Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text
วิธีป้องกันปั๊มน้ำ, ปั๊มเคมี ไหม้หรือเสียหาย ด้วย Dry Run Protection

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      จากบทความครั้งที่แล้วที่เราได้นำเสนอกันไป ในหัวข้อ Dry Run Protection Relay กับ Phase Protection มีหลักการทำงานแตกต่างกันอย่างไร? โดยได้กล่าวถึงหลักการทำงานและประโยชน์ของการใช้งาน Dry Run/Load Protection Relay ว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง? ในการเลือกติดตั้งใช้งานของอุปกรณ์ป้องกัน Dry Run Protection หรือ Run Dry Protection เพื่อป้องกันไม่ให้ปั๊มน้ำเดินตัวเปล่า (Run Dry) โดยได้นำมาสรุปเป็นหัวข้อหลัก ๆ ที่สำคัญ ดังนี้      • ลดความเสียหายของปั๊มน้ำ โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับระบบแมคคานิค เช่น ไม่ต้องตัดท่อเพื่อติดตั้ง (อุปกรณ์ Flow Switch ต้องตัดท่อเพื่อติดตั้ง)      • สามารถนำอุปกรณ์ Dry Run Protection ไปติดตั้งภายในตู้คอนโทรลได้เลย สะดวกในการติดตั้งใช้งาน      • คล้องสายมอเตอร์ผ่านตัว Day Run เพื่อตรวจเช็คกระแสไฟฟ้า (A) หรือตรวจเช็คค่า PF (Power Factor) ขึ้นอยู่กับการใช้งาน โดยมอเตอร์ปั๊มน้ำ 3 เฟส จะเหมาะสำหรับการตรวจเช็คค่า PF (Power Factor) จะได้ความแม่นยำในการป้องกันมอเตอร์ปั๊มน้ำและมอเตอร์ปั๊มน้ำ 1 เฟส เหมาะสำหรับการตรวจเช็คค่ากระแสไฟฟ้า (A) ทำให้สามารถป้องกันปั๊มน้ำหรือปั๊มเคมีซึ่งมีราคาแพงไม่ให้เกิดความเสียหาย อุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ปั๊มน้ำเดินตัวเปล่า (Dry Run Protection Relay) PM-007 Dry Run Protection Relay สามารถเลือกเงื่อนไขการทำงานของ Relay Output ได้ 2 Function คือ      1. ตั้งค่า PF เป็น Under Protection (Un) คือ ถ้าค่าที่วัดได้ต่ำกว่าค่า Setpoint ที่ตั้งไว้ PF = 0.8 (ขึ้นอยู่กับ Name Plate Motor แต่ละรุ่น) Relay Output จะสั่ง Motor หยุดทำงานหลังจากครบเวลา OFF Delay Time (DT) ที่ตั้งไว้ และจะกลับมาทำงานอีกครั้งหลังจากครบเวลา Recovery Time (RT) โดยตัว Dry Run จะสั่งให้มอเตอร์ปั๊มน้ำทำงานอีกครั้งแบบ Auto โดย Function นี้จะเหมาะสำหรับบ่อบาดาล เวลาน้ำแห้งจะสั่งตัดระบบและจะกลับมาทำงานในตอนมีน้ำ      2. ตั้งค่า PF เป็น Over Protection (Ov) คือ ถ้าค่าที่วัดได้สูงกว่าค่า Setpoint ที่ตั้งไว้ Relay Output จะสั่ง Motor หยุดทำงาน หลังจากครบเวลา OFF Delay Time (DT) ที่ตั้งไว้ ใช้กับงานประเภทป้องกันเกียร์ที่มี Ratio สูง ๆ รอบช้า ๆ เมื่อเกียร์รับโหลดมากกว่าปกติจะทำให้เกียร์เสียหาย *เหมาะสำหรับเช็คกระแส Load Protection*      Dry Run Protection Relay ทำหน้าที่ป้องกันมอเตอร์, ปั๊มน้ำ, ปั๊มเคมีหรือปั๊มน้ำบาดาลไม่ให้เดินตัวเปล่าโดยไม่มีน้ำ เพราะจะทำให้ปั๊มน้ำเกิดความเสียหายและสามารถเช็คความผิดปกติได้ 2 แบบ โดยมีในการต่อใช้งานสำหรับระบบไฟ 3 เฟส และระบบไฟ 1 เฟส (ดังรูป) การต่อใช้งาน Dry Run Protection Relay สำหรับระบบ 3 เฟส Dry Run Protection Relay เช็คความผิดปกติ ของ PF (Power Factor) (Cosθ) สำหรับระบบ 3 เฟส Dry Run Protection Relay เช็คความผิดปกติ ของ PF (Power Factor) (Cosθ) สำหรับระบบ 3 เฟส โดยใช้ CT (Current Transformer) ภายนอก วงจรการต่อใช้งาน Dry Run Protection Relay สำหรับระบบ 3 เฟส (รุ่น PM-007-380) วงจรการต่อใช้งาน Dry Run Protection Relay สำหรับระบบ 3 เฟส CT ภายนอก 5A (รุ่น PM-007-5-380)      Dry Run Protection Relay เช็คความผิดปกติของค่า PF (Cosθ) ของ Dry Run นั้น มีการเปลี่ยนแปลงตามโหลดมากกว่ากระแส เช่น ปั๊มน้ำที่มีโหลดต่ำกรณีน้ำขาดหรือไม่มีน้ำ ค่า PF จะต่ำ และเปลี่ยนเปลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ป้องกันปั๊มเสียหายได้ทันเวลา การต่อใช้งาน Dry Run Protection Relay สำหรับระบบ 1 เฟส Dry Run Protection Relay เช็คความผิดปกติของกระแสไฟฟ้า (Amp) สำหรับระบบ 1 เฟส Dry Run Protection Relay เช็คความผิดปกติ ของกระแสไฟฟ้า (Amp) สำหรับระบบ 1 เฟส โดยใช้ CT ภายนอก วงจรการต่อใช้งาน Dry Run Protection Relay สำหรับระบบ 1 เฟส (รุ่น PM-007-220) วงจรการต่อใช้งาน Dry Run Protection Relay สำหรับระบบ 1 เฟส CT ภายนอก 5A (รุ่น PM-007-5-220)      Dry Run Protection Relay เช็คความผิดปกติทางกระแส (Amp) เหมาะสำหรับใช้กับ Motor 1 Phase เนื่องจาก 1 Phase ส่วนใหญ่เป็น Capacitor Motor ทำให้การเช็ค PF (Cosθ) อาจจะไม่แน่นอน อันเนื่องมาจาก Capacitor ที่ต่อกับวงจร ข้อดีของการเลือกใช้ Dry Run/Load Protection Relay      • สามารถป้องกันปั๊มน้ำหรือปั๊มเคมีเสียหายได้ทันท่วงที      • สามารถใช้กับมอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ได้ถึง 1000 A (ต่อแบบ CT ภายนอก)      • ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับระบบท่อน้ำเดิมที่ใช้งานอยู่      • ลดการเดินสายของ Flow Switch      • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง      • ราคาประหยัด ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Dry Run/Load Protection Relay ใช้ป้องกันสำหรับงานอุตสาหกรรมเคมี                      ใช้ป้องกันสำหรับงานบ่อน้ำบาดาล                      โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การต่อใช้งาน Analog Input กับ PLC

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      พีแอลซี (PLC) ย่อมาจาก Programmable Logic Controller เป็นอุปกรณ์สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือระบบต่าง ๆ แบบอัตโนมัติ ปัจจุบัน PLC สามารถรับสัญญาณ Input จากอุปกรณ์เครื่องมือวัดได้โดยตรง โดยสามารถแบ่งประเภทของ Input/Output ออกได้เป็นอีก 2 ประเภท ดังนี้        Digital Input คือ อินพุตที่รับสัญญาณ ON และ OFF เช่น Push button, Proximity switch, Switch ON-OFF, Sensor PNP NPN, Relay, Encoder เป็นต้น      Analog Input คือ อินพุตที่รับสัญญาณ 4-20mA หรือ 0-10 VDC เช่น Pressure Transmitter, Temperater Controller, Humidity Transmitter, Temperature Sensor (RTD, Thermocouple), Flow Transmitter/Level Transmitter เป็นต้น        พีแอลซี (PLC) สามารถเขียนโปรแกรมสร้างฟังก์ชั่นและเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานได้ตามความต้องการ ถ้าต้องการจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการทำงานใหม่ก็สามารถทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมเพียงเท่านั้น        ซึ่งจากบทความที่ผ่านมาเราได้พูดถึงหัวข้อ “ทำไมต้องใช้ PLC+HMI ในการควบคุมเครื่องจักรในยุคปัจจุบัน” โดยได้กล่าวถึงประโยชน์ของการใช้งาน PLC+HMI ในการควบคุมเครื่องจักรแบบอัตโนมัติกันไปแล้วนั้น และในวันนี้เราจะมาแนะนำเกี่ยวกับประเภทของอินพุตแบบอนาล็อก (Analog Input) เช่น 0-20mA, 4-20mA หรือ 0-10VDC เป็นต้น ซึ่งเป็นอินพุตที่เป็นมาตรฐานนิยมนำมาใช้งานกับอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ โดยเฉพาะนำมาต่อใช้งานกับ PLC ได้โดยตรงเพื่อควบคุมระบบอัตโนมัติในหัวข้อ “การต่อใช้งาน Analog Input กับ PLC” โดยมีตัวอย่างการต่อใช้งาน ดังนี้        ตัวอย่างการต่อสัญญาณ Analog Input ร่วมกับ PLC           Analog Input Current Wiring ตัวอย่างการต่อสัญญาณ Analog Input ของ Signal Transmitter รูปแบบแรงดัน 0-10VDC ร่วมกับ PLC             Analog Input Current Wiring ตัวอย่างการต่อสัญญาณ Analog Input ของ Humidity Transmitter รูปแบบกระแส 4-20mA ร่วมกับ PLC        ตัวย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC     เครื่องอบวัตถุดิบการเกษตร เครื่องติดฉลากบนขวด เครื่องอบวัสดุทางอุตสาหกรรม     โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
2 วิธีการเก็บบันทึกค่าน้ำหนักแบบไร้สาย

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันการชั่งน้ำหนักในภาคอุตสาหกรรมนิยมใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "โหลดเซลล์ (Load Cell)" มาเป็นอุปกรณ์ในการใช้วัดค่าน้ำหนักกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก โหลดเซลล์ (Load Cell) เป็นอุปกรณ์ที่มีความแม่นยำในการวัดสูง และสามารถรองรับค่าน้ำหนักได้ปริมาณมาก ๆ ถึง 50 kTon ซึ่งความหมายของโหลดเซลล์ (Load Cell) เราได้มีการอธิบายไว้ในหัวข้อ “การต่อสายโหลดเซลล์ (Load cell) แบบ 4 สาย และ 6 สาย” ที่ผ่านมาแล้วนั้น ซึ่งหัวข้อในวันนี้เราจะมาแนะนำเกี่ยวกับ  “2 วิธีการเก็บบันทึกค่าน้ำหนักแบบไร้สาย” ว่ามีวิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร?      1. การเก็บบันทึกค่าน้ำหนักแบบ RS-485 to WIFI      จากรูปเป็นการยกตัวอย่างการต่อโหลดเซลล์ (Load Cell) เข้ากับเครื่องแสดงผลค่าโหลดเซลล์ (Digital Load Cell Indicator) รุ่น CM-013 โดยมีพอร์ท RS-485 เพื่อนำค่าไปแสดงผลหรือเก็บบันทึกข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ โดยมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณจาก RS-485/RS-232 เป็น WIFI รุ่น RM-012-WIFI สามารถตั้งค่าอุปกรณ์ผ่านหน้า Web Browser ทั่วไปโดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม      2. การเก็บบันทึกค่าน้ำหนักแบบ RS-485 to LoRaWAN      จากรูปเป็นการยกตัวอย่างการต่อ โหลดเซลล์ (Load Cell) เข้ากับเครื่องแสดงผลค่าโหลดเซลล์ (Digital Load Cell Indicator) รุ่น CM-013 โดยมีพอร์ท RS-485 เพื่อนำค่าไปแสดงผลหรือเก็บบันทึกข้อมูลที่คอมพิวเตอร์โดยมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณ RS485 เป็น LoRaWAN รุ่น RM-012-L รองรับอุปกรณ์ที่สื่อสารผ่าน RS485 Modbus RTU ได้ถึง 10 ตัวและเก็บข้อมูลได้ตัวละ 12 Register และสามารถสื่อสารได้ไกลถึง 1 กิโลเมตร ในที่โล่ง      ดังนั้น การเก็บข้อมูลแบบไร้สายดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งอุปกรณ์ ลดต้นทุนในการ Wiring สาย และสามารถเก็บบันทึกข้อมูลและ Monitor ดูค่าได้จากห้อง Control Room โดยที่ไม่ต้องจดบันทึกและเดินมาดูค่าที่จุดติดตั้ง      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ทำไมต้องใช้ PLC+HMI ในการควบคุมเครื่องจักรในยุคปัจจุบัน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันมีการใช้งานอุปกรณ์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าในการวัดค่าต่าง ๆ ในงานอุตสาหกรรม เช่น การวัดค่าแรงดัน (Pressure), อุณหภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity), ค่าพลังงานทางไฟฟ้า (Electrical Energy) เป็นต้น ภายในกระบวนการ โดยมีเครื่องควบคุมที่รับสัญญาณอินพุตแบบอนาล็อก (4-20mA/0-10VDC) จากอุปกรณ์เครื่องมือวัดเหล่านี้ และมีหน้าคอนแทคเอาต์พุตสำหรับตัด-ต่อ (Relay Output) ของอุปกรณ์ตัวนั้น ๆ ในการควบคุมจะสามารถควบคุมอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ ได้เพียงตัวต่อตัวเท่านั้น ซึ่งหากในระบบมีอุปกรณ์เครื่องมือวัดหลาย ๆ ตัว จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติสำหรับควบคุมอุปกรณ์เครื่องมือวัดหรือควบคุม Robot ตลอดจนควบคุมการทำงานของเครื่องจักร (Auto Machine) เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง Solution ในระบบ ซึ่งอุปกรณ์ที่ว่านี้ก็คือ PLC (พีแอลซี) ย่อมาจาก Programmable Logic Control และ HMI ย่อมาจาก (Human Machine Interface) ซึ่งเราได้มีการนำเสนอข้อมูลกันไปแล้วในหัวข้อ PLC + HMI คืออะไร?        ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบของ PLC (พีแอลซี) ที่มี HMI อยู่ภายในตัวเดียว เพื่อง่ายต่อการออกแบบทำให้เป็น PLC+HMI (Programmable Logic Control + Human Machine Interface) รวมอยู่ในตัวเดียวกัน โดยที่ PLC+HMI เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมระบบการทำงานของเครื่องจักรต่าง ๆ สามารถใช้แทนการควบคุมแบบวงจรรีเลย์ (Relay Circuit) ที่ใช้งานยุ่งยากในอดีต เนื่องจาก PLC+HMI สามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ Input และ Output ได้โดยตรง โดยที่เราสามารถเขียนโปรแกรมคำสั่งป้อนเข้าไปในอุปกรณ์ PLC+HMI โดยการใช้โปรแกรม Ladder ตามที่ต้องการก็สามารถใช้งานได้ทันที หรือหากต้องการเปลี่ยนเงื่อนไขการทำงานของเครื่องจักรใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายเพียงแค่เปลี่ยนแปลงคำสั่งในโปรแกรมใหม่เท่านั้นเอง โดยมีตัวอย่างหน้าตาของ Ladder Program (ดังรูป)    ตัวอย่าง Ladder Program        PLC+HMI ในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก ทั้งในส่วนของ Hardware และ Software โดยเฉพาะระบบการประมวลผลของไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ให้มีการตอบสนองที่เร็วขึ้น มีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง และมีฟังก์ชั่นในการจัดเก็บหรือถ่ายโอนข้อมูลได้ง่าย ทำให้ง่ายต่องานที่มีความซับซ้อน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมได้หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมพลาสติก, อุตสาหกรรมยาง, อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมในยุค 4.0 เป็นอย่างมาก ซึ่งในในวันนี้เราจะมาพูดถึงประโยชน์ของการใช้ PLC+HMI ในการควบคุมเครื่องจักร ในหัวข้อ "ทำไมต้องใช้ PLC+HMI ในการควบคุมเครื่องจักรในยุคปัจจุบัน"        ประโยชน์ของการใช้งาน PLC+HMI ในการควบคุมเครื่องจักร ดังนี้         • PLC+HMI ควบคุมระบบการทำงานของเครื่องจักรต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ         • PLC+HMI เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ Input และ Output ได้หลากหลาย         • PLC+HMI ง่ายต่อการใช้งาน ตรวจสอบการทำงาน หรือการ Maintenance         • PLC+HMI มีฟังก์ชั่นต่าง ๆ การทำงานหลากหลาย สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานกับงานอุตสาหกรรมได้มากมาย         • PLC+HMI ลดความซับซ้อนในการออกแบบระบบ เนื่องจากมีทั้ง HMI และ PLC อยู่ภายในตัวเดียว        ซึ่ง PLC+HMI มีหลากหลายรุ่นที่แตกต่างกัน ในที่นี้จะยกตัวอย่าง PLC ยี่ห้อ Unitronics เพื่อให้ผู้ใช้งานได้พิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน ดังนี้         • PLC ที่มีขนาดเล็ก (Micro PLC) เช่น รุ่น Jazz series, Jazz-J series, M91 เป็นต้น             - มีจำนวน Input/Output ไม่มากนักสำหรับใชักับงานที่มีเงื่อนไขไม่ซับซ้อนมาก         • Vision PLC เช่น รุ่น V120, V230, V290, V130-J, V350-J, V560, V570, V700-T20BJ, V1210-T2BJ, V1040-T20B เป็นต้น             - สามารถเก็บข้อมูล (Data logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen         • UniStream PLC เช่น รุ่น US5-B10-B1, USP-156-B10, USP-104-B10 เป็นต้น             - เน้นกับงานที่ใช้กราฟฟิค หน้าจอแบบ Touch Screen         • Samba PLC เช่น รุ่น SM35, SM43, SM70 เป็นต้น             - สามารถเก็บข้อมูล (Data logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen (ราคาถูก) และรูปแบบในการตั้งค่าต่าง ๆ ที่ตัว PLC+HMI  เช่น PLC แบบใช้ปุ่มกด (Keypad Switch), PLC แบบ Touch Screen เป็นต้น        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   ระบบเครื่องกรองน้ำอัตโนมัติ ระบบพาสเจอร์ไรซ์ ระบบเครื่องพลังงานทดแทนด้วยลม   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Temperature Controller แบบ Fuzzy Control ดีกว่า PID Control อย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Temperature Controller (เครื่องควบคุมอุณหภูมิ) ที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิ เหมาะสำหรับการใช้ในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร, อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์, อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์, ห้องเย็น, ห้องควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น โดยได้นำเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor), Thermocouple, PT100, NTC, PTC มาใช้เป็นสัญญาณอินพุต (Input) ให้กับเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) เพื่อควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในสภาวะคงที่ ที่ต้องการใช้ในงานนั้น ๆ ซึ่งโดยหลัก ๆ การควมคุมอุณหภูมิของ Temperature Controller นั้น มีรูปแบบวิธีการในการควบคุมอุณหภูมิ เช่น ระบบการควบคุมแบบ ON-OFF (ON-OFF Control), ระบบการควบคุมแบบ Fuzzy (Fuzzy Control), ระบบการควบคุมแบบ PID (PID Control) เป็นต้น โดยในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงเฉพาะการควบคุมแบบ Fuzzy Control และ PID Control เนื่องจาก การควบคุมแบบ ON-OFF นั้น เป็นการควบคุมแบบง่าย เอาต์พุตทำงานเพียง 2 สถานะ คือ ON-OFF ราคาไม่แพง และใช้กับงานทั่วไปที่ไม่ต้องการความละเอียดมาก โดยสามารถยอมรับผลของอุณหภูมิที่มีการแกว่งได้ ในหัวข้อ Temperature Controller (เครื่องควบคุมอุณหภูมิ) แบบ  Fuzzy Control ดีกว่า PID Control อย่างไร?        ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับรูปแบบการควบคุมของเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) แบบ Fuzzy Control และ PID Control กันก่อน ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร?        Fuzzy Control เป็นรูปแบบการควบคุมที่ช่วยให้การควบคุมอุณหภูมิเข้าสู่ค่าเป้าหมาย คือ SV (Set Point Value) เป็นไปอย่างราบเรียบ มีการเกิดการแกว่งหรือ Overshoot ของ PV (Process Value) ที่ต่ำ โดยอาศัยการแบ่งช่วงการจ่ายสัญญาณเอาต์พุตออกเป็นช่วง ๆ ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับค่า Error หรือผลต่างระหว่าง Input PV กับ SV ซึ่งสามารถเป็นค่าได้ทั้งบวกและลบ โดยการควบคุมแบบ Fuzzy Control สามารถตอบสนองต่อสัญญาณรบกวนจากภายนอกได้เป็นอย่างดี การควบคุมอุณหภูมิคงที่และมีความแม่นยำ เหมาะสมกับการควบคุมอุณหภูมิในงานที่ต้องการให้อุณหภูมิเข้าถึงค่า Setpoint ได้เร็ว และงานที่มีค่า Dead Time มาก ๆ เช่น งานเตาอบ ที่มีการเปิด-ปิด ประตูบ่อย (ดังกราฟที่ 1) กราฟที่ 1 แสดงการควบคุมรูปแบบ Fuzzy Control        PID Control หรือ Proportional Integral Derivative Control เป็นระบบควบคุมแบบป้อนกลับ (Feedback Control) ที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งค่าที่นำไปใช้ในการคำนวณเป็นค่าความผิดพลาด (Error value) ที่หามาจากความแตกต่างของตัวแปรในกระบวนการและค่าที่ต้องการ โดยการควบคุมแบบ PID Control เป็นการรวมเอาการควบคุม 3 ส่วน ที่สำคัญด้วยกัน ดังนี้ กราฟที่ 2 แสดงการควบคุมรูปแบบ PID Control        โดยตัวควบคุมจะพยายามลดค่าผิดพลาด (Error value) ให้เหลือน้อยที่สุด ด้วยการปรับค่าสัญญาณขาเข้าของกระบวนการ (Process) และการควบคุมทั้ง 3 ส่วนนี้จะช่วยส่งเสริมและชดเชยการควบคุมให้มีเสถียรภาพที่สุด แต่อย่างไรก็ตามการควบคุมแบบ PID Control ยังไม่มีความยืดหยุ่นพอที่จะควบคุมบางระบบที่มีความซับซ้อนได้ เช่น ระบบที่มีค่า Dead Time มาก ๆ, เตาอบที่มีการเปิด-ปิด ประตูบ่อย เป็นต้น (ดังกราฟที่ 2) กราฟที่ 3 แสดงการควบคุมรูปแบบ Fuzzy Control และPID Control        จากข้อมูลดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ระบบการควบคุมแบบ PID Control และ Fuzzy Control ของเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) สามารถสรุปผลการควบคุมโดยแสดงได้ดังกราฟที่ 3 ดังนี้        จากกราฟที่ 3 จะเห็นว่าการควบคุมแบบ Fuzzy Control จะสามารถควบคุมระบบได้อย่างมีเสถียรภาพมากกว่า มีการแกว่งของอุณหภูมิหรือการเกิด Overshoot ที่น้อยกว่าการควบคุมแบบ PID Control โดยเข้าสู่ค่าที่ตั้งไว้ หรือ Set Point ด้วยเวลาที่สั้นกว่า สามารถเป็นค่าได้ทั้งบวกและลบ เพื่อให้สามารถทำให้ระบบของการควบคุมนั้นสามารถตอบสนองต่อสัญญาณรบกวนจากภายนอกได้เป็นอย่างดี ทำให้เสถียรภาพในการควบคุมนั้นคงที่ภายใต้สัญญาณรบกวนต่าง ๆ หรือ Disturbances        อย่างไรก็ตาม วิธีการคิดและการควบคุมทั้งหมดของ Temperature Controller ที่กล่าวมานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นการควบคุมแบบการป้อนกลับ Feedback Control หรือ Close Loop Control System ทั้งสิ้น โดยกระบวนการควบคุมแบบนี้ปัจจุบันถือว่าเป็นการควบคุมแบบมาตรฐานที่ใช้ในระบบอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถจัดการกับสัญญาณรบกวนต่าง ๆ และควบคุมระบบให้เข้าสู่ค่าที่ตั้งไว้ได้ดี        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน     การติดตั้ง Temperature Controller เครื่องควบคุมอุณหภูมิ รุ่น TTM-i4N โดยรูปแบบการควบคุม แบบ Fuzzy Control สำหรับงานอบอาหารหรือชิ้นงาน   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Flow Switch แตกต่างจาก Flow Meter อย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Flow (การไหล) หรือ ของไหล (Fluid) คือ สสารที่สามารถเปลี่ยนรูปและเคลื่อนที่ได้โดยอาศัยแรงของภาชนะเหล่านั้นในการบังคับรูปทรงของไหล ในรูปแบบของของเหลว (Liquid) เช่น น้ำ, ไอ (Vapor), แก๊ส (Gas) เป็นต้น ตามรูปทรงของภาชนะต่าง ๆ ที่บรรจุ ซึ่งของไหล (Fluid) ดังกล่าวถูกนำมาควบคุมในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยการใช้อุปกรณ์ เช่น โฟลว์สวิทช์ (Flow Switch) หรือ โฟลว์มิเตอร์ (Flow Meter) เป็นต้น มาใช้ในการวัดปริมาตร ปริมาณหรืออัตราการเคลื่อนที่ของของไหล (Fluid) ผ่านภาชนะ เช่น ท่อหรือราง เป็นต้น เพื่อบังคับควบคุมทิศทางการไหลให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการ (Flow Direction) โดยโฟลว์สวิทช์ (Flow Switch) และโฟลว์มิเตอร์ (Flow Meter) มีความแตกต่างกันอย่างไรนั้น ในวันนี้เราจะมาแนะนำกันในหัวข้อ Flow Switch แตกต่างจาก Flow Meter อย่างไร?        โฟลว์สวิทช์ (Flow Switch) เป็นอุปกรณ์ชนิดที่เป็นสวิทช์ (ON-OFF) ที่ติดตั้งไว้กับท่อ เป็น Flow สวิทช์แบบใบพาย (รุ่น WS-01) เพื่อตรวจจับการไหลของน้ำหรือของไหลในท่อ เมื่อมีของไหลผ่านจะทำให้หน้าสัมผัส (Relay Contact) ของสวิทช์ทำงาน โดยหน้าสัมผัสมีทั้งแบบปกติปิด (NC) และแบบปกติเปิด (NO) ต่อใช้งานในการควบคุมการไหลเพื่อคุมปั๊ม เช่น ใช้สำหรับตรวจจับการไหลของน้ำในการป้องกันปั๊มน้ำไม่ให้เดินตัวเปล่า เนื่องจากจะทำใหปั๊มน้ำเกิดความเสียหาย (Run Dry) ดังรูป 1.1 รูป 1.1 ลักษณะการติดตั้ง Flow Switch โดยการยึดเกลียว เพื่อตรวจจับอัตราการไหลของน้ำในท่อ รุ่น WS-01 (แบบใบพาย 3 ระดับ)        ข้อแนะนำ : การติดตั้งตัว Flow Switch แบบใบพาย ควรเว้นระยะห่างจากข้องอ, วาล์วหรืออุปกรณ์อื่น ๆ อย่างน้อย 5 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ จึงจะสามารถทำงานได้ดีที่สุด        โฟลว์มิเตอร์ (Flow Meter) เป็นส่วนหนึ่งของการวัดการไหล (Flow Measurement) ซึ่ง Flow Meter ทำหน้าที่ในการวัดปริมาตร, ปริมาณหรืออัตราการเคลื่อนที่ของไหล (Fluid) ผ่านภาชนะ เช่น ท่อหรือราง เป็นต้น โดยสามารถหาค่าพื้นที่หน้าตัด ปริมาตร เทียบกับว่าเวลาที่ของไหลนั้นไหลผ่านมาได้ ซึ่งโดยปกติจะไม่วัดค่าได้แบบตรง ๆ แต่จะอาศัยการวัดค่าความเร็ว (Speed)  ของการเคลื่อนที่จากของไหล (Fluid) ที่เกิดจากค่าความดัน จาก 2 จุด จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการไหลจากของไหล โดยหากความดันฝั่งใดมีความดันที่มากกว่าก็จะดันให้ของไหลนั้นไหลไปยังฝั่งที่มีค่าความดันต่ำกว่า และนำค่าความเร็วมาคูณกับพื้นที่หน้าตัด ก็จะได้เป็นค่าอัตราการไหล (Flow Rate) ออกมา และโฟลว์มิเตอร์ (Flow Meter) ยังมีชนิดที่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับการไหล (Flow Sensor) หรือเซ็นเซอร์ส่งสัญญาณการไหล (Flow Transmitter) ที่สามารถแสดงค่าได้อีกด้วย ดังรูป 1.2 รูป 1.2 ชนิดของ Flow Meter ที่มีหน้าจอแสดงผลของกการวัดปริมาตร, ปริมาณหรืออัตราการเคลื่อนที่ของไหล (Fluid) เป็นต้น        สรุปความแตกต่างระหว่าง Flow Switch กับ Flow Meter   Flow Switch Flow Meter • ไม่มีหน้าจอแสดงผลอัตราการไหล • เอาท์พุทแบบ Relay Output • ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ • มีความแม่นยำในการวัดน้อยกว่า Flow Meter • มีหน้าจอแสดงผลอัตราการไหลแบบเข็มและแบบดิจิตอล • มีเอาท์พุทแบบ 4-20mA, Pulse Output • สามารถบันทึกข้อมูลได้ • มีความแม่นยำในการวัดมากกว่า Flow Switch      จากที่ได้ทราบข้อแตกต่างระหว่าง Flow Switch กับ Flow Meter กันไปแล้วนั้น จากข้อมูลดังกล่าวแล้ว โดยธรรมชาติของของไหล (Fluid) ยังมีตัวแปรหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ทำให้ประสิทธิภาพในการวัดของอุปกรณ์ Flow Switch, Flow Meter, Flow Sensor, Flow Transmitter มีค่าความคลาดเคลื่อนในการวัด ดังนี้        ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่สามารถส่งผลกระทบกับการวัดอัตราการไหล ของ Flow Switch และ Flow Meter, Flow Sensor, Flow Transmitter ดังนี้         • อุณหภูมิ (Temperature) ผลจากการเปลียนแปลงอุณหภูมิของของไหล มีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการไหล ซึ่งจำเป็นต้องมีการวัดค่าของอุณหภูมิ เพื่อนำมาเป็นค่าชดเชยในการวัด         • ความดัน (Pressure) จะเป็นตัวอ้างอิงในการวัดค่าการวัดอัตราการไหลของปริมาตร ซึ่งจะนิยมระบุไว้ในกรณีที่การวัดนั้นไม่ได้อยู่ภายใต้ความดันบรรยากาศ         • ความหนืด (Viscosity) หรือ ค่าแรงต้านการไหลของของไหล ซึ่งเป็นสมบัติเฉพาะตัวของของไหลต่าง ๆ โดยถ้าค่าความหนืดมีค่าสูงจะต้องใช้ค่าความต่างของแรงดันมากเพื่อให้ของไหลนั้นเคลื่อนที่ โดยค่าความหนืดสามารถหาได้จากค่าแรงเค้นเฉือนต่ออัตราเฉือน         • ความหนาแน่น (Density) อัตราส่วนระหว่างปริมาณของมวลสารต่อหน่วยปริมาตร ซึ่งเป็นสมบัติทางกายภาพของวัสดุ         • ความอัดตัวได้ (Compressibility) เป็นค่าที่บ่งบอกถึงปริมาตรต่อความดัน โดยความดันจะมีผลต่อปริมาตรเป็นอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องนำค่าความดันมาคิดด้วย         • แรงตึงผิว (Surface Tension) คือค่าแรงต้านที่ผิวหน้าของของเหลว ซึ่งเป็นแรงที่ใช้ยึดเกาะติดระหว่างพื้นผิวของโมเลกุล   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
สิ่งที่ควรรู้ก่อนเลือกซื้อสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) คือ อุปกรณ์แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ AC (Alternating Current) ที่มีแรงดันสูง (High Voltage) แปลงเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง DC (Direct Current) ที่มีแรงดันต่ำ (LowVoltage) เช่น จากแรงดันไฟฟ้าทางด้านอินพุต (Input) 220Vac แปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าทางด้านเอาต์พุต (Output) ที่มีแรงดันต่ำ 5Vdc, 12Vdc, 24Vdc เป็นต้น        สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) จะทำงานในลักษณะเดียวกันกับหม้อแปลงแรงดัน (Transformer) ทั่วไป แต่สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าและมีขนาดเล็กกว่า โดยหลักการทั่วไปของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) จะประกอบด้วยดังนี้         1. เรคติไฟเออร์ (Rectifier) ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ AC (Alternating Current) ให้เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง DC (Direct Current)         2. คอนเวอร์เตอร์ (Converter) ทำหน้าที่แปลงความถี่แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (Frequency Converter DC Voltage) ให้เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่ความถี่สูง (High Frequency AC Voltage) และแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ให้เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) โดยมีความต้านทานทางด้านเอาต์พุตของแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงให้ได้ตามความต้องการอีกครั้ง (ดังรูป) รูปแสดงส่วนประกอบภายในโครงสร้างของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply)        ปัจจุบันได้มีการนำเอาสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) มาใช้สำหรับแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ที่มีแรงดันสูง แปลงเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่มีแรงดันต่ำ กันอย่างแพร่หลายในภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม, องค์กร, สำนักงาน ฯลฯ เนื่องจากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์บางอย่างจำเป็นต้องใช้แรงดันไฟฟ้าต่ำแบบกระแสตรง (DC) เช่น อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องใช้ในสำนักงาน, คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม, อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ เป็นต้น เพื่อให้สามารถใช้งานกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นได้ และในการเลือกใช้งานสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ให้เหมาะสมนั้น ควรมีหลักในการเลือกอย่างไร โดยในวันนี้เราจะมาแนะกันในหัวข้อ “สิ่งที่ควรรู้ก่อนเลือกซื้อสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply)” ว่าควรพิจารณาอะไรบ้าง ดังนี้        1. ก่อนที่จะเลือกซื้อต้องทราบว่าในระบบต้องใช้กระแสไฟฟ้าและแรงดันอินพุตเท่าไร เช่น โหลดกินไฟ 24VDC 100W มีขั้นตอนการคำนวณดังนี้           วิธีการคำนวน คือ I = P/V = 100W/24V = 4.167A ดังนั้น เราควรเลือกสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) มากกว่า 4.167A ขึ้นไป เช่น รุ่น PM-024S-5(5A) เป็นต้น                * I แทนด้วยค่ากระแส (Current), P แทนด้วยค่ากำลังวัตต์ (Watt), V แทนด้วยค่าแรงดัน (Voltage) *        2. เลือกให้เหมาะสมกับพื้นที่ในการติดตั้ง (Installation) โดยสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) มีรูปแบบลักษณะการติดตั้งดังนี้           • แบบ Front Mounting : กรณีมีพื้นที่เยอะและสามารถเจาะติดกับตู้คอนโทรลได้           • แบบยึดราง (Din-Rail) : ถูกออกแบบมาใช้กับตู้คอนโทรลในงานอุตสาหกรรมมาโดยเฉพาะ ซึ่งมีขนาดเล็กแต่ประสิทธิภาพสูงและมีระบบการป้องกันที่ดี        3. การพิจารณาเลือกซื้อสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ที่มีระบบการป้องกัน (Protection) ต่าง ๆ เช่น ระบบ  Short Circuit, Over Load, Over Voltage, Over Current หรือ Over Temperature เป็นต้น        4. ควรเลือกสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ที่มีโครงสร้างในการระบายความร้อนได้ดี เนื่องจากความร้อนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) มีอายุการใช้งานที่สั้นลง        จากข้อมูลหลัก ๆ ที่ทางเราได้นำเสนอข้างต้นนั้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถพิจารณาในการเลือกซื้อสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานสำหรับโหลดในระบบได้        ตัวอย่างสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ที่พบเห็นได้ทั่วไปในภาคอุตสาหกรรม   Switching Power Supply รุ่น PM-024S-5 : Rate Current 5A Switching Power Supply รุ่น PM-024S-2.5 : Rate Current 2.5A Switching Power Supply รุ่น PM-024S-1.2 : Rate Current 1.2A      นอกจากนี้ สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) ยังถูกนำมาต่อใช้งานในภาคอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแหล่งจ่ายแยก (Sink) หรือ Supply แยก ร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ ดังตัวอย่าง เช่น การต่อสัญญาณ 4-20mA (Pressure Transmitter) แบบ 2 สาย (4-20mA 2-Wire), การต่อสัญญาณ 4-20mA (Humidity Transmitter) แบบ 3 สาย (4-20mA 3-Wire) หรือการต่อสัญญาณ 4-20mA (Non-Contact Thermometer) แบบ 4 สาย (4-20mA 4-Wire) เป็นต้น โดยการต่อสัญญาณอนาล็อก 4-20mA แบบ 2 สาย, แบบ 3 สาย และแบบ 4 สายนี้ ขึ้นอยู่กับสัญญาณเอาต์พุต (Signal Output) ของอุปกรณ์เครื่องมือวัดหรือเซ็นเซอร์ (Sensor) ที่นำมาใช้งาน      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
อุปกรณ์แสดงผลตัวเลขและตัวอักษร โดยสั่งผ่าน RS485 MODBUS Protocol

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      MODBUS Protocol คือ โปรโตคอล (Protocol) หรือ รูปแบบการสื่อสารข้อมูลดิจิตอลแบบอนุกรมรูปแบบหนึ่ง ในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยอุปกรณ์ที่ต้องการข้อมูล เรียกว่า Modbus Master ส่วนอุปกรณ์ที่ให้ข้อมูลที่ต้องการ เรียกว่า Modbus Slave ซึ่งปัจจุบันการสื่อสารข้อมูลแบบ Modbus Protocol ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องมือวัดอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะใช้ RS485 แบบ Modbus RTU Protocol เช่น Power Meter, Digital Indicator, I/O Modules, PLC เป็นต้น ในการรับส่งข้อมูล โดย MODBUS เป็นแค่เพียงโปรโตคอล (Protocol) หรือภาษาที่ใช้สื่อสารในคอมพิวเตอร์เท่านั้น ส่วน RS485 จะเป็นวิธีการส่งข้อมูลลักษณะการเดินสายไฟ 2 เส้น (A กับ B) ของรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายในระบบ โดย MODBUS สามารถประยุกต์ใช้กับการสื่อสารแบบอนุกรมลักษณะอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็น RS232/RS422 หรือ RS432 เป็นต้น ซึ่งไม่ได้ถูกจำกัดการใช้งานเฉพาะ RS485 เพียงอย่างเดียว และ Modbus Protocol เป็นระบบเปิด (Open System) ผู้ใช้งานจึงสามารถพัฒนาในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ โดย MODBUS ยังสามารถรองรับและใช้งานร่วมกับ Application จำพวก SCADA และ HMI Software ได้อีกด้วย      การสื่อสารด้วย RS485 MODBUS RTU Protocol นั้น เป็นลักษณะของการสื่อสารในรูปแบบของ Hardware ที่มีเพียงการต่อสายเพียง 2 เส้น ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำลักษณะของการสื่อสาร (Communication) โดยการรับสัญญาณการสั่งงานผ่านอุปกรณ์แสดงผลตัวเลขหรือตัวอักษรแบบดิจิตอล ผ่าน RS485 Modbus RTU หรือ ASCII Protocol ที่เป็นมาตรฐานในโรงงานอุตสาหกรรม ในหัวข้อ “อุปกรณ์แสดงผลตัวเลขและตัวอักษร โดยสั่งผ่าน RS-485” ว่ามีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อสามารถตอบโจทย์กับการนำไปใช้งานในภาคอุตสาหกรรม        อุปกรณ์แสดงผลตัวเลขหรือตัวอักษร โดยสั่งผ่าน RS-485 Communication รับ-ส่ง ข้อมูลเพื่อแสดงผลด้วย RS-485 MODBUS RTU หรือ ASCII Protocol   TSM-94 : Digital Remote Display Panel TSM-94-B : Digital Remote Big Display Panel      การทำงานของอุปกรณ์แสดงผลตัวเลขและตัวอักษรสั่งผ่าน RS-485 Communication รุ่น TSM-94/TSM-94-B จะทำหน้าที่เป็น Slave Device ใน Bus สื่อสารรอรับข้อมูลจาก Master Device เพื่อแสดงผลและสั่ง ON-OFF Relay Alarm ด้วย Function Force Coil และสามารถตั้งค่า Device ID ของตัวอุปกรณ์, Baud Rate, Parity และ Stop Bits ได้ มีข้อดีดังนี้        ข้อดีของ “อุปกรณ์แสดงผลตัวเลขและตัวอักษร โดยสั่งผ่าน RS-485 Communication”         1. สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์, PLC, HMI, เพื่อรับข้อมูลมาแสดงผลตัวเลขหรือตัวอักษร หรือสั่ง ON-OFF Relay Alarm ได้โดยตรงโดยผ่าน RS-485 Communication         2. สามารถรองรับการสื่อสารได้ทั้งแบบ MODBUS RTU หรือ MODBUS ASCII ที่เป็นมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรม        ตัวอย่างการนำไปใช้งานอุปกรณ์แสดงผลตัวเลขและตัวอักษร โดยสั่งผ่าน RS-485 Communication รูปแสดงการประยุกต์ใช้งานของอุปกรณ์แสดงผลตัวเลขและตัวอักษรสั่งผ่าน RS-485 Communication รุ่น TSM-94 โดยการรับค่าต่าง ๆ จาก PLC        อุปกรณ์แสดงผลตัวเลขและตัวอักษร โดยสั่งผ่าน Communication RS-485 รุ่น TSM-94 (Digital Remote Display Panel) และ รุ่น TSM-94-B (Digital Remote Big Display Panel) ช่วยให้เรารับรู้หรือดูค่าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการได้ โดยการรับค่าต่าง ๆ จาก PLC ที่อยู่หน้างาน เพื่อมาแสดงผลที่ห้อง Control Roomโดยสามารถเดินสายสัญญาณ RS485 ได้ไกลสุด1.2 km.        อุปกรณ์แสดงผลตัวเลขและตัวอักษร โดยสั่งผ่าน RS-485 Communication รุ่น TSM-94/TSM-94-B มีรูปแบบในการเชื่อมต่อใช้งานร่วมกับ Software Prisoft หรือ PLC ได้ ดังนี้           • รูปแบบในการเชื่อมต่ออุปกรณ์แสดงผลตัวเลขหรือตัวอักษร โดยสั่งผ่าน RS-485 Communication ใช้งานร่วมกับ Software Prisoft รูปแสดงการเชื่อมต่ออุปกรณ์แสดงผลตัวเลขและตัวอักษรสั่งผ่าน RS-485 Communication รุ่น TSM-94 และ TSM-94-B ใช้งานร่วมกับ Software Prisoft           • รูปแบบในการเชื่อมต่ออุปกรณ์แสดงผลตัวเลขหรือตัวอักษร โดยสั่งผ่าน RS-485 Communicationใช้งานร่วมกับ PLC (Unitronics) รูปแสดงแบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์แสดงผลตัวเลขและตัวอักษรสั่งผ่าน RS-485 Communication รุ่น TSM-94 และ TSM-94-B ใช้งานร่วมกับ PLC Unitronics        ตัวอย่างติดตั้งใช้งานอุปกรณ์แสดงผลตัวเลขและตัวอักษร โดยสั่งผ่าน RS-485 Communication (Digital Remote Display Panel)      จากรูป เป็นการนำอุปกรณ์แสดงผลตัวเลขและตัวอักษร โดยสั่งผ่าน RS-485 Communication (Digital Remote Display Panel) รุ่น TSM-94 เพื่อรับข้อมูลจาก Scada ที่ดึงมาจาก Power Meter เพื่อ Monitor ค่าต่าง ๆ เช่น Volt 1, Volt 2, Volt 3, PF, Amp, KW เป็นต้น   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การคำนวณเลือกฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) ให้เหมาะสมกับงาน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เป็นฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ที่มีครีบสแตนเลสช่วยในการกระจายความร้อนออกจากตัวฮีตเตอร์ (Finned  Heater) เพื่อให้ความร้อนในงานอากาศที่ต้องใช้ความร้อนกับชิ้นงาน โดยใช้หลักการการนำพาความร้อน เหมาะสำหรับใช้งานในตู้อบหรืองานที่ต้องให้ความร้อนกับอากาศภายในห้อง เช่น งานอบชิ้นงานอุตสาหกรรมรถยนต์, อบพลาสติก, อบไม้, อบแม่พิมพ์, อบสี, อบใยผ้า, ลดความชื้นในระบบทำความเย็น เป็นต้น โดยต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sesnor), เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller), โซลิตสเตทรีเลย์ (Solid State Relay) เพื่อควบคุมในระบบ        ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) จะมีรูปร่าง (Shape) แบบต่าง ๆ โดยมีลักษณะติดตั้งแบบไม่มีเกลียวและลักษณะติดตั้งแบบมีเกลียว ดังนี้   ฮีตเตอร์ครีบแบบตัว U (U-Shape Finned Heater) ฮีตเตอร์ครีบแบบตัว I (I-Shape Finned Heater) ฮีตเตอร์ครีบแบบตัว W (W-Shape Finned Heater)         ในการเลือกใช้งานฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) ควรมีหลักข้อควรระวังและการพิจารณาเพื่อให้เหมาะสมกับงาน ดังนี้          ข้อควรระวังฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater)              • ตรวจสอบขนาด, ขนาดวัตต์ (Watt), จำนวนของฮีตเตอร์ ให้เหมาะสมกับงานที่ใช้              • กรณีติดตั้งฮีตเตอร์ ควรเลือกพัดลมขนาดที่เหมาะกับจำนวนของฮีตเตอร์เพื่อใช้ในการนำพาความร้อนไปใช้งาน              • ตู้อบหรือห้องอบที่ทำอุณหภูมิสูง ควรเลือกชนิดของท่อฮีตเตอร์ให้เหมาะต่อการใช้งาน              • ไม่ควรใช้กับงานลักษณะร่วมกับของเหลว เนื่องจากจะเกิดตะกรันจับที่ครีบของฮีตเตอร์ ทำให้ความร้อนไม่สามารถถ่ายเทได้              • กรณีที่ให้ความร้อนกับอากาศที่ไม่หมุนเวียนควรเลือกวัสดุที่ใช้ทำฮีตเตอร์เป็นอินโคลอย เนื่องจากมีคุณสมบัติถ่ายเทความร้อนได้ดีและทนอุุณภูมิได้สูงกว่าชนิดอื่น      นอกจากข้อควรระวังดังกล่าวมาข้างต้น อีกหนึ่งปัจจัยหลักที่สำคัญในการเลือกฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) คือ การคำนวณอุณหภูมิและขนาดวัตต์ (Watt) ของฮีตเตอร์ ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำสูตรและวิธีการคำนวณเพื่อเลือกใช้งานฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) ในหัวข้อ “การคำนวณเลือกฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) ให้เหมาะสมกับงาน”  ดังนี้        วิธีการคำนวณอุณหภูมิและขนาดของฮีตเตอร์ตู้อบ      ตัวอย่าง  มีตู้ขนาด กว้าง 1.5 เมตร x ลึก1 เมตร x สูง 2 เมตร ต้องการ Heater เพื่ออบแม่พิมพ์ โดยให้ทําอุณหภูมิที่ 200  ํC ภายในเวลา 1 ชั่วโมง      หลังจากที่เราทราบแล้วว่าตุ้อบนี้ต้องการพลังงาน 11.1 kW เพื่อให้ได้อุณหภูมิ 200  ํC  ภายในเวลา 1 ชั่วโมง กันไปแล้วนั้น ซึ่งขั้นตอนต่อไปเราจะมาเลือกฮีตเตอร์ (Heater) โดยในกรณีนี้เราจะยกตัวอย่างฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) รุ่น FH-Series เลือกติดตั้งตามแนวลึกของตู้ เนื่องจากตู้มีความลึก 1 เมตร จะเลือกฮีตเตอร์ (Heater) ที่ความยาว 700 - 800 mm. ติดตั้ง 3 ด้าน คือ ด้านซ้าย, ด้านบนและด้านขวา จำนวนรวม 12-15 ตัว เป็นต้น ตัวอย่างฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) รุ่น FH-Series        การติดตั้งฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) สามารถทำได้ 2 วิธี คือ         1. ติดตั้งแบบให้ความร้อนโดยตรง         2. ติดตั้งแบบส่งผ่านความร้อนจากห้องเผาไปยังห้องอบโดยใช้ลมร้อน        ลักษณะการนำฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) มาประยุกต์ใช้งาน   Finned Heater Element HVAC Electric Duct Heater Installation & Calculation      • งานอบแห้ง, ไล่ความชื้น      • ใช้สำหรับงานที่ต้องให้ความร้อนการอากาศ      • ใช้ในท่อ Duct      • งานเตาอบต่าง ๆ      นอกจากฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เพื่อให้ความร้อนกับงานอากาศแล้ว ทางเรายังมีฮีตเตอร์อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่เครื่องฉีดพลาสติก, ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater) เพื่อให้ความร้อนกับแผ่นแม่พิมพ์, ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) เพื่อต้มน้ำมัน ของเหลว หรือต้มสารเคมี, ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่แม่พิมพ์ ในการอุ่นของเหลว อุ่นกาว, ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) เพื่อให้ความร้อนในการอุ่นของเหลว, ไล่ความชื้น, ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater) ให้ความร้อนโดยการแผ่รังสี งานอบสี, อบขนม, อบอาหาร เป็นต้น ทั้งนี้ทางเรายังมีทีมงานวิศวกรพร้อมให้คำปรึกษาและออกแบบฮีตเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เพื่อตอบสนองการใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีกด้วย   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ป้องกันน้ำรั่วด้วย Leak Detector

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันในโรงงานอุตสาหกรรมหรือที่พักอาศัย, อาคารสำนักงาน ส่วนใหญ่จะมีระบบการจัดการน้ำ (Water Management System) เพื่อใช้ในระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ หากไม่มีระบบจัดการน้ำที่ดีอาจส่งผลทำให้เกิดภาวะน้ำรั่ว, น้ำล้น หรือน้ำเสียส่งกลิ่นเหม็นได้ และผลกระทบที่มีต่อภาคอุตสาหกรรมทั้งต่อตัวผู้ปฏิบัติงานเองและกระบวนการผลิต เช่น สภาพแวดล้อมในการทำงาน, ไลน์การผลิต, ระบบไฟฟ้า, อุปกรณ์ต่าง ๆในเครื่องจักรหรือตู้คอนโทรลระบบ Data Center ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีระบบการจัดการและป้องกันน้ำหรือน้ำมันรั่วไหล ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อระบบได้        ดังนั้น วิธีป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหรือผลกระทบดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น เราจะมาแนะนำทำความรู้จักกับอุปกรณ์ Leak Detector ในหัวข้อ "ป้องกันน้ำรั่วด้วย Leak Detector" ว่าจะช่วยป้องกันและลดปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร?  (ดังรูป) รูปตัวอย่างการติดตั้ง Leak Detector และหัวอิเล็กโทรดพร้อมก้านอิเล็กโทรด จำนวน 2 ก้าน (Electrode Holder with 2 Electrode)        Leak Detector หรือ อุปกรณ์ตรวจจับน้ำล้น, น้ำรั่วหรือน้ำมันรั่ว ในระบบจัดเก็บน้ำหรือน้ำมันตามที่พักอาศัย, อาคาร, คอนโด, โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ในการช่วยแจ้งเตือนเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดน้ำรั่วได้อย่างมีประสิทธิภาพ        หลักการทำงาน โดย Leak Detector จะมีหัวอิเล็กโทรด (รุ่น EH-01-3P-L) พร้อมก้านอิเล็กโทรด จำนวน 2 ก้าน (Electrode Holder with 2 Electrode) ติดตั้งไว้ในตำแหน่งต่ำสุดของระบบ ที่เรียกว่า "ตำแหน่งช่องพักน้ำ" หรือ "ท่อน้ำทิ้งที่ต่ำสุด" โดยเมื่อมีน้ำรั่วในระบบจากถังเก็บน้ำ จะทำให้น้ำไหลเข้ามารวมกันที่ช่องพักน้ำ ทำให้ก้านอิเล็กโทรด (Electrode) 2 ก้านช็อตถึงกัน โดยจะใช้อุปกรณ์ควบคุมการตรวจจับระดับน้ำหรือของเหลว Level Control (รุ่น PM-021N-1) มาควบคุม ทำให้ Relay Output ของตัว Level Control ทำงาน และสามารถนำเอาหน้าสัมผัส (Contact) ของตัว Level Control นำออกไปต่อใช้งานในการควบคุมไฟหมุนสัญญาณแจ้งเตือน (Rotation Warnig Light) เพื่อแจ้งเตือนผู้ปฏิบัติงานได้   ตัวอย่างการทำงาน Discharging Electrode Holder with 2 Electrode Level Control      ประโยชน์ของการติดตั้ง Leak Detector หรืออุปกรณ์ตรวจจับน้ำรั่ว, น้ำมันรั่ว ในระบบจัดเก็บน้ำ ดังนี้           ทราบปัญหาน้ำรั่วได้ทันที ยิ่งทราบเร็วก่อนยิ่งแก้ปัญหาได้ไวกว่า ด้วยการทำงานของ Leak Detector ที่มี Alarm แจ้งเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานทราบปัญหาได้ทันที หรือจะใช้เพื่อเป็นการตัดระบบจ่ายน้ำให้กับอาคารก็สามารถไปประยุกต์ได้เช่นกัน และสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที ช่วยลดความเสียหายหรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ต่าง ๆได้ทันเวลา      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์ตรวจจับน้ำรั่วหรือน้ำมันรั่ว Leak Detector           1. ตรวจจับน้ำรั่วไหล ระบบ Data Center           2. ตรวจจับการรั่วไหลของน้ำมัน ระบบ Generator      ดังนั้น ทำให้ Leak Detector หรือ อุปกรณ์ตรวจจับน้ำรั่ว, น้ำมันรั่ว เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมในการติดตั้งทั้งในโรงงานอุตสาหกรรมและบ้านพักอาศัย รวมถึงอาคารคอนโด, อพาร์ทเมนต์ เป็นต้น   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การต่อสัญญาณ RS485 แบบไร้สาย (Wireless) ทำอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เนื่องจากในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานอุปกรณ์เครื่องมือวัดและควบคุมต่าง ๆ ทางไฟฟ้า เช่น ที่มีการรับ-ส่ง และเชื่อมต่อสัญญาณในรูปแบบของสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) 4-20mA, 0-10Vdc ที่มาจากอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ เช่น Pressure Transmitter, Humidity Transmitter, Level Transmitter เป็นต้น และสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) ที่มาจากของอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ เช่น Photoelectric Sensor, Proximity Switch, Encoder, Contact, NPN, PNP เป็นต้น ซึ่งสัญญาณดังกล่าวเป็นสัญญาณการเชื่อมต่อในรูปแบบทางไฟฟ้า        ซึ่งนอกจากนี้โรงงานอุตสาหกรรมได้มีการนำเอาสัญญาณในรูปแบบของ RS485 (Modbus RTU) มาใช้กันอย่างแพร่หลาย ในการเชื่อมต่อสื่อสาร โดยใช้สายเพียง 2 เส้น เท่านั้น ซึ่งก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับสัญญาณ RS485 กันก่อนว่าคืออะไร? และทำไมต้องใช้การเชื่อมต่อสัญญาณแบบ RS485            RS485 (ย่อมาจาก Recommended Standard no. 485) คือ มาตรฐานการสื่อสารข้อมูลดิจิตอลแบบอนุกรม (Serial Communication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานในการสื่อสารเพื่อรับ-ส่งข้อมูล ระหว่างอุปกรณ์เครื่องมือวัดกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) โดยสามารถส่งสัญญาณได้ไกล (สูงสุดถึง 1.2 km.)        หลักการทำงานของ RS485  RS485 เป็นมาตรฐานที่รับ-ส่งข้อมูลในแบบที่เรียกว่า Half Duplex คือ สามารถรับและส่งข้อมูลได้ทีละอย่างเท่านั้น ไม่สามารถทำทั้งสองอย่างได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งในการรับ-ส่งข้อมูลดิจิตอลแบบ RS485 นั้น จะส่งข้อมูลโดยใช้สายไฟเพียงแค่ 2 เส้น คือ A กับ B เป็นตัวบอกค่ารหัสดิจิตอล (Digital Code) โดยจะใช้ความแตกต่างของแรงดันไฟฟ้าระหว่างขั้ว A และ B เป็นตัวบอก ดังนี้           • เมื่อ Va - Vb ได้แรงดันไฟฟ้าน้อยกว่า -200 mV คือสัญญาณดิจิตอลเป็น 1           • เมื่อ Va - Vb ได้แรงดันไฟฟ้ามากกว่า +200 mV คือสัญญาณดิจิตอลเป็น 0 รูปแสดงการเชื่อมต่อ RS485 ระหว่างอุปกรณ์เครื่องมือวัด โดยใช้สาย 2 เส้น        โดยหลักการทำงานของ RS485 แบบ Network สามารถเชื่อมต่อการรับ-ส่งข้อมูลแบบเครือข่าย (Network) โดยมีอุปกรณ์ในเครือข่ายได้สูงสุดถึง 32 ตัว (ดังรูป) รูปที่ 1 ตัวอย่างการต่อใช้งาน Power Meter รุ่น KM-07-A-2 (จำนวน 32 ตัว) สำหรับสื่อสารในการรับ-ส่งข้อมูลบนสัญญาณ RS485 แบบสาย 2 เส้น        จากรูปที่ 1 เป็นการต่อสัญญาณ RS485 โดยใช้สายเพียง 2 เส้น ร่วมกับ Power Meter รุ่น KM-07-A-2 (สูงสุดจำนวน 32 ตัว) ผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (RS485 Converter) เพื่อเชื่อมต่อเข้าคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบการเชื่อมต่อสัญญาณ RS485 มาเป็นแบบไร้สาย (Wireless) โดยต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Converter) ทำให้ไม่ต้องยุ่งยากในการเดินสายที่มีระยะทางไกล ๆ ประหยัดเวลา รวมไปถึงงบประมาณค่าใช้จ่ายในการซื้อสายไฟหรือสายสัญญาณต่าง ๆ และยังสามารถส่งข้อมูลพร้อม ๆ กันได้ในหลายจุด โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำกันในหัวข้อ “การต่อสัญญาณ RS485 แบบไร้สาย (Wireless) ทำอย่างไร?” (ดังรูป) รูปที่ 2 ตัวอย่างการต่อใช้งาน Power Meter รุ่น KM-23 สำหรับสื่อสารในการรับ-ส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณ RM-012 WiFi บนสัญญาณ RS-485 แบบไร้สาย (Wireless)        จากรูปที่ 2 การต่อสัญญาณ RS485 แบบไร้สาย (Wireless) ลักษณะการต่อจะคล้ายกันกับการต่อ RS485 แบบ 2 สาย เพียงแต่ไม่มีการเดินสายหรือเป็นการต่อแบบไร้สาย (Wireless) นั่นเอง โดยในการเชื่อมต่อสัญญาณต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณจาก TCP/IP เป็น RS-485/RS-232 ผ่านทาง WiFi หรือ RS-485/RS-232 เป็น TCP/IP ผ่านทาง WiFi สำหรับเป็นตัวกลางเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่รองรับ RS-485/RS-232 เช่น CNC, PLC, Weighting Scale, Scanner เป็นต้น ให้สามารถสื่อสารบนเครือข่าย TCP/IP ผ่านทาง WiFi ได้โดยตรง และยังสามารถสื่อสารผ่าน Protocol MODBUS จาก MODBUS TCP ไปยัง MODBUS RTU ได้อีกด้วย ในการใช้งานผ่าน WiFi สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเดินสายเคเบิลและการตั้งค่าอุปกรณ์สามารถตั้งได้ผ่านหน้า Web Browser ทั่วไป ๆ เช่น Internet Explorer หรือผ่านทางโทรศัพท์ได้เช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องลงโปรแกรมแต่อย่างใด รูปที่ 3 ตัวอย่างการต่อใช้งานอุปกรณ์แสดงผลสำหรับสื่อสารในการรับ-ส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณ RM-012-L บนเครือข่ายแบบไร้สาย LoRaWan (Wireless LoRaWan)        จากรูปที่ 3 เป็นการต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Power Meter, Modbus TCP/IP I/O Module, Digital Indicator ร่วมกับอุปกรณ์แปลงสัญญาณจาก RS485 เป็น LoRaWAN แบบไร้สาย (Wireless) รุ่น RM-012-L สำหรับสื่อสารในการรับ-ส่งข้อมูลแบบไร้สายทุก ๆ 36 วินาที ไปยัง LoRaWAN Gateway ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์แสดงผลผ่าน Dashboard หรือส่งข้อมูลแบบไร้สายไปยัง Node Devices หรือ Slave Devices อื่นในระบบ LoRaWAN เหมาะกับงานที่ต้องการเก็บข้อมูลทุก ๆ ช่วงเวลา เป็น Smart Industries และ Smart Building สะดวกต่อการใช้งาน Online ระบบตลอดเวลา ลดแรงงานและให้ความถูกต้องในการจดบันทึก ประหยัดค่าใช้จ่าย        อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้การเชื่อมต่อของสัญญาณมีความเสถียรภาพหรือไม่นั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ           • ลักษณะพื้นที่การติดตั้ง           • พื้นที่ของการกระจายสัญญาณหรือสัญญาณรบกวน           • ส่วนประกอบของอุปกรณ์ IT ที่ใช้ ( Specification), ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล           • สภาพอากาศแวดล้อม, ระยะทางระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อ เป็นต้น   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การเลือกใช้ RTD และ Thermistor (NTC, PTC) ให้เหมาะสมอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิในกระบวนการผลิตภายในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิก็มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน คือ เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple), Resistance Temperture Detecor (RTD) หรือ Pt100, Pt500, Pt1000 และ Thermistor ชนิด NTC, PTC เป็นต้น สามารถวัดได้ทั้งของแข็ง ของเหลว หรืออากาศ เป็นต้น แต่โดยส่วนใหญ่จะใช้ฮีตเตอร์ (Heater) ในการทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงค่าหนึ่ง โดยต้องรักษาอุณหภูมิให้คงที่ด้วยโซลิดสเตตรีเลย์ (Solid State Relay : SSR) และทำการควบคุมอุณหภูมิด้วยเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) หรือ PLC จึงได้มีการใช้เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple), อาร์ทีดี (RTD) PT100 หรือ Thermistor ชนิด NTC, PTC ในการวัดอุณหภูมิตามแต่ลักษณะงานนั้น ๆ เช่น กระบวนการอุตสาหกรรมผลิตอาหาร, อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม, อุตสาหกรรมโลหะ, ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมทั่วไป เป็นต้น โดยแบ่งออกได้ 3 รูปแบบ คือ         1. Thermocouple         2. Resistance Temperature Detector (RTD) Pt100, Pt500, Pt1000         3. Thermistor (NTC,PTC)        1. Thermocouple เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) โดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า ทำมาจากโลหะตัวนำที่ต่างชนิดกัน 2 ตัว มาเชื่อมต่อปลายทั้งสองเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดความต่างศักย์ (มีหน่วยเป็น mV) โดยที่ปลายด้านที่เชื่อมติดกัน เรียกว่า "จุดวัดอุณหภูมิ" ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งปล่อยเปิดไว้ เรียกว่า "จุดอ้างอิง" นิยมใช้ในการวัดช่วงอุณหภูมิปานกลางถึงช่วงอุณหภูมิที่สูง ขึ้นอยู่กับชนิดของเทอร์โมคัปเปิล(ดังรูป) รูปแสดงสัญลักษณ์โลหะตัวนำที่ต่างชนิดกัน 2 ชนิด ของเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ Thermocouple        2. Resistance Temperature Detector (RTD) เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ที่ให้ค่าการวัดที่ละเอียดและมีความแม่นยำสูงกว่าเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) นิยมใช้ในการวัดช่วงอุณหภูมิต่ำถึงปานกลาง โดยที่อุณหภูมิ 0 ํC ค่าความต้านทานของ RTD จะมีค่าเป็น 100, 500 และ 1000 โอห์ม ตามลำดับ มักนิยมเลือกใช้งาน Pt100 ในงานที่ต้องการความละเอียด ส่วน Pt500 และ Pt1000 จะเลือกใช้ในงานที่ต้องการความละเอียดที่มากขึ้น (ดังรูป) รูปแสดงสัญลักษณ์และรูปแบบของเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ Rtd (Pt100) แบบ 3 สาย        3. Thermistor เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิชนิดความต้านทาน (Resistance) โดยค่าความต้านทานจะเปลี่ยนแปลงเมื่อได้รับความร้อน โดยทั่วไปจะมีย่านการใช้งาน -30  ํC ถึง 130  ํC และมีค่าความต้านทาน เช่น 1K, 2K, 10K เป็นต้น นิยมใช้กับงานตู้แช่แข็ง ตู้เย็น ตู้น้ำแข็ง เป็นต้น แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ (ดังรูป)         3.1 Positive Temperature Comitial (PTC) คือ เมื่อได้รับความร้อนจะทำให้มีค่าความต้านทานสูงขึ้น         3.2 Negative Temperature Comitial (NTC) คือ เมื่อได้รับความจะทำให้มีค่าความต้านทานจะต่ำลง รูปแสดงสัญลักษณ์และรูปแบบของเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ Thermistor ชนิด NTC, PTC        จากที่ได้ทราบถึงคุณสมบัติของ Thermocouple, RTD, Thermistor (NTC, PTC), เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ทั้ง 3 ชนิด กันไปแล้วนั้น โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิแบบ Rtd และ Thermistor (NTC, PTC) เนื่องจากเป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ชนิดที่มีสัญญาณทางด้านเอาท์พุตเป็นค่าความต้านทาน (Resistance) และสามารถวัดค่าของอุณหภูมิที่ติดลบได้ ในหัวข้อ การเลือกใช้ RTD และ Thermistor (NTC, PTC) ให้เหมาะสมอย่างไร? ซึ่งอธิบายข้อแตกต่างของการเลือกใช้เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิชนิด Rtd หรือ Thermistor (NTC, PTC) ให้เหมาะสม ดังตาราง   RTD (Pt100, Pt500, Pt1000) Thermistor (NTC, PTC)  1. วัดค่าอุณหภูมิได้ละเอียดและแม่นยำสูง  2. วัดค่าอุณหภูมิได้ตั้งแต่ -200  ํC ถึง 600  ํC  3. นิยมใช้กับงานอาหาร, ยา, เครื่องมือทางการแพทย์  4. ราคาสูง แต่สามารถเลือกใช้งานได้หลากหลายงาน  5. มีอุปกรณ์รองรับในการใช้งานหลากหลาย เช่น Temperature Controller, PLC เป็นต้น  1. วัดอุณหภูมิย่านต่ำ ๆ ที่ไม่ต้องการความละเอียดมาก  2. วัดค่าอุณหภูมิได้ตั้งแต่ -30  ํC ถึง 130  ํC  3. นิยมใช้กับงานเครื่องแช่/ตู้เย็น (NTC)  4. นิยมใช้กับงานควบคุมการทำงานของพัดลมในการระบายความร้อนในตู้คอนโทรล (PTC)          สรุปเพิ่มเติมจากข้อมูลในตาราง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ ชนิด Rtd และ Thermistor (NTC, PTC) นำมาใช้งานให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ดังนี้         • Rtd (Pt100) เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดและแม่นยำสูงในการวัดอุณหภูมิของงาน เช่น อุตสาหกรรมอาหารและยา เป็นต้น         • Thermistor (NTC, PTC) โดยส่วนมากจะมีค่าความต้านทานที่ 1K, 2K หรือ 10K เป็นต้น สามารถใช้ร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิ รุ่น DEF-01 และ DEF-03N สำหรับตู้แช่, เครื่องทำความเย็น หรือระบบควบคุมความเย็นได้        การประยุกต์ใช้งานเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) RTD   เครื่องจักรอาหาร/Frozen ให้ความร้อนกับของเหลว ในกระบวนการผลิตอาหาร/ยา เครื่องมือแพทย์/ผลิตเครื่องสำอาง        การประยุกต์ใช้งานเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) Thermistor   ตู้เย็น/ตู้แช่ ควบคุมการทำงานของพัดลมในตู้คอนโทรล เครื่องผลิตน้ำแข็ง   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การแสดงประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรด้วยบอร์ดแสดงผล (OEE)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      หากพูดถึงการวัดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร เพื่อให้เกิดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรแล้ว การนำเอาระบบ TPM (Total Productive Maintenance) หรือที่เรียกว่า การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม เป็นการวัดประสิทธิผลของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness : OEE) ซึ่งเป็นที่ยอมรับ และได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ที่นำระบบ TPM มาใช้ เนื่องจาก OEE เป็นการแสดงความพร้อมของเครื่องจักรในการใช้งานว่ามีสถานะเวลาการใช้งานเป็นอย่างไร การเดินเครื่องจักรเต็มความสามารถหรือไม่  มีการผลิตชิ้นงานเสียเป็นจำนวนมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น โดยมีปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการวัดประสิทธิผลของเครื่องจักร (OEE) เช่น อัตราการเดินเครื่อง (Availability Rate : A), ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง (Performance Efficiency : P), อัตราคุณภาพ (Quality Rate : Q) เป็นต้น ซึ่งในวันนี้เราจะมาแนะนำการนำข้อมูลต่าง ๆ มาแสดงผลเพื่อการตรวจเช็ค, Monitor และควบคุมในระบบ ในหัวข้อ "การแสดงประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรด้วยบอร์ดแสดงผล (OEE)"  ดังนี้        OEE ย่อมาจาก Overall Equipment Effectiveness หรือการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE-Overall Equipment Effectiveness) เป็นกระบวนการที่ทำให้รู้ประสิทธิผลการทำงานของเครื่องจักร, ประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเครื่องจักร, ความสามารถของผู้ปฎิบัติงาน รวมถึงการบริหารจัดการได้อย่างดี โดย OEE-Overall Equipment Effectiveness ออกแบบมาเพื่อช่วยในการติดตามตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น มี Report พร้อมทั้งเก็บข้อมูลเรียกดูย้อนหลังได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและยังสามารถรู้ถึงสาเหตุของความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการ คือ สามารถแยกประเภทการสูญเสียและรายละเอียดของสาเหตุนั้น ทำให้สามารถที่จะปรับปรุง ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบ การแสดงผลเครื่องจักรแบบ Real Time ของ Traget Board ด้วยระบบ OEE      ดังนั้น จึงต้องมีการรวบรวมข้อมูลเครื่องจักรแบบ Real Time เพื่อให้สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งหาแนวทางป้องกันพร้อมทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งในการรับรู้ข้อมูลหรือปัญหาของเครื่องจักรด้วยระบบ OEE แบบ Real Time จึงเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อเกิดปัญหาทำให้สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในระบบได้        การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE-Overall Equipment Effectiveness) ประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง?      เครื่องจักรที่ดีไม่ใช่เป็นเพียงแค่เครื่องจักรที่ไม่เสีย เปิดสวิตช์เมื่อใดทำงานได้เมื่อนั้น หากแต่ต้องเป็นเครื่องจักรที่เปิดขึ้นมาแล้วทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คือ เดินเครื่องได้เต็มกำลังความสามารถ แต่ถ้าเครื่องจักรใช้งานได้ตลอดเวลาและเดินเครื่องได้เต็มกำลัง แต่ชิ้นงานที่ผลิตออกมาไม่มีคุณภาพก็คงไม่มีประโยชน์อะไร ดังนั้นเรื่องคุณภาพของงานที่ออกมาจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะใช้ในการพิจารณาเครื่องจักรและที่สำคัญเครื่องจักรที่ดีต้องใช้งานได้อย่างปลอดภัย        ตัวอย่างการติดตั้งและแสดงประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรด้วยบอร์ดแสดงผล (OEE) ในโรงงานอุตสาหกรรม การแสดงประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรด้วยบอร์ดแสดงผล (OEE) Digital Counter  Digital Counter  Hour Counter Converter Signal Tower Light โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
มิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้าและอัตราการใช้น้ำในตัวเดียวกัน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ในอดีตเราจะคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาจดบันทึกค่าหน่วยไฟฟ้าตามหอพัก, อพาร์ทเม้นท์, แมนชั่น หรือที่พักอาศัยต่าง ๆ ของผู้ใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือน ซึ่งในบางครั้งอาจจะมีการจดบันทึกข้อมูลตัวเลขผิดหรือเกิดจากอายุการใช้งานของตัวมิเตอร์เองก็เป็นได้ ทำให้ผู้ที่พักอาศัยมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและเกิดความสับสนขัดแย้งกับพฤติกรรมการใช้จริง        แต่ในปัจจุบันเจ้าของกิจการหอพัก, อพาร์ทเม้นท์, แมนชั่น หรือที่พักอาศัยต่าง ๆ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำมิเตอร์ไฟฟ้า (Electric Meter) เข้ามาติดตั้ง พร้อมระบบการบริหารจัดการค่าพลังงานไฟฟ้า (Management Of Energy Bills) เช่น การจดและบันทึกหน่วยมิเตอร์แบบอัตโนมัติ, การออกบิลค่าไฟฟ้าและออกบิลค่าน้ำเพื่อมาทดแทนการใช้เจ้าหน้าที่จดบันทึกในทุก ๆ เดือนแบบเดิม ๆ โดยในการจดบันทึกแบบเดิมเจ้าหน้าที่จะทำการจดบันทึกหน่วยทุก ๆ ช่วงสิ้นเดือน เพื่อเอาค่าหน่วยล่าสุดที่แสดงบนมิเตอร์ลบออกด้วยค่าหน่วยของเดือนก่อน และนำมาคิดค่าไฟและค่าการใช้น้ำโดยจะออกบิลให้กับผู้เช่า ในส่วนข้อมูลการจดบันทึกแบบนี้มีความผิดพลาดสูง เนื่องจากที่พักอาศัยส่วนใหญ่มีจำนวนมาก 50-100 ห้อง หรือมากกว่านั้น ซึ่งเจ้าของกิจการต้องทำการคำนวณและออกบิลค่าห้องด้วยตนเอง ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากและเสียเวลามาก (ดังรูป) การจดบันทึกข้อมูลค่าไฟฟ้าและน้ำประปาแบบเดิม        มิเตอร์วัดค่าพลังงานทางไฟฟ้าแบบดิจิตอลแสดงผลด้วยตัวเลข 7-Segment ที่มองเห็นได้ชัดเจน สามารถวัดค่าต่าง ๆ เช่น V(Line), V(Phase), A(Phase), kW, kVA, kVar, kWh, kVarh, PF, Hz, kW Demand Peak Demand, THD (Harmonic) สำหรับ 1 Phase / 3 Phase เป็นต้น มีจุดทศนิยมเพื่อความละเอียดในการวัดค่า (ดังตาราง)   KM-09-E-M KM-07-A-2 KM-22-1-P7-A-M เหมาะสำหรับวัดค่า kWh ที่ห้องหอพัก เหมาะสำหรับวัดและวิเคราะห์ค่าพลังงานที่ตู้ MDB ระบบ 3 เฟส เหมาะสำหรับวัดค่า kWh, Volt, Amp ที่ห้องหอพัก ขนาดกะทัดรัด KM-22-1-P9-A-M KM-22-1-DI-A-M KM-24-M เหมาะสำหรับวัดค่า kWh, Volt, Amp ที่ห้องหอพัก เหมาะสำหรับวัดค่า kWh, Volt, Amp ที่ห้องหอพัก แบบติดรางในตู้คอนโทรล เหมาะสำหรับวัดค่า kWh, Volt, Amp และปริมาณการใช้น้ำจากมิเตอร์น้ำมาแสดงผลที่ห้องหอพัก      จากข้อมูลดังกล่าว ในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำ “การเลือกมิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้าและอัตราการใช้น้ำสำหรับติดตั้งที่หอพัก” สำหรับมิเตอร์รุ่น KM-24 ที่สามารถวัดค่าพลังงานการใช้ไฟฟ้าและพลังงานการใช้น้ำได้ โดยใช้งานร่วมกับมิเตอร์น้ำ (Water Meter) และส่งสัญญาณผ่านสาย RS-485 เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เพื่อการจัดการระบบพลังงานด้วย Software PRISOFT เพื่ออำนวยความสะดวกกับเจ้าของกิจการที่พักอาศัยและลดปัญหาความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการจดบันทึกแบบเดิม และมีการบันทึกค่าโดย Software PRISOFT เชื่อมต่อกับ Computer ผ่าน RS-485 เพื่อการจัดการระบบการจัดการพลังงานได้      การบริหารจัดการรายงานหน่วยมิเตอร์และใบเสร็จ      ข้อดีของการเลือกมิเตอร์วัดค่าไฟและค่าน้ำสำหรับหอพัก, อพาร์ทเม้นท์, แมนชั่น หรือที่พักอาศัยต่าง ๆ          1. มีความถูกต้องและแม่นยำของข้อมูลและสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ กรณีเกิดข้อร้องเรียนเรื่องค่าไฟแพงขึ้นจากผู้เช่า          2. สามารถออกบิลใบแจ้งหนี้รวดเร็ว ไม่ต้องรอการคำนวณเหมือนในสมัยก่อน          3. ลดการเดินของเจ้าหน้าที่ในการจดมิเตอร์แต่ชั้นของที่พักอาศัย          4. สามารถดูข้อมูลแบบ Realtime ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ และ Mobile ด้วย Software        ตัวอย่างการต่อใช้งานมิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้าและอัตราการใช้น้ำสำหรับติดตั้งที่หอพัก รูปตัวอย่างการใช้งานมิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้าและอัตราการใช้น้ำสำหรับติดตั้งที่หอพัก Software Prisoft Single Phase Three Phase Wireless 1 Phase Energy Meter Multifunction Meter โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Digital Timer Switch ใช้สำหรับ เปิด-ปิด อุปกรณ์ไฟฟ้า แบบรายวัน รายสัปดาห์

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Digital Timer Switch หรือ นาฬิกาตั้งเวลาระบบดิจิตอลแบบรายวันและรายสัปดาห์ (Daily/Weekly Time) เป็นอุปกรณ์ตั้งเวลาควบคุมการทำงานตามช่วงเวลาที่เราต้องการ เช่น ตั้งเวลาการเปิด-ปิด (ON-OFF) อุปกรณ์ไฟฟ้า, ตั้งเวลาในการเปิด-ปิด โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) สำหรับรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น หรือการตั้งเวลาแบบสลับการทำงาน (Recycle Timer) โดยการอ้างอิงกับเวลาปัจจุบัน (Real Time) ซึ่งมีหน่วยในการตั้งค่าเวลาเป็นรูปแบบวินาที (Second), นาที (Minute), ชั่วโมง (Hour), วัน (Day), เดือน (Month), ปี (Year) เป็นต้น โดยสามารถโปรแกรมวันหยุดล่วงหน้าได้ 30 วัน และช่วงวันหยุดพักร้อนได้ 10 ช่วงเวลา (ในกรณีที่ไม่สะดวกในการคอยเฝ้าดู) และช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย Digital Timer Switch นี้ ยังช่วยให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกมากขึ้น โดยสามารถดูโปรแกรมหรือค่าต่าง ๆ จากโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ด้วยอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า Air Card Configration ได้ ซึ่งในวันนี้เราจะมาแนะนำกัน        ก่อนอื่นขอแนะนำตัวอย่างการนำไปใช้งานของ Digital Timer Switch กันก่อน (ดังรูป) รูปตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้งานของ Digital Timer Switch      จากรูปตัวอย่างเป็นการนำอุปกรณ์ตั้งเวลาแบบดิจิตอล (Digital  Timer Switch) มาประยุกต์ใช้ในการตั้งเวลาควบคุมการ เปิด-ปิด ของโซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) สำหรับรดน้ำต้นไม้ และตั้งเวลาแจ้งเตือนในรูปแบบเสียง (Buzzer) ตามเวลาที่ต้องการ นอกจากนี้รูปแบบ Output ของ Timer Switch ยังสามารถสั่ง ON/OFF แบบ Manual ได้ด้วย ในกรณีไฟดับสัญญาณนาฬิกาของ SMW-Series ยังทำการนับเวลาต่อไป ไม่จำเป็นต้องตั้งเวลา หรือ โปรแกรมการทำงานใหม่  มีการแสดงผลด้วย OLED Display สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และสามารถตั้งเวลาในการปิดหน้าจอ OLED เมื่อไม่มีการกด Keypad ทำให้ประหยัดพลังงานอีกด้วย        จากที่ได้แนะนำตัวอย่างการนำไปใช้งานของ Digital Timer Switch กันไปแล้วนั้น ต่อมาเราจะมาแนะนำในส่วนของอุปกรณ์เสริม หรือ Air Card Configration รุ่น SMW-A ในการเชื่อมต่อใช้งานร่วมกับ Timer Switch กรณีที่ต้องการตั้งค่าและดูค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ผ่านทางโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน (ดังรูป) รูปแสดงการเชื่อมต่อ Digital Timer Switch กับ อุปกรณ์เสริม Air Card Configration (SMW-A)        จากรูป การทำงานของ Air Card Configration For SMW ที่เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับ SMW-Series (Digital Timer Switch) ไว้ใช้สำหรับตั้งค่าโปรแกรมทำงานของ SMW-Series (Digital Timer Switch) ผ่านทาง WIFI โดยสามารถตั้งค่าและดูค่าพารามิเตอร์ของ Digital Timer Switch SMW ผ่านทางโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงโปรแกรมใด ๆ และสามารถอัพโหลดโปรแกรมทั้งหมดของ SMW-Series (Digital Timer Switch) เก็บไว้ในตัว SMW-A แล้วนำไปดาวน์โหลดลงอุปกรณ์ SMW-Series (Digital Timer Switch) อีกตัวได้ (Copy Parameter) ช่วยให้สะดวกไม่ต้องไปตั้งค่าโปรแกรมให้ SMW-Series (Digital Timer Switch) ใหม่        ลักษณะการติดตั้งและนำไปประยุกต์ใช้งานลักษณะต่าง ๆ ของ Digital Timer Switch SMW              จะเห็นได้ว่าจุดเด่นของ Digital Timer Switch เมื่อใช้งานเชื่อมต่อร่วมกับอุปกรณ์เสริม Air Card Configration รุ่น SMW-A แล้วสามารถเช็คค่าพารามิเตอร์ผ่านทางโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงโปรแกรมใด ๆ นั่นเอง   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การควบคุมอุณหภูมิแบบ Ramp Time Function คืออะไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีกระบวนการผลิตสินค้า จะต้องมีการควบคุมอุณหภูมิของวัตถุดิบหรือชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอาหารและยา, อุตสาหกรรมพลาสติก บรรจุภัณฑ์ ตลอดจนถึงอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงถลุงเหล็ก เป็นต้น เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งวิธีการควบคุมอุณหภูมิก็มีทั้งแบบง่ายโดยการใช้เทอร์โมสตัท (Thermostat) ในการตัดต่อฮีตเตอร์ (Heater) หรือเครื่องทําความเย็น (Cooling) ซึ่งจะได้ผลการควบคุมที่ค่อนข้างหยาบ แต่ในปัจจุบันการควบคุมอุณหภูมิได้มีการพัฒนาโดยการนำเอา Function ในการควบคุมรูปแบบต่าง ๆ เช่น การควบคุมแบบ Fuzzy, การควบคุมแบบ ON-OFF, การควบคุมแบบ PID, การควบคุมแบบ Self-Tuning, การควบคุมแบบ Auto-Tuning เป็นต้น เพื่อให้ได้ผลการควบคุมอุณหภูมิที่มีความละเอียดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ในการควบคุมอุณหภูมิสำหรับงานบางประเภทที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิให้ได้ภายในเวลาที่ต้องการ เช่น การอบขนม, การอบสีรถยนต์, การอบหรือหลอมชิ้นงานเซรามิค เป็นต้น ซึ่งเป็นงานประเภทที่ไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบ่อย ๆ เนื่องจากจะทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นในวันนี้เราจะมาแนะนำการควบคุมอุณหภูมิในรูปแบบของ PID Control โดยกล่าวถึง Function การควบคุมอุณหภูมิแบบ Ramp Time Function ที่เป็น Function ของเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) ว่ามีความสำคัญอย่างไร? ในหัวข้อ "การควบคุมอุณหภูมิแบบ Ramp Time Function คืออะไร?"        การควบคุมอุณหภูมิแบบ Ramp Time Function หรือการควบคุมอุณหภูมิแบบความชัน (อุณหภูมิค่อย ๆ เพิ่มขึ้น) คือ การกำหนดอัตราการเพิ่มอุณหภูมิต่อเวลา ( ํC/นาที หรือ  ํC/ชั่วโมง) หรือการตั้งค่าเพื่อเลี้ยงอุณหภูมิให้คงที่ไม่ให้เปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ นั่นเอง เช่น การตั้งค่าควบคุมความชัน (Ramp) ให้อุณหภูมิให้อุณภูมิค่อย ๆ เพิ่มขึ้น (Soft Start) ได้เป็น  ํC/นาที จนถึงค่าที่เราต้องการ แล้วจึงควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ไม่ให้เกิด Over Shoot เพื่อป้องกันการเพิ่มหรือลดอุณหภูมิที่เร็วเกินไป ซึ่งอาจเกิดผลเสียต่อชิ้นงานบางประเภทได้        ตัวอย่างกราฟแสดงการควบคุมแบบ Ramp Time (ค่าอุณหภูมิให้เปลี่ยนแปลงเป็น  ํC/นาที)      จากรูปตัวอย่างกราฟ จะเห็นได้ว่าการควบคุมแบบปกติ Temperature Controller จะทำอุณหภูมิให้ไปถึงค่าที่ต้องการให้เร็วที่สุด แต่ถ้าเป็นการควบคุมแบบ Ramp Time จะช่วยรักษาอุณหภูมิให้เป็นไปตามเวลาที่กำหนด        ตัวอย่างการต่อใช้งานของ Temperature Controller แบบ Step โดยใช้  Function Ramp Time รูปแสดงการต่อใช้งาน Temperature Controller แบบ Step ร่วมกับ Solid Stat Relay เพื่อควบคุมการทำงานของฮีตเตอร์ (Heater) ในการอบชิ้นงาน        ข้อดีของการควบคุมอุณหภูมิแบบ Ramp Time Function หรือการควบคุมอุณหภูมิแบบความชัน         1. ช่วยให้ควบคุมอุณหภูมิให้เป็นไปตามความต้องการในเวลาที่กำหนด         2. ป้องกันการ Over Shoot         3. ป้องกันการเพิ่มหรือลดอุณหภูมิที่เร็วเกินไป ซึ่งอาจเกิดผลเสียต่อชิ้นงานบางประเภทได้        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน         โดยการควบคุมอุณหภูมิแบบ Ramp Time Function หรือการควบคุมอุณหภูมิแบบความชันนี้เหมาะสมกับการควบคุมอุณหภูมิประเภทงานอบ, เซรามิก, แก้ว, อาหาร เป็นต้น (ดังรูป) Digital Temperature Controller PID Control Function Digital Temperature Controller  Digital Temperature Controller  Thermocouple Heater โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm) ดีอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ฮีตเตอร์ (Heater) คือ อุปกรณ์ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานหรือของเหลว เช่น น้ำ, น้ำมัน, กาว, สารเคมี เป็นต้น โดยมีการออกแบบตามความเหมาะสม เพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การใช้ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่เครื่องฉีดพลาสติก, ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater) เพื่อให้ความร้อนกับแผ่นแม่พิมพ์, ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) เพื่อต้มน้ำมัน-ของเหลวหรือต้มสารเคมี, ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่แม่พิมพ์ ในการอุ่นของเหลว-อุ่นกาว, ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) เพื่อให้ความร้อนในการอุ่นของเหลว, ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เพื่อให้ความร้อนกับอากาศในการอบแห้ง-ไล่ความชื้น, ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater) ให้ความร้อนโดยการแผ่รังสี งานอบสี, อบขนม, อบอาหาร เป็นต้น        ฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละประเภทดังกล่าวที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น หากมีการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานและมีการบำรุงรักษาที่ถูกวิธีจะทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น โดยเราได้มีการแนะนำไว้ในหัวข้อ 5 วิธีง่าย ๆ สำหรับยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater) แต่บ่อยครั้งที่เรามักจะพบปัญหาอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ที่สั้นผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุนั้น ปัญหานี้อาจเกิดขึ้นได้จากทางผู้ผลิตเองหรือผู้ใช้งานที่ใช้งานไม่เหมาะสมกับหน้างาน เช่น การใช้งานที่เกินกำลังวัตต์ของฮีตเตอร์ (ตามค่ากำหนด W/CM2 แต่ละประเภท) ทำให้ฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ก็เป็นได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสินค้าหรือ Line การผลิต และเสียเวลาในการปฏิบัติงาน ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำอุปกรณ์ตรวจวัดค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์เพื่อแจ้งเตือนความผิดปกติของฮีตเตอร์ ในหัวข้อ "อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm) ดีอย่างไร?"   เครื่องเช็คฮีตเตอร์ขาด (CM-005) (Heater Break Alarm) เครื่องแสดงผลค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (CM-005D) (Digital Monitor For Heater Break Alarm) อุปกรณ์สำหรับเช็คฮีตเตอร์ขาด (CM-005N) (Heater Break Alarm)      อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm) แน่นอนว่า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาดโดยเฉพาะ เพื่อแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงความผิดปกติของฮีตเตอร์ (Heater) ก่อนที่จะทำให้สินค้า หรือ Line การผลิตเกิดความเสียหายเกิดขึ้น โดยมีข้อดี ดังนี้      ข้อดีของการใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm)         1. ลดความเสียหายของสินค้าหรือชิ้นงาน อันเนื่องมาจากฮีตเตอร์ขาด (Heater Break)          2. ง่ายต่อการซ่อมบำรุงรักษา เนื่องจากทราบตำแหน่งฮีตเตอร์ (Heater) ที่เสียหายชัดเจน         3. ป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อฮีตเตอร์ (Heater) ตัวอื่น ๆ ในเครื่องเดียวกัน ทำงานหนักชดเชยแทนตัวที่เสียหาย         4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงาน        ยกตัวอย่างวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N  ต่อร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005D (Digital Monitor For Heater Break Alarm) เพื่อแสดงค่ากระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ดังรูป รูปแสดงตัวอย่างวงจรการต่อใช้งานของอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N โดยต่อคล้องผ่าน CT ร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005D      อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N จะทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว (ที่กระแส 50 A. ได้ถึง 4 ตัว) ในเวลาเดียวกัน โดยต่อสายคล้องผ่าน CT (Current Transformer) เพื่อทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว ถ้าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดไม่มีกระแสไหลผ่าน แสดงว่าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวนั้นขาด หรือในกรณีฮีตเตอร์ (Heater) ทำงาน คือ มีกระแสไหลผ่านตลอดเวลาอันเนื่องจาก Solid State Relay Short Circuit หรือหน้า Contact ของ Magnetic Arc. ติดกัน โดยที่ Output ของ Temperature Controller ไม่สั่งงาน จะทำให้มี Alarm เตือนความผิดปกติ เป็นต้น        ซึ่งในกรณีนี้เราจะยกตัวอย่างอุปกรณ์แสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) รุ่น CM-005D ในการแสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละตัว ได้สูงสุดถึง 8 ตัว (ต่อเข้ากับ CM-005N 2 ตัว) เพื่อ Alarm แจ้งเตือนให้ผู้ปฏิบัติทราบถึงสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากกับเครื่องจักรที่มีการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) หลาย Zone เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะถ้าฮีตเตอร์ (Heater) เส้นใดเส้นหนึ่งขาดโดยที่ผู้ปฎิบัติงานไม่รู้จะทำให้ชิ้นงานเสียหายได้ ดังนั้นในวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นสำหรับการเช็คฮีตเตอร์ขาดนั้น หวังว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับผู้ใช้งานได้ไม่มากก็น้อย และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) นั้น การเลือกใช้อุปกรณ์ต่อร่วมก็สำคัญเช่นกัน เช่น Temperature Controller, Solid State Relay, Temperature Sensor เป็นต้น         ตัวอย่างการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับเช็คฮีตเตอร์ขาด (CM-005N) (Heater Break Alarm) รูปแสดงตัวอย่างการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N โดยยึดกับราง Din Rail        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานฮีตเตอร์ (Heater)   เครื่องฉีดพลาสติก เครื่องอบอาหาร ห้องอบสี Cartridge Heater Tubular Heater Digital Temperature Controller Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Digital Temperature Controller โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ป้องกันโซนอันตรายจากการทำงานของเครื่องจักรด้วย Area Sensor/Safety Light Curtain

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักร (Machine) เป็นปัจจัยหลักในการผลิตสินค้าหรือการขนย้ายอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบภายในกระบวนการ เช่น โรงงานที่มีเครื่องจักรประเภทเครื่องกลึง เครื่องเจาะ เครื่องตัด, โรงงานขึ้นรูปเหล็กเพื่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ, โรงงานแพ็คและบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น เนื่องจากเป็นงานลักษณะที่มีผู้ปฏิบัติงานประจำอยู่ที่เครื่องจักร เพื่อทำหน้าที่ใส่ชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ หรืออยู่บริเวณพื้นที่ใกล้กับเครื่องจักรนั้น ๆ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับอันตรายจากเครื่องจักรได้ ในกรณีที่เครื่องจักรเกิดการขัดข้อง        ดังนั้นในโรงงานอุตสาหกรรมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบความปลอดภัย (Safety System) เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นบริเวณโดยรอบภายในโรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณพื้นที่ที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายจากการทำงานของเครื่องจักรต่อผู้ปฎิบัติงาน จึงได้มีการจัดทำพื้นที่ที่ทำให้เกิดความปลอดภัย หรือ Safety Zone ขึ้น ซึ่งได้มีการนำเซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain) มาใช้งานเพื่อป้องกันอันตรายดังกล่าว โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำในหัวข้อ "ป้องกันโซนอันตรายจากการทำงานของเครื่องจักรด้วย Safety Light Curtain" กัน        เซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain) หรือ Area Sensor เป็นเซ็นเซอร์ที่ใช้สำหรับป้องกันอันตรายจากการทำงานของเครื่องจักร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่ดูแลเครื่องจักรในขณะปฏิบัติงาน (ดังรูป) Safety Light Curtain เซ็นเซอร์แบบม่านแสง Brand Smartscan        ลักษณะของเซ็นเซอร์ม่านแสงนิรภัย (Safety Light Curtain) จะมีรูปแบบของการนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้   รุ่น SMNA/SMNB Series รุ่น 1000+ Series เหมาะสำหรับระบบความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรมทั่วไป เหมาะสำหรับติดตั้งเครื่องจักรที่มีพื้นที่ที่มีความอันตรายสูง      Safety Light Curtain หรือที่เรียกกันว่า "เซ็นเซอร์ม่านแสงนิรภัย" เป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการทำงานของเครื่องจักรที่ขัดข้องหรือเกิดความผิดปกติ ที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน โดยเซ็นเซอร์แบบม่านแสง (Safety Light Curtain) จะใช้หลักการในการยิงรังสีอินฟราเรด เป็นลักษณะการตรวจจับแบบ Thru-Beam (ตัวรับ-ตัวส่ง) ซึ่งจะมีตัวโฟโตเซ็นเซอร์ (Photo Sensor) ขนาดเล็กหลาย ๆ ตัวมาต่อเรียงกัน โดยจะยิงลำแสงจากตัวส่ง (Transistor) ไปยังตัวรับ (Receiver) กันทีละคู่ ลักษณะเหมือนม่านลำแสง (Light Curtain) หรือตรวจจับแบบช่องเฟรม (Light Barrier) มีความเร็วในการตรวจจับสูง ทำให้มีความละเอียดและมีคุณภาพในการตรวจจับของเซ็นเซอร์ เพื่อป้องกันอันตรายและเกิดความปลอดภัยระหว่างการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน จึงทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ        ข้อดีของการใช้ Safety Light Curtain (เซ็นเซอร์ม่านแสงนิรภัย) ติดตั้งกับเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม         • ป้องกันอันตรายจากการทำงานร่วมกับเครื่องจักร         • หลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่มีต่อเครื่องจักรได้         • ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ        ลักษณะการติดตั้งและการทำงานของเซ็นเซอร์ม่านแสงนิรภัย (Safety Light Curtain)   SMNA-Series SMNB-Series  • ประกอบด้วยตัวส่ง (Tx) และเครื่องรับ (Rx)  • ระยะห่างของลำแสง 40 mm.  • มี 2 Output คือ NPN NO+NC (L) / PNP NC, NPN NO (P)  • ย่านการวัด 0.5 m. ถึง 2.5 m. {สำหรับรุ่น NA-X(P), NB-X(P)} และย่านการวัด 1 m. ถึง 7 m. {สำหรับรุ่น NA-X(LP), NB-X(LP)}  • สายสัญญาณ M12 4pin / M12 5pin 2 m.  • ระดับการป้องกัน IP65  • ประกอบด้วยตัวส่ง (Tx) และเครื่องรับ (Rx)  • ระยะห่างของลำแสง 25 mm.  • มี 2 Output คือ NPN NO+NC (L) / PNP NC, NPN NO (P)  • ย่านการวัด 0.5 m. ถึง 2.5 m. {สำหรับรุ่น NA-X(P), NB-X(P)} และย่านการวัด 1 m. ถึง 7 m. {สำหรับรุ่น NA-X(LP), NB-X(LP)}  • สายสัญญาณ M12 4pin / M12 5pin 2 m.  • ระดับการป้องกัน IP65      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานเซ็นเซอร์ม่านแสงนิรภัย (Safety Light Curtain)   ปิดกั้นการ เข้า-ออก ของบรรจุภัณฑ์หีบห่อ เพื่อป้องกันไม่ให้ออกนอกพาเลท   กั้นขอบเขตพื้นที่บริเวณการทำงานของหุ่นยนต์ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับสิ่งกีดขวาง หรือผู้ปฏิบัติงานในบริเวณนั้น ป้องกันการขนถ่ายผลิตภัณฑ์จากเครื่องจักร หรือจากพื้นที่ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน     Digital Counter Digital Counter Photoelectric Sensor Signal Tower Light Rotation Warning Light   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
แจ้งเตือน Alarm ต่าง ๆ ผ่าน Line ด้วย Software Monitoring “PRISOFT”

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันอุปกรณ์ประเภท IOT (Internet Of Things) เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในภาคส่วนของที่อยู่อาศัย, ภาคการขนส่ง, ภาคการสื่อสาร, ภาคเกษตรกรรม ตลอดจนภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยเฉพาะในภาคส่วนอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ที่ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้งานกับอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ ทางไฟฟ้า ให้สามารถเชื่อมโยงเครื่องจักร (Machine), มนุษย์ (Human) และการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพ ทำให้ลดเวลา (Downtime) ในการตรวจสอบเครื่องจักร การปรับตั้งเครื่องจักรในกระบวนการผลิต ลดต้นทุนในการบำรุงรักษาเครื่องจักร และเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และช่วยเพิ่มประสิทธิผล (Productivity) ของสินค้าอีกด้วย        ดังนั้นในภาคส่วนอุตสาหกรรมจึงมีการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องวัดต่าง ๆ ทางไฟฟ้าแบบไร้สาย (Wireless) หรือการเชื่อมต่อผ่าน RS-485, LAN, WIFI เป็นต้น เช่น อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์แบบไร้สาย (Wireless Humidity & Temperature Transmitter), มิเตอร์วัดค่าพลังงานต่าง ๆ ทางไฟฟ้า (Power Meter), อุปกรณ์แปลงสัญญาณจาก TCP/IP เป็น RS-485/RS-232 ผ่านทาง WIFI และ Application อื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อให้สามารถรองรับกับเทคโนโลยีในปัจจุบันของอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0)ได้ และยังมีอีกหนึ่ง Application ที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เป็นบริการของ LINE นั่นก็คือ LINE Notify ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นแชทยอดนิยมในประเทศไทยที่สามารถส่งผ่านข้อความการแจ้งเตือนต่าง ๆ ไปยังบัญชีหรือกลุ่มต่าง ๆ ที่คุณอยู่ในระบบ โดยผ่านทาง API (Applications Program Interface) เพื่อให้ผู้รับสารได้ทราบถึงการแจ้งเตือนที่รวดเร็วขึ้น ซึ่ง LINE Notify สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างไร โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำสำหรับการแจ้งเตือนของ LINE Notify Aplication ร่วมกับ Software ในหัวข้อ การแจ้งเตือน Alarm ต่าง ๆ ผ่าน Line ด้วย Software Monitoring “PRISOFT” (ดังรูป) รูปแสดงการแจ้งเตือน Alarm ต่าง ๆ ผ่าน Line ด้วย Software Monitoring “PRISOFT”        ข้อดีของการ “แจ้งเตือน Alarm ต่าง ๆ ผ่าน Line ด้วย Software Monitoring “PRISOFT”         1. ได้รับการแจ้งเตือนที่รวดเร็วขึ้น         2. การลด Downtime         3. ลดต้นทุน เนื่องจากการแจ้งเตือนผ่าน Line ฟรี         4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน        ตัวอย่าง การประยุกต์ใช้งานการแจ้งเตือน Alarm ต่าง ๆ ผ่าน Line ด้วย Software Monitoring “PRISOFT”      จากรูปตัวอย่างที่ 1 เป็นระบบวัดอุณหภูมิและความชื้นตามจุดต่าง ๆ ของโรงงานโดยใช้อุปกรณ์ Wireless Humidity & Temperature (HM-007) ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณให้ยุ่งยาก และ Monitoring & Data Logger ผ่าน Software PRISOFT และยังมีฟังก์ชั่น Alarm โดยสามารถแจ้งเตือนที่คอมพิวเตอร์และแจ้งเตือนไปยัง Line      จากรูปตัวอย่างที่ 2 Software PRISOFT สามารถใช้งานร่วมกับ Power Meter เพื่อวิเคราะห์พลังงานและยังสามารถแจ้งเตือนเมื่อมีค่ากระแสสูงหรือต่ำเกินกว่ากำหนด หรือค่าอื่น ๆ ตามที่กำหนดเงื่อนไขให้ส่งแจ้งเตือน Alarm ไปยัง Line เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ข้อดีของ Power Meter พร้อม Phase Protection ภายในตัว

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ในปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการผลิต ได้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นอย่างมาก จึงได้มีการเล็งเห็นถึงความสำคัญในการบริหารจัดการพลังงานขึ้น (ตามมาตรฐานสากล ISO) สำหรับการนำข้อมูลด้านพลังงานมาใช้ในการวิเคราะห์ (Analysis) และเก็บบันทึกค่าได้ (Record) เพื่อการจัดการการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดและวิเคราะห์ค่าพลังงานต่าง ๆ ทางไฟฟ้าประกอบด้วย พาวเวอร์มิเตอร์ (Power Meter), ซอฟต์แวร์ (Software), อุปกรณ์แปลงสัญญาณ RS-485 (Converter) เป็นต้น โดยสามารถวัดค่าต่าง ๆ ของพลังงานทางไฟ้ฟ้า เช่น V (Line), V (Phase), A (Phase), kW, kVA, kVar, kWh, kVarh, PF, Hz, kW Demand Peak Demand, THD (Harmonic) เป็นต้น        ซึ่งเครื่องวิเคราะห์พลังงานไฟฟ้าหรือมิเตอร์วัดและวิเคราะห์พลังงานไฟฟ้า (Power Energy Analyzer Meter) ที่ใช้กันในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาให้เป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์คุณภาพพลังงานไฟฟ้าได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้เราสามารถปรับปรุง ควบคุม ดูแลคุณภาพพลังงานไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าได้ เพื่อให้ลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับระบบ (System) หรือเครื่องจักร (Machine) รวมไปถึงกระบวนการผลิต (Production Process) อีกทั้งยังประหยัดพลังงานและลดต้นทุนการซ่อมบำรุงได้เป็นอย่างดี        โดยมิเตอร์วิเคราะห์พลังงานไฟฟ้า (Power Energy Analyzer Meter) ที่เรารู้จักกันทั่วไปนั้นจะแบ่งออกเป็นมิเตอร์เข็ม (Analog Meter) และมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) ซึ่งเราได้อธิบายไว้ในหัวข้อ “มิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter) และมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) มีหลักการทำงานอย่างไร?” แล้วนั้น ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับ “ข้อดีของ Power Meter พร้อม Phase Protection ภายในตัว” ว่าเป็นอย่างไร (ดังตาราง)        ตารางเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่าง Power Meter กับ Power Meter with Phase Protection   Power Meter Power Meter with Phase Protection   ตัวอย่างการติดตั้ง Power Meter ตัวอย่างการติดตั้ง Power Meter with Phase Protection 1. วัดได้ทั้งระบบ 1 Phase และ 3 Phase 2. วัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า เช่น V (Line), V (Phase), A (Phase), kW, kVA, kVar, kWh, kVarh, PF, Hz, kW Demand Peak Demand, THD (Harmonic) เป็นต้น 3. ไม่มี Function Phase Protection 4. ไม่มี Function Hour Counter 5. Communication : MODBUS RTU RS485 6. Installation : แบบ Panel และแบบ DINRAIL (รุ่น KM-19)   1. วัดได้ทั้งระบบ 1 Phase และ 3 Phase 2. วัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า เช่น V (Line), V (Phase), A (Phase), kW, kWh, PF, Hz, kW Demand Peak Demand เป็นต้น 3. Function Phase Protection : Under and Over Voltage, Under and Over Current, Phase Sequence, Phase Loss, Asymmetry Protection Relay 4. Function Hour Counter : สำหรับนับชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักรเพื่อทำการซ่อมบำรุงครั้งต่อไป 5. Function Counter : สำหรับวัดค่าพลังงาน (kWh) ต่อชิ้นงานที่ผลิตได้ เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิต 6. Communication : MODBUS RTU RS485 7. Installation : แบบ Panel และแบบ DINRAIL      สรุปข้อดีของ Power Meter พร้อม Phase Protection ในตัว         • ลดต้นทุนในการสั่งซื้ออุปกรณ์ Power Meter และ Phase Protection         • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งภายในตู้คอนโทรล, MDB         • ลดการ Wiring ภายในตู้         • ซ่อมบำรุงง่าย        นอกจากนี้เรายังมี Software ที่เรียกว่า “Prisoft” เป็น Software Web Server Monitoring System สามารถเชื่อมต่อกับมิเตอร์วัดพลังงานทางไฟฟ้า (Power Meter) บน TCP/IP, RS485, RS232 และ Lora Wan โดย “Prisoft” จะทำหน้าที่อ่านค่าตัวแปรที่ผู้ใช้ต้องการผ่านระบบสื่อสารและนำมาเก็บข้อมูลใน Database บนเครื่อง PC และนำข้อมูลไปแสดงผลยังหน้า Webpage ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องจดบันทึกและสามารถดูผ่าน Mobile Smartphone หรือ PC ได้ (ดังรูป)      ตัวอย่าง Application การใช้งาน Power Meter ในงานอุตสาหกรรม   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Isolate คืออะไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Isolate หรือ Isolation ความหมายคือ แยกหรืออิสระ ซึ่งในที่นี้เราจะกล่าวถึง Isolate ที่เป็นความหมายของสัญญาณทางไฟฟ้า โดยทำหน้าที่ในการแยกสัญญาณ Sensor ระหว่างด้าน Input และสัญญาณไฟฟ้าทางด้าน Output ออกจากกัน เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน (Noise) จาก Input ไม่ให้ออกไปทางด้าน Output และป้องกันสัญญาณรบกวน (Noise) อันเนื่องมาจากการเกิด Ground Loop {เกิดจากการเชื่อมต่อกราวด์มากกว่า 1 จุด และเกิดความต้านทานทางคลื่นความถี่ไม่เท่ากันขึ้น (Impedance) แม้ความต้านทานทาง DC (Resistance) จะเท่ากัน แต่เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วเข้าสายกราวด์จะทำให้เกิด Resonance Voltage control Oscillator (VCO) ขึ้นในสายกราวด์} เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงทางด้านเอาต์พุต (Output)        ส่วนมากจะพบคำว่า Isolate กันอยู่บ่อย ๆ กับอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Transmitter) เนื่องจากอุปกรณ์แปลงสัญญาณจะต้องมีการแยกอิสระของสัญญาณ (Signal Isolation) ทางด้าน Input และ Output อย่างชัดเจน และในกรณีที่ Signal Transmitter มี Isolate ทางด้านเอาต์พุต (Output) โดย Output 1 และ Output 2 ที่เพิ่มเข้ามาในการช่วยป้องกันเมื่อเกิดสัญญาณรบกวน (Noise) หรือการเกิดแรงดันไฟฟ้าสูงชั่วขณะ (Transient High Voltage) ที่เอาต์พุตใดเอาต์พุตหนึ่ง จะทำให้อุปกรณ์ไม่เกิดความเสียหายทั้งคู่        สัญลักษณ์และโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ของ Isolate ที่อยู่ภายในอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Transmitter) โดยแต่ละส่วนทำหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้ รูปสัญลักษณ์และโครงสร้างของ Isolate ที่อยู่ภายในอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Transmitter)        Input Amplifier เป็นส่วนที่ขยายสัญญาณจาก Sensor ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าค่าต่ำ ๆ ให้มีระดับสัญญาณแรงขึ้น      Linearizer เนื่องจากคุณสมบัติของ Sensor เซ็นเซอร์แต่ละชนิดมีความไม่เชิงเส้น (Nonlinear) กับค่าวัด เช่น Thermocouple จะ Nonlinear กับค่าอุณหภูมิ ดังนั้นถ้าต้องการให้ค่าวัด Output  ถูกต้อง จึงต้องมีส่วน Linearizer ทำหน้าที่แก้ไข Nonlinear ของ Sensor แต่ละชนิด      Isolate ทำหน้าที่แยกสัญญาณไฟฟ้าระหว่างด้าน Sensor Input และสัญญาณไฟฟ้าด้าน Output เข้า Isolate แบบแยกอิสระจากกัน      Output เป็นส่วนที่แปลงสัญญาณจาก Isolate มาเป็นสัญญาณมาตรฐาน เช่น 4-20mA , 0-10VDC เป็นต้น        ตัวอย่างการแยกสัญญาณ (Isolate) แบบ 1 Output ของอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Signal Transmitter) Isolate แปลงสัญญาณแบบ 1 Output ของ Transmitter จาก Pressure Transmitter Output 0-10V เป็น 4-20mA เข้า Temperature Controller TMP-48        ตัวอย่างการแยกสัญญาณ (Isolate) แบบ 2 Output ของอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Signal Transmitter) Isolate แปลงสัญญาณแบบ 2 Output ของ Transmitter จาก Humidity & Temperature Transmitter Output 0-10VDC เป็น 4-20mA ต่อใช้งานกับ PLC และ CM-004N        สรุป : Isolate หรือ Isolation คือ การแยกสัญญาณระหว่างด้าน Input และสัญญาณไฟฟ้าทางด้าน Output ออกจากกัน แยกอิสระจากกัน ไม่ให้รบกวนกัน และป้องกันสัญญาณรบกวน (Noise) จาก Input ไม่ให้ออกไปทางด้าน Output และป้องกันสัญญาณรบกวน (Noise) อันเนื่องมาจากการเกิด Ground Loop (ดังที่กล่าวมา) ในการแยกอิสระของสัญญาณ (Signal Isolation) นิยมใช้กับอุปกรณ์แปลงสัญญาณ Signal Transmitter เพื่อนำสัญญาณมาตรฐานมาใช้งานต่อร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมในระบบ   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ข้อดีของ Programmable Signal Transmitter มีอะไรบ้าง?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมนิยมใช้สัญญาณเอาต์พุต (Signal Output) ประเภทสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) ที่เป็นสัญญาณมาตรฐานในงานอุตสาหกรรม เช่น 0-20mA, 4-20mA (DC Current) หรือ 0-1VDC, 0-5VDC และ 0-10VDC (DC Voltage) เป็นต้น ซึ่งได้จากการวัดค่าต่าง ๆ ของอุปกรณ์เครื่องมือวัดประเภท อุณหภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity), ความดัน (Pressure), อากาศ (Air), อัตราการไหล (Flow Rate) เป็นต้น โดยนำไปต่อใช้งานร่วมกับเครื่องวัดค่าและแสดงผล (Process Indicator), เครื่องควบคุม (Controller), Digital Indicator, Temperature Controller, Recorder, PLC เป็นต้น เพื่อนำไปแสดงผลและควบคุมเครื่องจักรหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบ        โดยสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานทางไฟฟ้า (Analog Signal) เป็นรูปแบบของกระแส 4-20mA (DC Current) และแรงดัน 0-10VDC (DC Voltage) ส่วนใหญ่สำหรับใช้กับอุปกรณ์เครื่องมือวัดประเภททรานสมิตเตอร์ (Transmitter) เช่น Pressure Transmitter, Humidity & Temperature Transmitter, Level Transmitter เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือวัดประเภททรานสมิตเตอร์ (Transmitter) จะทำการแปลงสัญญาณต่าง ๆ ที่เข้ามาทางด้านอินพุต (Input) ผ่านวงจรทางไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (Standard Electrical Analog Signal) 4-20mA, 0-10VDC ทางด้านเอาต์พุต (Output) โดยทรานสมิตเตอร์ (Transmitter) มี 2 แบบ ดังนี้          1. แบบที่ต้องระบุย่านInput (Fixed Signal Transmitter) ในกรณีที่ผู้ใช้งานไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าของ Input ที่ต้องการแปลงเป็นอนาล็อก 4-20mA, 0-10VDC          2. แบบที่สามารถกำหนดค่าของ Input โดยการโปรแกรม (Programmable Signal Transmitter) ในกรณีที่ผู้ใช้งานต้องการเปลี่ยนแปลงค่าของ Input บ่อย ๆ ได้ตามต้องการหรือภายในระบบมีอุปกรณ์เครื่องมือวัดหลาย ๆ ตัว โดยแต่ละตัวรับสัญญาณ Input ที่แตกต่างกัน แต่เป็น Input ประเภทสัญญาณเหมือนกัน เช่น ต้องการแปลงสัญญาณอุณหภูมิจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ Thermocouple, PT100 ที่มีย่านอุณหภูมิที่แตกต่างกันแต่ละชนิด เป็นต้น ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้ มีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร และ “ข้อดีของแบบ Programmable Signal Transmitter มีอะไรบ้าง?” เราจะมาแนะนำกัน (ดังตาาราง)   Fixed Input Signal Transmitter Programmable Input Signal Transmitter 1. ต้องระบุ Input ตอนสั่งซื้อ และไม่สามารถใช้ Input อื่นต่อร่วมได้ (ต้องสั่งซื้อใหม่เท่านั้น) 2. ไม่มี Port สื่อสาร RS-485 3. ต้องระบุสัญญาณเอาท์พุตแบบ Direct และ Inverse ตอนสั่งซื้อเท่านั้น 4. มีรุ่น Standard Size 1. สามารถ Program เลือกระบุ Input ได้ด้วยตัวเอง หากอนาคตมีการเปลี่ยน Input (ไม่ต้องสั่งซื้อหลายรุ่น) 2. มี Port สื่อสาร RS-485 Modbus RTU เพื่อสื่อสารกับอุปกรณ์อื่น ๆ หรือเก็บข้อมูลค่าต่าง ๆ ได้ 3. สามารถ Program เลือกสัญญาณเอาท์พุตแบบ Direct และ Inverse ได้ด้วยตัวเอง 4. มีแบบรุ่น Slim Size (ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง) และรุ่น Standard Size      ตาราง Input ของรุ่น Programmable Input Signal Transmitter      ตัวอย่างประเภทของอุปกรณ์เครื่องมือวัดที่นำสัญญาณทางด้านเอาต์พุต (Output Signal) มาต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์แปลงสัญญาณ Signal Transmitter รูปแสดงการต่อใช้งานเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำแบบต่อเนื่อง (Level Transmitter) LP-07-I ร่วมกับ Signal Transmitter EM-AN Series (Programmable Input Signal Transmitter) แบบ 2 Channels เพื่อต่อใช้งานร่วมกับเครื่องแสดงผล Bar Graph Indicator TIM-95G และ Target Board        การต่อใช้งาน 4-20mA จะมีรูปแบบการต่อ 2 แบบ คือ การต่อแบบ Sink Current (Loop Current) 4-20mA หรือ Supply แยก และการต่อแบบ Source Current 4-20mA หรือ Supply ร่วม โดยการต่อจากเอาต์พุต (Output) ของอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Transmitter) ดังนี้        แบบที่ 1 การต่อแบบ Supply แยก Sink Current (Loop Curent) 4-20mA รูปแสดงการต่อแบบ Sink Current (Loop Current) 4-20mA ของ Transmitter รุ่น EM-LC Series ร่วมกับเครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Indicator) รุ่น CM-004N        แบบที่ 2 การต่อแบบ Supply ร่วม Source Current 4-20mA รูปแสดงการต่อแบบ Source Current 4-20mA ของ Transmitter รุ่น EM-N Series ร่วมกับเครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Indicator) รุ่น CM-004N   Thermocouple Digital Indicator Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Bar Graph Indicator With Alarm Unit Switching Power Supply 2.5A โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Phase Angle Solid State Relay แตกต่างจาก Solid State Relay (SSR) อย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      จากบทความที่ได้นำเสนอเกี่ยวกับ Solid State Relay โซลิดสเตจรีเลย์ (SSR) กันไปแล้ว ในหัวข้อ Solid State Relay มีแบบใดบ้าง? ทำให้ผู้อ่านได้ทราบถึงประโยชน์และการเลือกนำไปใช้งานของ Solid State Relay ได้อย่างเหมาะสมของแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นโซลิดสเตจรีเลย์แบบ 1 เฟส (Single Phase Solid State Relay), โซลิดสเตจรีเลย์แบบ 2 เฟส (Two Phase Solid State Relay), โซลิดสเตจรีเลย์ แบบ 3 เฟส (Three Phase Solid State Relay), โซลิดสเตจรีเลย์ แบบ DC (DC Solid State Relay), โซลิดสเตทรีเลย์ขนาดเล็กสำหรับใส่ลงบนวงจร PCB (Solid State Relay for PCB), โซลิดสเตจรีเลย์แบบ Socket ติดตั้งบนราง DIN Rail (Solid State Relay for DIN Rail), โซลิดสเตจรีเลย์ปรับค่าได้ (Phase Angle Solid State Relay) เป็นต้น โดยสัญญาณทางด้านอินพุต (Input) ที่ใช้ในการควบคุมมีทั้งแรงดันไฟกระแสตรง (DC) และแรงดันไฟกระแสสลับ (AC) เพื่อใช้งานกับ Load ประเภท Resistive เช่น ฮีตเตอร์, หลอดไฟ หรือ Inductive เช่น มอเตอร์ เป็นต้น      Solid State Relay โซลิดสเตจรีเลย์ (SSR) ที่นำมาใช้งานในการควบคุม Load ดังกล่าว ต้องนำมาต่อร่วมกับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) และเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) เพื่อควบคุมอุณหภูมิความร้อนของฮีตเตอร์ (Heater) หรือการทำงานของมอเตอร์ เป็นต้น ซึ่งในการควบคุมที่ใช้งานโดยทั่วไป มี 2 แบบ คือ         1. ลักษณะการควบคุมแบบ ON-OFF         2. ลักษณะการควบคุมแบบปรับค่าได้ (เร่ง-หรี่) โดยในหัวข้อนี้เราจะมาดูถึงความแตกต่างระหว่างโซลิดสเตจรีเลย์ปรับค่าได้ (Phase Angle Solid State Relay) กับ โซลิดสเตจรีเลย์ (Solid State Relay) ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร? ดังนี้      เริ่มจากการวงจรต่อใช้งานและสัญญาณเอาต์พุตของ Phase Angle Solid State Relay (ดังรูป)      Phase Angle Solid State Relay โซลิดสเตจรีเลย์ปรับค่าได้ (เร่ง-หรี่) เป็นโซลิดสเตจรีเลย์ที่ทำงานโดยการควบคุมมุมเฟสของสัญญาณ Sine Wave ทำให้กำลังไฟของโหลดมีการเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณอินพุตที่เข้ามา เหมาะกับงานที่ต้องการความละเอียดในการควบคุม เช่น ความสว่างของหลอดไฟ, ความร้อนของฮีตเตอร์หรือควบคุมความเร็วของมอเตอร์ เป็นต้น โดยสามารถต่อร่วมกับ POT ที่เป็นโวลลุ่ม (R-Volume) เพื่อใช้ในการปรับค่าได้ (ในกรณีที่อินพุตเป็นแบบ Resistance) โดย Phase Angle Solid State Relay หรือโซลิดสเตจรีเลย์ปรับค่าได้นั้น มีทั้งแบบ 1 Phase และ 3 Phase ให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม      ต่อมาเป็นวงจรการต่อใช้งานและสัญญาณเอาต์พุตของ Solid State Relay (ดังรูป)      Solid State Relay (SSR) โซลิดสเตจรีเลย์ เป็นรีเลย์ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ ไม่ใช้หน้าสัมผัส (Contact) ในการตัด-ต่อ โดยใช้เทคโนโลยีของเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ที่ไม่มีส่วนเคลื่อนที่ จึงไม่มีเสียงรบกวนในขณะเวลาตัด-ต่อของหน้าสัมผัส (Contact) และไม่เกิดการ Arc ทำให้มีประสิทธิภาพและอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยสามารถใช้ทดแทน Magnetic Contactor ได้ เหมาะกับงานที่มีการ ON/OFF บ่อย ๆ มีให้เลือกทั้งแบบที่ใช้กับ Resistive Load เช่น Heater, หลอดไฟ และ Inductive Load เช่น Motor เป็นต้น Solid State Relay (SSR) มีทั้งแบบ 1 Phase และ 3 Phase ให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม      และเพื่อทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง Phase Angle Solid State Relay (โซลิดสเตจรีเลย์ปรับค่าได้) กับ Solid State Relay ได้ง่ายยิ่งขึ้น และสามารถเลือกนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม จึงอธิบายข้อมูลได้ดังตารางนี้      ข้อแตกต่างของ Phase Angle Solid State Relay (โซลิดสเตจรีเลย์ปรับค่าได้) กับ Solid State Relay Phase Angle Solid State Relay Solid State Relay 1. อินพุตเป็นแบบสัญญาณอนาล็อก 4-20mA หรือ Resistance (Ohm) สามารถปรับ เร่ง-หรี่ (Linear) ทำให้การควบคุม Load  มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น 2. เหมาะกับงานควบคุมความสว่างของหลอดไฟ, ปรับอุณหภูมิความร้อนของฮีตเตอร์หรือควบคุมความเร็วของมอเตอร์ เป็นต้น 1. การควบคุมเป็นแบบ ON-OFF (Control Voltage : 4-30VDC และ 90-240VAC) 2. เหมาะกับงานที่มีการ ตัด-ต่อ (ON-OFF) บ่อย ๆ เช่น ควบคุมการจ่ายไฟให้ฮีตเตอร์, การทำงานของมอเตอร์ เป็นต้น โดยสามารถใช้ทดแทน Magnetic Contactor ได้      ข้อแนะนำการใช้งาน         • ควรใช้ Heat Sink ระบายความร้อนติดตั้งกับ SSR ด้วยทุกครั้ง และไม่ควรใช้เกิน 40% เช่น ถ้าระบุไว้ 40A ไม่ควรใช้เกิน 16A (40%)         • ควรใช้ซิลิโคนคอมพราวด์ทาระหว่าง Heat Sink กับตัว SSR เพื่อระบายความร้อนก่อนยึด SSR กับ Heat Sink         • ควรติดตั้งในที่ที่มีอากาศถ่ายเทความร้อนได้ดีหรือใช้พัดลมช่วยระบายความร้อน         • ถ้าไม่มี Heat Sink ไม่ควรใช้เกิน 10% ของค่ากระแสสูงสูด         • ควรใช้ฟิวส์ที่ทนกระแสได้ไม่เกิน 50% ของค่าสูงสุด ต่ออนุกรมไว้กับ SSR เช่นถ้า SSR 40A ควรใช้ฟิวส์ 20A ชนิด FAST BLOW FUSES (ฟิวส์หลอมละลายเร็ว)      จากที่เราได้ทราบความแตกต่างระหว่าง Phase Angle Solid State Relay หรือโซลิดสเตจรีเลย์ปรับค่าได้ กับ Solid State Relay หรือ SSR กันไปแล้วนั้น ในการเลือกใช้งานอย่างเหมาะสมและเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ Solid State Relay ให้ดียิ่งขึ้น ควรติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์ระบายความร้อน (Heat Sink) เพิ่มด้วย โดยสามารถนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) สำหรับควบคุมการทำงานของฮีตเตอร์ (Heater) ในงานต่าง ๆ เช่น เครื่องฉีดพลาสติก, เครื่องเพ็คกิ้ง, งานอบอาหาร, งานอบสีรถยนต์หรือในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น      ตัวอย่าง Application ในงานต่าง ๆ งานอุตสาหกรรมอาหารและยา งานบรรจุภัณฑ์ งานอบ Amplifler  Digital Temperature Controller PID Control Function Thermocouple/RTD Infrared Heater Heater Break Alarm โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การวัดและแสดงผลค่าอุณหภูมิ 4 Channel (4 Channel Digital Indicator) ภายในตัวเดียวกัน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      หากต้องการคำจำกัดความสั้น ๆ เกี่ยวกับเครื่องวัดและแสดงผลค่าอุณหภูมิ (Temperature Indicator) คือ อุปกรณ์สำหรับการวัดค่าความร้อน (Heat) หรือความเย็น (Cool) โดยผ่านตัวเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ทั้งการวัดอุณหภูมิแบบสัมผัสกับวัตถุโดยตรงและวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสกับวัตถุโดยตรง เช่น เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple), RTD (PT100), NTC, PTC หรือเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometers) (โดยใช้หลักการยิงแสงอินฟราเรด) เป็นต้น เพื่อเป็นตัวเซ็นเซอร์รับรู้ค่าอุณหภูมิและมาโชว์ค่าที่เครื่องแสดงผล โดยหน่วยการวัดอุณหภูมิที่นิยมใช้สำหรับเครื่องวัดอุณหภูมิแบบมาตรฐานทั่วไปมีทั้งหมด 3 หน่วย ดังนี้         • องศาเซลเซียส (Celsius)         • ฟาเรนต์ไฮต์ (Fahrenheit)         • เคลวิน (Kelvin) เป็นต้น โดยแสดงผลอุณหภูมิ (Temperature Indicator) มีหลากหลายประเภท (ดังรูป)        เครื่องแสดงผลอุณหภูมิ Universal Input Digital Temperature Indicator With Alarm ดังนี้   Digital Temperature Indicator CM-006N (Brand Pm) Digital Temperature Indicator TIM-94N (Brand Pm) Digital Temperature Indicator 40T (Brand GEFRAN)      อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและเครื่องแสดงผลค่าอุณหภูมิ (Temperature Sensor & Temperature Indicator) มีหลากหลายประเภท ได้แก่ เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer), อินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ (Infrared Thermometer), เทอร์มิสเตอร์ (NTC/PTC), เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) เป็นต้น ซึ่งในการวัดอุณหภูมิโดยเซนเซอร์ประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น สามารถวัดอุณหภูมิได้ทั้งแบบ วัดอุณหภูมิและโชว์ค่าที่จุดเดียว (โดยเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ 1 ตัว ต่อ 1 เครื่องแสดงผล) หรือในกรณีที่ต้องการวัดอุณหภูมิพร้อมกันหลาย ๆ จุด (โดยเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ 4 ตัว ต่อ 1 เครื่องแสดงผล) แต่มีพื้นที่หน้างานที่จำกัด จะทำอย่างไร โดยในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำเกี่ยวกับ “การวัดและแสดงผลค่าอุณหภูมิ 4 Channel (4 Channel Digital Indicator) ภายในตัวเดียวกัน” ว่ามีหลักการทำงาน และข้อดีแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม        เครื่องวัดและแสดงผลค่าอุณหภูมิ 4 Channel (4 Channel Digital Indicator) ภายในตัวเดียวกัน         อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและเครื่องแสดงผลค่าอุณหภูมิ 4 Channel (4 Channel Temperature Indicator) เป็นอุปกรณ์วัดและแสดงผลแบบดิจิตอลที่สามารถรับสัญญาณได้สูงถึง 4 Input ภายในตัวเดียวกัน และสามารถรับสัญญาณอินพุตประเภทอนาล็อกมาตรฐาน 4-20mA, 0-10VDC เป็นต้น เพื่อแสดงผล เช่น ค่าอุณหภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity), แรงดัน (Pressure Transmitter), อัตราการไหล (Flow) โดยมี Alarm 4 Relay Output เพื่อแจ้งเตือน หรือต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบ ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง โดยรูปแบบของเครื่องวัดและแสดงผลค่าอุณหภูมิ 1 Channel กับ 4 Channels ดังนี้   เครื่องวัดและแสดงผลค่าอุณหภูมิ 4 Channels เครื่องวัดและแสดงผลค่าอุณหภูมิ 1 Channel • ใช้เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิสูงสุดได้ถึงจำนวน 4 ตัว สามารถตั้งค่าการแสดงผลแบบ Auto ของแต่ละ Channels จนครบ 4 Ch. ได้ (ภายในเวลาที่ต้องการ) และตั้งค่าแบบ Manual เลือกโชว์เฉพาะ Ch.ใด Ch. หนึ่งได้ • ใช้เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิได้เพียง 1 ตัว ในการต่อใช้งานร่วมกับ Indicator ต่อ 1 ตัว เพื่อแสดงผลค่าอุณหภูมิ        ซึ่งเครื่องวัดและแสดงผลค่าอุณหภูมิแบบ 1 Channel (Temperature Digital Indicator) และเครื่องวัดและแสดงผลค่าอุณหภูมิแบบ 4 Channel (4 Channel Digital Indicator) ภายในตัวเดียวกัน มีข้อแตกต่างกันดังนี้        ข้อแตกต่างระหว่างเครื่องวัดและแสดงผลค่าอุณหภูมิ 4 Channel กับ เครื่องวัดและแสดงผลค่าอุณหภูมิ 1 Channel      เครื่องวัดและแสดงผลค่าอุณหภูมิแบบ 1 Channel และ 4 Channel (Temperature Digital Indicator) เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภท ดังนี้         • อุตสาหกรรมพลาสติก         • อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม         • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Digital Indicator  Digital Temperature Indicator I/V Simulator Portable Process Simulator โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Terminal Block แตกต่างจาก Terminal ทั่วไปอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      การเดินสายไฟระหว่างอุปกรณ์นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยคำนึงถึงการต่อสาย จะไปนึกถึงพวกอุปกรณ์เครื่องมือวัด อุปกรณ์คอนโทรล หรือ PLC เป็นหลัก แต่การต่อสายไฟระหว่างอุปกรณ์ก็มีผลต่อหลาย ๆ อย่าง เช่น เดินสายไฟแล้วสายไฟหลวม ทำให้อุปกรณ์เกิดการอาร์คโดยเกิดประกายไฟ การเดินสายไฟที่อุณหภูมิค่อนข้างสูง การเดินสายไฟที่เครื่องจักรมีการสั่นสะเทือน โดยการเลือกใช้เทอร์มินอลควรจะให้เหมาะสมกับการใช้งานของอุปกรณ์ หน้างานหรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หลายท่านคงนึกถึงการต่อสายไฟแบบเก่าที่ใช้เทอร์มินอลทั่วไป เช่น การต่อสายไฟโดยใช้การบัดกรี การต่อสายโดยใช้ขั้วต่อแบบลูกเต๋า การต่อสายแบบใช้เทปพันสาย เป็นต้น ซึ่งปัญหาหลัก ๆ ในการเดินสายไฟที่พบบ่อยก็คงหนีไม่พ้นสายไฟที่พันกัน สายไฟสลับตำแหน่งที่ควรจะเป็นและดูไม่เป็นระเบียบ ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสน        แต่ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีการต่อสายแบบใหม่เข้ามา นั่นคือการใช้ เทอร์มินอลบล็อก (Terminal Block) มาแทน ซึ่งทำให้มีความสะดวกในการใช้งานและโดยเฉพาะในเรื่องความปลอดภัยที่สูงกว่ามากเมื่อเทียบกับการต่อสายไฟแบบเดิม นับว่า เทอร์มินอลบล็อก (Terminal Block) เป็นตัวช่วยสำคัญเลยทีเดียว ในการต่อสายไฟให้เป็นระเบียบ สะดวกและรวดเร็ว ในการซ่อมบำรุงอุปกรณ์กรณีที่ระบบมีปัญหาที่เราจะพูดถึงกันในบทความนี้ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ เทอร์มินอลบล็อก (Terminal Block) กันก่อน        เทอร์มินอลบล็อก (Terminal Block) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างสายไฟด้านหนึ่งเข้ากับสายไฟอีกด้านหนึ่ง หรือใช้เป็นจุดพักสายไฟเพื่อให้ง่ายและรวดเร็วในการซ่อมบำรุงอุปกรณ์หรือเพื่อเก็บสายไฟให้เป็นระเบียบ สามารถตรวจสอบจุดที่มีปัญหาต่าง ๆ ได้ง่าย ซึ่งเราสามารถเห็นการใช้งานของ Terminal Block ได้ เช่น ในตู้คอนโทรลไฟฟ้า ตู้คอนโทรลปั๊มน้ำ ตู้เมนเบรกเกอร์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม เป็นต้น และ Terminal Block กับ Terminal ทั่วไปแตกต่างกันอย่างไรนั้น เราจะขออธิบายให้เข้าใจกันง่าย ๆ ดังนี้        ความแตกต่างระหว่าง Terminal Block กับ Terminal ทั่วไป   Terminal Block Terminal ทั่วไป • สามารถใช้กับแรงดันไฟฟ้าได้ถึง 1000 Vac/Vdc • สามารถทนอุณหภูมิได้สูงถึง 130 ํC • วัสดุฉนวนทำจากพลาสติกประเภทโพลีมาย ทนต่อความร้อนและไม่ติดไฟ • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง • มีให้เลือกใช้งานแบบ Screw Type , Spring Type และ Push-in Type    ซึ่งเหมาะกับงานที่มีการสั่นสะเทือน • สามารถใช้กับแรงดันไฟฟ้าได้ถึง  600 Vac/Vdc • สามารถทนอุณหภูมิได้สูงถึง 55 ํC • วัสดุทำจากพลาสติกทั่วไป กรณีเกิดประกายไฟ ติดไฟได้ง่าย • มีขนาดใหญ่ สิ้นเปลืองพื้นที่ในการติดตั้ง • มีให้เลือกใช้งานแบบ Screw Type     Terminal Block Terminal ทั่วไป      จากที่เราได้ทราบถึงความแตกต่างระหว่าง Terminal Block กับ Terminal ต่อสายไฟแบบทั่วไปกันไปแล้วนั้น ทำให้มองเห็นถึงประโยชน์และง่ายต่อการพิจารณาในการเลือกใช้งาน โดยเทอร์มินอลบล็อก (Terminal Block) แบ่งตามประเภทการใช้งานออกเป็น 2 แบบ ดังนี้      1. เทอร์มินอลบล็อกแบบสกรู หรือ เทอร์มินอลที่เข้าสายแบบสกรู (Screw Type Terminal Block) เทอร์มินอลบล็อกชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้กันมาก จะใช้การขันสกรูลงไปเพื่อบีบอัดรัดสายไฟให้แน่น เหมาะกับสภาพหน้างานที่ไม่มีการสั่นสะเทือน เนื่องจากจะทำให้น็อตที่ขันมีการคลายตัวได้ โดยเหมาะกับสายทุก ๆ ประเภท ตั้งแต่สายขนาดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "สายคอนโทรล" ไปถึงสายเบอร์ใหญ่ ๆ ที่เรียกว่า "สายเพาเวอร์" ตั้งแต่ขนาดสาย 0.5 mm2 ไปจนถึงขนาด 70 mm2 เป็นต้น รูปแสดงลักษณะการเข้าสายของเทอร์มินอลบล็อกแบบขันสกรู (Screw Type Terminal Block)        เทอร์มินอลบล็อกแบบสกรู หรือ เทอร์มินอลที่เข้าสายแบบสกรู (Screw Type Terminal Block) ดังรูป   Terminal Block แบบสกรู (แบบ 1 ชั้น) CBC-Series Terminal Block แบบสกรู (แบบ 2 ชั้น) DBC-Series Terminal Block แบบสกรู (แบบ 3 ชั้น) TLD-Series Terminal Fuse แบบสกรู SFR-Series Earth Terminal (เทอร์มินอลกราวด์ แบบสกรู) TEO-Series      2. เทอร์มินอลบล็อกแบบสปริง หรือ เทอร์มินอลที่เข้าสายแบบสปริง (Spring Type Terminal Block) เทอร์มินอลบล็อกชนิดนี้ การเข้าสายแบบสปริงเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้งานในปัจจุบันเนื่องจากใช้งานง่ายโดยไม่ต้องใช้ไขควงในการทำงาน สามารถเข้าสายได้ง่าย ทำให้รวดเร็วต่อการใช้งาน เหมาะสำหรับงานประเภท Vibration โดยการสั่นของเครื่องจักรถ้าเป็นเทอร์มินอลแบบสกรูมีโอกาสทำให้น็อตที่ขันมีการคลายตัวได้ โดยเทอร์มินอลแบบสปริงแคมป์รองรับกับการเข้าสายได้หลายขนาด ตั้งแต่ สาย 1.5 mm2 ไปจนถึงขนาด16 mm2 เป็นต้น รูปแสดงลักษณะการเข้าสายของเทอร์มินอลบล็อกแบบสปริง (Spring Clamp Push-in Terminal Block)        เทอร์มินอลบล็อกแบบสปริง หรือ เทอร์มินอลที่เข้าสายแบบสปริง (Spring Type Terminal Block) ดังรูป   Terminal Block แบบสปริง (แบบ 1 ชั้น) EFC-Series Terminal Block แบบสปริง (แบบ 2 ชั้น) EFD-Series Terminal Block แบบสปริง (แบบ 3 ชั้น) EFT-Series Spring Clamp Earth Terminal (เทอร์มินอลกราวด์แบบสปริง) EFCE-Series        นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริมของเทอร์มินอลบล็อก (Terminal Block Accessories) อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ฝาปิดด้านข้างของเทอร์มินอล (End Plate), แผ่นกั้นแยกส่วนเทอร์มินอล (Partition), ตัวล็อกหัวท้ายของเทอร์มินอล (Stopper), ตัวเชื่อมต่อระหว่างเทอร์มินอล (Jumper Bar), Marking Tag หรือ Label สำหรับการระบุชื่อของเทอร์มินอลนั้น ๆ ให้ง่ายต่อการ Wiring สายไฟ, การซ่อมบำรุงและอื่น ๆ อีกมากมาย        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Terminal Block     Wiring Duct And Accessories Connector Air Conditioner for Control Boxes Cabinet Filter Fan Relay Module โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Melt Pressure Transducer เซ็นเซอร์วัดความดันสำหรับของเหลว มีหลักการทำงานอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันมีการนำอุปกรณ์วัดความดัน (Pressure) เช่น Pressure Gauge, Pressure Transmitter, Pressure Switch, Pressure Transducer, Pressure Sensor ขึ้นอยู่กับประเภทของการใช้งาน ซึ่ง wf ได้มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เคมี, ยานยนต์  เป็นต้น เพื่อวัดความดันในระบบ เช่น การวัดความดันนํ้ามันในกระบอกไฮดรอลิก, วัดความดันลม (Pneumatic), วัดความดันน้ำของปั๊มนํ้า, วัดความดันไอนํ้าในหม้อนํ้า (Boiler) เป็นต้น และยังมีอุตสาหกรรมบางประเภทที่ต้องการวัดและควบคุมความดันที่มีอุณหภูมิสูง (High Temperature) ให้ได้ตามความต้องการโดยเฉพาะ คือ อุตสาหกรรมเครื่องฉีดพลาสติก, อุตสาหกรรมเกี่ยวกับอาหาร เป็นต้น ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมประเภทที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิคงที่หรือระบบการเติมของเหลวที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิคงที่ ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำเซ็นเซอร์วัดความดันสำหรับของเหลว (Melt Pressure) กัน        Melt Pressure Transducer / Melt Pressure Transmitter เป็นอุปกรณ์วัดความดันของเหลวหรือเซ็นเซอร์วัดความดันสำหรับของเหลว สำหรับวัดความดันประเภทของเหลวที่มีอุณหภูมิสูงถึง 400 องศาเซลเซียส (ํC) หรือ 750 องศาฟาเรนไฮต์ (ํF) ได้โดยตรง มีหน่วยในการแสดงผลของค่าความดันที่วัดได้ เช่น Bar, psi, mbar, kPa, Mpa เป็นต้น โดยมีหลักการทำงานดังนี้        หลักการทำงานของเซ็นเซอร์วัดความดันสำหรับของเหลว (Melt Pressure Transducer / Melt Pressure Transmitter)           Melt Pressure Transducer / Melt Pressure Transmitter เป็นอุปกรณ์วัดความดันสำหรับของเหลว ของวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงได้โดยตรง อาศัยการเปลี่ยนแปลงการกดของแรงดัน (Tension) ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Electrical Signal) มีสัญญาณทางด้านเอาต์พุตเป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (Analog Output) เช่น 4-20mA, 0-10VDC หรือ mV /V เป็นต้น โดยใช้หลักการของ Strain Gauge กล่าวคือ เมื่อมีแรงมากระทำ จนทำให้เกิดความเครียด (Strain) บริเวณตรงหัว Sensor ของ Melt Pressure จะทำให้เปลี่ยนเป็นความต้านทานทางไฟฟ้า (Electrical Resistance ) ในสัดส่วนโดยตรงกับแรงที่มากระทำ ปกติแล้วมักจะใช้ Strain Gauge วัดความเครียด (Strain Gauge) จำนวน 4 ตัว (ดังรูป) โครงสร้าง Strain Gauge จำนวน 4 ตัว ของ Melt Pressure        Melt Pressure อุปกรณ์วัดความดันสำหรับของเหลว มีลักษณะรูปร่างที่หลากหลาย สำหรับการเลือกใช้งานให้เหมาะสมในการติดตั้งกับทุกลักษณะงาน เช่น อุตสาหกรรมประเภทเครื่องฉีดพลาสติก สำหรับการอัดขึ้นรูปและการแปรรูปโพลีเมอร์และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น (ดังรูป) Melt Pressure Transducer หรือ Melt Pressure Transmitter Model : RT6S Model : RT6S with Type J Thermocouple Option เหมาะสำหรับการใช้วัดความดันทั่วไป โดยติดตั้งในรูสำหรับวัดความดันด้วยเกลียว UNF 1/2-20 (Standard)   เหมาะสำหรับการใช้วัดความดันและอุณหภูมิ โดยมีเทอร์โมคัปเปิลในการวัดอุณหภูมิที่จุดหลอมเหลว ติดตั้งในรูสำหรับวัดความดันด้วยเกลียว UNF 1/2-20 (Standard) Model : CT6S Model : CT6S with Type J Thermocouple Option เหมาะสำหรับการใช้วัดความดันทั่วไป โดยยึดติดตั้งในรูสำหรับวัดความดันด้วยเกลียว UNF 1/2-20 (Standard) และมีสายเฟล็กซ์ (Flex Cable) เพื่อความยืดหยุ่นในการติดตั้ง   เหมาะสำหรับการใช้วัดความดันและอุณหภูมิ โดยมีเทอร์โมคัปเปิลในการวัดอุณหภูมิที่จุดหลอมเหลว โดยยึดติดตั้งในรูสำหรับวัดความดันด้วยเกลียว UNF 1/2-20 (Standard) และมีสายเฟล็กซ์ (Flex Cable) เพื่อความยืดหยุ่นในการติดตั้ง Model : CTEC Model : CTMN เหมาะสำหรับการใช้วัดความดันทั่วไปในพื้นที่จำกัด โดยยึดติดตั้งในรูสำหรับวัดความดันด้วยเกลียว UNF 1/2-20 (Standard) และมีสายเฟล็กซ์ (Flex Cable) เพื่อความยืดหยุ่นในการติดตั้ง เหมาะสำหรับการใช้วัดความดันทั่วไป โดยยึดติดตั้งในรูสำหรับวัดความดันด้วยน็อต 1.5'' (Standard) และมีสายเฟล็กซ์ (Flex Cable) เพื่อความยืดหยุ่นในการติดตั้ง      Melt Pressure Transducer / Melt Pressure Transmitter มีให้เลือกย่านการวัดความดัน (Pressure) และอุณหภูมิ (Temperature) รุ่น Option Thermocouple Type J, K, RTD ได้ตามความเหมาะสม ดังนี้        • ย่านการวัด : 0-30,000 psi หรือ 0-20,000 bar        • Output : 2.0 mV/V, 2.5 mV/V, 3.33mV/V, 4-20mA, 0-10V        • Common Options : Thermocouple Type K, J, RTD        • วัสดุ : Stainless Steel        ตัวอย่างการติดตั้งเซ็นเซอร์วัดความดันสำหรับของเหลว (Melt Pressure Transducer) รูปแสดงตัวอย่างการติดตั้งเซ็นเซอร์วัดความดันสำหรับของเหลว (Melt Pressure Transducer / Melt Pressure Transmitter)     โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK   Pressure Transmitter Digital Indicator  Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit 4 Channel Digital Indicator Digital Temperature Controller PID Control Function  

Image Alternative text
การประยุกต์ใช้งานเซ็นเซอร์วัดและบันทึกอุณหภูมิ ความชื้น ระยะไกลแบบไร้สาย (LoRaWAN)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันในกระบวนการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีการควบคุมในเรื่องของอุณหภูมิ (Temperature), ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative  Humidity) เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีปัจจัยทางด้านแวดล้อมที่สำคัญต่อกระบวนการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมประเภทดังกล่าว เช่น อุตสาหกรรมอาหาร, ยา, พลาสติก, อุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องมีการใช้งานเซ็นเซอร์วัดและบันทึกอุณหภูมิ ความชื้น มาใช้ในการวัดและควบคุมเพื่อนำมาวิเคราะห์ในการวางแผนการผลิตต่อไป            โดยการวัดอุณหภูมิ ความชื้น มีทั้งแบบสัมผัสกับชิ้นงานโดยตรงและการวัดอุณหภูมิ ความชื้น แบบไม่สัมผัสกับชิ้นงาน ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการนำเอาการเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless) มาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถตอบโจทย์ในกรณีที่ต้องการวัดและบันทึกอุณหภูมิ ความชื้น แบบระยะไกลหรือระหว่างจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้โดยไม่ต้องเดินสายสัญญาณให้ยุ่งยากและจัดการผ่านคอมพิวเตอร์ได้เลย และเครือข่ายที่ว่านี้ก็คือเครือข่าย LoRaWAN ซึ่งหลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่คุ้นกับเครือข่ายนี้สักเท่าไหร่ ดังนั้นเราจะมาแนะนำกัน        LoRaWAN หรือ LoRa ย่อมาจาก Long Range เป็นเครือข่ายสื่อสารที่ส่งข้อมูลกำลังต่ำแบบไร้สายและเป็นระบบเครือข่ายที่สามารถส่งสัญญาณทางไกล ถือเป็นระบบการเชื่อมต่อข้อมูลกำลังต่ำสำหรับการสื่อสารทางไกลด้วยคลื่นสัญญาณวิทยุ (Communication Radio Wave) ที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อรองรับกับสัญญาณในระดับที่ต่ำมาก (ในประเทศไทยทาง กสทช. ได้กำหนดให้ใช้ความถี่ 920-925 MHz กำลังส่งสูงสุด 4 W) แต่มีช่องรับสัญญาณเยอะมาก โดยการส่งผ่านสัญญาณกำลังต่ำในระยะทางที่ต้องการ เช่น สื่อสารทางไกลในระยะ 15-20 กิโลเมตรได้เป็นอย่างดี และระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (LoraWan) มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้นด้วยรูปแบบการเชื่อมต่อที่หลากหลาย รวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของอัตราการใช้งานและการตอบโจทย์ในการใช้งาน เนื่องจากมีความสามารถในการป้องกันสัญญาณรบกวน (Noise)ได้สูงและใช้พลังงานต่ำ จึงเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้งานอย่างแพร่หลายทั้งในองค์กรหรือเครือข่ายในระบบอุตสาหกรรม เป็นต้น        ข้อดีของ LoRaWAN      การสื่อสารแบบ LoRaWan สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่า Wi-Fi หรือ Bluetooth โดยสามารถสื่อสารรูปแบบ Point to Point และสื่อสารแบบเครือข่าย (LoRaWan Network) ดังรูป   การส่งข้อมูลของระบบเครือข่าย LoRaWan การสื่อสารของระบบเครือข่าย LoRaWan      ระยะทางการรับ-ส่ง ข้อมูลของเซ็นเซอร์วัดและบันทึกอุณหภูมิ ความชื้น ระยะไกลแบบไร้สาย (Wireless Humidity & Temperature Transmitter) โดยใช้ซอฟต์แวร์ (Prisoft) สำหรับการจัดการข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย LoRaWan และส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ สามารถส่งข้อมูลได้ไกล 500 เมตร สำหรับในอาคาร และสำหรับนอกอาคารสามารถส่งข้อมูลได้ไกลถึง 1000 เมตร (ดังรูป)      ทำให้ปัจจุบันระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (LoRaWan) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ระบบ IOT (Internet Of Thing) แล้วยังถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมอีกด้วย เช่น อุตสาหกรรมอาหาร, เครื่องดื่ม, ยา, เคมี ฯลฯ ที่ต้องมีการควบคุมในเรื่องของอุณหภูมิ ความชื้น อยู่ตลอดเวลา โดยระบบ LoRaWan นี้ มีความสะดวกต่อการใช้งาน Online ระบบตลอดเวลา เช่น งาน Smart Industries, Facilities Managment, Smart Building เป็นต้น        ข้อดีของการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์เซ็นเซอร์วัดและบันทึกอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ระยะไกลแบบไร้สาย (Wireless Humidity & Temperature Recorder) บนระบบเครือข่าย LoRaWan        • ลดความผิดพลาดในการจดบันทึกของผู้ปฏิบัติงาน        • ลดเวลาการทำงาน ลดแรงงาน        • สะดวกในการติดตั้ง เนื่องจากไม่ต้องเดินสายไฟไปยังคอมพิวเตอร์        • สามารถใช้งานได้ถึง 1000 Device ใน 1 Loop การใช้งาน        การประยุกต์ใช้งานเซ็นเซอร์วัดและบันทึกอุณหภูมิ ความชื้น ระยะไกลแบบไร้สาย (LoRaWAN)        ตัวอย่าง การใช้เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ระยะไกลแบบไร้สาย (Wireless Humidity & Temperature) รุ่น HM-007 ในการบันทึกอุณหภูมิและความชื้นทุกช่วงเวลา (โดยส่งข้อมูลทุก ๆ 36 วินาที) ผ่านช่องทาง LoRaWan Gateway ของแต่ละตึกหรืออาคารในโรงงานอุตสาหกรรม บนระบบเครือข่าย  LoRaWan System      ระบบเครือข่าย LoRaWan Gateway โดยใช้เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ระยะไกลแบบไร้สาย (Wireless Humidity & Temperature Transmitter) รุ่น HM-007   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
เซ็นเซอร์วัดระดับแบบอัลตราโซนิค (Ultrasonic Level Sensor) คืออะไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันในงานการวัดระดับของวัตถุต่าง ๆ หรืองานวัดระดับของแข็ง (Solid) และของเหลว (Liquid) นั้น มีการใช้งานอุปกรณ์ประเภทเซ็นเซอร์วัดระดับ Level Senser, Level Switch, Level Transmitter, Paddle Switch เป็นต้น ซึ่งได้มีการนำเสนอกันไปในหัวข้อ การเลือกเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ (Level Sensor/Level Switch) ให้เหมาะสมกับหน้างาน แล้วนั้น โดยในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึง เซ็นเซอร์วัดระดับแบบอัลตราโซนิค (Ultrasonic Level Sensor) โดยเฉพาะ เนื่องจากเซ็นเซอร์วัดระดับแบบอัลตราโซนิค เป็นเซ็นเซอร์ (Sensor) ที่อาศัยหลักการทำงานของคลื่นเสียงและมีตำแหน่งทิศทางในการตรวจจับที่แม่นยำ จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานรูปแบบอื่นได้อีกด้วย จะเป็นอย่างไรนั้นเราจะมาแนะนำกัน (ดังรูป) รูปเซ็นเซอร์วัดระดับแบบอัลตราโซนิค (Ultrasonic Level Sensor)      เซ็นเซอร์วัดระดับแบบอัลตราโซนิค Ultrasonic Level Sensor หรือ Ultrasonic Sensor เป็นเซ็นเซอร์ (Sensor) ที่อาศัยหลักการสะท้อนของคลื่นความถี่เสียง (Ultrasound) ในการตรวจจับวัตถุนั้น ๆ โดยการเดินทางที่ผ่านตัวกลาง เช่น ของเหลว, ก๊าซ, อากาศ เป็นต้น จึงทำให้สามารถใช้งานตรวจจับวัตถุได้หลากหลายและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี, มีความแม่นยำในการตรวจจับและของเหลวที่มีสารเคมีหรือของเหลวที่มีความหนืดก็สามารถตรวจจับได้ (คลื่นอัลตราโซนิคมีความถี่สูงตั้งแต่ 20 KHz ขึ้นไป เป็นคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงเกินกว่าที่หูมนุษย์จะได้ยิน โดยทั่วไปแล้วหูของมนุษย์โดยเฉลี่ยจะได้ยินเสียงสูงประมาณ 15 KHz เท่านั้น) สาเหตุที่มีการนำเอาคลื่นย่านอัลตร้าโซนิคมาใช้ในงานวัดระดับ (Level) ก็เพราะว่าเป็นคลื่นที่มีทิศทางทำให้เราสามารถเล็งคลื่นเสียงไปยังเป้าหมายที่ต้องการได้โดยเจาะจง จึงได้ถูกนำมาใช้สำหรับการตรวจจับระดับ (Level) ของวัตถุต่าง ๆ โดยอาศัยหลักการสะท้อนของคลื่นความถี่เสียง (Ultrasound) และคำนวณหาค่าระยะทางได้จากการเดินทางของคลื่นและนำมาเทียบกับเวลา และด้วยกลไกดังกล่าวทำให้เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย เช่น งานวัดระดับได้ทั้งของแข็ง (Solid) และของเหลว (Liquid) เช่น น้ำ, น้ำมัน, ของเหลว, เมล็ดพืช, เม็ดพลาสติก เป็นต้น โดยต่อร่วมกับตัวควบคุมระดับน้ำ (Level Control), ตัวแสดงผลของระดับน้ำ (Level Indicator) เพื่อแสดงค่าหรือควบคุมระดับของเหลวและนำค่าต่าง ๆ นี้ ไปใช้ในระบบต่อไป      จุดติดตั้งที่เหมาะสมสำหรับ Ultrasonic Level Sensor หรือ Ultrasonic Sensor งานวัดระดับของแข็ง (Solid) และของเหลว (Liquid)       การติดตั้งเซ็นเซอร์ที่ถูกต้องในถังที่วัตถุดิบเป็นของแข็ง (Solid)   การติดตั้งเซ็นเซอร์ที่ถูกต้องในถังที่วัตถุดิบเป็นของเหลว  (Liquid)      Ultrasonic Level Sensor หรือ Ultrasonic Sensor สามารถวัดระดับได้ทั้งแบบจุดและแบบต่อเนื่อง ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะการออกแบบของเครื่องมือวัดและตำแหน่งการติดตั้ง กรณีการวัดระดับแบบจุดจะติดตั้งเซ็นเซอร์ไว้ที่บริเวณด้านข้างของภาชนะ เมื่อระดับความสูงของตัวกลาง (ของแข็งและของเหลว) เพิ่มจนถึงระดับที่ติดตั้ง Ultrasonic Level Sensor จะได้สัญญาณทางด้านเอาต์พุต (Output) ออกมาจากเซ็นเซอร์ (Sensor) และกรณีการวัดระดับแบบต่อเนื่องถ้าตัวกลางเป็นของเหลว สามารถติดตั้งเครื่องมือวัดไว้ที่บริเวณด้านบนหรือด้านล่างของภาชนะก็ได้        ตัวอย่างการใช้งาน Ultrasonic Level Sensor หรือ Ultrasonic Sensor        การต่อใช้งาน Ultrasonic Level Sensor หรือ Ultrasonic Sensor การต่อใช้งาน Ultrasonic Level Sensor หรือ Ultrasonic Sensor ร่วมกับ Switching Power Supply รุ่น PM-024S-2.5 เพื่อแสดงผลแบบดิจิตอลพร้อมบาร์กราฟ (Bar Graph Indicator With Alarm Unit) รุ่น TIM-95G        Software Configuration Ultrasonic Level Sensor Software สำหรับการกำหนดค่าและแสดงค่าระดับ Ultrasonic Level Sensor หรือ Ultrasonic Sensor   Wireless Humidity & Temperature Transmitter I/O Modules I/O Modules WIFI To RS-485/RS-323 Converter Digital Hygrostat And Thermostat Controller โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Linear Scale หรือ Linear Position Transducer คืออะไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Linear Scale หรือ Linear Position Transducer เป็นอุปกรณ์เครื่องมือวัดระยะทางการเคลื่อนที่หรือตำแหน่งในแนวเส้นตรง (Stroke) มีหน่วยในการวัดระยะทางเป็น mm. โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่เชิงเส้นไปเป็นค่าความต้านทาน (Resistance) ทางด้านเอาต์พุต (Output) หรือจะเป็นสัญญาณเอาต์พุต คือ สัญญาณพัลส์ (Push-Pull), สัญญาณกิโลโอห์ม (kΩ) ขึ้นอยู่กับลิเนียร์สเกล (Linear Scale) ของแต่ละรุ่น โดยสัญญาณเอาต์พุตจะถูกส่งต่อไปยังจออ่านค่าแสดงผลแบบดิจิตอลที่ติดตั้งอยู่หน้าเครื่องจักร CNC เช่น เครื่องกลึง เครื่องมิลลิ่ง เครื่องเจียระไน เป็นต้น ในการแสดงผลและควบคุมการบ่งบอกตำแหน่งในการ ตัด กัด เจาะ กลึง ที่ถูกต้อง เพื่อลดความผิดพลาดของชิ้นงาน        โดยลักษณะการติดตั้งของ Linear Scale หรือ Linear Position Transducer ตัวโคงสร้าง (Body) จะติดตั้งอยู่กับที่ (Fixed) โดยส่วนที่เคลื่อนที่คือแกนของ Linear Scale หรือ Linear Position Transducer ที่จะต้องเคลื่อนที่ไปตามแกนของชิ้นงาน            Linear Scale หรือ Linear Position Transducer มีลักษณะในการติดตั้งหลายรูปแบบ ดังนี้        LPT : มี Brackets สำหรับการยึดรอบตัว Linear Scale โดยใช้แกนกลางสำหรับการเคลื่อนที่ (Stroke) และมีขั้วต่อไฟฟ้า (Electrical Connectors) (มีระยะ Measurement Stroke ที่ 30mm. ถึง 1250mm.)        LPH : มี Brackets สำหรับการยึดรอบตัว Linear Scale โดยใช้ Cursor สำหรับการเคลื่อนที่ (Stroke) และมีขั้วต่อไฟฟ้า (Electrical Connectors) (มีระยะ Measurement Stroke ที่ 10mm. ถึง 1500mm.)        LPC : มีข้อต่อลูกวงกลมทั้งสองด้าน (Ball Joints) โดยใช้สำหรับการเคลื่อนที่ (Stroke) โดยมีขั้วต่อไฟฟ้า (Electrical Connectors) และแบบออกสาย (Cable) (มีระยะ Measurement Stroke ที่ 50mm. ถึง 700mm.)        LPM : มีข้อต่อลูกวงกลมทั้งสองด้าน (Ball Joints) โดยใช้สำหรับการเคลื่อนที่ (Stroke) โดยมีขั้วต่อไฟฟ้า (Electrical Connectors) และแบบออกสาย (Cable) (มีระยะ Measurement Stroke ที่ 50mm. ถึง 600mm.)        LPS : มี Brackets สำหรับการยึดรอบตัว Linear Scale โดยใช้แกนกลางสำหรับการเคลื่อนที่ (Stroke) และมีขั้วต่อไฟฟ้า (Electrical Connectors) (มีระยะ Measurement Stroke ที่ 30mm. ถึง 150mm.)        MSS : มี Brackets สำหรับการยึดรอบตัว Linear Scale โดยใช้ Cursor สำหรับการเคลื่อนที่ (Stroke) แบบไม่สัมผัส (Analog Output) และมีขั้วต่อไฟฟ้า (Electrical Connectors) (มีระยะ Measurement Stroke ที่ 100mm. ถึง 1250mm.)        ตัวอย่างการติดตั้งหน้างาน รูปตัวอย่าง ลิเนียร์สเกล (Linear Scale) ต่อใช้งานร่วมกับจออ่านค่าแสดงผลดิจิตอล (Digital Readout : DRO) ที่ติดตั้งอยู่หน้าเครื่องจักร CNC        การประยุกต์ใช้งาน Linear Scale หรือ Linear Position Transducer   เครื่องตัด (Cutting Machine) เครื่องกลึง (Milling Machine) เครื่องฉีดพลาสติกแนวตั้ง (Vertical Plastic Injection Moulding)       เครื่องพับโลหะ (Press Brake Machine) เครื่องฉีดพลาสติกไฮดรอลิก (Hydraulic Plastic Injection Moulding)   ข้อแนะนำในการเลือกใช้งาน Linear Scale หรือ Linear Position Transducer      • ย่านการวัด  (Measurement Stroke) ระยะการเคลื่อนที่ (Stroke)      • สัญญาณด้านเอาต์พุต Linear Scale หรือ Linear Position Transducer มีหลายแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน เช่น แบบอนาล็อก, แบบดิจิตอล โดยส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้แบบอนาล็อกเนื่องจากเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง โดยสามารถเดินสายได้ไกลและลดสัญญาณรบกวนในระบบได้      • ความแม่นยำในการวัด ควรทราบว่าอุปกรณ์ Linear Scale หรือ Linear Position Transducer ตัวที่เราเลือกใช้นั้นมีค่าความละเอียดในการวัด (Resolution) และความเที่ยงตรง (Accuracy)ในการวัดมากน้อยเพียงใด      • ขนาดของอุปกรณ์ (Dimension) และพื้นที่ในการติดตั้ง (Installation) ควรทราบขนาดของอุปกรณ์และพื้นที่ในการติดตั้ง เนื่องจากต้องทำการเลือกรุ่นของ Linear Scale ขนาดที่เหมาะสมกับตำแหน่งที่จะทำการติดตั้ง Displacement Sensor Displacement Sensor Target Counter Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Signal Tower Light   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
หมดปัญหายุ่งยากในการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร ด้วย Industrial Multipole Connector

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันผู้สร้างเครื่องหลายท่านคงเคยประสบปัญหาในงานติดตั้งเครื่องจักรหรืองานเคลื่อนย้ายตู้คอนโทรลต่าง ๆ เนื่องจากการใช้ Connector ที่ไม่มีคุณภาพ และการที่ต้องถอดเข้า-ออก บ่อย ๆ เป็นสาเหตุที่ Connector หลวม ทำให้หน้าสัมผัส (Contact) ต่อกันไม่แน่น เนื่องจากฝุ่น, น้ำ เข้าไปสัมผัส ทำให้เกิดความชื้นและเป็นสนิมได้ง่าย        ดังนั้น ในการใช้งานขั้วต่ออุตสาหกรรม (Industrial Multipole Connectors) ควรเลือกใช้ลักษณะโครงสร้างที่ทำจากอลูมิเนียมหล่อเคลือบผิว หรือวัสดุอย่างอื่นที่ไม่เกิดสนิม ตัวหน้าสัมผัส (Contact) มีความทนกระแสสูงกว่าการใช้งานจริง และสกรูขันที่ทนต่อการต้องถอดเข้าออกบ่อย        ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับส่วนต่าง ๆ ของ Industrial Multipole Connector กันก่อนว่าเป็นอุปกรณ์คอนเนคเตอร์ (Connector) ที่มีจำนวนหลายขั้ว (Multipole) ใช้สำหรับต่อระบบไฟฟ้า ประกอบด้วย ตัวผู้ (Male), ตัวเมีย (Female), ฐานยึด (Housing), ฝาครอบ (Hood) และตัวรัดสาย (Cable Gland) ซึ่งถูกออกแบบมาใช้กับงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์, บรรจุภัณฑ์, โรงไฟฟ้า, ระบบขนส่ง สำหรับช่วยในการติดตั้งทั้งในลักษณะงานเครื่องจักรอยู่กับที่ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือเคลื่อนย้ายเครื่องจักรในกรณีที่ผู้รับเหมาสร้างเครื่องออกแบบเพื่อนำเครื่องจักรเคลื่อนย้ายไปทำการติดตั้งหน้างาน        ซึ่งในปัจจุบันได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายเนื่องจากติดตั้งง่าย เคลื่อนย้ายสะดวกในกรณีที่มีสายไฟเยอะ ๆ ในระบบ และช่วยลด Downtime ของเครื่องจักรได้ โดย Industrial Multipole Connector ถูกออกแบบทั้งรุ่นที่เป็นโครงสร้างพลาสติกและโลหะ และให้มีความแข็งแรงทนทานต่อการใช้งานหนัก (Havy Duty) งานที่มีการสั่นสะเทือนและสามารถกันฝุ่น, กันน้ำได้ (สำหรับรุ่นมี Cover) เป็นต้น (ดังรูป) Industrial Multipole Connector WESTEC      Industrial Multipole Connectors มีจำนวนขั้วต่อ (Poles) ให้เลือกตามการต่อสายของ Connector ตัวผู้ (Male) และตัวเมีย (Female) โดยจะเริ่มตั้งแต่ 3 ขั้ว ถึง 48 ขั้ว ส่วนใหญ่จะเป็นเลขคู่ เช่น 6, 10, 16 และ 24 และบวกด้วย Ground เป็นต้น      Industrial Multipole Connector มีลักษณะการติดตั้ง 2  ลักษณะ ดังนี้         1. ติดตั้งแบบยึดติดกับตู้คอนโทรล โดยประกอบด้วยฝั่งตัวเมีย (Female) ประกอบด้วย Housing ยึดตำแหน่งภายในตู้พร้อมตัวเมีย (Female Insert)  ดังรูป         2. ติดตั้งแบบระหว่างทางหรือแบบลอย โดยประกอบด้วยฝั่งตัวผู้ (Male) ประกอบเข้ากับ Hood มีทั้งแบบออกสายด้านบนและด้านข้าง และตัวผู้ (Male Insert) มาเสียบเข้าด้วยกันกับชุดตัวเมีย (Female) ดังรูป      ในการเลือกใช้งานขั้วต่ออุตสาหกรรม (Industrial Multipole Connectors) ควรพิจารณาดังนี้         • จำนวนขั้วต่อ (Pole) ส่วนใหญ่จะเป็นเลขคู่บวก เช่น 6, 10, 16 และ 24 เป็นต้น และบวกด้วย Ground กรณีรุ่นที่ถูกออกแบบให้ใช้ได้ทั้งสาย Power และ Control ในตัวเดียวกันจะระบุเป็น 4/8 6/12 และ 8/24 เป็นต้น         • ขนาดแรงดันไฟ เช่น แรงดันสำหรับ Power จะมีหลายขนาดทั้ง 230V, 400V และ 690V และสำหรับ Control มีตั้งแต่ 230V, 250V และ 400V         • พิกัดกระแสใช้งาน เช่น Contact สำหรับงาน Power จะอยู่ที่ 35A หรือ 80A และ Contact สำหรับงาน Control จะอยู่ที่ 10A หรือ 16A เนื่องจากมีผลต่อการเลือกใช้สายไฟ ซึ่ง Multipole Industrial Connector ในปัจจุบันจะมีทั้งรุ่นที่ออกแบบมาเพื่อใช้งาน Control อย่างเดียว, Power อย่างเดียว และ Power+ Control รวมกัน      การที่ทราบถึงลักษณะการติดตั้งของหน้างานในเบื้องต้นและจำนวนขั้วต่อ (Pole) ที่จะใช้งานนั้น จะทำให้การเลือก Multipole Industrial Connector มีความเหมาะสมและไม่เสียเวลาในการติดตั้งเพิ่มภายหลัง        ตัวอย่างการติดตั้ง   Hot Runner Control The Panel Feed 12 Motor Hot Runner Control Hot Runner Control Terminal Block Wiring Duct Signal Tower Light Rotation Warning Light Relay Module   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Power Quality Analyzer คืออะไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Power Quality Analyzer เครื่องวิเคราะห์คุณภาพพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบันในโรงงานอุตสาหกรรมมีแนวโน้มในการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการใช้พลังงานไฟฟ้าสิ้นเปลืองโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งในบางครั้งไม่สามารถนำพฤติกรรมเหล่านี้มาวิเคราะห์ได้จึงทำให้มีต้นทุนในส่วนนี้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าเพื่อช่วยในการลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นการจดบันทึกข้อมูลของผู้ปฏิบัติงาน (Check Sheet), การตรวจสภาพอุปกรณ์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าหรือการใช้อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการวัดค่าพลังงานทางไฟฟ้า เช่น พาวเวอร์มิเตอร์ (Power Meter), กิโลวัตต์ฮาวมิเตอร์ (kWh Meter), มัลติฟังก์ชั่นมิเตอร์ (Multifunction Meter) ต่าง ๆ เป็นต้น        ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับเครื่องวัดค่าพลังงานไฟฟ้า คือ พาวเวอร์มิเตอร์ (Power Meter) นั่นเอง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการวัดค่าพลังงานต่าง ๆ ทางไฟฟ้า และแสดงค่าพารามิเตอร์และปริมาณพลังงานไฟฟ้า ได้แก่ ค่าแรงดัน (Voltage), ค่ากระแส (Current), ค่ากำลังไฟฟ้า (Watt/kW/kWh, kVAR, kVA), ความถี่ Hz (Frequency), Demand, Peak Demand, PF (Power Factor) เป็นต้น ซึ่งสามารถวัดได้ทั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส (Single Phase) และระบบไฟฟ้า 3 เฟส (Three Phase) ในรูปแบบการแสดงผลที่หน้าจอมิเตอร์หรือการแสดงผลในรูปแบบของการบันทึกข้อมูลผ่าน Software เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์โดยการสื่อสารผ่าน RS-485 เพื่อนำมาวิเคราะห์การใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด        ในปัจจุบันเครื่องวัดค่าพลังงานไฟฟ้าหรือพาวเวอร์มิเตอร์ (Power Meter) ได้ถูกออกแบบและพัฒนามาให้มี Function การวัด Phase Protection และแสดงผลการใช้น้ำเป็นลูกบาศก์เมตร (m3) สามารถส่งข้อมูลการวัดค่าทางไฟฟ้าและการแจ้งเตือนต่าง ๆ ไปยัง LoRaWAN Gateway ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์แสดงผลผ่าน Dashboard ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน Online ระบบตลอดเวลา ลดแรงงานและให้ความถูกต้องในการจดบันทึก ประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรอีกด้วย        มิเตอร์วัดค่าพลังงานทางไฟฟ้า (Multifunction Meter / Power Meter) ดังรูป   KM-23-P9 (Three Phase) KM-23-DI (Three Phase) KM-22-1 (Single Phase) แบบติดหน้าตู้คอนโทรล (Panel Power Meter) แบบติดราง (Din Rail Power Meter) แบบติดหน้าตู้คอนโทรล (Panel Power Meter)      นอกจากมีมิเตอร์วัดค่าพลังงานทางไฟฟ้า (Power Meter) แล้ว ยังมี Power Quality Analyzer เครื่องวิเคราะห์พลังงานไฟฟ้า ที่สามารถเคลื่อนย้ายตามจุดต่าง ๆ ที่ต้องการที่จะวัด เรียกว่า ชุดกระเป๋าวัดวิเคราะห์พลังงานไฟฟ้า (Energy Saving and Analysis Kit) ที่ใช้กันในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาให้เป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์คุณภาพพลังงานไฟฟ้าโดยเฉพาะ ทำให้เราควบคุมคุณภาพพลังงานไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมและสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าได้ ทำให้ลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับระบบหรือเครื่องจักรรวมถึงกระบวนการผลิต อีกทั้งยังประหยัดพลังงานและลดต้นทุนการซ่อมบำรุงได้เป็นอย่างดี (ดังรูป) ชุดกระเป๋าวัดวิเคราะห์พลังงานไฟฟ้า (Energy Saving and Analysis Kit)   Software ชุดกระเป๋าวัดวิเคราะห์พลังงานไฟฟ้า (Energy Saving and Analysis Kit)      • สามารถดู Report ของค่าพลังงานย้อนหลังได้      • สามารถดูการใช้พลังงานไฟฟ้าแบบรายวันและแบบรายเดือน โดยทำเป็น Billing ค่าไฟได้      • สามารถส่งข้อมูลผ่านเป็น Excel File เพื่อเป็นข้อมูลดิบไว้ทำการจัดการได้        ทางเรายังมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญการออกแบบ Software SACADA ซอต์ฟแวร์เพื่อการจัดการการบริหารงานในอุตสาหกรรม ในการวิเคราะห์ค่าพลังงานไฟฟ้าเพื่อการจัดการด้านประหยัดพลังงานในองค์กรอีกด้วย      SCADA Software เป็นโปรแกรมที่ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ส่งสัญญาณระยะไกล RS-485 โดยส่งค่าทางไฟฟ้าจาก Power Meter แต่ละตัว พร้อมรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์และแสดงผลให้เข้าใจง่ายด้วยกราฟและตารางผ่านจอมอนิเตอร์ รวมทั้งสามารถแสดงผลย้อนหลังได้ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่าปัจจุบัน ทั้งยังคำนวณค่าไฟฟ้าแบบปกติ (Normal), อัตราตามช่วงเวลาของวัน (Time of Day Rate : TOD) และอัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Rate : TOU) เพื่อช่วยในการวางแผนประหยัดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ Energy saving and analysis kit Multifunction Power Meter Wireless 1 Phase Energy Meter 3 Phase Power and Energy Meter with RS-485 3 Phase Volt-Amp kWh-Meter with Protection Relay โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การเลือกใช้ Pressure Transmitter ให้เหมาะสมกับงาน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Pressure Transmitter เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดความดันหรือแรงดัน (Pressure) และแปลงสัญญาณทางด้านเอาต์พุต (Output) ออกมาเป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน เช่น 4-20mA, 0-10VDC เป็นต้น โดย Pressure Transmitter นั้น สามารถวัดได้ทั้งของเหลว (Liquid)  เช่น น้ำ (Water) และน้ำมัน (Oil) เป็นต้น รวมไปถึงการวัดความดันของนิวเมติก (Pneumatic) หรือลมและแก๊ส (Gas) นั่นเอง      ปัจจุบันมีการนำอุปกรณ์ตรวจวัดแรงดันมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, อาหารและยา, เคมี, ยานยนต์ เป็นต้น เพื่อวัดและควบคุมแรงดันในระบบ เช่น การวัดแรงดันนํ้ามันในกระบอกไฮดรอลิก, วัดความดันลม, วัดแรงดันน้ำของปั๊มนํ้า, วัดแรงดันไอนํ้าในหม้อนํ้า (Boiler) เป็นต้น เพื่อนำไปควบคุมและแสดงผลค่าของแรงดันที่ต้องการจะวัดของกระบวนการต่าง ๆ ในระบบ โดย Pressure Transmitter มีหน่วยในการแสดงผลของค่าแรงดันที่วัดได้ เช่น Bar, mbar, kpa, psi, mmHg เป็นต้น หรือบางทีเรียกกันว่า Pressure Transmitter, Pressure Switch, Pressure Transducer, Pressure Sensor ขึ้นอยู่กับการควบคุมของงานแต่ละประเภท ดังนี้        รูปแบบของเซ็นเซอร์วัดความดัน (Pressure Sensor) แบ่งตามลักษณะการควบคุมได้ 2 ประเภท ดังนี้           1. Pressure Switch เป็นสวิทช์แรงดันที่เปลี่ยนแรงดันทางกลผ่านชุดไดอะแฟรมเชิงกล (Mechanical Diaphragm) หรือลูกสูบ (Piston) โดยสัมผัสกับชุดสวิทช์ในการเปลี่ยนแปลงของหน้าคอนแทค (ON-OFF) เหมาะสำหรับควบคุมแรงดันในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ปั๊มลม, วาล์วหรือควบคุมแรงดันน้ำ, อากาศหรือน้ำมันไฮดรอลิก เป็นต้น  (ดังรูป) Pressure Switch (Model : P/PS 920/924/932) / Differential Pressure (Model : PD 900/904/912)             2. Pressure Transmitter เป็นอุปกรณ์วัดแรงดันที่เปลี่ยนแรงดันทางกลผ่านชุด Transducer (ชนิด Strain Gauge) ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าในรูปแบบของอนาล็อก เช่น 0-20mA, 4-20mA , Voltage 0-5 Vdc, 0-10 Vdc เป็นต้น และ Pressure Transmitter สามารถนำมาต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์แสดงผลหรือควบคุมอื่น เช่น มิเตอร์ (Meter), คอนโทรลเลอร์ (Controller) หรือพีแอลซี (PLC) เป็นต้น เพื่อแสดงค่าแรงดันในการนำไปควบคุมในระบบได้ (ดังรูป) Pressure Transmitter EPI Series 8287        จากที่ทราบถึงประเภทของเซ็นเซอร์วัดความดัน (Pressure Sensor) ตามลักษณะการควบคุมกันทั้ง 2 แบบกันไปแล้วนั้น ต่อไปเราจะมาแนะนำในส่วนของการเลือกใช้งานของอุปกรณ์ที่วัดความดันและแปลงสัญญาณทางด้านเอาต์พุต (Output) ออกมาเป็นสัญญาณอนาล็อก 4-20mA, 0-10VDC หรือ Pressure Transmitter ว่าควรเลือกแบบใด เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน   การเลือก Pressure Transmitter ให้เหมาะสมกับงาน   Pressure Transmitter EPI 8287-Series TRAFAG KS-Series TRAFAG TPSA-Series TRAFAG      อุปกรณ์วัดแรงดันมีเอาต์พุตเป็นสัญญาณอนาล็อก 4-20mA, 0-10VDC เป็นต้น เหมาะสำหรับควบคุมแรงดันในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ปั๊มลม, วาล์ว หรือควบคุมแรงดันน้ำ, อากาศ หรือน้ำมันไฮดรอลิก เป็นต้น   Flush Diaphragm Pressure Transmitter TPF-Series GEFRAN TPFADA-Series GEFRAN      อุปกรณ์วัดแรงดันแบบ Diaphragm มีเอาต์พุตเป็นสัญญาณอนาล็อก mV/V (รุ่น TPF) และ 4-20mA, 0-10VDC (รุ่น TPFA-DA) โดยใช้หลักการขยายตัวของ Strain Gauges เหมาะสำหรับวัดความดันที่มีความเหนียวสูง เช่น ของเหลวที่มีความข้น, น้ำมัน, ยาง, ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสารเคมี เป็นต้น / รุ่น TPF โครงสร้าง Diaphragm ผลิตจากสแตนเลสชนิด 17-4 PH ป้องกันสนิม / รุ่น TPFADA มีฟังก์ชั่นพิเศษคือ Digital Auto Zero & Span ทำให้ง่ายต่อการใช้งานโดยใช้ปากกาแม่เหล็ก    Melt Pressure Transmitter & Transducer M-Series GEFRAN      อุปกรณ์วัดแรงดันแบบ Melt Pressure Transmitter มีเอาต์พุตเป็นสัญญาณอนาล็อก mV/V, 4-20mA, 0-10VDC เหมาะสำหรับระบบการเติมของเหลวที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิคงที่ และอุณหภูมิสูงถึง 400 ํC ในการวัดจะทำได้โดยการเปลี่ยนความตึงให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า โดยใช้หลักการของ Strain Gauge ผลิตจากสแตนเลสชนิด 17-7 PH Corrugated Diaphragm วัสดุที่ใช้ทำ Titanium Nitride (สำหรับย่านวัดต่ำสุด 100 bar ถึง 1500 psi)   การประยุกต์ใช้งาน   อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอาหารและยา อุตสาหกรรมยานยนต์ Pressure Transmitter Pressure Switch Digital Indicator Universal Input Digital Indicator Bar Graph Indicator With Alarm Unit   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การต่อใช้งาน Tower Light แบบใช้ Supply DC กับ แบบใช้ Supply AC ต่างกันอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) ไฟสัญญาณเสียงแจ้งเตือนสถานะของเครื่องจักร ได้มีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรในกระบวนการผลิต เพื่อเป็นสัญญาณในการเจ้งเตือนให้ผู้ปฎิบัติงานได้ทราบถึงสถานะการทำงานของเครื่องจักรในกรณีที่เครื่องจักรเกิดความขัดข้องหรือหยุดการทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเราได้มีการนำเสนอกันไปแล้วในหัวข้อ ประโยชน์ของการติดตั้ง ไฟสัญญาณพร้อมเสียง (Signal Tower Light With Buzzer) สำหรับแจ้งเตือนสถานะการทำงานของเครื่องจักร และ ทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) ที่ใช้งานทั่วมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น การแจ้งเตือนแบบไฟสัญญาณ (Signal Tower Light), การแจ้งเตือนแบบไฟสัญญาณพร้อมเสียง (Signal Tower Light With Buzzer) หรือรูปแบบของไฟหมุนสัญญาณแจ้งเตือน (Rotation Warning Light) และลักษณะการติดตั้ง, ขนาดหรือการส่งข้อมูลแจ้งเตือนผ่าน Computer ด้วย RS-485 เพื่อนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม (ดังรูป)      จากลักษณะการติดตั้งและรูปแบบต่าง ๆ ของ Tower Light แล้ว ในการต่อใช้งานก็มีความสำคัญต่อการเลือกใช้งานของ Tower Light เช่นกัน เนื่องจากเป็นการเลือกต่อใช้งาน Tower Light แบบใช้ Supply DC (12VDC, 24VAC/DC) กับการต่อแบบใช้ Supply AC (220VAC) ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร? ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำ การต่อใช้งาน Tower Light แบบใช้ Supply DC กับ แบบใช้ Supply AC ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร? เพื่อนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสมในการต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบควบคุม เช่น PLC (Programmable Logic Controller) เป็นต้น การต่อใช้งาน Tower Light แบบใช้ Supply DC กับ แบบใช้ Supply AC ต่างกันอย่างไร?   แบบที่ 1 • วงจรการต่อใช้งานแบบแรงดันไฟเลี้ยง 24VAC/DC ส่วนใหญ่จะใช้งานร่วมกับ PLC เป็นหลัก โดยต่อจากสัญญาณ Output ของ PLC เช่น NPN หรือ PNP เพื่อสั่งให้ LED ของ Tower Light ติดค้าง (Continuous Lighting) หรือติดกระพริบได้ โดยคำสั่ง ON-OFF จาก PLC   แบบที่ 2 แบบที่ 3 • วงจรการต่อใช้งานแบบแรงดันไฟเลี้ยง 24VAC/DC (Supply แยก) เป็นการต่อใช้งานผ่านหน้าคอนแทค (External Contact) ในการต่อใช้งานโดยใช้สาย Common (สีเทา) แบบติดค้าง (Continuous Lighting) หรือใช้สาย Common (สีน้ำตาล) แบบติดกระพริบ (Flashing  Lighting) เพื่อสั่งให้ LED ของ Tower Light ทำงาน • วงจรการต่อใช้งานแบบแรงดันไฟเลี้ยง 220VAC (Supply แยก) เป็นการต่อใช้งานผ่านหน้าคอนแทค (External Contact) ในการต่อใช้งานโดยใช้สาย Common (สีเทา) แบบติดค้าง (Continuous Lighting) หรือใช้สาย Common (สีน้ำตาล) แบบติดกระพริบ (Flashing  Lighting) เพื่อสั่งให้ LED ของ Tower Light ทำงาน ตัวอย่างการใช้งาน Tower Light ไฟสัญญาณเสียงแจ้งเตือนสถานะของเครื่องจักร   • การติดตั้งทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) หรือไฟสัญญาณเตือนแบบชั้น แบบแนวตรง • เหมาะกับการติดตั้งไว้ด้านบนของเครื่องจักร, ตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล เป็นต้น   • การติดตั้งทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) หรือไฟสัญญาณเตือนแบบชั้น แบบปรับทิศทางการติดตั้งแบบแนวตรงและแนวตั้งฉาก 90 องศาได้ (2 Way) • เหมาะกับการติดตั้งไว้ด้านบนและด้านข้างของเครื่องจักร, ตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล เป็นต้น • การติดตั้งทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) หรือไฟสัญญาณเตือนแบบชั้น แบบแนวตรง (1 ชั้น) • เหมาะกับการติดตั้งไว้ด้านบนของเครื่องจักร, ตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล เป็นต้น     โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Tower Light ไฟสัญญาณเตือนแบบชั้น ติดตั้งแบบไหนได้บ้าง?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) หรือ ไฟสัญญาณเตือนแบบชั้น เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแจ้งเตือนหรือแสดงสถานะการทำงานของเครื่องจักรในรูปแบบของสัญาณไฟและเสียง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานที่อยู่หน้างานได้รับรู้สถานะการทำงานของเครื่องจักร ซึ่งทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) หรือไฟสัญญาณเตือนแบบชั้นนั้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น แบบสัญญาณไฟติดกระพริบ (Flashing) หรือสัญญาณไฟติดค้าง (Continuous) โดยแต่ละชั้นของสีไฟที่แสดงออกมา ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าต้องการให้สีอะไรแสดงสถานะการทำงานของเครื่องจักรในรูปแบบใด เช่น สีเขียว หมายถึง เครื่องจักรกำลังทำงาน, สีเหลือง หมายถึง แจ้งผู้ปฏิบัติงานให้เข้ามาดูเครื่องจักร, สีแดง หมายถึง เครื่องจักรหยุดทำงาน หรืออื่น ๆ เป็นต้น โดยผู้ปฏิบัติงานจะสามารถมองเห็นสัญญาณไฟได้ชัดเจนด้วยมุม 360 องศา นอกจากนี้ทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) หรือไฟสัญญาณเตือนแบบชั้นยังมี Buzzer สำหรับแจ้งเตือนผู้ปฎิบัติงานด้วยเสียง (90 dB for 1 M.) ให้รับทราบกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานอยู่ในระยะรัศมี 1 เมตร        ปัจจุบันในแวดวงอุตสาหกรรมเมืองไทยเราเชื่อว่าผู้ที่อยู่ในแวดวงดังกล่าวนี้จะมีความรู้จักหรือเคยเห็นผ่านตาอุปกรณ์ทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) หรือไฟสัญญาณเตือนแบบชั้น ที่มีรูปแบบการติดตั้งที่หลากหลาย โดยรูปแบบการติดตั้งจะขึ้นอยู่กับหน้างานและจุดประสงค์ของงานแต่ละที่ เช่น สายพานลำเลียง (Line Conveyer) การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม, เครื่องจักรที่ต้องการได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ, หุ่นยนต์และเครื่องจักรอัตโนมัติ เป็นต้น ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ “Tower Light ไฟสัญญาณเตือนแบบชั้น ติดตั้งแบบไหนได้บ้าง?” โดยการติดตั้งทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) หรือไฟสัญญาณเตือนแบบชั้น ในบริเวณต่าง ๆ นั้นต้องมีอุปกรณ์เสริม เช่น แท่นฉาก, ฉากยึดผนัง, ฉากยึดพื้น เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยให้การติดตั้งนั้นง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเลือกอุปกรณ์เสริมเราควรดูว่าสามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ที่เรามีอยู่หรือไม่   ตัวอย่างรูปแบบการติดตั้งของทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) หรือ ไฟสัญญาณเตือนแบบชั้น   รูปแบบการติดตั้งแบบ Bracket (ฐานทรงกลม) หรือแบบแนวตรง คุณสมบัติ ตัวอย่างการติดตั้ง • ทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) หรือ ไฟสัญญาณเตือนแบบชั้น ถูกออกแบบให้ติดตั้งไว้ด้านบนของเครื่องจักร, ตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล เป็นต้น • การติดตั้งฐาน Bracket จะถูกยึดด้วยสกรูเข้ากับเครื่องจักรอย่างแน่นหนา • พื้นที่ของการติดตั้งต้องมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ ** หมายเหตุ : สามารถเลือกความยาวของเสา (Pole) ได้ตามความเหมาะสมของหน้างาน   รูปแบบการติดตั้งแบบ Bracket (2 Way) หรือแบบพับได้ คุณสมบัติ ตัวอย่างการติดตั้ง • ทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) หรือ ไฟสัญญาณเตือนแบบชั้น ถูกออกแบบให้ติดตั้งไว้ด้านบน และด้านข้างของเครื่องจักร, ตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล เป็นต้น หรือติดตั้งบนผนัง หรือกำแพงของอาคารได้ (90 องศา) • สามารถปรับทิศทางการติดตั้งแบบแนวตรงและแนวตั้งฉาก 90 องศาได้ (2 Way) • การติดตั้งฐาน Bracketจะถูกยึดด้วยสกรูเข้ากับเครื่องจักรอย่างแน่นหนา • พื้นที่ของการติดตั้งต้องมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ  ** หมายเหตุ : สามารถเลือกความยาวของเสา (Pole) ได้ตามความเหมาะสมของหน้างาน   รูปแบบการติดตั้งแบบ Bracket (90 องศา) หรือแบบ L คุณสมบัติ ตัวอย่างการติดตั้ง • ทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) หรือ ไฟสัญญาณเตือนแบบชั้น ถูกออกแบบให้ติดตั้งไว้ด้านข้างของเครื่องจักร, ตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล เป็นต้น หรือติดตั้งบนผนังหรือกำแพงของอาคารได้ • การติดตั้งแบบนี้เหมาะกับเครื่องจักรที่มีพื้นที่ว่างด้านข้าง • การติดตั้งฐาน Bracket แบบ L จะถูกยึดด้วยสกรูเข้ากับเครื่องจักรอย่างแน่นหนา • พื้นที่ของการติดตั้งต้องมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ   รูปแบบการติดตั้งแบบ Bracket (90 องศา) หรือแบบ L (Pole : ABS-V0) คุณสมบัติ ตัวอย่างการติดตั้ง • ทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) หรือ ไฟสัญญาณเตือนแบบชั้น ถูกออกแบบให้ติดตั้งไว้ด้านข้างของเครื่องจักร, ตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล เป็นต้น หรือติดตั้งบนผนังหรือกำแพงของอาคารได้ • การติดตั้งแบบนี้เหมาะกับเครื่องจักรที่มีพื้นที่ว่างด้านข้าง • การติดตั้งฐาน Bracket แบบ L (Pole วัสดุ : ABS-V0) จะถูกยึดด้วยสกรูเข้ากับเครื่องจักรอย่างแน่นหนา • พื้นที่ของการติดตั้งต้องมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ        จากรูปแบบการติดตั้งทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) หรือ ไฟสัญญาณเตือนแบบชั้น ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นการยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของยี่ห้อ Primus ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยฝีมือคนไทย โดยผลิตภัณฑ์ทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) หรือ ไฟสัญญาณเตือนแบบชั้นดังกล่าว ผู้ปฏิบัติงานสามารถสลับชั้นของสีและการตั้งค่าของไฟเพื่อแสดงสถานะการทำงานของเครื่องจักร อีกทั้งยังสามารถต่อใช้งานได้ด้วยตัวเอง   วิธีการประกอบทาวเวอร์ไลท์ (Tower Light) หรือ ไฟสัญญาณเตือนแบบชั้น กรณีสลับชั้นของสีไฟ   เชื่อมต่อแต่ละชั้นด้วย Connector • ทำการเปิด (หมุนทวนเข็มนาฬิกา) • ทำการล็อค (หมุนตามเข็มนาฬิกา)    ทำการประกอบเข้ากับ Pole+Bracket และต่อสาย ตาม Wiring Diagram ในคู่มือ เพียงแค่นี้ก็สามารถติดตั้ง และใช้งานได้   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Switching Power Supply คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Switching Power Supply (สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย) คือ อุปกรณ์แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงดันสูง เช่น 220VAC ไปเป็นแรงดันไฟฟ้าที่มีแรงดันต่ำ โดย Switching Power Supply จะทำงานในลักษณะเดียวกันกับหม้อแปลงแรงดันทั่วไป แต่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าและมีขนาดเล็กกว่า โดยหลักการทั่วไปของ Switching Power Supply จะประกอบด้วย เรคติไฟเออร์ (Rectifier) ทำหน้าที่ แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง, คอนเวอร์เตอร์ (Converter) ทำหน้าที่ แปลงความถี่แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับที่ความถี่สูง และแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง โดยมีความต้านทานทางด้านเอาต์พุตของแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงให้ได้ตามความต้องการอีกครั้ง   รูปแสดงวงจรเบื้องต้นของ Switching Power Supply (สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย)        Switching Power Supply (สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย) ในปัจจุบันมีหลากหลายรุ่นที่ใช้กันแพร่หลายในงานอุตสาหกรรม เช่น Switching Power Supply แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับจาก 220VAC เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง 24VDC (1.2A, 2.5A, 5A, 10A) หรือ 12VDC (2A, 5A, 10A, 20A) เป็นต้น โดย Switching Power Supply ที่ทางบริษัท ไพรมัส จำกัด ผลิตและจำหน่ายมีรุ่นแนะนำดังนี้   PM-024S-1.2 PM-024S-2.5 PM-024S-5 Switching Power Supply แปลงแรงดันไฟฟ้า 220VAC เป็น 24VDC, 1.2 A Switching Power Supply แปลงแรงดันไฟฟ้า 220VAC เป็น 24VDC, 2.5 A Switching Power Supply แปลงแรงดันไฟฟ้า 220VAC เป็น 24VDC, 5 A โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
PLC+HMI UNITRONICS มีหน้าจอแบบไหนบ้าง?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เมื่อเราพูดถึง PLC (Programmable Logic Controller) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรโดยมีส่วนของ Input-Output และตัวประมวลผล โดยทั่วไปแล้วเราจะเห็น PLC มีวิวัฒนาการพัฒนามาเรื่อย ๆ ตั้งแต่การเขียนโปรแกรมใน PLC โดยใช้ Ladder Diagram PLC เขียนลงกระดาษก่อนแล้วค่อยเขียนลงในตัว PLC โดยใช้ Keypad แต่สมัยนี้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น การเขียน PLC สามารถเขียน Ladder Diagram ใน Computer PC ได้เลย รวมทั้งการใช้งาน PLC ร่วมกับ HMI (Human Machine Interface) ในการควบคุมเครื่องจักรผ่านหน้าจอแบบต่าง ๆ ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำหน้าจอแบบต่าง ๆ ที่ PLC ในปัจจุบันมี ยี่ห้อ UNITRONICS ข้อดีของยี่ห้อ UNITRONICS นี้คือ การเขียนโปรแกรมของหน้าจอ และโปรแกรม Ladder ของ PLC นั้น สามารถใช้โปรแกรมตัวเดียวกันได้เลย ลดความยุ่งยากในการเรียนรู้โปรแกรม และตัวโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนฟรีอีกด้วย เรามาทำความรู้จักหน้าจอ (Display) ของ PLC UNITRONICS แบบต่างๆ กันครับ   M91 MICRO-OPLCTH JAZZ MICRO-OPLCTH SAMBA คุณสมบัติ • จอแสดงผลชนิดตัวอักษร/ตัวเลข 2 บรรทัด • สามารถขยาย Input/Output ได้ • ออกแบบหน้าจอได้ 60 หน้า • รองรับ Font ได้ 15 ภาษา • IP65/NEMA4X   คุณสมบัติ • จอแสดงผลชนิดตัวอักษร/ตัวเลข 2 บรรทัด • ออกแบบหน้าจอได้ 60 หน้า • รองรับ Font ได้ 15 ภาษา • IP65/NEMA4X   คุณสมบัติ • ขนาดจอแสดงผล 3.5”, 4.3”, 7” • I/O Option Include High-Speed • จอแสดงผลชนิด TFT 65,536  สี+LED BACKLIGHT • แสดงรูปภาพกราฟฟิก+กราฟเส้นได้ • รองรับ Font ได้ 15 ภาษา • IP65/NEMA4X   V570 COLOR OPLCTH 1040 COLOR OPLCTH V260 GRAPHIC/TOUCH OPLCTH คุณสมบัติ • ขนาดจอแสดงผล 5.7” • จอแสดงผลชนิด TFT 65,536  สี+LED BACKLIGHT • แสดงรูปภาพกราฟฟิก+กราฟเส้นได้ • สามารถใช้งานร่วมกับ Snap-In I/O ได้ • IP65/NEMA4X คุณสมบัติ • ขนาดจอแสดงผล 10.4” • จอแสดงผลชนิด TFT 65,536  สี+LED BACKLIGHT • แสดงรูปภาพกราฟฟิก+กราฟเส้นได้ • สามารถใช้งานร่วมกับ Snap-In I/O ได้ • IP65/NEMA4X คุณสมบัติ • ขนาดจอแสดงผล 5.4 ” • จอแสดงผลขาว-ดำ • แสดงรูปภาพกราฟฟิก+กราฟเส้นได้ • สามารถใช้งานร่วมกับ Snap-In I/O ได้ • IP65/NEMA4X     V280 GRAPHIC/TOUCH OPLCTH V530 GRAPHIC/TOUCH OPLCTH UNISTREAM COLOR OPLCTH คุณสมบัติ • ขนาดจอแสดงผล 4.7” • จอแสดงผลขาว-ดำ • แสดงรูปภาพกราฟฟิก+กราฟเส้นได้ • สามารถใช้งานร่วมกับ Snap-In I/O ได้ • IP65/NEMA4X   คุณสมบัติ • ขนาดจอแสดงผล 5.7” • จอแสดงผลขาว-ดำ • แสดงรูปภาพกราฟฟิก+กราฟเส้นได้ • สามารถใช้งานร่วมกับ Snap-In I/O ได้ • IP65/NEMA4X   คุณสมบัติ • ขนาดจอแสดงผล 15.6 ” • จอแสดงผล16,777,216  สี +LED BACKLIGHT • แสดงรูปภาพกราฟฟิก+กราฟเส้นได้ • 2 Ethernet Port 10/100 Base-T • VNC Viewer (Monitor ผ่าน Smart Phon) ตัวอย่าง Application การใช้งาน PLC (Programmable Logic Controller) + HMI (Human Machine Interface) ในงานอุตสาหกรรม   Medical Water / Waste Water Manufacturing Automotive   Food and Beverage Textile Refrigeration Packing    โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Roof Fan พัดลมติดหลังคาตู้ นำไปใช้งานแบบไหนได้บ้าง?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Roof Fan พัดลมติดหลังคาตู้ เป็นพัดลมดูดอากาศ (Exhaust Radial Fans) ทำหน้าที่ดูดลมร้อนที่ลอยตัวขึ้นสูงภายในตู้และเหวี่ยงลมร้อนออกสู่ภายนอกตู้ (โดยปกติอากาศที่มีความร้อนจะลอยตัวจากด้านล่างขึ้นด้านบน) เหมาะสำหรับติดตั้งพัดลมบนหลังคาตู้คอนโทรล, ตู้คอนโทรลที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายในตู้ (MDB) หรือติดตั้งหลังคาตัวอาคาร โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อช่วยให้ระบายความร้อนภายในตู้ได้ดีขึ้น ทำให้เกิดการถ่ายเทของอากาศภายในตัวอาคารและลดความอับชื้นภายในอาคารได้ โดย Roof Fan พัดลมติดหลังคาตู้มีลักษณะรูปแบบโครงสร้างทั้งแบบเหล็ก ซึ่งสามารถใช้ในงานนอกอาคาร (Outdoor) ได้ และโครงสร้างแบบพลาสติก เหมาะสำหรับงานในอาคาร (Indoor) ดังรูป        รูปแบบ Roof Fan พัดลมติดหลังคาตู้     Roof Fan พัดลมติดหลังคาตู้ โครงสร้างแบบเหล็ก Steel (PMB.02) Roof Fan พัดลมติดหลังคาตู้ โครงสร้างแบบพลาสติก Plastic ABS (PMB.03)      ในการติดตั้ง Roof Fan พัดลมติดหลังคาตู้นั้นจะติดตั้งในตำแหน่งบนหลังตู้คอนโทรล โดยลักษณะทิศทางของอากาศที่มีความร้อนจะลอยตัวจากด้านล่างขึ้นด้านบน (ดังรูป) รูปแสดงลักษณะทิศทางการดูดลมร้อนของพัดลมติดหลังคาตู้ (Roof Fan)      พัดลม Roof Fan จึงมีประโยชน์ในการเป็นตัวช่วยระบายอากาศได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นลักษณะการดูดลมแบบเหวี่ยง จึงทำให้อากาศภายในตู้คอนโทรล, ตู้ไฟฟ้า มีอากาศใหม่ไหลเวียนเข้ามาแทนที่ ซึ่งจะช่วยลดกลิ่นอับและความชื้นเนื่องจากมีการไหลเวียนของอากาศใหม่ที่บริสุทธิ์ และเพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นควรติดตั้ง Thermostat (CMA-001/CMA-002) สำหรับเพื่อตัดต่อการทำงานของพัดลมและยืดอายุการใช้งาน        Roof Fan พัดลมติดหลังคาตู้ สามารถนำมาประยุกต์ไปใช้งานแบบไหนได้บ้าง ยกตัวอย่างเช่น     สำหรับติดตั้งพัดลมบนหลังคาตู้คอนโทรล, ตู้คอนโทรล ที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายในตู้ สำหรับติดตั้งระบายอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม, อาคารต่าง ๆ Exhaust Radial Fans Roof Fans Cabinet Filter Fan Filter Fans Digital Thermostat โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
มิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter) และมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) มีหลักการทำงานอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      มิเตอร์ (Meter) ในความหมายทั่วไป คือ ตัวแสดงผลหรือตัวแสดงค่าต่าง ๆ ให้เราได้ทราบค่าถึงปริมาณสิ่งของต่าง ๆ เช่น ระดับน้ำ (Water Level), แรงดันไฟฟ้า (Voltage), กระแสไฟฟ้า (Current), สัญญาณอนาล็อก 4-20mA, 0-10VDC, RPM, Frequency หรือค่าอื่น ๆ มิเตอร์รุ่นเก่า ๆ ส่วนใหญ่เราจะเห็นมิเตอร์ (Meter) แสดงผลในรูปแบบเข็มและมีสเกลของมิเตอร์เพื่อใช้ในการอ่านค่า ข้อเสียของมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter) คือ การอ่านค่าของแต่ละคนนั้นมักจะอ่านค่าไม่เท่ากัน เนื่องจากอาจเกิดความผิดพลาดจากการอ่าน ซึ่งส่งผลให้ค่าที่อ่านเกิดความผิดพลาดได้ โดยทั่วไปหลักการทำงานของมิเตอร์แบบเข็ม (Analog Meter) จะใช้หลักการของ Moving Coil โดยการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดเคลื่อนที่ (Moving Coil) ซึ่งเข็มของมิเตอร์จะเปลี่ยนแปลงมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสที่ไหลผ่านขดลวด ดังรูป   Analog Volt Meter Analog Amp Meter Watt Meter      และส่วนของมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Meter) จะอาศัยหลักการของการเปลี่ยนแปลงสัญญาณอนาล็อกที่เข้ามาให้เป็นสัญญาณดิจิตอล โดยผ่านตัว A/D Converter แล้วทำการแสดงผลผ่านตัวเลขในรูปแบบ 7-Segment แสดงผลดังรูป   1 Phase Digital Volt Meter 1 Phase Digital Amp Meter 1 Phase Watt Meter 1 Phase Digital Volt-Amp Meter 1 Phase Digital Volt-Amp-Watt Meter Power & Energy Meter Multifunction Meter Wireless 1 Phase Energy Meter Power Meter with Protection Relay Volt  Meter 4-20 mA Digital Indicator 0-10VDC Digital Indicator      ตัวอย่าง Application การใช้งาน Analog Meter และ Digital Meter ในงานอุตสาหกรรม   Oil & Gas Pump Power & Energy Building Automation Food and Beverage Textile Education Packing   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Axial Fans มีกี่แบบ แตกต่างกันอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Axial Fans เป็นพัดลมที่มีส่วนประกอบของครีบใบพัด (Propeller Fins) ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor) โดยตรงบนแกนหมุน ซึ่งครีบใบพัดทั้งหมดจะถูกติดตั้งโดยตรงอยู่บนแกนหมุน (Axial Rotate) และเมื่อแกนกับครีบใบพัดหมุนส่งผลให้อากาศ (Air) ของพัดลมแบบ Axial Fans จะไหลขนานกับแกนของใบพัด และตั้งฉากกับระนาบการหมุนของใบพัด โดยชุดใบพัดจะถูกติดตั้งบนแกนเพลาขับของมอเตอร์ต้นกำลังซึ่งอยู่ภายในตัวพัดลม ทำให้มอเตอร์สามารถระบายความร้อนออกไปกับอากาศที่ถูกขับเคลื่อน ซึ่งพัดลมชนิด Axial Fans จะมีทิศทางลมให้เลือก 2 ทิศทาง คือ 1. ชนิดใบพัดแบบเป่าลม Sent A (ให้ทิศทางลมไปที่หน้าใบพัด) 2. ชนิดใบพัดแบบดูดลม Sent V (ให้ทิศทางลมไปที่ท้ายมอเตอร์) ดังรูป รูปแสดงลักษณะทิศทางลมของพัดลม Axial Fans      พัดลมชนิด Axial Fans หรือเรียกอีกอย่างว่า พัดลมแบบอากาศไหลตามแนวแกน (Axial Flow Fans) เหมาะกับงานระบายอากาศที่มีความต้านทานลมต่ำ มีขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายง่าย (ดังรูป) พัดลมแบบใบพัด (Propeller Fan) ชนิด  Axial Fans        พัดลมแบบใบพัด (Propeller Fan) หรือ พัดลมแบบอากาศไหลตามแนวแกน (Axial Flow Fans) สามารถแบ่งตามประเภท ได้ 2 แบบ คือ      1. พัดลมที่ให้ลมหมุนเป็นเกลียว (Tube Axial Fans) พัดลมแบบอากาศไหลตามแนวแกนชนิดนี้ มีโครงสร้างประกอบด้วยชุดใบพัดซึ่งหมุนอยู่ภายในท่อรูปทรงกระบอก ลมที่ถูกขับเคลื่อนให้ผ่านชุดใบพัดจะหมุนเป็นเกลียว มีลักษณะการไหลแบบปั่นป่วน พัดลมชนิดนี้ให้ค่าความดันลมปานกลาง (ดังรูป) พัดลมที่ให้ลมหมุนเป็นเกลียว (Tube Axial Fans)        2. พัดลมที่ให้ลมในแนวเส้นตรง (Vane Axial Fans) พัดลมแบบอากาศไหลตามแนวแกนชนิดนี้ จะมีแผ่นครีบเพื่อใช้ในการบังคับการไหลของอากาศที่ถูกขับเคลื่อน ติดตั้งอยู่ภายในตัวของพัดลมบริเวณท่อทางออกด้านหลังของชุดใบพัด เพื่อช่วยให้การไหลของอากาศที่ถูกขับเคลื่อนมีทิศทางเป็นเส้นตรงมากที่สุด ซึ่งจะช่วยลดลักษณะการไหลของอากาศปั่นป่วนลดลงและลดพลังงานสูญเสียเนื่องจากการไหลของอากาศปั่นป่วนภายในระบบให้น้อยลง ทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานและราคาสูงกว่าพัดลมชนิด Tube Axial Fans (ดังรูป) พัดลมที่ให้ลมในแนวเส้นตรง (Vane Axial Fans)      จากที่เราได้ทราบประเภทของ Axial Fans พัดลมแบบที่ให้ลมหมุนเป็นเกลียว (Tube Axial Fans) และพัดลมที่ให้ลมในแนวเส้นตรง (Vane Axial Fans) ทั้ง 2 แบบกันไปแล้วนั้น และพัดลม Axial Fans ทั้ง 2 แบบ มีความแตกต่างกันอย่างไร อธิบายได้ดังนี้   ความแตกต่างของ Axial Fans พัดลมที่ให้ลมหมุนเป็นเกลียว (Tube Axial Fans) พัดลมที่ให้ลมในแนวเส้นตรง (Vane Axial Fans) • ลักษณะการไหลของทิศทางลมแบบปั่นป่วน • ค่าความดันลมปานกลาง • ราคาถูกกว่าพัดลมชนิด Vane Axial Fans                                             • มีทิศทางลมเป็นเส้นตรง ช่วยลดลักษณะการไหลของอากาศปั่นป่วนลดลง • ลดพลังงานสูญเสียเนื่องจากการไหลของอากาศปั่นป่วนภายในระบบน้อยลง • ราคาสูงกว่าพัดลมชนิด Tube Axial Fans      นอกจากนี้ยังมีพัดลมหลายชนิดที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมโรงเหล็ก, โกดัง, ฟาร์ม เป็นต้น เช่น พัดลมโบลเวอร์ (Blower), พัดลมแบบหมุนเหวี่ยง (Centrifugal), พัดลมแบบ Cross Flow Fan และในการติดตั้งพัดลมควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อม เช่น การเลือกแรงลมที่เหมาะสม ตำแหน่งในการติดตั้ง เพื่อให้การทำงานของพัดลมระบายอากาศมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อุตสาหกรรมผลิตเหล็ก โกดังสินค้า   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Temperature Controller กับ Thermostat ลักษณะการใช้งานต่างกันอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิในงานอุตสาหกรรมมีด้วยกันหลากหลายประเภท แต่ละประเภทก็จะเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เช่น Temperature Controller และ Thermostat  ทั้งสองนี้คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิตามที่เราต้องการ ซึ่งหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึง Temperature Controller กับ Thermostat ลักษณะการใช้งานต่างกันอย่างไร?        Temperature Controller คือ เครื่องควบคุมอุณหภูมิ และ Process ต่าง ๆ แบ่งเป็นแบบ Analog Temperature Controller และ Digital Temperature Controller ที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลสัญญาณอินพุตจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple, RTD, NTC/PTC) หรือสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (4-20mA, 0-10VDC) และทำการสั่งงานเอาต์พุต (Relay, SSR, 4-20mA, 0-10VDC) เพื่อไปควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Heater, Solid State Relay, Motor, Vale, Pump Water เป็นต้น ตามเงื่อนไขที่ทำการตั้งค่าไว้ โดยกระบวนการควบคุมนั้นมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ เช่น ON-OFF Control, PID Control, Fuzzy Logic Control เป็นต้น   CMA-Series Analog Temperature Controller TMP-Series Digital Temperature Controller TTM-00W-Series Digital Temperature Controller      โดยการทำงานของ Temperature Controller ขอยกตัวอย่างดังรูปคือจะมีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple, RTD, NTC/PTC) ทำหน้าที่วัดอุณหภูมิส่งมาที่ Temperature Controller เพื่อทำการประมวลผลตามค่าที่ตั้งไว้ หากอุณหภูมิไม่ได้ตามที่ตั้งไว้ Temperature Controller จะจ่ายแรงดันไปให้ฮีตเตอร์ (Heater) เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้ได้ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ ตัวอย่างการทำงานของ Temperature Controller ควบคุมอุณหภูมิในเตาอบให้ได้อุณหภูมิตามที่ต้องการ        เทอร์โมสตัท (Thermostat) คือ อุปกรณ์สำหรับควบคุมอุณหภูมิภายในตู้ไฟฟ้า, เตาอบ, โรงเรือนเพาะชำ, ตู้ฟักไข่ เป็นต้น มีทั้งแบบ Analog Thermostat, Digital Thermostat และ Digital Hygrostat and Thermostat Controller (วัดอุณหภูมิและความชื้นในตัวเดียวกัน) โดยรับสัญญาณอินพุตจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิประเภท PTC ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์ที่เหมาะกับการควบคุมอุณหภูมิย่านต่ำ ๆ โดย Thermostat จะมีรุ่นที่มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิในตัว (Internal Input) และสามารถต่อเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิจากภายนอก (External Input) โดยรูปแบบการ Control เป็นแบบ ON-OFF (Cool/Heat) สามารถตั้งค่า Set Point อุณหภูมิโดยมีย่านเท่ากับ 0-80 ํC และความชื้นเท่ากับ 0-100% RH เพื่อควบคุมการสั่งงานของเอาต์พุต (Relay) ไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น พัดลม 2 ตัว ที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนภายในตู้คอนโทรลเพื่อสลับการทำงานของพัดลม ทำให้ยืดอายุการทำงานของพัดลมไม่ให้ทำงานหนักจนเกินไป เป็นต้น   CMA-001                     Analog Thermostat                     CMA-002                     Digital Thermostat                     CMA-004 Digital Hygrostat and Thermostat Controller ตัวอย่างการติดตั้งของ Thermostat      จากที่เราได้ทราบประเภทของ Temperature Controller กับ Thermostat ทั้ง 2 แบบนั้น เราจะมาอธิบายลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้        ลักษณะการใช้งานต่างกันของ Temperature Controller กับ Thermostat   เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) เทอร์โมสตัท (Thermostat) • เหมาะกับการควบคุมอุณหภูมิที่ติดลบจนถึงอุณหภูมิที่สูง • แบบ Digital Temperature Controller มี 7-Segment 2 แถว แสดงค่าอุณหภูมิที่วัดได้ และค่า Set Point ที่ตั้งไว้ • ไม่มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิในตัว (ทำให้ต้องหาซื้อเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิเพิ่ม) • เซ็นเซอร์ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นระหว่างหัววัดอุณหภูมิหรือสัญญาณที่เป็น 4-20 mA • มีรูปแบบการ Control ที่หลากหลาย เช่น ON-OFF Control, PID Control, Fuzzy Logic Control • การตั้งค่า Set Point ซับซ้อน เนื่องจากเหมาะกับงานที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิที่มีความแม่นยำและละเอียดสูง • Output มีให้เลือกแบบ Relay, SSR, 4-20mA, 0-10VDC • การติดตั้งแบบ Panel • เหมาะกับการควบคุมอุณหภูมิที่ย่านต่ำ 0-80% • แบบ Digital Thermostat มี 7-Segment 1 แถว สำหรับแสดงค่าอุณหภูมิที่วัดได้ • มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิในตัว และสามารถต่อเซ็นเซอร์จากภายนอกได้ • มีรุ่นที่วัดอุณหภูมิและความชื้นในตัวเดียวกัน • รูปแบบการ Control แบบ ON-OFF (Heat/Cool) • การตั้งค่า Set Point ไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย • Output แบบ Relay • การติดตั้งแบบ Din Rial        ตัวอย่าง Application การใช้งานกลุ่มเครื่องควบคุมอุณหภูมิในงานอุตสาหกรรม   อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ตู้ Server ตู้ไฟฟ้า, ตู้สวิทช์บอร์ด Analog Temperature Controller Digital Temperature Controller Single Phase Solid State Relay Analog Thermostat Digital Thermostat   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Solid State Relay มีแบบใดบ้าง?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      โซลิดสเตตรีเลย์ (Solid State Relay : SSR) เป็นสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ (เทคโนโลยีของ Semiconductor) ที่ไม่ใช้หน้าสัมผัสในการตัดต่อวงจรเหมือนรีเลย์ธรรมดาทั่วไป ทำให้ไม่มีส่วนเคลื่อนที่ จึงลดเสียงรบกวนเวลาตัดต่อและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่ารีเลย์ทั่วไป ซึ่ง Solid State Relay มีข้อดีอย่างไร จากที่เราเคยได้นำเสนอกันไปแล้วนั้นในหัวข้อ Solid State Relay ดีกว่า Relay ทั่วไปอย่างไร และในหัวข้อนี้เราจะมานำเสนอหัวข้อ Solid State Relay มีแบบใดบ้าง? โดยแบ่งได้ตามประเภท ดังนี้        ประเภทของโซลิดสเตตรีเลย์ (Solid State Relay : SSR)   Single Phase Solid State Relay (โซลิดสเตตรีเลย์ แบบ 1 เฟส) Three Phase Solid State Relay (โซลิดสเตตรีเลย์ แบบ 3 เฟส) • Single Phase Solid State Relay เป็นโซลิดสเตตรีเลย์ แบบ 1 เฟส ภายในจะประกอบด้วย Semiconductor ไม่มีหน้าคอนแทค จึงทำให้ไม่มีการ Arc เหมาะกับงานที่มีการ ON/OFF บ่อย ๆ ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน   • Three Phase Solid State Relay เป็นโซลิดสเตตรีเลย์ แบบ 3 เฟส เมื่อมีสัญญาณ Input ตามย่านของแรงดันควบคุม Output จะทำงานพร้อมกันทั้ง 3 เฟส ภายในจะประกอบด้วย Semiconductor ไม่มีหน้าคอนแทค จึงทำให้ไม่มีการ Arc เหมาะกับงานที่มีการ ON/OFF บ่อย ๆ ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน Two Phase Solid State Relay (โซลิดสเตตรีเลย์แบบ 2 เฟส) Phase Angle Solid State Relay (โซลิดสเตตรีเลย์ปรับค่าได้) • Two-Phase Solid State Relay เป็นโซลิตสเตตรีเลย์แบบ 2 เฟส สำหรับใช้งานแบบคอนโทรล 2 เอาต์พุตในตัวเดียวกัน สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานแบบ 3 เฟสได้   • Phase Angle Solid State Relay เป็นโซลิดสเตตรีเลย์แบบปรับค่าเร่ง-หรี่ได้ตามสัญญาณอินพุตที่เข้ามา เช่น สัญญาณ 4-20mA หรือ R ปรับค่าได้ (R-Volume) ใช้กับงานควบคุม เช่น ความสว่างของหลอดไฟหรือความร้อนของฮีตเตอร์ เป็นต้น DC Solid State Relay / Slim Solid State Relay with Heat Sink Solid State Relay for PCB / Solid State Relay for DIN Rail • DC Solid State Relay ออกแบบมาเพื่อใช้งานสำหรับแรงดันไฟ DC เท่านั้น เหมาะกับงานที่ใช้กับโหลดไม่สูงมากนัก ในรุ่น SCC และ รุ่น SUM/SIM (Slim Solid State Relay) เหมาะกับงานที่มีพื้นที่จำกัด และมี Heat Sink เพื่อระบายความร้อนในตัว • Solid State Relay for PCB/Din Rail สำหรับติดตั้งลงบนแผ่นวงจร PCB ในรุ่น SKA/SKB และรุ่น XKAโซลิดสเตตรีเลย์ที่มี Socket ในตัว สามารถติดตั้งบนราง DIN Rail ได้เลย        จากที่เราได้ทราบประเภทของ Solid State Relay เพื่อการเลือกนำมาใช้งานได้อย่างเหมาะสมและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ Solid State Relay ให้ดียิ่งขึ้น ควรติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์ระบายความร้อน (Heat Sink) เพิ่มด้วย โดยสามารถนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) สำหรับควบคุมการทำงานของฮีตเตอร์ (Heater) ในงานต่าง ๆ เช่น เครื่องฉีดพลาสติก, เครื่องเพ็คกิ้งหรือในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น      ตัวอย่าง Application ในงานต่าง ๆ   เครื่องบรรจุภัณฑ์ ตู้อบอาหาร ตู้อบอาหาร เครื่องชงกาแฟ เครื่องบรรจุเม็ดยา เครื่อง Chiller Single Phase Solid State Relay Three Phase Solid State Relay  Phase Angle Solid State Relay Phase Angle Solid State Relay Solid State Relay CELDUC โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ถ้าต้องการวัด RPM ของ Motor ทำอย่างไรได้บ้าง?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เครื่องวัดความเร็วรอบ (Tachometer) หรือ RPM Meter เป็นอุปกรณ์วัดความเร็ว (Speed) ในการเคลื่อนที่ของวัตถุ ส่วนใหญ่จะประยุกต์ใช้งานในการวัดความเร็วรอบของเครื่องจักร เช่น เพลาของล้อรถยนต์, ความเร็วของมอเตอร์ เป็นต้น โดยหน่วยของ Tachometer มีหน่วยเป็น รอบต่อนาที RPM (Revolutions Per Minute) ซึ่งในที่นี้เราจะมาพูดถึงเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ไปใช้ในการวัดความเร็วในการหมุน (Rotation Speed), แกนเพลาของมอเตอร์ (Motor Shaft) ในขณะที่มอเตอร์ทำงานว่าหมุนด้วยความเร็วเท่าไหร่ในหนึ่งรอบต่อนาที (RPM) ซึ่งความเร็วรอบของมอเตอร์ไฟฟ้านั้น มีความสำคัญต่อการเลือกมอเตอร์ (Motor) หรือเปลี่ยนมอเตอร์ (Motor) เพราะหากเลือกมอเตอร์ที่มีความเร็วรอบ (RPM) ไม่ตรงตามความต้องการในการนำไปใช้งานจะทำให้ไม่สามารถทำงานได้ตามลักษณะงานที่เราต้องการได้ โดย Tachometer มีรูปแบบของการแสดงค่าความเร็วรอบ (RPM) ทั้งแบบ Analog Tachometer และแบบ Digital Tachometer (ดังรูป)        ชนิดของเครื่องแสดงผลการวัดความเร็วรอบ (Tachometer) Analog Tachometer แบบหน้าปัดเข็มอนาล็อกสำหรับอ่านค่าอย่างเดียว ไม่สามารถคำนวณค่าหรือบันทึกค่าได้ Digital Tachometer (CM-001) แสดงผลแบบดิจิตอลในรูปแบบตัวเลข LCD หรือ LED เป็นต้น สามารถคำนวณผลและบันทึกค่าได้      ถ้าต้องการวัดความเร็วรอบ (RPM) ของ Motor จะทำอย่างไรได้บ้าง? ในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำกัน โดยแบ่งตามประเภทของเครื่องวัดความเร็วรอบ (Tachometer) ได้ 2 ประเภท ดังนี้      1. ประเภทของการวัดความเร็วรอบแบบสัมผัส (Contact Tachometer) จะใช้ในการวัดรอบต่อนาที (RPM) โดยการสัมผัสโดยตรงกับเพลาหมุน หรือเครื่องมือวัดกับแกนเพลาของมอเตอร์ (Motor Shaft) และสร้างสัญญาณพัลส์ (Pluse) โดยแสดงค่าที่เครื่องวัดความเร็ว (Speed) และเปลี่ยนเป็นรอบต่อนาที (RPM)  (ดังรูป 1.1) รูป 1.1 แสดงการวัดความเร็วรอบ (RPM) ของแกนมอเตอร์ของเครื่องวัดความเร็วรอบแบบสัมผัส (Contact Tachometer)        2. ประเภทของการวัดความเร็วรอบแบบไม่สัมผัส (Non Contact Tachometer) จะเป็นการวัดความเร็วรอบแบบไม่สัมผัสโดยตรงกับเพลาหมุนของมอเตอร์ (Motor Shaft) ในการวัดรอบต่อนาที (RPM) โดยใช้แสง Infrared หรือ Laser ในการยิงไปที่แกนเพลา (Shaft) ของมอเตอร์ และแสดงค่าออกมา (ดังรูป 1.2) รูป 1.2 แสดงการวัดความเร็วรอบ (RPM) ของแกนมอเตอร์ของเครื่องวัดความเร็วรอบแบบไม่สัมผัส (Non Contact Tachometer)        การประยุกต์ใช้งานเครื่องวัดความเร็วรอบ (Tachometer)        ตัวอย่าง : การใช้ Tachometer รุ่น CM-001 ที่รับสัญญาณพัลส์ (Pulse) จากพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ (Proximity Sensor) ในการวัดค่าความเร็วรอบต่อนาที (RPM) ของมอเตอร์สายพานลำเลียง รูปแสดงตัวอย่างการใช้ Tachometer รุ่น CM-001 ร่วมกับพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ (Proximity Sensor) ในการวัดค่าความเร็วรอบต่อนาที (RPM) ของมอเตอร์สายพานลำเลียง        ตัวอย่าง : การวัดความเร็วรอบโดยใช้ Digital Indicator รุ่น CM-004N (Input 4-20mA) เพื่อแสดงความเร็วรอบ 0-1500 RPM รูปแสดงตัวอย่างการใช้ Tachometer เพื่อรับสัญญาณ 4-20mA จาก  Inverter ในการวัดและแสดงค่าความเร็วรอบต่อนาทีของมอเตอร์สายพานลำเลียง        การต่อวงจรการใช้งานของ Tachometer รุ่น CM-001   Proximity Switch Photoelectric Sensor  Digital Indicator Tachometer (RPL & Line Speed) Digital Frequency Meters With Alarm โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
6 คำถามที่ควรถามก่อนเลือกใช้ RTD/PT100/PT1000/PT500

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK • RTD หรือ PT100 แบบ 2 สาย • RTD หรือ PT100 แบบหัวกะโหลก 3 Terminal • RTD หรือ PT100 แบบ 4 สาย      RTD หรือ PT100 คือ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิน้ำ, น้ำมัน, อากาศ เป็นต้น โดยลักษณะงานส่วนใหญ่ของ RTD หรือ PT100 จะใช้วัดอุณหภูมิในงานที่มีอุณหภูมิย่านต่ำ ๆ ตั้งแต่ -200 ถึง 600 ํC กรณีที่เราต้องการวัดอุณหภูมิที่สูงกว่า 600 ํC เราจะต้องใช้ Thermocouple เช่น Thermocouple Type K หรือ Type J แต่กรณีที่งานอุณหภูมิสูง ๆ ประมาณ 1500 ถึง 1600 ํC จะนิยมใช้ Thermocouple Type R หรือ Type S โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงคำถามที่ควรถามก่อนเลือกใช้ RTD หรือ PT100 ว่ามีอะไรบ้าง?         1. ชนิดของ RTD เป็นแบบไหน? (PT100, PT1000, PT500) / Class อะไร? (Class A, Class B)         2. ลักษณะการติดตั้งเป็นแบบเกลียวหรือหน้าแปลน?         3. การติดตั้งแบบเกลียว เกลียวขนาดเท่าไหร่? และการติดตั้งแบบหน้าแปลน หน้าแปลนขนาดเท่าไหร่?         4. ความยาวของแกน RTD เท่ากับเท่าไหร่? เพื่อให้มีความยาวเพียงพอในการวัดอุณหภูมิ         5. วัสดุที่ใช้เป็นแบบไหน? เช่น SUS304 (สแตนเลส 304), SUS316 (สแตนเลส 316), (กรณีวัดอุณหภูมิงานที่มีสารเคมีวัสดุต้องเคลือบเทปล่อน)         6. การต่อสายใช้แบบออกสาย (ชนิดของสายอะไร? เช่น สแตนเลสถัก, ซิลิโคน, ไฟเบอร์กลาส, พีวีซี, เทปล่อน, เทปล่อนหุ้มชีลด์) หรือแบบหัวกะโหลก (ชนิดของหัวกะโหลกอะไร? เช่น อะลูมิเนียม, อะลูมิเนียมหัวกะโหลกใหญ่, อะลูมิเนียมหัวกะโหลกเล็ก, สแตนเลสหัวกะโหลกใหญ่ Explosion Proof, แบ็กกาไลท์, แบ็กกาไลท์หัวกะโหลกใหญ่, สแตนเลส, สแตนเลสหัวกะโหลกใหญ่)      ยกตัวอย่างการสั่งซื้อของ RTD แบบหัวกะโหลก    RTD Thermocouple NTC/PTC Digital Temperature Controller PID Control Function โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การควบคุมปั๊มน้ำ (Water Pump) แบบ Transfer Pump กับ Booster Pump ต่างกันอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ทรานเฟอร์ปั๊ม (Transfer Pump) คือ ระบบการสูบน้ำจากต้นทางไปยังปลายทาง (แบบเปิด) หรือจากถังน้ำด้านล่างส่งไปที่ถังน้ำด้านบน และใช้หลักการแรงโน้มถ่วงเพื่อไปจ่ายในระบบ เหมาะสำหรับตึก, อาคารสูง โดยใช้ก้านอิเล็กโทรด, ลูกลอย (Float) หรือ Level Control เป็นต้น ในการควบคุมการทำงานนิยมใช้ปั๊ม 2 ตัว (Twin Pump) โดยมีฟังก์ชั่นสลับการทำงานของปั๊ม (Pump) เพื่อไม่ให้ปั๊มทำงานหนักจนเกินไป และฟังก์ชั่นเสริมปั๊มตัวที่ 2 เพื่อให้น้ำในถังด้านบนเพียงพอต่อการใช้งานในกรณีที่มีการใช้น้ำจำนวนมาก ๆ  และในกรณีมีปั๊มตัวใดตัวหนึ่งเสียก็สามารถใช้ปั๊มตัวที่เหลือทำงานแทนได้ (ดังรูป)      บูสเตอร์ปั๊ม (Booster Pump) หรือ ปั๊มน้ำเสริมแรงดัน คือ ระบบเพิ่มแรงดัน (แบบปิด) และรักษาระดับแรงดันน้ำในท่อ โดยใช้ถังแรงดันเป็นตัวช่วยทำให้แรงดันน้ำในระบบมีความสม่ำเสมอ โดยอาศัยการทำงานของ Pressure Switch ช่วยในการตัดต่อสั่งงาน (Start) และหยุดการทำงาน (Stop) บูสเตอร์ปั๊ม (Booster Pump) จะประกอบด้วยปั๊มน้ำ 2 ตัวขึ้นไป ทำงานแบบสลับและเสริมแรงดันอีกตัวหนึ่งเพื่อให้แรงดันตามความต้องการของการใช้งาน (ดังรูป) สรุปข้อแตกต่างระหว่าง การควบคุมปั๊มน้ำแบบ Transfer Pump กับ การควบคุมปั๊มน้ำแบบ Booster Pump การควบคุมปั๊มน้ำ (Water Pump) แบบ Transfer Pump การควบคุมปั๊มน้ำ (Water Pump) แบบ Booster Pump 1. ควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำด้วยความต่างระดับของระดับน้ำ 1. ควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำดัวยระดับแรงดันน้ำในระบบท่อ 2. ใช้เซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ เช่น ก้านอิเล็กโทรด, ลูกลอย, Flow Switch     หรือ Level Control เป็นต้น 2. ใช้เซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ เช่น Pressure Switch เป็นต้น        ซึ่งการควบคุมปั๊มน้ำแบบ Transfer Pump และการควบคุมปั๊มน้ำแบบ Booster Pump นิยมใช้งานอาคารสูง, อพาร์ทเม้นท์, คอนโดมิเนียม, โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยปกติอาคารที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 5 ชั้นขึ้นไป และในแต่ละชั้นมีจุดใช้น้ำจำนวนมากมักมีความจำเป็นที่ต้องใช้ชุดปั๊มน้ำเสริมแรงดัน (Booster Pump) ทั้ง 2 ชุดประกอบกัน โดยจะใช้ Transfer Pump ในการส่งหรือเติมน้ำขึ้นไปเก็บบนชั้นดาดฟ้าที่มีถังเก็บน้ำรองรับอยู่ จากนั้นก็ใช้  Booster Pump ในการกระจายน้ำสู่ห้องต่าง ๆ ภายในอาคาร น้ำที่ไปใช้ในอาคารจะมีความแรงของน้ำที่คงที่สม่ำเสมอ SINGLE PUMP CONTROLLER TWIN PUMP CONTROLLER  SINGLE PUMP RELAY TWIN PUMP RELAY LEVEL CONTROL FOR CONDUCTIVE LIQUIDS โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การตั้งค่า Alarm Function ของ Temperature Controller มีแบบใดบ้าง?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Temperature Controller คือ เครื่องควบคุมอุณหภูมิในงานอุตสาหกรรม เราจะเห็นได้ว่าการควบคุมอุณหภูมิของกระบวนการผลิตมีความสำคัญเพราะเกี่ยวข้องกับคุณภาพของสินค้า บทความที่ผ่านมาเราได้นำเสนอเกี่ยวกับการควบคุม PID Control กับ ON-OFF Control ต่างกันอย่างไร? วันนี้ทางเราจะมาอธิบายถึง Alarm Function ของ Temperature Controller ที่มีคนชอบถามกันบ่อยว่ามีแบบไหนบ้าง เรามาทำความรู้จักกัน        Alarm Function ใน Temperature Controller หรือในบางครั้งเรียกว่า Event Output ในการใช้งานของ Alarm Function ของ Temperature Controller นั้น ต้องมีการตั้งค่า Function ของ Alarm ก่อน โดยปกติแล้วจะมี 2 แบบ คือ แบบ Deviation Alarm และแบบ Absolute Alarm ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้ คือ      1. แบบ Deviation Alarm เป็นการตั้งค่า Alarm แบบค่าที่ตั้งนั้นเปลี่ยนแปลงตาม Setpoint (Deviation Alarm) คือ เมื่อเราตั้งค่า Setpoint ของ Temperature Controller ไว้ที่ 100 ํC  และตั้งค่า Alarm High = 5 และ Alarm Low = 10 ค่าของ Alarm High = 100+5 = 105 และค่าของ Alarm Low = 100-10 = 90 , หากมีการเปลี่ยนแปลงค่า Setpoint ของ Temperature Controller จาก 100 เป็น 90 ค่าของ Alarm ก็จะเปลี่ยนแปลงด้วยเป็น 90+5 = 95 และ 90-10 = 80 แทน      2. แบบ Absolute Alarm เป็นการตั้งค่า Alarm แบบที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับ Setpoint เช่น ถ้าต้องการตั้ง Alarm High = 105 และ Alarm Low = 90 ก็สามารถตั้งค่าตามค่าที่ต้องการได้เลย        Alarm Function ของ Temperature Controller มี 8 Function ดังนี้         1. Deviation High and Low Limit คือ การตั้งค่า Alarm แบบเปลี่ยนแปลงตาม Setpoint ทางด้าน High และด้าน Low โดย Setpoint = 100, High Limit = 5, Low Limit = 10 ค่า Setpoint ด้าน High = 105 และค่า Setpoint ด้าน Low = 90         2. Deviation High Limit คือ การตั้งค่า Alarm แบบเปลี่ยนแปลงตาม Setpoint ทางด้าน High โดย Setpoint = 100, High Limit = 5 ค่า Setpoint ด้าน High = 105         3. Deviation Low Limit คือ การตั้งค่า Alarm แบบเปลี่ยนแปลงตาม Setpoint ทางด้าน Low โดย Setpoint = 100, Low Limit = 10 ค่า Setpoint ด้าน Low = 90         4. Deviation High and Low Limit Range คือ การตั้งค่า Alarm แบบเปลี่ยนแปลงตาม Setpoint และค่า Alarm จะทำงานเฉพาะในช่วงของการ Alarm ที่ตั้งไว้ โดย Setpoint = 100, Low Limit = 10, High Limit = 5 ค่า Setpoint ด้าน High = 105 และค่า Setpoint ด้าน Low = 90         5. Absolute Valve High and Low Limit คือ การตั้งค่า Alarm แบบไม่ขึ้นกับค่า Setpoint ทางด้าน High และด้าน Low โดย Setpoint = 100, Low Limit = 90, High Limit = 105         6. Absolute Valve High Limit คือ การตั้งค่า Alarm แบบไม่ขึ้นกับค่า Setpoint ทางด้าน High โดย Setpoint = 100, High Limit = 105         7. Absolute Valve Low Limit คือ การตั้งค่า Alarm แบบไม่ขึ้นกับค่า Setpoint ทางด้าน Low โดย Setpoint = 100, Low Limit  = 90         8. Absolute Valve High and Low Limit Range คือ การตั้งค่า Alarm แบบไม่ขึ้นกับค่า Setpoint ทางด้าน High และด้าน Low และค่า Alarm จะทำงานเฉพาะในช่วงของค่า Alarm ที่ตั้งไว้ โดย Setpoint = 100, Low Limit  = 90, High Limit = 105   Digital Temperature Controller Programmable Process Controller Digital Temperature Controller Digital Temperature Controller PID Control Function Analog Temperature Controller โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
แอร์ตู้คอนโทรล vs แอร์บ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      แอร์ตู้คอนโทรล (Air Conditioner for Control Boxs) กับ แอร์บ้าน (House Air Conditioner) คำถามนี้เป็นคำถามที่ผู้ใช้งานถามถึงกันอยู่บ่อย ๆ บางครั้งก็ถามว่าทำไมต้องใช้แอร์ตู้คอนโทรลติดตั้งกับเครื่อง CNC (แอร์ตู้ CNC), ใช้แอร์ตู้คอนโทรลติดตั้งกับตู้เซิร์ฟเวอร์ (Air Conditioner for Server) หรือใช้แอร์ตู้คอนโทรลติดตั้งกับตู้ที่มีบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายใน จึงมีข้อสงสัยว่าใช้แอร์บ้านได้หรือไม่  มีข้อดีและหลักการทำงานต่างจากแอร์บ้านอย่างไร ในหัวข้อนี้เราจะมายกตัวอย่างการทำงานของแอร์ตู้คอนโทรลและแอร์บ้านเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นดังนี้   หลักการทำงานของแอร์ตู้คอนโทรล (Air Conditioner for Control Boxs) หลักการทำงานของแอร์บ้าน (House Air Conditioner)      การทำงานของแอร์ตู้คอนโทรล (Air Conditioner for Control Boxs) ภายในของแอร์นั้นจะมีคอยล์ร้อน (Condensing Unit) และคอยล์เย็น (Evaporator) อยู่ด้วยกัน สามารถยึดติดตั้งได้เลย        การทำงานของแอร์บ้าน (House Air Conditioner) จากรูปจะเห็นได้ว่า คอยล์ร้อน (Condensing Unit) และคอยล์เย็น (Evaporator) เป็นแบบแยกส่วนกัน ดังนั้นเวลาติดตั้งแอร์ต้องติดตั้งทั้งด้านคอยล์ร้อนและคอยล์เย็นทำให้เสียเวลาในการติดตั้ง อีกทั้งแอร์บ้านก็ไม่ได้ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับการติดตั้งภายในตู้คอนโทรล (Air Conditioner for Control Boxs) อีกด้วย ข้อดี • ติดตั้งง่ายกว่าการติดตั้งแอร์บ้าน เนื่องจากแค่เจาะตู้ช่องลมเย็นก็สามารถติดตั้งได้เลย • สามารถเลือกใช้ BTU ที่เหมาะสมกับตู้คอนโทรลได้ ทำให้ประหยัดค่าไฟกว่า • ไม่ต้องสร้างห้องครอบเครื่องจักร สามารถติดตั้งได้เลย ข้อดี • มีรูปแบบที่ทันสมัย ทำงานเงียบ เหมาะกับการใช้ในบ้านเรือน • สามารถเลือกใช้ BTU ที่เหมาะสมกับขนาดภายในห้อง แต่สำหรับตู้คอนโทรลไม่จำเป็นต้องใช้ BTU ที่สูง เพราะตู้คอนโทรลมีขนาดเล็กกว่าห้องทั่วไปเยอะ        ดังนั้นในการติดตั้งแอร์ตู้คอนโทรล (Air Conditioner for Control Boxes) หรือแอร์บ้าน (House Air Conditioner) นั้น ควรเลือกให้เหมาะสมในการใช้งานเพื่อประโยชน์ในการใช้งาน  ซึ่งนอกจากการทำความเย็นแล้วยังช่วยควบคุมความชื้นภายในตู้คอนโทรล สำหรับยืดอายุการใช้งานยาวนานขึ้นของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย Air Conditioner for Control Boxes Cabinet Filter Fan Filter Fans  Exhaust Radial Fans Thermostat โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
วิธีการตรวจสอบเอาท์พุตของ Proximity และ Photo Sensor ว่าเป็น NPN หรือ PNP

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Photoelectric Sensor คือ เซ็นเซอร์ใช้ในการตรวจจับวัตถุแบบไม่สัมผัส โดยใช้หลักการของแสง ซึ่งภายในตัวของเซ็นเซอร์นั้นจะมีตัวส่งหรือตัวกำเนิดแสง (Emitter) และตัวรับแสง เรียกว่า (Receiver) โดยที่ Photoelectric Sensor จะทำงานก็ต่อเมื่อตัวรับแสงเรียกว่า (Receiver) ได้รับปริมาณแสงตามที่ตั้งไว้ เอาท์พุต (Output) ก็จะทำงาน        Proximity Sensor คือ เซ็นเซอร์ใช้ในการตรวจจับวัตถุแบบไม่สัมผัสเช่นกัน แต่ใช้หลักการการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก เมื่อมีวัตถุมาใกล้เซ็นเซอร์ เอาท์พุต (Output) ก็จะทำงาน ซึ่งทั้ง Proximity Sensor และ Photoelectric Sensor มีเอาท์พุต (Output) หลากหลายแบบ เช่น DC 2 สาย, AC  2 สาย, NPN 3 สาย/4 สาย, PNP 3 สาย/4 สาย และ Relay แต่เอาท์พุตที่เรามักสับสนกันบ่อยและอาจจะยังไม่เคยทราบวิธีในการตรวจเช็คว่าเอาท์พุต (Output) ของ Proximity Sensor และ Photoelectric Sensor นั้นเป็นแบบไหน วันนี้เราจะมาแนะนำ "วิธีการตรวจสอบเอาท์พุตของ Proximity Sensor และ Photoelectric Sensor ว่าเอาท์พุตเป็นแบบ NPN หรือ PNP" กัน        ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเอาท์พุต (Output) ของ Proximity Sensor และ Photoelectric Sensor ว่ามีแบบไหนบ้าง ดังนี้        จากที่เราได้ทราบประเภทเอาท์พุต (Output) ของ Proximity Sensor และ Photoelectric Sensor กันไปแล้วนั้น ต่อไปจะเป็นขั้นตอนการตรวจสอบชนิดของเอาท์พุต Sensor ดังนี้      1. เตรียมมิเตอร์ที่วัดแรงดันไฟฟ้า ดี.ซี.ได้  (DC Volt meter)      2. ปรับย่านการวัด DC และ ต่อ Power Supply 24 Vdc เพื่อจ่ายให้กับตัว Proximity หรือ Photo Sensor โดยการต่อตัวอย่างดังรูป        ตัวอย่างลักษณะการต่อใช้งานเพื่อตรวจสอบเอาท์พุตของ Proximity Sensor และ Photoelectric Sensor ว่าเอาท์พุตเป็นแบบ NPN หรือ PNP   รูปแสดงการทดสอบเอาท์พุทของ Photoelectric Sensor แบบ PNP      ในกรณีการทดสอบ Output ของ Photoelectric Sensor แบบเอาท์พุต PNP เราจะใช้วิธีในการทดสอบโดยนำมิเตอร์รุ่น CENTER 110 แล้วทำการตั้งย่านวัดแรงดันไฟฟ้า ดี.ซี. (DC Voltmeter) พร้อมทั้งนำสายสีแดงขั้วบวกของ Multimeter ไปต่อที่สายสีดำของ Output ของ Photoelectric แล้วนำสายสีดำ COM ของ Multimeter ไปต่อที่ขั้ว 0 VDC ของ Switching Power Supply (PM-024S-1.2) หากเมื่อเรานำวัตถุมาบังหน้า Photoelectric Sensor แล้วมิเตอร์แสดงค่าที่ 24 Vdc แสดงว่าเอาท์พุตเป็น PNP   รูปแสดงการทดสอบเอาท์พุตของ Photoelectric Sensor แบบ NPN        ในกรณีการทดสอบเอาท์พุตของ Photoelectric Sensor แบบเอาท์พุต NPN เราจะใช้วิธีในการทดสอบโดยนำมิเตอร์รุ่น CENTER 110 แล้วทำการตั้งย่านวัดแรงดันไฟฟ้า ดี.ซี. (DC Voltmeter) พร้อมทั้งนำสายสีแดงขั้วบวกของ Multimeter ไปต่อที่ขั้ว 24 VDC ของ Switching Power Supply (PM-024S-1.2) แล้วนำสายสีดำ COM ไปต่อที่สายสีดำของ Output ของ Photoelectric หากเมื่อเรานำวัตถุมาบังหน้า Photoelectric Sensor แล้วมิเตอร์แสดงค่าที่ 24 Vdc แสดงว่าเอาท์พุตเป็น NPN Photoelectric sensor Proximity Switch Digital Multimeter Switching Power Supply Switching Power Supply โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ระบบการควบคุม แบบ Close Loop Control กับ Open Loop Control แตกต่างกันอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ระบบควบคุม (Control System) หมายถึง การควบคุมระบบหรือสิ่งที่ผู้ออกแบบต้องการควบคุมให้ได้ค่าผลลัพธ์ในรูปแบบของเอาต์พุต (Output) ที่ต้องการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานของระบบควบคุม ดังนี้         • อินพุต (Input) หมายถึง การนำเข้าสัญญาณที่ต้องการป้อนให้กับระบบรับรู้ ซึ่งอาจแสดงในรูปแบบของสัญญาณต่าง ๆ เช่น Temperature, Humidity, Pressure, Flow Rate, Level, 4-20mA, 0-10VDC เป็นต้น         • ระบบ (System) หมายถึง สิ่งที่ต้องการควบคุมหรือระบบที่ต้องการควบคุม ประกอบด้วยชุดควบคุมกระบวนการ (Process) ซึ่งอาจเป็นเครื่องมืออุปกรณ์หรือเครื่องจักร เป็นต้น         • ระบบควบคุมวงเปิด (Open-Loop Control) หมายถึงระบบควบคุมที่ไม่ได้ใช้สัญญาณจากเอาต์พุต (Output) มาบ่งบอกถึงลักษณะการควบคุม         • ระบบควบคุมวงปิด (Closed-Loop Control) หรือ ระบบป้อนกลับ (Feedback Control) หมายถึง ระบบควบคุมที่ใช้สัญญาณจากเอาต์พุต (Output) มาบ่งบอกหรือคำนวณค่าที่เหมาะสมในการควบคุม         • เอาต์พุต (Output) หมายถึง ผลของการทำงานของระบบที่ผ่านการควบคุม ซึ่งจะแสดงในรูปแบบผลตอบสนองทางกล (Mechanical Response) และผลตอบสนองทางไฟฟ้า (Electrical Response)         • ดีสเทอบลานซ์ (Disturbance) หมายถึง สิ่งรบกวนที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดผลลัพธ์ทางเอาต์พุต (Output) ของระบบเปลี่ยนไป ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสัญญาณรบกวน (Noise Signal) ที่ปนมากับอินพุตระบบ   ประเภทของระบบควบคุม (Control System) สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ      1. ระบบควบคุมแบบเปิด (Open Loop Control System) คือ ระบบที่มีการป้อนอินพุต (Input) ซึ่งอาจอยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า (Electrical Signal) เข้าที่ระบบ (System) และได้สัญญาณออกหรือเอาต์พุต (Output) โดยไม่มีการนำสัญญาณป้อนกลับ (Feedback Signal) มาที่ระบบ (ดังรูปไดอะแกรมที่ 1.1)   รูป 1.1 แสดงไดอะแกรมของระบบควบคุมแบบเปิด (Open Loop Control)   แสดงตัวอย่างการต่อใช้งานระบบการควบคุมแบบ Open Loop Control        Open Loop Control จากภาพ การต่อใช้งานของอุปกรณ์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple) เพื่อวัดอุณหภูมิของฮีตเตอร์ (Heater) ภายในตู้อบโดยใช้โซลิตสเตทรีเลย์ (Solid State Relay) แบบ Phase Angle Controller เพื่อควบคุมการทำงานของฮีตเตอร์ในการควบคุมอุณหภูมิ เพื่อแสดงค่าอุณหภูมิที่จอแสดงผล (Temperature Indicator) โดยให้พนักงานควบคุมเครื่องจักรเป็นคนดูค่าอุณหภูมิที่ตัว Indicator CM-006N ถ้าอุณหภูมิสูงก็ทำการปรับ  R-Volume เพื่อลดอุณหภูมิให้ต่ำ ถ้าอุณหภูมิต่ำไปก็ทำการปรับ R-Volume เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น โดยไม่ได้ใช้ผลของค่าทีวัดได้มาทำการควบคุมอุณหภูมิ แต่ให้ผู้ใช้งานเป็นผู้ตัดสินใจในการปรับเพิ่ม-ลด อุณหภูมิ         2. ระบบควบคุมแบบปิด (Close Loop Control System) คือ ระบบที่มีการป้อนอินพุต (Input) ซึ่งอาจอยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า (Electrical Signal) เข้าที่ระบบ (System) และมีอุปกรณ์เครื่องมือวัด (Measurement) นำสัญญาณเอาต์พุตป้อนกลับสู่ระบบเพื่อเปรียบเทียบกับผลตอบสนองของสัญญาณเอาต์พุต (Output Signal) ที่ต้องการ (ดังรูปไดอะแกรมที่ 2.1)   รูป 2.1 แสดงไดอะแกรมของระบบควบคุมแบบปิด (Close Loop Control)   แสดงตัวอย่างการต่อใช้งานระบบการควบคุมแบบ Close Loop Control        Close Loop Control จากภาพ การต่อใช้งานของอุปกรณ์วัดระดับน้ำแบบต่อเนื่อง (Level Sensor/Level Indicator) เพื่อวัดระดับน้ำและควบคุมระดับน้ำแบบอัตโนมัติ โดย Level Sensor (LP-07-I) ทำการส่งสัญญาณอนาล็อก 4-20mA มาโชว์ค่าอุณหภูมิที่จอแสดงผลแบบบาร์กราฟ Bar Graph Indicator (TIM-95G) เพื่อทำการวัดค่า แสดงค่าและควบคุมค่าระดับน้ำให้ได้ระดับตามที่ต้องการของผู้ใช้งาน โดยระบบที่เป็นการควบคุมแบบปิด (Close Loop Control) จะทำการวัดและประมวลผลและสั่งการควบคุมปั๊มให้ทำการเปิด-ปิด เพื่อควบคุมระดับน้ำตามที่ต้องการได้   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ลักษณะการนำไปใช้งานของ Safety Light Curtain

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Safety Light Curtain เซ็นเซอร์แบบม่านแสง หรือ Area Sensor เป็นเซ็นเซอร์ที่ใช้สำหรับป้องกันอันตรายจากการทำงานของเครื่องจักร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่ดูแลเครื่องจักรในขณะปฏิบัติงาน เช่น โรงงานที่มีเครื่องจักรประเภทเครื่องกลึง, เครื่องเจาะ, เครื่องตัด หรืองานขึ้นรูปเหล็กในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น เนื่องจากเป็นงานลักษณะที่มีพนักงานประจำอยู่ที่เครื่องจักร โดยพนักงานจะต้องทำหน้าที่ใส่ชิ้นส่วน หรืออยู่บริเวณใกล้กับเครื่องจักรนั้น ๆ จึงอาจจะส่งผลให้พนักงานได้รับอันตรายจากเครื่องจักรได้ในกรณีที่เครื่องจักรเกิดการขัดข้อง ดังนั้นในโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีความจำเป็นต้องมีการนำระบบ Safety Light Curtain มาใช้งาน เพื่อการป้องกันและเกิดความปลอดภัย โดยในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำลักษณะการนำไปใช้งานของ Safety Light Curtain กัน        เนื่องจากเซ็นเซอร์ม่านแสง (Safety Light Curtain) จะมีคุณสมบัติและหลักการในการป้องกัน คือ ภายในตัวม่านแสงจะมีตัวโฟโตเซ็นเซอร์ (Photo Sensor) ขนาดเล็กหลาย ๆ ตัวมาต่อเรียงกัน โดยจะยิงลำแสงจากตัวส่ง (Transistor) ไปยังตัวรับ (Receiver) และจะยิงรับ-ส่ง กันทีละคู่เท่านั้น โดยเรียงจากบนลงล่างแล้วเวียนกลับขึ้นมาใหม่เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ด้วยความเร็วที่สูงมากเพื่อความละเอียดสูงสุดของม่านแสง และมีการตรวจเช็คว่าเมื่อตัวส่ง (Transistor) ยิงไปแล้ว ตัวรับ (Receiver) เฉพาะของคู่มันได้รับลำแสงที่ยิงไปหรือไม่ เพื่อเป็นการตรวจเช็คว่าอุปกรณ์ Safety Light Curtain ทำงานได้สมบูรณ์หรือไม่ หากไม่ทำงานตามนี้แสดงว่าอุปกรณ์ Safety Light Curtain มีปัญหา Safety Light Curtain ก็จะมีเอาต์พุตสั่งงานออกไปเพื่อไปใช้ต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่น สำหรับทำการแจ้งเตือนหรือตัดระบบการทำงานของเครื่องจักรนั้นแลย ซึ่งถ้าหากเราใช้งานเครื่องจักรนี้ต่อไปอาจเกิดเหตุอันตรายได้        ลักษณะของเซ็นเซอร์ม่านแสงนิรภัย (Safety Light Curtain) N-Series SMARTSCAN ดังรูป   ระบบความปลอดภัยงานอุตสาหกรรมทั่วไป เหมาะสำหรับติดตั้งบริเวณเครื่องจักรที่มีพื้นที่ที่มีความอันตรายสูง        Safety Light Curtain จะมีคุณสมบัติของแต่ละรุ่นที่แตกต่างกัน เช่น ขนาดของช่องว่างระหว่างลำแสง (Beam) 25 mm. (NB-Series) สำหรับป้องกันนิ้วมือ และ 40 mm. (NA-Series) สำหรับป้องกันร่างกายที่มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่มือคนขึ้นไปเพื่อการนำไปใช้งานอย่างเหมาะสม        ลักษณะการนำไปใช้งานของ Safety Light Curtain / Area Sensor ดังนี้ โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
แอมมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้า DC ทำไมต้องมี R Shunt

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      แอมมิเตอร์ (Ammeter) มิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าตรง (DC Ammeter) เป็นเครื่องวัดไฟฟ้ากระแสตรง DC (Direct Current) ที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าได้หลายย่านการวัด เช่น วัดกระแสไฟฟ้าเป็นไมโครแอมแปร์ (Microampere) เรียกว่า ไมโครแอมมิเตอร์ (Microammeter), ใช้วัดกระแสไฟฟ้าเป็นมิลลิแอมแปร์ (Milliampere) เรียกว่า มิลลิแอมมิเตอร์ (Milliammeter), ใช้วัดกระแสไฟฟ้าเป็นแอมแปร์ (Ampere) เรียกว่า แอมมิเตอร์ (Ammeter) เป็นต้น ซึ่งมิเตอร์วัดไฟฟ้ากระแสตรงมีทั้งแบบเข็ม (Analog Ammeter) และมิเตอร์วัดไฟฟ้ากระแสตรงแบบดิจิตอล (Digital Ammeter) ดังรูป   ไมโครแอมมิเตอร์ (Microammeter) มิลลิแอมปมิเตอร์ (Milliammeter) ดิจิตอลแอมมิเตอร์ (Digital Ammeter)      แอมมิเตอร์ (Ammeter) เป็นเครื่องมือวัดกระแสไฟฟ้า แบ่งออกได้ 2 ชนิดตามลักษณะของกระแสไฟฟ้า คือ แอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current Ammeter) และแอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Ammeter) ซึ่งทั้ง 2 ชนิดจะดัดแปลงจากชุดขดลวดเคลื่อนที่แบบดาร์สันวาล (D’Arsonval Moving Coil) ใช้สําหรับวัดปริมาณกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และกระแสไฟฟ้าสลับ (AC) เนื่องจากภายในพันลวดตัวนําขนาดเล็กจึงเกิดค่าความต้านทานขึ้น เรียกว่า ความต้านทานขดลวด (Moving Coil Resistance) และค่ากระแสไฟฟ้าที่ทําให้เข็มของมิเตอร์บ่ายเบนไปจนเต็มสเกล เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเต็มสเกล (Full Scale Current) ซึ่งค่ากระแสไฟฟ้านี้จะมีปริมาณน้อยมากจึงไม่สามารถวัดกระแสไฟฟ้าที่มีปริมาณสูงได้  ทำให้ต้องมีการดัดแปลงเครื่องมือวัดนี้ เรียกว่า การขยายย่านวัด โดยหลักการขยายย่านวัดนั้น ใช้หลักการของวงจรขนาน (Parallel Circuit) โดยการนําตัวต้านทานชั้นท์ (Shunt Resistor) มาต่อขนานกับขดลวดเคลื่อนที่ เพื่อแบ่งปริมาณกระแสไฟฟ้าออกเป็น 2 ส่วน คือ กระแสไฟฟ้าเต็มสเกลของขดลวดเคลื่อนที่ (Im) และกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลผ่านตัวต้านทานชั้นท์ (R Shunt) ซึ่งจะแบ่งกระแสไฟฟ้าส่วนที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าเต็มสเกลของขดลวดเคลื่อนที่ออกไป ทําให้กระแสไฟฟ้าทั้งสองเป็นสัดส่วนกันอย่างพอดี ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงการวัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ว่าทำไมต้องใช้ตัวต้านทานชันต์ (Shunt Resistor) หรือ R Shunt กัน      โครงสร้างของแอมมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าตรง (DC Ammeter) ประกอบด้วยส่วนสำคัญหลัก ๆ 2 ส่วน คือ ขดลวดเคลื่อนที่แบบแม่เหล็กถาวร และตัวต้านทานชันต์ (R Shunt) ดังนี้           1. ขดลวดเคลื่อนที่แบบแม่เหล็กถาวร โครงสร้างของมิเตอร์เบื้องต้นจะใช้รูปแบบของดาร์สันวาลมิเตอร์ อาศัยการทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าจ่ายเข้ามิเตอร์ แต่เนื่องจากโครงสร้างมีขนาดเล็กขดลวดเคลื่อนที่จึงรับกระแสไฟฟ้าได้จำกัดซึ่งมีค่าน้อยมาก แต่มีความคล่องตัวของการทำงานในขณะบ่ายเบนไปของอาร์เมเจอร์ (Armature) จะเกิดแรงเสียดทานน้อย ทำให้การวัดค่าเกิดความเที่ยงตรงมากขึ้น ด้วยข้อจำกัดของโครงสร้างจึงทำให้ดาร์สันวาลมิเตอร์ถูกจำกัดการใช้งานในวงแคบ ๆ ถ้าต้องการวัดกระแสไฟฟ้าปริมาณสูงเกินค่าจำกัดของกระแสไฟฟ้า จึงต้องหาตัวต้านทานมาต่อขนานเพื่อแบ่งกระแสไฟฟ้าส่วนที่เกินค่าจำกัดมาต่อ โครงสร้างของดาร์สันวาลมิเตอร์จะเป็นขดลวดเคลื่อนที่แบบแม่เหล็กถาวร (PMMC : Permanent Magnet Moving Coil) ดังรูป 1.1 รูป 1.1 แสดงโครงสร้างของแอมมิเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Ammeter)             2. ตัวต้านทานชันต์ (R Shunt) มิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าตรง (DC Current Ammeter) แต่ละชนิดมีข้อจำกัด คือ ขดลวดของเครื่องวัดเล็กมากจึงรับกระแสไฟฟ้าได้เพียงค่าค่าหนึ่งที่จำกัดซึ่งน้อยมาก และเมื่อต้องการวัดกระแสไฟฟ้าที่มีปริมาณสูงเกินค่าจำกัดของกระแสไฟฟ้า จึงต้องหาตัวต้านทานมาต่อขนาน ที่เรียกว่า ตัวต้านทานชันต์ (Shunt Resistor) หรือ R Shunt มาต่อขนานเข้ากับดาร์สันวาลมิเตอร์ โดย R Shunt เมื่อต่อขนานจะทำหน้าที่แบ่งกระแสไฟฟ้าส่วนเกินที่ดาร์สันวาลมิเตอร์รับไม่ได้ให้ผ่านตัวต้านทานขนานนั้นไป ซึ่งลักษณะของ R Shunt ที่ใช้ต่อขนานกับดาร์สันวาลมิเตอร์ มี Spec ที่แตกต่างกันในของแต่ละรุ่น เช่น 100A/60mVdc, 50A/75mVdc, 50/60mVdc เป็นต้น (ดังรูป 2.1) สามารถนำมาต่อเพิ่มเข้าไปได้จากภายนอกมิเตอร์วัดไฟฟ้ากระแสตรง (DC Current Ammeter)ได้ เพื่อช่วยเพิ่มให้ Ammeter วัดกระแสไฟฟ้าได้สูงมากขึ้น   รูป 2.1 แสดงลักษณะของตัวต้านทานชันต์ (Shunt Resistor) หรือ R Shunt)        วิธีการต่อแอมมิเตอร์ DC สำหรับวัดกระแสไฟฟ้าตรง (DC Ammeter) Model : TCM-94N-2 (DC Current 0-75 mVDC, 0-150 mVDC จาก R Shunt (ดังรูป) รูปแสดงวิธีการต่อแอมมิเตอร์สำหรับวัดกระแสไฟฟ้าตรง (DC Ammeter) รุ่น : TCM-94N-2 (DC Current 0-75 mVDC, 0-150 mVDC) ร่วมกับ R Shunt DIGITAL AC/DC AMP METER (TRUE RMS) DIGITAL AMP. METER (TRUE RMS.) 1 PHASE AMP METER TRUE RMS 3 PHASE AMP-HERTZ METER TRUE RMS โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK