ PLC     Model : PM-024S-2.5 (ยี่ห้อ Primus) ตัวอย่างการต่อใช้งาน Switching Power Supply ร่วมกับ Humidity Transmitter และ Digital Indicator   Model : PM-024S-5 (ยี่ห้อ Primus) ตัวอย่างการต่อใช้งาน Switching Power Supply ร่วมกับ Digital Indicator และ Ultrasonic Level Sensor   Model : PM-012-10 (ยี่ห้อ Primus) ตัวอย่างการต่อใช้งาน Switching Power Supply ร่วมกับ Temperature Controller และ Solid State Relay        ข้อแนะนำเกี่ยวกับสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply)      • สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ที่มีจำหน่ายในปัจจุบันจะมาพร้อมกับ Function ต่างๆ เพื่อยืดอายุการใช้งานสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ให้ยาวนานขึ้น อาทิ ระบบป้องกัน Short Circuit, Overload, Over Temperature Protection, ช่อง Air Flow สำหรับระบายความร้อน, ระบบ SELV (Safety Extra Low Voltage), PELV (Protective Extra Low Voltage) เป็นต้น      • มีระบบ Adjust ค่าแรงดัน เพื่อปรับค่าชดเชยแรงดันไฟฟ้า Vdc สามารถปรับ Adjust เพิ่มหรือลดค่าแรงดันไฟฟ้า Vdc ได้      • มีขั้วต่อไฟ Ground ด้านแรงดันอินพุต กรณีเกิดไฟรั่วสามารถให้กระแสไหลลงผ่านอุปกรณ์ไปยัง Ground และลงดินได้        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply)   ตู้คอนโทรลใช้งานร่วมกัน Photo Sensors / Relay Module / Timer ตู้คอนโทรลใช้งานร่วมกัน Photo Sensors / Relay Module / PLC ตู้คอนโทรลใช้งานร่วมกัน PLC / Relay Module Signal Tower Light 40 mm. Signal Tower Light 80 mm. Rotation Warning  Light Relay Module Digital Indicator โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ควบคุมอุณหภูมิตู้แช่ด้วย Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      การทำความเย็น (Refrigeration) คือ กระบวนการถ่ายเทความร้อนออกจากพื้นที่หรือวัตถุที่ต้องการทำความเย็น หรือเป็นกระบวนการลดและรักษาอุณหภูมิของพื้นที่หรือวัตถุที่ต้องการทำความเย็นให้ต่ำหรืออุณหภูมิติดลบกว่าอุณหภูมิรอบ ๆ ในปัจจุบันเราอาศัยระบบทำความเย็น (Refrigerator System) มาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรม ได้แก่ การผลิตอาหาร การเก็บรักษาอาหาร การแช่แข็ง การทำความเย็นในตู้แช่  ห้องเย็น โรงน้ำแข็ง เป็นต้น ซึ่งในการควบคุมอุณหภูมิของระบบทำความเย็น (Refrigerator System) ในงานอุตสาหกรรม เราขอยกตัวอย่างการนำเอาเครื่องควบคุมอุณหภูมิขนาดเล็ก (Mini Temperature Controller) เพื่อใช้สำหรับควบคุมการเพิ่มหรือลดของอุณหภูมิให้ได้ตามค่าที่ตั้งไว้ (Setpoint) ในกระบวนการ ซึ่งเราได้มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกใช้งาน Temperature Controller เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท ในหัวข้อ การเลือกใช้ Temperature Controller และ Defrost Controller อย่างไรให้เหมาะสมกับงาน กันไปแล้ว เพื่อให้ผู้ใช้งานได้พิจารณาเลือกใช้ Temp Control ได้ตามความเหมาะสมกับหน้างาน        โดยในวันนี้เราจะขอนำเสนอเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) ที่มีฟังก์ชันการละลายน้ำแข็งสำหรับงานตู้แช่  ตู้แช่อาหาร เครื่องแช่ ห้องเย็น เป็นต้น หรือที่เรียกว่า Refrigerator Controller, Defrost Controller ในหัวข้อ "ควบคุมอุณหภูมิตู้แช่ด้วย Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller" ที่เน้นในเรื่องของการควบคุมอุณหภูมิด้านความเย็นเพื่อควบคุมปริมาณน้ำแข็ง เพราะการผลิตหรือเก็บรักษาอาหารหรือผลผลิตทางการเกษตรบางประเภทจะควบคุมให้มีความชื้นในอากาศสูง เพื่อรักษาให้อาหารหรือผักผลไม้มีความสด ไม่เหี่ยวเฉา ทำให้เกิดน้ำแข็งจำนวนมากที่ผิวคอยล์เย็น   Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller รุ่น DEF-01-F3 หน้าจอการแสดงผลของ Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller รุ่น DEF-01-F3        Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller เป็นเครื่องควบคุมอุณหภูมิสำหรับตู้แช่และระบบทำความเย็นที่มีฟังก์ชันการละลายน้ำแข็ง (Defrost) โดยเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิที่ใช้ในตัวควบคุมประเภทนี้จะเป็น Thermister ชนิด  NTC หรือ PTC ซึ่งสามารถวัดอุณหภูมิในย่านติดลบได้ดี (-40 ถึง 130 ํC) โดยควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์ (Compressor) เพื่อใช้ในการเพิ่มความดันให้กับน้ำยาหรือสารทำความเย็น อาทิ ตู้แช่เย็น, ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น, ระบบควบคุมความดัน พัดลม รวมถึงระบบทำความเย็นสำหรับอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยในรุ่น DEF-01-Series มีระบบป้องกันแรงดันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage Protection) ในตัว เพื่อป้องกันคอมเพรสเซอร์ (Compressor) เสียหายและช่วยลดการ Wiring สายไฟอีกด้วย        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller รุ่น DEF-01-F3 (Mini Digital Refrigeration Temperature Controller)      จากรูป ตัวอย่างการต่อใช้งาน Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller รุ่น DEF-01-F3 ในการควบคุมอุณหภูมิตู้แช่ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องประกอบด้วย เครื่องควบคุมอุณหภูมิ Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller ทำหน้าที่รับอินพุตจาก Thermistor NTC, PTC โดยการควบคุมของ Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller รุ่น DEF-01-Series สามารถควบคุมได้ทั้งระบบความร้อนและระบบทำความเย็น คือ      • การควบคุมแบบระบบความเย็น คือ Output จะทำงานเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าค่า Setpoint      • การควบคุมแบบระบบความร้อน คือ Output จะทำงานเมื่ออุณหภูมิสูงกว่าค่า Setpoint        กล่าวคือ การทำงานของ Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller รุ่น DEF-01-Series จะทำการวัดอุณหภูมิเพื่อควบคุมการทำงานของ COMP. Relay เพื่อสั่งให้คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำงานจนอุณหภูมิลดลงถึงค่า Setpoint ที่ตั้งไว้ และจะกลับมาทำงานอีกครั้งเมื่ออุณหภูมิสูงกว่าหรือเท่ากับค่า Setpoint + Hysteresis หากตั้งการทำงานเป็น Heating จะทำให้ COMP. Relay ทำงานตรงกันข้าม เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดค่าหน่วงเวลาการทำงานของคอมเพรสเซอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้คอมเพรสเซอร์ทำงานบ่อยและหนักมากเกินไปเพราะจะทำให้ Compressor เสียหายได้        Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller รุ่น DEF-01-Series มี Function Alarm เป็นแบบ Deviation Alarm (ค่าที่ตั้งเปลี่ยนแปลงตาม Setpoint) และแบบ Absolute Alarm (ค่าที่ตั้งไม่เกี่ยวข้องกับ Setpoint) สามารถแจ้งเตือนอุณหภูมิได้ถึง 8 Function ดังนี้ 8 Function ฟังก์ชันการทํางานของ Alarm        ระบบการละลายน้ำแข็ง (Defrost) สามารถสั่งงานได้จากปุ่มกด Digital Input หรือตามช่วงเวลาที่กำหนด และสามารถเลือกใช้การละลายน้ำแข็งได้ทั้งแบบ Electrical Heater หรือ Hot Gas (ดังตาราง)      Digital Input สามารถตั้งให้รับอินพุตเพื่อใช้ทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น แสดงสัญญาณเตือนเริ่มการทำงานของระบบละลายน้ำแข็ง สวิตช์แรงดันหรือสวิตช์เปิด-ปิดประตู หรือม่าน เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถตั้งหน่วงเวลาก่อนการแจ้งเตือนได้อีกด้วย      Voltage Protection เป็น Function  Over-Under Voltage Protection เพื่อเช็คแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับระบบ โดยหากมีแรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่าหรือต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้ Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller รุ่น DEF-01-Series จะหยุดการทำงานทั้งหมดหลังจากเวลาที่ตั้งไว้ เพื่อป้องกันคอมเพรสเซอร์หรือระบบทำความเย็นเสียหาย        Option เสริม ใช้ร่วมกับ Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller : Dongle Module ใช้ทำหน้าที่เพิ่มเติม ดังนี้   Dongle Module 1 ใช้สำหรับเก็บข้อมูลในการตั้ง Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller โดยจะทำการคัดลอกค่า Setting Program, Setpoint และ Function ให้เหมือนกันทุกตัวตาม Master   Dongle Module 2 ใช้สำหรับต่อ RS-485 Module เพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์ Dongle Module 3 ใช้สำหรับต่อ Terminal เพิ่มเติมสำหรับ Probe 4      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller ตู้แช่แข็ง ตู้แช่แข็งตู้แช่อาหารสแตนเลส (แช่เย็น-แช่แข็ง) ตู้แช่เครื่องดื่ม NTC/PTC Temperature Coefficient  Mini Process Controller NTC & PTC Digital Temperature Controller Mini Temperature Controller (Thermocouple&PT100 Input) Digital Temperature Controller PID Control Function โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
4 สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อมัลติมิเตอร์ (Multimeter, Power Meter)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      พาวเวอร์มิเตอร์ (Power Meter) หรือ มัลติมิเตอร์ (Multifunction Power Meter) เป็นมิเตอร์ที่วัดและวิเคราะห์และแสดงผลค่าพลังงานต่าง ๆ ทางไฟฟ้าของหน่วยที่วัดได้ในขณะนั้น เช่น V (Line), V (Phase),  A (Phase), kW, kvar, kVA, kWh, kvarh, kVAh, PF, Hz, kW Demand, Peak Demand,  THD (Harmonic) เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน Power Meter บางรุ่นก็ได้มีการพัฒนาให้สามารถกําหนดช่วงเวลาในการเก็บค่าพลังงานไฟฟ้า (Tariff) ได้ 12 ช่วงเวลา และเก็บ Log File ของค่า Tariff ได้ 12 เดือน และยังสามารถวัดและตรวจเช็คค่าทางไฟฟ้าได้ เช่น Sag Swell, Over Voltage, Under Voltage, Over Current, Under Current, Phase Sequence, Phase Loss, Phase Unbalance, THD และ HD 0-63 Order และบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวได้ 50 ค่า สำหรับระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส และ 3 เฟส ได้อีกด้วย (ในรุ่น KM-07N-1)        ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับมิเตอร์ (Meter) กันก่อน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมิเตอร์ (Meter) จะมีในรูปแบบการแสดงผลหลัก ๆ ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ การแสดงผลแบบเข็ม (Analog Meter) และการแสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Meter) ดังรูป   มิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter) มิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) มิเตอร์แบบเข็ม หรือ อนาล็อกมิเตอร์ (Analog Meter) ใช้วิธีการอ่านค่าในรูปแบบเข็ม มีสเกลของมิเตอร์เพื่อใช้ในการอ่านค่า หลักการทำงานของมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter) จะใช้หลักการของ Moving Coil โดยการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดเคลื่อนที่ (Moving Coil) ซึ่งเข็มของมิเตอร์จะเปลี่ยนแปลงมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสที่ไหลผ่านขดลวด ซึ่งในการอ่านค่าของมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter) อาจเกิดความผิดพลาดได้ มิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) ใช้วิธีการอ่านค่าในรูปแบบดิจิตอล โดยจะอาศัยหลักการของการเปลี่ยนแปลงสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) ที่เข้ามาให้เป็นสัญญาณดิจิตอล โดยผ่านตัว A/D Converter แล้วทำการแสดงผลผ่านตัวเลขในรูปแบบ LCD 7-Segment ซึ่งมีความแม่นยำของข้อมูลมากกว่ามิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter)      จากข้อมูลตารางข้างต้นทำให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง มิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter) กับ มิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) ทั้งหลักการและรูปแบบในการอ่านค่าทางไฟฟ้าคร่าว ๆ กันไปแล้ว ซึ่งพาวเวอร์มิเตอร์ (Power Meter) หรือ มัลติมิเตอร์ (Multifunction Power Meter) ก็มีมากมายหลากหลายแบบในท้องตลาด โดยแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ ก็มีความแตกต่างกันออกไป แล้วเราจะมีวิธีการเลือกใช้งานแบบไหนที่ตรงกับหน้างานและสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการวางแผนการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเราได้มีการนำเสนอกันไปบ้างแล้วในบทความหัวข้อ มัลติมิเตอร์วัดและวิเคราะห์พลังงานทางไฟฟ้า และ SCADA SOFTWARE ระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรม โดยในวันนี้นี้เราจะมาแนะนำข้อมูลสำหรับการพิจารณาเลือกซื้อ Multifunction Power Meter ในหัวข้อ 4 สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อมัลติมิเตอร์ (Multimeter, Power Meter) ดังนี้      1. ความละเอียด/ความเที่ยงตรง (Accuracy) ที่ต้องการใช้งาน   ตัวอย่างความละเอียด/ความเที่ยงตรง (Accuracy) ของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) รุ่น KM-07N-1 ตัวอย่างความละเอียด/ความเที่ยงตรง (Accuracy) ของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Mete) รุ่น KM-24-L                ความเที่ยงตรงในการวัดค่าทางไฟฟ้าต่าง ๆ เป็นสิ่งที่จำเป็น โดยมิเตอร์แต่ละรุ่นจะมีความเที่ยงตรงที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับสเปคของอุปกรณ์นั้น ๆ ถ้าเราต้องการนำค่าทางไฟฟ้าต่าง ๆ ไปใช้งานเช่น นำไปใช้ในการเก็บค่าพลังงานไฟฟ้าและคิดเงินเป็นบิลค่าไฟเพื่อเปรียบเทียบกับบิลการไฟฟ้าที่เราจ่ายทุกเดือน หรือใช้ในการเก็บเงินรายเดือนของหอพักและอะพาร์ตเมนต์ ซึ่งจำเป็นต้องมีความเที่ยงตรงและแม่นยำในการวัด และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับแก่ผู้ใช้งาน      2. ค่าที่ผู้ใช้ต้องการวัดเพื่อเลือกมิเตอร์ให้เหมาะสม   ตัวอย่างค่าที่วัดได้ของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) รุ่น KM-07N-1 ตัวอย่างค่าที่วัดได้ของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) รุ่น KM-24-L              โดยทั่วไปการพิจารณาเลือกมิเตอร์ว่าสามารถวัดค่าอะไรได้บ้าง? ผู้ใช้สามารถพิจารณาจากตารางข้อมูลทางเทคนิคหรือคุณสมบัติจาก Data Sheet หรือพิจารณาจากหน้า Display ของพาวเวอร์มิเตอร์ (Meter) หรือ มัลติมิเตอร์ (Multimeter) ได้ โดยค่าที่วัดได้มีตั้งแต่ค่าทางไฟฟ้าค่าเดียว เช่น มิเตอร์วัด Volt, Amp, kWh Meter ไปจนถึงวัดค่าทางไฟฟ้าได้ทั้งหมดในตัวเดียว เช่น Power Meter      3. การติดตั้งของพาวเวอร์มิเตอร์ (Meter) หรือ มัลติมิเตอร์ (Multimeter)   ตัวอย่าง การติดตั้งของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) รุ่น KM-07N-1 ตัวอย่าง Input Impedance ของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) รุ่น KM-24-L การติดตั้งหน้าตู้คอนโทรล : ทำให้สามารถมองเห็นค่าได้อย่างชัดเจน การติดตั้งในตู้คอนโทรล : ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง      4. ฟังก์ชั่นเพิ่มเติมพาวเวอร์มิเตอร์ (Meter) หรือ มัลติมิเตอร์ (Multimeter) ที่ต้องการ อาทิ พอร์ทสื่อสาร RS-485, Hour Counter, Protection Relay, Water Meter เป็นต้น ตัวอย่าง ฟังก์ชั่นเพิ่มเติมของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) รุ่น KM-07N-1 ตัวอย่าง ฟังก์ชั่นเพิ่มเติมของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) รุ่น KM-24-L Power Meter มีพอร์ทการสื่อสาร RS-485 ใช้สำหรับเก็บค่าทางไฟฟ้าต่าง ๆ และดูค่าพลังงานผ่านคอมพิวเตอร์แทนการเดินจดค่า   Power Meter มีพอร์ทการสื่อสาร RS-485 ใช้สำหรับเก็บค่าทางไฟฟ้าต่าง ๆ และดูค่าพลังงานผ่านคอมพิวเตอร์แทนการเดินจดค่า และยังสามารรับสัญญาณจากมิเตอร์น้ำได้ในตัวเดียวกัน      จากข้อมูลการแนะนำ “4 สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อมัลติมิเตอร์ (Multimeter, Power Meter)”  ดังกล่าว เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการเลือกมิเตอร์ให้เหมาะสมแล้ว นอกจากนี้วิธีการต่อใช้งานมิเตอร์ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน ดังนั้นเราจึงขอยกตัวอย่างวิธีการต่อใช้งานมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) รุ่น KM-07N-1 ร่วมกับ Software Prisoft (ดังตัวอย่าง)        ตัวอย่างการต่อใช้งานมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) รุ่น KM-07N-1 กับ Software Prisoft        ตัวอย่างวิธีการต่อใช้งานมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) รุ่น KM-24-L ต่อร่วมกับมิเตอร์น้ำ และเชื่อมต่อผ่าน Software Prisoft        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   การติดตั้ง Power Meter วัดค่าพลังงานตู้ MDB การติดตั้ง LoRa Meter เก็บค่าการใช้ไฟฟ้าและการใช้น้ำในหอพัก 3 Phase Power And Energy Meter With RS485 USB to RS-422/ RS-485 Converter Wireless RS-485 TO LoRaWAN Converter RS-485 DATA LOGGER Prisoft เป็น Software Web Server Monitoring System โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การใช้ PLC Touch Screen ควบคุม Inverter

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      PLC (Programmable Logic Controller) อุปกรณ์สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องจักรแบบอัตโนมัติที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งได้มีการนำเสนอกันไว้ในหัวข้อ "ทำไมต้องใช้ PLC+HMI ในการควบคุมเครื่องจักรในยุคปัจจุบัน" โดย PLC มีหน้าจอแสดงผลรูปแบบต่าง ๆ เช่น PLC จอแสดงผลชนิดตัวอักษร, PLC จอแสดงผลชนิด TFT ความละเอียดสี 65,536สี+LED BACKLIGHT, PLC จอแสดงผลแบบ Touch Screen ที่ถูกออกแบบให้แสดงผลเป็นรูปภาพ (Picture), กราฟิก (Graphics), ตัวเลข (Number) และกราฟเส้น (Line Graph) เป็นต้น โดยผู้เขียนโปรแกรมมีขนาดจอตั้งแต่ 3.5” - 15.6” (Unitronics) ซึ่งแต่ละรุ่นก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป โดยในวันนี้เราจะขอแนะนำ PLC แบบหน้าจอสัมผัส (Touch Screen) แบบโปรแกรมได้ สามารถทำงานได้ทั้งการรับและการแสดงผลข้อมูล ซึ่งในส่วนของการใช้งานหน้าจอทัชสกรีน (Touch Screen) ร่วมกับ PLC  มีส่วนประกอบหลัก ๆ ด้วยกัน 3 ส่วน คือ ตัว Touch Screen, Cable Link และส่วนที่เป็น Software นั่นเอง โดย Touch Screen PLC มีรูปแบบดังนี้        PLC Touch Screen   SAMBA V570 COLOR OPLCTH 1040 COLOR OPLCTH V280 GRAPHIC/TOUCH OPLCTH V530 GRAPHIC/TOUCH OPLCTH UNISTREAM COLOR OPLCTH      PLC หน้าจอแบบ Touch Screen เป็นการทำงานในรูปแบบการส่งและรับข้อมูลของ Register ต่าง ๆ ใน PLC ไม่ว่าจะเป็น Input, Relay หรือ Output โดยมาแสดงในรูปแบบของกราฟิก, รูปภาพ, ค่าตัวเลข, ค่าตัวอักษร หรืออื่น ๆ บนหน้าจอ Touch Screen ซึ่ง Register เหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กับ Ladder Diagram ที่เราได้โปรแกรมเอาไว้ใน PLC เช่น การโปรแกรมออกแบบ Switch ไว้บนหน้าจอ Touch Screen และกำหนดค่า Register เมื่อกดปุ่มดังกล่าวในหน้าจอ Touch Screen จะส่งผลให้ Register ใน PLC ทำงานด้วย      จากรูปตารางแสดงรุ่นต่าง ๆ ของ PLC Touch Screen ยี่ห้อ Unitronics ต่อมาเราจะแนะนำการใช้งาน PLC Touch Screen ในการควบคุม Inverter เนื่องจากปัจจุบันในภาคอุตสาหกรรมได้มีการนำ Inverter มาใช้ในการควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ (RPM) และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมอเตอร์สำหรับเครื่องจักรกันอย่างแพร่หลายเรียกได้ว่า Inverter เป็นส่วนสำคัญในกระบวนการผลิตเลยก็ว่าได้ ซึ่งแน่นอนว่า Inverter ส่วนมากยังคงมี I/O มาให้เราใช้เพื่อสามารถให้ PLC สั่งงาน Inverter ผ่านทาง I/O รูปแบบเดิมได้ หรือผ่านช่องการสื่อสาร RS485/R232        ในหัวข้อ การใช้ PLC Touch Screen ควบคุม Inverter โดยเราจะยกตัวอย่างการใช้งาน PLC โดยการสั่งงานผ่าน RS485 จาก HMI UNITRONICS ไปยัง INVERTER SINAMICS V20 ในการควบคุมมอเตอร์ (ดังรูป)        ยกตัวอย่าง Invertor ด้วย PLC แบบ Touch Screen รูปแสดงการสั่งงาน HMI UNITRONICS ผ่าน RS485 ไปยัง INVERTER SINAMICS V20        จากรูปเป็นการสั่งงานผ่าน RS485 จาก HMI UNITRONICS ไปยัง INVERTER SINAMICS V20 โดยสามารถนำมาเขียนโปรแกรมด้วย Ladder ดังนี้ ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมด้วย Ladder ของ PLC แบบ Touch Screen เพื่อควบคุม Invertor INVERTER SINAMICS V20        จากรูป เป็นการเขียนโปรแกรมในส่วนของ HMI และในส่วนของ LEDDER โดยจะเป็น Block สำเร็จรูป โดยหลักจะทำการตั้งค่า Port Communication มาตรฐานให้ตรงกับอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อซึ่งคือตัว Inverter โดยเราจะตั้ง Baud Rate, Parity, Stop Bit เป็นต้น        ดังรูปจะเป็นออกเป็น 4 Block หลัก คือ การตั้งค่า Port, การใช้คำสั่ง Start, การใช้คำสั่ง Stop และการใช้งานคำสั่งเปลี่ยนความถี่ของ Inverter เป็นต้น        ข้อดีของการใช้ PLC Touch Screen ควบคุม Inverter      • สามารถออกแบบกราฟิก, ปุ่มกด (Switch) ได้ตามความต้องการ      • เพื่อให้มีความยืดหยุ่นต่อการใช้งาน      • กรณีใช้เป็นแบบ RS485 จะลดความซับซ้อนในการ Wiring สายคอนโทรล        ประโยชน์ของการใช้งาน PLC+HMI ในการควบคุมเครื่องจักร      • PLC+HMI ควบคุมระบบการทำงานของเครื่องจักรต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ      • PLC+HMI เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ Input และ Output ได้หลากหลาย      • PLC+HMI ง่ายต่อการใช้งาน ตรวจสอบการทำงาน หรือการ Maintenance      • PLC+HMI มีฟังก์ชันต่าง ๆ การทำงานหลากหลาย สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานกับงานอุตสาหกรรมได้มากมาย      • PLC+HMI ลดความซับซ้อนในการออกแบบระบบ เนื่องจากมีทั้ง HMI และ PLC อยู่ภายในตัวเดียว        ตัวอย่างการประยุกต์ไช้งาน PLC (Programmable Logic Controller) UNITRONICS   เครื่องควบคุมแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ ชุดควบคุมอุณหภูมิห้องแรงดันลบ ระบบควบคุมระบบน้ำในกระบวนการผลิต   Switching Power Supply 1.2A Switching Power Supply 2.5A Switching Power Supply 5A Digital Remote Display Panel SPDT Relay Module โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
วิธีการเลือกฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ให้เหมาะสมกับหน้างาน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) คือ ฮีตเตอร์ท่อกลมแบบที่ไม่ติดครีบ หรือฮีตเตอร์ท่อกลมแบบติดครีบ เรียกว่า ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) โดยฮีตเตอร์ท่อกลมทั้ง 2 แบบสามารถดัดงอได้ตามลักษณะหน้างานการติดตั้ง สามารถใช้ให้ความร้อนได้ทั้งอากาศ, ของเหลวและโมลด์โลหะ นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไป เช่น      • ใช้ให้ความร้อนกับอากาศ เช่น ให้ความร้อนกับอากาศภายในห้อง, งานอบชิ้นงานอุตสาหกรรมรถยนต์, อบพลาสติก, อบไม้, อบแม่พิมพ์, อบสี, อบใยผ้า, ลดความชื้นในระบบทำความเย็น เป็นต้น      • ใช้ให้ความร้อนกับของเหลว เช่น ต้มน้ำในอ่างน้ำร้อน, เครื่องทำน้ำร้อนขนาดเล็ก เป็นต้น      • ใช้ให้ความร้อนกับโมลด์โลหะ เช่น งานแม่พิมพ์โลหะ เป็นต้น        ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) มีวัสดุให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมกับงานทั้ง SUS 304, SUS 316, Incoloy 840, ทองแดง เป็นต้น และนอกจากนี้ยังสามารถดัดงอเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้หลากหลายตามลักษณะการติดตั้งหน้างาน โดยส่วนมากรูปแบบ Tubular Heater ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม มีดังนี้   ฮีตเตอร์ท่อกลมแบบตัว I (Tubular Heater I-Shape) ฮีตเตอร์ท่อกลมแบบตัว U (Tubular Heater U-Shape) ฮีตเตอร์ท่อกลมแบบตัว W (Tubular Heater W-Shape) ฮีตเตอร์ท่อกลมแบบขดยากันยุง        ในวันนี้เราจะมาแนะนำการเลือกใช้งานฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ที่ใช้ให้ความร้อนโดยตรงในอากาศ เพื่องานอบแห้ง, ไล่ความชื้น, อบสี, อบขนม, อาหาร ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ในหัวข้อ "วิธีการเลือกฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ให้เหมาะสมกับหน้างาน" ว่ามีหลักการอย่างไร? และต้องมีข้อมูลอะไรบ้างในการเลือกใช้งาน โดยจำแนกได้ดังนี้   ข้อมูลสำคัญในการเลือกฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ให้เหมาะสมกับหน้างาน      1. วัสดุของท่อ โดยมีวัสดุให้ได้เลือกหลากหลายชนิด ที่เหมาะกับทุกลักษณะงาน           1.1 SUS 304 เหมาะกับงานอากาศ, ของเหลวทั่วไป           1.2 SUS 316 เหมาะกับงานอากาศ, ของเหลวทั่วไป           1.3 Incoloy 840 เหมาะกับอากาศที่ไม่หมุนเวียน, งานสารเคมี           1.4 Copper เหมาะกับงานของเหลว (ลดการเกาะของตะกรัน)      2. การออกแบบกำลังวัตต์ ที่ต้องมีค่าวัตต์/พื้นที่ (Watt Density) และแรงดันไฟ (Volt) เหมาะกับลักษณะงาน เนื่องจากฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ทั้ง อากาศ, ของเหลว, โมลด์โลหะ เช่น การนำไปใช้ให้ความร้อนภายในเตาอบก็ควรจะมีกำลังวัตต์ที่ค่าวัตต์/พื้นที่ ไม่เกิน 5W/cm2 เป็นต้น *** มีทีมงานที่เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา ***      3. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อ (mm.) มีขนาดแกนให้เลือกตั้งแต่ขนาด 8.2 mm. - 16 mm.           3.1 ความยาวท่อ (ยาวสูงสุด 6 เมตร)           3.2 ระยะห่างระหวางแกน U/W (mm.)      4. รูปร่างของฮีตเตอร์ สามารถดัดขดได้หลากหลายรูปแบบให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่จะติดตั้ง เช่น พื้นที่แคบแต่ต้องการความร้อนสูง ก็แนะนำให้เลือกเป็นรูปทรง W-Shape หรือ แบบขดยากันยุง เป็นต้น      5. ลักษณะการติดตั้ง การติดตั้งแบบเกลียวและแบบไม่มีเกลียว      6. ระยะ Cool Zone (mm.) กรณีนำไปใช้ให้ความร้อนกับของเหลว   รูปแบบของฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) สำหรับการติดตั้งหน้างาน 12345   ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) I-Shape แบบไม่มีเกลียว   ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) I-Shape แบบมีเกลียว         ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) U-Shape แบบไม่มีเกลียว   ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) U-Shape แบบมีเกลียว         ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) W-Shape แบบไม่มีเกลียว   ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) W-Shape แบบมีเกลียว        นอกจากฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) แล้ว ยังมีฮีตเตอร์ประเภทอื่น ๆ ที่ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานหรือของเหลว โดยแต่ละประเภทได้ถูกนำไปใช้งานที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของลักษณะงาน ดังนี้      • ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่เครื่องฉีดพลาสติก      • ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater) เพื่อให้ความร้อนกับแผ่นแม่พิมพ์      • ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) เพื่อต้มน้ำมัน ของเหลวหรือต้มสารเคมี      • ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่แม่พิมพ์ ในการอุ่นของเหลว อุ่นกาว      • ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เพื่อให้ความร้อนกับอากาศในการอบแห้ง ไล่ความชื้น      • ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater) ให้ความร้อนโดยการแผ่รังสี งานอบสี อบขนม อบอาหาร      • ฮีตเตอร์บอบบิ้น (Bobbin Heater) ให้ความร้อนกับของเหลวหรือสารละลาย      • คอยล์ฮีตเตอร์ (Coil Heater), ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ (Hot Runner Heater) ใช้ในงานอบแห้ง ใช้ในการไล่ความชื้นในระบบ   ตัวอย่างการต่อใช้งานฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) การต่อใช้งานฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ร่วมกับ Thermocouple, Temperature Controller, Solid State Relay เพื่อควบคุมในระบบ   การประยุกต์ใช้งานฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater)   Tubular Heater ในงาน Duct Heater ติดตั้งในท่อลมเพื่อทำลมร้อนไปใช้งานต่อ Tubular Heater ในเตาอุ่นอาหารไฟฟ้า โดยการให้ความร้อนกับน้ำภายใต้ถาดอาหาร Tubular Heater ในตู้อบยาโดยใช้งานร่วมกับ Blower Fan เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายความร้อน Multifunction Meter Three Phase Volt-Amp kwh-Meter Wiht Protection Relay  Single Phase kWh-Meter With LORA RS-485 DATA LOGGER USB to RS-422/RS-485 CONVERTER       โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
วิธีการติดตั้ง Programmable Encoder แบบ Hollow Shaft และ Shaft

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) เซ็นเซอร์สำหรับวัดระยะทาง (Distance Sensor), ความเร็ว (Speed), ทิศทางการหมุนของมอเตอร์ (Direction of Rotation), ตำแหน่งหรือมุม เป็นต้น ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ตามลักษณะของสัญญาณเอาต์พุต (Output Signal) คือ Encoder แบบ Increment หรือที่เรียกว่า Increment Encoder / Rotary Encoder และ Encoder แบบ Absolute หรือที่เรียกว่า Absolute Encoder โดยได้มีการอธิบายไว้ในหัวข้อ “Increment Encoder ต่างกับ Absolute Encoder อย่างไร?” เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้กับหน้างานได้อย่างเหมาะสม        บทความนี้เราขอจะขอแนะนำทุกท่านเกี่ยวกับลักษณะในรูปแบบการนำไปติดตั้งหน้างาน ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้วเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) จะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบแกนเพลา (Shaft) และ Hollow Shaft หรือแบบรูกลวง ดังรูป   ลักษณะของ Programable Encoder แบบ Hollow Shaft ลักษณะของ Programable Encoder แบบ Shaft Encoder แบบ Hollow Shaft Encoder แบบ Shaft      โดยในวันนี้เราจะพูดถึงวิธีการติดตั้งเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) กันต่อ ในหัวข้อ “วิธีการติดตั้ง Programmable Encoder แบบ Hollow Shaft และ Shaft” ซึ่งจะมีปัจจัยต่าง ๆ ที่ควรคำนึงถึงก่อนการติดตั้ง เช่น แรงที่กระทำต่อเพลา การสั่นสะเทือน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการติดตั้ง Encoder ด้วย โดยขอยกตัวอย่าง Encoder แบบที่สามารถโปรแกรมเลือกย่าน Pulse/Revolution ได้ (ตั้งแต่ 1-16,384 Pulse/Revolution) หรือเรียกว่า Programmable Encoder (รุ่น PR-04) โดยต่อร่วมกับพอร์ตแปลงสัญญาณพร้อมสายแบบ USB (Converter + USB Cable) PR-PRO เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ผ่าน Software หรือต่อเข้ากับพีแอลซี (PLC) โดยตรงก็สามารถทำได้ โดยที่ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนแปลงหรือเลือกย่านพัลส์ (Pluse) ได้ด้วยตนเอง ก่อนอื่นขออธิบายลักษณะของเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ทั้งแบบ Hollow Shaft และ Encoder แบบ Shaft กันก่อน ดังนี้      เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) แบบ Shaft โดยทั่วไปจะมีขนาดแกนเพลาที่ 6 mm. , 8 mm. , 10 mm. และขนาด Diameter 38 mm. หรือ 50mm. ขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อนั้น ๆ โดยมีลักษณะเป็นแกนยื่นออกมา ในการติดตั้งใช้งานนั้นจะต้องอาศัยอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมระหว่าง เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) เข้ากับชิ้นงาน คือ Coupling ซึ่งจะช่วยในการติดตั้งเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ให้ง่ายขึ้น เนื่องจากจะสามารถช่วยลดการเสียหายในกรณีที่การติดตั้งที่มีการเยื้องศูนย์ทำให้เกิดแรงเหวี่ยง ส่งผลให้เกิดแรงที่ไม่ต้องการไปยังแกนของเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) และส่งต่อไปยัง Bearing ด้านใน ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหลักที่ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง        เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) แบบ Hollow Shaft หรือ แบบรูกลวง จะมีลักษณะเป็นรูตรงกลาง และมีตัวล็อคสำหรับยึดเข้ากับ Bearing จะสามารถลดปัญหาเรื่องการติดตั้งลงได้ เนื่องจากการเยื้องศูนย์นั้นเกิดขึ้นได้ยากกว่า ซึ่งเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) แบบ Hollow Shaft จะไม่สามารถแก้ไขเรื่องของแรงสั่นสะเทือนได้        ตัวอย่างการติดตั้ง Programable Encoder แบบ Hollow Shaft และ Programable Encoder แบบ Shaft เข้ากับ Bearing Motor   การติดตั้ง Programable Encoder แบบ Hollow Shaft เข้ากับ Bearing Motor ตัวอย่างการติดตั้ง Programable Encoder แบบ Shaft เข้ากับ Bearing Motor      ในการติดตั้ง Programmable Encoder แบบ Hollow Shaft และ แบบ Shaft ปัจจัยสำคัญที่เราต้องคำนึงถึง ดังนี้      • Maximum Shaft Loadings คือ แรงสูงสุดที่กระทำกับเพลา หรือแกนของเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ซึ่งจะมีผลทำให้ตัว Bearing ที่อยู่ภายในตัว Encoder ได้รับความเสียหาย ดังนั้นควรเลือก Encoder ที่มีค่า Maximum Shaft Loadings ที่เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งในเอ็นโค้ดเดอร์หลาย ๆ ยี่ห้อ เช่น Lika จะมีค่าเหล่านี้บอกไว้ใน Data Sheet      • Shock คือ ค่าความเร่งสูงสุดที่เกิดจากการหมุนของเพลาของเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) โดยเราจะอ้างอิงกับมาตรฐาน IEC 60068-2-27 EN : 2008 ซึ่งมีการทดสอบที่การเร่งความเร็วสูงสุด 100 g. ในช่วงระยะเวลา 6 วินาที โดยสามารถดูค่า Shock สูงสุดที่สามารถทนได้ สำหรับ Encoder แต่ละรุ่นได้ในคู่มือ เพราะถ้าสูงมากกว่านี้อาจทำให้เกิดการเสียหายแก่ชิ้นส่วนภายในได้ เช่น วงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือแผ่น Code Disk อาจแตกร้าวได้      • Vibration คือ ค่าการสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่องสูงสุดที่ตัวเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) สามารถที่จะทนต่อได้โดยไม่ทำให้ชิ้นส่วนทางกลเกิดการสูญเสีย ซึ่งจะอ้างอิงไปตามมาตรฐานการทดสอบการสั่นสะเทือนซึ่งดำเนินการในการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล IEC EN 60068-2-6 : 2007 โดยมีการทดสอบที่ค่าแรงสั่นสะเทือน 10 g. ความถี่ 5-2000 Hz ค่าแอมปลิจูดที่ 0.75 มิลลิเมตร และสามารถดูค่า Vibration สูงสุดที่สามารถทนได้ ของเอ็นโค้ดเดอร์แต่ละรุ่นได้ในคู่มือ      • Short Circuit Protection เป็นวงจรที่ป้องกันการเสียหายของภาคเอาต์พุต (Output) ของเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ในกรณีที่มีเกิดความผิดพลาดแล้วทำให้สัญญาณเอาต์พุตไปสัมผัสกับขาแรงดันศูนย์โดยปราศจากโหลด ซึ่งจะทำให้เกิดการเสียหายแก่วงจรภาคเอาต์พุตได้ ดังนั้น Encoder ที่ดีควรมีวงจรป้องกันการเกิด Short Circuit และควรตรวจสอบการเดินสายไฟให้เรียบร้อยทุกครั้งก่อนการเริ่มจ่ายไฟ      • Reverse Polarity Protection เป็นวงจรที่ป้องกันการเสียหายของภาคเอาต์พุต (Output) ของเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ในกรณีที่มีเกิดความผิดพลาดจากการต่อสายไฟเลี้ยงวงจรผิดขั้ว ซึ่งจะทำให้เกิดการเสียหายแก่วงจรภายในได้ ดังนั้น Encoder ที่ดีควรมีวงจรป้องกันการเกิด Reverse Polarity และควรตรวจสอบการเดินสายไฟให้เรียบร้อยทุกครั้งก่อนการเริ่มจ่ายไฟเช่นกัน      • Operating Temperature เป็นค่าอุณหภูมิสูงสุดที่เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ยังสามารถทำงานได้ตามปกติและไม่ทำให้เกิดการเสียหายแก่ตัว Encoder ด้วย โดยมีการอ้างอิงกับมาตรฐาน CEI IEC 68-2-1 and CEI IEC 68-2-2 และสามารถดูค่า Operating Temperature สูงสุดที่สามารถทนได้ของ Encoder แต่ละรุ่นได้ในคู่มือ      • IP Protection Ratings เป็นมาตรฐานในการป้องกันฝุ่นและน้ำของเซ็นเซอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวอ้างอิงในการช่วยเลือกตัวเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ให้เหมาะกับการติดตั้งในสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งตัวเลขยิ่งสูงยิ่งสามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมที่มีฝุ่นและน้ำได้ดีมากขึ้น      ตารางเปรียบเทียบข้อดีของวิธีการติดตั้ง Programmable Encoder แบบ Hollow Shaft และ Shaft   การติดตั้ง Programable Encoder แบบ Hollow Shaft เข้ากับ Bearing Motor การติดตั้ง Programable Encoder แบบ Shaft เข้ากับ Bearing Motor สามารถติดตั้ง Encoder เข้ากับแกนของ Motor ได้โดยตรง การติดตั้ง Encoder เข้ากับแกนของ Motor ต้องมีอุปกรณ์เสริม Coupling ในการเชื่อมต่อระหว่างแกน Motor กับแกน Encoder      ตัวอย่างการต่อใช้งาน Programmable Encoder แบบ Hollow Shaft ร่วมกับ Digital Frequency Meter รุ่น TFM-94        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Programmable Encoder แบบ Shaft ร่วมกับ RPM & LINE SPEED Meter รุ่น CM-001-L        Encoder แบบ Hollow Shaft และ Shaft มีทั้งแบบที่สามารถโปรแกรมเลือกย่าน Pulse/Revolution (รุ่น PR-04) ได้ โดยผู้ใช้งานเองแล้ว คือ Programmable Encoder ยังมี Encoder แบบ Fixed Pulse จากทางผู้ผลิตเอง เช่น 100 P/R, 500 P/R, 1000 P/R, 1024 P/R เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเอ็นโค้ดเดอร์แบบลูกล้อหรือเครื่องวัดระยะทางแบบลูกล้อ (Measuring Wheel Encoder) ใช้สำหรับวัดความยาวของผ้า, แผ่นพลาสติก, กระดาษ หรือโลหะแผ่น โดยวางลูกล้อลงบนชิ้นงานสามารถต่อเข้ากับ Counter ได้โดยตรงเพื่อวัดระยะทาง หน่วยเป็นเมตร มีเอาต์พุตแบบ Push-Pull ทำให้สามารถใช้แทนได้ทั้ง NPN และ PNP Open Collector และ แบบ Line-Driver (ดังรูป) เครื่องวัดระยะทางแบบลูกล้อ (Measuring Wheel Encoder) รุ่น EHM        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Encoder   วัดความเร็วรอบของ Motor โดยใช้ Programmable Encoder แบบ Hollow Shaft วัดระยะความยาวของการเคลื่อนที่ของสายพาน โดยใช้ Programmable Encoder แบบ Shaft วัดความเร็วรอบของสายพานการผลิต โดยใช้ Programmable Encoder แบบ Shaft   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
โปรแกรมบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management Software) ด้วย Software Prisoft

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      พลังงาน (Energy) ในธรรมชาติโดยทั่วไปมีอยู่หลายรูปแบบและสามารถเปลี่ยนรูปแบบหรือแปรรูปได้ โดยการเปลี่ยนแปลงพลังงานอีกรูปแบบเป็นพลังงานอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานความร้อนหรือพลังงานไฟฟ้า, การเปลี่ยนพลังงานน้ำเป็นพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งโดยปกติประเภทของพลังงานที่เรามักเจอกันบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะอยู่ตามที่พักอาศัย อาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรม นั่นก็คือพลังงานความร้อนและพลังงานไฟฟ้านั่นเอง โดยในที่นี้เราจะพูดถึงระบบการจัดการพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม (Factory Energy Management System) เป็นหลัก เนื่องจากในโรงงานอุตสาหกรรมมีกระบวนการผลิตที่ต้องวัดและเก็บบันทึกข้อมูลเพื่อควบคุมค่าต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เช่น การวัดอุณหภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity), น้ำหนัก (Weight), ปริมาณของเหลว (Liquid Volume), การวัดความยาว (Length) เป็นต้น การเก็บบันทึกข้อมูลการใช้พลังงานแบบเดิมอาจจะใช้การบันทึกในรูปแบบเอกสาร (Paper) โดยการจดบันทึกของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้ข้อมูลที่ได้เกิดความคลาดเคลื่อนและนำมาใช้ประโยชน์ได้น้อยเมื่อเทียบกับการใช้จริง        ปัจจุบันก็ได้มีวิธีการบริหารจัดการด้านพลังงานที่สามารถ หรือที่เรียกว่า ระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System : EMS) ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับระบบบริหารจัดการพลังงานกันก่อนว่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ดังนี้        ระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System : EMS) หมายถึง ระบบอัตโนมัติที่นำเข้ามาใช้ในการควบคุมให้การผลิต การโอนย้าย การขนส่ง รวมถึงการใช้พลังงานเพื่อให้เป็นไปอย่างเหมาะสม โดยเป็นการเชื่อมต่อประสานงานกันระหว่างอุปกรณ์ตรวจวัดต่าง ๆ กับระบบควบคุมอุปกรณ์เครื่องมือวัดไฟฟ้าอัตโนมัติบนโครงสร้างของระบบเครือข่าย (Network) ที่เป็นการจัดการผ่านโปรแกรม (Software) ในการ Monitoring        จากบทความที่เราได้มีการนำเสนอเกี่ยวกับ Software Prisoft ในหัว “แจ้งเตือน Alarm ต่าง ๆ ผ่าน Line ด้วย Software Monitoring “PRISOFT” นั้น โดยในวันนี้เราจะมานำเสนอเป็นหัวข้อ  โปรแกรมบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management Software) ด้วย  Software Prisoft  (รูปตัวอย่าง Software)      Software Prisoft เป็น Software Web Server Monitoring System สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์บน TCP/IP, RS485, RS232 และ Lora Wan ได้ โดยจะทำหน้าที่อ่านค่าตัวแปรที่ผู้ใช้ต้องการ ผ่านระบบสื่อสารและนำมาเก็บข้อมูลใน Database บนเครื่อง PC และนำข้อมูลไปแสดงผลยังหน้า Webpage โดย Protocol ที่ Prisoft สามารถรองรับการใช้งานได้ ดังนี้        1. MODBUS RTU Mode บนระบบ RS485        2. MODBUS TCP        3. LoRaWAN 1.0 โดยใช้งานร่วมกัน Femto Gateway Gemtek และอุปกรณ์ LoRaNode ของ บริษัท ไพรมัส จำกัด ตัวอย่าง โดย Protocol ที่ Prisoft สามารถรองรับการใช้งาน        Software Prisoft โปรแกรมบริหารจัดการพลังงานด้านไฟฟ้า, อุณหภูมิ, ความชื้น ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถบริหารและวางแผนการใช้ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย Software Prisoft สามารถแสดงผลและบันทึกค่าทางไฟฟ้าหรือค่าอุณหภูมิและความชื้นได้ ดังนี้ V-Line, V-Phase, V-Average, V-Line, A-Average, A-Neutral, KW, KVA, KVAR, PF, Frequency, Demand, Demand Control, RunningHour, Total Harmonics-Volt, Total Harmonics Current, Efficiency (%), Load (%), Partial Harmonics หรือค่าอื่น ๆ ที่มิเตอร์สามารถอ่านค่าได้        ข้อดีของการใช้โปรแกรมบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management Software) ด้วย Software Prisoft        1. สามารถดูข้อมูลผ่าน Monitor ได้แบบ Real Time และได้รับการแจ้งเตือนที่รวดเร็วขึ้น        2. สามารถดูข้อมูลย้อนหลังด้วยกราฟ จากกลุ่ม Tag ที่ผู้ใช้งานสามารถกำหนดเองได้ และยังสามารถ Export ข้อมูลเป็น Excel        3. สามารถวิเคราะห์ความต้องการใช้กำลังไฟฟ้าและทำบิลค่าไฟฟ้า โดยรองรับระบบการคิดค่าไฟฟ้าแบบ Normal Rate, TOU และ TOD        4. การลด Downtime        5. ลดต้นทุนในการ Wiring สาย        6. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน        ตัวอย่างที่ 1 : Software PRISOFT สามารถใช้งานร่วมกับ Power Meter เพื่อวิเคราะห์พลังงานและยังสามารถแจ้งเตือนเมื่อมีค่ากระแสสูงหรือต่ำเกินกว่ากำหนดหรือค่าอื่น ๆ รูปตัวอย่างที่ 1 : ใช้ร่วมกับ Power Meter เพื่อคำนวณข้อมูลการใช้พลังงานจาก 3 แหล่ง เพื่อหาค่าใช้จ่าย        จากรูปตัวอย่างที่ 1 : ใช้ร่วมกับ Power Meter เพื่อคำนวณข้อมูลการใช้พลังงานจาก 3 แหล่ง เพื่อหาค่าใช้จ่าย ดังนี้        • เก็บค่าพลังงานไฟฟ้า (kWh) ของมิเตอร์ของการไฟฟ้า (กรณีใช้ทั่วไป)        • Power Meter Biogas Generator (นำ Biogas มาเป็นพลังงาน)        • Power Meter Diesel Generator (กรณีฉุกเฉิน)        • เพื่อเปรียบเทียบการใช้ไฟจากทั้ง 3 แหล่ง มาเป็นข้อมูลของการปั่นพลังงานไฟฟ้าใช้เองจาก Biogas ที่ทีอยู่ในฟาร์ม        ตัวอย่างที่ 2 : Software PRISOFT สามารถใช้งานร่วมกับระบบ LoRa เพื่อลดปัญหาการเดินสายสัญญาณ รูปตัวอย่างที่ 2 : Software PRISOFT สามารถใช้งานร่วมกับ ระบบ LoRaWan เพื่อลดปัญหาการเดินสายสัญญาณ        จากรูปตัวอย่างที่ 2 : สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้ ดังนี้        1. เก็บค่าความยาวของเส้นลวด ทำ Excel        2. Monitor ค่าแบบ Realtime        3. ดูผ่านหน้า Web Browser ได้        4. มีการแจ้งเตือน Alarm        5. สามารถใช้ Convertor แบบไร้สาย โดยไม่ต้องเดินสายสัญญาณ        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management Software) ด้วย Software Prisoft โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK  

Image Alternative text
หลักการและข้อดีของการติดตั้ง Temperature Transmitter ชนิด Head Mount Transmitter TM-012P เข้ากับหัวกะโหลก (Bulb) ของ Temperature Sensor

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Temperature Transmitter หรือ ทรานสมิตเตอร์วัดอุณหภูมิ คือ อุปกรณ์วัดอุณหภูมิที่แปลงค่าการวัดจากตัวเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม เช่น Thermocouple, RTD (Pt100Ω) ให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน 4-20 mA, 0-10Vdc เป็นต้น เพื่อส่งค่าอุณหภูมิผ่านสายไฟในระยะทางไกลไปยังเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller), เครื่องบันทึกอุณหภูมิ (Recorder), Data logger หรือ PLC สำหรับแสดงค่าหรือควบคุมอุณหภูมิ        ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงโครงสร้างและหลักการในการวัดอุณหภูมิของ Temperature Sensor ชนิด RTD (Pt100Ω) และ Thermocouple ดังนี้        หลักการเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor)   RTD/PT100Ω (Resistant Temperature Detector) Thermocouple      RTD ย่อมาจาก Resistance Temperature Detector คือ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิที่ใช้หลักการของความต้านทานเปลี่ยนตามอุณหภูมิที่วัดได้จะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิโดยแปรผันตามค่าอุณหภูมิ เช่น ที่อุณหภูมิ 0 ํC จะมีค่าความต้านทานที่ 100Ω เมื่อนำเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิชนิด RTD ต่อเข้ากับตัว Temperature Transmitter ก็จะทำการวัดค่าความต้านทานและแปลงสัญญาณออกมาเป็นแบบ Current Loop 4-20mA เพื่อนำสัญญาณ 4-20mA ไปยังอุปกรณ์ควบคุมต่อไป        Thermocouple คือ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิชนิดหนึ่ง ที่แปลงค่าอุณหภูมิเป็นสัญญาณแรงเคลื่อนไฟฟ้า (mV) โดยใช้หลักการของการที่โลหะต่างชนิดกันเชื่อมติดกันที่ปลายข้างหนึ่งเมื่อเกิดอุณหภูมิสูงขึ้นจะเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าขึ้นที่ปลายโลหะแต่ละข้างนั่นเอง        จากที่ได้ทราบถึงโครงสร้างและหลักการ Temperature Sensor ชนิด RTD (Pt100Ω) และ Thermocouple กันไปแล้วนั้น ต่อมาจะเป็นในส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับสัญญาณอุณหภูมิจากหัววัดอุณหภูมิและแปลงค่าให้เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน หรือเรียกว่า Temperature Transmitter ที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด ติดตั้งเข้ากับหัวกะโหลก (Bulb) ได้        Temperature Transmitter ชนิด Head Mount Transmitter (รุ่น TM-012P)   Temperature Transmitter ชนิด Head Mount Transmitter Model TM-012P TM-PRO Programming Module for TM-012P      Temperature Transmitter ชนิด Head Mount Transmitter เป็นทรานสมิตเตอร์วัดอุณหภูมิขนาดเล็กอีกตัวหนึ่ง สำหรับติดตั้งอยู่ภายในหัวกะโหลก (Bulb) ของตัวเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ซึ่งมีความสะดวกในเรื่องของพื้นที่การติดตั้ง เพื่อแปลงค่าอุณหภูมิให้ออกมาเป็นสัญญาณอนาล็อก เช่น อุณหภูมิ 0-100 ํC ออกมาเป็น 4-20mA เป็นต้น ในส่วนของการตั้งค่าใช้งานอาจจำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เฉพาะเพื่อตั้งค่าหรือปรับตั้งค่าตัวแปรต่าง ๆ      โดยในส่วนของการติดตั้ง Temperature Transmitter รุ่น TM-012P แบบฝังเข้ากับหัวกะโหลกของ Temperature Sensor ชนิด RTD (Pt100) หรือ Thermocouple เราสามารถนำสัญญาณอนาล็อก 4-20mA ออกมาใช้งานโดยการต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น Temperature Controller, Digital Indicator, Recorder, Data logger หรือ PLC ได้ โดยใช้สายเพียง 2 เส้น หรือ 2 Core  จึงทำให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ต้องเดินสายในระยะทางไกล เนื่องจากสัญญาณที่แปลงออกมาเป็นแบบ Current Loop 4-20mA (โดยการต่อแบบ Current Loop จะทำให้สัญญาณมีความคงที่) มากกว่าแบบ 0-10VDC (ระยะทางไกล ๆ สัญญาณจะ Drop) และด้วยมีขนาดเล็กกะทัดรัด จึงทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง        ลักษณะการติดตั้งและการต่อใช้งาน Temperature Transmitter รุ่น TM-012P เข้ากับ Temperature Sensor แบบหัวกะโหลก (Bulb)   ลักษณะการติดตั้ง Temperature Transmitter TM-012P เข้ากับ Temperature Sensor แบบหัวกะโหลก (Bulb) ตัวอย่างการต่อสายใช้งาน Temperature Transmitter TM-012P        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Temperature Transmitter รุ่น TM-012P (RTD/PT100) ร่วมกับ PLC และ Digital Indicator การต่อใช้งานของ Temperature Transmitter รุ่น TM-012P โดยฝังอยู่ในหัวกะโหลกของ Pt100 ร่วมกับ PLC และเครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Indicator) รุ่น TIM-94N      สรุปข้อดีของการใช้งาน Temperature Transmitter รุ่น TM-012P โดยติดตั้งร่วมกับ Temperature Sensor แบบหัวกะโหลก (Bulb)         • มีขนาดเล็กกะทัดรัด ประหยัดพื้นที่ และสามารถติดตั้งเข้ากับหัวกะโหลก (Bulb) ได้เลย         • สามารถต่อร่วมใช้งานกับ Thermocouple และ RTD (PT100) แบบหัวกะโหลกได้         • ช่วยประหยัดต้นทุนในเรื่องของการเดินสาย จากสาย 3 Core หรือ 4 Core  เป็น 2 Core         • เหมาะกับงานที่ต้องการเดินสายระยะไกล เพราะเป็น Current Loop 4-20mA ทำให้มีค่าความผิดพลาดน้อย         • มีทั้งรุ่นที่ Fixed Input (TM-012P-Input) และไม่ Fixed Input (TM-012P-PRO)         • ในรุ่น TM-012P-PRO สามารถโปรแกรมเลือกย่านการใช้งานของ Input และ Output ได้ภายในตัวเดียวกัน ผ่านทาง Software โดยใช้งานร่วมกับ TM-PRO        สรุป การวัดอุณหภูมิในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อนำค่าที่ได้จากการวัดอุณหภูมิของเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ไปแสดงผลหรือนำไปควบคุมภายในกระบวนการ จำเป็นจะต้องมีตัวทรานสมิตเตอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Transmitter) เพื่อทำการแปลงค่าอุณหภูมิให้อยู่ในค่าของสัญญาณมาตรฐาน (Standard Signal) สำหรับใช้ในการสื่อสารร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมือวัดและควบคุมกระบวนการในระบบอัตโนมัตินั่นเอง        กรณีในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้งาน Temperature Sensor ที่มีย่านการวัดหลายย่านวัด สามารถสั่งอุปกรณ์ Temperature Transmitter เพียงรุ่นเดียวได้ โดยที่ไม่ต้องระบุอินพุต (Fixed Input) ในการเลือกย่านการใช้งาน เนื่องจาก Temperature Transmitter รุ่น TM-012P สามารถที่จะโปรแกรมเลือกย่านอุณหภูมิการใช้งานได้ทั้ง Input และ Output ภายในตัวเดียวกัน ผ่านทาง Software โดยเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เรียกว่า TM-PRO (Programming Module) ดังรูป        การต่อใช้งานร่วมกับ TM-PRO Programming เพื่อ Setting เลือกย่าน Input และ Output   การตั้งค่าการทำงานของอุปกรณ์ที่ไม่ได้ต่อกับอุปกรณ์อื่น (โดยต้องต่อ Power Supply ตลอดการใช้งาน) การตั้งค่าอุปกรณ์ในขณะที่ต่อใช้งานร่วมกับ Indicator        ตัวอย่างการตั้งค่าผ่านโปรแกรม TM-012P Configuration Software        การประยุกต์ใช้งาน RTD/PT100 (Resistant Temperature Detector) and Thermocouple Transmitter   Boiler Retort Packing Machine   Temperature And Resistance Transmitter 4-20mA Switching Power Supply 2.5A Thermocouple,PT100 Digital Indicator,Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Vision Programmable Logic Control+HMI โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ควบคุมอุณหภูมิ (PID Control) และแสดงผลด้วย PLC+HMI

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      PID Control เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ในเครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล (Digital Temperature Controller) โดยการควบคุมแบบ PID Control เป็นระบบควบคุมแบบป้อนกลับ (Feedback Control System) ที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมีการควบคุมรูปแบบ ON-OFF, Fuzzy, Auto-Tuning เป็นต้น ในแต่ละรูปแบบก็จะให้ผลที่แตกต่างกันออกไป โดยเป็นระบบการควบคุมและประมวลผลภายในของเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) ซึ่งเราได้นำเสนอข้อมูลกันไปแล้วในหัวข้อ PID Control กับ On/Off Control ของ Temperature Controller ต่างกันอย่างไร? โดยรูปแบบการควบคุมที่กล่าวมานั้นเหมาะสำหรับงานอุตสาหกรรมที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิได้หลายค่าในกระบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหรรมพลาสติก อุตสาหรรมเคมี ฯลฯ        การวัดและควบคุมอุณหภูมิที่รับค่าอินพุตจากเซ็นเซอร์วัดอุณภูมิ Thermocouple, RTD Pt100, NTC, PTC โดยเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temp Control) ที่มีระบบการควบคุมแบบ PID แล้ว นอกจากนี้ยังมีวิธีการวัดและควบคุมอุณหภูมิโดยใช้ PLC+HMI โดยการเขียนโปรแกรมป้อนคำสั่ง (Ladder) และสามารถแสดงผลในรูปแบบกราฟฟิคได้อีกด้วย        โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำในหัวข้อ “ควบคุมอุณหภูมิ (PID Control) และแสดงผลด้วย PLC+HMI” ว่ามีหลักการอย่างไร? และยกตัวอย่างการเขียนคำสั่งโปรแกรมอย่างไร? พอสังเขปเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ ดังนี้        การควบคุมอุณหภูมิโดยใช้ PLC+HMI นั้น เราจะแนะนำฟังก์ชั่นในการควบคุมระบบแบบ Closed Loop ซึ่งเป็นระบบควบคุมแบบป้อนกลับ (Feedback Control) คือ ระบบที่มีการป้อนอินพุต (Input) ซึ่งอาจอยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า (Electrical Signal) เข้าที่ระบบ (System) และมีอุปกรณ์เครื่องมือวัด (Measurement) นำสัญญาณเอาต์พุตป้อนกลับสู่ระบบเพื่อเปรียบเทียบกับผลตอบสนองของสัญญาณเอาต์พุต (Output Signal) ที่ต้องการ โดยยกตัวอย่าง Vision PLC รุ่น V1040 ยี่ห้อ UNITRONICS ดังรูป      การทำงานของ PLC+HMI (รุ่น V1040 ยี่ห้อ UNITRONICS) ดังรูป คือ จะมีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple, RTD, NTC, PTC) ทำหน้าที่วัดอุณหภูมิส่งมาที่ PLC+HMI (รุ่น V1040 ยี่ห้อ UNITRONICS) เพื่อทำการประมวลผลตามค่าและคำสั่งที่ทางโปรแกรมเมอร์ตั้งค่าไว้ หากอุณหภูมิไม่ได้ตามที่ตั้งไว้ PLC+HMI (รุ่น V1040 ยี่ห้อ UNITRONICS) จะจ่ายแรงดันไปให้ฮีตเตอร์ (Heater) เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้ได้ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ        โดยหลักการในการเขียนคำสั่งเพื่อให้ PLC+HMI (รุ่น V1040 ยี่ห้อ UNITRONICS) ประมวลผลจะใช้ภาษา Ladder ในการโปรแกรม PID CONTROL โดยขอยกตัวอย่างการเขียนโปรแกรม PID CONTROL ดังนี้ ตัวอย่างการเขียนโปรแกรม PID CONTROL        จากรูปจะเป็นตัวอย่างในการเขียน PID AUTOTUNE โดยเน้นการ Configuration ของ Function PID ซึ่งหลัก ๆ จะประกอบไปด้วย         • PID Target         • PID INPUT         • Proportional Band - Defined in units of 0.1% (P gain)         • Integral Time - Defined in units of 1 second (I gain)         • Derivative Time - Defined in units of 1 second (D gain)         • Sample Time - Defined in units of 10 mSec Recommended value = 10 to 100 (0.1 to 1 sec)         • Input Range - Process Value Low limit         • Input Range - Process Value High limit         • Output Range - Control Value Low limit         • Control Value - The PID output        เปรียบเทียบการควบคุมอุณหภูมิ PID CONTROL ระหว่างเครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล (Digital Temperature Controller) กับ พีแอลซี PLC+HMI (Programmable Logic Control+Human Machine Interface) ดังตาราง   เครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล (Digital Temperature Controller) PLC+HMI พีแอลซี (Programmable Logic Control+ Human Machine Interface) • เหมาะกับการควบคุมอุณหภูมิที่ติดลบจนถึงอุณหภูมิที่สูง • แบบ Digital Temperature Controller มี 7-Segment 2 แถว แสดงค่าอุณหภูมิที่วัดได้ และค่า Set Point ที่ตั้งไว้ • ไม่มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิในตัว (ทำให้ต้องหาซื้อเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิเพิ่ม) • เซ็นเซอร์ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ระหว่างหัววัดอุณหภูมิหรือสัญญาณที่เป็น 4-20 mA • มีรูปแบบการ Control ที่หลากหลาย เช่น ON-OFF Control, PID Control, Fuzzy Logic Control • การตั้งค่า Set Point ซับซ้อน เนื่องจากเหมาะกับงานที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิที่มีความแม่นยำและความละเอียดสูง • Output มีให้เลือกแบบ Relay, SSR, 4-20mA, 0-10VDC • การติดตั้งแบบ Panel • มีหน้าจอให้เลือกหลากหลาย LCD, Touch Screen (สีและขาวดำ) • สามารถกำหนดรูปแบบการแสดงผลแบบหน้าจอ โดยออกแบบข้อความและกราฟฟิกการแสดงผลได้ • สามารถรับ Input ได้มากว่า 1 Input • สามารถเขียนคำสั่งเงื่อนไขในการประมวลผลได้ตามความต้องการ                      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC   ระบบควบคุมความเร็วมอเตอร์ เครื่องบรรจุแป้งใส่ถุง   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
4 ข้อดี Digital Indicator 1 ตัว แสดงค่าได้ถึง 4 Channel (4 Universal Input Digital Indicator)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Digital Indicator คือ เครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล ที่รับสัญญาณจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity), แรงดัน (Pressure), น้ำหนัก (Weight) มาแสดงผลของค่านั้น ๆ ซึ่ง เครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Indicator) นั้นมีหลายแบบ เช่น เครื่องแสดงผลอุณหภูมิ (Temperature Indicator), เครื่องแสดงผลสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน 4-20mA,0-10VDC (Digital Indicator), เครื่องแสดงผลความถี่และความเร็วรอบ (Frequency, RPM Indicator), เครื่องแสดงผลน้ำหนักจากโหลดเซล (Load cell Indicator), เครื่องแสดงผลสำหรับวัดระยะทาง (Linear Transducer ซึ่งมี Output เป็น Potentiometer), เครื่องแสดงผลกระแสไฟฟ้า (Current Indicator), เครื่องแสดงผลแรงดันไฟฟ้า (Voltage Indicator) เป็นต้น โดยบางรุ่นมี Option เพิ่มเติม เช่น Output Alarm Relay, Transfer 4-20mA, RS485 สำหรับเชื่อมต่อกับ Computer ได้        โดยปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องแสดงผล (Indicator) ที่สามารถรับ Input ได้ทุกประเภทในตัวเดียวกัน (Universal Input) โดยการเลือกที่ Keypad และสามารถรับอินพุตได้ถึง 4 อินพุต (4 Channels Input) ในตัวเดียวกัน โดยแต่ละ Input แยกอิสระจากกัน (lsolate) เพื่อให้รองรับกับหน้างานที่มีพื้นที่จำกัด หรือต้องการวัดหลายจุดแต่โชว์ค่าที่เครื่องแสดงผลเพียงตัวเดียว ซึ่งทางเราได้มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องแสดงผล 4 Ch. ภายในตัวเดียวกันไปบ้างแล้ว ในหัวข้อการวัดและแสดงผลค่าอุณหภูมิ 4 Channel (4 Channel Digital Indicator) ภายในตัวเดียวกัน โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อดีของ Digital Indicator เพียง 1 ตัว สามารถแสดงค่าได้ถึง 4 Channels ในหัวข้อ 4 ข้อดี Digital Indicator 1 ตัว แสดงค่าได้ถึง 4 Channel (4 Universal Input Digital Indicator) ดังรูป   TIM-94N-4CH : 4 Universal Input Digital Indicator แสดงลักษณะหน้าจอแสดงผล TIM-94N-4CH : 4 Universal Input Digital Indicator        โดยทางเราได้สรุปข้อดีของเครื่องแสดงผลแบบ 4 Channel (Input Digital Indicator 4 Ch.) ออกเป็น 4 ข้อ หลัก ๆ ว่ามีข้อดีอะไรบ้าง? ทำไมเราต้องแนะนำให้เลือกใช้กัน ดังนี้        4 ข้อดี Digital Indicator 1 ตัว แสดงค่าได้ถึง 4 Channel (4 Universal Input Digital Indicator)          1. ประหยัดพื้นที่หน้าตู้คอลโทรล          2. ลดค่าใช้จ่าย เช่น ตู้คอลโทรล          3. Input และ Output แยกอิสระจากกัน (Isolate)          4. ลดความยุ่งยากในการ Wiring สาย  (ดังรูป) การ Wiring สายโดยใช้เครื่องแสดงผลที่รับสัญญาณอนาล็อก 4-20mA/0-10VDC รุ่น CM-004N (จำนวน 2 ตัว) และเครื่องแสดงผลอุณหภมิ (Temperature Indicator) รุ่น CM-006N (จำนวน 2 ตัว) เทียบกับการ Wiring สาย โดยใช้เครื่องแสดงผลแบบ 4 Channel รุ่น TIM-94N-4CH เพื่อแสดงค่าได้ถึง 4 Channel (4 Universal Input Digital Indicator) ภายในตัวเดียว (ดังรูป)        ตัวอย่างการต่อใช้งานของเครื่องแสดงผลแบบ 4 Channel TIM-94N-4CH (4 Universal Input Digital Indicator)       ทดสอบอุณหภูมิ Input RTD (PT100) 4 จุด และเชื่อมต่อข้อมูลร่วมกับ Software PRISOFT       เครื่องวัดขนาด OD ของยางรถยนต์ Input 4-20mA 2 จุด จาก Displacement Sensors แสดงค่าสัญญาณ Analog Input 4-20mA จาก PLC, Pressure Transmitters และ Humidity & Temperature Transmitter      เครื่องวัดและแสดงผลค่าอุณหภูมิแบบ 4 Channel (4 Universal Input Digital Indicator) เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภทดังนี้         • อุตสาหกรรมพลาสติก          • อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม         • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ Digital Indicator,Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Digital Indicator  Bar Graph Indicator With Alarm Unit Digital Temperature Indicator Target Counter โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ข้อมูลที่จำเป็นในการเลือกซื้อเครื่องบันทึกอุณหภูมิ ความชื้น และสัญญาณทางไฟฟ้า (Recorder, Data Logger)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เครื่องบันทึกอุณหภูมิ ความชื้น และสัญญาณทางไฟฟ้า (Recorder, Data Logger) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบมาเพื่อรวบรวมและจัดเก็บค่าพารามิเตอร์ (Parameter) อย่างน้อยหนึ่งค่า โดยเป็นการเก็บข้อมูลที่ได้จากการวัดค่าของอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ ในงานอุตสาหกรรม เช่น เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ Thermocouple, RTD, สัญญาณอนาล็อกทางไฟฟ้า เช่น 4-20mA, 0-10Vdc, อุปกรณ์วัดค่าอุณหภูมิ ความชื้น (Temperature Humidity Sensor), อุปกรณ์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter) เป็นต้น โดยค่าที่วัดได้ไม่ว่าจะเป็น ค่าอุณหภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity), ความดัน (Pressure), ความเร็ว (Speed) และการใช้พลังงานไฟฟ้า (Kwh), แรงดันไฟฟ้า, (Volt) กระแสไฟฟ้า (Amp) ดังกล่าว จะนำมาต่อใช้งานร่วมกับเครื่องบันทึกค่า (Recorder) เพื่อทำการบันทึกค่าลงในเครื่องในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เครื่องบันทึกข้อมูลแบบใช้กระดาษ (Recorder), เครื่องบันทึกข้อมูลแบบไม่ใช้กระดาษ (Paperless Recorder), เครื่องบันทึกข้อมูลแบบพกพา (Portable Recorder) หรือ เครื่องเก็บข้อมูล (Daga Logger รุ่น KM-18) เป็นต้น เพื่อเป็นการเก็บบันทึกข้อมูล (Data Record) ไว้สำหรับตรวจสอบย้อนหลังในกระบวนการได้ หรือการเก็บบันทึกข้อมูลของสินค้าบางอย่าง เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ยา ในระหว่างการขนส่งที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ได้มาตรฐานตามที่กำหนดเนื่องจากอาจมีผลต่ออายุของสินค้า        เครื่องบันทึกอุณหภูมิ ความชื้น และสัญญาณทางไฟฟ้า (Recorder, Data Logger) ที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมมีลักษณะและรูปแบบ ดังนี้   เครื่องบันทึกแบบไม่ใช้กระดาษ (Paperless Recoder) TRM-20 Series (Brand TOHO)   เครื่องบันทึกแบบใช้กระดาษ (Paper Recoder) TRM-10C Series (Brand TOHO)   เครื่องบันทึกข้อมูล แบบพกพา CENTER 500 (Brand CENTER) Data Logger โดยรับข้อมูลต่าง ๆ ผ่าน RS-485 และบันทึกข้อมูล ลงใน SD Card KM-18 Series (Brand PM)      หมายเหตุ : เครื่องบันทึกแบบใช้กระดาษ (Paper Recoder) รุ่น TRM-10C Series มีให้เลือกทั้งแบบ Dot ( 6 Point) และแบบปากกา Pen (1 และ 2 Pen)        จากบทความครั้งที่แล้วเราได้พูดถึงเครื่องบันทึกอุณหภูมิ ความชื้น 4-20mA, 0-10Vdc มีแบบไหนบ้าง? กันไปแล้วนั้น ซึ่งในหัวข้อนี้ที่เราต้องการนำเสนอข้อมูลคล้าย ๆ กัน โดยในหัวข้อนี้เราจะเน้นข้อมูลที่จำเป็นในการพิจารณาในการเลือกซื้อเครื่องบันทึกอุณหภูมิ ความชื้น และสัญญาณทางไฟฟ้า (Recorder, Data Logger) เพื่อการเลือกใช้งานให้เหมาะสมในงานอุตสาหกรรม        ในการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องบันทึกเก็บข้อมูลอุณหภูมิ ความชื้น และสัญญาณทางไฟฟ้า (Recorder, Data Logger) มีอะไรบ้าง ขออธิบายเป็น 5 ข้อ หลัก ๆ ดังนี้         1. ต้องทราบจำนวนช่องอินพุต (Input Channel) ที่จะใช้งาน โดยดูได้จาก Datasheet ของแต่ละรุ่น เช่น แบบ 1 Input, 2 Input, 4 Input, 6 Input, 8 Input, 9 Input, 12 Input เป็นต้น         2. ชนิดของ Input ที่นำมาต่อใช้งาน เช่น Thermocouple, RTD, DC Current (4-20mA) DC Voltage (±1V, ±5V, 1-5V, ±10V, ±10mV), RS-485 เป็นต้น         3. ชนิดของสัญญาณทางด้านเอาต์พุต (Output) หรือ Alarm Relay Output, Digital Output Open collector, RS232, RS485, WiFi เป็นต้น         4. ข้อมูลที่ต้องการบันทึก โดยจะเป็นการกำหนดเลือกใช้งาน Recoder, Data Logger แบบไม่ใช้กระดาษ (Paperless Recorder), แบบใช้กระดาษ (Paper Recorder) หรือการเก็บข้อมูลแบบ SD-Card Memory, USB Memory, (เครื่องบันทึกแบบใช้กระดาษ รุ่น TRM-10C สามารถเลือกรูปแบบการบันทึกได้ทั้งแบบ PEN (1, 2 Channel) และแบบ Dot (6 Channel) เป็นต้น         5. ลักษณะการเก็บข้อมูลโดยการติดตั้งรูปแบบต่าง ๆ เช่น การติดตั้งแบบหน้าตู้ (Panel), ยึดราง Din Rail หรือแบบพกพา (Portable) เป็นต้น        จากข้อมูล 5 ข้อดังกล่าว ทำให้ผู้ใช้งานสามารถพิจารณาเลือกซื้อเครื่องบันทึกอุณหภูมิ ความชื้น และสัญญาณทางไฟฟ้า (Recorder, Data Logger) เพื่อใช้งานได้ตามความเหมาะสมและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อสเปค/รุ่นที่เกินความจำเป็นในการใช้งานจริง และสามารถเลือกรูปแบบในการติดตั้งเพื่อเก็บบันทึกข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเราขอยกตัวอย่างการต่อใช้งานของเครื่องบันทึกอุณหภูมิและค่าต่าง ๆ ทางไฟฟ้าแบบไม่ใช้กระดาษ (Paperless Recorder) รุ่น TRM-20 Series และเครื่องบันทึกอุณหภูมิและค่าต่าง ๆ ทางไฟฟ้าแบบใช้กระดาษ (Paper Recorder) รุ่น TRM-10C Series ดังนี้        การต่อใช้งานเครื่องบันทึกอุณหภูมิและค่าต่าง ๆ ทางไฟฟ้าแบบไม่ใช้กระดาษ (Paperless Recorder) รุ่น TRM-20 Series ยี่ห้อ TOHO การต่อใช้งาน Recoderc แบบไม่ใช้กระดาษ (Paperless) ร่วมกับ Thermocouple Type K เพื่อเก็บบันทึกข้อมูลอุณหภูมิ (Temperature)        จากรูปการใช้งานเครื่องบันทึกอุณหภูมิแบบไม่ใช้กระดาษ (Paperless Recoder) รุ่น TRM-20 Series โดยต่อใช้งานร่วมกับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple) Type K แบบออกสาย จำนวน 6 ตัว เพื่อเก็บบันทึกข้อมูลอุณหภูมิ (Temperature) เพื่อประยุกต์ใช้งานกับฮีตเตอร์ (Heater)        การต่อใช้งานเครื่องบันทึกอุณหภูมิและค่าต่าง ๆ ทางไฟฟ้าแบบใช้กระดาษ (Paper Recorder) รุ่น TRM-10C Series ยี่ห้อ TOHO การต่อใช้งาน Recoderc แบบใช้กระดาษ (Paperl Recoder) ร่วมกับอุปกรณ์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter) เพื่อเก็บบันทึกค่าแรงดัน (Pressure)        จากรูปการใช้งานเครื่องบันทึกอุณหภูมิแบบใช้กระดาษ (Paper Recoder) รุ่น TRM-10C Series โดยต่อใช้งานร่วมอุปกรณ์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter) โดยมีสัญญาณเอาต์พุต Analog 4-20mA/0-10VDC จำนวน 6 ตัว เพื่อเก็บบันทึกค่าแรงดัน (Pressure)        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานเครื่องบันทึกอุณหภูมิ ความชื้น และสัญญาณทางไฟฟ้า (Recorder, Data Logger)   ระบบ Reverse Osmosis สำหรับโรงงานน้ำดื่ม โรงงานผลิตสายไฟ อุตสาหกรรมอาหาร   PT100 Pressure Transmitter Humidity & Temperature Transmitter Digital Temperature Controller PID Control Function Multifunction Meter  โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
4 ข้อดีของ Wiring Duct (รางเก็บสายไฟ) ในตู้คอนโทรล

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Wiring Duct (รางเก็บสายไฟ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บสายไฟประเภทต่าง ๆ เช่น สายไฟฟ้า, สาย LAN, สายใยแก้วนำแสง, สายโทรศัพท์ เป็นต้น เพื่อเก็บสายไฟให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สำหรับงานเดินสายไฟในตู้คอนโทรล (MDB), ตู้ไฟฟ้า หรือการเดินสายไฟภายในอาคาร ด้วยการใช้งานที่เหมาะสมกับการเก็บสายทุกประเภท สามารถเลือกใช้งานได้ทุกพื้นที่ มีความทนทานและมีความยืดหยุ่นสูง พร้อมทั้งลักษณะที่หลากหลายให้เลือกใช้งานได้ตามความต้องการ      โดยในบทความครั้งที่ผ่านมา เราได้พูดถึง Wiring Duct ในตู้คอนโทรลมีแบบไหนบ้าง รวมถึงอุปกรณ์เสริม (Accessories) ต่าง ๆ นั้น โดยทุกท่านน่าจะทราบโดยพอสังเขป ยกตัวอย่าง Wiring Duct แบบโปร่งพร้อมฝาปิด (Cover) เหมาะสำหรับงานเดินสายไฟงานคอนโทรลในตู้ MDB Wiring Duct แบบทึบพร้อมฝาปิด (Cover) เหมาะสำหรับงานเก็บสายไฟเพื่อป้องกันฝุ่นหรือน้ำ, น้ำมัน เป็นต้น Wiring Duct แบบทึบใช้ร่วมกับ (Cable Gland) เหมาะสำหรับงานเดินสายที่ใช้ร่วมกับท่อสายไฟหรืองานลิฟท์ที่ต้องการแยกสายไฟในแต่ละชั้น      อุปกรณ์เสริม (Accessories)      โดยวันนี้เราจะมาแนะนำทุกท่านในหัวข้อ “4 ข้อดีของ Wiring Duct (รางเก็บสายไฟ) ในตู้คอนโทรล” ว่ามีข้อดีอะไรบ้าง ทำไมต้องเลือกใช้ Wiring Duct ในการเก็บสายไฟ      1. ง่ายต่อการติดตั้ง คีบราง Wiring Duct สามารถหักได้ด้วยมือ ไม่จำเป็นต้องใช้คีมในการตัด            2. มีอุปกรณ์เสริมให้เลือกใช้หลายประเภท เช่น ฝาครอบราง, ฉากกั้นราง, ตัวรวบสาย, รางเก็บสายแบบยืดหยุ่น      3. วัสดุเป็นฉนวนกันความร้อนและป้องกันการลามของไฟ การใช้งานในตู้คอนโทรลจำเป็นต้องมีการป้องกันในการลามไฟที่ดี ดังนั้นขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ในการผลิต โดยผลิตจากวัสดุประเภท Polyamide 6      4. มีมาตรฐานสากลรองรับ เช่น UL, CSA, CE, ISO 14001      ข้อแนะนำในการเลือกใช้ Wiring Duct (รางเก็บสายไฟ) ในตู้คอนโทรล       1. เลือกตามประเภทที่ใช้งาน           1.1 ใช้เก็บสายในตู้คอนโทรล           1.2 ใช้เก็บสายสำหรับเครื่องจักรที่มีฝุ่นหรือน้ำมัน           1.3 ใช้เก็บสายงานในอาคาร เช่น เดินสายงานลิฟท์       2. ตรวจสอบขนาดสายไฟทั้งหมดที่จะใช้งาน เพื่อเลือกขนาดความกว้าง x สูง ของ Wiring Duct       3. ตรวจสอบชนิดสายไฟที่ใช้เก็บสายใน Wiring Duct ว่าเป็นสายไฟชนิดอะไร           3.1 สายคอนโทรลควรใช้เป็น Wiring Duct แบบร่องถี่ (4 mm.)           3.2 สายเมนควรใช้เป็นแบบร่องห่าง (8 mm.)       4. เลือกอุปกรณ์เสริม เช่น ฝาราง, ฉากกั้น, ตัวรวบสาย, ป้ายชื่อ, หมุดยึดใช้ร่วมกับเคเบิ้ลไทร์ ที่ต้องใช้งานร่วมกับราง Wiring Duct      หมายเหตุ : ควรเลือกรางที่มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดี ไม่ทำให้เกิดประกายไฟ สำหรับราง Wiring Duct ยี่ห้อ IBOCO นี้ มีมาตรฐานในการเจาะรู (DIN 43659) เพื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เสริมได้ ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกออกแบบเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน โดยทำร่องไว้เพื่อใช้ในการหักซี่ของรางได้ด้วยมือ ไม่จำเป็นต้องใช้คีมหรือเครื่องมือต่าง ๆ      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน การใช้หมุดยึด (ZP2) ร่วมกับเคเบิ้ลไทร์ การใช้ตัวรวบสาย (CL) แบบ C-Clamp การใช้ Wiring Duct แบบมี Support Cable Gland   Switching Power Supply Signal Tower Light Rotation Warning Light Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Digital Temperature Controller PID Control Function โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ทราบปัญหาเร็วช่วยลดความเสียหายของฮีตเตอร์ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ฮีตเตอร์ (Heater) อุปกรณ์ที่ให้ความร้อนกับชิ้นงาน, ต้มน้ำ หรือของเหลวในงานอุตสาหกรรม โดยปกติของฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละชนิดจะมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหากผู้ใช้งานไม่มีได้มีการบำรุงรักษาที่ถูกวิธีและตามกำหนดระยะเวลา หรือใช้งานตามกำลังที่ไม่เหมาะสมกับฮีตเตอร์ประเภทนั้น ๆ จะทำให้ฮีตเตอร์ (Heater) มีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าปกติ โดยเราได้มีการแนะนำไว้ในหัวข้อ 5 วิธีง่าย ๆ สำหรับยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater) แต่บ่อยครั้งที่เรามักจะพบปัญหาอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ที่สั้นผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุนั้น ซึ่งกว่าที่จะทราบสาเหตุนั้นอาจทำให้ฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ก็เป็นได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินค้า หรือ Line การผลิต และเสียเวลาในการปฏิบัติงาน        ดังนั้นหากว่าเราทราบสาเหตุได้รวดเร็วและทันเวลาเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับฮีตเตอร์ (Heater) นั้น ก็จะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการผลิตเป็นอย่างมาก โดยเบื้องต้นผู้ใช้งานสามารถทำได้เองง่าย ๆ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้      1. วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด โดยใช้มิเตอร์วัดและอ่านค่าความต้านทาน (Resistance) แนะนำ Multimeter รุ่น CENTER110 โดยการวัดค่าหน่วยโอห์ม (Ohm) กรณีฮีตเตอร์ขาดจะวัดค่าโอห์ม (Ohm) ไม่ขึ้น และกรณีฮีตเตอร์ใช้งานได้ปกติค่าโอห์ม (Ohm) จะขึ้น ตามสูตรการหาค่ากำลังไฟฟ้า P=I2R หรือ P=E2/R      2. วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด โดยใช้ Temperature Controller รุ่นที่มีฟังก์ชั่น CT Input ใช้งานฟังก์ชั่น CT Input เพื่อเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) โดยการนำเอา CT (Current Transformer) มาคล้องกับสายไฟที่ต่อฮีตเตอร์ (Heater) แล้วนำ CT มาต่อเข้า Temp Controller ได้โดยตรง ซึ่งได้อธิบายไว้ในหัวข้อ วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด ทำอย่างไรได้บ้าง?        อีกหนึ่งวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาดโดยใช้อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N ซึ่งในวันนี้เราจะมาเจาะลึกวิธีนี้กันในหัวข้อ "ทราบปัญหาเร็วและลดความเสียหายด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm)" ซึ่งวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาดโดยใช้อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) นี้ เป็นวิธีการเช็คกระแสของฮีตเตอร์โดยตรง ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถทราบสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) ที่รวดเร็วทันเวลา ง่ายต่อการแก้ไขได้ทันท่วงที โดยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) มีรุ่นต่าง ๆ ดังนี้   อุปกรณ์สำหรับเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N เครื่องแสดงผลค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Digital Monitor For Heater Break Alarm) รุ่น CM-005D เครื่องเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005      วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาดโดยใช้อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) CM-005N      การทำงานของอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N จะทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว (ที่กระแสสูงสุด 50A ได้ถึง 4 ตัว) ในเวลาเดียวกัน โดยต่อสายคล้องผ่าน CT (Current Transformer) เพื่อทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว ถ้าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดไม่มีกระแสไหลผ่าน แสดงว่าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวนั้นขาด และแจ้งเตือนให้ทราบว่าขณะนี้ฮีตเตอร์ขาด หรือในกรณีที่ Output ของ Temperature Controller ไม่สั่งงาน แต่มีกระแสไหลผ่านฮีตเตอร์ (Heater) ตลอดเวลา อันเนื่องจาก Solid State Relay Short Circuit หรือหน้า Contact ของ Magnetic Arc. ติดกัน จะทำให้มี Alarm เตือนความผิดปกติเช่นกัน เป็นต้น        ทางผู้ใช้งานสามารถนำอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N ไปต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่นเพิ่มเติม เพื่อทำให้ความสะดวกรวดเร็วในการแจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาดได้ โดยวิธีต่อใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) CM-005N ร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ (ดังรูป)        รูปที่ 1 : การต่อใช้งานของอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N ร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005D โดยจะสามารถทราบกระแสของฮีตเตอร์แต่ละตัว (สูงสุด 8 ตัว) ได้จากหน้าจอ CM-005D ที่ติดตั้งไว้บริเวณหน้าตู้คอนโทรลได้ พร้อมทั้งนำ Alarm Output ของอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N ต่อร่วมกับ Warning Light (TLW-01/02) เพื่อแจ้งเตือนด้วยสัญญาณไฟ ทำให้ช่าง/วิศวกรทราบได้ทันทีว่าฮีตเตอร์ในเครื่องจักรขาดหรือ Short Circuit การต่อใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N ต่อร่วมกับ Warning Light (TLW-01/02) เพื่อแสดงสถานะฮีตเตอร์ (Heater) เมื่อขาด หรือ Short Circuit        รูปที่ 2 : การต่อใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N โดย Software Prisoft, Scada สื่อสารกับ Computer เชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Converter) RS485/RS232 To TCP/IP รุ่น RM-012-IP โดยสามารถอ่านข้อมูลและบันทึกค่า Parameter ต่าง ๆ ที่วัดได้ แบบ Real time ด้วยระบบ MODBUS RTU RS-485 การต่อใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N จำนวน 2 ตัว ร่วมกับ Computer ผ่าน Software Prisoft, Scada ภายในห้องช่าง เพิ่มความสะดวกในการบันทึกข้อมูลและแจ้งเตือน Alarm        รูปที่ 3 : การต่อใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N ร่วมกับ PLC (Unistream Programmable) UNITRONICS โดยเชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Converter) RS485/RS232 To TCP/IP รุ่น RM-012-IP การต่อใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N จำนวน 2 ตัว ร่วมกับ PLC (Unistream Programmable) UNITRONICS        เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) เพื่อเช็คสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) นั้น การเลือกใช้อุปกรณ์ต่อร่วมก็สำคัญเช่นกัน ซึ่งประกอบด้วย Temperature Controller, Solid State Relay, Temperature Sensor เช่น Thermocouple, Pt100 เป็นต้น        ข้อดีของการใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm)        1. ลดความเสียหายของสินค้าหรือชิ้นงาน อันเนื่องมาจากฮีตเตอร์ขาด (Heater Break)        2. ง่ายต่อการซ่อมบำรุงรักษา เนื่องจากทราบตำแหน่งฮีตเตอร์ (Heater) ที่เสียหายชัดเจน        3. ป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อฮีตเตอร์ (Heater) ตัวอื่น ๆ ในเครื่องเดียวกันทำงานหนักชดเชยแทนตัวที่เสียหาย        4. Monitor และ Record ข้อมูลผ่าน MODBUS RTU RS-485 ได้        5. อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) โดยสามารถติดตั้งยึดกับราง Din Rail ได้เลย        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm)   ติดตั้งอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) ภายในตู้คอนโทรล คู่กับเครื่องจักรอาหารสัตว์ (Feed mill) ในการรักษาอุณหภูมิของวัตถุดิบ เนื่องจากภายในเครื่องจักรติดตั้งฮีตเตอร์ (Heater) เป็นจำนวนมาก เครื่องฉีดพลาสติก ห้องอบสี   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
คำสั่ง Function Block Ladder PLC (Programmable Logic Controller) คืออะไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Function Block Diagram (FBD) เป็นภาษามาตรฐานที่ใช้เขียนโปรแกรมตามมาตรฐาน IEC 1131-3 โดยกำหนดไว้ 5 ภาษา คือ LD (Ladder Diagram), FBD (Function Block Diagram), IL (Instruction List), ST (Structure Text) และ SFC (Sequential Function Chart) ถึงแม้ว่าลักษณะโครงสร้างของแต่ละภาษาจะมีความแตกต่างกัน แต่ในแต่ละภาษาจะมีส่วนประกอบต่าง ๆ ในโปรแกรมมีลักษณะเดียวกันตามมาตรฐาน IEC 1131-3 เช่น ลักษณะการประกาศตัวแปร ฟังก์ชั่น และฟังก์ชันบล็อก เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามเราสามารถที่จะเขียนโปรแกรมโดยนำรูปแบบการเขียนในภาษาต่าง ๆ มารวมกันได้ ซึ่งใน PLC UNITRONICS จะมีคำสั่งในการเรียกมาใช้งานและเขียนโปรแกรมได้ 2 แบบ ดังนี้        1. LD (Ladder Diagram)          เป็นภาษาที่เขียนอยู่ในรูปของสัญลักษณ์ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากวงจรควบคุมแบบรีเลย์และวงจรไฟฟ้า ซึ่งแลดเดอร์ไดอะแกรม (Ladder Diagram) จะประกอบด้วยราง (Rail) ทั้งซ้ายและขวาของไดอะแกรม เพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เป็นสวิตช์หน้าสัมผัส เพื่อเป็นทางผ่านของกระแส และมีขดลวดหรือคอยล์เป็นเอาต์พุต เป็นต้น (ดังรูป 1.1) รูป 1.1 LD (Ladder Diagram)        2. FBD (Function Block Diagram)          PLC UNITRONICS จะมี Function Block สำเร็จรูป เป็นการเอารูปแบบของ Function Block การใช้งานต่าง ๆ มารวมเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้ง่ายการต่อการเขียนโปรแกรมเพราะไม่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ เราจะยกตัวอย่าง เช่น Function Linear, Function RTC, Function Modbus RTU เป็นต้น (ดังรูป 2.1)            2.1 Function Linearization 2.1 Function Linearization        จากรูป 2.1 เป็นตัวอย่างของการใช้งาน Function Linearization ซึ่งใช้ในการแปลงค่าเป็นเชิงเส้นตรง เช่น รับสัญญาณ Analog 4-20 mA จากนั้นนำมาทำการแปลงเป็นค่าต่าง ๆ ที่เราต้องการ เช่น อุณหภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity), แรงดัน (Pressure) เป็นต้น            2.2 Function RTC (Real Time Clock) รูป 2.2 Function RTC (Real Time Clock)        จากรูป 2.2 เป็นตัวอย่างการใช้งานของ Function RTC (Real Time Clock) ถือว่าเป็นฟังก์ชั่นยอดนิยมก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นการใช้งานจากฐานเวลาของนาฬิกามาร่วมด้วยในการใช้งานโปรแกรมซึ่งจะทำให้ง่ายและสะดวกขึ้น เช่น นำไปใช้การตั้งเวลาการทำงานของปั๊ม (Pump) หรือวาล์ว (Valve) เป็นต้น        PLC Unitronics เป็น PLC ที่มีทั้งตัว PLC และ HMI (PLC+HMI) อยู่ในตัวเดียวกัน และยังมีหน้าจอแสดงผลแบบต่าง ๆ ให้เลือกอีกหลายรูปแบบ เช่น หน้าจอสี, หน้าจอ LCD, หน้าจอแบบปุ่มกด (Keypad) และหน้าจอแบบ Touch Screen เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการนำมาใช้งานสำหรับใช้ในการควบคุม Solution ต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทั้งระบบในงานอุตสาหกรรม เนื่องจาก PLC Unitronics มี Function Block และ Ladder ที่ง่ายต่อการเขียนโปรแกรม (ดังรูป)   UniStream PLC Vision Series PLC Sameba Series PLC Jazz & M91 PLC UniStream PLC เน้นกับงานที่ใช้กราฟฟิคหน้าจอแบบ Touch Screen Vision PLC สามารถเก็บข้อมูล (Data logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen Samba PLC สามารถเก็บข้อมูล (Data logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen (ราคาถูก) Jazz and M91 PLC มีขนาดเล็กกะทัดรัด หน้าจอแบบ LCD        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC Unitronics   PLC ระบบควบคุมการประปาส่วนภูมิภาค PLC ระบบควบคุมอุณหภูมิห้องแรงดันลบ PLC ระบบควบคุมและบันทึกค่าอุณหภูมิ, รถขนย้ายอาหารและเครื่องมือทางการแพทย์ Catering  Mobile   Switching Power Supply Vision Programmable Logic Control+HMI Vision Programmable Logic Control+HMI Micro-OPLC  Programmable Logic Control+HMI Jazz Micro-OPLC Programmable Logic Control โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การเลือกใช้ Timer ในงานอุตสาหกรรมให้เหมาะสมกับการใช้งาน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ คือ อุปกรณ์ตั้งเวลาและควบคุมการทำงานให้เอาต์พุตทำงานตามเงื่อนไขและเวลาที่ตั้งไว้ให้เป็นไปตามที่ผู้ใช้ต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่ “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ จะถูกใช้ในงานอุตสาหกรรมในโรงงาน โดยเป็นส่วนประกอบในเครื่องจักร ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก โดยในเครื่องจักรจะมี “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ จำนวน 1 ตัว หรือหลายตัว โดยขึ้นอยู่กับลักษนะการใช้งาน        โดยปัจจุบัน “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ มีมากมายหลายชนิด การเลือกใช้ “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ ให้เหมาะกับงานจึงมีข้อควรพิจารณา ซึ่งในบทความนี้เราจะมาแนะนำทุกท่านในหัวข้อ “การเลือกใช้ Timer ในงานอุตสาหกรรมให้ถูกประเภท” ว่าเราควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง เพราะปัจจัยต่าง ๆ อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานต่าง ๆ ของเครื่องจักร หรือกระบวนการผลิตได้ ซึ่งปัจจัยที่สำคัญมีดังนี้   เวลา : ระยะเวลาในการใช้งานอยู่ช่วงใด เช่น 0.1 วินาที ถึง 100 ชั่วโมง เป็นต้น แรงดัน : มีความจำเป็นต่อการใช้ในการสั่งการทำงานของ “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ เช่น 24 VAC/VDC, 220 VAC/VDC เป็นต้น หน้าคอนแทค : ต้องใช้หน้าคอนแทคแบบใด เช่น 1 NO และ 1 NC หรือ 1 NO/NC เป็นต้น Option : ลักษณะพิเศษ เช่น ขนาด Slim เพื่อทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งหรือมีหน้าจอแสดงเวลา เพื่อสามารถ Monitor ได้ หรือมี Memory หรือการตั้งค่าผ่าน Mobile หรือ PC      ดังนั้น จากปัจจัยหลัก ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เราจะสามารถทราบถึงวัตถุประสงค์และวิธีการเลือก “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ นำไปใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยทางเราขอแนะนำและยกตัวอย่างงานที่พบบ่อยในภาคอุตสาหกรรม ดังนี้   งานควบคุมการเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า ตามเวลาในการทำงาน      “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ ที่เหมาะสมควรเป็น “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ตั้งเวลา หรือ Timer Switch แบบดิจิตอล รุ่น SMW-Series ที่ใช้สำหรับตั้งเวลาในการทำงานซึ่งเหมาะกับงานที่ต้องการควบคุมเวลาในการทำงาน โดยสามารถตั้งเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าตามเวลาที่ต้องการได้ หรือตั้งให้ทำงานแบบ Recycle Timer สามารถโปรแกรมวันหยุดล่วงหน้าได้ 30 วัน และช่วงวันหยุดพักร้อนได้ 10 ช่วงเวลา นอกจากนี้ Output ยังสามารถสั่ง ON/OFF แบบ Manual ได้ด้วย ในกรณีไฟดับสัญญาณนาฬิกาของ SMW-Series ยังทำการนับเวลาต่อไป ไม่จำเป็นต้องตั้งเวลาหรือโปรแกรมการทำงานใหม่ การแสดงผลด้วย OLED Display สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และสามารถตั้งเวลาในการปิดหน้าจอ OLED เมื่อไม่มีการกด Keypad   SMW-Series รูปแสดงวงจรการต่อใช้งานของ “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ตั้งเวลา หรือ Timer Switch แบบดิจิตอล รุ่น SMW-Series งานควบคุมเวลาช่วง Start Motor      “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ ที่เหมาะสมควรเป็น “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ ประเภท Star Delta Timer รุ่น PF-01 สำหรับ Start Motor ในระบบ 3 เฟส เพื่อช่วยลดกระแส Peak ในช่วงที่ Motor เริ่มหมุน ทำให้กระแสที่ใช้ในการ Start Motor ไม่เกินพิกัดของกระแส Lock Rotor หรือช่วยให้ไม่เกิดไฟตกในช่วง Start Motor ในกรณีที่ Motor มีขนาดใหญ่เมื่อจ่ายไฟเข้า Supply ของ PF-01 Relay ของชุด Star (Y) จะทำงานก่อน เมื่อครบเวลาที่ตั้งไว้ (TY) Relay ของชุด Star (Y) จะหยุดทำงานและหน่วงเวลาตาม Pause Time T (Y-∆) เพื่อเว้นระยะห่างการทำงานของ Magnetic Contractors ระหว่าง Star และ Delta เมื่อครบเวลา Pause Time T (Y-∆) แล้ว Relay ของชุด Delta (∆) จะทำงาน PF-01 สามารถเลือกเวลาการทำงานได้ 2 Ranges คือ 0.3-30 sec และ 1-120 sec โดยการต่อ Jumper   PF-01 รูปแสดงวงจรการต่อใช้งานของ “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ ประเภท Star Delta Timer รุ่น PF-01สำหรับ Start Motor งานควบคุมและนับเวลาการทํางานของเครื่องจักร      “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ ที่เหมาะสมควรเป็น “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ อุปกรณ์นับชั่วโมงการทํางานของเครื่องจักร รุ่น CMP-24 โดยจะเริ่มนับเวลาการทํางานของเครื่องจักรเมื่อจ่ายไฟเข้า Supply และสัญญาณ Start และมี Option 1 Alarm Output สําหรับตั้งค่าชั่วโมงการทํางาน เมื่อครบเวลาที่ตั้งค่าไว้ Output จะ ON และ Reset OFF ได้ด้วยการกดปุ่ม หรือ External Reset   CMP-24 รูปแสดงวงจรการต่อใช้งานของ “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ ประเภทอุปกรณ์นับชั่วโมงการทํางานของเครื่องจักร รุ่น CMP-24 งานควบคุมการทํางานของเครื่องจักรและตั้งเวลาการทำงานพร้อมหน้าจอแสดงผล      “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ ที่เหมาะสมควรเป็น “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ ที่สามารตั้งเวลาแบบดิจิตอล รุ่น PT-03 สามารถเลือกตั้งเวลาได้ถึง 8 Function และสามารถเลือกหน่วยเวลาเป็น mSec, Sec, Min และ Hour ได้จาก Keypad การทำงานของ PT-03 จะมีสวิทช์ควบคุมให้ Timer Start และในการรีเซตค่าของ Timer สามารถทำได้โดยกดปุ่มรีเซตจากด้านหน้า หรือต่อสวิทช์ควบคุมจากภายนอกได้   PT-03 รูปแสดงวงจรการต่อใช้งานของ “Timer” หรือ ไทม์เมอร์ ที่สามารตั้งเวลาแบบดิจิตอล รุ่น PT-03   ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน รดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ   การสตาร์ทมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อลดกระแสขณะสตาร์ท (Star-Delta)   นับชั่วโมงการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า Hour Counter เครื่องนับจำนวนชั่วโมงการทำงาน Target Counter Relay Module รีเลย์โมดูล Signal Tower Light Rotation Warning Light   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK  

Image Alternative text
ข้อควรระวังในการติดตั้ง PLC (Programmable Logic Control) และการ Wiring สาย

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      PLC ย่อมาจาก โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ (Programmable logic Controller) เป็นอุปกรณ์สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องจัก หรือระบบโซลูชั่นต่าง ๆ แบบอัตโนมัติ เนื่องจาก PLC จะมีส่วนที่เป็นอินพุต (Input) ที่ต่อเข้ากับตัวเซ็นเซอร์ (Sensor) หรือสวิตช์ (Switch) ต่าง ๆ และเอาต์พุต (Output) สามารถต่อออกไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรได้ทันที โดยการป้อนโปรแกรมคำสั่งเข้าไปในตัว PLC ที่มี Microprocessor ถือว่าเป็นสมองสำหรับสั่งการที่สำคัญของ PLC และสามารถควบคุมการทำงานของระบบให้มีความยืดหยุ่นเข้ากับระบบต่าง ๆ ได้ ทำให้ PLC ได้ถูกนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ฯลฯ ถือได้ว่าเราสามารถนำ PLC มาใช้งานได้อย่างครอบคลุมเลยก็ว่าได้ โดยเราได้พูดถึงประโยชน์ของ PLC ไว้ในหัวข้อก่อน ๆ กันไปแล้ว เช่น ทำไมต้องใช้  PLC+HMI ในการควบคุมเครื่องจักรในยุคปัจจุบัน หรือ การต่อใช้งาน Analog Input กับ PLC เป็นต้น แต่ก่อนที่จะนำ PLC มาใช้งานได้อย่างที่กล่าวมานั้น อีกหนึ่งเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเช่นกัน คือ การติดตั้ง PLC และการ Wiring สาย ซึ่งในวันนี้เราจะมาแนะนำกันในหัวข้อ “ข้อควรระวังในการติดตั้ง PLC (Programmable Logic Control) และการ Wiring สาย” ว่ามีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร? การติดตั้ง PLC (Programmable Logic Control) ภาคด้านอินพุต (Input) และภาคด้านเอาต์พุต (Output)      การติดตั้งภาคด้านอินพุต (Input) และภาคด้านเอาต์พุต (Output) สำหรับ PLC (Programmable Logic Control) เป็นขั้นตอนที่ลำดับต้น ๆ ที่สำคัญ และทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจในการเขียนคำสั่งหรือการโปรแกรมเงื่อนไขต่าง ๆ ในการควบคุม โดยภาษาที่ใช้ในการโปรแกรม PLC (Programmable Logic Control) ปัจจุบันมีหลากหลายขึ้นอยู่กับรุ่น, ยี่ห้อ และความชำนาญของผู้ใช้ เช่น      • Ladder Diagram Language      • Sequential Flow Chart Language      • Function Block Diagram Language      • Instruction List Language (Statement List Language)      • Structure Text Language ดังนั้นเพื่อลดข้อผิดพลาดและทำให้การติดตั้งง่ายขึ้นผู้ใช้ควรปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ดังนี้      • การติดตั้งอินพุตและเอาต์พุตโมดูล I/O PLC (Programmable Logic Control) การติดตั้งโมดูล I/O และการเลือกวางตำแหน่งที่ถูกต้อง ซึ่งขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบประเภทของโมดูล โดยจะแบ่งภาคดิจิตอลอินพุต (Digital Input) ซึ่งรับเป็นไฟ 24VDC หรือ 0VDC ขึ้นอยู่กับการเลือกรับประเภทของสัญญาณอินพุตและดิจิตอลเอาต์พุต จะมีแบบที่นิยมใช้ก็คือแบบรีเลย์ (Relay) และแบบทรานซิสเตอร์ (PNP, NPN) ซึ่งจะต้องอ่านและดูคู่มือของอุปกรณ์นั้นก่อนที่จะ Wring สาย เพราะอุปกรณ์แต่ละรุ่นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป      • ข้อควรพิจารณาในการเดินสายไฟ (Wiring)        - เทอร์มินอล I/O แต่ละตัวสามารถรับสายไฟ (Cable Wire) หรือขนาดลวดหนึ่งเส้นหรือมากกว่าได้ ผู้ใช้ควรตรวจสอบขนาดสายไฟ (Cable Wire) ขนาดลวดและคุณภาพของสายไฟให้ถูกต้อง และการทนกระแสสูงสุดที่เหมาะสม        - ควรติดป้ายกำกับที่สายไฟ (Cable Wire) และติดป้ายกำกับแต่ละบล็อก Terminal ให้ชัดเจน รวมถึงการเข้ารหัสสี (Color Code) ของลักษณะสัญญาณที่คล้ายกัน (เช่น AC : แดง, DC : น้ำเงิน, ทั่วไป : ขาว ฯลฯ) เพื่อช่วยให้การบำรุงรักษาและการแก้ไขปัญหาง่ายขึ้น        - การมัดสายไฟเป็นเทคนิคที่ใช้กันทั่วไปเพื่อทำให้การเชื่อมต่อกับโมดูล I/O แต่ละโมดูลง่ายขึ้น ในวิธีนี้สายที่จะเป็นเชื่อมต่อกับโมดูลเดียวถูกมัดโดยทั่วไปใช้ Cable Tie รัด แล้วส่งผ่านท่อด้วยมัดลวดอื่น ๆ ที่มีลักษณะสัญญาณเดียวกัน ชุดอินพุต กำลังไฟและเอาต์พุตที่มีสัญญาณชนิดเดียวกันควรเก็บไว้ในท่อแยกต่างหาก หากเป็นไปได้เพื่อหลีกเลี่ยงสัญญาณรบกวน      • ขั้นตอนการเดินสายไฟ (Wiring)         เมื่อโมดูล I/O และสายไฟมีการตรวจสอบและติดป้ายกำกับ การแนะนำเบื้องต้นการเดินสาย (Wiring) ไปยังโมดูลสามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้         1. ก่อนการเดินสายไฟ (Wiring) ให้ปลดแหล่งจ่ายไฟเข้าจากคอนโทรลเลอร์และ I/O ก่อนการติดตั้ง PLC         2. ตรวจสอบว่าโมดูลทั้งหมดอยู่ในช่องที่ถูกต้อง ตรวจสอบประเภทและหมายเลขรุ่นของโมดูล         3. ทำการ Wiring สายตามคู่มือ Wiring Diagram ยกตัวอย่าง Vision1040+V200-18-E3XB         4. เมื่อทำการ Wiring สาย และ Download คำสั่งการเขียนโปรแกรมเข้าเครื่อง PLC เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการ Test คำสั่งและการ Control ด้านอินพุตและเอาต์พุต ว่าทำงานตามเงื่อนไขที่ต้องการหรือไม่ หากเป็นไปตามที่ต้องการให้ติดตั้งระบบให้เรียบร้อย      ตัวอย่างการ Test PLC      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC   Jazz Micro-OPLC Programmable Logic Control Programmable Logic Control Unistream Programmable Logic Control Vision Programmable Logic Control Switching Power Supply 5A   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ทำไมตู้ไฟฟ้าต้องมี Digital Voltage Protection Relay

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัญหาการเกิดแรงดันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage) เป็นปัญหาที่พบเจอกันบ่อย ซึ่งเกิดขึ้นได้ในโรงงานอุตสาหกรรม, อาคารหรือที่พักอยู่อาศัย ถึงแม้จะเป็นแรงดันตก (Under Voltage) หรือแรงดันเกิน (Over Voltage) ที่เป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ก็มีผลต่อการทำงานที่อาจเกิดความผิดพลาดได้ และหากในกรณีที่ระบบไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมมีปัญหาหรือขัดข้องถ้าไม่มีระบบการป้องกันที่ดีอาจจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงงาน, ไลน์การผลิต, อาคารหรือสำนักงาน ฯลฯ เสียหายได้ และอาจเกิดอันตรายกับช่างหรือผู้ปฎิบัติงานในบริเวณนั้นในกรณีที่อุปกรณ์ระเบิดได้ โดยความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่อาจจะเกิดขึ้นมีดังนี้      • ไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit)      • โหลดเกินหรือกระแสไฟฟ้าเกิน (Overload)      • ไฟกระชาก (Surge)      • แรงดันไฟฟ้าเกิน (Over Voltage)      • แรงดันไฟฟ้าตก (Under Voltage)      • เฟสไม่สมดุลย์ (Phase Unbalance)      • แรงดันไฟฟ้าหายบางเฟส (Phase Loss)      • แรงดันไฟฟ้าสลับเฟส (Phase Sequence) สัญลักษณ์ทางระบบไฟฟ้า        การมีระบบป้องกันไฟฟ้า (Electrical Protection) ที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในงานอุตสาหกรรม วันนี้เราจึงมาแนะนำระบบป้องกันไฟฟ้า (Electrical Protection) หรือที่วิศวกรทุกท่านรู้จักในคำว่า Protection Relay หรือ Phase Protection Relay ซึ่งมีทั้งแบบปรับหมุน (รุ่น PM-017) โดยการคำนวณหาเปอร์เซ็น Set Point ของแรงดันไฟตก-ไฟเกิน (Over-Under Voltage) ซึ่ง Phase Protection แบบปรับหมุนนี้ ในกรณีที่ต้องการทราบสถานะของการทำงานต่าง ๆ รวมไปถึงสถานะผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่เกิดขึ้นสามารถเช็คได้จากสถานะการโชว์ของ LED        ดังนั้น หากต้องทราบค่าแรงดันไฟฟ้า (Volatge) ที่เกิดขึ้นตามค่าจริง โดยไม่ต้องคำนวณเปอร์เซ็นแรงดันในการใช้งานสำหรับตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล, ตู้สวิตช์บอร์ด (MDB) เป็นต้น โดยการใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟตก-ไฟเกินและเช็คเฟสในระบบไฟ (Phase Protection Relay) แบบดิจิตอล หรือเฟสโปรเทคชั่นรีเลย์แบบดิจิตอล (Digital Voltage Protection Relay) โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำกันในหัวข้อ “ทำไมตู้ไฟฟ้าต้องมี Digital Voltage Protection Relay” โดย Digital Voltage Protection Relay เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจับความผิดปกติที่เกิดในระบบไฟฟ้าและทำการสั่งตัดระบบการจ่ายไฟฟ้าที่เกิดปัญหาออกจากระบบโดยเร็ว เช่น ปัญหาที่เกิดจากแรงดันไฟฟ้าเกิน (Over Voltage), แรงดันไฟฟ้าตก (Under Voltage), แรงดันไฟฟ้าหายบางเฟส (Phase loss), แรงดันไฟฟ้าสลับเฟส (Phase Sequence) เพื่อไม่ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบเกิดความเสียหาย เป็นต้น โดยเราขอยกตัวอย่าง Digital Voltage Protection Relay รุ่น VPM-05 ว่าทำไมถึงจำเป็นต้องมีใช้งานในตู้ไฟฟ้า (ดังรูป) หน้าจอแสดงผล Digital Voltage Protection Relay รุ่น “Primus” VPM-05             Digital Voltage Protection Relay รุ่น VPM-05 เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟตก-ไฟเกินและเฟสขาดหายแบบดิจิตอล ที่มาพร้อมกับหน้าจอแสดงผลค่าแรงดันไฟฟ้าแบบ 7-Segment สีแดง ขนาดตัวอักษรและตัวเลข 0.39 นิ้ว สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และไฟ LED แสดงสถานะ Alarm แจ้งเตือนเมื่อระบบมีปัญหา (ดังรูป)        Digital Voltage Protection Relay ที่สามารถป้องกันระบบไฟฟ้ามีปัญหาขั้นพื้นฐานตามมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมที่พบค่อนข้างบ่อย ดังนี้        Digital Voltage Protection Relay ที่สามารถเลือกรุ่นการต่อใช้งานสำหรับระบบ 1 เฟส และ 3 เฟส        รูปวงจรการต่อใช้งาน Digital Voltage Protection Relay รุ่น VPM-05 ร่วมกับมอเตอร์        ข้อดีของการติดตั้ง Digital Voltage Protection Relay ที่ตู้ไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม คือ         1. ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องจักรเสียหาย เช่น มอเตอร์, อินเวอร์เตอร์, สวิตซ์ชิ่งพาวเวอร์ซัพพลาย, คอมพิวเตอร์, เครื่องบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ที่เกิดจาดระบบไฟฟ้าผิดปกติ เช่น แรงดันไฟฟ้าเกิน (Over-Voltage), แรงดันไฟฟ้าตก (Under-Voltage), แรงดันไฟฟ้าหายบางเฟส (Phase Loss), แรงดันไฟฟ้าสลับเฟส (Phase Sequence) เป็นต้น         2. แจ้ง Alarm เตือนสถานะเมื่อระบบไฟฟ้ามีปัญหาได้ทันที ทำให้ช่าง วิศวกร เข้าตรวจสอบและ Maintenance ได้ง่าย         3. มีหน้าจอแสดงแรงดันไฟฟ้าในตัว ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยไม่ต้องซื้อ Meter เพื่อ Monitor เพิ่ม         4. สามารถตั้งค่าโปรแกรมแรงดันที่ต้องการให้ตัดการทำงานได้ง่ายโดยไม่ต้องคำนวณค่าให้ยุ่งยากซับซ้อน        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Digital Voltage Protection Relay Digital Voltage Protection Relay Relay Phase Protection Relay Electronics Overload Relay Dry Run Load Protection Relay Compact Soft Start And Soft Stop Motor โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การใช้งานอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นในห้อง Clean Room, ห้องเก็บวัคซีน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ห้องคลีนรูม (Clean Room), ห้องเก็บวัคซีน คือ ห้องที่ต้องมีการควบคุมเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นห้องปลอดเชื้อ โดยมีการควบคุมต่าง ๆ เช่น การควบคุมอุณหภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity), ความเร็วลม (Air Flow), และความดัน (Pressure) เป็นต้น ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์, เชื้อแบคทีเรีย, สิ่งสกปรกหรือสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ ทำให้ห้องไม่สะอาด เกิดฝุ่นและเชื้อโรคสะสม ซึ่งไม่เหมาะสมอย่างยิ่งกับสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้ เช่น โรงพยาบาล, ศูนย์วิจัย, ห้องปฏิบัติการ (Laboratory) หรือห้องเก็บวัคซีน เป็นต้น        โดยห้องเก็บวัคซีนตามศูนย์วิจัย, โรงพยาบาลหรือห้องคลีนรูม (Clean Room) ตามโรงงานของอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น โรงงานผลิตเครื่องสำอาง, โรงงานผลิตอาหาร, โรงงานชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หรือโรงงานผลิตอาหารเสริม เป็นต้น แม้กระทั่งที่เราคุ้นเคยกันอยู่บ่อย ๆ ว่าวัคซีนกลุ่มนี้จะต้องเก็บไว้ห้องเย็น ยาตัวนี้จะต้องเก็บไว้ในตู้เย็นหรือห้องที่อุณหภูมิติดลบ ซึ่งต้องมีห้องคลีนรูม (Clean Room) หรือห้องเก็บวัคซีนดังกล่าว เพื่อประสิทธิภาพในการเก็บรักษาวัคซีนหรือสารที่ใช้ผลิตตัวยาต่าง ๆ (ดังรูป) ตัวอย่างห้องคลีนรูม (Clean Room), ห้องเก็บวัคซีน        คุณสมบัติหลัก ๆ ของห้องคลีนรูม (Clean Room) , ห้องเก็บวัคซีนของโรงงาน  มีดังนี้         • อุณหภูมิ (Temperature) ที่เหมาะสมกับห้องคลีนรูม (Clean Room) ควรอยู่ในช่วง 22.2 องศาเซลเซียส (+-0.14 องศาเซลเซียส) ซึ่งอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องควบคุม เพราะอุณหภูมิมีความเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ทั้งนี้จะมีการกำหนดตามความต้องการของกระบวนการผลิต         • ความชื้นสัมพัทธ์ (Humidity) ประมาณ 50+- 10 % RH มีส่วนในเรื่องของผลิตภัณฑ์ หากความชื้นภายในห้องไม่เหมาะสมอาจทำให้ผลผลิตเสียหายได้ เพราะผลิตภัณฑ์บางอย่างอาจมีวัสดุที่ดูดความชื้นได้ง่าย หากความชื้นสูงเกินไปก็อาจทำให้เกิดสนิมหรือความเสียหายบางอย่างขึ้นและอาจทำให้ผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพได้        ดังนั้นในการควบคุมต่าง ๆ ดังข้างต้นที่กล่าวมา จะต้องมีอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกัน และแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณมาตรฐานทางไฟฟ้าด้านเอาต์พุต (Temperature & Humidity Transmitter) เช่น 4-20mA, 0-10VDC หรือ RS-485 (Protocol RTU Modbus) ซึ่งในบทความนี้เราจะมาแนะนำอุปกรณ์ดังกล่าวที่สอดคล้องกับการใช้งานและที่จำเป็นต้องมีในห้องคลีนรูม (Clean Room), ห้องเก็บวัคซีน ในหัวข้อ “การใช้งานอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นในห้อง Clean Room, ห้องเก็บวัคซีน” ว่าควรมีอุปกรณ์อะไรบ้าง ดังนี้        1. อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกัน (Humidity & Temperature Transmitter) และแปลงสัญญาณให้เป็นสัญญาณมาตรฐานทางไฟฟ้า 4-20mA/0-10VDC สามารถต่อใช้งานร่วมกับเครื่องควบคุม (Controller), เครื่องบันทึก (Recorder), เครื่องแสดงผล (Digital Indicator), โปรแกรมเมเบิ้ลลอจิกคอนโทรลเลอร์ (PLC) หรือเครื่องแสดงผลโดยรับสัญญาณ RS-485 Communication รุ่น TSM-94 (สำหรับรุ่น HM-006N) ได้        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Humidity & Temperature Transmitter (HM-005N) อุปกรณ์แปลงสัญญาณอนาล็อก 4-20mA/0-10VDC เพื่อโชว์ค่าอุณหภูมิและความชื้นที่ Target Board      ตัวอย่างการต่อใช้งาน Humidity & Temperature Transmitter (HM-005N) อุปกรณ์แปลงสัญญาณอนาล็อก 4-20mA/0-10VDC เพื่อโชว์ค่าอุณหภูมิและความชื้นที่ Software Prisoft      ตัวอย่างการต่อใช้งาน Humidity & Temperature Transmitter (HM-006N) Output RS-485 เพื่อโชว์ค่าอุณหภูมิและความชื้นที่ Software Prisoft      2. การใช้เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ระยะไกลแบบไร้สาย (Wireless Humidity & Temperature) รุ่น HM-007 ในการบันทึกอุณหภูมิและความชื้นทุกช่วงเวลา (โดยส่งข้อมูลทุก ๆ 36 วินาที) ผ่านช่องทาง LoRaWan Gateway ของแต่ละห้องคลีนรูม (Clean Room), ห้องเก็บวัคซีน หรืออาคารในโรงงานอุตสาหกรรม บนระบบเครือข่ายไร้สาย LoRaWan System      3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) และอุณหภูมิ (Temperature) ในอากาศ ที่สามารถวัดค่าอุณหภุมิและความชื้นได้ภายในตัวเดียวกัน และโชว์ค่าได้ที่หน้าจอของอุปกรณ์หรือการวัดค่าแบบเก็บข้อมูล (Data logger) สำหรับดูค่าผ่านคอมพิวเตอร์ได้ (หมายเหตุ : ความแม่นยำอาจไม่เทียบเท่ากับหัวข้อที่ 1) CENTER 31 วัดความชื้นอุณหภูมิแบบตั้งโต๊ะ มีระบบการแจ้งเตือนในตัว        ข้อดีของการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกัน (Humidity & Temperature Transmitter) ในห้องคลีนรูม (Clean Room), ห้องเก็บวัคซีน         • ห้องคลีนรูม (Clean Room), ห้องเก็บวัคซีน มีการควบคุมตามคุณสมบัติที่ได้มาตรฐาน         • ลดเวลาการทำงาน ลดแรงงาน ในการสั่งเปิด-ปิดอุปกรณ์เพื่อควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ และประหยัดค่าใช้จ่าย         • มีความแม่นยำในการเก็บข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์           ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกัน (Humidity & Temperature Transmitter) ในห้องคลีนรูม (Clean Room), ห้องเก็บวัคซีน ใช้วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในห้อง และต่อแสดงผลผ่านจอ Big Display Humidity & Temperature Transmitter Target Counter USB to RS-422/RS-485 CONVERTER Switching Power Supply Primus Software โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การติดตั้งพัดลมระบายความร้อนในตู้คอนโทรล, ตู้แช่ และมอเตอร์ ด้วยพัดลมแบบ Axial Fans

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตสินค้า ทำให้มีความร้อน, ฝุ่น, ควัน, มลพิษต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการ หรืออาจเกิดจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติจากภายนอก ทำให้มีผลโดยตรงต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องมือวัดต่าง ๆ ในตู้คอนโทรลและเครื่องจักร เมื่อเกิดความร้อนสะสมมาก ๆ จะทำให้อายุการใช้งานของเครื่องจักรนั้นสั้นลงจากปกติและมีการทำงานที่ผิดปกติเกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดการที่ดีในการระบายอากาศเพื่อการถ่ายเทความร้อนให้มีประสิทธิภาพและช่วยให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องมือวัดต่าง ๆ ในตู้คอนโทรลหรือเครื่องจักรมีอายุการใช้งานที่ยืนยาวมากขึ้น โดยการใช้พัดลมระบายความร้อนในตู้คอนโทรล (Cabinet Filter Fans) ซึ่งเราได้มีการนำเสนอกันไปแล้วในหัวข้อ "วิธียืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในตู้ไฟฟ้า,ตู้คอนโทรล,ตู้สวิทบอร์ด (MDB)" ทั้งนี้จะต้องมีการจัดการที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลือกใช้อุปกรณ์ให้มีความเหมาะสมกับงานก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในงานอุตสาหกรรม        ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงการพิจารณาเลือกพัดลมระบายความร้อนในตู้คอนโทรล (Cabinet Filter Fans) และเครื่องจักรแบบ Axial Fans ซึ่งทำไมต้องเลือกพัดลมแบบ Axial Fans วันนี้เราจะมาแนะนำกันในหัวข้อ การติดตั้งพัดลมระบายความร้อนในตู้คอนโทรล, ตู้แช่ และมอเตอร์ ด้วยพัดลมแบบ Axial Fans โดยพัดลมแบบ Axial Fans มีคุณสมบัติดังนี้   คุณสมบัติของพัดลม Axial Fans      • ให้ปริมาณลมที่สูง ระบบรองรับการหมุนแบบ Ball Bearing อายุการใช้งานนานถึง 50,000 ชั่วโมง      • เหมาะสำหรับใช้ระบายความร้อนของมอเตอร์ ปกติจะมีใบพัดติดมากับมอเตอร์ขณะที่มอเตอร์มีการปรับรอบการใช้งานต่ำ จะทำให้การระบายความร้อนของพัดลมไม่เพียงพอจึงต้องใช้พัดลมประเภทนี้ไประบายความร้อนแทน      • มี Thermal cut-out ในระบบมอเตอร์ 1 เฟส 230VAC กรณีที่อุณหภูมิสูงเกินกำหนด      Axial Fans เป็นพัดลมที่มีส่วนประกอบของครีบใบพัด (Propeller Fins) ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor) โดยตรงบนแกนหมุน ซึ่งครีบใบพัดทั้งหมดจะถูกติดตั้งโดยตรงอยู่บนแกนหมุน (Axial Rotate) และเมื่อแกนกับครีบใบพัดหมุนส่งผลให้อากาศ (Air) ของพัดลมแบบ Axial Fans จะไหลขนานกับแกนของใบพัดและตั้งฉากกับระนาบการหมุนของใบพัด โดยชุดใบพัดจะถูกติดตั้งบนแกนเพลาขับของมอเตอร์ต้นกำลังซึ่งอยู่ภายในตัวพัดลม ทำให้มอเตอร์สามารถระบายความร้อนออกไปกับอากาศที่ถูกขับเคลื่อน ซึ่งพัดลมชนิด Axial Fans จะมีทิศทางลมให้เลือก 2 ทิศทาง คือ        1. ชนิดใบพัดแบบเป่าลม Sent A (ให้ทิศทางลมไปที่หน้าใบพัด) , 2. ชนิดใบพัดแบบดูดลม Sent V (ให้ทิศทางลมไปที่ท้ายมอเตอร์) ดังรูป รูปแสดงทิศทางลมของพัดลมแบบ Axial Fans        จากที่ได้ทราบคุณสมบัติของพัดลม Axial Fans กันไปแล้ว ต่อไปจะเป็นการติดตั้งพัดลมแบบ Axial Fans เพื่อระบายความร้อนในตู้คอนโทรล, ตู้แช่ และมอเตอร์ ดังนี้      วีธีการติดตั้งพัดลมระบายความร้อนในตู้คอนโทรล, ตู้แช่ และมอเตอร์ ด้วยพัดลมแบบ Axial Fans มีดังนี้      1. ติดตั้งพัดลม Axial Fans ใช้ในการระบายความร้อนในตู้คอนโทรล      จากรูปหัวข้อที่ 1 พัดลม Axial Fans ใช้สำหรับการระบายความร้อนในตู้คอนโทรลไฟฟ้า, ตู้สวิทบอร์ด (MDB) โดยในโรงงานจะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลายที่เกิดจากความร้อนขณะทำงาน เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer), อินเวอร์เตอร์ (Inverter), พีแอลซี (PLC), เบรกเกอร์ (Breaker) เป็นต้น ซึ่งความร้อนเหล่านี้จะสะสมภายในตู้ เมื่อไม่มีการระบายความร้อนที่ดีจะทำให้อุณหภูมิภายในตู้จะสูงขึ้นและเกิดความร้อนสะสม เละเมื่อไหร่ที่อุณหภูมิสูงถึง 50 ํC อุปกรณ์เหล่านี้ก็จะเริ่มมีปัญหา ทำงานบกพร่อง ทำให้ไลน์ผลิตเกิดความเสียหาย ดังนั้นจึงต้องใช้พัดลมระบายอากาศในตู้คอนโทรล (Cabinet Filter Fans) ที่มาพร้อมกับแผ่นกร่องฝุ่น (Filter) เพื่อไม่ให้ฝุ่นเข้าไปในตู้คอนโทรลได้        2. ติดตั้งพัดลม Axial Fans ใช้ในการระบายความร้อนมอเตอร์      จากรูปหัวข้อที่ 2 พัดลม Axial Fans ใช้ในการระบายความร้อนของตัวมอเตอร์ โดยมอเตอร์ส่วนใหญ่จะมีใบพัดที่ด้านท้ายอยู่แล้วเพื่อใช้ระบายความร้อน แต่ในกรณีที่มอเตอร์มีการปรับความเร็วรอบจะมีปริมาณลมไม่เพียงพอต่อการใช้งานทำให้มอเตอร์ร้อนมาก ซึ่งจะทำให้มอเตอร์มีปัญหาได้ ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต้องใช้พัดลมประเภท Axial Fans เพื่อระบายความร้อน โดยสามารถเลือกรุ่นไฟเลี้ยงแบบ 220VAC และ 400VAC ตามแรงดันที่ใช้งานได้        3. ติดตั้งพัดลม Axial Fans ใช้ในการระบายความร้อนคอยล์ร้อนของแอร์      จากรูปหัวข้อที่ 3 พัดลม Axial Fans ใช้ในการระบายความร้อนคอยล์ร้อนของแอร์ โดยจะใช้หลักการเป่าระบายความร้อนผ่านครีบของคอยล์ร้อนแอร์ ต้องใช้ใบพัดที่มีขนาดใหญ่ พัดลม Axial Fans จะมีขนาดตั้งแต่รุ่นใบพัดขนาด 170 mm. ถึง 400 mm. มีทิศทางการหมุนแบบดูดเข้า (Sent A) และเป่าออก (Sent V)        4. ติดตั้งพัดลม Axial Fans ใช้ในการระบายความร้อน ของคอยล์ร้อนในตู้แช่      จากรูปหัวข้อที่ 4 พัดลม Axial Fans ใช้ในการระบายความร้อนของคอยล์ร้อนในตู้แช่ โดยจะใช้หลักการเป่าระบายความร้อนผ่านครีบของคอยล์ร้อนเหมือนกับหลักการทำงานของแอร์ ในหัวข้อที่ 3        ข้อแนะนำ : ในกรณีที่ต้องการยืดอายุการใช้งานของพัดลมและประหยัดพลังงานไฟฟ้า ควรติดตั้ง Thermostat และต่อร่วมกับพัดลมติดตู้คอนโทรลเพื่อให้พัดลมไม่ต้องทำงานตลอดเวลาในกรณีที่อุณหภูมิภายในตู้ได้ตามที่ตั้งค่าไว้แล้ว (28-30 ํC) ดังรูป Cabinet Filter Fan Filter Fans Cam York Ecofit Air Conditioner for Control Boxes     โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
3 วิธี การติดตั้งเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ (Level Sensor) ร่วมกับ Pump Controller

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปั๊มคอนโทรล (Pump Control) หรือ เครื่องควบคุมการทํางานของปั๊มน้ำ (Water Pump) ที่มีการใช้งานกันเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นในหอพัก, อะพาร์ตเมนต์, คอนโดมิเนียม, อาคารตึกสูงหรือในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยจะทำหน้าที่ในการรับ-ส่งน้ำจากต้นทางไปยังปลายทาหรือสูบน้ำจากบ่อพักน้ำใต้ดินเข้าสู่ระบบในอาคารโดยตรง (Transfer Pump) ซึ่งในกรณีที่มีการใช้น้ำมากเกินไปจะต้องมีปั๊ม 2 ตัว เพื่อช่วยกันทำงาน หรือเรียกว่า Twin Pump นั่นเอง โดยได้มีนำเสนอข้อมูลกันไปแล้วในหัวข้อ เครื่องควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว พร้อมจอแสดงผล (Twin Pump Controller)        ปัจจุบันเครื่องควบคุมการทํางานของปั๊มน้ำ (Water Pump) หรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) มีทั้งแบบการควบคุมปั๊มน้ำ 1 ตัว และปั๊มน้ำ 2 ตัว ในระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส โดยมีการทํางานทั้งแบบ Water Supply (Charging) และ Drainage (Discharging) เป็นรุ่นแบบไม่มีหน้าจอแสดงผลและแบบมีหน้าจอแสดงผล โดยได้มีการพัฒนาให้มี Function การป้องกัน Over and Under Voltage, Phase Sequence, Phase Loss สามารถเลือกต่อใช้งานกับระบบ Booster Pump, Transfer Pump, Drain Water อยู่ในตัวเดียวกัน เพื่อประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งและค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ Option Function เพิ่มเติม (ดังรูป)   Pump Control เครื่องควบคุมการทํางานของปั๊มน้ำพร้อมหน้าจอแสดงผล Pump Control เครื่องควบคุมการทํางานของปั๊มน้ำ      สิ่งที่สำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับระบบการควบคุมปั๊มน้ำก็คือ เซ็นเซอร์วัดระดับน้ำหรือของเหลว (Level Sensor) ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์ด้านอินพุตที่จะต่อร่วมกับเครื่องควบคุมการทํางานของปั๊มน้ำ (Water Pump) หรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) ดังนั้นในวันนี้เราจะมาแนะนำเกี่ยวกับการติดตั้งเซ็นเซอร์ที่ใช้ร่วมกับเครื่องควบคุมการทํางานของปั๊มน้ำ (Water Pump) หรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) ว่ามีเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ (Level Sensor) อะไรบ้าง และมีวิธีการติดตั้งอย่างไร? ในหัวข้อ “3 วิธี การติดตั้งเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำร่วมกับ Pump Control”        วิธีที่ 1 : ติดตั้งโดยการใช้ Level Switch (สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลว วัสดุแบบ SUS304/SUS316) เป็นเซ็นเซอร์วัดระดับของเหลว เช่น นํ้า, น้ำมัน โดยอาศัย Magnet Switch เปลี่ยนแปลงสถานะของหน้าคอนแทค NO/NC เมื่อลูกลอยเคลื่อนที่ขึ้น-ลง ตามระดับของเหลว มีทั้งแบบติดตั้งด้านบนและด้านข้างถัง (รุ่น LP-04 สามารถเลือกจํานวนลูกลอยเพื่อวัดได้หลายระดับ) และ Cable Float Level Switch ลูกลอยวัดระดับแบบสายเคเบิ้ล โดยการใช้งานสามารถหย่อนลูกลอยลงไปในถังหรือบ่อบําบัดน้ำเสียเพื่อตรวจระดับน้ำและควบคุมให้อยู่ในตําแหน่งสูงหรือต่ำตามต้องการ เมื่อน้ำมีระดับสูงขึ้นลูกลอยจะอยู่ในลักษณะแนวนอน ทำให้สวิตช์อยูในตําแหน่ง OFF แต่ถ้าน้ำอยู่ในระดับต่ำลูกลอยจะอยู่ในลักษณะแนวดิ่ง ทําให้สวิตช์อยูในตําแหน่ง ON โดยสวิตช์ที่อยู่ภายในลูกลอยเป็นแบบ Mercury Switch (สวิตช์ปรอท) ทําให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานในการตัด-ต่อ ได้มากกว่า 500,000 ครั้ง รูปแสดงการติดตั้ง Level Switch (LP-Series) และ Cable Float Level Switch (CP-01) ในบ่อนํ้า      จากรูปจะเป็นการใช้งานของลูกลอยต่อร่วมกับ Pump Control โดยแต่ล่ะรุ่นก็จะมีการใช้งานที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการติดตั้ง โดยมีวงจรการต่อใช้งาน (ดังรูป) วงจรการต่อใช้งานของลูกลอยร่วมกับ Pump Control        วิธีที่ 2 : ติดตั้งโดยการใช้ Electrode Level Switch อุปกรณ์วัดระดับแบบก้านอีเล็คโทรด เป็นเซ็นเซอร์ที่ใช้กับของเหลวที่นําไฟฟ้าได้เท่านั้น และไม่สามารถใช้กับน้ำบริสุทธิ์ (RO) หรือน้ำมันที่มีสถานะเป็น Hydrocarbon ได้ โดยต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมระดับ Level Control (PM-021N-2) เพื่อควบคุม 1 ระดับ หรือ 2 ระดับ (ดังรูป)   รูปแสดงการติดตั้ง Electrode Level Switch ในบ่อพักนํ้า วงจรการต่อใช้งาน Electrode Level Switch ร่วมกับ Pump Control        จากรูปจะเป็นการใช้และวงจรการต่อใช้งานของก้าน Electrode Level Switch ต่อร่วมกับ Pump Control เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในระบบปั๊มนํ้า ซึ่งจะมีราคาที่ย่อมเยาและง่ายต่อการติดตั้ง        วิธีที่ 3 : ติดตั้งโดยการใช้สวิตช์ควบคุมแรงดัน (Pressure Switch) อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมแรงดันในท่อ, ระบบนํ้าหรือระบบลม โดยสามารถเลือกย่านแรงดันที่ต้องการใช้งานได้ สัญญาณ Output เป็นแบบ Relay Contact   รูปแสดงการติดตั้ง Pressure Switch ในระบบ Booster Pump วงจรการต่อใช้งาน Pressure Switch ร่วมกับ Pump Control      จากรูปจะเป็นการใช้งานของ Pressure Switch ต่อร่วมกับ Pump Control โดยจะอยู่ในระบบ Booster Pump จะเห็นได้ว่าการติดตั้งเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ (Level Sensor) ร่วมกับ Pump Control ทั้ง 3 วิธี ที่ผู้ใช้งานสามารถทำเองได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก และที่สำคัญสามารถเลือกเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ (Level Sensor) ให้เหมาะสมกับหน้างาน ที่ทางเราได้มีแนะนำไว้ในหัวข้อ การเลือกเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ (Level Sensor/Level Switch) ให้เหมาะสมกับหน้างาน เพื่อการใช้งาน Level Sensor, Level Switch, Level Water Sensor, Cable Float Level Switch ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ่น   ตัวอย่างลักษณะการติดตั้งเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ, ของเหลว (Level Sensor) ในการประยุกต์ใช้งาน   โรงควบคุมคุณภาพน้ำจตุจักร บ่อพักน้ำบนอาคาร เช็คระดับน้ำในถังน้ำ, น้ำมันหรือของเหลว   Single Pump Relay Single Pump Controller Level Switch Cable Float Switch Pressure Switch โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
วิธีการเช็คฮีตเตอร์ขาดด้วย Temperature Controller

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ฮีตเตอร์ (Heater) อุปกรณ์ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานต่าง ๆ เช่น งานอบสี, บรรจุภัณฑ์, งานขึ้นรูปพลาสติกในภาคอุตสาหกรรม โดยทั่วไปแล้วฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละประเภทจะมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกัน แต่บ่อยครั้งที่ฮีตเตอร์ (Heater) มีอายุการใช้งานที่สั้นผิดปกติหรือฮีตเตอร์เกิดความเสียหาย (ขาด) โดยที่ผู้ใช้งานนั้นก็ไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ซึ่งเราก็ได้มีนำเสนอสาเหตุและวิธีการป้องกันฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) กันไปแล้วในหัวข้อ ฮีตเตอร์ขาดเกิดจากอะไร? ทำให้ผู้ใช้งานได้ทราบถึงวิธีการตรวจเช็คเบื้องต้น เพื่อสามารถยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ได้ และอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้กระบวนการผลิตเกิดความเสียหาย คือ ฮีตเตอร์ทำงานผิดปกติหรือฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) นั่นเอง      ในการเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น การใช้มัลติมิเตอร์ (Multimeter) วัดและอ่านค่าความต้านทาน (Resistor) ถ้าฮีตเตอร์ขาดจะวัดค่าโอห์ม (Ohm) ไม่ขึ้น หรือการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) โดยใช้อุปกรณ์ตรวจวัดค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์เพื่อแจ้งเตือนความผิดปกติของฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm) และยังมีอีกหนึ่งวิธีในการเช็ค Heater ว่ายังทำงานอยู่ปกติหรือไม่ คือการใช้ Temperature Controller ในการควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งถ้า Heater ขาด อุณหภูมิก็จะตก ถึงแม้ว่า Temp Control จะพยายามจ่าย Output เต็มที่เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้ได้ก็ตาม แต่อุณหภูมิก็ไม่ขึ้นหรือตกลงเรื่อย ๆ (ขึ้นอยู่กับว่าขาดกี่ตัวจากทั้งหมดกี่ตัว) หรือบางท่านอาจใช้วิธีการตั้ง Alarm ไว้ว่าอุณหภูมิต่ำกว่าค่า ๆ หนึ่ง ให้ Alarm ทำงานก็ได้เช่นกัน แต่ในบางครั้งก็ช้าไป อาจจะทำให้ชิ้นงานอาจเสียหายไปแล้วก็ได้และจะแก้ไขอย่างไร?      โดยในวันนี้เราจะมาแนะวิธีที่แก้ปัญหาที่ตรงจุดโดยการใช้เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temp Control) ในหัวข้อ วิธีการเช็คฮีตเตอร์ขาดด้วย Temperature Controller ซึ่งการใช้ Temp Control เพื่อควบคุมการเพิ่มหรือลดค่าอุณหภูมิตามช่วงอุณหภูมิที่ต้องการใช้งานและตามเวลาที่กำหนดได้ โดยใช้ฟังก์ชั่น Heater Break Alarm หรือ CT Input เพื่อตรวจเช็คสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) ว่ายังทำงานอยู่ปกติไม่ได้ขาดหรือเสีย โดยการนำ CT (Current Transformer) คล้องไว้ที่สายไฟของ Heater เพื่อวัดกระแสและ Temp Control จะทำการสั่ง Output Alarm ในกรณีที่ไม่มีกระแสไหลผ่านแสดงว่า Heater ขาด ฟังก์ชั่น Alarm Heater Break จะทำงาน ซึ่งทำให้สามารถทราบสถานะ Heater ขาดได้ โดยมีหน้าจอแสดงผล (ดังรูป) หน้าจอแสดงผลของ Temperature Controller แสดงสถานะฟังก์ชั่น Heater Break Alarm และวงจรการต่อใช้งาน      การทำงานของ Temperature Controller คือ การใช้งานฟังก์ชั่น CT Input เพื่อเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) โดยการนำเอา CT Max. 30A (Current Transformer) มาคล้องกับสายไฟที่ต่อฮีตเตอร์ (Heater) แล้วนำ CT มาต่อเข้า Temp Controller ได้โดยตรง โดย Temp Control จะตรวจเช็คกระแสที่ไหลผ่านตัวฮีตเตอร์ (Heater) ซึ่งจะมีกระแสไหลผ่านอยู่ค่า ๆ หนึ่ง จากการกำหนดค่ากระแส (Current) ของผู้ใช้งานที่ต้องการจะตรวจเช็ค ซึ่ง CT (Current Tranformer) จะเป็นตัวคอยตรวจเช็คกระแสที่ไหลผ่านตัวฮีตเตอร์ หากฮีตเตอร์ขาดหรือไม่มีกระแสไหลผ่านในขณะที่ Output ของ Temperature Controller ทำงาน ก็จะส่งสัญญาณ Alarm แจ้งเตือนให้ทราบว่าขณะนี้ฮีตเตอร์ขาดโดยการต่อวงจร (ดังรูป)      การต่อใช้งาน Temperature Controller รุ่น TMP-95 ร่วมกับ CT โดยมีฟังก์ชั่น CT Input เพื่อเช็คว่าฮีตเตอร์ (Heater) ขาดหรือไม่ การต่อใช้งาน Temperature Controller รุ่น TMP-95 ร่วมกับ CT ฟังก์ชั่น CT Input เพื่อเช็คฮีตเตอร์ขาด      ในกรณีที่เครื่องจักรที่มีการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) หลาย Zone ในระบบ โดยต้องการเช็ค Heater หลาย ๆ ตัวพร้อมกัน ก็สามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N ซึ่งจะทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว (ที่กระแส 50 A. ได้ถึง 4 ตัว) ในเวลาเดียวกัน โดยต่อสายคล้องผ่าน CT (Current Transformer) เพื่อทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว ถ้าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดไม่มีกระแสไหลผ่าน แสดงว่า Heater ตัวนั้นขาด      หรือในกรณีฮีตเตอร์ (Heater) ทำงาน คือ มีกระแสไหลผ่านตลอดเวลาอันเนื่องจาก Solid State Relay Short Circuit หรือหน้า Contact ของ Magnetic Arc. ติดกัน โดยที่ Output ของ Temperature Controller ไม่สั่งงาน จะทำให้มี Alarm เตือนความผิดปกติ โดยต่อร่วมกับเครื่องแสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) รุ่น CM-005D เพื่อแสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละตัว ได้สูงสุดถึง 8 ตัว (ต่อเข้ากับ CM-005N 2 ตัว) เพื่อ Alarm แจ้งเตือนให้ผู้ปฏิบัติทราบถึงสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) ดังรูป รูปแสดงตัวอย่างวงจรการต่อใช้งานของอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N โดยต่อคล้องผ่าน CT ร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005D การประยุกต์ใช้งาน Temperature Controller      เหมาะสำหรับเครื่องจักรพลาสติก เครื่องบรรจุต่าง ๆ เครื่องจักรอาหาร เตาอบ เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ Digital Temperature Controller PID Control Function Heater Break Alarm Digital Monitor For Heater Break Alarm Current Transformer,CT Heater โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
แนะนำวิธีเขียนคำสั่งโปรแกรม PLC เพื่อทำการอ่านค่า Analog Input

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      PLC หรือ พีแอลซี ย่อมาจาก โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ (Programmable Logic Controller) อย่างที่ทราบกันดีว่า PLC เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานต่าง ๆ โดยภายในมี Microprocessor ที่เป็นมันสมองในการสั่งการ และที่สำคัญ PLC จะมีส่วนที่เป็นอินพุต (Input) และเอาต์พุต (Output) ที่สามารถต่อออกไปใช้งานได้ทันที เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติเลยก็ว่าได้        PLC สามารถรับสัญญาณอินพุต (Input) และส่งออกสัญญาณเอาต์พุต (Output) จากอุปกรณ์เครื่องมือวัดได้โดยตรง โดยเราได้มีข้อมูลการแบ่งประเภทของ Input/Output ไว้ในหัวข้อ การต่อใช้งาน Analog Input กับ PLC โดยในหัวข้อนี้ที่เราจะกล่าวถึงเกี่ยวกับวิธีเขียนคำสั่งโปรแกรม PLC เพื่อทำการอ่านค่าสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) ซึ่งเป็นสัญญาณมาตรฐานที่นิยมใช้กันเป็นอย่างมากและเป็นสัญญาณทางด้านเอาต์พุต (Output) ของอุปกรณ์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม ในหัวข้อ “แนะนำวิธี เขียนคำสั่งโปรแกรม PLC เพื่อทำการอ่านค่า Analog Input” ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับประเภทของสัญญาณอนาล็อกอินพุต (Analog Input) กันก่อน ดังนี้        สัญญาณประเภทอนาล็อกอินพุต (Analog Input Type) อนาล็อกอินพุต (Analog Input) จัดเป็น Input ที่บอกเป็นปริมาณที่เปลี่ยนแปลงค่าได้ เช่น 0-10 Vdc, 4-20mA เป็นต้น ซึ่งสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) ทั้ง 2 แบบ เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานที่ได้มีการกำหนดไว้สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม ดังนั้นอุปกรณ์ที่มีภาคเอาต์พุตเป็นแบบอนาล็อก เช่น อนาล็อกเซ็นเซอร์ ภาคอนาล็อกเอาต์พุตของ Digital Signal, Controller Temperature เป็นต้น ก็จะมีเอาต์พุตแบบใดแบบหนึ่ง หรือทั้ง 3 แบบเลยก็ได้ ดังนั้นภาคอนาล็อกอินพุตของ PLC ก็ต้องสามารถเลือกตรวจสอบได้ทั้ง 3 แบบได้เช่นกัน โดยหลักการทำงานของอนาล็อก PLC นำค่าที่ได้แปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) จัดเป็นขนาดของข้อมูลแทนลักษณะดังรูป ภาคชุดข้อมูลการแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอล   กราฟแสดงรูปแบบของสัญญาณอนาล็อก 0-10VDC และ 4-20mA   เข้าสู่ตัวอย่างการเขียนคำสั่งโปรแกรม PLC เพื่อทำการอ่านค่า Analog Input      ทำการเลือก Hardware Configuration จากนั้นเลือก Operance เป็น Memory Integer MI0 เพื่อรับค่าสัญญาณ Analog โดยจะมีโหมดให้เลือก 2 โหมด คือ Mode Fast และ Normal         1. Mode Fast คือ โหมดที่มีความเร็วในการอ่านแปลงค่าสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) จะมีความละเอียดขนาด 12 bit คือ 0-4095 unit แบบสัญญาณอนาล็อก ชนิด 0-10Vdc และ 819-4095 แบบสัญญาณอนาล็อก ชนิด 4-20mAdc         2. Mode Normal คือ โหมดปกติในการอ่านแปลงค่าสัญญาณอนาล็อก จะมีความละเอียดขนาด 14 bit คือ 0-16383 unit แบบสัญญาณอนาล็อก ชนิด 0-10Vdc และ 3277-16383  แบบสัญญาณอนาล็อก ชนิด 4-20 mAdc (ดังรูป) เมื่อทำการเลือกรุ่นของ PLC ได้ ให้ไปที่ Function Match --> Linearization กำหนดตัวแปรดังรูป ซึ่งจะมีความหมายดังนี้      X1 = D#3277 ค่าสัญญาณอนาล็อกด้านต่ำสุด เริ่มต้นที่ 4mAdc      Y1 = D#0 ค่าสัญญาณที่ทำการแปลงค่าแล้ว ซึ่งค่าต่ำสุด เช่น Pressure 0 bar      X2 = D#16383 ค่าสัญญาณอนาล็อกด้านสูงสุด สิ้นสุดที่ 20mAdc      Y2 = D#100 ค่าสัญญาณที่ทำการแปลงค่าแล้ว ซึ่งเป็นค่าสูงสุด เช่น Pressure 100 bar      X = ค่าที่ถูก Config ในช่วงอนาล็อกอินพุต เป็นรับเข้ามาเป็น  MI0      Y = ค่าที่ถูกทำการแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณตัวเลข และเราจะนำค่านี้ไปใช้งาน เช่น แสดงผลค่าแรงดัน 0-100 bar หรือเอาไปใช้ในการควบคุม ทำเป็น Alarm Lo หรือ Alarm Hi เป็นต้น        จากตัวอย่างการเขียนคำสั่งโปรแกรม PLC เพื่อทำการอ่านค่า Analog Input หากผู้ใช้งานสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ทางเรามีทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้าน PLC (Programmable Logic Controller) โดยเฉพาะ เพื่อให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาได้ สามารถติดต่อคุณขจรเพชร ได้ที่เบอร์ 090-197-9609    การประยุกต์ใช้งาน PLC   Booster Water Supply   Tester Standard Product Biogas Tester   Vision Programmable Logic Control+HMI Unistream Programmable Logic Control+HMI Jazz Micro-OPLC Programmable Logic Control+HMI Switching Power Supply Digital Indicator   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
วิธีการวัดค่าความเร็วรอบ (RPM) ของมอเตอร์ ด้วย Proximity Switch

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ความเร็วรอบ หมายถึง ความเร็วที่ชิ้นงานหรือมีดตัดหมุนรอบต่อหนึ่งหน่วยเวลา มีหน่วยวัดเป็นรอบต่อนาที "RPM" ย่อมาจาก Revolutions per Minute ซึ่งในการวัดความเร็วรอบ (RPM) นั้น จะมีเซ็นเซอร์ (Sensor) ในการตรวจจับและเครื่องแสดงผลของความเร็วรอบ (RPM) เรียกว่า Tachometer โดยมีหลักการวัดความเร็ว (Speed) ในการเคลื่อนที่ของวัตถุ ส่วนใหญ่จะนำมาประยุกต์ในการวัดความเร็วรอบของเครื่องจักร เช่น เพลาล้อรถยนต์, ความเร็วรอบของใบพัด, รอบของลูกกลิ้ง, ความเร็วรอบของมอเตอร์ เป็นต้น โดยในที่นี้เราจะมาพูดถึงวิธีการวัดค่าความเร็วรอบ (RPM) ของมอเตอร์ ดังนี้      วิธีการวัดค่าความเร็วรอบ (RPM) ของมอเตอร์ หลายท่านคงเจอปัญหาในการวัดความเร็วรอบ (RPM) ของมอเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกอุปกรณ์ (มิเตอร์หรือหน้าจอแสดงผล) โดยค่าที่วัดได้ไม่เที่ยงตรง เปลี่ยนชนิดของเซ็นเซอร์ (Sensor) แล้วก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมีความแม่นยำเพียงพอหรือไม่  เพื่อให้การผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุด      วันนี้เรามาดูหลักการง่าย ๆ ในการวัดความเร็วรอบ (RPM) ของมอเตอร์กัน โดยยกตัวอย่างเซ็นเซอร์ (Sensor) ประเภท Proximity Switch ในการวัดหรือการตรวจจับความเร็วรอบมอเตอร์ด้วยวิธีนี้ มีความแม่นยำมากน้อยแค่ไหน      ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก Proximity Sensor โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ         1. Inductive Sensor เป็นเซ็นเซอร์ที่ทำงานโดยอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงค่าความเหนี่ยวนำของขดลวด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีผลต่อชิ้นงานหรือวัตถุที่เป็นโลหะเท่านั้น หรือเรียกกันทางภาษาเทคนิคว่า Inductive Sensor ข้อดีของเซ็นเซอร์ชนิดนี้ คือ ทนทาน โดยสามารถทำงานได้ในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง (Wide Temperature Ranges) และทำงานในสภาวะที่มีการรบกวนทางแสง (Optical) และเสียง (Acoustic) ซึ่งเทียบเท่ากับชนิดเก็บประจุ (ดังรูป) ตัวอย่าง Proximity Sensor ชนิดตรวจจับโลหะ (Inductive Sensor)         2. Capacitive Sensor เซ็นเซอร์ประเภทนี้มีโครงสร้างทั้งภายนอกและภายในคล้ายกับแบบเหนี่ยวนำ การเปลี่ยนแปลงของความจุ ซึ่งเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของวัตถุชนิดหนึ่งเข้ามาใกล้สนามไฟฟ้าของคาปาซิเตอร์ (Capacitor) เซ็นเซอร์ชนิดนี้สามารถตรวจจับอุปกรณ์ที่ไม่ได้เป็นโลหะและอโลหะได้ เช่น พลาสติก, โฟม, น้ำ เป็นต้น ตัวอย่าง Proximity Sensor ชนิดตรวจจับอโลหะ (Capacitive Sensor)      ตัวอย่าง : การใช้ Tachometer รุ่น CM-001 ที่รับสัญญาณพัลส์ (Pulse) จากพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ชนิดตรววจับโลหะ (Inductive Proximity Switch) ในการวัดค่าความเร็วรอบต่อนาที (RPM) ของมอเตอร์สายพานลำเลียง รูปแสดงตัวอย่างการใช้ Tachometer รุ่น CM-001 ร่วมกับ Inductive Proximity Switch ในการวัดค่าความเร็วรอบต่อนาที (RPM) ของมอเตอร์สายพานลำเลียง      โดย Inductive Proximity Switch ปกติเราจะใช้ตรวจจับวัตถุโลหะในเครื่องจักรเพื่อบอกตำแหน่ง ส่งสัญญาณให้ PLC เพื่อทำการควบคุมเครื่องจักร นิยมใช้กันมากเนื่องจากใช้หลักการสนามแม่เหล็ก หมดปัญหาเรื่องน้ำ, ฝุ่น และสามารถนำ Inductive Proximity Switch  มาใช้ในการวัดความเร็วก็ได้ เช่น การตรวจจับที่เพลาหรือแกนที่เชื่อมต่อกับมอเตอร์โดยการฝังหมุดโลหะ เช่น 1 จุด หรือ 4 จุด โดยต้องออกแบบให้สมมาตรกัน จึงจะวัดความเร็วได้ถูกต้อง      ในการเลือกใช้งาน Inductive Proximity Switch สิ่งที่สำคัญคือ การตอบสนองความถี่ ซึ่งมีหน่วยเป็น Hz (ครั้งต่อวินาที) โดยการพิจารณาจากความเร็วสูงสุดของเครื่อง      ตัวอย่าง : Name plate motor ระบุไว้ที่ 1,400 RPM โดยมีสูตรการแปลงหน่วย RPM เป็น Hz ดังนี้      ยกตัวอย่างการใช้งาน Inductive Proximity Switch ในงานตรวจจับความเร็วรอบของเฟืองที่มีฟันเฟือง 12 ฟันเฟือง และความเร็วรอบ 3000 รอบต่อนาที (RPM) สิ่งที่ต้องคำนึง คือ         1. ประเภทของชิ้นงาน เนื่องจากเฟืองเป็นโลหะ จึงต้องใช้เซ็นเซอร์ประเภท Inductive Proximity Switch เหมาะสำหรับตรวจจับชิ้นงานหรือตำแหน่งวัตถุที่เป็นโลหะเท่านั้น         2. ระยะทางในการตรวจจับ วัตถุที่ตรวจจับเป็นเหล็ก สามารถหาระยะทางในการตรวจจับตามค่า 1.00 x อัตราระยะตรวจจับ         3. ความถี่ในการตรวจจับหรือ Inductive Proximity Switch              สามารถคำนวณได้ตามสมการดังนี้                          RPM = f x 60 x (1/N)              โดยที่ RPM = หน่วยความเร็วรอบต่อนาที                                f = ความถี่                               N = จำนวนพัลล์ต่อรอบ      จากความต้องการในการวัดความเร็วนั้นอยู่ที่ 3000 RPM และฟันเฟืองมีทั้งหมด 12 ฟันเฟือง หรือ 12 พัลล์ต่อรอบ              ดังนั้น        f = (3000 x 12) / (60)                                f = 600 Hz      จากการคำนวณจะเห็นได้ว่าค่าความถี่ที่ต้องใช้อย่างน้อย 600 Hz หากต้องเลือกใช้งานจริงแนะนำให้เผื่อเพิ่มขึ้น ซึ่งในครั้งนี้เราจะเลือก Inductive Proximity Sensor ที่มีความถี่ 800 Hz         4. ขนาดของ Inductive Proximity Sensor (Housing Size) การเลือกขนาดของเซ็นเซอร์จะขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการติดตั้ง หากเป็นพื้นที่แคบจะใช้เซ็นเซอร์ขนาดเล็ก หากเป็นพื้นที่กว้างจะใช้เซ็นเซอร์ขนาดใหญ่ได้ ครั้งนี้เลือกเซ็นเซอร์ขนาด M8 ที่มีระยะ Sn เท่ากับ 2 mm.      การต่อวงจรการใช้งานของ Tachometer รุ่น CM-001      สาเหตุที่วัดได้ไม่ตรง เกิดจากสาเหตุอะไร?           ปัญหาจากการวัดค่าได้ไม่ตรง มีสาเหตุมาจากหลาย ๆ อย่าง แต่มีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ ส่วนใหญ่มาจาก              1. การเลือกชนิด Sensor ไม่ตรงกับการใช้งาน ความละเอียดไม่เพียงพอ เช่น ในงานที่มีความเร็วรอบต่ำมาก ควรใช้ Incremental Encoder แทน Inductive Proximity Switch หรือ Photoelectric Switch ที่จะทำให้สามารถเลือก Pulse Output ได้ละเอียดมากขึ้น ความแม่นยำจะสูงขึ้น              2. มิเตอร์ไม่สามารถวัดค่าความถี่ต่ำ ๆ มากได้ เช่น การใช้ Inductive Proximity Switch วัดความเร็วจะเกิดปัญหานี้ เมื่อเครื่องจักรเดินด้วยความเร็วรอบต่ำ ๆ              3. ไม่ได้คำนวณความเร็วต่ำสุดของเครื่องจักรเพื่อคำนวณความถี่และหาชนิดของ Sensor ให้เหมาะสม ท้ายสุดจะเห็นได้ว่าการเลือกใช้อุปกรณ์วัดความเร็วในงานอุตสาหกรรมให้มีความเหมาะสมและแม่นยำนั้น ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป      การประยุกต์ใช้งาน Proximity Switch   Proximity Switch Digital Tachometer (RPM) Digital Tachometer (RPM & LINE SPEED) Increment Encoder Digital Frequency Meters With Alarm   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
2 วิธี การต่อใช้งานมิเตอร์เข้าระบบ ด้วยการเชื่อมต่อแบบ RS-485 และ LoRaWAN (ไร้สาย)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      มิเตอร์ (Meter) วัดค่าพลังงานทางไฟฟ้าที่มีการติดตั้งใช้งานกันในรูปแบบเดิมเพื่อดูค่าหน่วยการใช้พลังงานทางไฟฟ้าจากมิเตอร์ของอาคาร, หอพัก, คอนโด, อะพาร์ตเมนต์, อาคารสำนักงาน หรือในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยในแต่ละครั้งหากต้องการทราบค่าหน่วยของการใช้พลังงานไฟฟ้าว่าใช้ไปเท่าไหร่จะต้องมีเจ้าหน้าที่เดินจดมิเตอร์ของแต่ละชั้นในอาคารเคหะสถานดังกล่าว ซึ่งบางครั้งอาจจะเกิดการสับสนตัวเลขผิดพลาดได้  และในการเดินสายไฟระหว่างต้นทางไปยังปลายทางในแต่ละจุดมีสายไฟค่อนข้างเยอะและไม่เป็นระเบียบ ทำให้มีสายไฟที่ห้อยระโยงระยาง ซึ่งทำให้เกิดการกีดขวางทางสัญจรและไม่ปลอดภัย เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ (ดังรูป) การต่อสายไฟและการจดมิเตอร์วัดค่าพลังงานทางไฟฟ้ารูปแบบเดิม      โดยปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารทางเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้นในการบันทึกข้อมูล (Data Record) ที่มีความแม่นยำ การ Monitor ผ่านระบบเครือข่าย (Network System) ตลอดจนการควบคุมการใช้พลังงานทางไฟฟ้าเพื่อการวางแผนในการประหยัดพลังงานต่อไป ซึ่งได้มีการนำเสนอเรื่องที่เกี่ยวข้อง จากหัวข้อ “มิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้าและอัตราการใช้น้ำในตัวเดียวกัน” โดยได้มีการกล่าวถึงคุณสมบัติและประโยชน์ของการใช้งานที่ผ่านมานั้น      ในหัวข้อครั้งนี้เราจะนำเสนอเกี่ยวกับการต่อใช้งานมิเตอร์มิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้า ในหัวข้อ "2 วิธี การต่อใช้งานมิเตอร์เข้าระบบ ด้วยการเชื่อมต่อแบบ RS-485 และ LoRaWAN (ไร้สาย)" สามารถต่อใช้งานง่าย ๆ โดยยกตัวอย่างมิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้า รุ่น KM-24-M (RS-485) และแบบไร้สาย (Wireless) รุ่น KM-24-L (เครือข่าย LoRaWAN) ดังนี้ 1. วิธีการต่อมิเตอร์เข้าระบบ ด้วยการเชื่อมต่อแบบ RS-485 โดยใช้สายเพียง 2 เส้น รูปแสดงการต่อมิเตอร์ (Meter) เข้าระบบ ด้วยการเชื่อมต่อแบบ RS-485 โดยใช้สายเพียง 2 เส้น      ในการต่อใช้งานมิเตอร์เข้าระบบ ด้วยการเชื่อมต่อแบบ RS-485 โดยใช้สายเพียง 2 เส้น เป็นวิธีที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน โดยใช้วิธีการเดินสายจากอุปกรณ์ เช่น kWh Meter จากต้นทางไปยังปลายทาง ด้วยสายชีลด์ “LIY CY 2x1mm.” สามารถใช้ในการนำสัญญาณ RS-485 ได้เป็นอย่างดี โดยระยะทางในการเดินสายได้ไกลถึง 1200M (1.2 km.) และนำไปต่อกับอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Converter) RS-485 to TCPIP (LAN) เชื่อมต่อเข้าคอมพิวเตอร์โดยใช้ Software เพื่อเก็บค่าพลังงานและทำเป็น Billing ในการคิดเงินและออกใบแจ้งหนี้ของผู้เช่าหอพักหรืออะพาร์ตเมนต์ได้ 2. วิธีการต่อมิเตอร์เข้าระบบ ด้วยการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless) เครือข่าย LoRaWAN รูปแสดงการต่อมิเตอร์ (Meter) เข้าระบบ ด้วยการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless) เครือข่าย LoRaWAN      ในการต่อใช้งานมิเตอร์เข้าระบบด้วยการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless) เครือข่าย LoRaWAN เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) แบบวงกว้าง ใช้พลังงานต่ำ ทำให้รองรับอุปกรณ์ได้จำนวนมาก และราคาประหยัดเมื่อเทียบกับระบบอื่น โดยจะเหมาะสำหรับงานอาคาร, หอพัก, อะพาร์ตเมนต์ เนื่องจากการเดินสายสัญญาณไปแต่ละชั้นหรือห้องพักเป็นไปได้ยากและค่าใช้จ่ายในการเดินสายค่อนข้างสูง ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบเครือข่ายสื่อสารที่ส่งข้อมูลกำลังต่ำแบบไร้สาย LoRaWAN หรือ LoRa ข้อดีของการต่อมิเตอร์เข้าระบบด้วยการเชื่อมต่อแบบ RS-485 และ LoRaWAN (ไร้สาย) การต่อมิเตอร์เข้าระบบด้วยการเชื่อมต่อแบบ RS-485 โดยใช้สายเพียง 2 เส้น การต่อมิเตอร์เข้าระบบด้วยการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless) เครือข่าย LoRaWAN  1. มีความถูกต้องและแม่นยำของข้อมูลและสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ กรณีเกิดข้อร้องเรียนเรื่องค่าไฟแพงขึ้นจากผู้เช่า  2. สามารถออกบิลใบแจ้งหนี้รวดเร็ว ไม่ต้องรอการคำนวณเหมือนในสมัยก่อน  3. ลดการเดินของเจ้าหน้าที่ในการจดมิเตอร์แต่ละชั้นของที่พักอาศัย  4. สามารถดูข้อมูลแบบ Realtime ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ และ Mobile ด้วย Software  5. เพื่อให้ผู้ใช้ระบบสามารถดูข้อมูลรายงานย้อนหลังได้เป็นรายวัน  6. สามารถแสดงรายงานข้อมูลการใช้กระแสไฟฟ้าได้เป็นรายวัน รายเดือน รายปี  7. เดินสายมิเตอร์ 2 เส้น เพื่อเข้า Converter LAN ไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อ Software  1. มีความถูกต้องและแม่นยำของข้อมูลและสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ กรณีเกิดข้อร้องเรียนเรื่องค่าไฟแพงขึ้นจากผู้เช่า  2. สามารถออกบิลใบแจ้งหนี้รวดเร็ว ไม่ต้องรอการคำนวณเหมือนในสมัยก่อน  3. ลดการเดินของเจ้าหน้าที่ในการจดมิเตอร์แต่ละชั้นของที่พักอาศัย  4. สามารถดูข้อมูลแบบ Realtime ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ และ Mobile ด้วย Software  5. เพื่อให้ผู้ใช้ระบบสามารถดูข้อมูลรายงานย้อนหลังได้เป็นรายวัน  6. สามารถแสดงรายงานข้อมูลการใช้กระแสไฟฟ้าได้เป็นรายวัน รายเดือน รายปี  7. ลดการ Wiring สาย ระหว่าง Converter LoRa กับ LoRa Gateway ไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่อ Software 1 Phase Energy Meter With RS-485 Three Phase Volt-Amp kWh-Meter With Protection Relay Converter,TCP TO RS485 / RS232 Converter Wireless RS-485 TO LoRaWAN Converter Software Primus โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
5 ปัจจัยที่ทำให้ Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) ขาด

 โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Immersion Heater หรือ ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม เป็นอุปกรณ์ให้ความร้อนหรืออุ่นต้มของเหลว (Liquid) เพื่อให้ได้อุณหภูมิตามต้องการ โดยการจุ่มลงไปในของเหลวที่ต้องการให้ความร้อน อาศัยหลักการในการถ่ายเทความร้อนสู่ของเหลวเพื่อให้เกิดความร้อน เหมาะกับงานอุตสาหกรรมที่มีการต้มหรืออุ่นของเหลว เช่น งานต้มน้ำ, งานอุ่นน้ำมัน, อุ่นหรือต้มเคมีบางชนิดที่ไม่มีผลต่อวัสดุของตัวฮีตเตอร์ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร, เครื่องดื่ม, อุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น โดยฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) มีลักษณะการติดตั้งแบบหน้าแปลนยึดและติดตั้งแบบยึดเกลียว (ดังรูป) รูปแบบลักษณะของฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม ( Immersion Heater) การติดตั้งแบบหน้าแปลนและเกลียว      โดยปกติฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละชนิดนั้น ไม่ว่าจะเป็นฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) เอง หรือฮีตเตอร์ประเภทอื่น ๆ เช่น ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater), เซรามิคฮีตเตอร์ (Ceramic Band Heater), ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater), ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater), ฮีตเตอร์แผ่น (Strip  Heater), ฮีตเตอร์บอบบิ้น (Bobbin Heater), ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater), ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater), คอยล์ฮีตเตอร์ (Coil Heater), ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ (Hot Runner Heater) เป็นต้น ล้วนแล้วแต่มีอายุในการใช้งานของฮีตเตอร์แต่ละประเภท แต่บ่อยครั้งเรามักจะพบปัญหาของฮีตเตอร์มีอายุการใช้งานที่สั้นผิดปกติหรือฮีตเตอร์ขาด ซึ่งเคยได้นำเสนอกันไปแล้วในเรื่อง ฮีตเตอร์ขาดเกิดจากอะไร และ 5 วิธีง่าย ๆ สำหรับยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater) ทุกประเภทกันไปแล้วนั้น แต่ในวันนี้เราจะมาพูดถึงเฉพาะฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) ขาด หรือเกิดความเสียหาย ในหัวข้อ 5 ปัจจัยที่ทำให้ Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) ขาด โดยมีปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้ 5 ปัจจัยที่ทำให้ Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) ขาด 1. การคำนวณเลือกกำลังวัตต์และแรงดันให้เหมาะสมของ Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) • ในการเลือกระบุค่าแรงดัน (Voltage) ของ Immersion Heater ที่ไม่ถูกต้องกับแรงดันในการไปต่อใช้งานจะทำให้ฮีตเตอร์ขาดได้ เช่น ระบุแรงดัน 220V แล้วนำไปต่อใช้งานด้วยแรงดัน 380V ลวดฮีตเตอร์ภายในจะไม่สามารถทนได้และขาดในที่สุด ส่วนในการเลือกกำลังวัตต์ (Watt) ของ Immersion Heater จำเป็นจะต้องสอดคล้องและเพียงพอกับค่ากำลังวัตต์ที่จะทำให้ของเหลวนั้น ๆ ทำอุณหภูมิได้ตามที่ต้องการ โดยสามารถคำนวณเพื่อเลือกขนาดกำลังวัตต์ของ Immersion Heater ได้ตามหัวข้อสูตรวิธีการคำนวณอุณหภูมิและขนาดของฮีตเตอร์ต้มน้ำและน้ำมัน หรือปรึกษาทางทีมงานให้ช่วยแนะนำได้ 2. การเลือกวัสดุของ Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) ให้เหมาะสม                                                  • เนื่องจาก Immersion Heater เป็นฮีตเตอร์ที่ถูกนำไปใช้งานให้ความร้อนกับของเหลว ทั้งน้ำเปล่า รวมถึงน้ำที่มีสารเคมี ดังนั้นการเลือกวัสดุท่อของ Immersion Heater จึงสำคัญมาก ในกรณีที่ใช้กับของเหลวที่มีสารเคมีผสมอยู่ หากเลือกใช้วัสดุที่ไม่สามารถทนต่อสารเคมีได้จะทำให้อายุการใช้งานน้อยลงและเสียหายได้เร็วขึ้น เช่น ให้ความร้อนกับน้ำทั่วไปก็สามารถเลือกใช้วัสดุท่อเป็นสแตนเลส SUS304 หรือของเหลวที่มีส่วนผสมของสารเคมีก็ควรเลือกวัสดุท่อเป็นสแตนเลส SUS316 หรือ Incoloy 840 เป็นต้น 3. การกำหนดระยะ Cool Zone และ Heat Zone ให้เหมาะสม                                               • ระยะ Cool Zone คือ ตำแหน่งของท่อฮีตเตอร์ที่จะไม่มีความร้อน โดยระยะ Standard ของ Immersion Heater จะอยู่ที่ 50mm. จากใต้การติดตั้ง (เกลียว,หน้าแปลน) ส่วนระยะ Heat Zone คือ ตำแหน่งของท่อฮีตเตอร์ที่ทำความร้อนให้กับของเหลว 4. การติดตั้ง Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) • ในการติดตั้ง Immersion Heater สามารถติดตั้งได้ทั้งแนวตั้ง (ติดตั้งจากปากถัง, ขอบบ่อ) และแนวนอน (ติดตั้งโดยการเจาะข้างถัง) สืบเนื่องจากข้อ 3 ในการติดตั้ง Immersion Heater ระยะ Heat Zone ควรจะต้องไม่ให้โผล่พ้นมาจากระดับของของเหลว (ในกรณีที่ติดตั้ง Immersion Heater แนวตั้ง) เพื่อไม่ให้ Immersion Heater เกิดอาการเผาตัวเองและเสียหายในที่สุด 5. คราบตะกรันที่ติดที่ท่อของ Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) • ในการใช้งาน Immersion Heater ต้มน้ำ ให้ความร้อนกับสารเคมีหรืออุ่นน้ำมัน เป็นเวลาระยะหนึ่ง ย่อมเกิดตะกรันของของเหลวนั้น ๆ มาเกาะบริเวณท่อของฮีตเตอร์ ถ้าไม่หมั่นทำความสะอาดจะทำให้ตะกรันเหล่านั้นเกาะแน่นจนมีความร้อนสะสมมากที่จุดนั้น ทำให้ฮีตเตอร์ถ่ายเทความร้อนได้ไม่ดี ทำให้ตัวฮีตเตอร์ทำงานหนักขึ้นและเสียหายได้ เช่น มีรอยร้าวและแตกบริเวณท่อฮีตเตอร์ เป็นต้น      Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) สามารถผลิตได้หลายรูปแบบ ทั้ง 1U, 2U, 3U, 6U, 9U, 12U เกลียวติดตั้งขนาด 1.5 นิ้ว, 2 นิ้ว, 2.5 นิ้ว และ 3นิ้ว ขนาดหน้าแปลน JIS, DIN ขนาด 1 นิ้ว, 1.5 นิ้ว, 2 นิ้ว, 3 นิ้ว, 4 นิ้ว และ 5 นิ้ว ต่าง ๆ ตามต้องการ และท่อฮีตเตอร์ผลิตจากสแตนเลส 304, 316, ทองแดงและอินโคลอย 84 ตารางความสัมพันธ์ระหว่างหน้าแปลนกับขนาดท่อและจำนวน Element ตารางความสัมพันธ์ระหว่างเกลียวกับขนาดท่อและจำนวน Element ประโยชน์ในการใช้งาน Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม)      Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) ใช้ในการให้ความร้อนกับของเหลวโดยการต้มหรืออุ่น ที่ใช้ได้กับน้ำ น้ำมัน อุ่นกาว ยางมะตอย เคมีบางชนิด ที่ไม่มีผลต่อวัสดุของตัว ฮีตเตอร์ใช้ได้กับทั้งขบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมและอื่นๆ เช่น ติดตั้งใน Water Barth เครื่องนึ่งหรือเครื่องอุ่นอาหาร เป็นต้น      ข้อควรระวัง : Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม) ควรติดตั้งฮีตเตอร์ทางด้านล่างของถัง เพื่อการถ่ายเทความร้อนที่ดี รักษาระดับความสูงของของเหลวให้อยู่เหนือระดับของฮีตเตอร์ตลอดเวลา ป้องกันการไหม้หรือขาดของฮีตเตอร์ ทำความสะอาดฮีตเตอร์อย่างสม่ำเสมอเพื่อลดตะกรันหรือสิ่งสกปรกที่เกาะติดตัวฮีตเตอร์ เลือกชนิดของท่อฮีตเตอร์ให้เหมาะสมกับของเหลวที่ต้องการให้ความร้อน      นอกจากนี้ผู้ใช้งานสามารถบำรุงรักษาฮีตเตอร์ (Heater) ทุกประเภทด้วยตัวเองได้ในเบื้องต้น เพื่อยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของฮีตเตอร์ ควรมีอุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ Temperature Controller หรือ Thermostat เพื่อไม่ให้ฮีตเตอร์ทำงานตลอดเวลา และควรมีอุปกรณ์การแจ้งเตือนกรณีที่ฮีตเตอร์เกิดความผิดปกติ เช่น ตัวเช็คฮีตเตอร์ขาด/เช็คกระแสเกิน (Heater Break Alarm) ที่สามารถต่อร่วมกับอุปกรณ์ที่แจ้งเตือนแสงและเสียง (Tower Light) แบบมีเสียง (Buzzer) หรือ ไฟหมุนสัญญาณแจ้งเตือน (Rotation Warning Light) เป็นต้น ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Immersion Heater (ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม)   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
2 วิธีดูสถานะการทำงานของเครื่องจักรแบบ Online

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เครื่องจักร (Machine) ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในระบบและผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในอดีตนั้นจะต้องมีช่างหรือผู้ปฏิบัติงานอยู่ประจำเครื่องเพื่อทำหน้าที่คอยดูแลควบคุมและตรวจสอบสถานะเครื่องจักรใน Line Production เพื่อผลิตสินค้าให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ฝ่ายผลิตวางแผนเอาไว้ (Production Planing) ซึ่งหากเครื่องจักรเกิดความผิดปกติหรือขัดข้องจะมีการแสดงสถานะเพื่อแจ้งเตือนผู้ปฏิบัติงานด้วยรูปแบบต่าง ๆ เช่น ไฟสัญญาณแจ้งเตือน (Tower Light), ไฟหมุนสัญญาณแจ้งเตือน (Rotation Warning Light), เสียง (Buzzer) เป็นต้น ซึ่งหากช่วงเวลาดังกล่าวกรณีผู้ปฏิบัติงานไม่ได้อยู่ใกล้หน้างานบริเวณนั้น อาจจะทำให้อุปกรณ์ในระบบหรือเครื่องจักรเกิดความเสียหายได้      ซึ่งในปัจจุบันได้มีนวัตกรรมการนำเอาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องมือเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัยมาพัฒนาเพื่อใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมและการพัฒนาระบบด้าน IoT (Internet of Thing) ที่สามารถเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้ในการสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์ (Equipment) กับเครื่องจักร (Machine) เพื่ออำนวยความสะดวกและประหยัดเวลาโดยไม่ต้องลงไปดูหน้างานเอง และเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม, ติดตาม สถานะการทำงานของเครื่องจักรและตรวจสอบจุดบกพร่องของเครื่องจักรได้ตลอดเวลา เช่น การตรวจนับจำนวนการผลิต, ความเร็วในการผลิต เป็นต้น เพื่อแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีในกรณีที่เครื่องจักรเกิดความผิดปกติหรือขัดข้อง และสามารถใช้งานร่วมกับเครื่องจักรอื่น ๆ ในงานอุตสาหกรรมได้อย่างหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ      ในวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการดูสถานะการทำงานของเครื่องจักร ในหัวข้อ “2 วิธี ดูสถานะการทำงานของเครื่องจักรแบบ Online” ว่ามีวิธีการอย่างไร และประกอบด้วยอุปกรณ์อะไรบ้าง      1. วิธีดูสถานะการทำงานของเครื่องจักรแบบ Online โดยผ่าน WiFi  (รูปที่ 1) รูปที่ 1 วิธีการดูสถานะการทำงานของเครื่องจักรแบบ Online โดยผ่าน WiFi      หลักการทำงานของระบบตรวจเช็คสถานะเครื่องจักรโดยใช้ Tower  Light ที่มีสัญญาณ RS-485 ในการแยกความหมายสถานะของแต่ละชั้นสี คือ สีเขียว (เครื่องทำงานปกติ), สีเหลือง (เครื่องหยุดทำงาน), สีแดง (เครื่องมีปัญหา) แล้วส่งสัญญาณไปที่อุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Converter) จาก RS-485 เป็นสัญญาณ WiFi (รุ่น RM-012-WIFI) เพื่อลดการเดินสาย โดยใช้ Software “Prisoft” เพื่อดูสถานะและบันทึกข้อมูลแบบ Real Time      2. วิธีดูสถานะการทำงานของเครื่องจักรแบบ Online โดยผ่าน TCP/IP (รูปที่ 2) รูปที่ 2 วิธีการดูสถานะการทำงานของเครื่องจักรแบบ Online โดยผ่าน TCP/IP      หลักการทำงานของระบบตรวจเช็คสถานะเครื่องจักรโดยใช้ Tower light ที่มีสัญญาณ RS-485 ในการแยกความหมายของแต่ละสี คือ สีเขียว (เครื่องทำงานปกติ), สีเหลือง (เครื่องหยุดทำงาน), สีแดง (เครื่องมีปัญหา) แล้วส่งสัญญาณไปที่อุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Converter) จาก RS-485 เป็น TCP/IP (LAN) (รุ่น RM-012-IP) โดยใช้ Software “Prisoft” เพื่อดูสถานะและบันทึกข้อมูลแบบ Real Time      ข้อดีของการดูสถานะการทำงานของเครื่องจักรแบบ Online         • สามารถดูข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ได้แบบ Real Time         • สามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้         • สามารถบันทึกข้อมูลและสามารถ Export ในรูปแบบ Excel File ได้         • ไม่ยุ่งยากในการ Wiring สาย และลด Cost ในการ Wiring สายระยะไกล         • ช่วยลดเวลาในกระบวนการผลิต หากผู้ควบคุมเครื่องจักรต้องเดินไปตรวจเช็คเครื่องจักรอยู่บ่อย ๆ         • สามารถแจ้งเตือนเมื่อเครื่องจักรมีปัญหาผ่าน Line ได้เลย      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน                                      Press Machine                                      Blow Moulding Machines   WIFI TO RS-485/RS-232 CONVERTER Wireless RS-485 TO LoRaWAN Converter MODBUS TCP I/O MODULE MODBUS RS-485 I/O MODULE DIGITAL TARGET COUNTER WITH RS485 โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ความแตกต่างระหว่างสัญญาณดิจิตอลและอนาล็อกอินพุตที่ใช้ร่วมกับ PLC

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องมือวัดที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermoocuple, Pt100), อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ (Humidity & Temperature Transmitter), อุปกรณ์ตรวจจับระดับของเหลว (Level Sensor, Level Switch), อุปกรณ์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter), เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ-ชิ้นงาน (Photoelectric Sensor, Proximity Switch), เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder), อุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Transmitter) และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ เหล่านี้ มีรูปแบบสัญญาณมาตรฐาน คือ รูปแบบสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) และสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) เพื่อเป็นสัญญาณทางด้านอินพุต (Input) / เอาต์พุต (Output) ให้กับเครื่องแสดงผล (Indicator), เครื่องนับจำนวน (Counter), เครื่องควบคุม (Controller), เครื่องบันทึก (Recorder) หรือ พีแอลซี (PLC) เป็นต้น        แต่ในวันนี้เราจะมาพูดถึงรูปแบบสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) และสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) ที่เป็นสัญญาณมาตรฐานทางด้านอินพุต (Input) ให้กับพีแอลซี (PLC, Programmable Logic Controller) โดยเฉพาะเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานของ Solution ต่าง ๆ ในระบบอุตสาหกรรมยุค 4.0 ในหัวข้อ ความแตกต่างระหว่างสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) และอนาล็อก (Analog Signal) อินพุต (Input) ที่ใช้ร่วมกับ PLC โดยมีความแตกต่างกันดังนี้        สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) หมายถึง สัญญาณในรูปแบบของคลื่นต่อเนื่อง หรือ Sine Wave ซึ่งมีความถี่และความเข้มของสัญญาณต่างกัน มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง โดยคุณสมบัติเด่นของสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) คือ สามารถส่งสัญญาณได้ในระยะไกล สามารถพบเห็นการใช้สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) ทั่วไปในงานภาคอุตสาหกรรมร่วมกับอุปกรณ์ PLC โดย PLC จะสามารถรับอินพุตประเภทสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) เช่น 4-20 mA, 0-20mA, 0-10VDC เป็นต้น (ดังรูป) รูปแบบของคลื่นต่อเนื่อง (Sine Wave)        ตัวอย่าง : รูปแบบการใช้งานของสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) โดยการนำเอาสัญญาณทางด้านเอาต์พุต (Output) จากอุปกรณ์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter) ต่อเป็นอินพุต (Input) ให้กับ PLC+HMI เพื่อควบคุมระดับของเหลวภายในถัง (ดังรูป) ตัวอย่าง : แสดงการรับสัญญาณอนาล็อก Input 4-20mA จาก Pressure Transmitter โดยใช้ PLC+HMI ควบคุมการตัด-ต่อ การทำงานของปั๊มน้ำ เพื่อควบคุมระดับของเหลวภายในถังให้อยู่ในระดับมาตรฐานและสามารถ Monitoring ค่าแบบ Real Time รวมทั้ง Record และสามารถดูค่าผ่าน Smart Phone ได้      สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) มีขนาดแน่นอนแต่อาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกัน โดยปกติมักแทนค่าด้วยระดับแรงดันที่แสดงสถานะเป็น "0" และ "1"  ถ้าสูงเกินค่าที่ตั้งไว้สถานะเป็น "1" ถ้าต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้สถานะเป็น "0" โดยสามารถพบเห็นการใช้สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) ทั่วไปในงานภาคอุตสาหกรรมร่วมกับอุปกรณ์ PLC โดย PLC จะสามารถรับอินพุต (Input) ประเภทสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) เช่น Open Collector NPN, PNP, ON-OFF, Logic, Switch, Relay เป็นต้น (ดังรูป) รูปแบบของคลื่นแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data)        ตัวอย่าง : รูปแบบการใช้งานของสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) โดยการนำเอาสัญญาณทางด้านเอาต์พุต (Output) ชนิด NPN จากเซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะ (Proximity Switch) ต่อเป็นอินพุต (Input) ให้กับ PLC+HMI เพื่อควบคุมการตัด-ต่อ มอเตอร์ป้อนชิ้นงานเข้าราง Conveyor (ดังรูป) ตัวอย่าง : แสดงการรับสัญญาณดิจิตอล Input ประเภท NPN จาก Proximity Switch โดยใช้ PLC+HMI ควบคุมการตัด-ต่อ มอเตอร์ป้อนชิ้นงานเข้าราง Conveyor เมื่อจำนวนสินค้าครบตามความต้องการและสามารถ Monitoring ค่าแบบ Real Time รวมทั้ง Record และสามารถดูค่าผ่าน Smart Phone ได้      สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) และสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) สามารถนำมาใช้เป็นสัญญาณอินพุต (Input) ของอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ หรือ PLC+HMI ที่เราได้กล่าวมาข้างต้นได้ ขึ้นอยู่กับประเภทการรับสัญญาณของอุปกรณ์นั้น ๆ หรือความเหมาะสมกับหน้างานในการเลือกใช้สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) หรือ สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) ทั้งนี้สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) และสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นเดียวกัน โดยสรุปได้ดังนี้ ข้อดีของสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) ข้อเสียของสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) • สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) ควบคุมได้ง่ายกว่าสัญญาณดิจิตอล • สัญญาณมีความยืดหยุ่นกว่าแบบดิจิตอล • สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) จะถูกรบกวนได้ง่าย (Noise) หากถูกรบกวนมากก็อาจส่งผลต่อข้อมูลให้เกิดความผิดพลาดได้ • ความผิดพลาดมากกว่าสัญญาณดิจิตอล   ข้อดีของสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) ข้อเสียของสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) • มีความทนทานต่อสัญญาณรบกวนได้ดีกว่า • สามารถจำแนกระหว่างข้อมูลกับสัญญาณรบกวนได้ง่ายกว่าแบบอนาล็อก และสัญญาณดังกล่าวยังคงรูปจำแนกความเป็น 0 หรือ 1 ได้ • ระยะทางการส่งสัญญาณข้อมูลจะใกล้กว่าสัญญาณอนาล็อก หากต้องการยืดระยะทางในการส่งข้อมูลดิจิตอลต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ (Repeater)        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC Unitronics ชุดควบคุมน้ำยางมะตอย ตัวควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์แบบอนาล็อก (Analog) Unistream Vision Programmable Logic Control Switching Power Supply Proximity Switch Photoelectric Sensor   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
วิธีตรวจจับแถบสีของฉลากบรรจุภัณฑ์ ด้วย Color Mark Sensor

  โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันในสายการผลิต ที่มีกระบวนการผลิตสินค้าประเภทอาหารหรือเครื่องดื่มนั้น ในการออกแบบของบรรจุภัณฑ์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการดึงดูดผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เช่น บรรจุภัณฑ์เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษา, บรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุใส่อาหาร, บรรจุภัณฑ์ที่มีความสะอาดและปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ในท้องตลาดก็มีการออกแบบสีสันที่หลากหลายมากขึ้น แตกต่างกันไปแล้วแต่ยี่ห้อ เพื่อความสวยงามสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้า และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย ซึ่งการที่บรรจุภัณฑ์มีสีสีนที่มากขึ้นก็ทำให้การตรวจจับบรรจุภัณฑ์ยุ่งยากมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน      ดังนั้นจะต้องมีเซ็นเซอร์ (Sensor) เพื่อช่วยในการตรวจจับตำแหน่งที่จะทำการแพ็คสินค้า เช่น ตรวจจับตำแหน่งมาร์คสี, ตรวจสอบความเข้มสี, ตรวจสอบความแตกต่างสี เป็นต้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายของสีสันแต่ละยี่ห้อ ซึ่งโฟโตอิเล็กทริคเซ็นเซอร์ (Photoelectric Sensor) โดยทั่วไปจะตรวจจับเงื่อนไขดังกล่าวไม่ได้ แต่จะมีเซ็นเซอร์ที่ใช้ในการตรวจจับความแตกต่างของสี หรือ Color Mark Sensor ซึ่งเหมาะกับงานตรวจจับเครื่องหมายสีหรือแถบสีของบรรจุภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุหีบห่อ, ตรวจจับตำแหน่งของงานพิมพ์ เป็นต้น      โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการตรวจจับของ Color Mark Sensor ในหัวข้อ “วิธีตรวจจับแถบสีของฉลากบรรจุภัณฑ์ ด้วย Color Mark Sensor” ที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งเซ็นเซอร์ที่ใช้ในการตรวจจับความแตกต่างของสี มีวิธีการตรวจจับได้อย่างง่าย ๆ มาดูกันเลยว่าอุปกรณ์ Color Mark Sensor จะทำงานอย่างไร?      Color Mark Sensor มีโหมดการทำงาน 2 โหมด คือ Color Mode และ Mark Mode โดย Color Mode ทำหน้าที่ตรวจจับแถบสีโดยใช้หลักการตรวจจับโทนสีของแถบสี 1 จุด ส่วน Mark Mode ทำหน้าที่ตรวจจับแถบสีโดยใช้หลักการเปรียบเทียบสีของแถบสี 2 จุด ดังนี้         Color Mode เหมาะสำหรับแถบสีที่มีความแตกต่างของสีสูง เช่น สีพื้นหลังเป็นสีขาวและแถบสีที่ต้องการตรวจจับเป็นสีดำ เป็นต้น โดย Color Mode จะปล่อยลำแสงในการตรวจจับสี 3 สี คือ สีแดง (Red), เขียว (Green), น้ำเงิน (Blue) ดังรูป รูปแถบสีที่เหมาะสำหรับ Color Mode           Mark Mode เหมาะสำหรับแถบสีที่มีความใกล้เคียงของสีและความหลากหลายของสีสูง เช่น สีพื้นหลังเป็นสีฟ้าและแถบสีที่ต้องการตรวจจับเป็นสีน้ำเงิน เป็นโดย Mark Mode จะปล่อยลำแสงออกมาขึ้นอยู่กับสีที่เราทำการ Teaching และเปรียบเทียบสีของแถบสี ระหว่างแถบสีทั้ง 2 สี ดังรูป รูปแถบสีที่เหมาะสำหรับ Mark Mode        Color Mark Sensor ตัวนี้จะมีระยะการตรวจจับสีที่ 18 มิลลิเมตร แถบสีสามารถกระเพื่อมหรือขึ้น-ลงจากระยะกึ่งกลางได้ +/- 2 มิลลิเมตร และมีเอาต์พุตแบบ NPN หรือ PNP open collector Max. 100 mA/30 VDC และง่ายในการติดตั้ง ระยะการติดตั้ง Color Mark Sensor        เคล็ดลับการติดตั้งเซ็นเซอร์ Color Mark Sensor คือ การวิเคราะห์ความต้องการของการใช้งานอย่างระมัดระวัง เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดให้เลือกเซ็นเซอร์ที่มีขนาด Spot ที่ไม่ใหญ่มากกว่าจุดเครื่องหมายที่เล็กที่สุดที่จะตรวจจับ      จะเห็นได้ว่าปัญหาการตรวจจับแถบสีที่ยุ่งยากจะกลายเป็นเรื่องง่ายถ้าใช้ Color Mark Sensor ไม่ว่าจะเป็นแถบสีต่าง ๆ ของฉลากที่เคลื่อนที่ผ่านเซ็นเซอร์ตัวนี้ Color Mark Sensor ก็สามารถตรวจจับแถบสีได้ไม่ยาก      ยกตัวอย่างและอธิบายการตรวจจับแถบสีของเครื่องบรรจุภัณฑ์ โดยการทำงานของเครื่องบรรจุภัณฑ์จะทำการตวงหรือชั่งวัตถุดิบและทำการบรรจุภัณฑ์ โดยมี Color Mark Sensor เป็นอุปกรณ์บอกตำแหน่งในการบรรจุให้ได้ตรงตามฉลากที่ออกแบบไว้ เครื่องบรรจุภัณฑ์        วิธีการใช้งาน Color Mark Sensor      การประยุกต์ใช้งาน Color Mark Sensor         • ตรวจสอบสีในอุตสาหกรรมการผลิต         • ตรวจจับตำแหน่งมาร์คสี         • ตรวจสอบความเข้มสี         • ตรวจสอบความแตกต่างสี Signal Tower Light Rotation Warning Light Digital Counter Color Vision Sensor Displacement Sensors   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
หลักการควบคุมระดับข้าวเปลือก, แป้ง ด้วยสวิตช์ใบพัด (Paddle Level Switch)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      สวิตช์ใบพัดตรวจจับระดับวัตถุ (Paddle Level Switch) หรือ Paddle Switch เป็นสวิตซ์ใบพัดตรวจจับระดับวัตถุประเภทต่างๆ เช่น เมล็ดข้าวเปลือก, เมล็ดข้าว, เมล็ดพืช, แป้ง หรือเม็ดพลาสติก เป็นต้น ที่บรรจุอยู่ภายในถังไซโล (Silo Tank) เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมระดับ Low หรือ High ของวัตถุให้อยู่ในระดับที่ต้องการ ในการช่วยลดปัญหาไม่ให้วัตถุนั้นล้นออกมา โดยทําการติดตั้งสวิตช์ใบพัดตรวจจับระดับวัตถุ (Paddle Level Switch) ไว้ด้านบนหรือด้านข้างของถังไซโล      จากบทความที่ผ่านมาในหัวข้อ ตรวจจับระดับวัตถุในถังไซโลด้วยสวิตช์ใบพัด (Paddle Level Switch) ทำให้ทราบถึงประโยชน์ในการติดตั้งสวิตช์ใบพัดตรวจจับระดับวัตถุ (Paddle Level Switch) ของแต่ละรุ่น เพื่อความเหมาะกับวัตถุที่ตรวจจับ เช่น Paddle Level Switch แบบใบพัดพลาสติก (รุ่น LM-001N-Series) ใช้กับงานโหลดเบา ๆ (Light Load) เช่น Hopper เม็ดพลาสติกของเครื่องฉีดพลาสติก และ Paddle Level Switch แบบใบพัดอลูมิเนียม (รุ่น LM-002-Series)  เหมาะสมกับลักษณะงานที่ใช้กับโหลดหนัก ๆ Heavy Duty เช่น ถังไซโลในโรงสี, ถังปูน เป็นต้น (ดังรูป)  LM-001N (ใบพัดพลาสติก) LM-001N-1 (งวงพลาสติก) LM-001N-S (ใบพัดสแตนเลส) LM-002/LM-002-S (ใบพัดอลูมิเนียม/ใบพัดสแตนเลส)      จากที่เราได้ทราบรูปแบบลักษณะใบพัดแต่ละชนิดของ Paddle Level Switch หรือ Paddle Switch เพื่อสามารถเลือกนำไปใช้งานที่เหมาะสมกันไปแล้วนั้น ต่อไปจะมาพูดถึงลักษณะการตรวจจับระดับและการติดตั้งสวิตช์ใบพัดตรวจจับระดับวัตถุ (Paddle Level Switch) ดังนี้ ลักษณะการตรวจจับระดับและการติดตั้งสวิตช์ใบพัดตรวจจับระดับวัตถุ (Paddle Level Switch)   การทำงานของสวิตซ์ใบพัดตรวจจับระดับวัตถุ (Paddle Level Switch) รูปแสดงการติดตั้งสวิตซ์ใบพัดตรวจจับระดับวัตถุในถังไซโล (Level Paddle Switch)         หลักการทำงานสวิตช์ใบพัดตรวจจับระดับวัตถุ (Paddle Level Switch) หรือ Paddle Switch โดยเมื่อเราทำการติดตั้ง สวิตช์ใบพัด (Paddle Switch) เรียบร้อยแล้ว และทำการจ่ายแรงดันไฟฟ้า (Power Suppy) ให้กับ สวิตช์ใบพัด (Paddle Switch) จะทำให้ตัวใบพัดนั้นเริ่มหมุนจากแรงขับของมอเตอร์ ซึ่งจะหมุนอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งเริ่มมีวัตถุดิบเติมเข้ามาเรื่อย ๆ เมื่อระดับวัตถุสัมผัสตัวใบพัด สวิตช์ Relay Output ก็จะทำงาน โดยมีการเตือนว่าถึงระดับที่ต้องการควบคุมแล้ว ทำให้มอเตอร์ที่อยู่ภายในพยายามหมุนตัวใบพัดที่อยู่ด้านนอก ในสภาวะนี้จะทำให้เกิดแรงบิดขึ้นที่ตัวมอเตอร์ ส่งผลให้ใบพัดหยุดหมุนและทำให้เอาท์พุต NO (Normally Open) และ NC (Normally Close) ของตัวเซ็นเซอร์ทำงาน ซึ่งจะทำให้ตัวควบคุมที่ต่ออยู่กับตัวเซ็นเซอร์นี้รู้ว่าถึงระดับที่ต้องการแล้ว และทำการสั่งงานไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ ต่อไป เช่น Signal Tower Light, Alarm, Buzzer เพื่อแจ้งเตือน เป็นต้น การต่อประยุกต์ใช้งานสวิตช์ใบพัดตรวจจับระดับวัตถุ (Paddle Level Switch)   Paddle Level Switch แบบใบพัดพลาสติก/ใบพัดสแตนเลส รุ่น LM-001N-Series ใช้กับงานโหลดเบา ๆ (Light Load) เช่น Hopper เม็ดพลาสติกของเครื่องฉีดพลาสติก Paddle Level Switch แบบใบพัดอลูมิเนียม/ใบพัดสแตนเลส รุ่น LM-002-Series ใช้กับงานโหลดหนัก ๆ Heavy Duty เช่น ถังไซโลในโรงสี, ถังปูน เป็นต้น       ในการใช้งานระยะยาวของ Paddle Level Switch หรือ Paddle Switch หากมีความผิดปกติของอุปกรณ์เกิดขึ้น จะต้องมีการถอดประกอบชิ้นส่วน ทั้งในส่วนภายนอกอุปกรณ์ และโครงสร้างที่อยู่ภายในอุปกรณ์ เช่น มอเตอร์, สวิตช์, สายไฟ เป็นต้น ซึ่งในการถอดประกอบชิ้นส่วนของ Paddle Level Switch (รุ่น LM-001N-Series) ที่ได้มีการออกแบบเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจเช็ค หรือ Maintenance โดยสามารถถอดดึงออกเฉพาะส่วนที่อยู่ภายนอกถังไซโลได้เลย เพราะมีการติดตั้งแบบหน้าแปลนเจาะยึดติดที่ถังไซโล ทำให้ไม่ต้องถึงถอดจากข้างในถังไซโล และมีความแข็งแรงต่อการกระแทกหรือสั่นสะเทือน มีซีลยางเพื่อป้องกันน้ำเข้า (IP54) โดยสามารถใช้กับงาน Out Door ได้ เช่น ฟาร์ม, โรงงานอาหารสัตว์ เป็นต้น   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK