Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text
CT และ PT ในระบบไฟฟ้าคืออะไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      CT (Current Transformer) คือ หม้อแปลงกระแสไฟฟ้า (ซีที) และ PT (Potential Transformer) คือ หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า (พีที) โดยมีรายละเอียด ดังนี้        CT (Current Transformer) หรือ หม้อแปลงกระแสไฟฟ้า (ซีที) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการลดทอนกระแสไฟฟ้าที่มีค่าสูงให้เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีค่าต่ำเพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า เมื่อต้องการวัดกระแสไฟฟ้าที่มีค่าสูงกว่าพิสัย (Range) ของเครื่องวัดกระแสไฟฟ้านั้น เช่น แอมป์มิเตอร์ (Ammeter) ที่ใช้งานทั่วไปจะสามารถวัดกระแสไฟฟ้าได้โดยตรงที่ 5A เท่านั้น  หากในกรณีที่ต้องการวัดกระแสไฟฟ้าที่มากกว่า 5A จำเป็นจะต้องต่อผ่าน CT โดย CT (Current Transformer) จะทำหน้าที่วัดกระแสไฟฟ้าทางด้านอินพุต (Input Current) และลดทอนกระแสไฟฟ้าตามอัตราส่วน (Ratio) ของ CT แต่ละรุ่นโดยให้เหลือกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ 5A เช่น กระแสไฟฟ้าทางด้านอินพุตหรือทางด้านปฐมภูมิ (Primary) 100A เมื่อต่อผ่าน CT (ตามรูปโครงสร้าง 1.2) แล้ว กระแสไฟฟ้าทางด้านเอาต์พุตหรือทางด้านทุติยภูมิ (Secondary) จะลดลงเหลือเพียง 5A ตามอัตราส่วนของ CT แล้วนำไปต่อร่วมกับแอมป์มิเตอร์ Amp meter เพื่อวัดและแสดงค่ากระแสไฟฟ้า        ในการเลือกใช้ CT ควรเลือกให้เหมาะสมกับหน้างานที่จะนำไปใช้ เนื่องจาก CT มีหลายแบบ ดังนี้ CT (Current Transformer) แบบแกนคล้องสาย (Clamp-On) เหมาะสำหรับงานที่เราต้องการพกพาไปวัดค่ากระแสไฟฟ้าตามจุดต่าง ๆ , CT (Current Transformer) แบบแกนแยก (Split Core) เหมาะสำหรับติดตั้งในตู้คอนโทรล ง่ายในการติดตั้ง ไม่จำเป็นต้องถอดสายหรือถอดบัสบาร์ เมื่อมีการติดตั้ง CT หรือเปลี่ยนตัว CT ใหม่ , CT (Current Transformer) แบบแกนคล้องสาย เหมาะสำหรับใช้ติดตั้งในตู้คอนโทรลทั่วไป มีลักษณะดังรูป 1.1   Q50 Series DP Series MSQ Series CT (Current Transformer) แบบแกนคล้องสาย (Clam-On) CT (Current Transformer) แบบแกนแยก (Split Core) CT (Current Transformer) แบบแกนคล้องสาย (Fixed core) รูป 1.1 ลักษณะหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า CT แบบแกนคล้องสาย (Clamp-On) , CT แบบแกนแยก (Split Core) , CT แบบแกนคล้องสาย (Fixed core)   โครงสร้างของ CT (Current Transformer) ดังรูป 1.2 รูป 1.2 แสดงโครงสร้างของ CT (Current Transformer)        จากรูป 1.2 โครงสร้างของ CT (Current Transformer) หม้อแปลงกระแสไฟฟ้า ด้านบนจะเห็นว่าขดลวดทางด้านปฐมภูมิ (Primary Winding) มีสายไฟหรือบัสบาร์ผ่านแกนของ CT เพียงเส้นเดียว หมายความว่า CT วัดกระแสไฟฟ้าจะใช้งานกับโหลดได้หนึ่งตัวต่อ 1 เฟส ในส่วนของขดลวดทางด้านทุติยภูมิ (Secondary Winding) จะมีการพันขดลวดที่แกน Hollow Core จำนวนรอบของขดลวดมากกว่า โดยแกนวงกลมของหม้อแปลงวัดกระแสไฟฟ้า (CT) ทำมาจากเหล็กซึ่งเป็นวัสดุที่มีความสูญเสียต่ำ ซึ่งมีความสำคัญต่อค่าความแม่นยำของตัว CT ในการทำงานของ CT จะอาศัยหลักการวัดกระแสไฟฟ้าทางด้านอินพุต (Input Current) และลดทอนกระแสไฟฟ้าทางด้านเอาต์พุต (Output Current) แบบสัดส่วน (Ratio) เพื่อไปต่อร่วมกับ Ampmeter        PT (Potential Transformer) หรือ หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า (พีที) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ใช้ในการลดค่าแรงดันไฟฟ้าที่มีค่าสูงให้เป็นแรงดันไฟฟ้าที่มีค่าต่ำลง เป็นแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งานจริงเพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า เมื่อแรงดันไฟฟ้าที่ต้องการวัดนั้นมีค่าสูงกว่าพิสัย (Range) ของเครื่องวัด เช่น โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) เป็นต้น โดยอัตราส่วนของด้านแรงดันสูง (High Voltage) คือด้าน Primary จะมีขนาดมาตรฐานเท่ากับแรงดันของสายเมน เช่น 220V, 440V,  2200V เป็นต้น ซึ่งด้าน Primary และด้านแรงดันต่ำ (Low Voltage) คือด้าน Secondary โดยทั่วไปมักจะมีขนาดแรงดัน เช่น 110V, 220V,380V เป็นต้น โดยมีลักษณะดังรูป 1.3   รูป 1.3 ลักษณะหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า PT (Potential Transformer)     โครงสร้างของ PT (Potential Transformer) ดังรูป 1.4 รูป 1.4 แสดงโครงสร้างของ PT (Potential Transformer)        จากรูป 1.4 โครงสร้างของ PT (Potential Transformer) หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าจะมีโครงสร้างที่เหมือนกันกับหม้อแปลงไฟฟ้าโดยทั่วไป โดยประกอบด้วยขดลวดปฐมภูมิ (Primary Winding) และขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Winding) พันอยู่รอบแกนเหล็ก หลักการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า (PT) คือ จะอาศัยหลักการเหนี่ยวนำของขดลวดทั้งสองที่พันอยู่บนแกนเหล็กเดียวกัน โดยจะแปลงแรงดันไฟฟ้าสูงทางด้านขดลวดปฐมภูมิ (Primary) ให้มีพิกัดแรงดันไฟฟ้าต่ำลงที่ทางด้านทุติยภูมิ (Secondary) เพื่อให้เหมาะสมกับพิสัย (Range) ของโวลต์มิเตอร์ (Voltmeter) และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานในการวัดแรงดันไฟฟ้าอีกด้วย ซึ่งหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าจะมีอัตราส่วนของหม้อแปลง (Transformer Ratio 11000/110V)   แสดงตัวอย่างการต่อใช้งาน CT (Current Transformer) หม้อแปลงกระแสไฟฟ้า (ซีที)  ตัวอย่างการต่อใช้งาน CT (Current Transformer) ร่วมกับเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า Multifunction Power Meter (KM-07)   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
สูตรวิธีการคำนวณอุณหภูมิและขนาดของฮีตเตอร์ต้มน้ำและน้ำมัน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ฮีตเตอร์ต้มน้ำหรือฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) เป็น ฮีตเตอร์ (Heater) ที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับของเหลวได้เกือบทุกประเภท เช่น น้ำ, น้ำมัน  เป็นต้น ส่วนลักษณะในการติดตั้งนั้นมีทั้งแบบเกลียว (Thread),  แบบหน้าแปลน (Flange) และขนาดโครงสร้างของ Immersion Heater ขึ้นอยู่กับขนาดวัตต์ (W) ของฮีตเตอร์ (Heater) เมื่อเราทราบขนาดวัตต์ของฮีตเตอร์ (Heater) แล้ว เราก็จะมาคำนวณดูว่าต้องใช้ฮีตเตอร์ขนาดเท่าไรและต้องใช้จำนวนกี่ขดจึงจะเหมาะสมกับงาน ซึ่งจะมีตั้งแต่ 1 ขด (1U), 3 ขด (3U), 6 ขด (6U), 12 ขด (12U) หรือมากกว่าตามความเหมาะสมกับงาน โดยผู้ใช้งานต้องระบุด้วยว่าฮีตเตอร์ที่จะใช้นั้นใช้แรงดันไฟฟ้า (Voltage) แบบใด 1 เฟสหรือ 3 เฟส, ฮีตเตอร์ใช้กำลังไฟฟ้ากี่วัตต์ (Watt), ขนาด, ความยาวของตัวฮีตเตอร์ว่าเท่าไหร่และติดตั้งแบบไหนตามที่ผู้ใช้งานต้องการ หรือในบางกรณีถ้าตัวฮีตเตอร์ (Heater) จะมีการตอกสลักบอกรายละเอียดของตัวฮีตเตอร์แล้ว เช่น 11.2x300mm. 220V 1000W  นั้นก็จะทำให้ง่ายต่อการผลิตและการใช้งานที่เหมาะสมตามลักษณะเดิมที่เคยใช้อยู่ แต่ในกรณีที่ผู้ใช้งานไม่ทราบรายละเอียดดังกล่าวเลย จะต้องทำอย่างไรที่จะเลือกใช้งานฮีตเตอร์ต้มน้ำหรือฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) ให้ทำอุณหภูมิได้ตามที่ต้องการและสามารถติดตั้งได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำสูตรวิธีการคำนวณอุณหภูมิและขนาดของฮีตเตอร์ต้มน้ำและน้ำมันกัน (ดังรูป) รูปแสดงการติดตั้งเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple) และให้ความร้อนด้วยฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater)        จากรูปอธิบายสูตรวิธีการคำนวณวิธีการคำนวณอุณหภูมิและขนาดของฮีตเตอร์ต้มน้ำและน้ำมัน (Immersion Heater) ไว้ดังนี้      แทนค่าจากสูตรดังนี้      จากการคำนวณ โดยยกตัวอย่าง Immersion Heater เพื่อต้มของเหลวที่ไม่มีความหนืดในถังขนาด 100 ลิตร โดยให้ทำอุณหภูมิที่ 100 ํC ภายในเวลา 1 ชั่วโมง และตัวอย่างการคำนวณ Immersion Heater เพื่อต้มของเหลวที่มีความหนืดในถังขนาด100 ลิตร โดยให้ทำอุณหภูมิที่ 100 ํC ภายในเวลา 1 ชั่วโมงเท่ากัน      จะเห็นว่าจากการคำนวณ เราจะทราบว่าต้องใช้งาน Heater ที่กำลังวัตต์ (Watt) เท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ดังนั้นเราก็สามารถออกแบบฮีตเตอร์ต้มน้ำหรือฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) เองได้ และสามารถนำฮีตเตอร์ต้มน้ำหรือฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) มาใช้งานกับทุกอุตสาหกรรมที่มีการอุ่นหรือต้มของเหลวหลากหลายชนิดที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสแตนเลส โดยปกติจะใช้ท่อสแตนเลส SUS304 และจะใช้ท่อสแตนเลส SUS316 หรือ SUS316L ถ้าของเหลวชนิดนั้นมีความเป็นกรด-ด่าง หรือสารเคมี เป็นต้น และหากของเหลวมีความเป็นกรดเข้มข้นจะใช้ท่อไทเทเนียม (Titanium) เพื่อทนต่อปฏิกิริยาดังกล่าวตามความเหมาะสม            ข้อควรระวัง : ในการติดตั้ง ไม่ควรให้ส่วนของฮีตเตอร์ (Heater) ที่ทำความร้อนโผล่พ้นของเหลว เพราะจะทำให้ฮีตเตอร์เผาตัวเองและอายุการใช้งานสั้นลง   ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) เซรามิคฮีตเตอร์ (Ceramic Heater) ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater) ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater) ใช้ให้ความร้อนได้ทั้งในอากาศ, ของเหลว รวมถึงแม่พิมพ์โลหะ เป็นต้น ใช้ให้ความร้อนโดยการรัดท่อ เช่น เครื่องฉีดพลาสติก, เครื่องลำเลียง เป็นต้น ใช้ให้ความร้อนโดยการรัดท่อ เช่น เครื่องฉีดพลาสติก, เครื่องลำเลียง เป็นต้น ใช้ให้ความร้อนโดยการแนบติดกับชิ้นงาน เช่น แผ่นแม่พิมพ์, เครื่องบรรจุหีบห่อ เป็นต้น ใช้ให้ความร้อนโดยการแผ่ความร้อนให้ชิ้นงาน เช่น งานอบแห้ง, สี, เมล็ดพันธุ์พืช, อบสีรถยนต์, การอบฆ่าเชื้อ เป็นต้น   ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) ฮีตเตอร์ไล่ความชื้น (Anti-Condensation Heater) ฮีตเตอร์ลมร้อน (Hot Air Heater) ฮีตเตอร์แท่งแก้ว (Quartz Heater) ใช้ให้ความร้อนกับของเหลวทุกชนิด เช่น ต้มน้ำ, อุ่นน้ำมัน, อุ่นสารเคมี เป็นต้น   ใช้ในการกระจายความร้อนกับอากาศ เช่น งานอบแห้ง, ไล่ความชื้น, งานเตาอบต่าง ๆ เป็นต้น ไล่ความชื้นในตู้ไฟฟ้า, ตู้ควบคุม เพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในตู้ไฟฟ้า ใช้ให้ความร้อนสูงในอากาศและให้ความร้อนเร็ว เช่น งานไล่ความชื้นในระบบ, งานอบแห้งต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับต้มสารเคมีที่มีความเข้มข้นสูง เช่น งานอุ่นสารเคมีที่มีความเข้มข้น, โรงชุบ, ต้มหรืออุ่นของเหลวทั่วไป เป็นต้น      ***ทาง บริษัท ไพรมัส จำกัด สามารถให้คำปรึกษา คำนวณและออกแบบฮีตเตอร์ (Heater) ชนิดต่าง ๆ ได้ โดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความเหมาะสมกับหน้างานของท่าน ทางบริษัทฯ พร้อมเข้าไปปรึกษาหน้างานของท่านเองโดยตรง*** โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
เครื่องบันทึกอุณหภูมิ ความชื้น 4-20mA,0-10Vdc มีแบบไหนบ้าง?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ในปัจจุบันงานด้านอุตสาหกรรมอาหารและยา, อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม, อุตสาหกรรมโลหะ, ระบบการขนส่งสินค้าหรือแม้แต่ภาคเกษตรกรรม ล้วนแล้วต้องมีการควบคุมคุณภาพของสินค้าและบริการให้มีคุณภาพที่ดีหรือมีการรับรองกระบวนการผลิตต่าง ๆ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบ, เก็บวัตถุดิบ, เบิกวัตถุดิบ, ระหว่างกระบวนการผลิต, การทดสอบผลิตภัณท์ก่อนส่งมอบ, การจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูป ตลอดจนการส่งมอบสินค้าถึงลูกค้า ซึ่งทุกกระบวนการที่กล่าวมานี้จะต้องมีการควบคุณภาพและต้องมีข้อมูลไว้สำหรับตรวจสอบย้อนหลังได้ว่าแต่ละกระบวนการได้ทำตามเกณฑ์มาตารฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ เช่น วัตถุดิบบางตัวหรือสินค้าบางอย่างมีการจัดเก็บในห้องหรือพื้นที่ที่ต้องมีการควบคุมค่าอุณหภูมิ, ความชื้น ให้ได้ตามมาตราฐานที่กำหนดไว้ หรือการขนส่งสินค้าบางอย่าง เช่น อาหาร, เครื่องดื่มหรือยา ระหว่างการขนส่งจากที่หนึ่งไปอีกทีหนึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิตามที่กำหนดไว้หรือไม่ เพราะสินค้าบางประเภทอาจมีผลต่ออายุของสินค้าด้วย        นอกจากอุณหภูมิและความชื้นแล้ว ในปัจจุบันข้อมูลอีกอย่างหนึ่งที่ส่วนใหญ่ต้องการทราบก็คือข้อมูลในส่วนของต้นทุนในการใช้พลังงาน ทั้งด้านไฟฟ้า, น้ำ, น้ำมัน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าในกระบวนการผลิตไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมใด ๆ ก็ตาม เรื่องคุณภาพสินค้าและต้นทุนการใช้พลังงานมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก หากเรามีการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ไว้  จะเป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก ทั้งสามารถนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือเป็นข้อมูลในการรับประกันคุณภาพกระบวนการผลิตเพื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นได้        โดยวันนี้เราจะมาแนะนำเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่สามารถบันทึกข้อมูล (Recoder), ความชื้น (Humidity), อุณหภูมิ (Temperature) สัญญาณต่าง ๆ ทางไฟฟ้า เช่น 4-20mA, 0-10Vdc, การใช้พลังงานไฟฟ้ากิโลวัตต์ฮาว (Kwh), แรงดันไฟฟ้า (Volt), กระแสไฟฟ้า (Amp) เป็นต้น โดยมีรูปแบบของตัวบันทึกค่าต่าง ๆ ดังนี้        การเก็บข้อมูลแบบเครื่องบันทึก (Recorder) ดังรูป   Paperless Recorder (TRM-20 Series) Recorder (TRM-10C Series) Portable Recorder (CENTER 500) เครื่องบันทึกแบบไม่ใช้กระดาษ เครื่องบันทึกแบบใช้กระดาษ เครื่องบันทึกข้อมูลแบบพกพา      การเก็บข้อมูลแบบเครื่องบันทึก (Recorder) เป็นการเก็บข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์เครื่องมือวัดค่าต่าง ๆ ในงานอุตสาหกรรม เช่น เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ Thermocouple, RTD, สัญญาณอนาล็อกทางไฟฟ้า 4-20mA, 0-10Vdc, อุปกรณ์วัดค่าอุณหภูมิ ความชื้น (Temperature Humidity Sensor), อุปกรณ์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter) เป็นต้น ซึ่งค่าอุณหภูมิ, ความชื้น, ความดันต่าง ๆ ที่วัดได้ จะนำมาต่อร่วมกับเครื่องบันทึกค่า (Recorder) เพื่อทำการบันทึกค่าลงในเครื่องบันทึกข้อมูลที่มีทั้งแบบใช้กระดาษ (Recorder), เครื่องบันทึกข้อมูลแบบไม่ใช้กระดาษ (Paperless Recorder) และเครื่องบันทึกข้อมูลแบบพกพา (Portable Recorder) เป็นต้น        การเก็บข้อมูลแบบ Data Logger โดยรับข้อมูลต่าง ๆ ผ่าน RS-485 และบันทึกข้อมูลลงใน SD Card ทำให้ง่ายต่อการนำข้อมูลไปใช้งาน ดังรูป   รูปเครื่องเก็บข้อมูลแบบ Data Logger KM-18        การเก็บข้อมูลแบบ Data Logger เป็นการเก็บข้อมูลจากการบันทึกค่าของอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านค่าจาก Meter, Indicator, Temperature Controller ผ่าน RS-485 มาบันทึกข้อมูลลง SD Card หรือหน่วยความจำภายในตัวเครื่อง แล้วทำการบันทึกค่าที่วัดได้และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยอัตโนมัติตามช่วงเวลาที่เรากำหนดไว้ โดยเชื่อมต่อกับ Computerได้ และสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์ได้สูงสุดถึง 32 ตัว มี Software เพื่อการจัดเก็บค่าและนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ในการวางแผนได้        ข้อดีของการเก็บข้อมูลของเครื่องบันทึกอุณหภูมิ ความชื้น 4-20mA, 0-10Vdc แบบไม่ใช้กระดาษ (Paperless Recorder) หรือ การเก็บข้อมูลแบบ Data Logger นี้ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้กระดาษบันทึกค่าและการป้องกันการสูญหายของข้อมูลได้        การประยุกต์ใช้งาน การเก็บข้อมูลของพลังงานทางไฟฟ้าแบบ Data Logger โดยต่อพ่วงกับอุปกรณ์ได้สูงสุดถึง 32 ตัว   รูปแสดงการเชื่อมต่อ Data Logger ต่อพ่วงกับอุปกรณ์ Multi Function Meter KM-07 สูงสุด 32 ตัว   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ลดต้นทุนสายไฟ ด้วย 2 Wire Remote Control

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      2 Wire Remote Control เป็นระบบควบคุมทางไกลโดยผ่านสายสัญญาณ 2 เส้น โดยมีตัว Channel Generator (RMN-001) ทำหน้าที่ในการสร้างสัญญาณความถี่ (Pulse 2kHz) ผ่านสาย 2 เส้น เพื่อเป็นตัวในการกำหนดช่องสัญญาณ Input/Output โดย 2 Wire Remote Control เป็นระบบที่สามารถส่งสัญญาณได้ทั้ง Digital (ON-OFF) สูงสุด 2048 Channel และสัญญาณอนาล็อก (4-20mA, 0-10VDC) สูงสุด 256 Channel เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารหรือในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ระบบควบคุมการเปิด-ปิด (ON-OFF) ไฟฟ้าแสงสว่าง (Lighting), ควบคุมการทำงานของพัดลม (Fans) หรือสถานะการทำงาน Alarm แจ้งเตือนของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ แสดงสถานะระดับของน้ำในถัง (High-Low) เป็นต้น ด้วยการต่อสายสัญญาณไประยะไกลสูงสุดถึง 10 km. โดยใช้สายเพียง 2 เส้น (2-Wire) เท่านั้น เพื่อส่งไปแสดงที่ห้องควบคุม (Control Room) และต่อสัญญาณจากจุดต่าง ๆ เพื่อเข้ามาทำการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้        ทำให้ช่วยประหยัดต้นทุนในการเดินสายไฟ ประหยัดเวลาในการติดตั้งและง่ายต่อการบำรุงรักษา ซึ่งในการที่จะเชื่อมต่อสัญญาณจากหลาย ๆ จุด มารวมกันเพื่อที่จะแสดงผลหรือควบคุมในจุดเดียวนั้นค่อนข้างเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและต้องใช้สายจำนวนมาก และหากระยะทางระหว่างต้นทางกับปลายทางยิ่งห่างกันเท่าไร เราก็จะมีต้นทุนในการใช้สายไฟมากขึ้น        ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำอุปกรณ์ ระบบควบคุมทางไกลโดยผ่านสายสัญญาณ 2 เส้น (2 Wire Remote Control) ที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ (ดังรูป)   รูปแสดงการเชื่อมต่ออุปกรณ์ระบบควบคุมทางไกลโดยผ่านสายสัญญาณ 2 เส้น (2 Wire Remote Control) รุ่น RMN-Series        การประยุกต์ใช้งาน 2 Wire Remote Control (ระบบควบคุมทางไกลโดยผ่านสายสัญญาณ 2 เส้น)   รูปแสดงการประยุกต์ใช้งาน 2 Wire Remote Control (ระบบควบคุมทางไกลโดยผ่านสายสัญญาณ 2 เส้น) รุ่น RMN-Series        จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าการใช้งานระบบควบคุมทางไกลโดยผ่านสายสัญญาณเพียง 2 เส้น (2 Wire Remote Control) โดยลักษณะงานนี้เป็นการควบคุมระยะไกลถึง 10 km. จากภายในอาคารที่ 1 ซึ่งภายในอาคารที่ 1 นี้ จะมีตัว Channel Generator (RMN-001) เป็นตัวสร้างสัญญาณ และมีตัว Master Module (RMN-002) เป็นตัว Digital Input/Output 8 Channel ในตัวมันเอง สามารถกำหนดได้ว่าแต่ละ Channel จะทำงานเป็น Input หรือ Output  แต่ในกรณีตัวอย่างนี้เราใช้ Input/Output ฝั่งอาคาร 1 จำนวน 4 Input และ 4 Output และฝั่งอาคาร 2 จำนวน 4 Input และ 4 Output เช่นกัน ดังนั้นตัวอุปกรณ์ที่ใช้ในงานนี้จึงใช้ตัว Channel Generator (RMN-001) เพียง 1 ตัว และ Master Module (RMN-002) จำนวน 2 ตัว เท่านั้น ทำให้เราสามารถลดต้นทุนในการเดินสาย เพราะระหว่างอาคาร 1 ไปยังอาคาร 2 เราใช้สายเพียง 2 เส้นเท่านั้น        นอกจากอุปกรณ์ดังกล่าวแล้วเรายังมีรุ่นอื่น ๆ เช่น Expansion I/O Module (RMN-003) สำหรับขยาย Input Output ในกรณีที่เราต้องการเพิ่ม Input และ Output ภายหลัง โดยไม่ต้องไปเปลี่ยนแปลงระบบเดิมหรือตัว Analog Input/Output (4-20mA, 0-10V ) RMN-005, RMN-006 และตัว Interface Module (RMN-004) หากเราต้องการเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ด้วย RS-485  Modbus Protocol เพื่อแสดงผลหรือควบคุมค่าต่าง ๆ ได้   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
PLC + HMI คืออะไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      PLC ย่อมาจาก โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรล (Programmable Logic Control) เป็นอุปกรณ์ชนิดที่ทำงานแบบลอจิก (Logic Functions) การทำงานของ PLC จะคล้ายกับหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่มีอินพุต (Input), หน่วยประมวลผล (Process Microprocessor ) และเอาต์พุต (Output) เพื่อต่อออกไปใช้งานในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร (Machine) หรืออุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการพัฒนามาจากการใช้อุปกรณ์ควบคุมด้วยรีเลย์ (Relay)        ในปัจจุบันได้มีนำ PLC มาใช้งานในอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก โดยมีหลายรุ่นแตกต่างกันเพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกใช้ให้เหมาะสม เช่น PLC ที่มีขนาดเล็ก (Micro PLC) ที่มีจำนวน Input/Output ไม่มากนัก และ Vision PLC ที่มีการแสดงผลหน้าจอแบบ Graphic, LCD  หรือ PLC แบบใช้ปุ่มกด (Keypad Switch), PLC แบบ Touch Screen เป็นต้น โดย PLC แต่ละรุ่นจะมีจำนวนอินพุต (Input) และเอาต์พุต (Output) ของอุปกรณ์ที่สามารถทำการเชื่อมต่อกับ PLC ได้แตกต่างกัน รวมถึง Port ที่ใช้ในการสื่อสารต่าง ๆ กับ PLC ด้วย        HMI ย่อมาจาก Human Machine Interface เป็นการสื่อสารระหว่างผู้ใช้งาน (Human) กับ PLC หรือจอแสดงผล (Display) ต่าง ๆ ในระบบ        PLC + HMI เป็นการทำงานร่วมกัน โดยใช้  PLC เป็นตัวควบคุม และ HMI เป็นตัวสื่อสารระหว่างผู้ใช้งาน (Human) กับระบบ Module PLC หรือจอแสดงผลต่าง ๆ โดยให้ PLC สั่งงานไปที่เครื่องจักร (Machine) อีกที        ในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักเกี่ยวกับ PLC + HMI คืออะไร? เพราะยังมีหลายคนไม่รู้จักคำว่า PLC และ HMI หรือบางคนอาจจะรู้จัก PLC และ HMI แล้ว แต่ PLC ส่วนใหญ่ ตัว PLC กับ HMI นั้นมักจะแยกกัน ทำให้มีความยุ่งยากในการนำไปใช้ เพราะต้องเขียนโปรแกรมเพื่อแสดงผลผ่านโปรแกรมของ HMI และต้องเขียนโปรแกรม Ladder ของ PLC แยกกันคนละโปรแกรม แต่ก็ยังมี PLC บางยี่ห้อที่รวมกันระหว่าง PLC และ HMI ในตัวเดียวกัน ทำให้มีความง่ายในการเขียนโปรแกรม PLC และ HMI ซึ่งโปรแกรมที่ใช้เขียนทั้ง PLC และ HMI นั้นอยู่ในตัวเดียวกัน สำหรับ PLC ที่เราจะมาแนะนำนั้นจะเป็น PLC ที่มีทั้งตัว PLC และ HMI อยู่ในตัวเดียวกัน และยังมีหน้าจอแสดงผลแบบต่าง ๆ ให้เลือกอีกหลายรูปแบบ เช่น หน้าจอสี, หน้าจอ LCD, หน้าจอแบบปุ่มกด (Keypad) และหน้าจอแบบ Touch Screen  ซึ่งจะเป็น PLC ยี่ห้อ Unitronics ดังรูป   UniStream PLC Programmable Controllers Vision Series PLC Programmable Controllers Samba Series PLC Programmable Controllers Jazz & M91 PLC Programmable Controllers UniStream PLC เน้นกับงานที่ใช้กราฟฟิค หน้าจอแบบ Touch Screen Vision PLC สามารถเก็บข้อมูล (Data logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen Samba PLC สามารถเก็บข้อมูล (Data logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen (ราคาถูก) Jazz and M91 PLC มีขนาดเล็กกะทัดรัด  หน้าจอแบบ LCD        ในงานอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภทจะมีระบบควบคุมอัตโนมัติ (Automatic System) ที่ใช้  PLC เป็นตัวควบคุม และ HMI เป็นตัวสื่อสารระหว่างผู้ใช้งาน (Human) กับตัว PLC โดยให้ PLC สั่งงานไปที่เครื่องจักร (Machine)     การประยุกต์ใช้ HMI Programming ในการใช้งานกับ PLC แบบ Touch Screen      HMI Programming และการใช้งาน PLC แบบ Touch Screen โดยในการเชื่อมต่อกับ PLC สามารถเชื่อมต่อผ่านทาง Communication Port ต่าง ๆ เช่น RS485, RS232, MODBUS, PROFIBUS, ETHERNET (TCP/IP) หรือ USB เป็นต้น เพื่อสั่งงานควบคุมอุปกรณ์อื่น ๆ (ดังรูป)   รูปแสดงการเชื่อมต่อสื่อสารและรวบรวมข้อมูลของ PLC แบบ Touch Screenในการเข้าถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของผู้ใช้งานจากระยะไกล        HMI Programming รวมไปถึง SCADA เกิดจากความต้องการของผู้ใช้งานที่ต้องการเข้าไปควบคุมระบบที่ PLC เป็นตัวควบคุมอยู่ โดย HMI นั้น จะเป็นการนำข้อมูลจาก PLC ส่งผ่านโครงข่ายของการสื่อสารแบบต่าง ๆ และทำการรวบรวมข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันในระบบ   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การเลือกใช้ Humidity and Temperature Transmitterให้เหมาะสมกับงาน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK        ในงานอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภคนั้น มีทั้งความร้อน/อุณหภูมิ (Heat/Temperature), ความชื้น (Humidity) และฝุ่นละออง (Dust) ในอากาศเกิดขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของสินค้าในกระบวนการผลิตเป็นอย่างมาก      ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการวัดและควบคุมค่าความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิ (Relative Humidity and Temperature Measure) ในกระบวนการผลิต ซึ่งอุปกรณ์ในการวัดและควบคุมความชื้นและอุณหภูมินั้น  มีทั้งรุ่นพกพา (Portable Humidity Temperature Meter Model : CENTER310) สำหรับวัดและอ่านค่าอย่างเดียว และรุ่นที่ติดตั้งถาวรสำหรับทั้งวัดและควบคุมโดยมีทั้งแบบรุ่นที่มีการแปลงค่าสัญญาณทางด้านเอาต์พุตออกมาเป็นสัญญาณอนาล็อก เช่น 4-20mA/0-10VDC (Mount Humidity & Temperature Transmitter Mode : HM-005) เพื่อนำมาควบคุมหรือเรียกว่าอุปกรณ์แปลงค่าความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิให้เป็นสัญญาณมาตรฐานทางไฟฟ้า (Humidity and Temperature Transmitter) หรือเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ-ความชื้น (Temperature & Humidity Sensor) เพื่อนำมาต่อใช้งานร่วมกับเครื่องแสดงผลและควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ (Humidity and Temperature Controller Model : TMP-96) หรือเครื่องบันทึกค่าความชื้นและอุณหภูมิ (Recorder TRM-1006) หรือ PLC เป็นต้น เพื่อให้ทราบค่าที่วัดได้มาทำการวิเคราะห์สาเหตุและนำไปปรับปรุงกระบวนการผลิต ต่อไป      ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำการเลือกใช้ Humidity and Temperature Transmitter ให้เหมาะสมกับงานว่าควรเลือกใช้แบบไหน โดยมีลักษณะการติดตั้งและการใช้งาน 2 ลักษณะด้วยกัน ดังนี้   Wall Mount Humidity & Temperature Transmitter (HM-004/HM-005/HM-006) เหมาะสำหรับติดตั้งบนผนังหรือเพดานภายในห้อง Duct Mount Humidity & Temperature Transmitter (RHM-004/RHM-005) เหมาะสําหรับติดตั้งแบบเจาะรูฝังภายในตู้อบ, ถังฆ่าเชื้อ, ถังไล่ความชื้น      เริ่มจากอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ ชนิดติดตั้งภายในห้อง, ผนังหรือเพดาน (Wall Mount Humidity and Temperature Transmitter) Model : HM-004/HM-005/HM-006 รูปอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ (Temperature and Relative Humidity) ชนิดติดตั้งภายในห้อง, ผนังหรือเพดาน (Wall Mount Humidity and Temperature Transmitter)        โดยในการวัดและควบคุมค่าความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิ (Relative Humidity and Temperature) เหมาะสำหรับบริเวณพื้นที่หรือห้องที่ต้องการควบคุมเป็นพิเศษ (Special Zone) เช่น ห้องควบคุมระบบ Server, ห้อง Clean Room, ห้องควบคุมอุณหภูมิความชื้น, ห้องอบ, ห้องแช่เย็น, Warehouse, ห้อง Lab หรืออุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น ที่มีปัญหาในการควบคุม ทำให้เกิดความเสียหายได้      อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ชนิดแกนสแตนเลส ติดตั้งแบบเจาะรูฝังยึดโดยหน้าแปลน (Duct Mount Humidity & Temperature Transmitter) Model : RHM-004/RHM-005/RHM-006   รูปอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ (Temperature and Relative Humidity) ชนิดแกนสแตนเลส ติดตั้งเจาะรูฝังยึดแบบหน้าแปลนภายในท่อ (Duct Mount Humidity and Temperature Transmitter)        เหมาะสําหรับติดตั้งวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในตู้อบ, ถังฆ่าเชื้อ, ถังไล่ความชื้น เป็นต้น โดยเจาะรูฝังแกน (Probe) เข้าไปในตู้ส่วนหัวกะโหลกจะอยู่ภายนอกถังหรือตู้ ซึ่งมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายใน ทําให้สามารถใช้กับตู้อบที่มีอุณหภูมิสูงได้ (ถึง 100 ํC) โดยมีฟิลเตอร์ (Filter) ด้านปลาย Probe เพื่อป้องกันฝุ่น และมีหน้าแปลนยึดสําหรับประกอบการติดตั้ง      นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์สำหรับควบคุมความชื้นและอุณหภูมิแบบดิจิตอล (Digital Hygrostat and Thermostat Controller) รุ่น CMA-004 ที่เหมาะสำหรับติดตั้งภายในตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล เป็นต้น (ดังรูป)   รูปแสดงการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ แบบดิจิตอลภายในตัวเดียวกัน (Digital Hygrostat and Thermostat Controller) ภายในตู้คอนโทรล     โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
RTD/PT100/PTC/NTC มีหลักการทำงานอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      RTD/PT100/PTC/NTC เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ประเภทที่ใช้หลักการคล้าย ๆ กัน คือ ในการวัดอุณหภูมิ ค่าความต้านทาน (Resistance) จะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ แต่ RTD/PT100 และ PTC/NTC จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้        • RTD/PT100 (Resistant Temperature Detector) คือ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ที่ค่าความต้านทาน (Resistance) จะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิโดยแปรผันตาม เช่น ที่อุณหภูมิ 0 ํC จะมีค่าความต้านทานที่ 100Ω และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าความต้านทาน (Resistance) จะเพิ่มขึ้น (Class B ย่านอุณหภูมิ -200 ํC ถึง 600 ํC)      • PTC (Positive Temperature Coefficient) คือ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิประเภทเทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าความต้านทาน (Resistance) จะเพิ่มขึ้น (ค่าความต้านทานจะมีค่าเป็น กิโลโอห์ม (KΩ) เช่น 1KΩ, 2KΩ,10KΩ) โดยมีย่านการวัดอุณหภูมิ -30 ํC ถึง 130 ํC      • NTC (Negative Temperature Coefficient) คือ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิประเภทเทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าความต้านทาน (Resistance) จะลดลง (ค่าความต้านทานจะมีค่าเป็น กิโลโอห์ม (KΩ) เช่น 2KΩ, 10KΩ) โดยมีย่านการวัดอุณหภูมิ -30 ํC ถึง 130 ํC        *เราจะเห็นได้ว่า RTD/PT100 กับ PTC จะมีหลักการทำงานคล้าย ๆ กัน คือ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นความต้านทานจะเพิ่มขึ้น แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ ค่าความต้านทานที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น เช่น RTD/PT100 จะมีค่าความต้านทานที่ 0 ํC  = 100Ω และนอกจาก RTD/PT100 แล้ว RTD ยังมี PT1000 จะมีค่าความต้านทานที่ 0 ํC = 1000Ω และ PT500 จะมีค่าความต้านทานที่ 0 ํC = 500Ω ซึ่ง NTC จะมีความค่าความต้านทานมีหน่วยเป็นกิโลโอห์ม (KΩ) แต่ NTC จะมีความแตกต่างกับ RTD/PT100 และ PTC เพราะเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นความต้านทานจะน้อยลง*        เมื่อเราทราบหลักการทำงานของ RTD/PT100/PT500/PT1000/PTC/NTC จะทำให้เราสามารถแยกแยะ Temperature Sensor แต่ละชนิดได้ว่า Temperature Sensor มีความแตกต่างกันอย่างไร โดยใช้มิเตอร์วัดค่าความต้านทานของ Temperature Sensor ชนิดนั้น ๆ            ซึ่ง เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) RTD/PT100/PTC/NTC แต่ละประเภท มีหลักการทำงานอย่างไร ในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำกัน        เริ่มต้นจาก อาร์ทีดี RTD/PT100 เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิที่ค่าความต้านทานของโลหะจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ มีลักษณะโครงสร้างและสัญลักษณ์ (ดังรูป) รูปแสดงโครงสร้างและสัญลักษณ์ของ RTD/PT100 แบบ 3 สาย        หลักการทำงานของ อาร์ทีดี RTD/PT100 วัดอุณหภูมิโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานของลวดโลหะ ซึ่งที่ 0 ํC จะมีค่าความต้านทานค่าหนึ่งตามที่กำหนด เช่น RTD/PT100 จะมีค่า 0 ํC ที่ 100Ω  โดยลวดโลหะนี้จะพันอยู่บนแกนที่เป็นฉนวนไฟฟ้า มีคุณสมบัติทนต่อความร้อน แกนสำหรับพันเส้นลวดส่วนใหญ่ทำมาจากแพลตทินัมที่เคลือบด้วยเซรามิก ขดลวดนี้ต้องทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ความสั่นสะเทือน เพราะเมื่อขดลวดได้รับความร้อนจะขยายตัวและเมื่อเย็นลงจะหดตัว โดยแกนที่ใช้พันขดลวดต้องมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวใกล้เคียงและสัมพันธ์กับการขยายตัวของเส้นลวด      อาร์ทีดี RTD/PT100 เป็นเซ็นเซอร์อุณหภูมิที่ใช้หลักการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานของโลหะ หากอุณหภูมิมีค่าสูงขึ้นค่าความต้านทานก็จะสูงขึ้นด้วย (ดังสมการ)      โดยค่าสัมประสิทธิ์ของการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานไฟฟ้าของโลหะแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน เช่น แพลตทินัม  (Platinum) จะมีค่าเท่ากับ 0.003926Ω (Ω/ ํC) จากย่านอุณหภูมิ 0 ํC ถึง 100 ํC, นิกเกิล (Nickel ) = 0.00672Ω (Ω/ ํC), ทองแดง (Copper) = 0.00427Ω (Ω/ ํC) เป็นต้น อาร์ทีดี RTD/PT100 ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมนิยมใช้วัสดุที่ทำมาจากแพลตทินัม (Platinum) เนื่องจากมีความเที่ยงตรง (Precision) และมีความเป็นเชิงเส้น (Linearity) สูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุชนิดอื่น      Temperature Sensor ชนิด RTD/PT100 สามารถวัดย่านอุณหภูมิที่ติดลบได้ดี (Class B -200 ํC ถึง 600 ํC) จึงเหมาะสมกับการนำไปใช้กับงานที่ต้องการความละเอียดและแม่นยำสูง เช่น อุตสาหกรรมอาหารและยา, พลาสติก เป็นต้น โดยนำไปต่อใช้งานร่วมกับเครื่องแสดงผลอุณหภูมิ (Temperature Indicator), เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller), เครื่องบันทึกอุณหภูมิ (Recorder) หรือ PLC เป็นต้น เพื่อแสดงผลและควบคุมอุณหภูมิในระบบต่อไป        ตัวอย่างลักษณะการนำไปต่อใช้งาน RTD/PT100 RTD/PT100 (TSP-10) ต่อใช้งานร่วมกับเครื่องแสดงผลอุณหภูมิ (Temperature Indicator) Model : CM-006N RTD/PT100 (TSP-08) ต่อใช้งานร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (TOHO Temperature Controller) Model : TTM-i4N RTD/PT100 (TSP-08) ต่อใช้งานร่วมกับเครื่องบันทึกอุณหภูมิ (TOHO Recorder TRM-20 Series) RTD/PT100 (TSP-08) พร้อม PT100 Transmitter 4-20mA (TM-012P) ต่อใช้งานร่วมกับ PLC UNITRONICS Model : V1210-T20BJ      เซ็นเซอร์หัววัดอุณหภูมิประเภทเทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) PTC และ NTC เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิที่มีย่านการวัดอุณหภูมิไม่สูงมาก มีลักษณะโครงสร้างและสัญลักษณ์ (ดังรูป)  รูปแสดงโครงสร้างและสัญลักษณ์ของ PTC และ NTC            เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิประเภท PTC/NTC หรือตัวต้านทานความร้อน (Thermal Resistor) นี้ จะทำหน้าที่ตรวจจับอุณหภูมิที่ไม่สูงมาก (ประมาณ -30 ํC ถึง 130 ํC) ทำมาจากโลหะออกไซต์ เช่น แมงกานีส, นิกเกิล, โคบอลด์, ทองแดง เป็นต้น เนื่องจากสารเหล่านี้มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งในการต่อใช้งานร่วมกับเครื่องแสดงผลอุณหภูมิ (Temperature Indicator) หรือเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) ที่เป็นยี่ห้อของทางผู้ผลิตเท่านั้น เนื่องจากค่าความต้านทานของหัววัดกับย่านอุณหภูมิทางผู้ผลิตจะเป็นผู้กำหนด (Fix) ขึ้นเอง เช่น PTC จะมีค่า 1K, 2K และ NTC จะมีค่า 2K, 10K (ใช้งานร่วมกับ Temperature Indicator Model : DEF-03N) เป็นต้น เพื่อการอ่านค่าและโชว์ค่าอุณหภูมิที่ถูกต้อง      หลักการทำงานของThermistor ชนิด PTC/NTC  มีหลักการทำงาน คือค่าความต้านทานของตัวมันจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น (PTC) แต่การเพิ่มขึ้นของค่าความต้านทาน จะไม่เป็นเส้นตรง       ลักษณะงานที่ถูกนำไปใช้ในการตรวจจับอุณหภูมิของ Thermistor ชนิด PTC/NTC เช่น ในตู้แช่, เครื่องทำความเย็น, ตู้อบอาหาร, ตู้เย็น เป็นต้น ในการต่อใช้งานร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอล สำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น (Model : DEF-01, DEF-03N)        ตัวอย่างลักษณะการนำไปต่อใช้งาน PTC/NTC รูปแสดงการต่อใช้งานเซ็นเซอร์ PTC/NTC ร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอล (DEF-01) สำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
FAQ คำถามที่พบบ่อย : อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของปั๊ม 1 ตัว (Single Pump Relay) : PM-021N-2

คำถามที่พบบ่อย : อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของปั๊ม 1 ตัว (Single Pump Relay) : PM-021N-2 คุณสมบัติเบื้องต้น 1. อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของปั้ม 1 ตัว แบบ 1 เฟส และ 3 เฟส 2. สามารถเลือกการทำงานได้ทั้งแบบ Charging และ Discharging 3. รับ Input Level Sensor , Electrode , Float Switch , Pressure Switch 4. มีระบบในการป้องกัน ( Over and Under Voltage Protection ) Phase Sequence , Phase Loss ถาม-ตอบ ถาม : การเลือกโหมดการทำงานแบบ  Charging หรือ Discharging ตอบ : ให้ดู Function Switch ตำแหน่งที่ 2           ถาม : Phase Protection ไม่ทำงาน   ตอบ : Function Switch ตำแหน่งที่ 1            ถาม : มีสถานะของ LED สว่างที่ OV , UV ตอบ : ให้ดูปุ่ม % OV และ % UV เนื่องจากแรงดันเกินหรือแรงดันต่ำทำให้ปั้มไม่ ON ถาม : การตั้งค่า % OV และ % UV ของปั้ม 3 เฟส ตอบ : หมุนปุ่ม % OV = 110 %                

Image Alternative text
FAQ คำถามที่พบบ่อย : อุปกรณ์สำหรับเช็ค Heater ขาด (Heater Break Alarm) : CM-005N,CM-005D

คำถามที่พบบ่อย : อุปกรณ์สำหรับเช็ค Heater ขาด (Heater Break Alarm) : CM-005N,CM-005D คุณสมบัติเบื้องต้น 1. อุปกรณ์ตรวจเช็คฮีตเตอร์ขาด 2. สามารถเช็คกระแสฮีตเตอร์ได้ถึง 50 A จำนวน 4 ตัว 3. มี Alarm Output แจ้งเตือนกรณีฮีตเตอร์ขาด หรือกรณี Magnetic Arc 4. สามารถต่อ Input ได้  2 CH  (0-30Vdc , 220V , 4-20mA , 0-10 Vdc)  5. สามารถติดต่อสื่อสารผ่าน RS-485 Modbus RTU  ถาม-ตอบ ถาม : LED ของ Heater ติดกระพริบ 1 วินาที ตอบ : Heater Short Circuit หรือหน้า Contact ค้าง ตรวจเช็ค Contact ถาม : LED ของ Heater ติดกระพริบ 2 วินาที ตอบ : ฮีตเตอร์ขาดให้ตรวจเช็คฮีตเตอร์ ถาม : หน้าจอ CM-005D โชว์ค่า Hb ตอบ : ฮีตเตอร์ขาดให้ตรวจเช็คฮีตเตอร์ ถาม :  หน้าจอ CM-005D โชว์ค่าSh ตอบ : ฮีเตอร์ Short Circuit หรือ Macnetic Arc ให้ตรวจเช็คอุปกรณ์ตัดต่อฮีตเตอร์  

Image Alternative text
FAQ คำถามที่พบบ่อย : เครื่องควบคุมอุณหภูมิหรือ Process แบบ Digital (Digital Temperature Controller Control Function) : TMP-Series

คำถามที่พบบ่อย : เครื่องควบคุมอุณหภูมิหรือ Process แบบ Digital (Digital Temperature Controller Control Function) : TMP-Series คุณสมบัติเบื้องต้น 1. Digital Controller 2. Universal Input ( TC / RTD / 4-20 mA / 0-10 VDC  ) 3. Output (  4-20 mA / Relay / SSR ( 12 VDC ) / 0-10 VDC  ) 4. Alarm Relay 5. Option RS-485 / Heater Break 6. Control ( ON/Off / PTD )  ถาม-ตอบ ถาม : การตั้งค่าระยะของการตัดต่อแบบ ON/ Off ตอบ : ตั้งค่า Control Sensitivity Output 1  /  Function ที่ 35,36   /  ตั้งค่า ON1 =…..? ตั้งค่า Off1 = ….? ถาม : ลูกค้าต้องการตั้ง Ramp Function ตอบ :  เลือก Function ที่ 40   /   ฟังก์ชั่น rP1 ตั้งค่าองศาต่อนาที ถาม : การตั้งค่า Alarm ใช้งาน ตอบ : เลือก Function ที่ 42 เลือกรหัส Alarm Function ถาม :  การเลือกชนิดของการควบคุม Heating/Cooling ตอบ : เลือก Function ที่ 17  /  ตั้งค่า  rAdA   0 = Heating  1 = Cooling ถาม :  การตั้งค่า Auto tune ตอบ : เลือก Function ที่ 10 เป็น AT / เลือก Function ที่ 18 ตั้งค่า tun เป็น 1 ถาม :  การตั้งความไวในการตัดต่อ Output ตอบ : เลือก Function ที่ 26 ตั้งค่า t1  

Image Alternative text
FAQ คำถามที่พบบ่อย : เครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอลสำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น (Refrigeration Temperature Controller) : DEF-01-Series

คำถามที่พบบ่อย เครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอลสำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น (Refrigeration Temperature Controller) : DEF-01-Series คุณสมบัติเบื้องต้น 1. เครื่องควบคุมอุณหภูมิสำหรับตู้เย็น/ตู้แช่ 2. มีระบบ Voltage Protection (ไฟตก / ไฟเกิน) 3. รับ Input เป็น NTC/PTC 4. การควบคุมแบบ ON/Off 5. มี Option เสริม (Coppy Parameter , RS-485 , Sensor Probe) คำถาม - คำตอบ ถาม : คอมเพรสเซอร์ไม่ยอมทำงาน ตอบ : ให้เข้าไปตรวจเช็ค Function ที่ 50,51 ในส่วนของ Voltage Protection  UPV และ UPL ถาม : ต้องการสั่งละลายน้ำแข็งจากภายนอก ตอบ : เลือก Function ที่ 31 Digital Input เป็น DEF ถาม : มีสัญญาณเตือนหน้าจอ P1 , P1 ตอบ : ตรวจเช็คหัวเซ็นเซอร์ Room Probe อาจจะเสียหรือมีปัญหาที่สาย/ขั้วต่อ ถาม :  ต้องการตั้งช่วงของการตัดต่อคอมเพรสเซอร์ ตอบ : ให้เข้าไปที่ Function ที่ 2 ตั้งค่า Hysteresis ถาม :  ลูกค้าต้องการตั้งระยะเวลาในการละลายน้ำแข็ง ตอบ : เข้าไปที่ Function ที่ 24 ตั้งค่า Deforst Length  ใส่ค่าเวลาได้เลย ถาม :  ลูกค้าต้องการตั้งค่าชดเชยหัววัดอุณหภูมิ ตอบ : เข้าไปที่ Function ที่ 9  ตั้งค่า P1C ใส่ค่าชดเชยได้เลย

Image Alternative text
Dry Run/Load Protection Relay กับ Phase Protection มีหลักการทำงานแตกต่างกันอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      มีหลายคนสอบถามกันเข้ามาว่า Dry Run/Load Protection Relay กับ Phase Protection มีหลักการทำงานที่แตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการเลือกนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม โดยในหัวข้อนี้เราจะมาอธิบายถึงความแตกต่างของ Dry Run/Load Protection Relay กับ Phase Protection ดังนี้      Dry Run/Load Protection Relay ทำหน้าที่ป้องกันโหลด (Load) ของมอเตอร์ (Motor) เช่น ในกรณีใช้ลักษณะงานเป็น Dry Run Protection เพื่อป้องกันปั๊มน้ำ, ปั๊มเคมีหรือปั๊มน้ำบาดาลไม่ให้เดินตัวเปล่าโดยไม่มีน้ำ เพราะจะทำให้ปั๊มน้ำเกิดความเสียหาย หรือในกรณีใช้ลักษณะงานเป็น Load Protection Relay เพื่อป้องกันเกียร์ของ Motorไม่ให้เสียหายเมื่อรับ Load ที่มากกว่าปกติ โดยสามารถเช็คความผิดปกติได้ 2 แบบ ในการต่อใช้งาน (ดังรูป)   1. Dry Run/Load Protection Relay เช็คความผิดปกติของ PF ( Power Factor) (Cosθ) สำหรับระบบ 3 เฟส 2. Dry Run/Load Protection Relay เช็คความผิดปกติของกระแสไฟฟ้า (Amp) สำหรับระบบ 1 เฟส วงจรการต่อใช้งาน Dry Run Load Protection Relay (PM-007-380) สำหรับระบบ 3 เฟส วงจรการต่อใช้งาน Dry Run/Load Protection Relay (PM-007-220) สำหรับระบบ 1 เฟส Dry Run/Load Protection Relay เช็คความผิดปกติของค่า PF (Cosθ) ของ Dry Run นั้น มีการเปลี่ยนแปลงตามโหลดมากกว่ากระแส เช่น ปั๊มน้ำที่มีโหลดต่ำกรณีน้ำขาดหรือไม่มีน้ำ ค่า PF จะต่ำ และเปลี่ยนเปลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ป้องกันปั๊มเสียหายได้ทันเวลา Dry Run/Load Protection Relay เช็คความผิดปกติทางกระแส Amp เหมาะสำหรับใช้กับ 1 Phase เนื่องจาก 1 Phase ส่วนใหญ่เป็น Capacitor Motor ทำให้การเช็ค PF (Cosθ) อาจจะไม่แน่นอน อันเนื่องมาจาก Capacitor ที่ต่อกับวงจร     โดย Dry Run/Load Protection Relay สามารถเลือกการทำงานของ Relay Output ได้ 2 Function คือ      1. ตั้งค่า PF เป็น Under protection (Un) คือ ถ้าค่าที่วัดได้ต่ำกว่าค่า Setpoint ที่ตั้งไว้ PF = 0.8 (ขึ้นอยู่กับ Name Plate Motor แต่ละรุ่น) Relay Output จะสั่ง Motor หยุดทำงาน หลังจากครบเวลา OFF Delay Time (FT) ที่ตั้งไว้ใช้กับงานประเภทปั๊มน้ำที่ป้องกันน้ำแห้งในระบบ ทำให้ปั๊มเดินตัวเปล่า (Dry Run) ทำให้ปั๊มเสียหาย  *เหมาะสำหรับเช็ค Dry Run PF (Power Factor)*        2. ตั้งค่า PF เป็น Over protection (Ov) คือ ถ้าค่าที่วัดได้สูงกว่าค่า Setpoint ที่ตั้งไว้ Relay Output จะสั่ง Motor หยุดทำงาน หลังจากครบเวลา OFF Delay Time (FT) ที่ตั้งไว้ ใช้กับงานประเภทป้องกันเกียร์ทีมี Ratio สูง ๆ รอบช้า ๆ เมื่อเกียร์รับโหลดมากกว่าปกติจะทำให้เกียร์เสียหาย *เหมาะสำหรับเช็คกระแส Load Protection*        Phase Protection ทำหน้าที่เช็คและป้องกันความผิดปกติของระบบแรงดันไฟฟ้า (Voltage) ที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage), เช็คเฟสขาดหาย (Phase Loss), เฟสไม่สมดุลย์ (Phase Unbalance), สลับเฟส (Phase Sequence) เป็นต้น เพื่อทำการตัดวงจรในระบบไม่ให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย โดยมีเงื่อนไขการเช็คดังนี้           • เช็คไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage) แรงดันในขณะที่ใช้งานมีค่าเกินหรือต่ำกว่าที่กำหนด           • เช็คเฟสขาดหาย (Phase Loss) แรงดันของเฟสใดเฟสหนึ่งขาดหายไป           • เช็คเฟสไม่สมดุล (Phase Unbalance) แรงดันไฟฟ้าของแต่ละเฟสที่ต่างกัน           • เช็คลำดับเฟส (Phase Sequence) แรงดันไฟฟ้าของแต่ละเฟสสลับกันหรือการเรียงลำดับเฟสไม่ถูกต้องของระบบไฟ 3 เฟส 3 สาย และ 3 เฟส 4 สาย เป็นต้น      ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้อุปกรณ์ Phase Protection Relay ที่มีทั้งแบบปรับหมุน (Protection Relay) และ แบบดิจิตอล (Digital Phase Protection Relay) ในการเช็คเฟสของแรงดันไฟฟ้าในระบบ        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Digital Phase Protection Relay ของระบบไฟ 3 เฟส 3 สาย (3P/3W) และ 3 เฟส 4 สาย (3P/4W)   รูปตัวอย่างการต่อใช้งาน Digital Phase Protection Relay (VPM-Series) ของระบบไฟ 3 เฟส 3 สาย (3P/3W) และ 3 เฟส 4 สาย (3P/4W)        เมื่อเราทราบถึงหลักการทำงานของ Dry Run/Load Protection Relay ว่าแตกต่างจาก Phase Protection อย่างไรแล้ว เราก็สามารถเลือกนำไปใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงานได้  เช่น ถ้าเราต้องการป้องกันมอเตอร์เสียหายอันเนื่องจากแรงดันไฟตก (Under Voltage), แรงดันไฟเกิน (Over Voltage), เฟสขาดหาย (Phase Loss), ลำดับเฟส (Phase Sequence), เฟสไม่สมดุล (Phase Unbalance) ให้เราเลือกใช้ Phase Protection Relay VPM-01 , ในกรณีที่ต้องการป้องกันปั๊มน้ำ, ปั๊มเคมี ไม่ให้เสียหายอันเกิดจากการเดินตัวเปล่า ให้เราเลือกใช้ Dry Run Protection PM-007 โดยเลือกตั้งค่าเป็น ตั้งค่า PF เป็น Under protection (Un) และในกรณีที่ต้องการป้องกันมอเตอร์เสียหายอันเนื่องมาจาก Load เกิน มอเตอร์เฟืองเกียร์เสียหาย ให้เราเลือกใช้ Load Protection Relay PM-007 โดยเลือกตั้งค่าเป็น ตั้งค่า PF เป็น Over protection (Ov) *เนื่องจาก PM-007 สามารถเลือกใช้ได้ทั้งเป็น Dry Run Protection Relay และ Load Protection Relay ได้ในตัวเดียวกัน* โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Digital Hour Counter เครื่องนับชั่วโมงการทำงานแบบดิจิตอล มีประโยชน์อย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Digital Hour Counter หรือ Hour Meter เครื่องนับชั่วโมงการทำงานแบบดิจิตอล เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่บอกชั่วโมงการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องจักรต่าง ๆ เนื่องจากเครื่องจักรหากมีการใช้งานแบบต่อเนื่องนาน ๆ โดยที่ไม่มีการบำรุงรักษาอาจจะทำให้อุปกรณ์บางอย่างในเครื่องจักร เช่น สายพาน, ลูกปืน, เพลา, แบริ่ง (Bearing) เป็นต้น เกิดความเสียหายได้      ซึ่งการบำรุงรักษาเครื่องจักร (Machine Maintenance) ที่เป็นหัวใจหลักของการผลิต หากไม่มีการบำรุงรักษาในเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) จะทำให้เครื่องจักรเกิดความเสียหายและระบบการผลิตหยุดชะงัก ส่งผลกระทบด้านกำลังการผลิต  ดังนั้นเราควรมีอุปกรณ์ที่คอยเตือนในกรณีที่ถึงเวลาในการบำรุงรักษาเชิงป้องกันก่อน เช่น การเตือนเมื่อถึงเวลาทำความสะอาดเครื่องจักร (Cleaning Machinery), เตือนเพื่อเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ตามระยะเวลาที่กำหนด (Time Based Maintenance) รวมไปถึงการตรวจสภาพเครื่องจักร เช่น ขันน็อตสกรูให้แน่นและใช้น้ำมันเพื่อหยอดหล่อลื่นให้เครื่องจักรอย่างถูกวิธี เป็นต้น      การใช้งานเครื่องนับชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักร (Hour Meter / Hour Counter) ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีสำหรับงานตั้งเวลาบำรุงรักษาซ่อมบำรุงเครื่องจักร (Machine Maintenance) เพื่อช่วยลดการเกิดความเสียหายของเครื่องจักรได้ โดยทั่วไปเครื่องนับชั่วโมงการทำงาน (Hour Meter / Hour Counter / Time Counter) มี 2 ชนิด (ดังรูป) Analog  Hour Counter เครื่องนับจำนวนชั่วโมงการทำงานแบบตัวเลขอนาล็อก                                        Digital Hour Counter เครื่องนับชั่วโมงการทำงานแบบดิจิตอล        โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำ Digital Hour Counter เครื่องนับชั่วโมงการทำงานแบบดิจิตอลกัน เนื่องจากง่ายต่อการดูค่าตัวเลข ทั้งในรูปแบบของ นาที (Minute) และชั่วโมง (Hour) (รุ่น CMP-24 ย่านการนับ 0-99999.9 Min/Hour) โดยมี Alarm แจ้งเตือนผู้ปฏิบัติงานให้ทราบเมื่อครบเวลา และสามารถ Reset ค่าในกรณีที่ต้องการตั้งค่าการเริ่มนับเวลาการทำงานของเครื่องจักรใหม่ เพื่อตรวจเช็คและตั้งเวลาบำรุงรักษาเครื่องจักร (Machine Mmaintenance) ได้ทันตามกำหนด        ตัวอย่างการต่อใช้งานเครื่องนับชั่วโมงการทำงานแบบดิจิตอล (Digital Hour Counter) ช่วยในการนับชั่วโมงทำงานของเครื่องจักร เหมาะกับการใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ รูปแสดงตัวอย่างการต่อใช้งานเครื่องนับชั่วโมงการทำงานแบบดิจิตอล (Digital Hour Counter) รุ่น CMP-24 ร่วมกับ Rotation Warning Light เพื่อ Alarm แจ้งเตือน โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
4 ปัจจัยในการเลือกใช้แอร์ตู้คอนโทรล (Air Conditioner for Control Boxes)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK PE-1000 (1000 BTU) PE-2700 (2700 BTU) PEV-4000 (4000 BTU) PE-7000 (7000 BTU) PE-13000 (13000 BTU) PE-4000 (4000 BTU)      ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตเครื่องจักรต่าง ๆ จะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายในตู้คอนโทรลไฟฟ้า และหากไม่ได้รับการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) แล้ว จะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีอายุการใช้งานที่สั้นลงและทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ      ซึ่งในหัวข้อที่ผ่านมาเราก็ได้พูดถึงวิธีการในการยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีต่าง ๆ กันไปแล้วนั้น เช่น วิธียืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล, ตู้สวิทบอร์ด (MDB) โดยการใช้พัดลมระบายอากาศภายในตู้คอนโทรล (Cabinet Filter Fans) และการติดตั้งแอร์เพื่อรักษาอุณหภูมิและลดความชื้นภายในตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes) แอร์ตู้คอนโทรลดียังไง ทำไมต้องติดตั้งแอร์ตู้คอนโทรล (Air Conditioner for Control Boxes) ทำให้ทราบถึงประโยชน์ในการติดตั้ง        โดยในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำ 4 ปัจจัย ในการเลือกใช้แอร์ตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes) ให้เหมาะสมกับขนาดตู้คอนโทรล, ตู้ไฟฟ้า, ตู้สวิทบอร์ด (MDB) ดังนี้      1. ขนาดตู้หรือพื้นที่ภายในตู้คอนโทรล โดยคำนวณค่าออกมาเป็นตารางเมตร (M2) ใช้สูตร พื้นที่รวม = (2xHxW)+(2xHxD)+(DxW) *H = สูง, W = กว้าง, D = ลึก*      2. โหลดภายในตู้ (สูตรคำนวณ)                เช่น อินเวอร์เตอร์ (Inverter), เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply), พีแอลซี (PLC), รีเลย์ (Relay), เอสซีอาร์ (SCR), เซอร์โว (Servo) เป็นต้น                *จากการคำนวณหา Heat Loss (KW) 10% ของโหลดทั้งหมด*      3.  อุณหภูมิภายนอกตู้ ( ํC Out)  เป็นอุณหภูมิความร้อนจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลให้การระบายความร้อนของแอร์ตู้คอนโทรลจะระบายความร้อนได้ไม่ดี จะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกิดความเสียหายได้                จากสูตร ความร้อนที่เกิดจากขนาดตู้ (Q1) = (ค่าสัมประสิทธิ์ในการถ่ายเทความร้อน) x (พื้นที่รวม) x (ผลต่างอุณหภูมิ) *หน่วย วัตต์ (W)*             อุณหภูมิภายในตู้ ( ํC In) เป็นอุณหภูมิความร้อนที่เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์ภายในตู้                จากสูตร ความร้อนของอุปกรณ์ภายในตู้ (Q2) = (ความร้อนของอุปกรณ์ภายในตู้) + ((10%) x (ความร้อนของอุปกรณ์ภายในตู้)  *หน่วย วัตต์ (W)*     ทำให้ได้ความร้อนรวม (Qt) = (ความร้อนที่เกิดจากขนาดตู้ ((Q1) + (ความร้อนของอุปกรณ์ภายในตู้ Q2)) *หน่วย วัตต์ (W)*        4. อุณหภูมิภายในตู้คอนโทรลที่ต้องการ เช่น การปรับอุณหภูมิที่ต้องการภายในตู้คอนโทรลเนื่องจากต้องอ้างอิงกับสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น อุณหภูมิแวดล้อมภายนอก 45 ํC ควรปรับลดอุณหภูมิภายในตู้ 10-15 ํC หรือประมาณ 10ํC (ไม่ควรเกิน 35 ํC) ซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะสมต่ออุปกรณ์ภายในตู้คอนโทรล เนื่องจากถ้าภายในตู้คอนโทรลมีอุณหภูมิสูงกว่า 35 ํC จะส่งผลให้อุปกรณ์ภายในตู้มีอายุการใช้งานที่สั้นลง ส่วนถ้าภายในตู้คอนโทรลมีอุณหภูมิต่ำกว่า 28 ํC จะส่งผลในเรื่องของความชื้นและอาจจะทำให้เกิดหยดน้ำที่ผนังตู้คอนโทรลได้ในกรณีที่อุณหภูมิภายนอกกับอุณหภูมิภายในตู้แตกต่างกันเกิน 10 ํC        ตัวอย่าง สูตรคำนวณหาค่า Cooling Unit (BTU) แอร์รักษาอุณหภูมิและลดความชื้นภายตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes)      สูตรคำนวณแอร์ CLICK        แอร์รักษาอุณหภูมิและลดความชื้นภายตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes) โครงสร้างวัสดุทำจากเหล็กขึ้นรูปป้องกันสนิม งานอุตสาหกรรมทั่วไป รูปแสดงลักษณะการติดตั้งแอร์รักษาอุณหภูมิและลดความชื้นภายตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes)        แอร์รักษาอุณหภูมิและลดความชื้นภายตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes) โครงสร้างวัสดุทำจากสแตนเลส งานอุตสาหกรรมอาหารและยา รูปแอร์รักษาอุณหภูมิและลดความชื้นภายตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes) วัสดุทำจากสแตนเลส        นอกจากนี้ยังมีแอร์รักษาอุณหภูมิและลดความชื้นภายตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes) ที่เหมาะสำหรับตู้ที่มีขนาดใหญ่และมีโหลดหนัก ๆ ภายในตู้ โดยติดตั้งด้านข้าง ซึ่งมีระบบทำความเย็นภายในตัวเครื่องส่งลมเย็นเข้าไปภายในตู้คอนโทรลได้ถึง 13000 BTU และสามารถป้องกันปัญหาเรื่องความชื้นและเศษสิ่งสกปรกได้อย่างดีเยี่ยม ระบบการทำงานจะเป็นระบบปิดเพื่อระบายความร้อนและความร้อนส่วนนั้นจะถูกดึงกลับเข้าสู่ช่องรับลมกลับเพื่อระบายออกสู่ภายนอก รูปแสดงลักษณะการติดตั้งแอร์รักษาอุณหภูมิและลดความชื้นภายตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes) แบบติดตั้งด้านข้าง (Diamension กว้าง 508mm. / สูง 1234mm. / ลึก 368mm.)        ข้อแนะนำ : ควรติดตั้ง Air Conditioner ตำแหน่งการติดตั้งตำแหน่งด้านข้างตู้คอนโทรล (Side Installation Cabinet) เพื่อช่วยลดปัญหาของการระบายน้ำทิ้ง หรือจำเป็นต้องติดตั้งตำแหน่งด้านบนตู้คอนโทรล (Top Installation Cabinet) กรณีพื้นที่สำหรับการติดตั้งไม่เพียงพอ Air Conditioner ควรมีระบบการป้องกัน เช่น มีระบบป้องกันน้ำล้น, ท่อตัน, ในท่อน้ำทิ้ง เพราะจะทำการกลั่นตัวเป็นไอน้ำในอากาศให้กลายเป็นหยดน้ำ (Condensation) เพื่อป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เสียหาย (Air Conditioner แบบติดตั้งด้านบนหลังตู้ รุ่น PE-4000 มี 2 ท่อระบายน้ำทิ้ง)      หมายเหตุ : 4 ปัจจัยในการเลือกใช้แอร์ตู้คอนโทรล (Air Conditioner For Control Boxes) ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นเพียงปัจจัยในการพิจารณาเลือก Cooling Unit (BTU) ของแอร์ตู้คอนโทรล PE-1000 (1000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PE-1000SUS (1000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก PE-2700 (2700 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PE-2700SUS (2700 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก PEV-4000 (4000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PEV-4000SUS (4000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก PE-7000 (7000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PE-7000SUS (7000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก PE-13000SU (13000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PE-13000SUS (13000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก PE-4000 (4000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PE-4000SUS (4000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส

Image Alternative text
เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส มีแบบไหนบ้าง (Non-Contact Thermometer)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันในงานอุตสาหกรรมที่มีการวัดอุณหภูมิโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ การวัดอุณหภูมิแบบสัมผัสกับชิ้นงานโดยตรง และการวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสกับชิ้นงานโดยตรง การวัดอุณหภูมิแบบสัมผัสกับชิ้นงานโดยตรงมักจะใช้โพรบ (Prob) ของเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) เช่น เทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple), อาร์ทีดี (RTD) หรือเทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) ที่ต่อร่วมกับหัววัดอุณหภูมิแบบต่าง ๆ เช่น หัววัดอุณหภูมิแบบสัมผัสที่พื้นผิว (Surface), หัววัดอุณหภูมิแบบจุ่ม (Immersion), หัววัดอุณหภูมิแบบเสียบ (Penetrate) เพื่อวัดอุณหภูมิของวัตถุต่าง ๆ เช่น น้ำ, น้ำมัน พื้นผิวชิ้นงานทั้งที่เป็นโลหะและอโลหะ เรายังสามารถนำตัววัดอุณหภูมิแบบต่าง ๆ นี้ ไปต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ด้วย เช่น เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller), เครื่องบันทึกค่าอุณหภูมิ (Recorder) เป็นต้น      การวัดอุณหภูมิที่เราจะมาแนะนำในวันนี้ จะเป็นการวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสกับชิ้นงาน (Non-Contact Thermometer) ซึ่งการวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) เป็นการวัดอุณหภูมิโดยอาศัยหลักการแผ่รังสีอินฟราเรดไปยังวัตถุที่ต้องการวัด เมื่อแสงอินฟราเรดจากเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด (Infrared Thermometer) ยิงไปที่วัตถุนั้น ก็จะทราบค่าของอุณหภูมิของวัตถุนั้น ๆ ได้เลย โดยไม่ต้องสัมผัสกับวัตถุนั้นโดยตรง เป็นการวัดอุณหภูมิที่พื้นผิว (Surface) ของวัตถุเท่านั้น ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำเครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) ซึ่งมี 2 ลักษณะด้วยกัน คือ แบบพกพา (Portable) และแบบติดตั้งถาวร (Fixed Installation) ดังนี้        1. เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) แบบพกพา (Portable) ดังรูป รูปแสดงลักษณะการนำไปประยุกต์ใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) แบบพกพา หรือเทอร์โมมิเตอร์แบบพกพา (Infrared Thermometer)      เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) แบบพกพา (Portable) เหมาะสำหรับลักษณะงานที่เราต้องการวัดอุณหภูมิในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นครั้งคราว เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของอุณหภูมิในบริเวณนั้น ๆ เช่น การวัดอุณหภูมิของมอเตอร์, บัสบาร์หรือขั้วต่อสายไฟในตู้คอนโทรล หากมอเตอร์, บัสบาร์หรือขั้วต่อสายไฟในตู้คอนโทรลมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ อาจมีความผิดปกติของอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้เราได้ทราบปัญหาของอุปกรณ์ล่วงหน้า และเราสามารถทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ก่อนที่จะเกิดความเสียหายก่อนได้ ในการวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสนี้ (Non-Contact Thermometer) สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการวัดเพื่อให้การวัดอุณหภูมิมีความผิดพลาดในการวัดน้อยที่สุด คือ อัตราส่วนของระยะทางต่อพื้นที่ในการวัดของชิ้นงานนั้น D : S (Distance Per Spot)  (ดังรูป)        ยกตัวอย่างการคำนวณอัตราส่วนระหว่างระยะทางต่อพื้นที่ในการวัดของชิ้นงาน D : S (Distance Per Spot) ของ Infrared Thermometer รุ่น CENTER 350 ซึ่งขนาดของพื้นที่ที่ต้องการวัดอุณหภูมิจะขึ้นอยู่กับระยะห่างของ Thermometer กับบริเวณพื้นผิวที่ต้องการวัด ซึ่งจะมีค่าประมาณ 8 : 1 เช่น หากต้องการวัดชิ้นงานที่มีระยะห่างประมาณ 800 mm. จากพื้นผิวที่จะวัด พื้นที่ผิวที่วัดจะต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 100 mm. ในกรณีนี้ถ้าชิ้นงานหรือพื้นที่ที่เราต้องวัดมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่น้อยกว่า 100 mm. จะทำให้ผลจากการวัดค่าอุณหภูมิมีความคลาดเคลื่อนมากกว่าปกติ เนื่องจากเมื่อชิ้นงานเล็กกว่าพื้นที่ที่ต้องการวัด ตัวอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ (Infrared Thermometer) จะทำการวัดทั้งพื้นผิวของชิ้นงานและพื้นผิวโดยรอบด้วยทำให้ค่าที่วัดไม่ถูกต้อง เป็นต้น        2. เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) แบบติดตั้งถาวร (Fixed Installation) ดังรูป รูปแสดงลักษณะการนำไปประยุกต์ใช้งาน เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) แบบติดตั้งถาวร (Fixed Installation)        เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) แบบติดตั้งถาวร (Fixed Installation) ใช้หลักการเดียวกันกับเครื่องวัดอุณหภูมิแบบพกพา (Portable Thermometer) โดยส่วนมากแบบติดตั้งถาวรนี้จะเป็นลักษณะการวัดค่าอุณหภูมิแบบต่อเนื่อง เพื่อนำผลที่ได้จากการวัดไปแสดงค่าที่หน้าจอแสดงผลของรุ่นนั้น ๆ (BA-30TA) หรือบางรุ่นต้องมีหัววัดอุณหภูมิ (BS-30TA) ต่อร่วมกับ Amplifier (BS-A) เพื่อแสดงผล เนื่องจากบางลักษณะงานที่วัดอุณหภูมิที่สูง ตัว Amplifier (BS-A) ไม่สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงได้  เครื่องวัดอุณหภุมิแบบไม่สัมผัสนอกจากจะแสดงผลได้ที่ตัวของมันเองแล้ว เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสนี้ยังมีสัญญาณ Analog 4-20mA เพื่อไปต่อร่วมกับตัวแสดงผล (Digital Indicator) หรือตัวควบคุม (Controller) เป็นต้น      เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) มีหลายแบบให้เลือกตามความเหมาะสมในการใช้งาน เช่น Non-Contact Thermometer Model : SA-80T-2A เป็นรุ่นที่วัดอุณหภูมิ ย่าน 0-200 ํC Output 4-20mA เป็นรุ่นที่ไม่มีหน้าจอแสดงผล และ Non-Contact Thermometer Model : BA-30TA เป็นรุ่นที่วัดอุณหภูมิ ย่าน 0-500 ํC Output 4-20mA พร้อมมีหน้าจอแสดงผลที่ตัวเลย (ดังตัวอย่างต่อไปนี้)        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Non-Contact Thermometer Model : SA-80T-2A เป็นรุ่นที่วัดอุณหภูมิ ย่าน 0-200 ํC Output 4-20mA เป็นรุ่นที่ไม่มีหน้าจอแสดงผล รูปแสดงตัวอย่างการต่อใช้งาน Non-Contact Thermometer รุ่น SA-80T-2A Output 4-20mA ร่วมกับ Digital Indicator รุ่น TIM-94N โดยต่อแบบ Supply แยก รุ่น PM-024S-2.5        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Non-Contact Thermometer Model : BA-30TA เป็นรุ่นที่วัดอุณหภูมิ ย่าน 0-500 ํC Output 4-20mA พร้อมมีหน้าจอแสดงผลที่ตัวเลย รูปแสดงตัวอย่างการต่อใช้งาน Non-Contact Thermometer รุ่น BA-30TA วัดอุณหภูมิ ย่าน 0-500 ํC Output 4-20mA พร้อมมีหน้าจอแสดงผลที่ตัวเลย        นอกจากนี้ในการเลือกใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส (Non-Contact Thermometer) ยังเหมาะสำหรับวัดอุณหภูมิในบริเวณที่ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่อันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน เช่น พื้นที่อุณหภูมิสูง, พื้นที่เสี่ยงอันตรายจากวัตถุไวไฟหรือมีสารเคมี เป็นต้น   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การประยุกต์ใช้งาน Bar Graph Indicator

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      INDICATOR เป็นตัววัดค่าที่มีทั้งการแสดงผลในรูปแบบที่เป็นแบบเข็ม (Scale) และแสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Indicator) โดยในทางอุตสาหกรรม Indicator จะถูกนำมาใช้งานในการแสดงผลของอุณหภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity), ความดัน (Pressure), อัตราการไหล (Flow rate), ความเร็วรอบ (RPM) เป็นต้น โดยรับสัญญาณจากการเซ็นเซอร์หรือเครื่องมือวัดต่าง ๆ เช่น เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor), Thermocouple, Pt100, NTC, PTC และสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานทางไฟฟ้า เช่น 4-20mA, 0-10VDC เป็นต้น โดยส่วนมากนิยมใช้แสดงค่าเป็นแบบดิจิตอล (Digital) เนื่องจากดูค่าตัวเลขจากหน้าจอได้เลย และในการตั้งค่า Scale สามารถตั้งค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ของค่าสูงสุด (High SLH) และ ต่ำสุด (Low SLL) โดยอ้างอิงจาก Input  เช่น 4mA เท่ากับ 0 เปอร์เซ็นต์ (%) และ 20mA จะเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ (%) ดังกราฟ   กราฟแสดงการทำงานของสัญญาณอนาล็อก 4-20mA        ซึ่ง Digital Indicator โดยทั่วไปมักมีการแสดงผลในรูปแบบของตัวเลข แต่ในบางลักษณะงานมีความจำเป็นที่จะแสดงค่าเป็นลักษณะ Visual Control ที่สามารถมองเห็นได้เลย ในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำการประยุกต์ใช้งานของ Digital Bar Graph Indicator (เครื่องแสดงผล (Indicator) แบบมี Bar Graph) ว่ามีลักษณะงานแบบไหนที่เหมาะสมกับการใช้ Indicator ประเภทนี้กัน        การประยุกต์ใช้งาน Bar Graph Indicator รูปแสดงการต่อประยุกต์ใช้งาน Bar Graph Indicator รุ่น TIM-95G ร่วมกับ Level Sensor รุ่น LP-07-I แสดงปริมาณน้ำในถังเพื่อ Alarm แจ้งเตือนผู้ปฏิบัติงาน (Tower Light)        จากรูป เป็นการวัดระดับน้ำแบบต่อเนื่องในถัง 100 ลิตร ของเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ (Level Sensor) ที่มีสัญญาณเอาต์พุต 4-20mA เพื่อโชว์ค่าที่เครื่องแสดงผลแบบดิจิตอลพร้อมบาร์กราฟ (Digital Bar Graph Indicator) โดยผู้ปฏิบัติงานได้รู้เปอร์เซ็นต์ของ Input เพื่อโชว์ระดับน้ำได้ทั้งรูปแบบของตัวเลขและ Bar Graph ส่วน LED ที่แสดงผลของ Bar Graph จะเคลื่อนที่ตลอดเวลาตาม Input ที่เข้ามา และ Digital Bar Graph Indicator สามารถตั้งค่า Alarm Relay ต่อร่วมกับไฟสัญญาณแจ้งเตือน (Signal Tower Light) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบถึงสถานะของระดับน้ำ (ดังรูป)        นอกจากนี้ เครื่องแสดงผลแบบดิจิตอลพร้อมบาร์กราฟ (Bar Graph Indicator) ยังสามารถต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ (Computer) เพื่อแสดงผลในระบบ เก็บข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ (Computer) โดยการเชื่อมต่อแบบ RS-485 (ดังรูป) รูปแสดงการเชื่อมต่อเครื่องแสดงผลแบบดิจิตอลแบบบาร์กราฟ (Bar Graph Indicator) โดยการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ด้วยระบบการเชื่อมต่อแบบ RS-485   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด ทำอย่างไรได้บ้าง?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ฮีตเตอร์ (Heater) คือ อุปกรณ์ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานหรือของเหลว ที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น การใช้ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่เครื่องฉีดพลาสติก, ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater) เพื่อให้ความร้อนกับแผ่นแม่พิมพ์, ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) เพื่อต้มน้ำมัน, ของเหลวหรือต้มสารเคมี, ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่แม่พิมพ์ในการอุ่นของเหลว อุ่นกาว, ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) เพื่อให้ความร้อนในการอุ่นของเหลว, ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เพื่อให้ความร้อนกับอากาศในการอบแห้ง, ไล่ความชื้น, ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater) ให้ความร้อนโดยการแผ่รังสี งานอบสี, อบขนม, อบอาหาร เป็นต้น        นอกจากนี้ยังมีฮีตเตอร์ (Hetaer) อีกหลายประเภท เช่น ฮีตเตอร์บอบบิ้น (Bobbin Heater), คอยล์ฮีตเตอร์ (Coil Heater), ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ (Hot runner Heater) เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเภทก็มีการนำไปใช้งานที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของลักษณะงาน        ซึ่งฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละประเภทจะมีอายุในการใช้งานซึ่งหากใช้ไปนาน ๆ แล้วไม่มีการบำรุงรักษา 5 วิธีง่าย ๆ สำหรับยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater) หรือใช้งานไม่เหมาะสมกับหน้างานและใช้งานเกินกำลังวัตต์ของฮีตเตอร์ (ตามค่ากำหนด W/CM2 แต่ละประเภท) อาจทำให้ฮีตเตอร์ (Heater) ขาด หรือบางครั้งเกิดความเสียหายโดยไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ และทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหายไปแล้ว ทำให้มีผลกระทบต่อกระบวนการผลิต ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำ วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาดทำอย่างไรได้บ้าง ดังนี้        1. วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด โดยใช้มิเตอร์วัดและอ่านค่าความต้านทาน (Resistor) (ดังรูป)      ฮีตเตอร์ (Heater) ถือเป็นโหลด  R หรือ ตัวต้านทาน (Resistor) สามารถทำการวัดและอ่านค่าง่าย ๆ ได้ด้วยมัลติมิเตอร์ (Multimeter) รุ่น CENTER 110 โดยปรับ Scale ไปที่หน่วยโอห์ม (Ohm) กรณีฮีตเตอร์ขาดจะวัดค่าโอห์ม (Ohm) ไม่ขึ้น และกรณีฮีตเตอร์ใช้งานได้ปกติค่าโอห์ม (Ohm) จะขึ้น ตามสูตรการหาค่ากำลังไฟฟ้า P=I2R หรือ P=E2/R        2. วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด โดยใช้ Temperature Controller รุ่น TMP-95 ที่มีฟังก์ชั่น CT Input เพื่อเช็คทำให้รู้ว่าฮีตเตอร์ (Heater) ขาดหรือไม่ โดยต่อวงจรการใช้งาน (ดังรูป) รูปวงจรการต่อใช้งานของ Temperature Controller ฟังก์ชั่น CT Input เพื่อเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break)        การใช้งานฟังก์ชั่น CT Input เพื่อเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) โดยการนำเอา CT Max. 30A (Current Transformer) มาคล้องกับสายไฟที่ต่อฮีตเตอร์ (Heater) แล้วนำ CT มาต่อเข้า Temp Controller ได้โดยตรง โดย Temp Control จะตรวจเช็คกระแสที่ไหลผ่านตัวฮีตเตอร์ (Heater) ซึ่งจะมีกระแสไหลผ่านอยู่ค่า ๆ หนึ่ง จากการกำหนดค่ากระแส (Current) ของผู้ใช้งานที่ต้องการจะตรวจเช็ค ซึ่ง CT (Current Tranformer) จะเป็นตัวคอยตรวจเช็คกระแสที่ไหลผ่านตัวฮีตเตอร์ หากฮีตเตอร์ขาดหรือไม่มีกระแสไหลผ่านในขณะที่ Output ของ Temperature Controller ทำงาน ก็จะส่งสัญญาณ Alarm แจ้งเตือนให้ทราบว่าขณะนี้ฮีตเตอร์ขาด        3. วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด โดยใช้อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) ต่อร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005D (Digital Monitor For Heater Break Alarm) เพื่อแสดงค่ากระแสฮีตเตอร์ (Heater) (ดังรูป) รูปวงจรการต่อใช้งานของอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N โดยต่อคล้องผ่าน CT ร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005D      อุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N จะทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว (ที่กระแส 50 A. ได้ถึง 4 ตัว) ในเวลาเดียวกัน โดยต่อสายคล้องผ่าน CT (Current Transformer) เพื่อทำการเช็คกระแสของฮีตเตอร์ (Heater) ในแต่ละตัว ถ้าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดไม่มีกระแสไหลผ่าน แสดงว่าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวนั้นขาด หรือในกรณีฮีตเตอร์ (Heater) ทำงาน คือ มีกระแสไหลผ่านตลอดเวลา อันเนื่องจาก Solid State Relay Short Circuit หรือหน้า Contact ของ Magnetic Arc. ติดกัน โดยที่ Output ของ Temperature Controller ไม่สั่งงาน จะทำให้มี Alarm เตือนความผิดปกติ เป็นต้น        ซึ่งในกรณีนี้เราจะยกตัวอย่างอุปกรณ์แสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) รุ่น CM-005D ในการแสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละตัว ได้สูงสุดถึง 8 ตัว (ต่อเข้ากับ CM-005N 2 ตัว) เพื่อ Alarm แจ้งเตือนให้ผู้ปฏิบัติทราบถึงสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากกับเครื่องจักรที่มีการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) หลาย Zone เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะถ้าฮีตเตอร์ (Heater) เส้นใดเส้นหนึ่งขาดโดยที่ผู้ปฎิบัติงานไม่รู้จะทำให้ชิ้นงานเสียหายได้  ดังนั้นในวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นสำหรับการเช็คฮีตเตอร์ขาดนั้น หวังว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับผู้ใช้งานได้ไม่มากก็น้อยและเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) นั้น การเลือกใช้อุปกรณ์ต่อร่วมก็สำคัญเช่นกัน เช่น  Temperature Controller, Solid State Relay, Temperature Sensor เป็นต้น Multimeter Heater Break Alarm Digital Monitor For Heater Break Alarm Finned Heater Digital Temperature Controller PID Control Function   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Output Control ต่างจาก Transfer Output อย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      โดยทั่วไปในการใช้งานเครื่องแสดงผล (Indicator) หรือเครื่องควบคุม ( Controller) ในงานอุตสาหกรรมนั้น จะประกอบไปด้วยอินพุท (Input), คอนโทรลเลอร์ (Controller) และเอาต์พุต (Output) แต่วันนี้เราจะมาพูดคุยถึงส่วนของเอาต์พุต (Output) ที่นำไปต่อใช้ร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น โซลิดสเตจรีเลย์ (Solid State Relay), แมคเนติค (Magnetic) เพื่อนำไปต่อร่วมกับโหลด (Load) ต่าง ๆ เช่น ฮีตเตอร์ (Heater), มอเตอร์ (Motor) เป็นต้น โดยชนิดของเอาต์พุต (Output) ของอุปกรณ์เครื่องควบคุม (Controller) และเครื่องแสดงผล (Indicator) มีอยู่หลากหลายแบบเช่นกัน แต่ที่ใช้กันมากในปัจจุบัน เช่น Output Relay, Output Solid State (SSR), Output 4-20mA หรือ Output  0-10VDC เป็นต้น      ซึ่งหลายคนมักจะสับสนเกี่ยวกับลักษณะการนำไปใช้งานของ Output ทั้ง 2 ชนิดนี้ ว่าระหว่าง Output Control กับ Transfer Output นั้นแตกต่างกันอย่างไร และบ่อยครั้งที่เรามักจะสั่งซื้อ Output แบบ Analog Output Control กับ Analog Transfer Output มาใช้งานผิดพลาด โดยเข้าใจว่าเป็นเอาต์พุตทั้ง 2 แบบนี้นำไปใช้งานเหมือนกัน ซึ่งความจริงแล้วมีความแตกต่างกันในลักษณะการนำไปใช้งาน ดั้งนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับ Output Control และ Transfer Output เราจะขออธิบายดังนี้      Output Control  คือ สัญญาณเอาต์พุตที่มาจากเครื่องควบคุม (Controller) แล้วทำการประมวลผล (Processor) โดยนำค่าที่วัดได้จากสัญญาณทางด้านอินพุต (Input) หรือที่เรียกว่า Process Value (PV) แล้วนำมาทำการเปรียบเทียบกับค่าที่เราตั้งไว้ Setpoint หรือเรียกว่า Setting Value (SV) แล้วเครื่องควบคุม (Controller) จะทำการประมวลผล (Processor) แล้วสั่งจ่ายเอาต์พุต (Output) ตามค่าที่เครื่องควบคุมประมวลผล เพื่อให้กระบวนการในการควบคุมนี้ มีค่า Process Value (PV) เท่ากับ Setting Value (SV) ได้ตามที่เราตั้งไว้      ยกตัวอย่างการต่อใช้งานรูปแบบ Output Control แบบอนาล็อก 4-20mA (PID Control) ของเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) สำหรับสั่งจ่าย Output  เพื่อ Drive Power SCR ในการควบคุมฮีตเตอร์ (Heater) ดังรูป รูปแสดงการต่อใช้งาน Output Control ของ Temperature Controller ร่วมกับ Power SCR 4-20mA เพื่อควบคุมฮีตเตอร์ (Heater)        Output Control ของสัญญาณ 4-20mA (PID) ใช้ควบคุมเพื่อให้ได้ค่า PV นิ่ง ที่ Setpoint (SV) ตามที่เรากำหนดไว้  ลักษณะการควบคุมจะจ่าย Output เป็นเปอร์เซ็นต์ 0-100% เช่น Output ทำงาน100% จะจ่ายสัญญาณที่ 20mA และเมื่ออุณหภูมิเริ่มเข้าใกล้ Setpoint แล้ว Output จะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ จาก 100% ลงมาจนกลายเป็น 0% จะจ่ายสัญญาณที่ 4mA  คือ (PV=SV) นั่นเอง        ตัวอย่าง กราฟแสดงการทำงานของ Output Control สัญญาณอนาล็อกเอาต์พุต 4-20mA  (Analog Output Control PID) กราฟแสดงการทำงานของ Analog Output Control 4-20mA (PID)        Transfer Output  คือ สัญญาณเอาต์พุตจะเปลี่ยนแปลงโดยที่อ้างอิงจาก Scale High-Low ของค่า PV (Process Value) ของอุปกรณ์นั้น ๆ ซึ่งการทำงานของสัญญาณ Output ในรูปแบบ Transfer นั้น จะถูกส่งออกเป็นสัญญาณแบบ Linear เช่น 4-20 mAdc/0-10Vdc เป็นต้น        ตัวอย่าง เช่น ยกตัวอย่างการต่อใช้งาน Transfer Output ของ Process Indicator Model TIM-94N ที่ช่วงอุณหภูมิที่วัดได้ 0-200 ํC  ที่ 0 ํC  Process Indicator Model TIM-94N จะส่งสัญญาณ Output ออกไป 4mA และที่ 100 ํC  Process Indicator Model TIM-94N จะส่งสัญญาณ Transfer Output ออกไป 20mA โดยสัญญาณ 4-20mA จะเป็นเชิงเส้นจะต่างกับสัญญาณ 4-20mA ที่ลักษณะของ Output Control (ดังรูป) รูปแสดงการต่อใช้งานของ PT100 ร่วมกับ Digital Indicator TIM-94N และส่งสัญญาณ Transfer Output 4-20mA เพื่อเข้าเครื่องบันทึกข้อมูล (Recorder)        ตัวอย่าง กราฟแสดงการทำงานของ Transfer Output สัญญาณอนาล็อกเอาต์พุต 4-20mA (Analog Transfer Output) กราฟแสดงการทำงานของ Analog Transfer Output 4-20mA        Transfer Output จากการยกตัวอย่างเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) ในการทำงานรูปแบบของ Output  Control และ Transfer Output ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดและแสดงผลค่าสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานที่มี Transfer Output เพื่อส่งค่าไปยังอุปกรณ์แสดงผลอีกตัวหนึ่งที่รับสัญญาณ 4-20mA เช่น เครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Indicator), เครื่องบันทึกอุณหภูมิ (Recorder), PLC เป็นต้น      จากข้อมูลข้างต้น หวังว่าผู้ใช้งานจะไม่สับสนระหว่าง Output Control กับ Output  Transfer กันอีกต่อไปแล้ว และสามารถเลือกใช้งานเครื่องแสดงผล (Indicator) หรือเครื่องควบคุม (Controller) ในโรงงานอุตสาหกรรม ได้อย่างเหมาะสมต่อไป Digital Temperature Controller PID Control Function Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Temperature Sensor Heater 3-Phase SCR Power Regulator   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
2 Channels Multi-Function Slim Timer ตั้งเวลาควบคุมการทำงานอุปกรณ์ไฟฟ้า 2 ตัว

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Timer (ไทม์เมอร์) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการตั้งเวลา โดยสามารถตั้งเวลาได้ทั้งหน่วยของ วินาที (Second), นาที (Minute), ชั่วโมง (Hour) เพื่อใช้ในการควบคุมการ เปิด-ปิด (ON-OFF) ของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ให้ทำงานตามเวลาที่เราต้องการ เช่น การตั้งเวลาหน่วงการทำงานอุปกรณ์ (Delay On Operate), การตั้งเวลาสลับการทำงานของอุปกรณ์ (ON/OFF Recycle Timer), การตั้งเวลาหน่วงการ Start ในการต่อแบบสตาร์-เดลต้า (Star-Delta Timer) ของมอเตอร์เพื่อลดกระแสไฟฟ้าในขณะสตาร์ท เป็นต้น      ซึ่งภายในระบบการควบคุมเวลาการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในตู้คอนโทรลนั้น มีอุปกรณ์หลากหลายชนิดที่ต้องตั้งเวลาในระบบควบคุมทางไฟฟ้า จึงมีความจำเป็นต้องใช้ Timer ตั้งเวลาควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มากกว่า 1 ตัว หรือต้องใช้ Timer ถึง 2 ตัวขึ้นไปในการตั้งเวลาการทำงาน โดยบางครั้งอาจมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ในการติดตั้งที่ไม่เพียงพอต้องเพิ่มขนาดของตู้คอนโทรลเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องเพิ่มต้นทุนในการซื้อตู้คอนโทรลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นการเลือกใช้ Timer Relay ที่มีขนาดเล็กและมี Timer 2 ตัวอยู่ในตัวเดียวกันทำงานแยกอิสระจากกัน จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดต้นทุนการออกแบบระบบควบคุมการตั้งเวลาการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในตู้คอนโทรลได้      ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำ Slim Timer แบบ 2 Output (2 Channels Multi-Function Timer) ที่เปรียบเสมือนมี Timer 2 ตัวอยู่ภายในตัวเดียวกัน โดยจะสั่งงานอุปกรณ์ 2 ตัว แยกอิสระจากกัน (Isolate) พร้อมทั้งยังประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งและง่ายในการติดตั้ง เพราะสามารถยึดกับราง Din Rail ได้เลย ดังรูป รูป Slim Timer แบบ 2 Output (2 Channels Multi-Function Timer) รุ่น PF-04      ตัวอย่างการต่อใช้งาน Slim Timer แบบ 2 Output (2 Channels Multi-Function Timer) รุ่น PF-04 ในการตั้งค่าควบคุมการทำงาน เปิด-ปิด (ON-OFF) อุปกรณ์ 2 ตัว (ดังรูป) รูปแสดงการต่อวงจรของ Slim Timer แบบ 2 Output แยกอิสระ (2 Channels Multi-Function Timer) รุ่น PF-04 เพื่อควบคุมการทำงานของมอเตอร์และควบคุมการทำงานของพัดลม (Fan)        จากรูปวงจรอธิบายการสั่งงานของเอาต์พุต (Output) ของ Slim Timer แบบ 2 Output (2 Channels Multi-Function Timer) ที่นำไปประยุกต์ใช้งานได้ ดังนี้           • เอาต์พุต 1 (Output) สั่งงานควบคุมการทำงานของโซลินอยด์วาล์ว เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งาน เช่น ตั้งเวลาการเปิด-ปิด (ON-OFF) Sprinkleในการรดน้ำต้นไม้ โดยตั้งเป็นเวลารดน้ำ 1 ชั่วโมง (ON) และ หยุด 1 ชั่วโมง (OFF) หลังจากคำสั่ง Start ที่ Switch SW1 (ตามวงจรการต่อ)           • เอาต์พุต 2 (Output) สั่งงานควบคุมการทำงานของพัดลม (Fan)  เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งาน เช่น ตั้งเวลาการเปิด-ปิด (ON-OFF) พัดลม (Fan) ในฟาร์มไก่ ที่มีพัดลมอยู่หลายตัว ซึ่งถ้าเปิดพร้อมกันหลาย ๆ ตัว อาจจะทำให้เกิดไฟตก (Under Volatge) และมีกระแสไฟฟ้ากระชากช่วง Start ได้ การใช้ Timer ในการตั้งเวลาหน่วงการ Start ของพัดลมแต่ละตัวให้ Start ไม่พร้อมกันนั้น สามารถช่วยป้องกันแรงดันไฟฟ้าตกและลดกระแสไฟฟ้ากระชากในช่วง Start ได้ อีกทั้งยังเป็นการบริหารจัดการ Load พัดลมให้มีการ Start ห่างกัน 15 นาที เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วย (ลดค่าความต้องการไฟฟ้า Demand kW)        ในการใช้งานของ Slim Multi-Function Timer 2 Channels รุ่น PF-04-2 ที่นำมายกตัวอย่างนั้น จะเห็นได้ว่าการตั้งค่าของเอาต์พุตที่ 1 และเอาต์พุตที่ 2  นำมาประยุกต์ใช้งานได้คนละแบบหรือเอาต์พุตแยกอิสระกัน (Isolate Output) ในการควบคุมอุปกรณ์ 2 ตัว ในระบบ โดย Timer แบบ 2 Channels รุ่น PF-04 Series สามารถเลือกการตั้งค่าได้ 4 Function ดังกราฟ        Function 1. Delay ON Operate Timer (DT) เมื่อเริ่มทำงาน Relay Output จะอยู่ในสภาวะ OFF และเมื่อมี Input จ่ายเข้ามา PF-04 จะทำการหน่วงเวลาตาม Td ที่ตั้งไว้ เมื่อครบกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ Relay Output จึงทำงาน (ON) ตลอดเวลา (ดังรูป)        Function 2. Interval Timer (IT) เมื่อเริ่มทำงาน Relay Output จะอยู่ในสภาวะ OFF และเมื่อมี Input จ่ายเข้ามา PF-04 จะทำการสั่ง Relay Output ทำงาน และทำการหน่วงเวลาตาม Td ที่ตั้งไว้ เมื่อครบกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ Relay Output จะอยู่ในสภาวะ OFF ตลอดไป จนกว่าจะหยุดจ่าย Input (ดังรูป)        Function 3. Delay On Interval Timer (DI)  เมื่อเริ่มทำงาน Relay Output จะอยู่ในสถานะ OFF และเมื่อมี Input จ่ายเข้ามา PF-04 จะทำการหน่วงเวลาตาม Td ที่ตั้งไว้ เมื่อครบเวลา Relay Output จะอยู่ในสถานะ ON เป็นเวลาตาม Td เช่นกัน หลังจากครบช่วงเวลาแล้ว Relay จะ OFF ไปจนกว่าจะมีการเริ่มจ่าย Input ใหม่อีกครั้ง (ดังรูป)        Function 4. Recycle Timer Start ON (RNT) เมื่อเริ่มทำงาน Relay Output จะอยู่ในสถานะ ON เมื่อมี Input จ่ายเข้ามา PF-04 จะทำการหน่วงเวลาตาม Td ที่ตั้งไว้ เมื่อครบเวลา Relay Output จะหยุดทำงาน (OFF) เป็นเวลา Td ที่ตั้งไว้เช่นกัน และ Relay Output จะทำงานเช่นนี้ซ้ำไปตลอดจนกว่าจะหยุดจ่าย Input (ดังรูป) Star Delta Timer Delay On Operate Timer Multi-Function Timer 2 Channel Multi-Function Timer Digital Timer โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
4-20mA Current loop Transmitter ต่อใช้งานอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK EM-L            Programmable Signal Transmitter            EM-LC Programmable Signal Transmitter (Current Loop)      เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องมือวัดในอุตสาหกรรมมีมากมายหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีลักษณะของสัญญาณเอาต์พุต (Signal Output) ที่แตกต่างกันออกไป เมื่อต่อร่วมกับอุปกรณ์หลาย ๆ ตัวในระบบจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการต่อสาย จึงได้มีการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานสัญญาณของอุปกรณ์เครื่องมือวัดในรูปแบบของสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) ให้เป็นมาตรฐานในงานอุตสาหกรรม เช่น 0-20mA, 4-20mA (DC Current) หรือ 0-1VDC, 0-5VDC และ 0-10VDC (DC Voltage) เป็นต้น เพื่อนำสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) ไปต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่น เช่น เครื่องแสดงผล (Digital Indicator), เครื่องควบคุม (Controller) หรือ PLC เป็นต้น      สัญญาณในรูปแบบของกระแส 4-20mA (DC Current) และสัญญาณในรูปแบบของแรงดัน 0-10VDC (DC Voltage) เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานที่ใช้กับอุปกรณ์เครื่องมือวัดประเภททรานสมิตเตอร์ (Transmitter) เช่น Pressure Transmitter, Humidity & Temperature Transmitter เป็นต้น และเป็นสัญญาณทางด้านอินพุต (Input Signal) ให้กับเครื่องแสดงผล (Process Indicator) และเครื่องควบคุม (Controller) เช่น Digatal Indicator, Temperature Controller, Recorder, PLC เป็นต้น      ซึ่งสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานที่เหมาะสมในการใช้เดินสายระยะไกล คือ กระแสไฟฟ้า 4-20mA (DC Current ) เนื่องจากการต่อใช้งาน 4-20mA จะมีรูปแบบการต่อ 2 แบบ คือ แบบ Source Current 4-20mA และ Sink Current (Loop Current) 4-20mA      โดยในหัวข้อนี้เราจะขอยกตัวอย่างการต่อสัญญาณอนาล็อกทางไฟฟ้าแบบ 4-20mA แบบ Current loop และการต่อสัญญาณอนาล็อกทางไฟฟ้าแบบ Source Current จาก Output ของอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Transmitter)        แบบที่ 1 การต่อแบบ Sink Current (Loop Curent) 4-20mA   รูปแสดงการต่อแบบ Sink Current (Loop Current) 4-20mA ของ Transmitter รุ่น EM-LC Series ร่วมกับเครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Indicator) รุ่น CM-004N        แบบที่ 2 การต่อแบบ Source Current 4-20mA   รูปแสดงการต่อแบบ Source Current 4-20mA ของ Transmitter รุ่น EM-N Series ร่วมกับเครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Indicator) รุ่น CM-004N        หมายเหตุ : สัญญาณที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่มีระยะทางไกล ๆ ในรูปแบบของกระแส 4-20mA (DC Current) โดยการต่อแบบ Current loop จะทำให้สัญญาณมีความคงที่มากกว่าแบบ 0-10VDC (ระยะทางไกล ๆ สัญญาณจะ Drop) และไม่มีสัญญาณรบกวน ทำให้ไม่มีการสูญเสียของสัญญาณจากต้นทางไปยังปลายทาง สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง 1 km. (ขึ้นอยู่กับความต้านทานภายในของสายส่งสัญญาณและโหลดของตัวรับสัญญาณ)   EN-A-L (TC,RTD,mA,mVDC,VDC Input) Programmable Signal Transmitter   EN-B-L (0-500VDC Input) Programmable Signal Transmitter EN-C-L (0-500VAC Input) Programmable Signal Transmitter EN-D-L (0-5A Input) Programmable Signal Transmitter EN-E-L (0-1kΩ Input) Programmable Signal Transmitter EN-G-L (0-100Ω Input) Programmable Signal Transmitter   EN-A1-LC (TC,RTD Input) Programmable Signal Transmitter (Current Loop) EN-A2-LC (0-2mA,4-20mA,0-100mA Input) Programmable Signal Transmitter (Current Loop) EN-A3-LC (0-75mV,0-150mV,0-1V Input) Programmable Signal Transmitter (Current Loop) EN-A4-LC (0-10VDC Input) Programmable Signal Transmitter (Current Loop) Singnal Transmitter (Programmable) Singnal Transmitter (Fixed Input) Digital Transmitter Digital Indicator Digital Indicator   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
วิธีการตรวจเช็คเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) ว่ายังใช้งานได้อยู่หรือไม่?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) เป็นเซ็นเซอร์อีกหนึ่งชนิดที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม, อุตสาหกรรมพลาสติก, อุตสาหกรรมยา เป็นต้น ที่นิยมใช้งานโดยทั่วไปมีทั้งเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิแบบอาร์ทีดี (RTD) Pt100, เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิชนิดเทอร์มิสเตอร์ NTC/PTC และเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิแบบเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) เป็นต้น ใช้งานตามความเหมาะสมในการวัดอุณหภูมิ ซึ่งเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) แต่ละประเภทนั้นจะมีระยะเวลาในการใช้งานที่ค่อนข้างจำกัด หากมีการใช้งานไปเป็นระยะเวลานานอาจทำให้ค่าที่วัดเกิดความผิดเพี้ยน เมื่อนำมาต่อใช้ร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) หรือเครื่องแสดงผลอุณหภูมิ (Temperature Indicator) ทำให้ค่าอุณหภูมิที่วัดแสดงค่าออกมาไม่ตรง ซึ่งความผิดปกตินี้ก็มีสาเหตุอยู่ไม่กี่อย่าง เช่น เซ็นเซอร์ขาดหรือเสีย อาจเกิดจากการชำรุดของสาย, การรั่วที่เกิดจากรอยเชื่อมต่อ, แตกหักของแท่งโพรบ (Prob) หรือเกิดจากการใช้งานที่ผิดประเภท เป็นต้น        แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าหัววัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ที่ใช้งานอยู่ ยังใช้งานได้หรือไม่ ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำวิธีการตรวจเช็คง่าย ๆ ยกตัวอย่างเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย คือ เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) และ อาร์ทีดี (RTD) Pt100 ที่ผู้ใช้งานสามารถเช็คเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่ใช้มัลติมิเตอร์ (Multimeter) ในการตรวจเช็ค ดังนี้        วิธีตรวจเช็คเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) ปรับเลือกย่านการวัดค่า mV ที่ตัวมัลติมิเตอร์ (Multimeter) โดยใช้สายวัดข้างหนึ่งจับที่ขั้วบวก (+) และปลายอีกข้างจับที่ขั้วลบ (-) ของเทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple) หรืออีกกรณีเลือกย่านการวัดโอห์ม ถ้าความต้านทานขึ้นแสดงว่าเทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple) สามารถใช้งานได้ตามปกติ (เมื่อเทียบกับอุณหภูมิห้อง) ดังรูป   รูปแสดงตัวอย่างที่ใช้งานได้ของเทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple) รูปแสดงตัวอย่างที่ใช้งานไม่ได้ของเทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple)      วิธีตรวจเช็ค อาร์ทีดี (RTD) Pt100  ทั้งแบบ 2 สาย, 3 สาย และ 4 สาย ปรับเลือกย่านการวัดค่าความต้านทาน (เลือกย่านการวัดโอห์ม) ที่ตัวมัลติมิเตอร์ (Multimeter) โดยใช้สายวัดข้างหนึ่งจับวัดที่ขั้ว A และปลายอีกข้างจับที่ขั้ว B ของอาร์ทีดี (RTD) Pt100 ถ้าค่าความต้านทานขึ้นแสดงว่าใช้งานได้ตามปกติ (เมื่อเทียบกับอุณหภูมิห้อง) ดังรูป   รูปแสดงตัวอย่างที่ใช้งานได้ของอาร์ทีดี (RTD) Pt100 รูปแสดงตัวอย่างที่ใช้งานไม่ได้ของอาร์ทีดี (RTD) Pt100      ในการวัดอุณหภูมิที่จุดอ้างอิงของเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) หรือ อาร์ทีดี (RTD) Pt100 จะวัดโดยเทียบกับอุณหภูมิห้องและกรณีที่ต้องการอยากทราบว่าเซ็นเซอร์เป็นชนิด Pt100 หรือ Pt1000 ที่มัลติมิเตอร์ (Multimeter) ถ้าเป็น Pt100 ค่าจะขึ้นอยู่ที่ประมาณ 100 กว่าโอห์ม และถ้าเป็น Pt1000 ค่าจะขึ้นอยู่ที่ประมาณ 1000 กว่าโอห์ม        นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งวิธีในการตรวจเช็คสัญญาณของเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) โดยใช้อุปกรณ์เครื่องสอบเทียบสัญญาณ (Process Simulator) ที่มีความละเอียดและแม่นยำสูงเพื่อวัดค่าและจ่ายสัญญาณของ Thermocouple โดยการวัดค่า (Measurement) ได้ทั้ง Type :  K, J, T, N, E, R, S และจ่ายสัญญาณของ Thermocouple (Source) ได้ทั้ง Type : K, J, T, N, E เป็นต้น (ดังรูป)   รูปอุปกรณ์เครื่องสอบเทียบสัญญาณแบบพกพา (Portable Process Simulator) รุ่น PMCAL-1000 โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรลด้วย Digital Hygrostat and Thermostat Controller

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ภายในตู้คอนโทรลไฟฟ้าจะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายในตู้คอนโทรล เช่น PLC, Relays, Electronic Board, Magnetic, Inverter รวมไปถึงอุปกรณ์ป้องกันในระบบไฟฟ้า เช่น อุปกรณ์ป้องกันเฟสขาดหาย (Phase Loss), ลำดับเฟส (Phase Sequence), อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (Over Current ) เป็นต้น เมื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ทำงาน จะทำให้เกิดความร้อนหรือความชื้น (Humidity) สะสม ทำให้ส่งผลกระทบต่ออายุการใช้งานของอุปกรณ์ จึงมีความจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรล (Digital Hygrostat and Thermostat Controller) เพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิ (Temperature) และความชื้น (Humidity) ภายในตู้คอนโทรล เมื่อเครื่องจักรทำงานเป็นเวลานาน ๆ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ในตู้คอนโทรลนั้นจะมีอุณหภูมิสูงอยู่ประมาณหนึ่งตลอดเวลา แต่เมื่อมีการหยุดการทำงานหรือหยุดซ่อมเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้าในตู้คอนโทรลนั้นจะหยุดการทำงานทันที จึงทำให้เกิดความชื้นขึ้นภายในตู้คอนโทรลหรือในกรณีของตู้ไฟฟ้าแรงสูง ตู้สวิทซ์เกียร์ (Switchgear) ที่ติดตั้งอยู่ภายนอกอาคารจะเจอสภาพอากาศภายนอก เช่น อากาศร้อน, อาการเย็นหรือฝนตก ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ (Temperature) และความชื้น (Humidity)        โดยส่วนใหญ่เราจะลืมนึกถึงเรื่องการควบคุมความชื้นในตู้คอนโทรลและเน้นไปที่การควบคุมอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรลเพียงอย่างเดียว ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายตู้คอนโทรลมีอายุการใช้งานที่น้อยลงและอาจเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ควบคุมค่าความชื้นและอุณหภูมิในตู้คอนโทรล (Hygrostat and Thermostat Controller) โดยจะต้องมีการติดตั้งฮีตเตอร์ไล่ความชื้น (Anti-Condensation Heater) ภายในตู้คอนโทรล โดยในกรณีที่มีความชื้นสูงเกินไป ตัว Hygrostat จะสั่งให้ฮีตเตอร์ไล่ความชื้น (Anti-Condensation Heater) ทำงาน และในกรณีที่อุณหภูมิสูงเกินไป Thermostat จะสั่งให้พัดลมทำงาน        นอกจากนี้แล้วเรายังสามารถใช้ Digital Hygrostat and Thermostat ต่อร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้ เช่น พัดลมระบายความร้อน (Cabinet Filter Fans), แอร์รักษาอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรล (Air Conditioner for Control Boxes), ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater)ไล่ความชื้น หรือการใช้ฮีตเตอร์ไล่ความชื้น (Anti-Condensation Heater) เป็นต้น        โดยทั่วไปอุปกรณ์ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิจะแยกกันเป็นคนละตัวทำให้ไม่ประหยัดเนื้อที่ในการติดตั้ง และไม่มีหน้าจอแสดงค่าความชื้นและอุณหภูมิทำให้เราไม่ทราบค่าจริง ณ ขณะนั้น ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำอุปกรณ์ที่มีตัวควบคุมความชื้นและอุณหภูมิอยู่ภายในตัวเดียวกันพร้อมทั้งแสดงค่าความชื้นและอุณหภูมิได้ คือ Digital Hygrostat and Thermostat Controller เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและยืดอายุการใช้ของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในตู้คอนโทรล (ดังรูป)   อุปกรณ์ควบคุมความชื้นแบบดิจิตอล (Digital Hygrostat) อุปกรณ์ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิแบบดิจิตอลภายในตัวเดียวกัน (Digital Hygrostat and Thermostat Controller)        อุปกรณ์ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิแบบดิจิตอลภายในตัวเดียวกัน (Digital Hygrostat and Thermostat Controller) การออกแบบที่เป็นตัวเลข 7 Segment แบบดิจิตอล เพื่อง่ายต่อการตั้งค่า (Setting) และสามารถดูค่าความชื้นและอุณหภูมิ (Humidity & Temperature) ที่หน้าจอได้เลย ติดตั้งได้ง่ายโดยยึดราง (Din rail) ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งอีกด้วย (ดังรูป)   รูปแสดงการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิแบบดิจิตอลภายในตัวเดียวกัน (Digital Hygrostat and Thermostat Controller) ภายในตู้คอนโทรล        การต่อใช้งานอุปกรณ์ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรล (Digital Hygrostat and Thermostat Controller) แบบ Control อุปกรณ์ 1 ตัว และ Control อุปกรณ์ 2 ตัว (ดังรูป)   รูปแสดงการต่อใช้งานอุปกรณ์ควบคุมความชื้นและอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรล (Digital Hygrostat and Thermostat Controller) ร่วมกับฮีตเตอร์ (Heater) และพัดลม (Fan)   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ทำไมต้องใช้ Cartridge Heater แบบ High Density

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ฮีตเตอร์แท่ง คาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) เป็นฮีตเตอร์สำหรับให้ความร้อนกับวัตถุโดยตรง เช่น การให้ความร้อนกับแม่พิมพ์, หัวพ่นกาว, แผ่นเพลท, เครื่องพิมพ์ทอง, หัวปั๊ม, ชิ้นงานเหล็ก, เครื่องรีดถุงพลาสติก, เครื่องห่อซองพลาสติกใส่อาหารและขนม เป็นต้น      ฮีตเตอร์แท่ง คาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) แบบ High Density เป็นฮีตเตอร์ (Heater) ที่ทำอุณหภูมิได้สูงกว่าแบบ Low Density โดย Cartridge Heater แบบ High Density จะมีกำลังวัตต์ต่อพื้นที่สูงกว่าแบบ Low Density  (Watt/cm2)      โดยทั่วไปแล้ว ฮีตเตอร์แท่ง คาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) ถูกแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบ High Density ให้ความร้อนสูง และ Low Density ให้ความร้อนต่ำหรือปานกลาง ดังนี้      1. Cartridge Heater แบบ High Density มีขั้นตอนการผลิตดังนี้ นำลวดฮีตเตอร์ (R80) พันรอบแท่งแกน MGO แล้วใส่ในท่อ ในระหว่างท่อกับแกน MGO ที่พันลวดฮีตเตอร์แล้วจะมีช่องว่างอากาศอยู่ จากนั้นทำการใส่ผง MGO เพื่อเป็นฉนวนลงไปท่อฮีตเตอร์ แล้วนำไปสู่กระบวนสั่นผง MGO ในท่อฮีตเตอร์ เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างของอากาศ จากนั้นจึงนำไปรีดคอมแพคท่อลงให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ ซึ่งในกระบวนการบีบอัดนี้ทำให้ผง MGO ที่อยู่ภายในท่อฮีตเตอร์อัดแน่นยิ่งขี้นและไม่มีช่องว่างอากาศภายในท่อฮีตเตอร์อีกเลย ส่งผลทำให้ฮีตเตอร์ระบายความร้อนได้ดี, ไม่ขาดเสียหายได้ง่าย, ทำให้ทนอุณหภูมิได้สูงและมีกำลังวัตต์สูง วัตต์ต่อพื้นที่ (Watt/cm2) สูงขึ้น (ดังรูป) รูปแสดงโครงสร้าง Cartridge Heater แบบ High Density        ข้อดีของ Cartridge Heater แบบ High Density คือ เป็นฮีตเตอร์ (Heater) ที่มีกำลังวัตต์สูง (High Watt) ให้ความร้อนได้ดี, มีความทนทาน, ใช้งานได้ยาวนานกว่า, เหมาะกับงานที่ต้องการอุณหภูมิสูง        2. Cartridge Heater แบบ Low Density มีขั้นตอนในการผลิตคล้าย Cartridge Heater แบบ High Density คือ นำลวดฮีตเตอร์ (R80) พันรอบแท่งแกน MGO แล้วใส่ในท่อ ในระหว่างท่อกับแกน MGO ที่พันลวดฮีตเตอร์แล้วจะมีช่องว่างอากาศอยู่ จากนั้นทำการใส่ผง MGO เพื่อเป็นฉนวนลงไปท่อฮีตเตอร์แล้วนำไปสู่กระบวนสั่นผง MGO ในท่อฮีตเตอร์ เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างของอากาศ แต่จะไม่ถูกบีบอัดให้แน่นเหมือน Cartridge Heater แบบ High Density จึงทำให้กำลังวัตต์ที่ทำได้ไม่สูง วัตต์ต่อพื้นที่ (Watt/cm2) ไม่สูง (ดังรูป)   รูปแสดงโครงสร้าง Cartridge Heater แบบ Low Density        ข้อดีของ Cartridge Heater แบบ Low Density คือ เป็นฮีตเตอร์ (Heater) ที่มีกำลังวัตต์ต่ำ (Low Watt) จนถึงปานกลางและมีราคาถูก เหมาะกับงานที่ต้องการอุณหภูมิที่ไม่สูงมาก        ตัวอย่าง การประยุกต์ใช้งานฮีตเตอร์แท่ง คาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) แบบ High Density   เครื่องรีดถุงพลาสติก, เครื่องแพ็ค, งานแม่พิมพ์/โมลด์ โลหะต่าง ๆ   ข้อควรระวัง      ในการติดตั้งฮีตเตอร์แท่ง คาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) ในรูแม่พิมพ์ ขนาดของรู (Hole) ที่ใส่ควรมีขนาดโตกว่าฮีตเตอร์ (Heater) ประมาณ 0.02-0.05 mm. เพื่อให้การถ่ายเทความร้อนมีประสิทธิภาพสูงสุดและเป็นการยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ ดังรูปตัวอย่าง      หมายเหตุ : ทาง บริษัท ไพรมัส จำกัด ได้ผลิตฮีตเตอร์แท่ง คาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์ (Cartridge Heater) แบบ High Density เท่านั้น เนื่องจาก Cartridge Heater แบบ High Density มีคุณภาพ, ให้ความร้อนได้ดี, มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าและเพื่อความเหมาะสมกับหน้างานของท่าน ทางบริษัทฯ ยินดีให้คำปรึกษา, คำนวณและออกแบบฮีตเตอร์โดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเข้าไปปรึกษาหน้างานของท่านเองโดยตรง      นอกจากนี้ ทางบริษัทฯ มีการออกแบบและผลิตฮีตเตอร์ (Heater) ชนิดต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่องานด้านอุตสาหกรรมการผลิต ดังนี้   • ฮีตเตอร์จุ่ม/ฮีตเตอร์ต้มน้ำ/ฮีตเตอร์ต้มน้ำยาเคมี (Immersion Heater) • ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) • เซรามิคฮีตเตอร์ (Ceramic Band Heater) • ฮีตเตอร์อินฟาเรด (Infrared Heater) • ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater) • ฮีตเตอร์บอบบิ้น (Bobbin Heater) • ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) • ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) • คอยล์ฮีตเตอร์ (Coil Heater) • ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ (Hot runner Heater) Cartridge Heater ฮีตเตอร์แท่ง Tubular Heater ฮีตเตอร์ท่อกลม Band Heater ฮีตเตอร์รัดท่อ Heater Break Alarm Digital Monitor For Heater Break Alarm     โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การต่อสายโหลดเซลล์ (Load cell) แบบ 4 สาย และ 6 สาย

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      โหลดเซลล์ (Load Cell) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของแรงทางกล เช่น แรงกด (Compression), แรงดึง (Force) หรือน้ำหนัก (Weight) ให้เปลี่ยนแปลงออกมาในรูปแบบของสัญญาณทางไฟฟ้า (mV/V) ซึ่งภายในโหลดเซลล์ (Load Cell) เกือบ 80% นั้น จะมีตัว Strain-gauge จำนวน 4 ตัว อยู่ภายใน ซึ่งเป็นความต้านทานที่จะเปลี่ยนแปลงค่าไปตามแรงกดหรือแรงดึง โดยจัดเรียงในรูปแบบของวงจรบริดจ์ (Bridge Circuit) ดังรูป รูปวงจรบริดจ์ (Bridge Circuit) และสัญลักษณ์แสดงการดึง, การกด ของ Load Cell        โหลดเซลล์ (Load Cell) ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เช่น การนำโหลดเซลล์ (Load Cell) ไปใช้ในการชั่งน้ำหนักส่วนผสมวัตถุดิบ (Mixing) ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง, การวัดค่าแรงดึง (Force) หรือแรงกด (Compression) หรือน้ำหนัก (Weight) ในกระบวนการผลิตสินค้า, การชั่งน้ำหนักของชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ หรือการชั่งน้ำหนักของรถบรรทุก เป็นต้น      ซึ่งในกระบวนการผลิตที่ต้องมีการชั่งน้ำหนักของส่วนผสมของวัตถุดิบในการผลิตสินค้านั้น โหลดเซลล์ (Load Cell) เป็นส่วนสำคัญอย่างมาก เพราะจะทำให้สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพ การต่อใช้งานโหลดเซลล์ (Load Cell) ร่วมกับเครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Load cell Indicator) หรือ Weighing Indicator เพื่อแสดงค่าและควบคุมการทำงานเครื่องจักรนั้น โดยทั่วไปจะมีการต่อโหลดเซลล์ (Load Cell) ทั้งแบบ 4 สาย และแบบ 6 สาย ในการต่อใช้งานจำเป็นต้องตรวจสอบตำแหน่งของการเดินสาย จากตัวโหลดเซลล์ (Load Cell) เข้ากับ เครื่องแสดงผล (Indicator) ให้ถูกต้อง ซึ่งการต่อแบบ 4 สาย และแบบ 6 สาย จะมีสายเพิ่มอีก 2 เส้น เพื่อใช้สำหรับการ Calibrate Load Cell กรณีวัดค่าไม่ตรง      ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำการต่อสายโหลดเซลล์ (Load cell) แบบ 4 สาย และ 6 สาย ร่วมกับเครื่องแสดงผล Load cell Indicator หรือ Weighing Indicator กัน   รูปแสดงวงจรการต่อสายโหลดเซลล์ (Load Cell) แบบ 4 สาย และ 6 สาย ร่วมกับเครื่องแสดงผล Load cell Indicator หรือ Strain-gauge Indicator/Weighing Indicator   Application การนำโหลดเซลล์ (Load Cell) ประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ดังนี้   เครื่องชั่งบรรจุถุงอัตโนมัติ เครื่องตรวจสอบน้ำหนักบนสายพาน เพื่อตรวจสอบน้ำหนักของสินค้าบรรจุภัณฑ์ ระบบบรรจุถุงขนาดใหญ่ด้วยโบลเวอร์ (Blower)      นอกจากนี้ยังมีโหลดเซลล์ (Load Cell) ที่เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละประเภทที่ได้รับมาตรฐานระดับสากล ดังต่อไปนี้   โหลดเซลล์แบบใช้แรงกด (Compression Load cell)        Single End Shear Beam      โหลดเซลล์ (Load Cell) ประเภทนี้นิยมใช้ในการชั่งน้ำหนักในถัง น้ำหนักตั้งแต่ 250 กิโลกรัม ถึง 10 ตัน เช่น การชั่งน้ำหนักหิน-ทรายในถัง ก่อนปล่อยลงไปผสมกับซีเมนต์และน้ำในแพลนคอนกรีต เป็นต้น โหลดเซลล์ประเภทนี้ใช้งานโดยยึดปลายด้านหนึ่งเข้ากับฐานและนำถังวางลงบนปลายอีกด้านหนึ่ง        Double End Shear Beam      โหลดเซลล์ (Load Cell) ประเภทนี้เหมือนกับนำ Single End Shear Beam จำนวน 2 ตัว มารวมกัน ซึ่งทำให้มีจำนวนสเตนเกจ (Strain-gauge) มากขึ้น ทำให้ได้ความละเอียดมากขึ้น การติดตั้งเป็นการยึดปลายทั้งสองข้างด้วยสกรูติดกับฐาน แล้วนำถังมาวางตรงกลาง โดยมีลูกบอลและเบ้ายึดตัวถังและโหลดเซลล์ (Load Cell) เพื่อให้ถังสามารถขยับได้แต่ไม่หลุดหล่นไป โหลดเซลล์ (Load Cell) ประเภทนี้นิยมใช้ในงานชั่งที่มีน้ำหนักมาก เช่น ถังหรือไซโลที่มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 10 ตัน ถึง 50 ตัน โดยจะติดตั้งไว้ที่ขาของถังหรือไซโล        Single Point      โหลดเซลล์ (Load Cell) ประเภทนี้ออกแบบมาสำหรับงานขนาดเล็ก น้ำหนักตั้งแต่ 2 กิโลกรัม ถึง 800 กิโลกรัม ใช้งานโดยยึดโหลดเซลล์เข้าที่จุดศูนย์กลาง        Bending Beam      โหลดเซลล์ (Load Cell) ประเภทนี้มีโครงสร้างคล้ายสปริง (Spring) ทำงานโดยการแปลงแรงบิดที่กดที่ปลายด้านหนึ่ง ซึ่งจะให้สัญญาณได้ดีที่ขนาดแรงกดไม่มาก ตั้งแต่ 25 กิโลกรัม ถึง 500 กิโลกรัม        Pancake      โหลดเซลล์ (Load Cell) ประเภทนี้ชื่อเรียกก็มาจากรูปทรงกลมของโหลดเซลล์ โดยมีชื่อเรียกว่า Pancake เป็นโหลดเซลล์ที่ใช้ได้ทั้งกับแรงกด (Compression) และแรงดึง (Force) ขนาดตั้งแต่ 500 กิโลกรัม ถึง 500 ตัน เป็นโหลดเซลล์ที่มีความแม่นยำสูง โดยค่า Linearity และ Hysteresis อยู่ในระดับ 0.05% เนื่องจากมีจำนวนสเตนเกจ (Strain-gauge) มากกว่าโหลดเซลล์ชนิดอื่น        Canister      โหลดเซลล์ (Load Cell) ประเภทนี้เป็นรูปทรงกระบอก เหมือนกระป๋อง ใช้รับแรงกด มีความแม่นยำสูง โดยค่า Linearity และ Hysteresis อยู่ในระดับ 0.05% จึงนิยมใช้ทำเครื่องชั่งทั่วไปที่ต้องการความแม่นยำสูง ๆ ไปจนถึงเครื่องชั่งรถบรรทุก มีขนาดตั้งแต่ 200 กิโลกรัม ถึง 20 ตัน   โหลดเซลล์แบบใช้แรงดึง  (Force Load Cell)        S Beam      โหลดเซลล์ (Load Cell) ประเภทนี้ ใช้งานโดยแขวนถังที่ต้องการชั่งที่ด้านล่าง มีขนาดตั้งแต่ 2 กิโลกรัม ถึง 5 ตัน S Type Load cell Single Point Load cell Digital Load Cell Indicator with Alarm Compact Load Cell For Compression Applications Fast Display/Alarm Unit   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Digital Phase Protection Relay เฟสโปรเทคชั่นรีเลย์แบบดิจิตอล ดีอย่างไร

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Phase Protection Relay (เฟสโปรเทคชั่นรีเลย์) เป็นอุปกรณ์รีเลย์ (Relay) ประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับป้องกันความผิดปกติที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage), เฟสขาดหาย (Phase Loss), เฟสไม่สมดุลย์ (Phase Unbalance), สลับเฟส (Phase Sequence) เป็นต้น เพื่อทำการตัดวงจรในระบบไม่ให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย      ในการใช้งานอุปกรณ์ Phase Protection Relay เฟสโปรเทคชั่นรีเลย์ จะเริ่มทำงานเมื่อมีความผิดปกติของอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยมีเงื่อนไขในการเช็คความผิดปกติอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า ดังนี้ เช็คไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage) แรงดันในขณะที่ใช้งานมีค่าเกินหรือต่ำกว่าที่กำหนด เช็คเฟสขาดหาย (Phase Loss) แรงดันของเฟสใดเฟสหนึ่งขาดหายไป เช็คเฟสไม่สมดุลย์ (Phase Unbalance) แรงดันไฟฟ้าของแต่ละเฟสที่ต่างกัน เช็คลำดับเฟส (Phase Sequence) แรงดันไฟฟ้าของแต่ละเฟสสลับกันหรือการเรียงลำดับเฟสไม่ถูกต้องของระบบไฟ 3 เฟส 3 สาย และ 3 เฟส 4 สาย      Phase Protection Relay ที่ใช้งานโดยทั่วไปก็มีมากมายหลายแบบ ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำและยกตัวอย่าง Phase Protection แบบปรับหมุน และ Phase Protection แบบดิจิตอล เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้งานได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสมกับหน้างานกัน เฟสโปรเทคชั่นรีเลย์แบบปรับหมุน (Phase Protection Relay) รูป Phase Protection Relay แบบปรับหมุน รุ่น PM-017/PM-017N      Phase Protection Relay เฟสโปรเทคชั่นรีเลย์แบบปรับหมุน ในการใช้งานจะต้องมีการคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ Setpoint ของแรงดันเพื่อปรับหมุนตั้งค่าช่วงแรงดันไฟเกิน (Over Voltage) และช่วงแรงดันไฟตก (Under Voltage) โดยช่วงแรงดันที่เหมาะสม Over 105 - 120% และ Under 80 - 95% (Scale Adjustment) และติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์เสริม SOCKET เพื่อยึดกับราง Din Rail ทำให้ง่ายในการถอดเปลี่ยน      ในกรณีที่ต้องการทราบสถานะของการทำงาน (ON) หรือสถานะผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่เกิดขึ้น เช่น เฟสขาดหาย (Phase Loss), ลำดับเฟสไม่ถูกต้อง (Phase Sequence), แรงดันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage) จะโชว์สถานะที่ LED ON = สถานะหน้าคอนแทคทำงาน, A = เฟสไม่ถูกต้อง (Phase Sequence), UL = Over Voltage, LL = Under Voltage ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้า เป็นต้น เฟสโปรเทคชั่นรีเลย์แบบดิจิตอล (Digital Phase Protection Relay) รูป Phase Protection Relay แบบดิจิตอล รุ่น VPM-D Series      สำหรับ Phase Protection Relay เฟสโปรเทคชั่นรีเลย์แบบดิจิตอล ได้มีการออกแบบเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานและง่ายในการตั้งโปรกแกรมกำหนดค่าแรงดันไฟฟ้าตามค่าจริง โดยไม่ต้องคำนวณ % ของแรงดันไฟฟ้าในการตัด-ต่อ (On-Off) และสามารถดูค่าแรงดันที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานได้ และในการทำงานของ Phase Protection Relay เฟสโปรเทคชั่นรีเลย์ (VPM-D series) ไม่จำเป็นต้องใช้ Timer ต่อร่วมเพิ่มอีกตัว เนื่องจากมี Timer ทั้งแบบหน่วง Relay ON และหน่วง Relay OFF สำหรับตั้งเวลาตัดการทำงานของอุปกรณ์อยู่ภายในตัว และในกรณีเกิดปัญหาขึ้นในระบบไฟ้ฟ้า Digital Phase Protection เฟสโปรเทคชั่นแบบดิจิตอล จะแสดงสถานะที่ LED 7 Segment (ดังภาพ) และมี Memory สำหรับจดจำสถานะสาเหตุต่างๆที่ทำให้มีการตัดวงจร (OFF) ครั้งล่าสุด เมื่อระบบไฟฟ้ากลับมาปกติอีกครั้ง เราสามารถเรียกดูสถานะปัญหาของระบบไฟฟ้าครั้งล่าสุดย้อนหลังได้ ดังนี้           - เฟสขาดหาย (Phase Loss) หน้าจอแสดงสถานะ A_PL           - สลับเฟส (Phase Sequence) หน้าจอแสดงสถานะ A_PS           - แรงดันไฟเกิน (Over Voltage) หน้าจอแสดงสถานะ A_oU           - แรงดันไฟตก (UnderVoltage) หน้าจอแสดงสถานะ A_Uu           - เฟสไม่สมดุลย์ (Phase Unbalance) หน้าจอแสดงสถานะ A_Ub      เฟสโปรเทคชั่นรีเลย์แบบดิจิตอล (Digital Phase Protection Relay) ในการติดตั้งสามารถยึดกับราง Din Rail ได้เลย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริม (SOCKET) ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 3 Phase Under&Over Voltage And Phase Monitor Relay Digital Voltage Protection Relay 3 Phase Over & Under & Phase Breaking Relay With Neutral 1 Phase Over & Under Voltage Relay Electronics Overload Relay Digital Voltage Protection Relay Relay     โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ตรวจจับระดับวัตถุในถังไซโลด้วยสวิตช์ใบพัด (Paddle Level Switch)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับ (Level Switch) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจับระดับได้ทั้งของเหลว (Liquid) และวัตถุที่เป็นของแข็ง (Solid) ที่อยู่ในถังน้ำหรือในถังไซโลในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น โรงสีข้าว, โรงงานปูน, โรงงานน้ำตาล, โรงงานพลาสติก เป็นต้น เพื่อให้ทราบถึงตำแหน่งหรือระดับของวัตถุนั้น และนำสัญญาณเอาต์พุต Relay ไปต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่น เช่น มอเตอร์ปั๊มหรือโซลินอยต์วาล์ว เพื่อควบคุมระดับ (Level Control) ในถังน้ำหรือถังไซโล เป็นต้น โดยแบ่งตามประเภทวัตถุในการตรวจจับระดับได้ดังนี้      เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับประเภทของเหลว (Liquid Level Sensor) เช่น สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับน้ำ (Cable Float Level Switch ), เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับของเหลว (Level Switch), อุปกรณ์วัดระดับแบบก้านอีเล็คโทรด (Electrode Level Switch), เซ็นเซอร์ตรวจจับความหนาแน่น (Capacitive Proximity Switch) เป็นต้น      เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับประเภทของแข็ง (Solid Level Sensor) เช่น อัลตร้าโซนิค (Ultrasonic), เซ็นเซอร์ตรวจจับความหนาแน่น (Capacitive Proximity Switch) และสวิตช์ใบพัด (Paddle Level Switch) เป็นต้น      จากที่เราได้นำเสนอในหัวข้อเกี่ยวกับประเภทเซ็นเซอร์ตรวจจับระดับของเหลว (Level Switch), การเลือกเซ็นเซอร์วัดระดับ (Level Sensor/Level Switch) ให้เหมาะสมกับหน้างาน และเซ็นเซอร์วัดระดับของเหลวแบบติดตั้งด้านข้างถัง (Side Level Sensor) กันไปแล้วนั้น วันนี้เราจะมาแนะนำการเลือกใช้สวิตช์ใบพัด (Paddle Level Switch) ในการตรวจจับวัตถุที่เป็นประเภทของแข็งในถังขนาดเล็กหรือถังไซโลเก็บวัตถุดิบกัน      ในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำ เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับประเภทของแข็งในถังไซโล หรือที่เรียกว่า สวิตช์ใบพัดตรวจจับระดับในถังไซโล (Level Paddle Switch) เป็นสวิตช์ใบพัดตรวจจับระดับวัตถุประเภทของแข็งที่บรรจุอยู่ภายในถังไซโล (Hopper) เช่น ข้าวเปลือก, เมล็ดข้าว, เมล็ดพืช, อาหารสัตว์, เมล็ดพลาสติก, แป้ง, ปูนซีเมนต์ เป็นต้น ในการเช็คและควบคุมระดับของวัตถุ ดังรูป รูปสวิตช์ใบพัดตรวจจับระดับในถังไซโล (Level Paddle Switch) รูปแบบต่าง ๆ รุ่น LM-001N-Series/LM-002-Series   ลักษณะการติดตั้งสวิตช์ใบพัดตรวจจับระดับในถังไซโล (Level Paddle Switch) รูปแสดงการติดตั้งสวิตช์ใบพัดตรวจจับระดับในถังไซโล (Level Paddle Switch) ของรุ่น LM-001N-Series/LM-002-Series        สวิตช์ใบพัดตรวจจับระดับในถังไซโล (Level Paddle Switch) เหมาะกับงานที่ใช้กับโหลดเบา ๆ (Light Load) เช่น Hopper เม็ดพลาสติกของเครื่องฉีดพลาสติก (รุ่น LM-001N-Series), เหมาะสมกับลักษณะงานที่ใช้กับโหลดหนัก ๆ Heavy Duty (รุ่น LM-002-Series) เช่น ถังไซโลในโรงสี, ถังปูน เป็นต้น      สวิตช์ใบพัดตรวจจับระดับในถังไซโล (Level Paddle Switch) ในการใช้งานระยะยาวของ Paddle Switch หากมีความผิดปกติของอุปกรณ์เกิดขึ้นจะต้องมีการถอดประกอบชิ้นส่วน ทั้งในส่วนภายนอกอุปกรณ์และโครงสร้างที่อยู่ภายในอุปกรณ์ เช่น มอเตอร์, สวิตช์, สายไฟ เป็นต้น ซึ่งในการถอดประกอบชิ้นส่วนที่ได้มีการออกแบบเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจเช็คหรือ Maintenance โดยสามารถถอดดึงออกเฉพาะส่วนที่อยู่ภายนอกถังไซโลได้เลย เพราะมีการติดตั้งแบบหน้าแปลนเจาะยึดติดที่ถังไซโล ทำให้ไม่ต้องถึงถอดจากข้างในถังไซโล และมีความแข็งแรงต่อการกระแทกหรือสั่นสะเทือน มีซีลยางเพื่อป้องกันน้ำเข้า (IP54) โดยสามารถใช้กับงาน Outdoor ได้ เช่น ฟาร์ม, โรงงานอาหารสัตว์ เป็นต้น ดังรูป   ขั้นตอนง่าย ๆ ในการถอดชิ้นส่วนของสวิตช์ใบพัดตรวจจับระดับในถังไซโล (Level Paddle Switch) รูปแสดงลักษณะของการถอดชิ้นส่วนฝาครอบภายนอกของสวิตช์ใบพัดตรวจจับระดับในถังไซโล (Level Paddle Switch) รุ่น LM-001N-Series   รูปแสดงลักษณะของการถอดชิ้นส่วนภายใน เช่น มอเตอร์, สวิทช์, สปริง ของสวิตช์ใบพัด (Paddle Switch) รุ่น LM-001N-Series   Level Paddle Switch Level Switch Signal Tower Light 40mm. Signal Tower Light 60mm. Signal Tower Light 80mm. โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
เซ็นเซอร์วัดระดับของเหลวแบบติดตั้งด้านข้างถัง (Side Level Sensor)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ต่อเนื่องจากหัวข้อที่เราได้นำเสนอเกี่ยวกับ การเลือกเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ (Level Sensor/Level Switch) ให้เหมาะสมกับหน้างาน ไปแล้วนั้น ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงเฉพาะเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำแบบติดตั้งด้านข้างถัง (Side Level Sensor) เป็นเซ็นเซอร์ที่อาศัยหลักการการเคลื่อนที่ของลูกลอย ขึ้น-ลง ตามระดับของเหลว นิยมใช้ในการวัดเฉพาะระดับบนสุด (Top Level) ของเหลวเท่านั้น โดยเหมาะสำหรับการติดตั้งกับถังที่มีขนาดใหญ่ เพื่อตรวจเช็คระดับของเหลวที่บรรจุอยู่ภายในถัง เช่น น้ำมัน น้ำมันพืช เป็นต้น      เนื่องจากเป็นเซ็นเซอร์ที่มีลูกลอยขนาดใหญ่และมีโครงสร้างของแกนที่ทำมาจากสแตนเลส SUS304 จึงทำให้มีความแข็งแรง สามารถตรวจวัดระดับของเหลวที่มีลักษณะค่อนข้างหนืดได้ เหมาะสำหรับงานตรวจวัดระดับน้ำมันพืชหรือน้ำมันไฮโดรลิคที่ใช้งานในอุตสาหกรรม ซึ่งก้านลูกลอยที่มีความยาวทําให้มีระยะของการเคลื่อนที่ตามระดับของเหลวที่ ขึ้น-ลง ได้กว้างขึ้น (ระยะการทำมุม 45 องศา) ดังตัวอย่างต่อไปนี้        ลักษณะการติดตั้ง เซ็นเซอร์วัดระดับของเหลวแบบติดตั้งด้านข้างถัง (Side Level Sensor) รูปแสดงการติดตั้งเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำแบบติดตั้งด้านข้างถัง (Side Level Sensor) แบบหน้าแปลน รุ่น LP-13N        ตัวอย่างลักษณะการทำงานของเซ็นเซอร์วัดระดับของเหลวแบบติดตั้งด้านข้างถัง (Side Level Sensor) รูปแสดงการติดตั้งเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำแบบติดตั้งด้านข้างถัง (Side Level Sensor) แบบเกลียว รุ่น LP-14N        ลูกลอยวัดระดับของเหลวแบบติดข้างถัง (Side Level Sensor) จำเป็นต้องมีเซ็นเซอร์สวิทช์ (Level Switch) หรือ ลูกลอยเซ็นเซอร์ (Level Sensor) ในการวัดระดับความสูงหรือปริมาณของเหลวในถัง ภายในถังบรรจุต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ทราบตำแหน่งของของเหลวนั้น ๆ ซึ่งลักษณะของการเคลื่อนที่ของลูกลอย ขึ้น-ลง ตามระดับของเหลวจะมีระยะของการตัดต่อที่มุม 45 องศา โดยสามารถนำหน้าสัมผัสรีเลย์ (Relay Contact) ไปใช้ในการควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำได้ เพราะสัญญาณ Output ของเซ็นเซอร์วัดระดับของเหลวแบบติดตั้งด้านข้างถัง (Level Sensor) เป็นแบบหน้าสัมผัสรีเลย์ (Relay Contact) สามารถเลือกสถานะได้ Common NO/NC นำไปใช้งานได้ Level Switch Level Switch Level Indicator Twin Pump Relay Twin Pump Controller โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ลดเวลาและต้นทุนในการควบคุมเครื่องจักรด้วย Customize Controller

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Customize Controller เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับลูกค้าที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ (Innovation Products) ที่มาช่วยลดเวลาและลดต้นทุนในการควบคุม Process การทำงานต่าง ๆ โดยที่ลูกค้าสามารถระบุเงื่อนไข Function การใช้งานให้ตรงกับความต้องการได้ โดยงาน Customize Controller ลูกค้าจะได้รับประโยชน์ดังนี้      1. สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มี Function ต่าง ๆ ตรงกับความต้องการของลูกค้า      2. สามารถลดต้นทุน (Cost) จากการติดตั้งแบบเดิมที่ต้องติดตั้งอุปกรณ์หลาย ๆ ตัว      3. สามารถประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง      4. สามารถลดเวลาในการ Wiring สาย และสะดวกต่อการซ่อมบำรุง (Maintenance)      5. สามารถทดแทนสินค้านำเข้าและลดระยะเวลาการรอสินค้าจากต่างประเทศ รูปแสดงการเปรียบเทียบตู้คอนโทรลแบบเดิมกับตู้คอนโทรลแบบใหม่        ยกตัวอย่างงาน Customize Controller ที่ลูกค้าต้องการเครื่องคอนโทรลปั๊มน้ำเพื่อใช้ในการการควบคุมระดับน้ำในแทงค์ในคอนโดมิเนียม จากรูปข้างต้น ตู้คอนโทรลแบบใหม่ที่ออกแบบด้วย Customize Controller  ที่รวม Function การใช้งานต่าง ๆ ถูกออกแบบมาเป็นเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว พร้อมจอแสดงผล (Twin Pump Controller) แทนการติดตั้งแบบเดิม ทำให้ช่วยลดความยุ่งยากในการเดินสายไฟ (Wiring), ลดต้นทุนในการสั่งซื้ออุปกรณ์หลาย ๆ ตัว, ประหยัดพื้นที่, ประหยัดเวลา, สะดวกในการซ่อมบำรุงและติดตั้งง่าย TWIN PUMP CONTROLLER TWIN PUMP RELAY 3 PHASE VOLT-AMP-kW-kWh-Hz-PF METER WITH PROTECTION RELAY DIGITAL VOLTAGE PROTECTION RELAY ELECTRONICS OVERLOAD   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
5 วิธีง่าย ๆ สำหรับยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ฮีตเตอร์ (Heater) เป็นอุปกรณ์ให้ความร้อนแก่ชิ้นงาน ซึ่งมีหลากหลายประเภท เช่น ฮีตเตอร์จุ่ม/ฮีตเตอร์ต้มน้ำ/ฮีตเตอร์ต้มน้ำยาเคมี (Immersion Heater), ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater), เซรามิคฮีตเตอร์ (Ceramic Band Heater), ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater), ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater), ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater), ฮีตเตอร์บอบบิ้น (Bobbin Heater), ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater), ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater), คอยล์ฮีตเตอร์ (Coil Heater), ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ (Hot Runner Heater) เป็นต้น แต่ละประเภทก็มีการนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน ปัจจุบันมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรม, อุตสาหกรรมอาหาร, อุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น งานอบสี, บรรจุภัณฑ์, งานขึ้นรูปพลาสติก เป็นต้น      ฮีตเตอร์ (Heater) ถ้าได้รับการออกแบบมาอย่างเหมาะสม จะสามารถใช้งานได้เป็นเวลานาน แต่บ่อยครั้งเรามักจะพบปัญหาของฮีตเตอร์มีอายุการใช้งานที่สั้นผิดปกติ ซึ่งปัญหาที่เกิดอาจจะเกิดขึ้นจากทั้งทางผู้ผลิตเองหรือทางผู้ใช้เองก็ตาม ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำ 5 วิธีง่าย ๆ ดูแลฮีตเตอร์ที่ทำให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น ที่ผู้ใช้งานสามารถทำเองได้เพียงปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้      1. การใช้งานควรใช้ตามสเปคที่กำหนดของฮีตเตอร์ เช่น การจ่ายไฟให้ฮีตเตอร์ควรตรงตามค่าแรงดันไฟที่ระบุไว้ หากในชุดฮีตเตอร์มีเส้นฮีตเตอร์มากกว่า 1 เส้นขึ้นไป ควรตรวจสอบการต่อขั้วไฟหรือการต่อสะพานไฟของฮีตเตอร์ให้ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการต่อสะพานไฟ เช่น เปลี่ยนจากการต่อแบบสตาร์ (Y) เป็นเดลต้า (Δ) อาจส่งผลให้ชุดฮีตเตอร์ทำงานเกินขีดจำกัดจะทำให้ฮีตเตอร์ขาดง่าย เช่น กำลังวัตต์ที่เหมาะสมกับฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) ไม่ควรเกิน 5W/CM2 เป็นต้น      2. ดูแลรักษาขั้วไฟของฮีตเตอร์ให้สะอาดอยู่สม่ำเสมอ ขั้วไฟต้องแน่นอยู่เสมอและหมั่นทำความสะอาดคราบตะกรันที่ขั้วฮีตเตอร์ (Heater) เพื่อไม่ให้ฮีตเตอร์ทำงานหนักจนเกินไป      3. ควรเลือกฮีตเตอร์แต่ละประเภทให้เหมาะสมกับการใช้งาน เนื่องจากหลักการทำงานของฮีตเตอร์ (Heater) นั้น เป็นการนำพาความร้อนจากวัตถุหนึ่งไปสู่อีกวัตถุหนึ่ง โดยอาศัยตัวกลาง เช่น น้ำหรืออากาศ จึงมีข้อควรระวัง ดังนี้           • ใช้งานในอากาศ ต้องมีลมถ่ายเทออกอยู่ตลอดเวลา           • ใช้งานในของเหลว ไม่ควรปล่อยให้ของเหลวแห้งขอด           • กรณีต้องติดตั้งแนบติดกับชิ้นงานหรือใส่ลงไปในช่องชิ้นงาน ควรเลือกฮีตเตอร์ (Heater) ให้มีขนาดเหมาะสมและแนบกับชิ้นงานให้ได้มากที่สุด      โดยทั่วไปแล้วความร้อนจะถ่ายเทได้ดีที่สุดกับของแข็ง ตามด้วยของเหลวและอากาศ หากมีช่องว่างระหว่างฮีตเตอร์กับชิ้นงานมากเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพของการถ่ายเทความร้อนลดลง เพราะฉะนั้นไม่ควรสลับเปลี่ยนสภาวะการใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater) ควรเลือกใช้ให้ถูกต้อง หากฮีตเตอร์ (Heater) ทำงานอยู่ในสภาวะใด ควรคงสภาพนั้นให้ต่อเนื่องที่สุด      4. การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับงาน เช่น หากต้องการนำฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) ไปใช้กับน้ำที่มีสารเคมี ควรใช้วัสดุเกรดสแตนเลส SUS316/Titanium เป็นต้น เพราะวัสดุประเภทนี้จะทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีได้      5. ดูแลรักษาตัวฮีตเตอร์ (Heater) ในการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) บ่อยครั้งที่มีคราบสกปรกหรือมีตะกรันเกาะอยู่ ทำให้การถ่ายเทความร้อนที่ออกจากตัวฮีตเตอร์ได้ไม่ดีเท่าที่ควร และเมื่อมีความร้อนสะสมที่จุดนั้นทำให้ฮีตเตอร์ (Heater) ทำงานหนักขึ้นหรืออาจทำให้ตัวฮีตเตอร์เสียหาย เช่น มีรอยร้าว, แตก ส่งผลให้ลวดความร้อนที่อยู่ภายในขาดในที่สุด      จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นแล้วทำให้ผู้ใช้งานสามารถบำรุงรักษาฮีตเตอร์ (Heater) ได้ด้วยตัวเองในเบื้องต้นเพื่อยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของฮีตเตอร์ควรมีอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ เช่น Temperature Controller หรือ Thermostat เพื่อไม่ให้ฮีตเตอร์ทำงานตลอดเวลา และควรมีอุปกรณ์การแจ้งเตือนกรณีที่ฮีตเตอร์เกิดความผิดปกติ เช่น ตัวเช็คฮีตเตอร์ขาด เช็คกระแสเกิน (Heater Break Alarm) ที่สามารถต่อร่วมกับอุปกรณ์ที่แจ้งเตือนแสงและเสียง Tower Light แบบมีเสียง (Buzzer) Finned Heater (ฮีตเตอร์ครีบ) Cartridge Heater (ฮีตเตอร์แท่ง) Band Heater (ฮีตเตอร์รัดท่อ) Heater Break Alarm Digital Monitor For Heater Break Alarm โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
เครื่องควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว พร้อมจอแสดงผล (Twin Pump Controller)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปั๊มคอนโทรล (Pump Control) ปัจจุบันมีการใช้งานกันเป็นอย่างมาก เช่น ในอพาร์ทเม้นท์, อาคารตึกสูง, คอนโดมิเนียมและในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยปั๊มน้ำ (Water Pump) จะทำหน้าที่ในการรับ-ส่ง น้ำ จากต้นทางไปยังปลายทางหรือสูบน้ำจากบ่อพักน้ำใต้ดินเข้าสู่ระบบในอาคารโดยตรง (Transfer Pump) และในกรณีที่มีการใช้น้ำมากเกินไปจะต้องมีปั๊ม 2 ตัว หรือเรียกว่า Twin Pump เพื่อช่วยกันทำงาน หากปั๊มตัวที่หนึ่งทำงานไม่ทันจะทำให้ระดับแรงดันตก ตู้ควบคุมปั๊มน้ำก็จะสั่งให้ปั๊มอีกตัวทำงาน ทำให้แรงดันและระดับน้ำในระบบคงที่ หรือเรียกว่า Booster Pump และในภาคอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้าจะมีสิ่งปฏิกูลหรือน้ำเสียเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ดังนั้นในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีบ่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่งจะต้องใช้ตัว Pump ในการดูดน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วทิ้งออกไป หรือเรียกว่า Drain Water Pump โดยปกติแล้วตู้คอนโทรลปั๊มทั่วไปจะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบเข้าไปในตู้คอนโทรลด้วย  เช่น มิเตอร์วัดแรงดัน (Voltmeter), มิเตอร์วัดกระแส (Ampmeter), มิเตอร์วัดชั่วโมงการทำงาน (Hour Counter), อุปกรณ์เช็คกระแสเกิน (Current Protection Relay), อุปกรณ์ป้องกัน ไฟตก-ไฟเกิน (Voltage Protection Relay), อุปกรณ์ป้องกันปั๊มน้ำเดินตัวเปล่า (Dry Run Protection Relay), อุปกรณ์ควบคุมระดับน้ำ (Level Control) เป็นต้น ดังรูป   รูปแสดงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบตู้ควบคุมปั๊มน้ำ (Water Pump Control)        จากรูป ภายในตู้ควบคุมปั๊มน้ำ (Water Pump Control) ของระบบการเช็คและควบคุมระดับน้ำของปั๊มคอนโทรล (Pump Control) จะเห็นว่าต้องใช้อุปกรณ์ต่อร่วมกันหลายตัวเพื่อวัดค่าในแต่ละส่วน ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ในการติดตั้ง ยุ่งยากในการ Wiring สายไฟ และสิ้นเปลืองงบประมาณ      ดังนั้น ในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว พร้อมจอแสดงผล (Twin Pump Controller) รุ่น CM-015 เป็นเครื่องควบคุมและแสดงผลที่รวมทุกอย่างดังที่กล่าวมาไว้อยู่ภายในเครื่องเดียวและสามารถใช้ได้ทั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส (ดังรูป)   รูปตู้คอนโทรลควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว พร้อมจอแสดงผล (Twin Pump Controller) รุ่น CM-015-Series   ข้อดี เครื่องควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว พร้อมจอแสดงผล (Twin Pump Controller)     • มีหน้าจอแสดงผล (LCD Display) แสดงระดับน้ำได้ทั้งบ่อพักน้ำ (Water Well) และถังเก็บน้ำสำหรับใช้งาน (Water Tank)     • เลือกการทำงานได้ทั้งแบบ Water Supply (Charging) และ Drainage (Discharging)     • แสดงค่า Volt และ Current ของปั๊มในขณะที่ทำงานอยู่     • มี Protection เช็คแรงดันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage) สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส     • มี Protection เช็คแรงดันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage), เช็คลำดับเฟส (Phase Sequence), เฟสขาดหาย (Phase Loss) สำหรับระบบไฟฟ้า 3 เฟส     • สามารถใช้อุปกรณ์เช็คระดับน้ำ (Level Sensor) ได้ทั้ง Electrode/Float Switch/Pressure Switch เป็นต้น     • มี Hour Counter สำหรับนับชั่วโมงการทำงานของปั๊มและแจ้งเตือนเพื่อทำการบำรุงรักษา     • มี Dry Run Protection ป้องกันปั๊มน้ำเดินตัวเปล่าโดยไม่มีนํ้ำ     • Current Relay Output ตัดการทำงานของปั๊มเมื่อกระแสเกิน     • Latching Function With Memory สำหรับสลับการทำงานของปั๊ม 2 ตัว เพื่อยืดอายุการใช้งานของปั๊มน้ำ     • มี Function ตั้งหน่วงเวลาของปั๊มตัวที่ 1 และปั๊มตัวที่ 2 ไม่ให้ทำงานพร้อมกันได้ เพื่อป้องกันไฟตก (Under Current)     • สามารถตรวจสอบปั๊มเสียโดยการเช็คกระแสของปั๊มและสามารถปลดปั๊มตัวเสียออกจากระบบได้ถ้า CM-015 สั่ง Output ทำงาน แต่ไม่มีกระแสแสดงว่าปั๊มเสีย     • มีฟังก์ชั่นนับเวลาการหยุดปั๊มเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งทำให้ระบบกลไกขึ้นสนิมได้ และ CM-015 จะสั่ง ON ปั๊มเป็นเวลาตามการตั้งค่า (Setting)     • Lock Function ป้องกันไม่ให้เปลี่ยน Setting     • มี Alarm Relay Output สำหรับ Overflow, Hour, Voltage, Current and Dry Run        นอกจากนี้ เครื่องควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว พร้อมจอแสดงผล (Twin Pump Controller) ยังสามารถวัดกระแส (Current) และแรงดัน (Voltage) แทนการใช้งานมิเตอร์ได้ ช่วยลดความยุ่งยากในการเดินสายไฟ (Wiring) ประหยัดพื้นที่ ประหยัดเวลา ติดตั้งง่าย โดยไม่จำเป็นต้องใช้ช่างผู้มีประสบการณ์ในการติดตั้ง TWIN PUMP CONTROLLER TWIN PUMP RELAY 3 PHASE VOLT-AMP-kW-kWh-Hz-PF METER WITH PROTECTION RELAY DIGITAL VOLTAGE PROTECTION RELAY ELECTRONICS OVERLOAD   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Solid State Timer ต่างจาก Timer Relay อย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Timer Relay (ไทม์เมอร์ รีเลย์) เป็นรีเลย์ประเภทหนึ่งที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ตามที่เราต้องการ เช่น การตั้งเวลาเปิด-ปิด (ON-OFF) ไฟ, ตั้งเวลาเปิด-ปิด (ON-OFF) แอร์ หรือตั้งเวลาเปิด-ปิด (ON-OFF) ปั๊มน้ำ ในอาคารหรือที่พักอาศัย เป็นต้น แต่ในทางด้านอุตสาหกรรม Timer Relay ได้ถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในเครื่องจักร หรือในแต่ละภาคส่วนของระบบควบคุม เช่น ควบคุมการทำงานของพัดลมในตู้คอนโทรล, ควบคุมการทำงานของ Compressor เป็นต้น โดยการตั้งเวลาก็เป็นไปตามเงื่อนไขของ Timer ในแต่ละรุ่น และ Timer Relay มีมากมายหลายชนิดในการเลือกใช้งานให้เหมาะสม ดังนี้      • General Timer คือ ไทม์เมอร์แบบตั้งเวลาการทำงานทั่วไป เมื่อมีการจ่ายไฟเข้าไปไทม์เมอร์จะทำการจับเวลา จนถึงเวลาที่กำหนดไว้จะส่งสัญญาณทำให้สถานะหน้าคอนแทคเปลี่ยน (จาก NO เป็น NC) และเมื่อไม่มีการจ่ายไฟ Timer ก็จะ Reset และตัดสัญญาณการทำงานออก      • Twin Timer คือ ไทม์เมอร์ที่สามารถตั้งเวลาการทำงานแบบ เปิด-ปิด แยกอิสระกัน หรือสลับการทำงาน      • Star-Delta Timer คือ ไทม์เมอร์สำหรับ Start Motor ในระบบ 3 เฟส เพื่อช่วยลดกระแส Peak ในช่วงที่เริ่ม Motor ออกตัว (Start) ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้กับมอเตอร์โดยเฉพาะ      • Digital Timer คือ ไทม์เมอร์ตั้งเวลาแบบดิจิตอล ที่มีหลาย Function การทำงาน และสามารถตั้งเวลาได้ที่หน้าจอ (Key Pad) เลือกหน่วยในการตั้งเวลาได้ เช่น  mSec, Sec, Min, Hour เป็นต้น      จากข้อมูลข้างต้นของ Timer Relay แต่ละชนิด ยังมี Timer อีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Solid State Timer หรือ Timer แบบหน่วงเวลา แล้ว Solid State Timer ต่างจาก Timer Relay อย่างไร ในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำกัน      Solid State Timer คือ Timer ที่มีหน้าสัมผัสแบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็น Timer ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการตั้งหน่วงเวลา ตัด-ต่อ (On-Off) การทำงาน (Delay On Make Timer) หรือหน่วงเวลาก่อนหยุดของอุปกรณ์หรือโหลดหลังจากหยุดจ่ายไฟ (Delay On Break Timer) เช่น Motor Compressor พัดลม (Fans/Blower) เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหาย ไม่ให้หยุดการทำงานแบบกะทันหันอันเนื่องมาจากไฟตกหรือแรงดันขาดหายชั่วขณะ เป็นต้น ดังรูปตัวอย่างการต่อใช้งาน รูปแสดงการต่อใช้งาน Solid State Timer แบบหน่วงเวลา รุ่น PA-03 (Delay On Break Timer) เพื่อตั้งหน่วงเวลาการทำงานของ Compressor รูปแสดงการต่อใช้งาน Solid State Timer แบบหน่วงเวลา รุ่น PA-01 (Delay On Make Timer) เพื่อตั้งหน่วงเวลาการทำงานของพัดลม Blower Solid State Timer มี Function การใช้งานดังต่อไปนี้      Solid State Timer แบบหน่วงเวลาเหมือนเป็น Switch On/Off  ตัวหนึ่ง ที่สามารถกำหนดในการตั้งเวลาเพื่อให้อุปกรณ์ทำงาน (Delay On Make Timer) หรือก่อนหยุดการทำงานของอุปกรณ์ (Delay On Break Timer) ได้ตามความต้องการ ดังนี้ • Delay On Make Timer เมื่อจ่ายไฟเข้า Solid State Timer รุ่น PA-01 ตาม Timing Diagram โดยตั้งหน่วงเวาลา (Time Delay) ไว้ เมื่อหมดช่วงเวลาที่ตั้งไว้แล้วอุปกรณ์จะเริ่มทำงาน และจะเริ่มการหน่วงเวลาใหม่อีกครั้ง (Reset) เมื่อมีการหยุดจ่ายไฟ (สามารถตั้งเวลาได้ตั้งแต่ 0.03 - 10 นาที) • Delay On Break Timer เมื่อจ่ายไฟเข้า Solid State Timer รุ่น PA-03 ตาม Timing Diagram โดยตั้งหน่วงเวลา (Time Delay) ไว้ และเมื่อหมดช่วงเวลาที่ตั้งไว้แล้วจะทำการตัดวงจรออก ก่อนการหยุดทำงานของ Motor Compressor ในกรณีที่หยุดจ่ายไฟหรือแรงดันไฟตกชั่วขณะ จะทำให้ไม่หยุดการทำงานแบบกะทันหัน เพื่อป้องกันความเสียหาย (สามารถตั้งเวลาได้ตั้งแต่ 0.03 - 10 นาที) • By Pass Timer เมื่อจ่ายไฟเข้า Solid State Timer รุ่น PA-02 ตาม Timing Diagram จะต่อวงจรทำให้โหลดทำงานได้ ขณะเดียวกัน Timer จะเริ่มนับเวลา เมื่อหน่วงเวลาครบตามค่าที่ตั้งไว้ PA-02 จะตัดวงจร ทำให้โหลดหยุดทำงานจนกว่าจะมีการหยุดจ่ายไฟ แล้วเมื่อเริ่มจ่ายไฟให้กับ PA-02 ใหม่อีกครั้ง จึงจะทำงานอีกครั้ง (สามารถตั้งการทำงานของโหลดได้ตั้งแต่ 10-1,000 วินาที) Delay On Make Timer By Pass Timer Delay On Break Timer Star Delta Timer Delay On Operate Time โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Thermocouple Type ไหน ที่เหมาะสมกับการใช้งานวัดอุณหภูมิสูง ๆ ได้บ้าง

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ในการใช้งาน Thermocouple (เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ) นอกจากการเลือกรูปแบบที่เหมาะสมในการติดตั้งหน้างาน เช่น รูปแบบ Thermocouple แบบหัวกะโหลกมีเกลียว, Thermocouple แบบหัวกะโหลกปีกนก, Thermocouple แบบหน้าแปลน, Thermocouple แบบหน้าแปลนปีกนก, Thermocouple แบบออกสาย, Thermocouple แบบเขี้ยวล็อค, Thermocouple แบบรัดท่อ, Thermocouple แบบแกนสำเร็จ ฯลฯ แล้วนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกเรื่องคือ ชนิดของเทอร์โมคัปเปิล เช่น Thermocouple Type K, J, R, S, T, E, N รวมถึงวัสดุที่นำมาใช้ทำหัววัดอุณหภูมิ (Probe) อีกด้วย ในการวัดอุณหภูมิโดยที่ใช้งานร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller), เครื่องบันทึกอุณหภูมิ (Recorder), เครื่องแสดงผลอุณหภูมิ (Digital Temperature Indicator) เพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น      ก่อนที่เราจะทราบว่า Thermocouple แบบไหนใช้กับงานวัดอุณหภูมิสูง ๆ ได้บ้างนั้น เรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบของเทอร์โมคัปเปิลและช่วงอุณหภูมิการใช้งานกันก่อน ดังตาราง รูปตารางแสดงส่วนประกอบของเทอร์โมคัปเปิลและช่วงการใช้งาน      จากที่เราได้ทราบถึงส่วนประกอบของเทอร์โมคัปเปิลและช่วงอุณหภูมิการใช้งานจากตารางไปแล้วนั้น ต่อไปเราจะมาแนะนำวัสดุท่อที่ใช้ทำหัววัดอุณหภูมิ (Thermocouple Probe) สำหรับ Thermocouple ที่ใช้ในงานวัดอุณหภูมิสูง ๆ เช่น เตาหลอมอลูมิเนียม, เตาเผา, งานขึ้นรูปที่ต้องใช้อุณหภูมิสูง หรืองานที่มีสารเคมี กรด ด่าง เป็นต้น        Thermocouple แบบไหนใช้กับงานวัดอุณหภูมิสูง ๆ ได้บ้าง เราจะขอยกตัวอย่างที่นิยมใช้งานในอุตสากรรม ดังนี้ แกนเซรามิค (Ceramic Tube) อินควอแนล (Inconel 600) / Silicon Carbide Tube แกนสแตนเลส (Stainless) SUS310S เทอร์โมคัปเปิลแกนเซรามิค (Ceramic Thermocouple Tube) แกนทำจากเซรามิค ที่เป็นวัสดุผสมทำมาจากดินอะลูมิน่า ทำให้วัดอุณหภูมิสูงได้ดีถึง 1600 ํC (สำหรับ Type R, S)     เทอร์โมคัปเปิลท่ออินควอแนล (Inconel 600) Inconel Tube Thermocouple และ Silicon Carbide Tube เหมาะสำหรับงานหลอมอลูมิเนียม วัดอุณหภูมิได้สูงและทนการกัดกร่อนได้ดีมาก - สำหรับชนิด Silicon Crabide วัดอุณหภูมิได้สูงถึง 1500 ํC - สำหรับชนิด Inconel 600 วัดอุณหภูมิได้สูงถึง 1200 ํC แกนสแตนเลส (Stainless) SUS310S เทอร์โมคัปเปิลแกนสแตนเลส (Stainless Thermocouple Tube SUS310S) แกน Stainless เป็นเหล็กกล้าไร้สนิม ที่ทนการผุกร่อนในสภาวะที่มีการกัดกร่อนที่สูง ทนต่อแรงอัดและกรดด่างที่เป็นสารเคมีได้ดี ทนต่ออุณหภูมิที่จุดหลอมละลายได้สูงถึง 1100 ํC     นอกจากนี้ก็ยังมีวัสดุท่อแบบแสตนเลส (SUS) ของ Thermocouple หรือ PT100 ที่นิยมใช้งานวัดอุณหภูมิทั่ว ๆ ไป ดังนี้      • SUS304 เป็นสเตนเลสที่ใช้ในงานทั่วไป ไม่ขึ้นสนิม ลักษณะมันเงาสวยงาม สามารถทนต่อการกัดกร่อนได้ไม่สูงมากนัก สามารถขึ้นรูปเย็นและเชื่อมได้ดี      • SUS316 ใช้กับงานทนกรด ทนเคมี หรือเป็นเกรดที่ปฏิกิริยากับกรดน้อย      • SUS316L คุณสมบัติเหมือนกับ SUS316 ทุกอย่าง ที่แตกต่างกันคือการทนการผุกร่อนได้สูงขึ้นในสภาวะที่มีการกัดกร่อนที่สูง เหมาะสำหรับงานอาหาร      • SUS430 เป็นเกรดที่ต่ำที่สุด มีคุณสมบัติเป็นสีมันวาวสวยงาม ส่วนมากจะไม่ค่อยนิยมใช้ในงานอุตสาหกรม เพราะถ้าโดนน้ำหรือความชื้นแล้วจะเกิดสนิมขึ้น Thermocouple RTD Digital Temperature Controller PID Control Function Digital Temperature Controller Single Phase Solid State Relay     โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK  

Image Alternative text
Transmitter หรือ Converter มีแบบไหนบ้าง

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Transmitter (ทรานสมิตเตอร์) หรือ Converter (คอนเวอร์เตอร์) ในบางครั้งผู้ใช้งานเรียก Transmitter บ้างก็เรียก Converter แต่ให้เข้าใจว่ามันก็คือตัวเดียวกันนั่นเอง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณหรือค่าต่าง ๆ ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานทางไฟฟ้า 4-20mA, 0-10VDC เช่น อุณหภูมิ (Thermocouple Transmitter/PT100 Transmitter), ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Current Transmitter), ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Current Transmitter), แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (VDC Voltage Transmitter), แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (VAC Voltage Transmitter), ความต้านทาน Potentiometer ( Resistor Transmitter) หรือสัญญาณที่รับมาจาก CT (Current Transfomer) 0-5AAC เป็นต้น      ซึ่งสัญญาณเหล่านี้ในบางครั้งไม่สามารถนำมาใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมือวัดได้โดยตรง เนื่องจากเป็นสัญญาณที่ต่างชนิดกันของเครื่องมือวัดแต่ละตัว ดังนั้นจึงได้มีการกำหนดมาตรฐานของสัญญาณอนาล็อกขึ้น (4-20mA, 0-10VDC) เพื่อให้สามารถใชังานร่วมกับอุปกรณ์ประเภททรานสดิวเซอร์ (Transducer) หรืออุปกรณ์เครื่องมือวัดและควบคุมอื่น ๆ ได้ เช่น เซ็นเซอร์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter), เซ็นเซอร์วัดความชื้นและอุณหภูมิ (Humidity & Temperature Transmitter), เซ็นเซอร์วัดระดับแบบต่อเนื่อง (Level Sensor / Level Transmitter), เครื่องแสดงผล (Indicator), เครื่องควบคุม (Controller) เป็นต้น และนำสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานที่ได้จากอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Signal Transmitter) มาแสดงผลหรือควบคุมของระบบในโรงงานอุตสาหกรรม (ดังรูป) รูปอุปกรณ์แปลงสัญญาณ Transmitter หรือ Converter อุปกรณ์แปลงสัญญาณ ทรานสมิตเตอร์ (Transmitter) หรือ คอนเวอร์เตอร์ (Converter) ทำหน้าที่แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าทางด้านเอาต์พุตของอุปกรณ์เครื่องมือวัดประเภททรานสดิวเซอร์ (Transducer) ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (4-20mA, 0-10VDC) ซึ่งแบ่งออกเป็น2ประเภท คือ      1. สัญญาณทางด้านเอาต์พุตจากอุปกรณ์เครื่องมือวัดประเภททรานสดิวเซอร์ (Transducer) เช่น อุณหภูมิ (Temp), ความชื้น (Humidity), อัตราการไหล (Flow Rates), แรงดัน (Pressure), อากาศ (Air) เป็นต้น      2. สัญญาณทางไฟฟ้า (Electrical Signal) เป็นสัญญาณมาตรฐานที่อยู่ในรูปแบบของแรงดันไฟฟ้า และ กระแสไฟฟ้า เช่น  4-20mA, 0-20mA หรือ 0-5VDC, 0-10VDC เป็นต้น ตัวอย่างประเภทของอุปกรณ์เครื่องมือวัดที่นำสัญญาณทางด้านเอาต์พุตมาต่อใช้งานร่วมกับ Transmitter หรือ Converter รูปแสดงการต่อใช้งานอุปกรณ์วัดระดับน้ำแบบต่อเนื่อง LP-07-I ร่วมกับ Signal Transmitter EM-N series แบบ 1 Channel เพื่อต่อร่วมกับเครื่องแสดงผล Bargrap TIM-95G รูปแสดงการต่อใช้งาน PT100 ร่วมกับ Signal Transmitter EM-N series แบบ 2 Channel เพื่อต่อร่วมกับเครื่องแสดงผล CM-004N และเครื่องควบคุมอุณหภูมิ TMP-48 รูปแสดงการต่อใช้งาน CT ร่วมกับ Signal Transmitter IM-series แบบ 2 Channel เพื่อต่อร่วมกับเครื่อง Recorder TRM-20 series และ แบบ Output RS-485 เชื่อมต่อกับ Computer โดย USB Converter RM-012N-D   Signal Transmitter Digital Signal Transmitter USB to RS-422/RS-485 Converter Universal Input Digital Indicator with Alarm Unit Bar Graph Indicator with Alarm Unit สินค้าที่เกี่ยวข้อง Signal Transmitter / Converter เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple/PT100/NTC/PTC) เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) อุปกรณ์วัดระดับของเหลวแบบต่อเนื่อง (Level Switch / Level Sensor) อุปกรณ์ลดทอนกระแส CT (Current Tranformer) เครื่องแสดงผลแลลดิจิตอล (Digital Indicator / Bargrap Indicator) โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK  

Image Alternative text
Temperature Controller แบบ Step นำไปใช้งานแบบไหนได้บ้าง

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK              Temperature Controller แบบ Step นำไปใช้งานแบบไหนได้บ้างTemperature Controller หรือ เครื่องควบคุณอุณภูมิ ที่ใช้งานกันโดยทั่วไป ทำหน้าที่ในการประมวลผล (Process) ของสัญญาณอินพุต (Input) ที่รับเข้ามาจากเซนเซอร์วัดอุณหภูมิ เช่น PT100/Thermocouple/NTC/PTC เป็นต้น และสั่งงานทางด้านเอาต์พุต (Output) เพื่อไปควบคุมการเพิ่ม หรือ ลด ของอุณภูมิ (Temperature) ซึ่งกระบวนการควบคุมก็มีหลายรูปแบบ เช่น ON-OFFControl, PID Control, Fuzzy Logic Control เป็นต้น และ Temperature Controller ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ นิยมใช้งานในการควบคุมอุณหภูมิแบบคงที่ เช่น ต้องการต้มน้ำที่อุณหภูมิ 50 องศา และเมื่อถึงอุณหภูมิที่ต้องการ ให้สั่งงานทางด้านเอาต์พุต (Output) ทำงาน เพื่อไปควบคุมอุปกรณ์อื่น เช่น ต่อใช้งานร่วมอุปกรณ์โซลิดสเตทรีเลย์ (SSR) เพื่อใช้ในการ ตัด-ต่อ (On-Off) วงจรไฟฟ้า หรือ แบบ เร่ง-หรี่ (Phase Angle Controller) สำหรับควบคุมการทำงานของฮีเตอร์ (Heater) เป็นต้น             และอีกรูปแบบของควบคุมอุณหภูมิ โดยมีเงื่อนไขของอุณหภูมิที่สัมพันธ์กับเวลา เพื่อใช้ในการกำหนดการควบคุมอุณหภูมิในช่วงเวลานั้น คือ Temperature Controller แบบ Step / Temp Stepหรือ Programmable Process Controller เป็นการควบคุมลักษณะแบบสเต็ป สามารถนำไปใช้งานแบบไหนได้บ้าง ในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำกัน แสดงรูป Temperature Controller แบบ Step รุ่น TTM-339 series (15 Pattern, 99 Step.)                Temperature Controller แบบ Step หรือ Programmable Process Controller เป็น Temp Controlประเภทหนึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิ เหมือนกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller ) แบบอื่นๆแต่จะมีข้อแตกต่างของฟังก์ชั่นในการควบคุมอุณหภูมิ ที่เป็นลักษณะสเต็ป (Step Control) โดยสามารถตั้งค่า (SV) ทีเครื่องควบคุมอุณหภูมิได้หลายๆค่า และตั้งค่าเวลาในการทำอุณหภูมิได้อีกด้วย เหมาะสำหรับงานที่จำเป็นต้องค่อยๆเพิ่ม และ ค่อยๆลด อุณหภูมิ เช่น การอบชิ้นงาน, อบขนม, อบเซรามิค เป็นต้น เพื่อป้องกันความเสียหายแก่ชิ้นงาน กราฟแสดงการทำงานของอุณหภูมิที่สัมพันธ์กับเวลา กราฟแสดงการตั้งค่าอุณหภูมิที่สัมพันธ์กับเวลาของ Temperature Controller แบบ Step จากกราฟ แสดงการตั้งค่าอุณหภูมิที่สัมพันธ์กับเวลาของ Temperature Controller แบบ Step (3 Step) อธิบายได้ดังนี้ Step ที่ 1 : ให้ทำอุณหภูมิที่ 40 C ภายในเวลา 60นาที และ ช่วงของการรักษาอุณหภูมิ (Hold) คงที่ 40 Cที่เวลา 30 นาที Step ที่ 2 : ให้ทำอุณหภูมิที่ 90 C ภายในเวลา 30นาที และ ช่วงของการรักษาอุณหภูมิ (Hold) คงที่ 90 Cที่เวลา 10 นาที Step ที่ 3 : ให้ทำอุณหภูมิที่ 50 C ภายในเวลา 40นาที และ ช่วงของการรักษาอุณหภูมิ (Hold) คงที่ 50 Cที่เวลา 60 นาที          เมื่อครบกำหนดตามที่ตั้งค่าไว้ จึงสามารถนำชิ้นงานที่อบออกมาจากตู้อบได้ นอกจากนี้ Temperature Controller แบบ Stepยังมี Function ที่เรียกว่า Wait Functionเพื่อใช้สำหรับรอเวลา และ รออุณหภูมิ ในกรณีที่เวลาถึง แต่อุณหภูมิไม่ถึง หรือ อุณหภูมิถึงแต่เวลาไม่ถึง เพื่อให้อุณหภูมิและเวลาสัมพันธ์กันตามเงื่อนไขที่ตั้งค่า ทำให้เกิดความสเถียรภาพในการควบคุมอุณหภูมิเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างการต่อใช้งาน Programmable Process Controller ฟังก์ชั่นการควบคุมแบบ Step รูปแสดงการต่อใช้งาน Temperature Controller แบบ Step ร่วมกับ Solid Stat Relay เพื่อควบคุมการทำงานของฮีตเตอร์ (Heater) ในการอบชิ้นงาน Programmable Process Controller Thermocople&RTD 3-Phase SCR Power Regulator Digital Temperature Controller Digital Temperature Controller PID Control Function ข้อมูลสินค้า Temperature Controller แบบ Step / Temp Step / Programmable Process Controller https://www.primusthai.com/primus/product?productID=180 สินค้าที่เกี่ยวข้อง เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) https://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=38 โซลิคสเตตรีเลย์ (Solid Stat Relay /SSR) https://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=36 ฮีตเตอร์ / อุปกรณ์ทำความร้อน (Heater) https://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=20 เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple/PT100/NTC/PTC) https://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=39 โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
อุปกรณ์รักษาความเย็นภายในตู้ Air to Air Thermoelectric Cooler

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      หากพูดถึงอุปกรณ์ที่รักษาอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรล โดยทั่วไปเราจะนึกถึง แอร์รักษาอุณหภูมิ (Air Conditioner) หรืออุปกรณ์ทำความเย็น (Cooling Fans) ต่าง ๆ เป็นต้น ใช้สำหรับติดตั้งเพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในตู้คอนโทรลของเครื่องจักรในระบบอุตสาหกรรมทั่วไป      นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ที่ให้ความเย็นแก่ตู้ควบคุมได้อีกประเภท คือ Air to Air Thermoelectric Cooler ซึ่งจะทำหน้าที่ให้ความเย็นแก่ตู้ควบคุม โดยหลักการทำงานของแผ่นเพลเทียร์ (Peltier) ที่มีสารกึ่งตัวนำชนิดพีกับเอ็น (P-N Type) กล่าวคือ เมื่อมีกระแสไฟฟ้า (DC) จ่ายเข้าที่แผ่นเพลเทียร์ ก็จะมีการดูดกลืนกันของอิเล็กตรอน ที่เคลื่อนจากระดับพลังงานต่ำทางด้านสารกึ่งตัวนำแบบพี (P) ไปสู่ระดับพลังงานที่สูงกว่าทางด้านสารกึ่งตัวนำแบบเอ็น (N) ส่งผลให้ผิวด้านหนึ่งของแผ่นเพลเทียร์มีการดูดพลังงานความร้อนที่ได้จากความร้อนที่อยู่บริเวณโดยรอบ เมื่อความร้อนในบริเวณรอบ ๆ ถูกดูดเข้ามา ก็จะทำให้ในบริเวณนั้นมีอุณหภูมิต่ำลง ซึ่งด้านนี้ก็คือด้านทำความเย็น ทำให้อีกด้านหนึ่งร้อนและอีกด้านหนึ่งเย็น หรือที่เรียกว่าแผ่นร้อน-เย็น นั่นเอง         รูปที่ 1.1 แสดงโครงสร้างของแผ่นเพลเทียร์ (Peltier) และแผ่นเพลเทียร์ (Peltier)        จากหลักการดังกล่าว จึงได้มีการนำแผ่นเพลเทียร์ (Peltier) มาประยุกต์ทำเป็นอุปกรณ์ความคุมความเย็นให้แก่ตู้ควบคุม Air to Air Thermoelectric Cooler โดยการนำ Sink มาประกบทั้ง 2 ด้าน ของแผ่นเพลเทียร์ (Peltier) ทั้งทางด้านร้อนและด้านเย็น โดยใช้พัดลมเป็นตัวส่งผ่านความร้อนเพื่อระบายและส่งผ่านความเย็นเพื่อรักษาอุณหภูมิภายในตู้ควบคุม (ดังรูปที่ 1.2)   รูปที่ 1.2 อุปกรณ์ให้ความเย็นแก่ตู้ (Air to Air Thermoelectric Cooler) รุ่น TA-AA Series        Air to Air Thermoelectric Cooler รุ่น TA-AA Series เป็นอุปกรณ์ให้ความเย็นแก่ตู้ควบคุมภายในตู้ ที่ปราศจากสัญญาณรบกวน (Noise) และไม่มีการสั่นสะเทือนอันเนื่องมาจากการตัดต่อและการทำงานของมอเตอร์ เพราะไม่มี Compressor ภายในตัวอุปกรณ์ ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความละเอียดอ่อนต่อสัญญาณรบกวนภายในตู้ เหมาะสำหรับตู้ Server, ตู้บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการความแม่นยำสูง, ตู้ CPU, ตู้ระบบ Telecom, ตู้อุปกรณ์การแพทย์ หรือตู้ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารและยา เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายของอุปกรณ์ที่เกิดจากอุณหภูมิที่สูงเกินไป ช่วยยืดอายุการใช้งานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุมอีกด้วย มีขนาดเล็ก สามารถติดตั้งในพื้นที่จำกัดได้        ตัวอย่างการติดตั้งอุปกรณ์ให้ความเย็นแก่ตู้ควบคุม Air to Air Thermoelectric Cooler รูปแสดงการติดตั้ง Air to Air Thermoelectric Cooler รุ่น TA-AA Series        ข้อแนะนำในการติดตั้ง : ในการติดตั้งควรคำนึงถึงเรื่องอุณหภูมิภายใน-ภายนอก ความร้อนที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจาก Load (Heat Loss) เพื่อเลือกใช้กำลังวัตต์ (Watt) ที่เหมาะสม และเพื่อให้การทำงานของอุปกรณ์ภายในตู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรติดตั้ง Air to Air Thermoelectric Cooler ร่วมกับ Thermostat หรือ Controller เพื่อควบคุมและรักษาอุณหภูมิความเย็นภายในตู้ได้ตามความต้องการ และควรติดตั้งในลักษณะแนวตั้งเท่านั้น        ตัวอย่างการต่อใช้งานอุปกรณ์ให้ความเย็นแก่ตู้ควบคุม Air to Air Thermoelectric Cooler ร่วมกับ Thermostat และ Controller   Air to air thermoelectric Cooler Cabinet Filter Fan Thermostat Digital Thermostat Exhaust Radial Fans โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
เราจะวัดและควบคุมความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิในอากาศได้อย่างไร

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) และอุณหภูมิ (Temperature) ในอากาศมีอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ห้อง, บ้าน, รถยนต์, ตู้เย็น, โรงเรือนเพาะปลูก, เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิต จึงทำให้มีความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิ (Relative Humidity & Temperature) มากเป็นพิเศษ ในประเภทอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร, อุตสาหกรรมอาหาร, ยา, พลาสติกและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เป็นอุตสาหกรรมที่มีปัจจัยทางด้านแวดล้อม คือ อุณหภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity) เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อกระบวนการในการผลิต ทำให้ต้องมีการนำอุปกรณ์เครื่องมือวัดและควบคุมค่าความชื้นและอุณหภูมิ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ-ความชื้น (Hygrometer), อุปกรณ์วัดความชื้น (Humidity Sensor), เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor), เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) เป็นต้น เพื่อนำมาวิเคราะห์ในการวางแผนการผลิต      ซึ่งในการวัดและควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) และอุณหภูมิ (Temperature) ในอากาศนั้น เราจะสามารถวัดได้อย่างไร ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำอุปกรณ์เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นในอากาศ (Humidity & Temperature Sensor) กัน     อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) และอุณหภูมิ (Temperature) ในอากาศ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้      1. มิเตอร์วัดความชื้นและอุณหภูมิในอากาศแบบพกพา (Portable Temperature Humidity Meter) Datalogger Hygro Thermometer Humidity Temperature Meter (Dew Point, Web Bulb) Hygro Thermometer (With Alarm) CENTER 318 CENTER 318 CENTER 31 วัดความชื้นและอุณหภูมิ ในโรงเรือนเพาะชำ วัดอุณหภูมิจุดที่เป็นน้ำค้าง เมื่อมีอากาศชื้นปริมาณไอน้ำยังคงที่ วัดความชื้นและอุณหภูมิแบบตั้งโต๊ะ มีระบบการแจ้งเตือนในตัว      อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) และอุณหภูมิ (Temperature) ในอากาศ ที่สามารถวัดค่าอุณหภุมิและความชื้นได้ภายในตัวเดียวกัน และโชว์ค่าได้ที่หน้าจอของอุปกรณ์หรือการวัดค่าแบบเก็บข้อมูล (Datalogger) สำหรับดูค่าผ่าน Computer ทำให้สะดวกในลักษณะงานแบบ Out Door ในการวัดค่าหลาย ๆ จุด เช่น วัดค่าความชื้นสัมพัทธ์ของไอน้ำ (Dew Point) ในเรือนเพาะชำหรือในสวนต้นไม้ เป็นต้น        2. อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์แบบติดตั้งผนังและในท่อ และแปลงสัญญาณให้เป็นสัญญาณมาตรฐานทางไฟฟ้า 4-20mA/0-10VDC (Humidity & Temperature Transmitter) และ Output RS-485 (MODBUS RTU Protocol) สามารถติดตั้งได้ทั้ง 2 ลักษณะ ดังนี้ Wall Mount Humidity & Temperature Transmitter Wall Mount Humidity & Temperature Transmitter (MODBUS RTU Protocol) Duct Mount Humidity & Temperature Transmitter HM-004/HM-005 Series HM-006 Series (MODBUS RTU Protocol) RHM-004/RHM-005 Series เหมาะสำหรับติดตั้งบนผนังหรือเพดานภายในห้อง ที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ -30 ถึง 65 ํC เพื่อแปลงสัญญาณความชื้น 0-100% RH และอุณหภูมิ 0 -100 ํC ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน 4-20mA/0-10VDC   ส่วนรุ่น HM-006 Series สามารถนำสัญญาณที่ได้จากการวัดภายในห้องของความชื้น 0-100% RH และอุณหภูมิ  0-100 ํC เพื่อแปลงให้เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน 4-20mA/0-10VDC และมี RS-485 เพื่อเชื่อมต่อแบบอุปกรณ์ที่รองรับ Communication RS-485 ได้ เหมาะสําหรับติดตั้งวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในตู้อบ, ถังฆ่าเชื้อ, ถังไล่ความชื้น, เป็นต้น โดยเจาะรูฝังแกน (Probe) เข้าไปในตู้ให้ในส่วนหัวกะโหลกอยู่ภายนอกตู้ ซึ่งมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายใน ทําให้สามารถใช้กับตู้อบที่มีอุณหภูมิสูงได้ (ถึง 100 ํC) และมีฟิลเตอร์ด้านปลาย Probe เพื่อป้องกันฝุ่นและมีหน้าแปลนยึดสําหรับประกอบการติดตั้ง      อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกัน (Humidity & Temperature Transmitter) และแปลงสัญญาณให้เป็นสัญญาณมาตรฐานทางไฟฟ้า 4-20mA/0-10VDC สามารต่อใช้งานร่วมกับเครื่องควบคุม (Controller), เครื่องบันทึก (Recorder), เครื่องแสดงผล (Digital Indicator), โปรแกรมเมเบิ้ลคอนโทรลเลอร์ (PLC) หรือเครื่องแสดงโดยรับสัญญาณ RS-485 Communication รุ่น TSM-94 (สำหรับรุ่น HM-006)        ตัวอย่างการต่อใช้งาน Humidity & Temperature Transmitter อุปกรณ์แปลงสัญญาณอนาล็อก 4-20mA/0-10VDC เพื่อโชว์ค่าอุณหภูมิและความชื้นที่ Target Board   รูปแสดงการต่อใช้งานอุปกรณ์วัดความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) และอุณหภูมิ (Temperature) ในตัวเดียวกัน และแปลงสัญญาณเป็น 4-20mA/0-10VDC เพื่อโชว์ค่าความชื้น (Humidity) และอุณหภูมิในอากาศ ที่ Target Board   Duct Mount Humidity&Temperature Transmitter Wall Mount Humidity&Temperature Transmitter Digital Indicator Universal Input Digital Indicator Switching Power Supply 2.5A โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
PT100 Transmitter ติดตั้งแบบใดได้บ้าง

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      หลังจากที่เราได้นำเสนอในหัวข้อที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับประเภท, ความแตกต่าง และการต่อใช้งานของ PT100 แบบ 2 สาย 3 สาย 4 สาย ไปแล้วนั้น ทำให้เราสามารถเลือกเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (PT100) ได้อย่างเหมาะสมในการต่อใช้งานร่วมกับเครื่องแสดงผลอุณหภูมิ (Temperature Indicator), เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller), เครื่องบันทึกอุณหภูมิ (Recorder) เป็นต้น       ในหัวข้อนี้เราจะขอแนะนำอุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณอุณหภูมิ RTD (PT100) ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน 4-20mA/0-10VDC ที่เรียกว่า PT100 Transmitter หรือ Temperature Transmitter ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในการติดตั้งอุปกรณ์แปลงสัญญาณ PT100 Transmitter นี้ มีลักษณะการติดตั้งที่แตกต่างกัน เช่น ติดตั้งภายในตู้คอนโทรลโดยยึดติดกับราง Din Rail หรืออีกแบบหนึ่ง จะติดตั้งฝังอยู่ภายในหัวกะโหลกของตัว RTD (PT100) นั้นเลย ดังนี้   ลักษณะการติดตั้ง PT100 Transmitter หรือ Temperature Transmitter   การติดตั้ง PT100 Transmitter แบบติดราง (Din Rail) รูปแสดงการติดตั้ง PT100 ร่วมกับ PT100 Transmitter รุ่น EM-07 Series แบบติดราง (Din Rail) เพื่อโชว์ค่าที่เครื่องแสดงผล (Digital Indicatr)   การติดตั้ง PT100 Transmitter แบบฝังหัวกะโหลก Bulb (PT100) รูปแสดงการติดตั้ง PT100 Transmitter รุ่น TM-012P แบบฝังเข้ากับหัวกะโหลกของ PT100 เพื่อต่อใช้งานร่วมกับ PLC UNITRONICS        การติดตั้ง PT100 Transmitter แบบฝังเข้ากับหัวกะโหลกของ PT100 จะสามารถนำสัญญาณอนาล็อก 4-20mA ออกมาใช้งานต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น PLC, Temperature Controller, Recorder หรือ Indicator โดยใช้สายเพียง 2 เส้น เหมาะสมกับลักษณะงานที่ต้องเดินสายระยะไกล ๆ เนื่องจากสัญญาณที่แปลงออกมาเป็นแบบ Current Loop 4-20mA และมีขนาดเล็กกะทัดรัด ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง      ข้อดีของ PT100 Transmitter รุ่น TM-012P สามารถโปรแกรมเลือกย่านการใช้งานของ Input และ Output ได้ภายในตัวเดียวกัน ผ่านทาง Software โดยไม่ต้องระบุอินพุต (Fix Input) ในการเลือกย่านการใช้งาน กรณีในโรงงานอุตสาหกรรมมี PT100 Transmitter ที่มีย่านการวัดหลาย ๆ ย่านการวัด เราสามารถสั่งอุปกรณ์ Transmitter มาเพียงรุ่นเดียว และนำมากำหนดย่านอินพุต (Input) และ เอาต์พุต (Output) ตามที่ต้องการได้เลย โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงย่านการใช้งานบ่อย ๆ   การต่อใช้งาน PT100 Transmitter รุ่น TM-012P โดยเชื่อมต่อกับ Programming Module TM-PRO (ดังรูป) รูปแสดงการต่อใช้งานอุปกรณ์ Temperature Transmitter รุ่น TM-012P ผ่าน Programming Module TM-PRO เพื่อเชื่อมต่อ Computer   รูปตัวอย่างโปรแกรมการเชื่อมต่อของ Temperature Transmitter แบบ Configulation Input รุ่น TM-012P Temperature And Resistance Transmitter 4-20mA Slim/Loop Current Signal Transmitter Digital Signal Transmitter Temperature Sensor Universal Input Digital Indicator   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK  

Image Alternative text
อยากรู้ต้นทุนการใช้ไฟฟ้าเทียบกับจำนวนผลิต ทำได้อย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีต้นทุนต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต เช่น ต้นทุนด้านแรงงาน (Human), ต้นทุนวัตถุดิบ (Raw material), ต้นทุนด้านเครื่องจักร (Machine) และต้นทุนด้านการใช้พลังงานไฟฟ้า (kWh) การติดตามการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องจักรและติดตามสถานะต่าง ๆ ของเครื่องจักรว่ายังใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่นั้น จะทำให้เราสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและทันความต้องการของลูกค้าได้ หากเครื่องจักรทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เครื่องจักรไม่เสียหาย เครื่องไม่หยุดทำงาน( Downtime) และหากเราสามารถทราบความผิดปกติของเครื่องจักรก่อนล่วงหน้า หรือมี Hour Counter สำหรับนับเวลาของเครื่องจักร จะทำให้เราสามารถซ่อมบำรุงเชิงป้องกันก่อน (Preventive Maintenance) ได้ หรือในกรณีที่สามารถทราบถึงการใช้พลังงานไฟฟ้า (kWh) เทียบกับจำนวนที่เราผลิตต่อวันได้ จะทำให้เรานำข้อมูลที่ได้มาทำการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้านั้นได้ (Cost/Unit)      ในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำอุปกรณ์ที่สามารถตอบโจทย์การรู้ต้นทุนการใช้ไฟฟ้า เทียบกับจำนวนการผลิตได้ คือ KM-23 Series เป็นมิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้า (Power Meter) และนับจํานวนการผลิต (Counter), นับชั่วโมงการทํางาน (Hour Counter) ของเครื่องจักร รวมทั้งยังสามารถตั้งค่าป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage Protection) มี Relay Alarm เพื่อแจ้งเตือนหรือตัดต่อวงจรไฟฟ้าในระบบได้  มี RS485 เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บข้อมูล วิเคราะห์และบริหารจัดการ การใช้พลังงานไฟฟ้าเทียบกับจำนวนที่ผลิตได้ (ดังรูป) รูปแสดงการต่อใช้งานของมิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้า Multifunction Power Meter รุ่น KM-23-P7 ติดตั้งแบบ Panel 72x72 เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ (Local Server) รูปแสดงการต่อใช้งานของมิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้า Multifunction Power Meter รุ่น KM-23-DI ติดตั้งแบบ Din Rail เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ (Local Server) และ (Cloud Server) และสามารดูข้อมูลต่าง ๆ ผ่าน Web Application Three Phase Volt-Amp-kW-kWh-Hz-PF Meter with Protection Relay USB to RS-422/RS-485 Converter Multifunction Power Meter Software Winlog Pro Scada Software Single Phase Volt-AMP-kW-kWh-Hz,PF-Meter With Protection Relay โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK สินค้าที่เกี่ยวข้อง • อุปกรณ์ลดทอนกระแส(Current Transformers CT) • อุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Converter) • โปรแกรม Software PRIMUS SOFT PRO • อุปกรณ์ป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Protection Relay) • เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) • อุปกรณ์นับชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักร

Image Alternative text
การเลือกเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ (Level Sensor/Level Switch) ให้เหมาะสมกับหน้างาน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Level Sensor/Level Switch หรือ เซ็นเซอร์วัดระดับ เป็นเซ็นเซอร์ที่ใช้ในการตรวจจับระดับของเหลว (Liquid) เช่น วัดระดับความสูงของน้ำ น้ำมันในถัง หรือวัดระดับน้ำในแทงค์เก็บน้ำ เป็นต้น เพื่อจะทราบถึงตำแหน่งและระดับของเหลวนั้นและใช้ในการควบคุมระดับน้ำให้ได้ตามที่ต้องการ โดยต่อร่วมกับตัวควบคุมระดับน้ำ (Level Control), ตัวแสดงผลของระดับน้ำ (Level Indicator) เป็นต้น เพื่อแสดงค่าหรือควบคุมระดับของเหลว และนำค่าต่าง ๆ นี้ไปใช้ในกระบวนการการผลิตต่อไป      ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมาพูดถึงการเลือกใช้งานเซ็นเซอร์วัดระดับของเหลว (Liquid  Level Sensor/Level Switch/Level Transmitter/Level Indicator) ให้เหมาะสมกับหน้างานกัน ดังนี้ Level Switch (สวิทช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลว)      Level Switch ลูกลอยวัดระดับแบบแกนสแตนเลส (SUS304/SUS316) วัดระดับของเหลว เช่น นํ้า, น้ำมัน โดยอาศัย Magnet Switch เปลี่ยนแปลงสถานะของหน้าคอนแทค NO/NC เมื่อลูกลอยเคลื่อนที่ขึ้น-ลง ตามระดับของเหลว มีทั้งแบบติดตั้งด้านบนและด้านข้างถัง (รุ่น LP-04 สามารถเลือกจํานวนลูกลอยเพื่อวัดได้หลายระดับ)      Electrode Level Switch อุปกรณ์วัดระดับแบบกานอีเล็คโทรด เป็นเซ็นเซอร์ที่ใช้กับของเหลวที่นําไฟฟ้าได้เท่านั้น และไม่สามารถใช้กับน้ำบริสุทธิ์ (RO) หรือ น้ำมันที่มีสถานะเป็น Hydrocarbon ได้ โดยต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมระดับ Level Control (PM-021N-1) เพื่อควบคุม 1ระดับ หรือ 2 ระดับ      Cable Float Level Switch ลูกลอยวัดระดับแบบสายเคเบิ้ลในการใช้งาน ใช้หย่อนลงไปในถังหรือบ่อบําบัดน้ำเสียเพื่อตรวจระดับน้ำและควบคุมให้อยูในตําแหน่งสูงหรือต่ำตามต้องการ เมื่อน้ำมีระดับสูงขึ้นลูกลอยจะอยูในลักษณะแนวนอน ทำให้สวิตช์อยูในตําแหน่ง OFF แต่ถ้าน้ำอยูในระดับต่ำลูกลอยจะอยู่ในลักษณะแนวตั้ง ทําให้สวิทช์อยูในตําแหน่ง ON และสวิทช์ที่อยูภายในลูกลอยเป็นแบบ Mercury Switch (สวิตช์ปรอท) ทําให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานในการตัด-ต่อ ได้มากกว่า 500,000 ครั้ง Level Sensor เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับของเหลว      Level Sensor เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับของเหลวแบบต่อเนื่อง โดยอาศัยหลักการการเปลี่ยนแปลงของค่าความต้านทานภายในตามการขึ้น-ลง ของลูกลอย และส่งสัญญาณเอาต์พุต 4-20mA เพื่อต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์แสดงผล (Digital Bar graph Indicator) TIM-95G ในการแสดงปริมาณน้ำ      Ultrasonic Level Sensor อุปกรณ์วัดระดับแบบอัลตร้าโซนิค โดยใช้หลักการการสะท้อนของคลื่นความถี่เสียง (Ultrasound) ในการตรวจจับวัตถุนั้น ในการเดินทางที่ผ่านตัวกลาง เช่น ของเหลว ก๊าซ อากาศ เป็นต้น ทำให้สามารถใช้งานตรวจจับวัตถุได้หลากหลาย และสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี มีความแม่นยำในการตรวจจับ และของเหลวที่มีสารเคมี หรือของเหลวที่มีความหนืดก็สามารถตรวจจับได้      และยังมี Capacitive Proximity Switch เซ็นเซอร์ตรวจวัดระดับเซ็นเซอร์อีกประเภท ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานตรวจวัดระดับของเหลวได้ เช่น น้ำ ผงแป้ง เมล็ดโฟม เป็นต้น โดยใช้หลักการตรวจจับความหนาแน่นของ ของเหลวในการตรวจจับระดับ และสามารถวัดได้ทั้งวัตถุที่เป็นของเหลว ผงแป้ง ได้ภายในตัวเดียว Output เป็นสวิทช์ ON-OFF (ดังรูป)       Capacitive Proximity Switch Level Switch Level Switch  Level Indicator/Sensor Level Control For Conductive Liquids Single Pump Relay โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Bobbin Heater / Quartz Heater เหมาะสมกับการใช้งานประเภทใด

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ฮีตเตอร์ (Heater) เป็นอุปกรณ์ให้ความร้อนกับชิ้นงาน, อากาศ, ของเหลวหรือแม่พิมพ์โลหะ เป็นต้น สำหรับในอุตสาหกรรม ฮีตเตอร์ (Heater) ถือได้ว่ามีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น งานบรรจุหีบห่อ (Cartridge Heater), งานเครื่องฉีดพลาสติก เครื่องเป่าถุง งานให้ความร้อนในท่อลำเลียง (Band Heater/Ceramic Heater), งานอบสีรถยนต์ อบอาหาร อบไล่ความชื้น (Infrared Heater/Finned Heater), งานต้มน้ำ น้ำมัน (Immersion Heater), เป็นต้น ซึ่งฮีตเตอร์ (Heater) กล่าวมาข้างต้น ในการใช้งานเพื่อให้เหมาะสมกับประเภทของลักษณะงาน อุณหภูมิ ชิ้นงาน อาจจะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ผลิตฮีตเตอร์ (Heater) เช่น งานให้ความร้อนทั่วไปใช้เป็นสแตนเลส (SUS304) ได้ ส่วนงานที่ต้องใช้ความร้อนสูง มีสารกัดกร่อน สารเคมี ควรเลือกใช้ฮีตเตอร์ชนิดสแตนเลส (SUS316/SUS316L), อินโคลอย (Incoloy) หรือ ไททาเนียม (Titanium) เป็นต้น เพื่อให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการใช้งาน      สำหรับหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำแบบ Bobbin Heater และ Quartz Heater เหมาะสมกับการใช้งานประเภทใดบ้าง ซึ่งฮีตเตอร์ 2 ประเภทนี้ เรียกได้ว่าเป็นฮีตเตอร์จุ่มสำหรับต้มของเหลว เหมาะกับงานประเภทสารเคมี สารกัดกร่อนโดยเฉพาะ (ยกเว้นวัสดุ SUS304) ดังนี้ Bobbin Heater รูปที่ 1.1 Bobbin Heater รูปที่ 1.2 รูปแบบการติดตั้ง Bobbin Heater รูปที่ 1.3 ลักษณะการประยุกต์ใช้งาน Bobbin Heater (credit : https://www.wattco.com)      Bobbin Heater เป็นฮีตเตอร์แบบจุ่ม หรือ ฮีตเตอร์สำหรับของเหลว ติดตั้งได้ทั้ง 2 แบบ (ดังรูป 1.2) โดยสอดเข้ากับท่อเพื่อให้ความร้อนแก่ของเหลว ซึ่งให้ความร้อนสูงคงที่ สม่ำเสมอ สะดวกในการเคลื่อนย้าย เมื่อเกิดตะกรันเกาะที่ท่อฮีตเตอร์สามารถถอดออกมาซ่อมบำรุงรักษาและทำความสะอาดได้ง่ายกว่า Immersion Heater      เหมาะสมกับงาน : ต้มน้ำทั่วไป (วัสดุ SUS304) งานชุบโลหะ ชุบโครเมี่ยม เครื่องล้างต่าง ๆ น้ำมัน แว๊กซ์ ไขมัน หรืออุ่นต้มของเหลวที่เหนียวข้น เช่น กาว ได้ (วัสดุ SUS316, Incoloy หรือ Titanium) เป็นต้น      ข้อควรคำนึง : ระยะ Heat Zone (ช่วงความร้อน) ของ Bobbin Heater ไม่ควรโผล่พ้นของเหลวและควรระมัดระวังตะกรันที่จะมาเกาะ Bobbin Heater เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อนลดลง และควรเลือกวัสดุที่เหมาะสมกับการใช้งานกับความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิด   Quartz Heater รูปที่ 2.1 Quartz Heater รูปที่ 2.2 รูปแบบการติดตั้ง Quartz Heater รูปที่ 2.3 ลักษณะการประยุกต์ใช้งาน Quartz Heater       Quartz Heater เป็นฮีตเตอร์แท่งแก้วที่ใช้งานโดยการให้ความร้อนกับของเหลวที่มีความเป็นกรด-ด่าง ทนต่อการกัดกร่อนสูง ใช้ต้มสารเคมีได้ทุกชนิด และสามารถถ่ายเทความร้อนได้ทั่วแท่งแก้ว โดยจะมีขดลวดให้ความร้อนอยู่ภายใน ภายนอกจะมีท่อ PVC เป็นตัวป้องกันการกระแทกโดยตรงกับแท่งแก้วในการติดตั้ง       เหมาะสมกับงาน : ต้มน้ำยาเคมี, ต้มสารเคมี, งานชุบชิ้นงาน, งานต้มของเหลวต่าง ๆ ที่มีกรด-ด่างสูง เป็นต้น       ข้อควรคำนึง :  Quartz Heater เนื่องจากเป็นฮีตเตอร์ที่เป็นแท่งแก้ว อาจทำให้มีความเสี่ยงกับการแตกหักได้ จึงต้องมีท่อ PVC เพื่อป้องกันการแตกหักง่าย และระยะ Heat Zone (ช่วงความร้อน) ไม่ควรโผล่พ้นของเหลว และติดตั้งได้เฉพาะแนวดิ่งเท่านั้น       หมายเหตุ : ฮีตเตอร์แบบจุ่ม แบบ Bobbin Heater และ Quartz Heater สามารถต่อร่วมกับสวิทช์ลูกลอย (Level Switch) เพื่อป้องกันน้ำลดระดับลงต่ำกว่าช่วง Heat Zone ซึ่งมีผลทำให้ Heater ขาดได้ Bobbin Heater ฮีตเตอร์ต้มน้ำ Quartz Heater  ฮีตเตอร์แท่งแก้ว Heater Break Alarm Digital Monitor For Heater  Break Alarm Digital Temperature Controller  PID Control Function โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การประยุกต์ใช้งาน SCR Power Regulator

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เอสซีอาร์ (SCR : Silicon Control Rectifier) เป็นเครื่องปรับหรือควบคุมการจ่ายกำลังไฟฟ้า หรือที่เรียกกันทั่ว ๆ ไป คือ SCR Power Regulator โดยซิลิคอนคอนโทรลเร็คติไฟร์เออร์ (Silicon Control Rectifier) ที่เป็นอุปกรณ์โซลิดสเตท (Solid State) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสวิตช์เปิด-ปิด (ON-OFF) ของวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์      เอสซีอาร์ SCR เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำประเภทไทริสเตอร์ (Thyristor) ข้อดี คือ ไม่มีการเคลื่อนไหวของหน้าสัมผัส (Contact) ขณะเปิด-ปิดวงจร จึงทำให้ไม่เกิดประกายไฟ (Spark) ทำให้มีอายุการใช้งานยาวนานและไม่เกิดเสียงรบกวนขณะทำงาน      SCR Power Regulator หรือ SCR Power Controller ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมโดยส่วนใหญ่มักนำไปใช้ในการควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าสำหรับฮีตเตอร์ทุกชนิด เช่น งานควบคุมฮีตเตอร์ของเตาหลอมที่ใช้ความร้อนสูง, งานควบคุมอินฟราเรดฮีตเตอร์ เป็นต้น ในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำการประยุกต์ต่อใช้งาน SCR Power Regulator แบบ 3 เฟส กับโหลดฮีตเตอร์ (Resistive Load) รูปแสดงการต่อใช้งาน SCR Power Regulator เพื่อควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับฮีตเตอร์ (Heater) แบบ 3 เฟส      ในการควบคุมการทำงานของฮีตเตอร์ (Heater) นั้น SCR Power Regulator/SCR Power Controller จะทำงานแบบ เร่ง-หรี่ (Phase Angle Control) โดยรับสัญญาณประเภทสัญญาณอนาล็อก เช่น 4-20mA, 1-5Vdc, 2-10Vdc, Potentiometer 250 Kohm และ RS-485 จาก Controller เพื่อควบคุมมุมของเฟสในสัญญาณ Sine Wave ให้ทำงานตามเปอร์เซ็นต์ของ Input ทำให้กำลังไฟฟ้าของ Load มีการเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณ Input ส่งผลให้การควบคุม Load มีความละเอียดมากกว่า ON/OFF ทำให้กระแสไม่กระชากขณะทำงาน มีกระแสให้เลือกสูงสุดถึง 100A เมื่อมีความผิดพลาดของ Load จะมี Semi-conductor Fuse ป้องกันอุปกรณ์ภายในไม่ให้เสียหาย      ข้อแนะนำ : ในการเลือกใช้งาน SCR Power Controller/SCR Power Regulator นั้น ควรใช้งานไม่เกิน 70% ของกระแสสูงสุดของ SCR เช่น SCR ขนาดพิกัดกระแส 100A ดังนั้น ฮีตเตอร์ (Heater) ที่ต่อร่วมไม่ควรเกิน 70A เป็นต้น 3 Phase SCR Power Regulator Phase Angle Solid State Relay Digital Temperature Controller PID Control Function Single Phase Solid State Relay 3 Phase Solid State Relay โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ประโยชน์ของนาฬิการายวัน/รายสัปดาห์ (Daily/Weekly Time Switch)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Time Switch นาฬิกาตั้งเวลาแบบรายวัน/รายสัปดาห์ เป็นนาฬิกาที่ตั้งเวลา เช่น ตั้งเวลาการเปิด-ปิด อุปกรณ์ไฟฟ้าตามช่วงเวลาที่เราต้องการ เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้าในกรณีลืมปิดอุปกรณ์ไฟฟ้านั้น หรือตั้งเวลาในการเปิด-ปิด โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) สำหรับรดน้ำต้นไม้ตามเวลา เป็นต้น โดยมีหน่วยในการตั้งค่าเวลาเป็น วินาที (Second), นาที (Minute), ชั่วโมง (Hour), วัน (Day), เดือน (Month), ปี (Year)  ซึ่งมีข้อแตกต่างของ Timer ทั่วไป คือ ในการตั้งค่าเวลา Daily/Weekly Time Switch จะตั้งโดยการอ้างอิงกับเวลาปัจจุบัน (Real Time) ส่วน Timer ทั่วไปจะตั้งกำหนดเวลาตามฟังก์ชั่นของ Timer ตัวนั้น โดยไม่อ้างอิงกับเวลาปัจจุบัน และในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำ Time Switch กันว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานอะไรได้บ้าง (ดังรูป)        การประยุกต์ใช้งาน Time Switch นาฬิกาตั้งเวลารายวัน (Daily) / รายสัปดาห์ (Weekly) แบบดิจิตอล รูปการประยุกต์ใช้งาน Time Switch ร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ        ตัวอย่าง การต่อวงจรใช้งาน Daily/Weekly Time Switch SMW-02-N1 (2 Channels) ในการตั้งเวลาการเปิด-ปิด (ON-OFF) ของระบบไฟฟ้าแสงสว่าง รูปแสดงวงจรการต่อใช้งาน Time Switch ในการตั้งเวลาการเปิด-ปิด (ON-OFF) ของระบบไฟฟ้าแสงสว่าง        Daily/Weekly Time Switch นาฬิกาตั้งเวลาแบบรายวัน/รายสัปดาห์ แบบดิจิตอล เหมาะสำหรับงานที่ต้องการควบคุมเวลาในการทำงานอื่น ๆ ได้อีก เช่น ตั้งเวลาการทำงานของเครื่องจักร ในกรณีที่เป็นช่วงวันหยุด (Holiday) ก็สามารถโปรแกรมวันหยุดล่วงหน้าได้สูงสุดถึง 30 วัน และในกรณีที่ไฟดับ Time Switch ก็ยังทำการนับต่อไปโดยไม่จำเป็นต้องตั้งเวลาหรือการทำงานใหม่อีกครั้ง      นอกจากนี้ Time Switch ยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์เสริม Air Card Configration (SMW-A) เข้ากับสมาร์ทโฟนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต WiFi เพื่อความสะดวกในการดูข้อมูลและในการ Set ค่าของนาฬิกาตั้งเวลาแบบรายวัน/รายสัปดาห์ (Daily/Weekly Time Switch) สามารถคัดลอกโปรแกรม (Copy Parameter) ไปยังตัวอื่น ๆ ได้ ในกรณีที่มี Time Switch หลาย ๆ ตัวในระบบ ช่วยให้ประหยัดเวลาในการตั้งค่าของ Time Switch แต่ละตัว (ดังรูป)   รูปแสดงการเชื่อมต่อ Time Switch กับอุปกรณ์เสริม Air Card Configration (SMW-A)   Digital Timer Switch Digital Timer  Hour Counter  Universal Recycle Timer Slim Timer โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Slim Timer มี Function แบบใดบ้าง?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Timer เป็นอุปกรณ์ในการตั้งเวลาในรูปแบบ วินาที (Second), นาที (Minute), ชั่วโมง (Hour) หรือ วัน (Day) สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ตั้งเวลาในการ เปิด-ปิด (ON-OFF) แอร์, ตั้งเวลาในการเปิด-ปิด (ON-OFF) ปั๊มน้ำ, ตั้งเวลาสลับการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ (Recycle Timer) หรือการประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น ตั้งเวลาในการทำงานของเครื่องจักรเพื่อการบำรุงรักษา, การตั้งเวลาสำหรับวงจรการต่อแบบสตาร์-เดลต้า (Star-Delta Timer) ของมอเตอร์เพื่อลดกระแสไฟฟ้าในขณะสตาร์ท เป็นต้น      Timer ที่ใช้งานโดยทั่วไปมีทั้งแบบดิจิตอล (Digital Timer), แบบอนาล็อก, แบบหมุน (Analog Timer) ดังรูป   Digital Time Switch Digital Timer Universal  Recycle Timer Delay On Break Timer/By Pass Timer        ในกรณีที่มีการใช้งาน Timer เพื่อตั้งเวลาการทำงาน เปิด-ปิด (ON-OFF) ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครื่องจักรหรือภายในตู้คอนโทรลซึ่งมีอุปกรณ์ในระบบหลายประเภท จึงมีเงื่อนไขในการตั้งเวลาที่แตกต่างกันเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์แต่ละตัว ทำให้จำเป็นต้องใช้  Timer หลาย ๆ ตัว โดยแต่ละรุ่นก็จะมีขนาดที่แตกต่างกันออกไปทำให้ดูแล้วไม่สวยงามและกินพื้นที่หากมีการใช้งานที่ติดตั้งในระบบเดียวกัน       ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำ Slim Timer เป็นอุปกรณ์ตั้งเวลาแบบเล็กกะทัดรัด เพื่อช่วยให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้ง่ายต่อการ Maintenance (ดังรูป)   รูปแสดงการติดตั้ง Slim Timer ยึดกับราง Din Rail   Slim Timer โดยแต่ละรุ่นจะมี Function ที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้      PF-01 Star-Delta Timer เป็น Slim Timer สำหรับ Start Motor ในระบบ 3 เฟส เพื่อช่วยลดกระแส Peak ในช่วงที่เริ่ม Start Motor สามารถตั้งเวลาหน่วง Start ได้ 0.3-30 Sec และ 1-120 Sec ช่วง Pause Time 100-1,000 mSec (Adjustable)      PF-02 Delay On Operate เป็น Slim Timer สำหรับหน่วงเวลาก่อนทำงาน สามารถเลือกการตั้งเวลาการทำงานได้ 4 ช่วง ในตัวเดียวกัน คือ 30 Sec, 120 Sec, 16 Min และ 2 Hr. (Jumper)      PF-03  Multi-Function Timer เป็น Slim Timer แบบ Multi-Function Slim Timer ที่สามารถทำงานได้ 5 Functionในการตั้งเวลา โดยตั้งเวลาได้ตั้งแต่ 1 วินาที (Sec.) สูงสุดได้ถึง 10 วัน (Days)  คือ        1. Delay ON Operate Timer (DT) สำหรับตั้งเวลาในการทำงานของอุปกรณ์ (ON) เมื่อเริ่มทำงาน Relay Output จะอยู่ในสภาวะ OFF และเมื่อครบกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ Relay จะ ON ตลอดเวลา (ดังรูป)        2. Interval Timer (IT) สำหรับตั้งช่วงเวลา OFF ของอุปกรณ์ เมื่อจ่ายไฟเข้า Power Supply, Relay Output จะอยู่ในสภาวะ ON และ Timer (PF-03) จะทำการนับเวลาลงตามที่ตั้งไว้ เมื่อครบเวลาที่ตั้งไว้ Relay Output จะ OFF ตลอดไป (ดังรูป)        3. Delay ON Interval Timer (DI) เมื่อจ่ายไฟเข้า Power Supply, Relay Output จะอยู่ในสภาวะเริ่มต้น OFF ตามเวลาที่ตั้งไว้ และจะ ON ชั่วคราวตามระยะเวลาที่ตั้งไว้ เมื่อครบเวลาที่ตั้งไว้ก็จะกลับมาอยู่ในสถานะ OFF ตลอดไป (ดังรูป)        4. Recycle Timer Start ON (RNT) เมื่อจ่ายไฟเข้า Power Supply, Relay Output จะอยู่ในสภาวะเริ่มต้น ON ตามเวลาที่ตั้งไว้ และจะ OFF ชั่วคราวตามระยะเวลาที่ตั้งไว้ และการทำงานนี้จะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ตลอดไป (ดังรูป)        5. Recycle Timer Start OFF (RFT) เมื่อจ่ายไฟเข้า Power Supply, Relay Output จะอยู่ในสภาวะเริ่มต้น OFF ตามเวลาที่ตั้งไว้ และจะ ON ชั่วคราวตามระยะเวลาที่ตั้งไว้ และการทำงานนี้จะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ตลอดไป (ดังรูป) Star Delta Timer Delay On Operate Timer Multi - Function Slim Timer 2 Channel Multi-Function Timer Universal Recycle Timer โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK  

Image Alternative text
Photoelectric Sensor แบบ BGS ดีอย่างไร

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      PHOTOELECTRIC SENSOR เป็นเซ็นเซอร์ที่ใช้ลำแสงในการตรวจจับวัตถุแบบไม่สัมผัส สามารถตรวจจับระยะไกลและมีความแม่นยำในการตรวจจับตามคุณสมบัติของเซ็นเซอร์ (Sensor) แต่ละประเภท เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับตำแหน่งของวัตถุ (Laser Sensor), เซ็นเซอร์ตรวจจับระยะทาง, ขนาด, รูปร่างของวัตถุ (Displacement Sensor), เซ็นเซอร์ตรวจจับสีของวัตถุ (Color Sensor), เซ็นเซอร์รูปภาพ (Image Sensor), เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุที่มีขนาดเล็ก (Fiber Optic Sensor), เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุที่เป็นแบบใส, ขวดพลาสติกใส, แก้ว (Transparent Sensor) เป็นต้น      ซึ่ง Photoelectric Sensor ประเภทที่กล่าวมานี้ มีคุณสมบัติในการใช้งานที่แตกต่างกัน แต่สำหรับ Photoelectric Sensor บางประเภทจะมีข้อจำกัดในการตรวจจับ โดยที่วัตถุกับพื้นหลัง (Background) ต้องมีความแตกต่างกัน เช่น สีที่แตกต่าง ความห่างของระยะระหว่างวัตถุกับพื้นหลัง เป็นต้น เพื่อให้เซ็นเซอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ      แต่จะมีเซ็นเซอร์อีกประเภท คือ โฟโตอิเล็กทริคเซ็นเซอร์ (Photoelectric Sensor) แบบ BGS (Background Suppression) เป็นเซ็นเซอร์ (Sensor) ที่สามารถตรวจจับวัตถุที่มีความใกล้เคียงกับพื้นหลัง (Background) เช่น สีของวัตถุเดียวกันกับพื้นหลัง หรือตำแหน่งของวัตถุที่อยู่ใกล้กับพื้นหลังได้ โดยมีลักษณะของลำแสงในการตรวจจับ (ดังรูป) รูปแสดงลักษณะการตรวจจับของ Photoelectric Sensor แบบ BGS (Background Suppression)        เซ็นเซอร์แบบ Background Suppression (BGS) นี้ โครงสร้างภายในจะมีภาคส่ง (Emitter) และภาครับ (Receiver) ซึ่งเป็นลักษณะการตรวจจับแบบสะท้อนวัตถุโดยตรง (Diffuse Mode ) นั่นเอง โดยหลักการทำงานภาคส่ง (Emitter) จะส่งสัญญาณแสงเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับเลนส์ ส่วนภาครับ (Receiver) จะติดตั้งให้ทำมุมกับภาคส่ง (Emitter) เพื่อแสงสะท้อนกับชิ้นงาน แล้วกลับมายังภาครับ (Receiver) ซึ่งภาครับของตัว Photoelectric Sensor แบบ Background Suppression (BGS) จะประกอบไปด้วย Photo Transistor 2 ชุด ซึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณแสงที่จะสะท้อนกลับมาและทำการเปรียบเทียบเพื่อให้สามารถรับรู้ได้ว่าตำแหน่งที่ต้องการตรวจจับอยู่ที่ตรงไหนและจดจำค่าระดับของแสงที่รับได้เอาไว้ เพื่อจะสามารถจำกัดระยะทางในการตรวจจับได้   ตัวอย่าง ลักษณะการตรวจจับวัตถุของ Photoelectric Sensor แบบ Background Suppression (BGS) ยี่ห้อ OPTEX   • การตรวจจับวัตถุที่มีความหลากหลายของสี              • การตรวจจับวัตถุที่มีขนาดเล็ก ที่อยู่ใกล้เคียงหรือระดับเดียวกันกับพื้นหลัง (Background)              • การตรวจจับวัตถุที่มีความแตกต่างของระดับความสูง (High-definition)                   จะเห็นได้ว่า Photoelectric Sensor แบบ BGS หรือ Photoelectric Sensor Background Suppression นั้น ได้ถูกออกแบบมาให้สามารถตรวจจับตรวจจับวัตถุที่มีตำแหน่งในการตรวจจับอยู่ใกล้กับตัวพื้นหลังหรือพื้นผิวที่มีความใกล้เคียงกับชิ้นงานได้โดยเฉพาะ ซึ่งโฟโตอิเล็กทริคเซ็นเซอร์ (Photoelectric Sensor) แบบสะท้อนวัตถุโดยตรง (Diffuse) ทั่วไป ไม่สามารถแยกแยะระหว่างชิ้นงานกับพื้นหลัง (Background) ได้ ทำให้การทำงานเกิดความผิดพลาด Fore ground Black Ground Suppression Laser Sensors  Photoelectric Sensor  Digital Preset Counter Digital Counter   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Increment Encoder ต่างกับ Absolute Encoder อย่างไร

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) เป็นเซ็นเซอร์สำหรับวัดระยะทาง (Distance Sensor), ความเร็ว (Speed), ทิศทางการหมุนของมอเตอร์ (Direction of Rotation), ตำแหน่งหรือมุม เป็นต้น ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ตามลักษณะของสัญญาณเอาต์พุต (Output Signal) ได้ดังนี้      1. Encoder แบบ Increment หรือที่เรียกว่า Increment Encoder / Rotary Encoder      2. Encoder แบบ Absolute หรือที่เรียกว่า Absolute Encoder ซึ่ง Encoder ทั้ง 2 แบบนี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร ในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำกัน      Incremental Encoder หรือ Incremental  Rotary Encoder (เอ็นโค้ดเดอร์แบบหมุน) โครงสร้าง (ดังรูป 1.1) จะประกอบด้วย จานหมุน และอุปกรณ์ตรวจจับ โดยจานหมุนจะมีช่องเล็ก ๆ เมื่อเพลาของมอเตอร์หมุนจะทำให้จานหมุนไปตัดลำแสงของเซ็นเซอร์ (Sensor) ทำให้ชุดรับแสงได้รับสัญญาณเป็นช่วงๆ จึงทำให้สัญญาณเอาต์พุตออกมาเป็นสัญญาณพัลล์ต่อรอบ (PPR) (ดังรูป 1.2) รูป 1.1 แสดงส่วนประกอบของ Incremental Encoder / Rotary Encoder (credit : http://eng.sut.ac.th/mae/maeweb/sites/default/files/ENCODER.pptx) รูป 1.2 ตัวอย่างสัญญาณพัลส์เอาต์พุตของ Incremental Encoder      Incremental Encoder เป็นเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ที่ใช้หลักการเมื่อมีการหมุนของแกนเพลา จะทำให้มีสัญญาณเอาต์พุตที่เป็นสัญญาณลูกคลื่นพัลส์สี่เหลี่ยม (Square wave) มี 3 แทรค (Tracks) คือ A , B , Z  โดยจะสัมพันธ์กับระยะการเคลื่อนที่และตำแหน่งสัญญาณเอาต์พุตของ Encoder A และ B มีมุมที่ห่างกัน 90 องศา ทางไฟฟ้า ส่วน Z จะมีสัญญาณ 1 พัลส์ ต่อ 1 รอบ หรือบางตัวจะเป็นพัลส์แบบ Invert เช่น A- , B- , Z- ซึ่งเป็นสัญญาณที่กลับเฟสกัน 90 องศา เพื่อเช็คทิศทางการหมุนของมอเตอร์ เป็นต้น      Incremental Encoder แบบนี้จะมีข้อด้อยในกรณีหากมีการถอดสายสัญญาณออกชั่วขณะหรือแหล่งจ่ายไฟฟ้าดับข้อมูลของการเคลื่อนที่ก็จะหายไปหมด ไม่สามารถระบุตำแหน่งพัลส์หรือตำแหน่งองศาได้ ทำให้ต้องมีการปรับที่จุดอ้างอิงใหม่อยู่ตลอดเวลา กรณีนี้อาจจำเป็นต้องใช้เครื่องนับจำนวนแบบตัวเลข (Digital Counter) เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยบันทึกข้อมูลได้      Absolute Encoder (เอ็นโค้ดเดอร์แบบสัมบูรณ์) โครงสร้าง (ดังรูป 2.1) จะมีหัวอ่านหลายชุดเท่ากับจำนวนบิตเอาต์พุต การเจาะรูบนแผ่นแต่ละชุดก็จะมีระยะห่างเป็นทวีคูณทำให้สามารถทราบตำแหน่งของการหมุน จึงทำให้สัญญาณออกมาในรูปแบบของรหัสโค้ด เช่น  Binary, Gray Code เป็นต้น (ดังรูป 2.2)   รูป 2.1 แสดงส่วนประกอบของ Absolute Encoder (credit : http://eng.sut.ac.th/mae/maeweb/sites/default/files/ENCODER.pptx) รูป 2.2 ตัวอย่างสัญญาณบิตเอาต์พุตของ Absolute Encoder (credit : http://www.9engineer.com/index.php?m=article&a=print&article_id=2176)      Absolute Encoder เป็นเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ที่ออกแบบมาให้มีรูปแบบสัญญาณเอาต์พุตที่เป็นลักษณะของการเข้ารหัส โดยการใช้รหัสแทนสัญญาณพัลส์ เช่น Binary, Gray Code เป็นต้น เพื่อระบุตำแหน่งการเคลื่อนที่และองศาของแกนเอ็นโค้ดเดอร์ได้มีตำแหน่งที่ถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด กรณีแหล่งไฟฟ้าหยุดและทำการจ่ายไฟเข้าไปใหม่ข้อมูลก็ยังอยู่ที่ตำแหน่งเดิม และบ่งบอกได้ว่าตำแหน่งองศาที่อยู่นั้นคือเท่าใด แต่โดยทั่วไป Absolute Encoder จะมีราคาที่แพงกว่าแบบ Incremental Encoder ดังนั้นผู้ใช้งานสามารถเลือกตามความเหมาะสม      ตัวอย่าง การนำไปใช้งานของ Encoder การวัดระยะหรือความยาวของผ้า, กระดาษ โดยต่อร่วมกับเครื่องนับจำนวน (Digital Counter) เพื่อแสดงค่าระยะทาง และกำหนดการทำงานของ Motor ให้ เริ่ม-หยุด กรณีได้ความยาวหรือระยะทางตามที่ต้องการ ช่วยในการแก้ปัญหาชิ้นงานที่ยาวไม่เท่ากันอีกด้วย Increment Encoder ø 50mm. Programmable Increment Encoder ø 50mm. Tachometer (RPM&LINE SPEED) Mini Tachometer RPM Meter Digital Frequency Meters With Alarm โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การต่อสาย Thermocouple แบบหัวกะโหลก และ Thermocouple แบบออกสาย

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Thermocouple (เทอร์โมคัปเปิ้ล) หรือ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ ที่ใช้วัดอุณหภูมิในงานอุตสาหกรรม เช่น วัดอุณหภูมิของเหลว, วัดอุณหภูมิอากาศ, วัดอุณหภูมิในตู้อบ, เตาหลอม เป็นต้น โดยใช้ต่อร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller), เครื่องแสดงค่าอุณหภูมิ (Digital Indicator), เครื่องบันทึกอุณหภูมิ (Recorder) ซึ่ง Thermocouple ที่เรารู้จักกันนั้น ในปัจจุบันมีหลายรูปแบบตามลักษณะการติดตั้งและการใช้หน้างาน เนื่องจากเป็นสินค้าสั่งผลิต (Make to Order) โดยในหัวข้อนี้เราจะขอยกตัวอย่างการต่อ Thermocouple แบบหัวกะโหลกและแบบออกสายเข้ากับอุปกรณ์ (ดังรูป) Thermocouple แบบออกสาย รูปแสดงการต่อสายของ Thermocouple ที่เป็นแบบออกสายร่วมกับเครื่องแสดงผล (Temperature Indicator)      Thermocouple แบบออกสาย เหมาะกับการใช้งานยึดเกลียวติดตั้งพื้นที่แคบ ๆ เนื่องจากเป็นแบบแกนโพรบ (Probe) ที่ต้องเสียบเข้าไปในจุดที่จะทำการวัดอุณหภูมิ ซึ่งถ้าหากจุดที่วัดอุณหภูมิกับเครื่องแสดงผล (Temperature Indicator) อยู่ไกลกัน ในการใช้งานที่ต้องลากสายไกล ๆ จะทำให้เกิดความยุ่งยากกรณี Thermocouple เสีย เนื่องจากสายกับแกนโพรบ (Probe) ติดอยู่ด้วยกันจึงต้องถอดเปลี่ยนทั้งตัว Thermocouple ซึ่งแบบเกลียวที่ออกสายโดยส่วนมากจะมีสปริงเพื่อป้องกันสายหักสำหรับหน้างานที่มีการเคลื่อนที่บ่อย ๆ และช่วยยืดอายุการใช้งาน Thermocouple ได้อีกด้วย Thermocouple แบบหัวกะโหลก รูปแสดงการต่อสายของ Thermocouple ที่เป็นแบบออกสายร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller)      Thermocouple แบบหัวกะโหลก เหมาะกับการใช้งานยึดเกลียวติดตั้งพื้นที่กว้าง ๆได้ เนื่องจาก Thermocouple แบบหัวกะโหลกจะมีหัวกะโหลกขนาดใหญ่  และหากกรณีที่ต้องการเปลี่ยนเฉพาะแกนโพรบ (Probe) ของ Thermocouple ก็สามารถถอดสายที่หัวกะโหลกได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยนสายให้ยุ่งยาก โดยมีหัวกะโหลกแต่ละแบบที่เหมาะสมกับการใช้งาน ดังนี้ หัวกะโหลกเล็ก หัวกะโหลกใหญ่ (Big Head) หัวกะโหลก Bakelite หัวกะโหลกกันระเบิด (Explosion Proof SUS316) ใช้งานทั่วไป กรณีแบบ 2 Element หรือใส่ Transmitter กรณีใช้งานที่มีความชื้นสูง, มีฝุ่น, ละอองน้ำ เป็นต้น ใช้กับหน้างานที่เป็นพื้นที่ที่มีสารไวไฟ เสี่ยงต่อการเกิดระเบิด เช่น ปิโตรเคมี Temperature Sensor Digital Temperature Controller PID Control Function Digital Temperature Controller Digital Temperature Controller  Digital Temperature Indicator โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Indicator แบบไหนที่วัดความเร็วรอบได้

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ในงานอุตสาหกรรม Indicator (เครื่องวัดและแสดงผล) ที่ใช้ในการแสดงผลของความเร็วรอบ (RPM), ระยะทางต่อนาที m/min  (Line Speed) เช่น การวัดความเร็วรอบของ Motor Conveyer หรือการวัดกำลังการผลิตของผ้าว่าผลิตได้กี่เมตร/นาที เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพของการผลิต โดยส่วนใหญ่การที่จะสามารถวัดความเร็วรอบ (RPM) หรือ ระยะทางต่อนาที m/min  (Line Speed) จะต้องต่อร่วมกับสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณพัลส์ (Pulse) จากอุปกรณ์ เช่น พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ (Proximity Sensor), เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) เพื่อวัดความเร็วรอบต่อนาที (RPM), วัดความถี่ (Hz), วัดระยะทางต่อนาที (Line Speed)  หรือในบางลักษณะงานสามารถวัดความเร็วรอบของมอเตอร์จากสัญญาณอนาล็อกทรานเฟอร์ Analog Transfer 4-20mA หรือ 0-10Vdc จาก Inverter ได้ เป็นต้น      ในหัวข้อนี้จะขอยกตัวอย่างการวัดค่าความเร็วรอบ (RPM) ของ Indicator โดยรับสัญญาณพัลส์ (Pulse) จากพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ (Proximity Sensor) และรับสัญญาณอนาล็อก (4-20mA/0-10VDC) จาก Inverter      ตัวอย่าง RPM Meter ที่รับสัญญาณพัลส์ (Pulse) จากพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ (Proximity Sensor) หรือ เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ในการวัดค่าความเร็วรอบต่อนาที (RPM) ของมอเตอร์สายพานลำเลียง (ดังรูป) รูปแสดงลักษณะการต่อใช้งานของ RPM Indicator ที่รับสัญญาณ Pulse จากเซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะ (Proximity Sensor) เพื่อวัดความเร็วรอบ (RPM)      ตัวอย่าง  Digital Indicator ที่รับสัญญาณอนาล็อก 4-20mA/0-10VDC จากอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ในการวัดค่าความเร็วรอบต่อนาที (RPM) ของมอเตอร์สายพานลำเลียง (ดังรูป)      ดังนั้น RPM Indicator/Tachometer Indicator ก็สามารถรับสัญญาณได้ทั้งสัญญาณพัลส์ (Pulse) จากพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ (Proximity Sensor) หรือเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) และสัญญาณที่เป็นอนาล็อก 4-20mA/0-10VDC จาก Inverter ได้เช่นกัน โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Band Heater (ฮีตเตอร์รัดท่อ ) แบบไหนประหยัดพลังงานไฟฟ้ามากกว่ากัน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK Band Heater (ฮีตเตอร์รัดท่อ ) แบบไหนประหยัดพลังงานไฟฟ้ามากกว่ากัน             ฮีตเตอร์ (Heater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำความร้อนให้กับชิ้นงานที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม โดยใช้หลักการ คือ เมื่อมีกระแสไหลผ่านลวดตัวนำ (ลวดฮีตเตอร์) ที่มีค่าความต้านทาน (Resistance) ทำให้ลวดตัวนำเกิดความร้อน            ในหัวข้อนี้เราจะขอแนะนำความแตกต่างระหว่าง Band Heater (ฮีตเตอร์รัดท่อ) , Ceramic Band Heater ( ฮีตเตอร์รัดท่อแบบเซรามิค) และ Infrared Heater (ฮีตเตอร์รัดท่อแบบอินฟาเรด ) ว่าแบบไหนประหยัดพลังงานไฟฟ้ามากกว่ากัน โดยลักษณะการนำไปใช้งานของ Band Heater (ฮีตเตอร์รัดท่อ), Ceramic Heater (ฮีตเตอร์รัดท่อแบบเซรามิต), Infrared Heater(ฮีตเตอร์รัดท่อแบบอินฟาเรด ) ส่วนใหญ่มักจะใช้กับเครื่องจักร เช่น เครื่องฉีดพลาสติก (Injection Machine), เครื่องเป่าถุง (Blowing Machine), เครื่องลำเลียงกาว เป็นต้น รูปแสดงลักษณะการติดตั้งฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) เครื่องฉีดพลาสติก (Injection Machine), เครื่องเป่าถุง (Blowing Machine), เครื่องลำเลียงกาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีฮีตเตอร์ชนิดต่างๆตามลักษณะการใช้งาน https://www.primusthai.com/primus/Knowledge/info?ID=54 หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณเกศรา 098-279-5788 สินค้าหมวด ฮีตเตอร์ (Heater) https://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=20 สินค้าที่เกี่ยวข้อง Temperature Controller https://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=38 สินค้าที่เกี่ยวข้อง Solid State Relay https://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=36 สินค้าที่เกี่ยวข้อง Heater Break Alarm https://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=70 โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Wiring Duct ในตู้คอนโทรลมีแบบไหนบ้าง

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK Wiring Duct ในตู้คอนโทรลมีแบบไหนบ้าง                 Wiring Duct หรือ เรียกว่า รางเก็บสายไฟ, รางเก็บสาย Lan, รางเก็บสายโทรศัพท์ เพื่อเก็บสายให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ถ้าหากมีสายไฟเยอะๆ อาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน หรือพื้นที่บริเวณนั้น และการใช้รางสำหรับเก็บสายไฟ (Wiring Duct) ทำให้ง่ายต่อการตรวจเช็คกรณีที่ต้องการเปลี่ยนหรือการต่อใช้งานอุปกรณ์ภายในตู้คอนโทรล               ซึ่งรางเก็บสายไฟ (Wiring Duct) มีการใช้ตามลักษณะงานที่หลากหลาย เช่น งานเก็บสายตามอาคาร สำนักงาน, งานเก็บสายไฟในตู้คอนโทรลในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะขอยกตัวอย่าง Wiring Duct ยี่ห้อ IBOCO แต่ละประเภทที่นิยมใช้ในตู้คอนโทรลกัน (ดังรูป)                                 รูป Wiring Duct ชนิดต่างๆ ยี่ห้อ IBOCO Wiring Duct แบ่งออกเป็ น 3 ประเภทหลักๆได้ ดังนี้ 1. นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริม (Accessories) ในการติดตั้งร่วมกับราง เพื่อเก็บสายไฟ (Wiring Duct) 2.Wiring Duct แบบทึบพร้อมฝาปิด (Cover) เหมาะสำหรับงานเก็บสายไฟ เพื่อป้องกันฝุ่นหรือ น้ำ,น้ำมัน เป็นต้น 3.Wiring Duct แบบทึบใช้ร่วมกับ (Cable Gland) เหมาะสำหรับงานเดินท่อ สายไฟ หรือ งานลิฟท์ ที่ต้องการแยกสายไฟในแต่ละชั้น นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริม (Accessories) ในการติดตั้งร่วมกับรางเพื่อเก็บสายไฟ (Wiring Duct) ข้อแนะนำ ในการเลือกใช้งานราง Wiring Duct ควรเลือกรางที่มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดี ไม่ทำให้เกิดประกายไฟ สำหรับราง Wiring Duct ยี่ห้อ IBOCO นี้มีมาตรฐานในการเจาะรู(DIN 43659) เพื่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เสริมได้ ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ ที่ถูกออกแบบเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการใช้งาน โดยทำร่องไว้เพื่อใช้ในการหักซี่ของรางได้ด้วยมือ ไม่จำเป็นต้องใช้คีมหรือเครื่องมือต่างๆ ในกรณีที่ต้องการหักที่ฐานด้านขอบราง ก็สามารถตัดขอบด้านข้างและหักด้วยมือ (ดังรูป) โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLIC

Image Alternative text
การประยุกต์ใช้งาน Displacement Sensor

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ดิสเพลสเมนต์เซ็นเซอร์ (Displacement Sensor) เป็นเซ็นเซอร์สำหรับใช้ในการตรวจจับตำแหน่ง, ระยะทาง, ขนาด, รูปร่าง, ระดับ ของวัตถุแบบไม่สัมผัส มีความแตกต่างจากโฟโตอิเล็กทริกเซ็นเซอร์ (Photoelectric Sensor) ทั่วไป โดยใช้หลักการรับแสงแบบ CMOS เป็นองค์ประกอบในการรับแสง ในวงจรเซ็นเซอร์ CMOS จะมีวงจรย่อย ๆ สำหรับใช้ในการเปลี่ยนแปลงค่าแสงที่เข้ามาให้เป็นสัญญาณดิจิตอลเพื่อระบุตำแหน่งจริง โดยที่ไม่ได้รับผลกระทบจากแสงโดยรอบหรือแสงที่กระจาย ทำให้มีความเสถียรในการวัด แม้ในรูปทรงของวัตถุที่ซับซ้อนและมีขนาดเล็ก      ในการประยุกต์ใช้งาน Displacement Sensor ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ตามลักษณะการตรวจจับ ดังนี้ งานตำแหน่ง/ความสูง/ความหนา ตรวจจับการวางตำแหน่งสำหรับการติดตั้งแผ่นโลหะ การวัดความสูงของชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ประกอบ การวัดความหนาของจานเบรค   งานวัดความเอียง/ระดับความเรียบของพื้นผิว การวัดความเรียบของพื้นผิว PCB การวัดการบิดเบี้ยว/โก่งงอ ของพื้นผิวแก้ว การตรวจจับรอยตะเข็บบนแผ่นยาง   งานตำแหน่งความกว้าง/ช่องว่าง (Gap) การวัดความกว้างและช่องว่างของชิ้นงาน การวัดช่องว่าง (Gap) ของลูกกลิ้ง การวัดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกชิ้นงานทรงกระบอก   การวัดแบบมีมิติ (2 มิติ) การวัดส่วนสูงและวัดพื้นผิวของผ้าเบรค เพื่อตรวจเช็คการสึกหรอของผ้าเบรค การตรวจจับความทับซ้อนของพื้นผิว ตรวจสอบความแตกต่างความสูงและช่องว่าง (Gap) ของประตูรถยนต์   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK