Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text
มาทำความรู้จัก Programmable Encoder กัน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการวัดระยะทาง, ความเร็วรอบ, มุม, องศาการเคลื่อนที่ ซึ่งอาศัยหลักการทำงานโดยการเข้ารหัสจากระยะทางจากการหมุนของแกนเพลา แล้วทำการแปลงออกมาในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า (Pulse) เพื่อนำมาต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์แสดงผล เช่น เครื่องนับจำนวน (Digital Counter), เครื่องวัดความถี่และระยะทาง (Freqenecy Meter), พีแอลซี (PLC) เป็นต้น      การใช้งาน Encoder นั้น ผู้ใช้งานจะต้องมีการกำหนดค่าพัลส์ต่อรอบ Pulse/Revolution (ตาม Spec ของ Encoder) ได้เพียงค่าเดียวในการวัด เช่น เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) แบบแกนเพลา รุ่น PR-01N-S 360 Pulse/Revolution นั่นหมายความว่า ในการวัดต่อ 1 รอบ จะมีพัลส์เกิดขึ้น 360 Pluse ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงความละเอียดในการวัดระยะจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ใหม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งผลที่ตามมาคือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น, ความยุ่งยากในการต่อสายและอาจจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบในการติดตั้งใหม่      ปัจจุบันนี้ Encoder ได้มีการพัฒนาที่ตอบโจทย์กับปัญหาตรงจุดนี้โดยการใช้เอ็นโค้ดเดอร์แบบที่สามารถโปรแกรม Pluse/Revolution ได้เพียงตัวเดียว หรือที่เรียกว่า Programmable Encoderโดยการเชื่อมต่อกับ Computer ผ่าน Software เพื่อกำหนดจำนวน Pulse/Revolution ของ Encoder ตั้งแต่ 1-65,536 Pulse/Revolution (อ้างอิง Encoder รุ่น PR-04 Brand Primus) ดังรูป รูปแสดงตัวอย่างการกำหนด Pluse ของ Encoder โดยผ่าน Software และอุปกรณ์การเชื่อมต่อ USB Converter (PR-PRO) ประโยชน์ของ Programmable Encoder ที่มีความแตกต่างจาก Encoder แบบกำหนด Pluse ทั่วไป มีอะไรบ้างมาดูกัน      กำหนด Resolution Pluse : สะดวกในการกำหนดค่า Pluse ผ่าน Software ได้ตามที่ต้องการใน Encoder เพียงตัวเดียว และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามการวัด ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนมอเตอร์ หรือเปลี่ยนไลน์ผลิตใหม่ เป็นต้น      กำหนดทิศทางการหมุน : สามารถบอกทิศทางของการหมุนตามเข็ม (CW) หรือทวนเข็มนาฬิกา (CCW) เพื่อตรวจเช็คสถานะทิศทางการหมุนของมอเตอร์ หรือการเคลื่อนที่ไปหรือกลับของวัตถุบนสายพานลำเลียง ทำให้ประหยัดเวลาในการเดินไปตรวจเช็คที่ตัวมอเตอร์ของผู้ปฏิบัติงาน        กำหนด Index Position : สามารถกำหนดตำแหน่งหรือมุมในการเคลื่อนที่ของ Encoder เช่น ใน 1 รอบของการหมุน มุมที่ต้องการ 180 ํ เป็นต้น หรือ กำหนดการเคลื่อนที่ของเครื่อง CNC ในการเคลื่อนที่ไปยังชิ้นงานและกลับมายังตำแหน่งเดิม เป็นต้น        จากที่ได้เห็นข้อแตกต่างของ Encoder และ  Programmable Encoder กันไปแล้วนั้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ให้เหมาะสมและนำมาประยุกต์ใช้กับลักษณะงาน ดังนี้ Light-duty Encoder      • ประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์      • เครื่องพิมพ์, เครื่องมือแพทย์      • ชิ้นส่วนอุปกรณ์เซมิคอนดัคเตอร์ Industrial Encoder      • อุตสาหกรรมสิ่งทอ      • อุตสาหกรรมพลาสติก, บรรจุภัณฑ์, อุตสาหกรรมเซรามิก      • อุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม Heavy-Duty Encoder      • เครน, ลิฟท์, รถบรรทุกลำเลียง      • อุตสาหกรรมน้ำมัน      • อุตสาหกรรมเหมืองแร่ โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การเลือกใช้ Temperature Controller และ Defrost Controller อย่างไรให้เหมาะสมกับงาน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Temperature Controller เครื่องควบคุมอุณหภูมิ ทำหน้าที่ในการประมวลผลสัญญาณ (Input) ที่รับเข้ามาจากตัวเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) เช่น Thermocouple, Pt100, NTC, PTC เป็นต้น แล้วสั่งการให้เอาต์พุต (Output) ทำงาน เพื่อควบคุม Load เช่น ฮีตเตอร์ (Heater), วาล์ว (Valve) เพื่อเพิ่มหรือลดลงของอุณหภูมิให้ได้ตามค่าที่ตั้งไว้และนิยมใช้ในโรงงานของอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร, เครื่องบรรจุภัณฑ์, เครื่องฉีดพลาสติก, อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์, อุตสาหกรรมเซรามิกส์ เป็นต้น และเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายจึงสรุปการแบ่งประเภทของ Temperature Controller และความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน วันนี้เราจะมาแนะนำกัน สำหรับการแบ่งตามประเภทของ Temperature Controller มี 2 แบบ ดังนี้      1. เครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบอนาล็อก (Analog Temperature Controller) ปรับค่าง่าย เป็นแบบเข็มหมุน เหมาะสำหรับวัดอุณหภูมิที่ไม่ต้องการความถูกต้องและแม่นยำมากนัก เนื่องจากโครงสร้างภายใช้เพียงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุมหรือคำนวณ และไม่มีฟังก์ชั่นที่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์อื่นในระบบควบคุมได้ รูปแสดงตัวอย่างเครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบอนาล็อก (Analog Temperature Controller)      2. เครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล (Digital Temperature Controller) ปัจจุบันนิยมใช้งานมาก เนื่องจากมีความเที่ยงตรงในการวัดสูง การตอบสนองได้ดีกว่าแบบอนาล็อก ควบคุมอุณหภูมิได้ทั้งร้อนและเย็น (Heat-Cool) และยังสามารถต่อเข้าร่วมกับอุปกรณ์อื่นเพื่อเก็บข้อมูลหรือเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่าน RS485 ได้ รูปแสดงตัวอย่างเครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล (Digital Temperature Controller)      จากที่เราได้ทำความรู้จักประเภทของ Temperature Controller ไปแล้วนั้นจะเห็นได้ว่าสิ่งที่หลัก ๆ คือ ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิเหมือนกัน แต่ในการเลือกใช้งานให้เหมาะสมนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยแยกตามประเภทของ Temperature Controller และ Defrost Controller หรือ Refrigerator Controller ได้ดังนี้ Temperature Controller และ Defrost Controller / Refrigerator Controller Temperature Controller/Programmable Temperature Controller Defrost Controller / Refrigerator Controller • Temperature Controller เป็น Temperature Controller สำหรับการควบคุมอุณหภูมิแบบอัตโนมัติที่รับสัญญาณ (Input) มาจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Pt100/Thermocouple) แล้วนำมากำหนดค่าตัวควบคุม (SV) เช่น ต้องการต้มน้ำที่อุณหภูมิ 50 ํC คงที่ และเมื่อถึงอุณหภูมิที่ต้องการ โดยผ่านการประมวลผล (PV) แล้วก็จะส่งสัญญาณทางด้านเอาต์พุต (Output) เพื่อไปควบคุมอุปกรณ์อื่น เป็นต้น  • และอีกรูปแบบในการทำงานของ Temperature Controller โดยมีเงื่อนไขของอุณหภูมิที่สัมพันธ์กับเวลาหรือการควบคุมลักษณะแบบสเต็ป เช่น ในการอบชิ้นงานต้องอาศัยอุณหภูมิที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลงภายในเวลาที่กำหนดไว้ จากการตั้งค่า SV ที่ตัวควบคุม (Temp Control) เป็นต้น • Refrigerator Controller / Defrost Controller เป็น Controller สำหรับการควบคุมอุณหภูมิย่านติดลบหรือความเย็น ใช้กับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น โดยควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์ (Compressor) มีระบบป้องกันแรงดันไฟตก-ไฟเกินในตัวเพื่อป้องกันคอมเพรสเซอร์เสียหาย นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นการละลายน้ำแข็ง (Defrost  Function) โดยเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิที่ใช้ในตัวควบคุมประเภทนี้จะเป็น hermister/NTC/PTC ซึ่งจะมีย่านการวัดและแสดงผล -40 ถึง 130 ํC จึงสามารถวัดอุณหภูมิในย่านติดลบได้ดี        นอกจากนี้ยังมี Thermostat ที่ทำหน้าที่ตัด-ต่ออุณหภูมิ เพื่อควบคุมอุปกรณ์อื่นได้อีก เช่น ควบคุมการทำงานของพัดลมเพื่อให้พัดลมไม่ต้องทำงานตลอดเวลาและช่วยยืดอายุการใช้งานของพัดลมภายในตู้คอนโทรล (ดังรูป) CMA-001 : Internal Sensor Probe CMA-001-E : External Sensor Probe สำหรับวัดอุณหภูมิเฉพาะจุดและพื้นที่จำกัด CMA-002 : Digital Thermostat มองเห็นการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ Thermostat แบบมีเซ็นเซอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ (Thermocouple) รูปแสดงตัวอย่างอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ทำไมต้องใช้ Star-Delta Timer

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK ทำไมต้องใช้ Star-Delta Timer            ในภาคอุตสาหกรรม และ ในเครื่องจักรประเภทต่างๆ มอเตอร์ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นส่วนสำคัญและมีอัตราในการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงมาก โดยส่วนมากในโรงงานอุตสาหกรรมนิยมใช้งานมอเตอร์แบบ 3 เฟส ซึ่งเป็นมอเตอร์ที่กินกระแสสูงในขณะสตาร์ท (Start Motor)  โรงงานอุตสาหกรรมต่างจึงมีความต้องการที่จะลดกระแสไฟฟ้าในขณะสตาร์ท การต่อมอเตอร์แบบ สตาร์ เดลต้า (Star Delta) จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เรา สามารถลดกระแสไฟฟ้าในขณะสตาร์ทได้ การใช้ Star-Delta Timer สามารถช่วยให้ง่ายมากขึ้น สำหรับการต่อวงจรไฟฟ้าในการควบคุม มอเตอร์สตาร์ เดลต้า (Star Delta) วันนี้เราอธิบาย วิธีการสตาร์ทมอเตอร์กระแสสลับแบบ 3 เฟส แต่ละแบบกัน โดยมีวิธีการสตาร์ทมอเตอร์กระแสสลับแบบ 3 เฟส ดังนี้               การสตาร์ทมอเตอร์แบบต่อตรง (Direct On Line ) เหมาะสำหรับมอเตอร์ที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 7.5kW(10HP) เพราะมีกระแสสูงในช่วงสตาร์ท แรงบิดสูงทำให้เกิดการกระชาก อาจจะเกิดผลกับระบบไฟฟ้า เช่น แรงดันไฟตก ไฟกระพริบ ส่งผลไปถึงโหลด หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เกิดความเสียหาย               การสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้า (Star-Delta ) เหมาะกับมอเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีพิกัดเกิน 7.5 kW มากกว่าการสตาร์ทแบบต่อตรง (Direct On Line) เพราะจะมีกระแสช่วงสตาร์ทที่สูง (ประมาณ5 - 7เท่า ของค่ากระแสปกติของค่าพิกัดมอเตอร์) ดังกราฟ                     กราฟแสดงการเปรียบเทียบของกระแสช่วงสตาร์ทมอเตอร์ ระหว่าง การสตาร์ทแบบ DOL และ การสตาร์ทแบบ Star Delta​                       ขอบคุณเครดิตภาพจาก http://www.9engineer.com/index.php?m=article&a=print&article_id=2174                  ในโรงงานอุตสาหกรรมที่นิยมใช้มอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่  จะเห็นว่าการต่อแบบการสตาร์ทมอเตอร์แบบสตาร์-เดลต้า (Start-Delta) จึงเหมาะสมมากกว่า การสตาร์ทแบบต่อตรง (Direct On Line) แต่ในการสตาร์ทมอเตอร์แบบ Star-Delta มักจะเจอปัญหาที่ทำให้แมกเนติกมันเกิดช็อตกันเกิดความเสียหาย ซึ่งเกิดจากเวลาในช่วงจังหวะที่มีการสับเปลี่ยนจาก สตาร์ เป็น เดลต้า                   แล้วในช่วงเวลาควรตั้งเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ต่ออุปกรณ์ช่วยในการตั้งเวลาที่เรียกว่า สตาร์-เดลต้า ไทม์เมอร์ (Star-Delta Timer) ดังรูป                                                รูปแสดงการต่อวงจรควบคุม โดยใช้ Timer ในการตั้งเวลาสลับการทำงานของ Star Delta ลักษณะการทำงานของStar Delta Timer              เป็น Star Delta Timer สำหรับ Start Motor ในระบบ 3 เฟส เพื่อช่วยลดกระแส Peak ในช่วงที่ Motor เริ่มหมุนทำให้กระแสที่ใช้ในการ Start Motor ไม่เกินพิกัดของกระแส Lock Rotor หรือช่วยให้ไม่เกิดไฟตกใน ช่วง Start Motor ในกรณีที่ Motor มีขนาดใหญ่            เมื่อจ่ายไฟเข้า Supply ของ Star Delta Timer รุ่น PF-01 Relay ของชุด Star (Y) จะทำงานก่อน เมื่อครบเวลาที่ตั้งไว้ (TY) Relay ของชุด Star (Y) จะหยุดทำงาน และ หน่วงเวลาตาม Pause Time T(Y-∆) เพื่อเว้นระยะห่างการทำงานของ Magnetic Contractors ระหว่าง Star และ Delta เมื่อครบเวลา Pause Time T(Y-∆) แล้ว Relay ของชุด Delta (∆) จะทำงาน PF-01 สามารถเลือกเวลาการทำงานได้ 2 Ranges คือ 0.3-30 sec และ 1-120 sec โดยการต่อ Jumper ****ข้อแนะนำ : การตั้งค่านี้จะต้องในตั้งค่าที่ตัว Star Delta Timer ส่วนระยะเวลานานเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับขนาดพิกัดมอเตอร์โดยตรง ซึ่งดูได้จากตารางคู่มือ หรือ Nameplate ของมอเตอร์   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK        

Image Alternative text
เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส Non-contact Thermometer (Infrared Thermometer)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส Non-contact Thermometer (Infrared Thermometer) โดยใช้เทคโนโลยีอินฟราเรด เพื่อใช้วัดอุณหภูมิของวัตถุต่าง ๆ และค่าที่ได้ยังเป็นค่าอุณหภูมิของวัตถุที่แท้จริง ไม่มีผลกระทบจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง ใช้งานง่ายเพียงส่องไปที่วัตถุก็สามารถอ่านค่าบนจอ LCD ได้ทันที ใช้งานได้ปลอดภัยกับวัตถุร้อนหรือวัตถุที่ไม่สามารถสามารถเข้าไปวัดใกล้ ๆ ได้ อ่านค่าอุณหภูมิได้รวดเร็วมากภายในไม่กี่วินาที เมื่อเทียบกับการวัดแบบสัมผัส (RTD, Thermocouple) ที่ต้องใช้เวลาหลายนาทีต่อการวัดแต่ละจุด      หลักการทำงานเครื่องมือวัดอุณหภูมิอินฟราเรด (Infrared Thermometer) เป็นเครื่องมือวัด (Instrument) ใช้สำหรับการวัดอุณหภูมิ (Temperature Measurement) ที่ผิวของวัตถุ ซึ่งเป็นการวัดแบบไม่สัมผัสและไม่ทำลายวัตถุ ทำงานโดยอาศัยหลักการแผ่รังสีอินฟราเรด (Infrared Radiation) ออกจากวัตถุ ส่วนประกอบหลักของเครื่องมือวัดชนิดนี้ประกอบด้วย เลนส์ (Lens), ตัวตรวจจับรังสีอินฟราเรด (Infrared detector) หรือเซ็นเซอร์ชนิดอินฟราเรด (Infrared sensor), วงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic circuit) และส่วนแสดงผล (Display) โดยมีหลักการทำงานดังนี้ ตัวตรวจจับรังสีอินฟราเรดทำหน้าที่รับรังสีอินฟราเรด (Infrared) ที่แผ่ออกจากวัตถุเป้าหมาย (Target) ผ่านเลนส์ของเครื่องมือวัด แล้วแปลงรังสีอินฟราเรดเหล่านี้ให้อยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้า โดยรังสีอินฟราเรดที่ตัวตรวจจับรับไปนั้น ประกอบด้วยรังสีที่วัตถุเป้าหมายแผ่ออกมารวมกับรังสีที่แผ่จากวัตถุอื่นหรือจากสิ่งแวดล้อมสะท้อนออกจากผิวของวัตถุเป้าหมาย จากนั้นวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่รับมาจากตัวตรวจจับและนำไปแสดงที่ตัวแสดงผล โดยเทอร์โมมิเตอร์ชนิดอินฟราเรดแสดงผลออกมาในรูปของตัวเลข ซึ่งการแปลงรังสีอินฟราเรดที่เซ็นเซอร์ตรวจจับได้ให้อยู่ในหน่วยของอุณหภูมิอาศัยกฎของ Planck (Planck's Law) และ กฎของ Stefan-Boltzmann (Stefan-Boltzmann's Law)                  เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดมีหลายรูปแบบ เช่น      • เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดสำหรับการปรุงอาหาร (การตรวจสอบอุณหภูมิของจานร้อนและอาหาร)      • เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดสำหรับการใช้งานทางการแพทย์ (การตรวจสอบอุณหภูมิของชิ้นส่วนต่างๆของร่างกาย)      • เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดสำหรับการใช้งานยานยนต์ (ตรวจสอบเครื่องยนต์ของอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น A/C, ไอเสีย ฯลฯ)      เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดใช้ในงานวัดอุณหภูมิโดยการวัดพลังงานที่ปล่อยออกของวัตถุ ช่วยให้ว่าคุณมีแก้วน้ำเย็นและแก้วน้ำเดือดอะตอมในทั้งสองเหล่านี้จะสั่น แต่แก้วน้ำเดือดมีอะตอมที่สั่นสะเทือนได้เร็วขึ้นมากจึงให้ออกพลังงานมากขึ้น เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดใช้เทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็วและสะดวกในการวัดอุณหภูมิพื้นผิวของวัตถุ นอกจากนี้เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดสามารถให้อ่านหลายต่อวินาทีเมื่อเทียบกับวิธีการติดต่อที่วัดแต่ละคนจะสามารถใช้เวลาหลายนาที      เทคโนโลยีอินฟราเรดและหลักการของมันอยู่เบื้องหลังการวัดอุณหภูมิที่ถูกต้อง เมื่ออุณหภูมิวัดได้โดยอุปกรณ์พลังงาน IR ที่ปล่อยออกมาจากวัตถุที่วัดผ่านระบบออปติคอลของเครื่องวัดอุณหภูมิและจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ตรวจจับสัญญาณนี้จะปรากฏ แล้วการอ่านอุณหภูมิมีปัจจัยสำคัญหลายประการที่กำหนดเป็นวัดที่ถูกต้อง ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ emissivity ระยะห่างจากจุดอัตราส่วนและ field ของมุมมอง ค่า Emissivity หมายถึง      วัตถุทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึงส่งและปล่อยพลังงานเฉพาะพลังงานที่ปล่อยออกมาบ่งชี้ว่าอุณหภูมิของวัตถุ เมื่อเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดวัดอุณหภูมิพื้นผิวของพวกเขารู้สึกทั้งสามชนิดของพลังงาน ดังนั้นเครื่องวัดอุณหภูมิทุกคนจะต้องมีการปรับเปลี่ยนการอ่านพลังงานที่ปล่อยออกเท่านั้น ข้อผิดพลาดในการวัดมักจะเกิดจากพลังงาน IR ถูกสะท้อนจากแหล่งกำเนิดแสง บางเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยน emissivity ในหน่วย ค่าของ emissivity สำหรับวัสดุต่าง ๆ ที่สามารถมองขึ้นในการตีพิมพ์ตาราง emissivity      หน่วยงานอื่น ๆ มีการแก้ไข emissivity ที่ตั้งไว้ล่วงหน้า 0.95 ซึ่งเป็นค่า emissivity สำหรับวัสดุอินทรีย์ส่วนใหญ่และพื้นผิวที่ทาสีหรือออกซิไดซ์ ถ้าคุณกำลังใช้เครื่องวัดอุณหภูมิที่มีการแผ่รังสีคงที่ในการวัดอุณหภูมิพื้นผิวของวัตถุเงาคุณสามารถชดเชยโดยครอบคลุมพื้นผิวที่จะวัดด้วยเทปกาวหรือสีดำแบน ให้เวลาสำหรับเทปหรือสีที่จะไปถึงอุณหภูมิเดียวกับวัสดุที่อยู่ภายใต้วัดอุณหภูมิของพื้นผิวการบันทึกเทปหรือทาสี นั่นคืออุณหภูมิที่แท้จริง ค่า Distance to spot ratio หมายถึง      ระบบแสงของเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดเก็บรวบรวมพลังงานอินฟราเรดจากจุดวัดวงกลมและมุ่งเน้นไปไว้ในเครื่องตรวจจับความละเอียด Optical ถูกกำหนดโดยอัตราส่วนของระยะทางจากเครื่องดนตรีไปยังวัตถุ ที่เมื่อเทียบกับขนาดของจุดที่มีการวัด (D: อัตราส่วน S) ขนาดใหญ่จำนวนอัตราส่วนที่ดีกว่าความละเอียดของตราสารและมีขนาดเล็กกว่าขนาดของจุดที่สามารถวัดได้เล็งเลเซอร์รวมในตราสารบางส่วนเท่านั้นจะช่วยให้ถึงเป้าหมายที่จุดวัด นวัตกรรมล่าสุดในเลนส์อินฟราเรดคือนอกเหนือจากคุณลักษณะโฟกัสระยะใกล้ซึ่งมีวัดที่ถูกต้องของพื้นที่เป้าหมายขนาดเล็กโดยไม่รวมอุณหภูมิพื้นหลังที่ไม่พึงประสงค์ อ้างอิง : http://www.bsaperu.org/ โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
RS232/422/485 to Ethernet Converter มีประโยชน์อย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เนื่องจากปัจจุบันในยุค Industrial 4.0 นี้ เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในระบบกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก เช่น การใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพื่อเชื่อมโยงกับเครื่องจักรหรือเครื่องควบคุมต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยใช้ระบบเครือข่าย (System Network) เข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและลดขั้นตอนในการปฎิบัติงาน      ทั้งนี้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่นั้น จะส่งข้อมูลแบบ Serial เป็นสัญญาณแบบอนุกรม ที่มีทั้ง RS232/422/485 เป็นต้น ซึ่งสัญญาณแบบนี้ไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้โดยตรง ดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์สำหรับแปลง RS232/422/485 ให้เป็นเครือข่ายที่เรียกว่า Ethernet Network (LAN) หรือจะเรียกว่า Serial to LAN, Serial to Ethernet ก็ได้เช่นกัน (ดังรูป) รูปแสดงตัวอย่างการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายโดยใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณจาก Serial  RS232/422/485 to Ethernet Network      ประโยชน์ของอุปกรณ์แปลงสัญญาณแบบอนุกรมให้เป็นสัญญาณเครือข่าย (RS232/422/485 to Ethernet Converter) ในการนำมาประยุกต์ใช้งาน เช่น การใช้มิเตอร์วัดและวิเคราะห์ค่าพลังงานต่าง ๆ ทางไฟฟ้า รุ่น KM-07-A-2 ที่ติดตั้งหน้าตู้คอนโทรล และนำผลที่ได้จากการวัดมาเข้า Software Primus Soft Pro เพื่อวิเคราะห์ค่าพลังงานที่ห้องควบคุม ดังนี้      • ช่วยลดเวลาของผู้ปฏิบัติงานในการเดินไปดูมิเตอร์ที่หน้าตู้คอนโทรลเพื่อเก็บข้อมูล      • สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการผลิตได้      • สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ในระบบเครือข่ายได้หลาย ๆ ตัว      • ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน   นอกจากนี้ RS232/422/485 to Ethernet Converter หรือ Serial to Ethernet Converter ยังสามารถแยกการใช้งานกับประเภทเครื่องจักรได้ ดังนี้        เครื่องจักรที่มีเซ็นเซอร์แต่ไม่มีพอร์ทสื่อสาร เครื่องจักรประเภทนี้จะเป็นรุ่นเก่าที่ยังไม่มีพอร์ทสื่อสาร ซึ่งต้องติดเซ็นเซอร์เพื่อบอกถึงสถานะเครื่องจักร เช่น ติดตั้งเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor), ติดตั้งเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) วัดความเร็วรอบของมอเตอร์ หรือ ติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะ (Proximity Sensor) เพื่อนำสัญญาณเอาต์พุตของเซ็นเซอร์ที่ได้ไปต่อเข้ากับอุปกรณ์แปลงสัญญาณ I/O Modules เพื่อเป็นสัญญาณสื่อสารแบบ Ethernet (LAN) เป็นต้น (ดังรูป) รูปแสดงการเชื่อมต่อของเครื่องจักรที่มีเซ็นเซอร์แต่ไม่มีพอร์ทสื่อสารเชื่อมต่อเข้ากับระบบ Ethernet      เครื่องจักรที่มีพอร์ทสื่อสารแบบ Serial สำหรับเครื่องจักรที่มีพอร์ทสื่อสารเป็นแบบ Serial (RS232/422/485) อยู่แล้ว ต้องใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณแบบ RS232/422/485 to Ethernet Converter เพื่อสื่อสารระหว่างเครื่องจักรกับ Computer ผ่านระบบ Ethernet ได้ (ดังรูป) รูปแสดงการเชื่อมต่อของเครื่องจักรที่มีพอร์ทสื่อสารแบบ Serial เข้ากับระบบ Ethernet      เครื่องจักรที่มีพอร์ทสื่อสารเป็นแบบ Ethernet อยู่แล้ว ก็สามารถทำการเชื่อมต่อเข้ากับระบบ Ethernet ได้โดยตรง (ดังรูป) รูปแสดงการเชื่อมต่อของเครื่องจักรที่มีพอร์ทสื่อสารเข้ากับระบบ Ethernet      จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ที่ทำหน้าแปลงสัญญาณจากพอร์ท Serial RS232/422/485 ให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบ Ethernet (RS232/422/485 to Ethernet Converter) ได้นั้น นอกจากจะสามารถเชื่อมโยงอุปกรณ์ให้เป็น Solution เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมและวางแผนได้แล้วนั้น ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานกับเครื่องจักรตามประเภทที่กล่าวมาได้อีกด้วย โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
เบื่อไหม!! ที่ต้องคอยเปิดตู้คอนโทรลเพื่อดูความเร็วรอบมอเตอร์จาก Inverter ?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Inverter ที่เราใช้งานกันอยู่นั้น ส่วนมากจะต้องติดตั้งไว้ภายในตู้คอนโทรล เวลาที่จะดูความเร็วรอบมอเตอร์จะต้องเปิดตู้คอนโทรลเพื่อดู      และอุปกรณ์ที่สามารถดึงค่าข้อมูลความเร็วรอบจาก Inverter ขึ้นมาโชว์ที่หน้าตู้คอนโทรลได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาเปิดปิดตู้ตอนโทรลอีกต่อไป เราเรียกอุปกรณ์นั้นว่า “Digital Indicator” แล้วจะสามารถดึงข้อมูลจาก Inverter ได้อย่างไร ?      เราจะต้องดูที่ตัว Inverter ของเราก่อนว่ามีสัญญาณ Output ที่เรียกว่า “Output Transfer” 4-20mA หรือ 0-10Vdc เมื่อเรารู้แล้วว่า Inverter ของเรานั้นมี Output Transfer ต่อมาให้เลือก Digital Indicator ที่รับ Input 4-20mA หรือ 0-10Vdc เช่น Digital Indicator เครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล Model: CM-004N , Brand: PM      CM-004N ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับสัญญาณ 4-20mA และ 0-10Vdc โดยเฉพาะเลยนะครับ!! ลักษณะการใช้งาน      CM-004N : Digital Indicator เครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล คุณสมบัติ • CM-004N : Digital Indicator เป็นตัวแสดงผลแบบดิจิตอล รับอินพุต 0-10VDC, 0-20mA และ 4-20mA ได้ในตัวเดียวกัน • แสดงผลด้วย 7-Segment สีแดง 4 หลัก ขนาด 0.56 นิ้ว • แสดงผลได้ตั้งแต่ -1999 ถึง 9999 โดยสามารถตั้งจุดทศนิยมได้สูงสุด 3 ตำแหน่ง • มีขนาดเล็กกะทัดรัด เหมาะสำหรับติดตั้งหน้าตู้ที่มีพื้นที่จำกัด • เหมาะสำหรับติดตั้งที่ตู้ควบคุม เพื่อแสดงความเร็วของมอเตอร์จาก Inverter, DC Drive      ตัวอย่างการใช้งาน CM-004N ในการวัดระดับน้ำในถัง      ใช้งานในการวัดระดับน้ำในถัง โดยมี Level Sensor ที่มี Output เป็นสัญญาณ 4-20mA เป็นตัววัดระดับน้ำ และ CM-004N เป็นอุปกรณ์แสดงผล ขอแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้วัดระดับของเหลว      Level Indicator/Sensor เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับ Model: LP-07-I , Brand: PM      LP-07-I : Level Indicator/Level Sensor (เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับ) เป็น Level sensor ที่ใช้ตรวจจับระดับของเหลวแบบต่อเนื่อง สามารถวัดได้ละเอียดคือ 1 cm. (Resolution 1 cm.) โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน (ในขณะที่ลูกลอยเคลื่อนที่) เลือกติดตั้งได้ทั้งแบบเกลียวและหน้าแปลน โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Output NPN และ PNP แตกต่างกันอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK NPN Output      NPN Output หรือ Active Low เมื่อเซนเซอร์อยู่ในสภาวะที่ทำงานปกติ เอาต์พุตจะจ่ายกราวด์ (0 VDC) ไปที่ Control Output PNP Output      PNP Output หรือ Active High เมื่อเซนเซอร์อยู่ในสภาวะที่ทำงานปกติ เอาต์พุตจะจ่ายไฟ + VDC ไปที่ Control Output Q&A แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าเอาต์พุตเป็นแบบ NO หรือ NC ?      ขั้นตอนการทดสอบหาสัญญาณ Output           สมมุติฐานว่า เซนเซอร์เป็นชนิด NPN แล้วต่อวงจรตามรูป      หากผลการทดสอบพบว่า ดิจิตอลมัลติมิเตอร์แสดงค่า 24 VDC เมื่อเซนเซอร์ตรวจพบวัตถุและเปลี่ยนแปลงเป็น 0 VDC เมื่อนำวัตถุออกจากระยะตรวจจับ สามารถระบุได้ว่าเป็นเซนเซอร์ชนิด NPN แบบ NO      ในทางกลับกันหากพบว่า ดิจิตอลมัลติมิเตอร์แสดงค่า 0 VDC เมื่อเซนเซอร์ตรวจพบวัตถุ และเปลี่ยนแปลงเป็น 24 VDC เมื่อนำวัตถุออกจากระยะตรวจจับ สามารถระบุได้ว่าเป็นเซนเซอร์ชนิด NPN แบบ NC อ้างอิง : http://www.tic.co.th/index.php?op=tips-detail&id=62 โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ทำไมต้อง 4-20mA

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      หลายคนคงสงสัยว่า "ทำไมต้องเป็น 4-20mA" แล้วทำไมไม่เป็น 0-20mA สาเหตุที่ต้องเริ่มต้นจาก 4mA ก็เพราะว่าถ้าเราเริ่มจาก 0mA จะทำให้เราไม่ทราบได้ว่าตอนนี้สัญญาณของเราเสียหายหรือว่าอยู่ในสถานะ 0% แต่ถ้าเราใช้ 4-20mA เราจะแยกแยะได้ทันทีว่าสัญญาณของเรานี้เสียหายหรืออยู่ในสถานะ 0% ถ้าวัดสัญญาณ Output ได้ 0mA เท่ากับเสียหาย แต่ถ้าวัดสัญญาณ Output ได้  4mA เครื่องมือวัดยังใช้งานได้อยู่ สัญญาณ 4-20mA       สัญญาณกระแสไฟที่ถูกใช้เป็นมาตรฐานสำหรับส่งสัญญาณของเครื่องมือวัดในอุตสาหกรรมซึ่งเป็นที่นิยมและแพร่หลายในปัจจุบัน โดยสัญญาณ 4-20mA ได้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงยุคปี ค.ศ.1950 (พ.ศ. 2493) หลังจากการประสบความสำเร็จอย่างมากของมาตรฐานสัญญาณควบคุมนิวเมติก 3-15 psi ต่อมาเมื่ออิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นของราคาถูกและน่าเชื่อถือเพียงพอ การเปลี่ยนผ่านได้เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนมาถึงศตวรรษที่ 21 จนทำให้สัญญาณ 4-20mA เป็นที่นิยมสำหรับการส่งข้อมูลของเครื่องมือวัดในอุตสาหกรรม หลักการทำงาน 4-20mA      การทำงานนั้นสัญญาณจะถูกส่งเป็นแบบ Linear ยกตัวอย่างเช่น เครื่องมือวัดที่มีช่วงการวัด 0-100% ที่ 0 % เครื่องมือวัดจะส่งสัญญาณออกไป 4mA และที่ 100% เครื่องมือวัดจะส่งสัญญาณออกไป 20mA ตามภาพตัวอย่าง ข้อดีของสัญญาณ 4-20mA      1. สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง 1km. (ขึ้นอยู่กับความต้านทานของสายไฟและโหลดของตัวรับสัญญาณ)      2. ถูกสัญญาณรบกวนได้ยาก เนื่องจากเป็นสัญญาณกระแสไฟไม่ใช่แรงดันไฟ สัญญาณรบกวนจะเป็นสัญญาณแรงดันไฟซึ่งจะรบกวนเฉพาะแรงดันไฟ      3. ประหยัดงบประมาณในการเดินสาย เนื่องจากสัญญาณ 4-20mA สามารถส่งทั้งสัญญาณและไฟเลี้ยงเครื่องมือวัดไปด้วยกันโดยใช้สายไฟเพียงแค่ 2 เส้น ซึ่งปกติจะต้องใช้สายไฟถึง 4 เส้น (ไฟเลี้ยง 2 เส้น และสัญญาณ 2 เส้น) ข้อเสียของสัญญาณ 4-20mA      1. ใช้กับตัวรับสัญญาณได้เพียงแค่ตัวเดียว เนื่องจากข้อจำกัดในด้านโหลดของตัวรับเมื่อใช้ตัวรับหลาย ๆ ตัวจะทำให้สัญญาณ 4-20mA ลดลงจนมีผลต่อความแม่นยำของข้อมูล      2. ความยากในการใช้งานของผู้ใช้ระดับล่าง เนื่องจากสัญญาณชนิดนี้มีการต่อที่ไม่เหมือนสัญญาณแรงดันไฟซึ่งเป็นที่เคยชินของผู้ใช้ทั่ว ๆ ไป บางครั้งจึงอาจทำให้ผู้ใช้บางท่านรู้สึกว่าใช้ยากนั่นเอง ลักษณะการเชื่อมต่อสัญญาณ 4-20mA      การเชื่อมต่อสัญญาณ 4-20mA นั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ ดังนี้ สัญญาณ 4-20mA มาจากอุปกรณ์อะไรได้บ้าง      1. อุปกรณ์ Signal Transmitter เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแปลงสัญญาณวัด Sensor แบบต่าง ๆ มาเป็นสัญญาณมาตรฐาน ชนิดของ Transmitter มีหลายชนิด และเรียกตามชื่อของ Sensor ที่ Transmitter นั้นใช้ เช่น           - Thermocouple , RTD แปลงสัญญาณอุณหภูมิจาก Thermocouple, RTD มาเป็นสัญญาณมาตรฐาน           - pH Transmitter แปลงสัญญาณค่า pH จาก pH Sensor มาเป็นสัญญาณมาตรฐาน           - Humidity & Temperature Transmitter แปลงสัญญาณค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพันธ์ มาเป็นสัญญาณมาตรฐาน           - Current Transformer แปลงสัญญาณค่ากระแสไฟฟ้ากระแสสลับ มาเป็นสัญญาณมาตรฐาน      2. สัญญาณมาตรฐานจากอุปกรณ์ เช่น Indicator หรือ Controller ที่เป็นสัญญาณ Option Transfer Output หรือ Output analog      3. อุปกรณ์ I/V Simulator เป็นอุปกรณ์ที่จำลองสัญญาณมาตรฐานเพื่อทดสอบอุปกรณ์ที่รับค่าสัญญาณมาตรฐาน                  โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
PID Control กับ On/Off Control ของ Temperature Controller ต่างกันอย่างไร

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิ ที่เหมาะกับงานในอุตสาหกรรมทุกประเภท โดย Temperature Controller แม้ชื่อจะเป็น Temperature (แปลว่า อุณหภูมิ) แต่จริง ๆ แล้วอุปกรณ์ตัวนี้สามารถควบคุมได้ทุกอย่างไม่ใช่แค่อุณหภูมิ เช่น ความดัน, ความชื้น, อัตราการไหล, ระดับ ฯลฯ เพียงแต่งานควบคุมอุณหภูมิมักจะมีมากที่สุด ยกตัวอย่างงานที่ใช้เครื่องควบคุมอุณหภูมิ เช่น อุตสาหกรรมพลาสติก, อุตสาหกรรมยาง, อุตสาหกรรมทางเคมีภัณฑ์, อุตสาหกรรมอาหาร, อุตสาหกรรมเซรามิค ไปจนถึงห้องทดสอบและเครื่องบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ฯลฯ การทำงานของเครื่องควบคุมอุณหภูมิจะควบคุมอุณหภูมิให้ได้ตามค่าอุณหภูมิที่กำหนดไว้ โดยจะนำมาใช้ในการสั่งงานให้กับอุปกรณ์สำหรับทำความร้อนหรืออุปกรณ์สำหรับทำความเย็นทำงานตามที่ได้ตั้งค่าอุณหภูมิไว้ การนำมาใช้งานและการควบคุมก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการใช้งานที่ตัวเครื่องควบคุมอุณหภูมิจะมีส่วนที่รับอุณหภูมิ (Input) จากหัววัดอุณหภูมิหรือที่เรียกกันว่าเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ แล้วมาแสดงผลที่หน้าจอ Display พร้อมกับประมวลผลเพื่อควบคุมอุณหภูมิให้ได้ตามค่าที่ได้กำหนดไว้ หากอุณหภูมิไม่ได้ตามที่กำหนดไว้ก็จะมีในส่วนของการสั่งงาน (Output) ไปสั่งให้อุปกรณ์สำหรับทำความร้อนหรืออุปกรณ์ทำความเย็นทำงานให้ได้ตามค่าที่กำหนดไว้นั่นเอง      SP คือ Set point หรือ ค่าที่ต้องการควบคุม เช่น ต้องการต้มน้ำที่ 100 ํC      PV คือ Process Variable หรือ ค่าที่วัดมาจากโพรเซส เช่น อุณหภูมิในถังน้ำที่อุณหภูมิปกติเป็น 30 ํC      MV คือ Manipulated Variable หรือ สัญญาณควบคุมที่เครื่องควบคุมคำนวณได้มีหน่วยเป็น % (0-100 %)      E คือ Error หรือ ผลต่างระหว่างค่าที่ต้องการควบคุมกับค่าที่วัดได้ (E = SP-PV)   การควบคุมของเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller)      เอาต์พุตของเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Control Output) คือ เอาต์พุตที่ทำงานตามการควบคุมของตัวควบคุม โดยจะแปรเปลี่ยนไปตามค่าตัวแปร Manipulate Variable (MV) ที่คำนวณได้จากการควบคุม PID หรือ ON/OFF ซึ่งเอาต์พุตนี้จะทำหน้าที่ตอบสนองต่อค่าเซตพอยต์ (Target response) หรือ การรบกวนจากภายนอก (Disturbance response)   ลักษณะการควบคุมของเครื่องควบคุมอุณหภูมิ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ      1. การควบคุมแบบตัดต่อ (ON/OFF Control)       2. การควบคุมแบบอนาลอก (PID Control)   การควบคุมแบบ ON - OFF      ในระบบควบคุมแบบ ON-OFF เครื่องควบคุมจะสั่งเอาท์พุตทำงานเพียง 2 สภาวะเท่านั้น คือ ON และ OFF เป็นการควบคุมแบบง่าย ๆ และราคาไม่แพง ดังนั้นจึงนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในงานควบคุมทางอุตสาหกรรม ในกรณีที่ผลจากการแกว่งของอุณหภูมิเป็นที่ยอมรับได้      กำหนดให้สัญลักษณ์เอาต์พุตของเครื่องควบคุมเป็น MV และผลต่างระหว่าง SV กับ PV เป็น E (Error) ฉะนั้นในการควบคุมแบบ ON-OFF สัญญาณ MV จะมีค่าเป็น 100% (ON) หรือ 0% (OFF) เท่านั้น โดยจะขึ้นอยู่กับว่า E มีค่าเป็น + หรือเป็น - นั่นคือ           MV = 100% (ON) เมื่อ E > 0 (PV < SP)           MV = 0% (OFF) เมื่อ E < 0 (PV > SP) รูปแสดงการควบคุมแบบ ON - OFF      ในกรณีอุณหภูมิที่โพรเซสมีการกระเพื่อมที่ Set point จะมีผลทำให้เอาต์พุตของเครื่องควบคุม ON และ OFF อยู่ตลอดเวลา ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยกำหนด Hysteresis หรือ Differential gap หรือ Dead band เพื่อลดการตัด-ต่อที่เกิดขึ้น แต่ผลเสียคือจะทำให้เกิด Overshoot มากขึ้น      ลักษณะของ ON - OFF Control คือจะเกิดการแกว่งของอุณหภูมิ (Oscillation) อยู่ตลอดเวลา โดยในกรณีที่มี Hysterresis ความถี่ในการตัดต่อจะลดลง แต่ค่า Overshoot จะมากขึ้นในระบบที่ช้า คาบในการแกว่งจะยาวกว่าในระบบที่เร็วกว่า การควบคุมแบบ PID Control หรือ Proportional Integral Derivative Control      เป็นกระบวนการควบคุมอย่างหนึ่ง ที่นิยมนำมาใช้ในการควบคุมอุณหภูมิ โดยสามารถแก้ไขปัญหา การเกิด Offset Error ที่สถานะคงตัวของระบบได้ โดยสามารถหาค่าตัวแปรของ PID ผลของ P ACTION      สามารถเพิ่มผลของ P action ได้โดยลดค่า PB ลง จะมีผลทำให้           • มีค่า Offset น้อยลง           • มี Overshoot สูงขึ้น เกิดการแกว่งมากขึ้น           • ระบบขาดเสถียรภาพมากขึ้น ถ้าลดค่า PB มากเกินไป จะทำให้ระบบ Oscillate ผลของ I ACTION      สามารถเพิ่มผลของ I action ได้โดยลดค่า TI ลง จะมีผลทำให้           • ไม่มี Offset           • มี Overshoot สูงขึ้น เกิดการแกว่งมากขึ้น           • ระบบขาดเสถียรภาพมากขึ้น ถ้าลดค่า TI มากเกินไป จะทำให้ระบบ Oscillate หรือ Unstable ผลของ D ACTION      สามารถเพิ่มผลของ D action ได้โดยเพิ่มค่า TD ลง จะมีผลทำให้           • มี Overshoot ลดลงมีคาบการแกว่งสั้นลง           • ระบบมีเสถียรภาพมากขึ้น ไวขึ้น           • ในระบบที่เร็วอยู่แล้ว จะขาดเสถียรภาพ รูปแสดงกระบวนการทำงานของ PID Control      จากรูป จะเห็นได้ว่าในการควบคุมแบบ PID Control นั้น เมื่อมีการเพิ่มค่า Kp เข้าไปในระบบ จะทำให้ค่า PV นั้นเข้าสู่เป้าหมาย SV ที่ตั้งไว้ได้  แต่ยังคงเกิดค่า OFFSET error จึงมีการเพิ่มในส่วนของค่า Ki เข้าไป จึงทำให้ลดค่า OFFSET error ลงไปได้ แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการแกว่งของระบบ หรือ ออสซีลเลส จึงได้เพิ่มค่า Kd เข้าไปเพื่อลดค่าการแกว่งเหล่านั้น และทำให้ PV เข้าสู่ SV ในสถานะคงตัวในที่สุด โดย P คือค่าสัดส่วนโดยตรงกับ ค่า Error ส่วนค่า I หรือค่าเฉื่อยนั้นจะเป็นอิสระจากตัวแปร P และ D และสุดท้ายค่า D หรือแรงต้าน ซึ่งเกิดจากหน่วงของระบบ โดยจะเป็นการรวมของผลต่างขอค่า Error ในอดีต โดยจะมีจำนวนเท่ากับ t-1 เนื่องจากตอนเริ่มต้นระบบจะไม่มี Error ก่อนหน้า อ้างอิง https://www.supremelines.co.th/ https://www.factomart.com/ โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
เปิด-ปิดไฟแบบอัตโนมัติ.. “ประหยัดค่าใช้จ่าย”

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      โลกในยุคปัจจุบันล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งพาพลังงานในการดำเนินชีวิตและมีอัตราความต้องการเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลพบว่าแหล่งพลังงานที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป ยิ่งใช้สอยมากก็ยิ่งทำให้ทรัพยากรลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ และอาจจะหมดไปในอนาคตอันใกล้       ปัญหาดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุหนึ่งมาจากการใช้พลังงานที่ฟุ่มเฟือย เช่น การเปิดหลอดไฟส่องสว่างในห้องน้าที่ไม่มีคนใช้หรือการเปิดไฟส่องสว่างตามทางเดินภายในอาคารที่ไม่มีผู้คนสัญจร ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์      ปัจจุบันบริษัทฯ ของเราได้มีการผลิตเซ็นเซอร์ที่สามารถเปิด-ปิดไฟแบบอัตโนมัติ โดยใช้ชื่อว่า Motion and auto switch ซึ่งมีให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบตามความเหมาะสมกับการใช้งาน ดังนี้ Motion and auto switch Model: MR-Series, Brand: PM คุณสมบัติ • เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานการเปิด-ปิดไฟแบบอัตโนมัติ • สามารถตรวจจับความเข้มของแสงและความเคลื่อนไหวได้ • สามารถตรวจจับได้ 360 องศา • สามารถหน่วงเวลาการทำงานได้ 8 Sec ถึง 5 Min • รีเลย์เอาต์พุต 5A, 250VAC • เหมาะสำหรับติดตั้งบริเวณเพดานห้อง รูปแบบการตรวจจับ      MR-01 : สามารถควบคุมการเปิด-ปิดไฟแบบอัตโนมัติ โดยใช้หลักการในการตรวจจับความสว่างของแสง เมื่อความสว่างน้อยกว่าค่าที่ตั้งไว้จะทำให้สวิตช์ “ON”      MR-02 : สามารถควบคุมการเปิด-ปิดไฟแบบอัติโนมัติ โดยใช้หลักการในการตรวจจับความสว่างของแสงและความเคลื่อนไหว เมื่อความสว่างน้อยกว่าค่าที่ตั้งไว้และมีความเคลื่อนไหวจะทำให้สวิตช์ “ON” ทำให้ช่วยลดการสูญเสียพลังงานและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดไฟทิ้งไว้ตลอดเวลา      MR-03 : สามารถควบคุมการเปิด-ปิดไฟแบบอัตโนมัติ โดยใช้หลักการในการตรวจจับความเคลื่อนไหว โดยมีความเคลื่อนไหวจะทำให้สวิตช์ “ON” ทำให้ช่วยลดการสูญเสียพลังงานและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดไฟทิ้งไว้ตลอดเวลารูปแบบการตรวจจับ โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การประยุกต์การใช้งาน Timer ในงานอุตสาหกรรม

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK Timer คือ อะไร      Timer คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ใช้ตั้งเวลา มักใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยเป็นส่วนสำคัญที่ประกอบในเครื่องจักรเพราะ Timer เป็นตัวควบคุมเวลาให้กับอุปกรณ์บางอย่างให้ใช้ได้ในเวลาที่ต้องการ ซึ่งเป็นการตั้งเวลาและควบคุมการทำงานให้เอาต์พุตทำงานตามเงื่อนไขตามเวลาที่ตั้งไว้ โดยมีให้เลือกใช้งานในรูปแบบ Analog และแบบ Digital ดังรูป Digital Analog ปัจจัยการเลือกใช้งาน Timer      เนื่องจากการใช้งาน Timer สิ่งที่สำคัญเราจึงจำเป็นต้องทราบถึงฟังก์ชั่นการทำงานของรีเลย์ที่ต้องการว่าเป็นแบบไหน? จึงจะสามารถเลือกรุ่นของ Timer ได้อย่างถูกต้อง เช่น ใช้ตั้งเวลาหรือใช้เปิด-ปิด แอร์ เป็นต้น โดยปัจจัยต่าง ๆ ที่เราควรคำนึงถึงก่อนการเลือกใช้นั้นจะมี 5 ข้อ ดังนี้ 1. หน้าจอแสดงผลและรูปแบบการใช้งานว่าต้องการแบบ Digital หรือ Analog 2. ระยะเวลาในการใช้งานว่าอยู่ช่วงไหน เช่น 0.1 sec - 100 h เป็นต้น 3. เลือกรูปแบบการทำงาน เช่น       - แบบต่อไฟเข้าแล้วทำงาน (Power ON-Delay)      - แบบต่อขั้วอินพุตเพื่อให้ Timer ทำงาน (Signal ON-Delay)      - แบบตั้งเวลาโปรแกรมการทำงาน (Programmable) 4. จำนวนของเอาต์พุตที่ต้องการใช้งานและอัตราทนกระส 5. รูปแบบของการติดตั้งตามความเหมาะสมของงาน      เห็นแล้วใช่ไหมครับว่าปัจจัยที่ควรคำนึงถึงนั้นมีไม่มาก จึงไม่ใช่เรื่องยากเลยนะครับที่จะลองนำวิธีการเหล่านี้มาปรับและประยุกต์ใช้ในการเลือกกลุ่มสินค้าของ Timer แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังคงต้องมีการวิเคราะห์และความเข้าใจถึงลักษณะหน้างานของท่านว่าเป็นอย่างไร? เพื่อนำมาปรับใช้กับงานของท่านให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานต่อไป การประยุกต์ใช้งาน Timer • ตั้งเวลาเปิดเครื่องปรับอากาศ • ตั้งเวลาหน่วงการทำงานของสัญญาณกันขโมย • หน่วงการทำงานของปั๊ม • หน่วงเวลาวงจรสตาร์-เดลต้า • หน่วงการทำงานของมอเตอร์ขนาดเล็ก • หน่วงเวลาของพัดลมดูดอากาศ • หน่วงเวลาปิดไฟบันได ฯลฯ ตัวอย่างวงจรสตาร์-เดลต้า      ในขณะที่สตาร์ท มอเตอร์จะทำการต่อแบบสตาร์ ซึ่งสามารถลดแรงดันขณะสตาร์ทได้ และเมื่อมอเตอร์หมุนไปได้สักระยะหนึ่ง (ตามเวลาที่ตั้ง Timer ไว้) ประมาณความเร็ว 75% ของความเร็วพิกัด มอเตอร์จะทำการต่อแบบเดลต้า เพื่อควบคุมกระแสไฟสำหรับการใช้งาน      โดยวงจรนี้เป็นวงจรที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นวงจรที่ออกแบบง่ายและเหมาะสำหรับใช้กับมอเตอร์ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 10 แรงม้าขึ้นไป เช่น มอเตอร์ที่ไปขับใบมีดในการตัดชิ้นงาน, มอเตอร์ขับปั๊มน้ำขึ้นแท็งก์ เป็นต้น   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
โอเวอร์โหลดแบบอิเล็กทรอนิกส์ดีกว่าโอเวอร์โหลดแบบธรรมดาอย่างไร

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      โอเวอร์โหลด (Over Load Relay) เป็นอุปกรณ์ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าเกินกำลังหรือป้องกันมอเตอร์ไม่ให้เกิดการเสียหายเมื่อมีกระแสไหลเกินพิกัดในการทำงานของโหลด  เช่น  มอเตอร์จะต้องมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ช่วยป้องกันมอเตอร์ไม่ไห้เกิดควาเสียหายเนื่องจากกระแสเกินกว่ากำหนด อุปกรณ์ตัวนั้นก็คือโอเวอร์โหลด ที่ทำหน้าที่ป้องกันกระแสเกินและโอเวอร์โหลดจะมีอยู่ 2 แบบ คือ โอเวอร์โหลดแบบธรรมดา และ โอเวอร์โหลดแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะมีการทำงานที่แตกต่างกัน หลักการทำงานของโอเวอร์โหลดแบบธรรมดา      ภายในโอเวอร์โหลดมีขดลวดความร้อน (Heater) พันกับแผ่นไบเมทัล (Bimetal หรือแผ่นโลหะผลิตจากโลหะต่างชนิดกัน) เชื่อมติดกัน เมื่อได้รับความร้อนแผ่นโลหะจะโก่งตัว ขดลวดความร้อนซึ่งเป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟไปมอเตอร์ เมื่อกระแสไหลเข้าสูงในระดับค่าหนึ่ง ส่งผลขดลวดความร้อนทำให้แผ่นไบเมทัลร้อนและโก่งตัวดันให้หน้าสัมผัสปกติปิด NC ของโอเวอร์โหลดที่ต่ออนุกรมอยู่กับแผงควบคุมเปิดวงจรตัดกระแสไฟฟ้าจากคอยล์แม่เหล็กของคอนแทคเตอร์ทำให้หน้าสัมผัสหลัก (Main Contact) ของคอนแทคเตอร์ปลดมอเตอร์ออกจากแหล่งจ่ายไฟป้องกันมอเตอร์เสียหายจากไฟเกินได้            หลักการทำงานของโอเวอร์โหลดแบบอิเล็กทรอนิกส์      ภายในโอเวอร์โหลดจะมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่จะคอยตรวจสอบกระแสไฟฟ้าเพื่อไม่ไห้กระแสไฟฟ้าเกินกว่ากำหนด ด้วยการตรวจสอบแบบระบบไมโครโปรเซสเซอร์และเป็นแบบ Fail Safe คือ Relay Contact จะตัดวงจรเมื่อเกิดความผิดพลาด ไม่เหมือน Overload ระบบ Bi-Metal ซึ่งจะต่อวงจรตลอดเวลา ทำให้มีความแม่นยำสูงและยังสามารถวัดค่ากระแสที่เกิดขึ้นได้เพื่อเช็คความผิดปกติ            คุณสมบัติ Electronics Overload Relay ยี่ห้อ PM • PMEO-Series เป็น Electronics Overload ที่ป้องกันความเสียหายของมอเตอร์อันเกิดจาก Overload และช่วยบำรุงรักษามอเตอร์ • ฟังก์ชั่นการหน่วงเวลาสำหรับการเริ่ม Start Time (ST) ไม่ให้ตัดการทำงานของมอเตอร์ • ฟังก์ชั่นการหน่วงเวลาเมื่อกระแสเกินกว่าค่าที่ตั้งไว้ (OT) สามารถ Delay ยังไม่ให้สั่งหยุดมอเตอร์ • RS-485 Communication (MODBUS RTU) ต่อเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อรายงานข้อมูล เปรียบเทียบระหว่าง โอเวอร์โหลดแบบธรรมดาและโอเวอร์โหลดแบบอิเล็กทรอนิกส์ PMEO-PR3 โอเวอร์โหลดแบบธรรมดา โอเวอร์โหลดอิเล็กทรอนิกส์ 1. การตัดต่อช้าเนื่องจากเป็นการตัดต่อ แบบ Bi-Metal   2. ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง 3. มีย่านในการตัดต่อแคบ 4. ไม่มีหน้าจอแสดงผล 5. ไม่มีสัญญาน RS-485 (MODBUS RTU) 6. มีอายุการใช้งานที่สั้น   1. การตัดต่อไวด้วยระบบไมโครโปรเซสเซอร์ เพิ่มความแม่นยำในการตัดต่อ 2. ติดตั้งง่ายแบบ DIN RIAL 3. มีย่านในการตัดต่อกว้าง 4. มีหน้าจอแสดงผลของกระแสที่วัดได้ 5. มีพอร์ท RS-485 (MODBUS RTU) ต่อเข้า Computer เพื่อรายงานข้อมูล 6. มีอายุการทำงานที่ยาวนาน 7. มี Hour Counter นับเวลาการทำงานของมอเตอร์ 8. มี CT ในตัว 9. มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิในตัว เพื่อสั่งตัดมอเตอร์กรณีมีอุณหภูมิร้อนเกินไป 10. มี Alrm แจ้งเตือนกรณีกระแสของมอเตอร์ใกล้จะถึงกระแสที่ตั้งค่า Setpoint ไว้ 11. มี Function ตรวจสอบ % Unbalance ของกระแส โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Analog Output ต่างจาก Transfer Output อย่างไร ?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      หลายคนสับสนและเข้าใจผิดว่า Analog Output และ Transfer Output คือตัวเดียวกัน ความเป็นจริงแล้วคือต่างกันโดยสิ้นเชิง      โดยที่สัญญาณ Analog Output 4-20 mAdc/0-10Vdc คือเป็นสัญญาณควบคุมที่จะมาจากการประมวลผลสั่งจ่าย Output ของ CPU ใน Controller เอง ดังนั้นคือ PID Control (Temperature Controller)   กราฟแสดงการทำงานของ Analog Output อุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับสัญญาณ Analog Output เช่น SSR, SCR, Solenoid vale รูปการต่อใช้งานระหว่าง Analog Output กับอุปกรณ์ SSR      ส่วนสัญญาณ Transfer Output 4-20 mAdc/0-10Vdc คือเป็นสัญญาณ Output Analog โดยที่อ้างอิงค่า Scale Hi Low ของค่า PV(Process Value) , SV(Setting Value) ของอุปกรณ์นั้น ๆ การทำงานนั้นเป็นสัญญาณ Transfer Output จะถูกส่งเป็นแบบ Linear      ยกตัวอย่างเช่น Transfer Output ของ Temperature Controller ที่ช่วงอุณหภูมิที่วัดได้ 0-100 ํC ที่ 0 ํC Temperature Controller จะส่งสัญญาณ Transfer Output ออกไป 4 mA และที่ 100 ํC Temperature Controller จะส่งสัญญาณ Transfer Output ออกไป 20 mA กราฟแสดงการทำงานของ Transfer Output อุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับสัญญาณ Transfer Output เช่น Digital Indicator , PLC ฯลฯ รูปการต่อใช้งานระหว่าง Transfer Output กับอุปกรณ์ Digital Indicator, PLC โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Thermocouple กับ RTD เหมาะกับการใช้งานประเภทใด

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK        Temperature Sensor ทั้ง  2  ชนิดต่างมีคุณสมบัติในการวัดอุณหภูมิได้ทั้งคู่ แต่ทุกสิ่งย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวมันเองแตกต่างกันออกไป โดยจะขึ้นอยู่กับประเภทของงาน ช่วงอุณหภูมิที่ใช้วัดของงานนั้น รวมถึงความละเอียดของงานที่ต้องการวัด เป็นต้น      • Temperature Sensor ชนิด RTD (PT100) เหมาะสมกับการนำไปใช้กับงานที่ต้องการความละเอียดและแม่นยำสูงในการวัดอุณหภูมิของงาน เช่น อุตสาหกรรมอาหารและยา เป็นต้น      • Temperature Sensor ชนิด Thermocouple เหมาะสมกับการนำไปใช้กับงานที่ต้องการใช้วัดอุณหภูมิงานที่อุณหภูมิกลาง ๆ จนถึงอุณหภูมิสูง ๆ เช่น งานหลอมโลหะ, งานอบแม่พิมพ์ เป็นต้น ลักษณะที่สำคัญของเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิทั้ง 2 ชนิด คุณสมบัติ Thermocouple RTD PT100  ช่วงวัดอุณหภูมิ -260 ํC ถึง 2300 ํC -200 ํC ถึง 600 ํC  ความแม่นยำเมื่อใช้งานในระยะยาว พอใช้ ดีมาก  ความแม่นยำในการวัด พอใช้ สูง  ความไวต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง กลาง ๆ ถึงเร็ว ดีพอใช้  ความเป็นเส้นตรงของกราฟ   ข้อดี/ข้อเสีย Thermocouple RTD PT100 ข้อดี • ราคาถูกกว่า • ไม่ต้องใช้ลวดขาที่ 3 • ทำง่ายและทนทาน • วัดได้ที่อุณหภูมิสูงกว่า • ไวต่ออุณหภูมิ มีความไวสูงเฉพาะแบบเชื่อมติด    กับปลายหัววัด (Grounded) • ความเสถียรในระยะยาวดีกว่ามาก • ความแม่นยำสูง • คงทนต่อสิ่งปนเปื้นสูง • กราฟเป็นเส้นตรง • ค่าที่ได้จากการวัดซ้ำ มีความแม่นยำกว่า ข้อเสีย • ความไวในการตอบสนองน้อย • ความแม่นยำน้อยกว่า (เนื่องจากกราฟไม่เป็นเส้นตรง) • ความคงที่และความแม่นยำในการวัดซ้ำน้อยกว่า   • ราคาแพงกว่า • ต้องมีการจ่ายไฟเลี้ยง • ความไวต่ออุณหภูมิเปลี่ยนช้ากว่า • ช่วงวัดต่ำ -200 ถึง 600      จากตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่า Temperature Sensor ทั้ง RTD และ Thermocouple มีคุณสมบัติและข้อดีข้อเสียที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกนำไปใช้งานประเภทใด โดยที่ Temperature Sensor ชนิด RTD เองก็มีหลากหลายชนิดให้เลือกใช้งาน เช่น PT100, PT500 และ PT1000 ตามความละเอียดของงาน มักนิยมเลือกใช้งาน PT100  ส่วน PT500 และ PT1000  จะเลือกใช้ในงานที่ต้องการความละเอียดมากขึ้นตามลำดับ และ Temperature Sensor ชนิด Thermocouple เองนั้นก็มีหลากหลาย Type ขึ้นอยู่กับช่วงอุณหภูมิในการวัด เช่น Thermocouple Type K , Type J , Type R , Type S , Type T , Type E , Type N เป็นต้น โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การเลือกใช้ Digital Indicator ให้เหมาะสมกับงาน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Digital Indicator คือ เครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล ทำหน้าที่รับสัญญาณจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity), แรงดัน (Pressure), น้ำหนัก (Weight) มาแสดงผล สำหรับบางรุ่นมี Option เพิ่มเติม เช่น Output Alarm Relay, Transfer 4-20mA, RS485 สำหรับเชื่อมต่อกับ Computer ซึ่งเครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Indicator) นั้นมีหลายแบบ เช่น เครื่องแสดงผลอุณหภูมิ (Temperature Indicator), เครื่องแสดงผลสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน 4-20mA,0-10VDC (Digital Indicator), เครื่องแสดงผลความถี่และความเร็วรอบ (Frequency, RPM Indicator), เครื่องแสดงผลน้ำหนักจากโหลดเซล (Load cell Indicator), เครื่องแสดงผลสำหรับวัดระยะทาง (Linear Transducer ซึ่งมี Output เป็น Potentiometer), เครื่องแสดงผลกระแสไฟฟ้า (Current Indicator), เครื่องแสดงผลแรงดันไฟฟ้า (Voltage Indicator) เป็นต้น      ดังนั้นเราสามารถแยกประเภทของสัญญาณจากอุปกรณ์เครื่องมือวัด เพื่อใช้งานร่วมกับเครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Indicator) ได้ตามความเหมาะสม ดังนี้ ประเภทสัญญาณอินพุตที่เป็นอนาล็อกมาตรฐาน (Analog Input) Output 4-20mA หรือ 0-10Vdc ที่มาของสัญญาณ : อุปกรณ์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter), อุปกรณ์วัดระดับน้ำแบบต่อเนื่อง (Level Indicator) เป็นต้น ประเภทสัญญาณอินพุตที่เป็นกระแสไฟฟ้า (AC/DC Current Input), แรงดันไฟฟ้า (AC/DC Voltage Input) ที่มาของสัญญาณ : CT วัดค่าและแสดงผลกระแสไฟฟ้า (AC Current), R Shunt เพื่อวัดกระแสไฟฟ้า (DC Current) และ PT สำหรับแปลงแรงดันไฟฟ้า (AC Voltage) ประเภทสัญญาณอินพุตที่เป็นพัลส์ หรือความถี่ (Digital Input) ที่มาของสัญญาณ : เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ (Proximity Sensor), โฟโต้เซ็นเซอร์ (Photoelectric Sensor), อุปกรณ์วัดระยะทาง (Encoder), หรือ PNP/NPN, Contact/Switch เป็นต้น ประเภทสัญญาณอินพุตที่เซ็นเซอร์อุณหภูมิ (Temperature Sensor) ที่มาของสัญญาณ : เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple, Pt100), NTC, PTC      สัญญาณประเภท Strain-Gauge, Potentiometer จากอุปกรณ์เซ็นเซอร์น้ำหนัก (Load Cell), อุปกรณ์วัดตำแหน่งและระยะทาง (Linear Scale), อุปกรณ์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter) ดังรูป ประเภทสัญญาณอินพุตที่เป็นStrain-Gauge, Potentiometer      เครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Indicator) มีทั้งเอาต์พุตที่เป็น Relay Alarm หรือ สัญญาณอนาล็อก (Analog Transfer) ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานต่อร่วมหรือสั่งงานอุปกรณ์อื่นได้ เช่น สั่งตัด-ต่อการทำงานของอุปกรณ์แสดงสถานะ (Tower Light), สัญญาณเสียง (Buzzer), หรือหลอดไฟ เพื่อเปิด-ปิดได้ รูปแสดงลักษณะการติดตั้ง การเก็บข้อมูล Data Logger และการเชื่อมต่อสื่อสารกับ Computer โดยผ่าน Software Primus soft โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Displacement Sensors คืออะไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Displacement Sensors คือ เซ็นเซอร์ตรวจจับระยะทางและขนาดชิ้นงานแบบไม่สัมผัสกับวัตถุ สามารถเชื่อมตัวกับคอมพิวเตอร์หรือ PLC ได้ ผ่านสัญญาณ RS-485 แบบ Ascii ดังรูป      หลักการทำงานของ Displacement Sensors จะใช้ลำแสงเลเซอร์เป็นตัวส่ง โดยการยิงลำแสงเลเซอร์ไปยังตัววัตถุและสะท้อนกลับมายังตัวรับของเซ็นเซอร์ ตัวรับจะทำการประมวลผลค่าที่อ่านได้แล้วแสดงผลออกมาในรูปแบบตัวเลขผ่านหน้าจอแสดงผลแบบ Digital  Displacement Sensors รุ่น CD-22 คุณสมบัติ • มีความแม่นยำและความละเอียดสูงถึง  1µm • มีหน้าจอแสดงผลแบบหน้าจอ Digital   • Analogue output 4-20 mA และ 0-10 V/DC (แล้วแต่รุ่น) • Switching output NPN และ PNP (Max 100mA/DC30V) • มีวงจรป้องกันภายในตัวและการป้องกันมาตรฐาน IP67 • ตรวจพบวัสดุต่าง ๆ ได้ เช่น ยางสีดำ, โลหะขัดเงา การใช้งาน Vision Programmable Logic Control + HMI (PLC+HMI) Model : V130-J , Brand : UNITRONICS คุณสมบัติ • จอแสดงผลชนิดขาว/ดำ + LED Backlight ขนาด 2.4 นิ้ว • สามารถใช้งานร่วมกับ Snap-in I/O ได้ • สามารถสื่อสารแบบ RS-232/485, Ethernet, CANBUS และ USB ได้ • แสดงผลในรูปแบบกราฟเส้นได้ • มีการป้องกันแบบมาตรฐาน IP66/65/NEMA4X โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
จะรู้ได้อย่างไร!!! ว่าโหลดใช้กระแสไฟฟ้า AC และ DC อยู่ที่เท่าไร

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตสินค้าจะมีโหลดเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต เช่น มอเตอร์, ฮีตเตอร์และหลอดไฟ เราจะทราบได้อย่างไรว่าโหลดที่ใช้งานอยู่ใช้กระแสอยู่ที่เท่าไร โดยมีอุปกรณ์ที่สามารถช่วยให้รู้ถึงกระแสที่โหลดใช้ไป โดยผ่านมิเตอร์แสดงผลกระแสไฟฟ้า AC และ DC      ไฟฟ้าจะมีอยู่ 2 ประเภท  คือ ไฟฟ้ากระแสตรง ( DC ) กับ ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)      ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current : DC) คือ ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลเพียงทิศทางเดียวจากขั้วลบของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วกลับเข้าไปยังขั้วบวกของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าอีกครั้ง ดีซี (DC) สม่ำเสมอ (Steady) จากแบตเตอรี่หรือแหล่งจ่ายกำลังคุมค่าในอุดมคติสำหรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์      ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current : AC) คือ ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลไปในทางกลับกัน กล่าวคือ กระแสมันไม่มีขั้ว มีทิศทางการไหลที่กลับไปกลับมาอยู่ตลอดเวลา เอซี (AC) จากแหล่งจ่ายกำลัง รูปร่างแบบนี้เรียกว่าคลื่นซายน์   TCM-94N      เป็นมิเตอร์วัดค่าและแสดงผลกระแสไฟฟ้า AC และกระแสไฟฟ้า DC และยังสามารถแจ้งเตือนเมื่อโหลดเกิดการใช้กระแสสูงเกินไปหรือต่ำกว่ากำหนดได้ถึง 3 Alarm คุณสมบัติ • มิเตอร์วัดค่าและแสดงผลค่ากระแสไฟฟ้า กระแสสลับ (AC) ที่ความถี่ 50-60 Hz และไฟฟ้ากระแสตรง (DC) • ย่านการวัด 0 - 5 A (Direct), 0 – 20,000 A (With CT 5A) • ย่านการวัด 0 - 75 mVDC / 0 - 150 mVDC สำหรับ Shunt เพื่อวัดไฟฟ้ากระแสตรง (DC) • มี 3 Alarm relay output  • สามารติดต่อ Computer ได้โดย RS-485 (Modbus RTU protocol) • มี Transfer output 4-20mA และ 0-10Vdc สำหรับต่อพ่วงกับอุปกรณ์      ยกตัวอย่างเช่น Transfer Output ของ Temperature Controller ที่ช่วงอุณหภูมิที่วัดได้ 0-100 ํC ที่ 0 ํC Temperature Controller จะส่งสัญญาณ Transfer Output ออกไป 4 mA และที่ 100 ํC Temperature Controller จะส่งสัญญาณ Transfer Output ออกไป 20 mA กราฟแสดงการทำงานของ Transfer Output      อุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับสัญญาณ Transfer Output เช่น Target Board , PLC โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
RS485 คืออะไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK RS485 (ย่อมาจาก Recommended Standard no. 485)      คือมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลดิจิตอลแบบอนุกรม (serial communication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1998 โดยความร่วมมือของ TIA (Telecommunications Industry Association) และ EIA (Electronic Industries Association) มาตรฐาน RS485 ถูกใช้อย่างแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถส่งสัญญาณได้ไกลและยังสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้หลายจุด หลักการทำงานของ RS485      มาตรฐาน RS485 เป็นมาตรฐานที่รับ/ส่งข้อมูลในแบบที่เรียกว่า Half duplex คือสามารถรับและส่งข้อมูลได้ทีละอย่างเท่านั้นไม่สามารถทำทั้งสองอย่างได้ในเวลาเดียวกัน ถ้าจะให้พูดแล้วเห็นภาพก็คงคล้าย ๆ ลักษณะของวิทยุสื่อสารที่ต้องคอยสลับกันพูดทีละครั้ง      สำหรับการรับ/ส่งข้อมูลดิจิตอลแบบ RS485 นั้น จะส่งข้อมูลโดยใช้สายไฟเพียงแค่ 2 เส้นคือ A และ B เป็นตัวบอกค่ารหัสดิจิตอล (Digital code) โดยใช้ความแตกต่างของแรงดันไฟฟ้าระหว่างขั้ว A และ B เป็นตัวบอกดังนี้      เมื่อ Va - Vb ได้แรงดันไฟฟ้าน้อยกว่า -200 mV คือสัญญาณดิจิตอลเป็น 1      เมื่อ Va - Vb ได้แรงดันไฟฟ้ามากกว่า +200 mV คือสัญญาณดิจิตอลเป็น 0 หลักการทำงานของ RS485 แบบ NETWORK      มาตรฐาน RS485 สามารถเชื่อมต่อการรับส่งข้อมูลแบบเครือข่าย (Network) โดยมีอุปกรณ์ในเครือข่ายได้สูงสุดถึง 32 ตัว ซึ่งในเครือข่ายนั้นจะต้องมีอุปกรณ์อยู่ 1 ตัว ทำหน้าที่คอยจัดคิวการสื่อสารในเครือข่าย ซึ่งเราจะเรียกอุปกรณ์ตัวนี้ว่า "Master" และอุปกรณ์ส่วนที่เหลือเราจะเรียกว่า "Slave" โดยที่ Slave แต่ละตัวจะมีหมายเลข Address ของตัวเอง และเมื่อตัว Master ต้องการสั่งการตัว Slave ตัว Master จะส่งชุดคำสั่งพร้อมระบุหมายเลข Address ไปยังอุปกรณ์ Slave ทุกตัว เมื่ออุปกรณ์ Slave ได้รับคำสั่งและคำสั่งนั้นมีหมายเลข Address ตรงกับตัวเอง อุปกรณ์ Slave ถึงจะทำตามคำสั่งของ Master เป็นลำดับไป ตัวอย่างการทำงานของ RS 485 แบบ Network จำนวนอุปกรณ์สูงสุดในเครือข่าย RS485      นี่เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ผู้ใช้หน้าใหม่สงสัยมากที่สุดในโลก หากตามมาตรฐานแล้วเครือข่าย RS485 สามารถมีอุปกรณ์ในระบบได้สูงสุด 32 ตัว เมื่ออุปกรณ์เหล่านั้นมีความต้านทานไฟฟ้าภายใน 12 k(ohm)  แต่ปัจจุบันการออกแบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้พัฒนาจนมีความต้านทานไฟฟ้าภายในที่สูงมาก (ในหลัก M(ohm)) ซึงทำให้เครือข่าย RS485 สามารถมีอุปกรณ์ในระบบได้สูงสุดถึง 256 ตัว นอกจากนี้เครือข่าย RS485 ยังสามารถใช้ตัวขยายสัญญาณ (Repeater) สำหรับเพิ่มอุปกรณ์ในเครือข่ายได้ถึงหลายพันตัวและครอบคลุมระยะหลายกิโลเมตรกันเลยทีเดียว REPEATOR FOR USB/RS-232 TO RS-485      Converter อุปกรณ์สำหรับขยายสัญญาณเพื่อเพิ่มระยะทางการส่งสัญญาณ RS-422/RS-485 ให้ไกลขึ้นกว่าเดิม 1 เท่าตัว ข้อดีของสัญญาณ RS485 สามารถส่งสัญญาณได้ไกล      RS485 สามารถส่งสัญญาณได้ไกลสูงสุดถึง 1,200 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นระยะทางที่ไกลมาก เพียงพอต่อการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างแน่นอนและจะเห็นได้ชัดว่าระยะการส่งสัญญาณได้ถูกพัฒนาขึ้นมากจนทิ้งห่างมาตรฐานรุ่นเก่าอย่าง RS232 ที่สามารถส่งสัญญาณได้เพียง 15 เมตร เท่านั้น สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายได้      นอกจากจะส่งสัญญาณได้ไกลแล้ว RS485 ยังสามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย (Network) แบบ Multipoint ได้ด้วย ซึ่งสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ในระบบได้สูงสุดถึง 32 ตัว ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของสัญญาณ RS485 เลยทีเดียว ประหยัดงบประมาณในการเดินสาย      มาตรฐาน RS485 เป็นมาตรฐานที่ใช้สายไฟเพียง 2 เส้นในการรับส่งข้อมูล เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานรุ่นเก่าที่สามารถส่งสัญญาณในระยะเท่ากันอย่าง RS422 ที่ต้องใช้สายไฟถึง 4 เส้นในการรับส่งข้อมูล ซึ่งราคาสายเคเบิลแบบ 2 แกน จะถูกกว่าสายเคเบิลแบบ 4 แกน ถึงเกือบครึ่ง ในความเป็นจริงแล้วเรื่องงบประมาณถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ซึ่งนี่ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของ RS485 เลยทีเดียว ข้อเสียของสัญญาณ RS485 ต้องใช้ตัวแปลงสัญญาณในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์      เนื่องจากปัจจุบันคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่นั้นไม่มี Port เชื่อมต่อสัญญาณ RS485 โดยตรง จะมีก็แต่ USB หรือ RS232 เท่านั้น ฉะนั้นหากเราจะเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ใช้ RS485 กับคอมพิวเตอร์นั้น เราต้องเสียงบประมาณเพิ่มขึ้นในการซื้อตัวแปลงสัญญาณ (Converter) เพื่อแปลงสัญญาณจาก RS485 เป็น USB หรือ RS232 ในการเชื่อมต่อนั้นเอง ความเร็วในการรับส่งข้อมูล      ถึงแม้ RS485 จะถูกพัฒนาด้านความเร็วในการรับส่งข้อมูลขึ้นมากแล้วก็ตามเมื่อเทียบกับมาตรฐานเก่า แต่ก็ยังมีความล่าช้าอยู่เมื่อเชื่อมต่อในลักษณะเครือข่ายจำนวนมาก ๆ โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
สัญญาณ Analog และ Digital ต่างกันอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เราเคยได้ยินกันมานานกับคำว่า “Analog”  และคำว่า “Digital”  ทั้ง 2 คำนี้นับว่าเป็นพื้นฐานของวิชาดิจิตอล และเป็นความสำคัญอย่างยิ่งของการก่อเกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณหรือโทรคมนาคม      สัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) และ สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal)      สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) หมายถึง สัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuous Data) มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป มีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป โดยการส่งสัญญาณแบบอนาล็อกจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น      สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกันเป็นค่าของเลขลงตัว โดยปกติมักแทนด้วยระดับแรงดันที่แสดงสถานะเป็น "0" และ "1" หรืออาจจะมีหลายสถานะซึ่งจะกล่าวถึงในเรื่องระบบสื่อสารดิจิตอลมีค่าที่ตั้งไว้ (Threshold) เป็นค่าบอกสถานะ ถ้าสูงเกินค่าที่ตั้งไว้สถานะเป็น "1" ถ้าต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้สถานะเป็น "0" ซึ่งมีข้อดีในการทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง      สัญญาณอนาลอก (Analog Signal)  กับ สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) ต่างกันอย่างไร?  "สัญญาณอนาลอก กับ สัญญาณดิจิตอล มีความแตกต่างกันทางความต่อเนื่องของสัญญาณและความแม่นยำของสัญญาณ" อ้างอิง http://iteiei.blogspot.com Singnal Transmitter(Programmable) Signal Transmitter (Programmable) Signal Transmitter(Programmable) Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Digital Indicator ​โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Thermocouple คืออะไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Thermocouple อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิในกระบวนการผลิตภายในโรงงานอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่เมื่อมีการทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงค่าหนึ่ง จำเป็นต้องรักษาและควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ เช่น กระบวนการอุตสาหกรรมผลิตอาหาร ยา  อุตสาหกรรมโลหะ ปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมทั่วไป   ในการใช้งานสำหรับการวัดอุณหภูมิโดยใช้ Thermocouple นั้น ก็จะต่อใช้งานเข้ากับเครื่องมือวัด ไม่ว่าจะ เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller), เครื่องบันทึกอุณหภูมิ (Recorder), เครื่องวัดค่าและแสดงผลอุณหภูมิ (Digital Temperature Indicator) ฯลฯ เป็นต้น      Thermocouple อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิในกระบวนการผลิตภายในโรงงานอุตสาหกรรม โดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงความร้อนหรืออุณหภูมิให้เป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า (emf) โดยการนำลวดโลหะตัวนำ 2 ชนิด ที่มีความแตกต่างกันทางคุณสมบัติทางเคมีมาเชื่อมปลายของทั้ง 2 เข้าด้วยกัน เราเรียกจุดนี้ว่า Hot junction (T1) (จุดวัดอุณหภูมิ) ซึ่งเป็นจุดที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิ ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งของโลหะตัวนำทั้งสองปล่อยว่าง ซึ่งเราจะเรียกจุดนี้ว่า Cold junction (T2) (จุดอ้างอิง) ดังภาพประกอบด้านล่าง ซึ่งหากจุดวัดอุณหภูมิและจุดอ้างอิงมีอุณหภูมิต่างกัน โลหะตัวนำทั้ง 2 จะมีการขยายตัวและมีกระแสไหลผ่านโลหะตัวนำทั้ง 2 ส่งผลให้ปลายโลหะตัวนำที่ปล่อยว่างเกิดความต่างศักย์เกิดขึ้น (ไม่มาก มีค่าเป็น mV)      ในปัจจุบัน Thermocouple  นั้นค่อนข้างมีหลากหลายชนิด ถูกแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ มากมายก็เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละประเภทนั้นก็จะมีองค์ประกอบของโลหะ 2 ชนิด และ มีย่านในการวัดอุณหภูมิที่แตกต่างกันไป เช่น Thermocouple Type J , Thermocouple Type K , Thermocouple Type R , Thermocouple Type S , Thermocouple Type T , Thermocouple Type N ดังตารางด้านล่าง      แต่ในอุตสาหกรรมที่มีการใช้งาน Thermocouple สำหรับวัดอุณหภูมินั้น ส่วนใหญ่จะเป็น Thermocouple  ชนิด Type K เนื่องจากมีราคาไม่แพงมากและมีย่านการวัดอุณหภูมิที่ค่อนข้างกว้าง ครอบคลุมกับลักษณะงานต่าง ๆ      จากข้อมูลที่กล่าวไปข้างต้นนั้น คงได้ทราบกันในเบื้องต้นแล้วว่า Thermocouple คืออะไรและมีความสำคัญในการนำไปใช้งานอย่างไรบ้าง ?  ซึ่งทางบริษัท ไพรมัส จำกัด  ถือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้ากลุ่ม Temperature Sensor ชนิด Thermocouple ไว้อย่างครบถ้วน รวมถึงมีเจ้าหน้าที่ในการให้ข้อมูลและให้คำปรึกษา แนะนำ เพื่อเลือกนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพได้มากที่สุด โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การต่อใช้งาน Proximity Sensor แบบ DC 2 สาย / AC 2 สาย และ NPN PNP 3/4 สาย

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ (Proximity Sensor) คือ สวิตช์ตรวจจับวัตถุแบบไม่สัมผัส สำหรับตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะและอโลหะ หรือของเหลว สามารถนำไปใช้งานโดยต่อร่วมกับอุปกรณ์ เช่น เครื่องนับจำนวน (Counter) สำหรับนับจำนวนของชิ้นงานตามสายพานลำเลียง, เครื่องวัดความเร็วรอบ (Tachometer) สำหรับวัดความเร็วรอบของมอเตอร์ หรือ PLC เป็นต้น และจะมีวิธีการต่อใช้งานอย่างไร หาก Proximity Sensor ที่ใช้งานอยู่นั้น มีทั้งแบบ 2 สาย, 3 สาย และ 4 สาย      ในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำวิธีการต่อสายใช้งานของ Proximity Sensor ยี่ห้อ AECO ในแต่ละแบบ ดังนี้ การต่อใช้งาน Proximity Sensor แบบ AC 2 Wire  (ดังรูป) รูปแสดงการต่อใช้งาน Proximity Sensor แบบ AC 2 Wire การต่อใช้งาน Proximity Sensor แบบ DC 2 Wire รูปแสดงการต่อใช้งาน Proximity Sensor แบบ DC 2 Wire การต่อใช้งาน Proximity Sensor แบบ DC 2 Wire  Namur รูปแสดงการต่อใช้งาน Proximity Sensor แบบ DC 2 Wire  Namur      Proximity Sensor แบบ NAMUR เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความปลอดภัย เนื่องจากใช้ไฟเลี้ยง 8.2 โวลต์ และกระแส Output จะน้อยมากเพียง 1-3mA เท่านั้น ไม่สามารถขับโหลดที่มีกระแสมากกว่าได้โดยตรง จึงต้องต่อร่วมกับอุปกรณ์เพื่อขยายสัญญาณ (Amplifying) จากเซ็นเซอร์ (24VDC) แล้วเปลี่ยนให้เป็น Contact Relay (10A, 250VAC) การต่อใช้งาน Proximity Sensor Output แบบ NPN และ PNP 3/4 Wire (ดังรูป) รูปแสดงการต่อใช้งาน Proximity Sensor Output แบบ NPN และ PNP 3/4 Wire การนำมาประยุกต์ใช้งาน Proximity Sensor ที่มีจำนวนมากกว่า 1 ตัว ซึ่งสามารถต่อได้ 2 แบบ คือ การต่อแบบอนุกรม และ การต่อแบบขนาน      การต่อของชนิด D.C. ในแบบอนุกรม (AND LOGIC) ในการใช้งานบางอย่าง จำเป็นต้องใช้ 2 สัญญาณเอาต์พุตเดียวกันในการทำงาน ตัว Proximity Sensor 2 ตัวนี้จะถูกต่อในแบบเดียวกัน ซึ่งเอาต์พุตจะทำงานพร้อมกัน และเมื่อใช้เป็นชนิด D.C. มันจะเกิดแรงดันตกคร่อมที่เอาต์พุตของแต่ละตัว Sensor (<1.8V) ตามกระแสสูงสุดของโหลด (ดังรูป) การต่อวงจรแบบ NPN แบบอนุกรม การต่อวงจรแบบ PNP แบบอนุกรม      การต่อของชนิด D.C. ในแบบขนาน (OR LOGIC) การต่อในลักษณะนี้ Proximity Sensor ทุกตัวสามารถทำงานได้ในจุดเอาต์พุตเดียวกันได้อย่างอิสระ เมื่อใช้เป็นชนิด D.C. ถ้า Sensor แต่ละตัวมีโหลดต่อเพิ่มมากขึ้น ค่าความต้านทานก็จะเพิ่มมากขึ้นตามตัว Proximity Sensor อื่น ๆ ด้วย (Collector Resistance) ดังนั้น จึงต้องต่อไดโอดเพื่อกันสัญญาณเอาต์พุตรบกวนตัว Sensor ตัวอื่น (ดังรูป)              โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ทำไมต้องใช้เทอร์มินอลบล็อกต่อสาย

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เราจะเห็นกันอยู่บ่อย ๆ ในตู้คอนโทรลไฟฟ้าที่ต้องมีขั้วต่อสายไฟอยู่นั้นแหละคือ เทอร์มินอลบล็อก (Terminal Block) ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นแค่ขั้วต่อแค่นี้เองจะต้องใช้กันทำไมนักหนา เราก็แค่พัน ๆ ไว้ แล้วใช้เทปพันสายก็ได้แล้วทำไมต้องหา เทอร์มินอลบล็อกมาใส่ด้วยเสียโดยไม่ใช่เหตุ แต่ที่เราคิดนั้นลืมนึกถึงอะไรบางอย่างหลาย ๆ ข้อ ที่สำคัญของเทอร์มินอลบล็อกเลย ข้อแรก ถ้ามีจุดเชื่อมต่อเยอะ ๆ ล่ะ ข้อ 2 ถ้าต้องแก้ไขวงจรล่ะ ข้อ 3 แล้วที่เราพัน ๆ ไว้ แล้วใช้เทปพันสายจะแน่นหรือเปล่า ข้อ 4 ถ้าสายใหญ่ ๆ เราพันไว้ จะเกิดการอาร์คของกระแสไหม ถ้ากระแสสูง ๆ ข้อ 5 แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าอันนี้สายอะไรไปคอนโทรลอะไร ข้อ 6 แล้วในอุตสาหกรรมจะผ่านมาตรฐานไหม      โอ้โห!  แค่คิดอยู่ในหัวก็เริ่มเยอะแล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง กลับลองมองย้อนดู เทอร์มินอลบล็อกก็สำคัญมาก ๆ ในระบบไฟฟ้า เราอาจจะต้องมาศึกษาเรื่องเทอร์มินอลบล็อกบ้างแล้ว แล้วเทอร์มินอลบล็อกนั้นจะเป็นอย่างไรกันใช้อย่างไรถึงจะเหมาะสมกับสายแต่ล่ะอย่างหรือกับเครื่องจักรบางประเภท หลักการเลือกใช้เทอร์มินอลบล็อก 1. ขนาดสายที่ใช้ 2. กระแสที่ใช้งาน 3. ใช้ต่อสายอะไร เช่น สายคอนโทรลปกติหรือสายกราวด์ 4. ต้องมีมาตรฐานอะไรบ้าง 5. การทนอุณหภูมิได้เท่าไร เกิดใช้งานกับเครื่องจักรที่มีความร้อนมาก 6. เทอร์มินอลนั้นจะติดไฟหรือไม่ ? ถ้าเกิดความร้อนเกินที่จะทนได้หรือเกิดการลัดวงจร 7. อุปกรณ์ที่ต้องใช้ร่วมด้วย 8. การต่อสายแบบไหน เทอร์มินอลบล็อก แบ่งตามประเภทการใช้งานออกเป็น 2 แบบ      1. เทอร์มินอลที่เข้าสายแบบสกรู เทอร์มินอลบล็อกแบบสกรู เทอร์มินอลบล็อกกราวด์แบบสกรู เทอร์มินอลบล็อกแบบสกรู 2 ชั้น เทอร์มินอลบล็อกแบบสกรู 3 ชั้น เทอร์มินอลบล็อกฟิวส์แบบสกรู      การเข้าสายแบบสกรู เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด โดยจะใช้หลักการขันแล้วบีบอัดที่สายไฟทำให้แน่น โดยเทอร์มินอลประเภทสกรูนั้นจะเหมาะสำหรับสาย ทุก ๆ ประเภท ตั้งแต่สายขนาดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "สายคอนโทรล" ไปถึงสายเบอร์ใหญ่ ๆ ที่เรียกว่า "สายเพาเวอร์"                 2. เทอร์มินอลที่เข้าสายแบบสปริง เทอร์มินอลบล็อกแบบสปริง เทอร์มินอลบล็อกกราวด์แบบสปริง เทอร์มินอลบล็อกแบบสปริง 2 ชั้น เทอร์มินอลบล็อกแบบสปริง 3 ชั้น      การเข้าสายแบบสปริงเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้งานในปัจจุบันเนื่องจากใช้งานง่ายโดยไม่ต้องใช้ไขควงในการทำงาน ทำให้รวดเร็วต่อการใช้งาน เหมาะสำหรับงานประเภท Vibration โดยการสั่นของเครื่องจักรถ้าเป็นเทอร์มินอลแบบสกรูมีโอกาส ทำให้น็อตที่ขันมีการคลายตัวได้ โดยเทอร์มินอลแบบสปริงแคมป์รองรับกับการเข้าสายได้หลายขนาด ตั้งแต่  1.5 mm2 ไปจนถึง  16 mm2            คุณสมบัติและจุดเด่นของตัวเทอร์มินอลบล็อก • สามารถใช้กับงานที่อุณหภูมิสูงได้ถึง 100 ํC • สามารถใช้ในงาน อุตสาหกรรมปิโตรเคมี  โดยผ่านการรับรองมาตราฐาน EX ป้องกันการระเบิด • วัสดุของตัวนำมีความแข็งแรงคงทนต่อการใช้งาน • วัสดุฉนวนทำจากพลาสติกประเภทโพลิมาย 6.6 ทนต่อความร้อนและไม่ติดไฟ • มีมาตราฐานอุตสาหกรรมรองรับ UL CE EX DEV ROHS • ประหยัดเวลาในการเข้าสายโดยระบบสปริงเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ไขควงโดยการใช้สายเชื่อมต่อกับเทอร์มินอลเพียงแค่การดันเข้า • ตู้คอนโทรลเป็นระเบียบเรียบร้อย • ประหยัดพื้นที่ในตู้คอนโทรล โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK  

Image Alternative text
การใช้ Laser Sensor กับ Photoelectric Sensor ให้เหมาะสมกับงาน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK การใช้ Laser Sensor กับ Photoelectric Sensor ให้เหมาะสมกับงาน           ในการเลือกใช้โฟโต้อิเลคทริคเซนเซอร์ (Photoelectric Sensor) และ เลเซอร์เซนเซอร์ (Laser Sensor) ให้เหมาะสมกัลักษณะงานเป็นสิ่งสำคัญมาก หากเลือกใช้งานไม่เหมาะสม จะทำให้เซนเซอร์ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถตรวจจับวัตถุได็เนื่องจากเซนเซอร์ใช้ลำแสงในการตรวจจับวัตถุโดยไม่สัมผัส เช่น การตรวจจับ Mark ของซองบรรจุภัณฑ์ โดยใช้เซนเซอร์สี (ColorSensor, Mark Sensor), การตรวจวัดความสูง วัดความหนา และ วัดระยะทาง ของวัตถุ โดยใช้ ดิสเพรสเมนต์เซนเซอร์ (DisplacementSensor), ตรวจจับขวดแก้วใส ขวดพลาสติกใส ตรวจจับวัตถุใส (Transparency Sensor) ซึ่งชนิดของลำแสงนั้นก็มีความสัมพันธ์กับวัตถุทีใช้ในการตรวจจับเช่นกัน เราจะทราบได้อย่างไรว่าลักษณะงานแบบไหนควรเลือกใช้ Photoelectric Sensor แล้วลักษณะแบบไหนควรเลือกใช้ Laser Sensor หัวข้อนี้เราจะมาแนะนำกัน โฟโต้อิเล็กทริคเซนเซอร์ (Photoelectric Sensor) ชนิดลำแสงแบบ RED LED และ Infrared LED                                                   รูปแสดงลักษณะของลำแสงแบบ RED LED และ Infrared LED โฟโต้อิเล็คทริคเซนเซอร์ (Photoelectric Sensor) เหมาะสมกับการตรวจจับวัตถุทั่วไป แต่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดของวัตถุ ต้องมีขนาดวัตถุที่โตกว่าขนาดของลำแสงของ โฟโต้อิเล็คทริคเซนเซอร์ (Photoelectric Sensor)โดยสามารถต่อร่วมกับเครื่องนับจำนวน (Digital Counter), เครื่องวัดความเร็วรอบ (RPM Meter), หรือ PLC เพื่อการแสดงผล หรือควบคุมในระบบการผลิต (ดังรูป)       Protrusion detection in automated warehouses                               Overlap detection of empty ice cream cups                   Automobile door detection                                                     Detection of parts on parts feeder       Detection of items transported on a rolling conveyor            Detection of rice dropped from automatic sushi wrap rolling machine                 รูปแสดงลักษณะการประยุกต์ใช้งาน (Application) ของ Photoelectric Sensor ลำแสงแบบ RED LED และ Infrared LED เลเซอร์เซนเซอร์ (Laser Sensor)                                                  รูปแสดงลักษณะของลำแสงแบบ Laser Sensor เลเซอร์เซนเซอร์ (Laser Sensor) เหมาะสมกับลักษณะงาน ที่ต้องการความเที่ยงตรงและละเอียดสูง เช่น ชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก ชื้นงานที่มีระยะช่องว่างแคบ เป็นต้น เนื่องจากการใช้ Photoelectric Sensor แบบทั่วไปก็ใช้งานได้ แต่ไม่สามารถตรวจจับชิ้นงานที่มีความขนาดเล็ก และ ไม่สามารถตรวจจับชิ้นงานที่มีความละเอียดสูงได้ (ดังรูป)          Parts cut sizing                                                                        Thin plates counting(ZT-L3000)      Hole drilling detection for metal parts                                                    Liquid crystal glass mapping             Detection of thread for metal parts                                                 Checking existence of small parts                                       รูปแสดงลักษณะการประยุกต์ใช้งาน (Application) ของ Laser Sensor   กลุ่มสินค้า Photoelectric Sensor https://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=26 กลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้อง **เครื่องนับจำนวน , บอร์ดแสดงสถานะการผลิต, ป้ายนับจำนวนขนาดใหญ่ (Digital Counter, Target Counter) https://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=16 **เครื่องวัดความเร็วรอบ (RPM Meter, Tachometer) https://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=75 **พีแอลซี (PLC) , Programmable Logic Controller https://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=27 โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Relay Module ดีกว่า Relay ปกติอย่างไร

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK ภายในตู้คอนโทรลไฟฟ้าจะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น  PLC, Magnetic, Inverter, Breaker และ Relay      จากรูปเป็น Relay แบบปกติ ที่ต้องใช้ร่วมกับ Socket จะใช้พื้นที่ค่อนข้างเยอะในการติดตั้งโดยจะกินพื้นที่มากกว่า อีกหนึ่งเท่าของ Relay Module แต่ละตัวของ Relay ทั่วไป จะ Control แยกกัน ซึ่งจำเป็นต้องใช้สาย Input + และ - จำนวน 2 เส้น เพื่อสั่งการทำงานของ Relay                             จากรูปจะเห็นได้ว่า ตู้คอนโทรล PLC มี Output 16 Channel ซึ่งจะใช้ Relay Module ต่อร่วม โดยลักษณะ Relay จะเป็น Module ที่ประกอบด้วย Relay หลายตัวต่อในชุดเดียวกัน ไม่ต้องต่อร่วมกับ Socket ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย ประหยัดสายเนื่องจาก Input เป็น Common ร่วมใช้สาย 1 เส้น NPN หรือ PNP มีให้เลือกหลายรุ่น ตามจำนวน Relay ที่ใช้งานตั้งแต่ 2,4,8,12,16 Relay  มีรุ่นแบบ SPDT และ แบบ DPDT Relay Module ประเภทนี้ Input และ Output ถูกแยกกันคนละฝั่งจึงง่ายต่อการเข้าสายไฟ ทำให้ประหยัดเวลา                                             โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
อยากทราบว่าเครื่องจักรใช้พลังงานไฟฟ้าไปเท่าไร ผลิตได้จำนวนเท่าไร ทำอย่างไรดี

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องจักรแต่ละชนิดย่อมมีต้นทุนด้านต่าง ๆ เช่น ต้นทุนด้านแรงงาน ต้นทุนเครื่องจักร ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนอีกอย่างที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ต้นทุนการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องจักรแต่ละตัว แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าเครื่องจักรแต่ละตัวใช้พลังงานไฟฟ้าไปเท่าไร และสามารถผลิตชิ้นงานได้กี่ชิ้นในเวลาเท่าไร      วันนี้เราจะมาแนะนำ มิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้า (Power Meter) ที่ช่วยนับจำนวนการผลิตและวัดชั่วโมงการทํางานของระบบไฟฟ้าหรือเครื่องจักร รวมทั้งยังสามารถตั้งค่าป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage Protection) และมี Relay Alarm เพื่อแจ้งเตือนหรือตัดต่อวงจรไฟฟ้าในระบบได้ ดังรูป รูปที่ 1 แสดงการต่อใช้งานร่วมกันของอุปกรณ์กับเครื่องจักรเพื่อแสดงการใช้พลังงานไฟฟ้าและจำนวนในการผลิต (แบบเดิม)      การต่อใช้งานแบบเดิม (รูปที่ 1) ต้องต่อใช้งานอุปกรณ์ร่วมกันหลาย ๆ ตัว เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ (Sensor), เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter), เครื่องวัดความเร็วรอบแบบดิจิตอล (Digital Tacho Meter), มิเตอร์วัดค่าพลังงานทางไฟฟ้า (Multifunction Meter) และอุปกรณ์ป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage Protection) เป็นต้น ทำให้เกิดความยุ่งยากในการต่อสายและสิ้นเปลืองพื้นที่ในการติดตั้งภายในตู้คอนโทรล      ดังนั้นอุปกรณ์ที่สามารถตอบโจทย์ในการใช้งานเหล่านี้ได้ คือ มิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้า (Power Meter) ที่รวมทั้งเครื่องนับจำนวนการผลิต (Digital Counter), เครื่องนับชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักร (Hour Counter), มิเตอร์วัดค่าพลังงานทางไฟฟ้า (Multifunction Meter), และอุปกรณ์ป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage Protection) รวมอยู่ในตัวเดียวกัน ดังรูปที่ 2 รูปที่ 2 แสดงการต่อใช้งานร่วมกันของอุปกรณ์กับเครื่องจักรเพื่อแสดงการใช้พลังงานไฟฟ้าและจำนวนในการผลิต (แบบใหม่)      จะเห็นได้ว่าการต่อใช้งานในแบบรูปที่ 2 นั้น เพียงใช้มิเตอร์วัดค่าพลังงานทางไฟฟ้า (Multifunction Meter) เพียงตัวเดียว ก็สามารถใช้นับชั่วโมงการทํางาน (Hour Counter) ของเครื่องจักรเพื่อกําหนดเวลาในการ Maintenance และการนับจํานวนสินค้าที่ผลิตออกมาได้ (Counter) เพื่อเปรียบเทียบกับค่าพลังงานไฟฟ้า (kWh) ที่ถูกใช้ไปเป็นการวัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และมีระบบการป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Protection Relay) เพื่อตัดต่อวงจรไฟฟ้าในระบบได้ทันเวลา ที่สำคัญไม่เกิดความยุ่งยากในการต่อสาย และประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการใช้อุปกรณ์หลาย ๆ ตัว โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      

Image Alternative text
ป้องกันอุปกรณ์เสียหายเนื่องจากไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage) ด้วย Protection Relay

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เนื่องจากกระบวนการผลิตในงานอุตสาหกรรมได้มีการนำอุปกรณ์ไฟฟ้ามาใช้ในการควบคุมเครื่องจักร ซึ่งหากในระบบไฟฟ้ามีปัญหาดังต่อไปนี้  เช่น • เกิดจากแรงดันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage) • เฟสขาดหาย (Phase Loss) ใช้กับระบบไฟ 3 เฟส • การสลับเฟส (Phase Sequence) • เฟสไม่สมดุลย์ (Phase Unbalance)      ดังนั้น ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการในการผลิตสินค้า จึงมีความจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Protection Relay) ที่ใช้ได้ทั้งระบบไฟแบบ 1 เฟส และ 3 เฟส เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาความผิดปกติของระบบไฟฟ้าดังที่กล่าวมาข้างต้น (ดังรูป) รูปแสดงการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Protection Relay)  ขอบคุณเครดิตภาพจาก พี.เค. ปั๊มคอนโทรล      จากรูปจะเห็นได้ว่า ตัวอุปกรณ์ป้องกันไฟตก-ไฟเกิน รุ่น VPM-01D (ดังรูป) มีหน้าจอแสดงค่าแรงดันไฟฟ้า Voltage ทำให้ง่ายในการตั้งค่าแรงดันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage) ตามค่าจริงที่ต้องการตั้งค่า และแสดงผลของแรงดันไฟฟ้า ณ ปัจจุบันด้วย การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันแรงดันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Protection Relay) นี้ นอกจากจะช่วยป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เกิดความเสียหายเนื่องจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าแล้ว ยังช่วยให้สามารถตัดการทำงานของอุปกรณ์เพื่อให้เครื่องจักรหยุดการทำงานได้ทันเวลา โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ป้ายแสดงสถานะ (Target Board) ช่วยวางแผนการผลิตในงานอุตสาหกรรมอย่างไร ?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมมีการพัฒนาในกระบวนการผลิตจากเดิมเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของขั้นตอนการผลิต วิธีการการผลิตหรือการควบคุมการผลิต เป็นต้น จากอดีตที่ใช้บุคลากรในการนับจำนวนของชิ้นงานในสายการผลิต (Line Production) หรือการใช้เอกสารในการตรวจเช็คจำนวนการผลิต (Check List) เป็นต้น เพื่อส่งต่อไปยังกระบวนการการผลิตอื่นต่อไป ซึ่งอาจทำให้เกิดความยุ่งยากในการเก็บข้อมูลหรือเกิดจากความผิดพลาดของบุคลากร (Human Error)  ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการการผลิต ลดการสูญเสีย จึงมีการติดตั้งป้ายแสดงสถานะในการผลิตที่เรียกว่า Target Board , Target Counter ไว้สำหรับแจ้งเตือนผู้ปฏิบัติงานในสายการผลิต (Line Production) หรือผู้วางแผนการผลิต (Production Planner) แบบ Real Time ด้วยการแสดงผลที่เป็นอักษร, สัญลักษณ์, ตัวเลข เป็นต้น      Target Board , Target Counter  ช่วยวางแผนการผลิตในงานอุตสาหกรรมได้อย่างไร จะยกตัวอย่างการแสดงผล 3 สถานะ (ดังรูป) แสดงในรูปแบบของการตั้งเป้าหมายในการผลิตสินค้า (Production Planning) TARGET : กำหนดเป้าหมายในการผลิตจำนวน 10,000 ชิ้น ACTUAL : จำนวนที่ผลิตได้จริง 9,500 ชิ้น DIFF : ผลต่างของการผลิต (TARGET - ACTUAL ) = 500 ชิ้น (คิดเป็น 5%) สรุป : การผลิตสินค้า Lot นี้ ได้ทั้งหมด 95% ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แสดงในรูปแบบของการตั้งเป้าหมายในการผลิต โดยมีกำหนดชื่อโมเดลสินค้าในสายการผลิต (Line Production) TARGET : กำหนดเป้าหมายในการผลิตจำนวน 10,000 ชิ้น ACTUAL : จำนวนที่ผลิตได้จริง 10,000 ชิ้น DIFF : ผลต่างของการผลิต (TARGET - ACTUAL ) = 0 ชิ้น (100%) สรุป : การผลิตสินค้า Lot นี้ ได้ทั้งหมด 100% เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้   แสดงในรูปแบบของการตั้งเป้าหมายในการผลิต ที่มีค่าเพิ่มขึ้นตามเวลา และมีค่าเปอร์เซ็นต์โชว์ PLAN : กำหนดเป้าหมายในการผลิตจำนวน 1ชิ้น : ภายในเวลาที่กำหนด (TIME) ACTUAL : จำนวนที่ผลิตได้จริง 1ชิ้น ตามเวลาที่กำหนด DIFF : ผลต่างของการผลิต (PLAN - ACTUAL ) = 100% (ภายในเวลาที่กำหนด) สรุป : การผลิตสินค้า Lot นี้ ได้ทั้งหมด 100% ภายในเวลาที่กำหนด เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้        นอกจากนี้  Target Board , Target Counter ยังสามารถแสดงผลได้อีกในหลาย ๆ Segtion ในงานอุตสาหกรรมการผลิต เช่น เหมาะสำหรับนับของดี-ของเสียในการผลิต, เหมาะสำหรับระบบที่ต้องการแสดงค่า Analog เช่น ค่าความดันที่วัดได้จากเซ็นเซอร์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter), ค่าความชื้นที่วัดได้จากเซ็นเซอร์วัดความชื้น (Humidity Transmitter),  ค่าอุณหภูมิที่วัดได้จากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor), แสดงค่าความเร็วรอบและระยะทาง (RPM & Line Speed) เป็นต้น      ในกรณีที่ต้องการให้ Target Board โชว์ข้อมูลเป้าหมายการผลิตในแต่ละจุดแบบ Real Time ก็สามารถทำได้โดยการเชื่อมต่อ Target Board หลาย ๆ ตัว เข้ากับ Computer ผ่านพอร์ท RS-485 MODBUS RTU (ได้สูงสุด 32 ตัว) เพื่อช่วยในการวางแผนและควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (ดังรูป) รูปแสดงตัวอย่างการเชื่อมต่อ Target Board กับ Computer ผ่าน RS-485 MODBUS RTU 32 ตัว โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
รหัสสีของสายเทอร์โมคัปเปิ้ล (Color Code Thermocouple Wire) บอกอะไรได้บ้าง

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple) เป็นเซนเซอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ โดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงความร้อนหรืออุณหภูมิให้เป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า เทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple) ประกอบด้วยลวดโลหะตัวนำ 2 ชนิดที่ต่างกัน โดยนำด้านใดด้านหนึ่งมาเชื่อมปลายทั้ง 2 เข้าด้วยกันเพื่อใช้วัดอุณหภูมิ ส่วนอีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับอุปกรณ์เครื่องมือวัด เช่น เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller), เครื่องบันทึกอุณหภูมิ (Recorder), เครื่องวัดค่าและแสดงผลอุณหภูมิ (Digital Temperature Indicator) เป็นต้น เนื่องจากเทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple) มีการใช้งานที่แพร่หลาย แต่เราจะสังเกตเห็นได้ว่าสายเทอร์โมคัปเปิ้ลที่เราพบเจอมีลักษณะฉนวนของสายและสีของสายเทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple Wire) แตกต่างกัน และรหัสสีของสาย (Color Code) บ่งบอกอะไรได้บ้าง วันนี้เราจะมาแนะนำกัน รหัสสี (Color Code) ของสายเทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple Wire) ได้มีการกำหนดมาตรฐานสากลที่ใช้กันในแต่ละประเทศ (ดังตาราง) ขอบคุณที่มา : https://www.thermocoupleinfo.com/thermocouple-color-codes.htm      มาตรฐานสากลของเทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple) เหมือนกันหมด จะแตกต่างกันที่สีของสาย เนื่องจากในการกำหนดมาตรฐานของแต่ละประเทศนั้นจะกำหนดไม่เหมือนกัน ซึ่งโดยส่วนมากในประเทศไทยนิยมใช้มาตรฐานของ Japan ที่เป็น Type K,J นอกจากนี้ยังมีทั้ง Thermocouple Type K,J,T,N,E,S,R,B อีกด้วย      ปัจจุบันไพรมัสมีสายเทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple Wire) ตามมาตรฐาน JIS ชนิดดังต่อไปนี้ Thermocouple Wire Type J สายถักสแตนเลส สายไฟเบอร์กล๊าส สายซิลิโคน สาย PVC   Thermocouple Wire Type K สาย PVC สายถักสแตนเลส สายเทปล่อน สายไฟเบอร์กล๊าส สายซิลิโคน   Thermocouple Wire Type T สายเทปล่อน สายถักสแตนเลส   Thermocouple Wire Type R/S สายถักสแตนเลส      ดังนั้นผู้ใช้งานก็สามารถรู้ได้ว่า รหัสสี (Color Code) ของสายเทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple Wire) ว่าเป็นเทอร์โมคัปเปิ้ลชนิดใด โดยสามารถดูได้จากตารางด้านบน และสามารถเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้อง โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Solid State Relay ดีกว่า Relay ทั่วไปอย่างไร

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ในปัจจุบันการใช้งานของอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดต่อวงจรทางด้าน Output ที่นำไปตัดต่อ Load ของฮีตเตอร์ (Heater) หรือ Motor ส่วนใหญ่มักจะใช้ Relay หรือ Megnetic แต่ยังมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดต่อ Load อีกอย่างหนี่งที่เราพบเห็นกันบ่อยเช่นกัน นั่นก็คือ โซลิดสเตตรีเลย์ (Solid State Relay) แล้วระหว่าง Solid State Relay กับ Relay ทั่วไปต่างกันอย่างไร และลักษณะงานแบบไหนที่ควรใช้ Solid State Relay วันนี้เราจะมาแนะนำกัน โดยให้เห็นถึงโครงสร้างภายใน (ดังแสดงในรูปที่ 1.1 และ 1.2)      รีเลย์ (Relay) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ตัด-ต่อวงจร โดยใช้แม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งปกติถ้ามีการจ่ายไฟเข้าที่ตัวรีเลย์ (Relay) จะทำให้ขดลวดเหนี่ยวนำหน้าสัมผัสติดกัน จึงมีสถานะปิดวงจร (Closed Circuit) แต่ถ้าหากไม่มีการจ่ายไฟให้ รีเลย์ (Relay) ขดลวดเหนี่ยวนำหน้าสัมผัสไม่ติดกัน จะมีสถานะเปิดวงจร (Open Circuit) รูป 1.1 แสดงโครงสร้างภายในของรีเลย์ (Relay)      โซลิดสเตตรีเลย์ (Solid State Relay) หรือตัวย่อ SSR คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ ที่ไม่ใช้หน้าสัมผัสในการตัด-ต่อวงจร โดยใช้เทคโนโลยีของ เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ที่ไม่มีส่วนเคลื่อนที่ จึงไม่มีเสียงในขณะเวลาตัด-ต่อของหน้าสัมผัส (Contact) รูป 1.2 แสดงโครงสร้างภายในของโซลิดสเตตรีเลย์ (Solid State Relay)      รีเลย์ (Relay) และ โซลิดสเตตรีเลย์ (Solid State Relay) ก็มีความแตกต่างกัน ซึ่งในบทนี้เราจะมาเปรียบเทียบทั้งสองชนิดนี้ว่ามีข้อดี ข้อเสีย ต่างกันอย่างไร (ดังตาราง) Relay Solid State Relay           1. จำนวนครั้งในการตัดต่อน้อย เนื่องจากหน้าสัมผัสเป็นแมคคานิค                 1. มีอายุการใช้งานนาน         2. หน้าสัมผัสของ Relay ค้าง และเสียง่าย                 2. ตัดต่อรวดเร็ว / ราคาแพง         3. อาจเกิดการสัญญาณ (Debouche)                 3. ไม่มีปัญหาการเกิดสัญญาณ (Debouche)         4. เสียงดังเวลาตัดต่อ                 4. ไม่มีเสียงเวลาตัดต่อ         5. ง่ายในการตรวจเช็ค                 5. ใช้งานนาน ๆ จะเกิดความร้อนสะสม (แนะนำใช้ Heatsink ร่วม)      ซึ่งโดยทั่วไปนิยมใช้ โซลิดสเตตรีเลย์ (Solid State Relay) ในการควบคุมการทำงาน ของ Resistive Load เช่น ฮีตเตอร์ (Heater ), หลอดไฟ หรือ Inductive Load เช่น Motor และมักจะเลือกใช้ Solid State Relay แทน Relay ทั่วไปใช้กับงานที่มีความถี่ในการตัดต่อบ่อย เพื่อลดปัญหาการสึกหรอของหน้าสัมผัส (Contact), การเกิด Arc และอายุการใช้งานของอุปกรณ์      นอกจากนี้ยังมีชนิดของ Solid State Relay ให้เลือกหลายหลากแบบ เช่น Solid State Relay สำหรับแรงดันไฟ DC (Solid State DC) , Solid State Relay แบบเร่ง-หรี่ (Phase Angle control) , Solid State Relay สำหรับใช้กับแผง PCB และมีให้เลือกทั้งแบบ 1 เฟส , 2 เฟส และ 3 เฟส ซึ่งมีรูปร่างที่แตกต่างกันของ Solid State Relay ตามลักษณะการติดตั้ง ดังรูป Solid State Relay แบบ Slim เหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่จำกัด Solid State Relay แบบ Phase Angle Control เหมาะสำหรับงานควบคุมแบบเร่ง-หรี่ Solid State Relay สำหรับแผง PCB ข้อแนะนำ : เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ Solid State Relay ควรติดตั้งอุปกรณ์สำหรับระบายความร้อน (Heatsink) ให้กับ Solid State Relay ดังรูป โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การต่อใช้งาน I/V Simulator เพื่อวัดและจ่ายสัญญาณ 4-20mA และ 0-10VDC

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      อุปกรณ์วัดและจ่ายสัญญาณอนาลอกมาตรฐานได้ทั้งสัญญาณที่เป็นกระแส 4-20mA และแรงดัน 0-10VDC สำหรับตรวจเช็คการทำงานของ Input และ Output 4-20mA และ 0-10V เพื่อทดสอบว่าอุปกรณ์ เช่น Pressure Transmitter / PLC / Process Controller / Transmitter / Proportional Valve ว่าสามารถทำงานได้อยู่หรือไม่ ในกรณีที่จะทดสอบ Input Analog 4-20mA และ 0-10V ต้องตั้งค่าตัว I/V Simulator ให้เป็น Mode Soruce (IS หรือ VS) เพื่อทำการจ่ายสัญญาณไปที่ Input ของอุปกรณ์ และถ้าต้องการทดสอบ Output Analog 4-20mA และ 0-10V ต้องตั้งค่าตัว I/V Simulator ให้เป็น Mode Measurement (IM หรือ VM) เพื่อทำการจ่ายสัญญาณไปที่ Output ของอุปกรณ์ ดังรูป การจ่ายสัญญาณอนาลอกที่เป็นกระแส (4-20mA) และ แรงดัน (0-10VDC) สำหรับต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ การจ่ายสัญญาณ 4-20mA เพื่อต่อใช้งานร่วมกับ อุปกรณ์แสดงผล (Digital Indicator) การจ่ายสัญญาณ 0-10V เพื่อต่อใช้งานร่วมกับ PLC   การจ่ายสัญญาณ 4-20mA เพื่อทดสอบการทำงานของ Valve   การวัดสัญญาณอนาลอกที่เป็นกระแส (4-20mA) และ แรงดัน (0-10VDC) สำหรับทดสอบสัญญาณของอุปกรณ์ การวัดสัญญาณ 0-10V เพื่อทดสอบทางด้านเอาต์พุต ของอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ (Digital Temperature Controller) การวัดสัญญาณ 4-20mA เพื่อทดสอบทางด้านเอาต์พุต ของอุปกรณ์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter) การวัดสัญญาณ 4-20mA เพื่อทดสอบทางด้านเอาต์พุต ของอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Signal Transmitter)   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การประยุกต์ใช้งาน Inductive Proximity Sensor และ Capacitive Proximity Sensor

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ต่อเนื่องจากหัวข้อ Inductive Proximity Sensor กับ Capacitive Proximity Sensor ต่างกันอย่างไร นั้น ในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำลักษณะการติดตั้งและการนำไปใช้งานที่เหมาะสม ซึ่งก็มีหลายรูปแบบของ Proximity Sensor ในการตรวจจับวัตถุ (ดังตาราง) แบบ Inductive Proximity Sensor รูปทรงกระบอก (Cylindrical Inductive Sensor) รูปทรงกระบอก (Cylindrical Inductive Sensor) ติดตั้งบนสายพานลำเลียง เพื่อตรวจจับสำหรับนับจำนวนวัตถุ โดยต่อร่วมกับเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) เพื่อแสดงการนับจำนวน ติดตั้งบนสายพานลำเลียง เพื่อตรวจจับความเร็วรอบของมอเตอร์  โดยต่อร่วมกับเครื่องวัดความเร็วรอบ (RPM Meter)   รูปทรงวงแหวน (Ring Inductive Sensor) รูปทรงสี่เหลี่ยม (Rectanggular Inductive Sensor) สำหรับตรวจจับวัถตุที่มีขนาดเล็ก เช่น สกรู, น๊อต, ลวดโลหะ เป็นต้น   สามารถติดตั้งทั้งแบบแนวตั้งและแนวนอน มีทั้งแบบตรวจจับเฉพาะด้านหน้า (Flush Mounting) และตรวจจับทั้งด้านหน้าและด้านข้าง (Non Flush Mounting) สำหรับตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะ แบบ Capacitive Proximity Sensor สำหรับติดตั้งเข้าไปในถังที่เป็นพลาสติกหรือโลหะ เพื่อตรวจจับและควบคุมระดับของแข็งหรือของเหลว   สำหรับการติดตั้งแบบนี้ ไม่สามารถใช้กับถังที่เป็นโลหะได้ เพื่อตรวจจับและควบคุมระดับของวัตถุที่เป็นโลหะ   ในกรณีถังที่เป็นโลหะ ควรทำการเจาะช่องรูไว้สำหรับติดพลาสติก หรือ กระจก เพื่อ Capacitive Proximity Sensor สามารถที่จะตรวจจับวัตถุได้ สำหรับตรวจจับและควบคุมระดับความสูงของกองกระดาษ   สำหรับตรวจจับกระดาษหรือวัตถุที่ไม่ใช่โลหะ (กระดาษพลาสติก ฯลฯ) หากตรวจจับไม่เจอจะส่งสัญญาณไปที่อุปกรณ์ควบคุมเพื่อหยุดการทำงาน ตรวจจับวัตถุในถังที่มีอุณหภูมิสูงถึง -200 ํC + 250 ํC (รุ่น SC30M-HT พร้อมด้วย ALSC แบบแยกส่วน Amplifier)   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Inductive Proximity Sensor กับ Capacitive Proximity Sensor ต่างกันอย่างไร ?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Proximity Sensor คือ เซ็นเซอร์ หรืออุปกรณ์ตรวจนับ หรือตรวจจับชิ้นงานแบบไม่สัมผัส โดยทั่วไปที่เราเจอกันส่วนใหญ่จะเป็น Proximity แบบ Inductive Proximity Sensor และแบบ Capacitive Proximity Sensor แล้ว Proximity ทั้ง 2 แบบนี้ต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะมาแนะนำกัน      Inductive Proximity Sensor คือ เซ็นเซอร์ที่ตรวจจับโลหะระยะใกล้ เนื่องจากคำว่า Proximity แปลว่า ระยะใกล้ เราจะสังเกตเห็นได้ว่าระยะตรวจจับของ Proximity Sensor นี้จะมีระยะตรวจจับ เช่น หน่วยมิลลิเมตร โดย Inductive Proximity Sensor จะใช้หลักการ การเหนี่ยวนำ (Induced) ของสนามแม่เหล็ก ทำให้ Inductive Proximity Sensor จะตรวจจับชิ้นงานที่เป็นประเภทโลหะเท่านั้น เช่น เหล็ก สแตนเลส สังกะสี อลูมิเนียม ทองแดง เป็นต้น      Capacitive Proximity Sensor คือ เซ็นเซอร์ที่ตรวจจับโลหะระยะใกล้ แต่สามารถจับวัตถุได้ทุกชนิดทั้งแบบโลหะ และ แบบอโลหะ เช่น ไม้ พลาสติก เหล็ก สังกะสี น้ำ เป็นต้น ซึ่งหลักการทำงาน Capacitive Proximity Sensor ทำงานโดยอาศัยค่าความจุ เมื่อมีค่าความจุเปลี่ยนแปลงที่ค่าค่าหนึ่ง จะส่งผลให้ออสซิลเลตสัญญาณขึ้นและส่งต่อไปยัง Output (ออสซิลเลตสัญญาณ คือ วงจรกำเนิดคลื่นความถี่สูง ทำหน้าที่แปลงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นความถี่)      ซึ่งลักษณะในการตรวจจับของทั้ง 2 แบบ  Inductive Proximity Switch และ Capacitive Proximity Switch จะเหมือนกัน แต่วัตถุที่ใช้สำหรับตรวจจับจะต่างกันดังที่ได้กล่าวมาข้อมูลข้างต้น และระยะที่มีผลต่อการตรวจจับวัตถุนั้น ๆ (ดังรูปและตาราง) ตารางแสดงความสัมพันธ์ของวัตถุ ที่มีผลต่อระยะการกระทำของ Proximity Switch Inductive Proximity Switch Capacitive Proximity Switch เหล็ก                   1 x Sn โลหะ           ~        1 x Sn สแตนเลส           0.9 x Sn น้ำ               ~         1 x Sn สังกะสี บรอนซ์   0.5 x Sn พลาสติก      ~     0.5 x Sn อลูมิเนียม           0.4 x Sn แก้ว              ~     0.5 x Sn ทองแดง             0.4 x Sn ไม้                ~     0.4 x Sn สำหรับการตรวจจับวัตถุของ Proximity Sensor มีลักษณะในการตรวจจับด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบหัวฝัง (Flush Mounting) เป็นลักษณะการติดตั้งแบบฝัง คือ ด้านข้างของ Proximity จะไม่มีการตรวจจับวัตถุ สนามแม่เหล็กจะออกเฉพาะด้านหน้าสำหรับตรวจจับวัตถุเคลื่อนผ่านในระยะการตรวจจับทางด้านหน้าเท่านั้น แบบหัวโผล่ (Non Flush Mounting) เป็นลักษณะการติดตั้งแบบไม่ฝัง คือ ผิวหน้าการตรวจจับของ Proximity จะยื่นออกมา สนามแม่เหล็กจะออกทั้งทางด้านหน้าและด้านข้างของผิวหน้าการ ตรวจจับจึงไม่สามารถติดฝังได้ เพราะจะจับวัตถุด้านข้างตลอดเวลา ข้อดีของแบบนี้ก็คือ สามารถติดตั้ง Proximity ไว้ใกล้ ๆ กันได้ โดยไม่เกิดสนามแม่เหล็กรบกวน ข้อดีของแบบนี้ก็คือ สามารถตรวจจับวัตถุทั้งทางด้านหน้าและทางด้านข้างได้ .....ในหัวข้อต่อไปเราจะมาพูดถึงลักษณะการนำไปใช้งาน (Application) ของ Inductive Proximity Switch และ Capacitive Proximity Sensor กันต่อไป..... โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Level Switch กับ Level Sensor แตกต่างกันอย่างไร ?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      สวิทช์ลูกลอย (Level Switch/Level Sensor) คือ เซ็นเซอร์ที่ใช้วัดระดับของน้ำในถังหรือบ่อ และของเหลวอื่น ๆ สำหรับต่อร่วมกับอุปกรณ์เพื่อแจ้งเตือนหรือควบคุมของเหลวนั้น ๆ โดยมีสัญญาณในรูปแบบของหน้าคอนแทค (NO/NC), ความต้านทาน (Resistance Output) และ สัญญาณอนาล็อก 4-20 mA (Analog Output) เช่น ส่งสัญญาณเข้าระบบ PLC เพื่อควบคุมปั๊ม เป็นต้น ซึ่งสัญญาณที่ออกมาทางด้านเอาต์พุตนั้นมีความแตกต่างกัน ดังนี้      Level Switch หรือ เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับ เป็นสวิทช์ลูกลอยที่ใช้ตรวจจับระดับของเหลวแบบระดับขั้น โดยใช้หลักการอาศัยการเปลี่ยนแปลงสถานะของหน้าคอนแทค NO/NC เมื่อลูกลอยเคลื่อนที่ ขึ้น-ลง ตามระดับของเหลว      หลักการทำงาน เมื่อมีการเคลื่อนที่ของลูกลอยผ่านรีดสวิตช์ ตัวที่ 1 จะมีการดึงให้หน้าคอนแทคการทำงาน เป็นระดับที่ 1 และ เมื่อลูกลอย ตัวที่ 2 เคลื่อนที่ผ่านรีดสวิตช์ จะมีการดึงให้หน้าคอนแทคทำงาน เป็นระดับที่ 2 เป็นต้น รูปแสดงโครงสร้างภายในของ Level Switch      Level Sensor/Level Indicator/Level Transmitter หรือ เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับแบบต่อเนื่อง ที่ใช้ตรวจจับระดับของเหลวสามารถแสดงระดับได้ต่อเนื่องตลอดย่านการวัด โดยใช้หลักการอาศัยการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน (ในขณะที่ลูกลอยเคลื่อนที่) สัญญาณที่ออกมาจะมีเป็นความต้านทานและสัญญาณทางไฟฟ้า 4-20mA (รุ่นที่มี Transmitter ภายในตัว) ซึ่งมีความละเอียดในการวัดค่าทุก ๆ ระดับ 1 cm. (อ้างอิงในรุ่น LP-07 และ LP-07-I) รูปแสดงโครงสร้างภายในของ Level Sensor/Level Indicator/Level Transmitter      และเซ็นเซอร์ตรวจจับระดับแบบต่อเนื่อง (Level Sensor/Level Indicator/Level Transmitter) มีสัญญาณเอาต์พุตทั้งแบบเอาต์พุตความต้านทานและเอาต์พุตอนาล็อก 4-20 mA ดังรูป Level Sensor  เอาต์พุตความต้านทาน (Resistance Output)      Level Sensor รุ่น LP-07 ที่มีสัญญาณเอาต์พุตความต้านทาน ต้องต่อร่วมกับอุปกรณ์แปลงสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน เพื่อแสดงค่าที่อุปกรณ์แสดงผล (Digital Indicator) หรืออุปกรณ์ควบคุมระดับของเหลวในระบบ รูปแสดงการต่อใช้งาน Level Sensor แบบเอาต์พุตความต้านทาน ร่วมกับอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Resistor Transmitter) พร้อมอุปกรณ์แสดงผล (Digital Indicator) Level Sensor เอาต์พุตอนาล็อกมาตรฐาน 4-20 mA (Analog Output)      Level Sensor รุ่น LP-07-I ที่มีสัญญาณเอาต์พุตอนาล็อกมาตรฐาน 4-20 mA สามารถต่อร่วมกับอุปกรณ์แสดงผล (Digital Indicator) หรืออุปกรณ์ควบคุมระดับของเหลวในระบบ รูปแสดงการต่อใช้งาน Level Sensor แบบเอาต์พุตอนาล็อก 4-20 mA ร่วมกับอุปกรณ์แสดงผล (Digital Indicator) โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การต่อใช้งาน Encoder กับ Digital Counter และ การต่อใช้งาน Encoder กับ PLC UNITRONICS

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ตรวจจับความเร็ว (Speed), ทิศทางการหมุนของมอเตอร์ (Direction of Rotation) และตำแหน่งเพลาของโรเตอร์ (Shaft Position) โดยใช้หลักการแปลงการหมุนแกนเพลาของ Encoder ออกมาเป็นสัญญาณ Pulse ทางไฟฟ้า ซึ่งมีการนำไปใช้งานที่หลากหลายในงานอุตสาหกรรม เช่น วัดระยะทาง, วัดความยาวผ้า, วัดความเร็วรอบของมอเตอร์, เครื่องตัดชิ้นงาน เป็นต้น ซึ่งวันนี้เราจะมาบอกถึงวิธีการต่อสายใช้งาน เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) สำหรับเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) และ พีแอลซี (PLC) สำหรับในหัวข้อการต่อใช้งานเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) กับ เครื่องนับจำนวน (Digital Counter) และ การต่อใช้งานเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) กับ พีแอลซี (PLC) ดังนี้ การต่อใช้งาน Encoder แบบแกนเพลา ร่วมกับ เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) รูปแสดงวงจรการต่อใช้งาน Encoder รุ่น PR-01N-S Series ร่วมกับเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) รุ่น CMT-007A Series การต่อใช้งาน Encoder แบบลูกล้อ (Measuring Wheel Encoder) ร่วมกับ PLC (Programmable Logic Controller) รูปแสดงวงจรการต่อใช้งาน Encoder แบบลูกล้อ รุ่น EHM-AB4-C020-M (Measuring Wheel Encoder) ร่วมกับ PLC UniStream UNITRONICS วิธีการต่อ Encoder แบบ High Speed ร่วมกับ Uni Module ของ PLC UniStream โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ทำไมต้องช็อตขั้ว CT (Short-Current Transformers)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK        CT (Current Transformers) คือ อุปกรณ์ลดทอนกระแสสำหรับใช้ต่อร่วมกับมิเตอร์วัดกระแส (Amp Meter) เพื่อแปลงกระแสให้ได้ตามสัดส่วนในการวัด (Current Ratio) โดยปกติมิเตอร์ทั่วไปที่ใช้งานจะวัดกระแสได้โดยการต่อตรงสูงสุดที่ 5A หากใช้งานเกิน 5A จะต้องต่อผ่าน CT เพื่อลดทอนกระแส เช่น 100/5A , 150/5A , 250/5A.....2000/5A เป็นต้น      Ratio คือ อัตราสัดส่วนการลดทอนกระแสจากทางด้านปฐมภูมิ (Primary) เป็นด้านทุติยภูมิ (Secondary)           เช่น 100A  คือ ด้านปฐมภูมิ (Primary)                  5A คือ ด้านทุติยภูมิ (Secondary)      ยกตัวอย่างในการคำนวณหาอัตราส่วน 100 : 5A (100/5 = 20) ดังนั้น ค่า Ratio ที่ต้องตั้งสำหรับมิเตอร์ คือ 20 เป็นต้น      ส่วนคำถามตามหัวข้อที่ว่า ทำไมเราต้องช็อตขั้ว CT (Short-Current Transformers) ก่อนทุกครั้งเวลาที่เราถอดสาย CT ด้าน  Secondary ออกจากมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้า (Amp Meter) นั้น ก็เพราะว่าในกรณีที่เราถอดสาย CT ด้าน Secondary ขณะที่ด้าน Primary ยังมี Load หรือมีกระแสไหลผ่าน CT อยู่นั้น เมื่อมีการ Open CT (หรือถอดสาย CT ออก) จะทำให้เกิดแรงดันตกคร่อมในขดลวด CT อยู่ จะทำให้ CT เกิดเสียงดังขึ้นและทำให้ CT ไหม้ได้      เราสามารถเลือกวิธีในการ Short CT ก่อนที่จะถอดมิเตอร์วัดกระแส (Amp Meter) ได้โดยการหาเทอร์มินอล (Terminal) ที่สามารถ Jump กันระหว่างขั้ว CT เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ได้ (ดังรูปที่ 1 และรูปที่ 2) รูปที่ 1 แสดงการ Jump Terminal โดยใช้ Banana Jack สำหรับ Jump ระหว่าง Terminal ที่ 1 และ Terminal ที่ 2 เพื่อ Short-Current ทางด้าน Secondary ของ CT รูปที่ 2 แสดงการเลื่อน Sliding ของ Terminal ลง เพื่อ Open Circuit ระหว่าง CT และ Amp Meter        เมื่อทำการช็อตขั้ว CT และเลื่อน Sliding Short ของ Terminal เพื่อลัดวงจร (Short Circuit) ที่ด้าน Secondary ของ CT แล้ว เท่านี้ก็สามารถนำมิเตอร์ (Meter) ออกจากตู้คอนโทรลเพื่อไปแก้ไขหรือสอบเทียบต่อไปได้ (ดังรูปที่ 3 และรูปที่ 4)   รูปที่ 3 แสดงการต่อชุด CT Terminal แบบลัดวงจร (Short Circuit) ร่วมกับมิเตอร์วัดกระแส (Amp Meter)   รูปที่ 4 แสดงการนำมิเตอรวัดกระแส (Amp Meter) ออกเพื่อตรวจเช็คหรือสอบเทียบ        ...เพียงเท่านี้ก็ไม่ทำให้ CT (Current Transformers) ของท่านที่ใช้งานอยู่เกิดความเสียหาย และมีความปลอดภัยในการใช้งานอีกด้วย...      นอกจากนี้ CT (Current Transformers) ที่ใช้งานโดยทั่วไปนั้นก็มีหลายแบบ เช่น แบบร้อยสาย (Fixed) , แบบแกนแยก (Split Core) , แบบก้ามปู (Clamp-On) ดังรูป   แบบร้อยสาย (Fixed CT) แบบแกนแยก (Split Core CT) แบบก้ามปู (Clamp-On CT) MSQ-Series DP-Series  Q50-Series 500/5A, 1000/5A Flexible CT 30/5A...5000/5A 100/5A...5000/5A Flexible CENTER 25 3000A (Output mV) แนะนำการเลือกใช้งานในกรณีที่ CT สูงหรือต่ำกว่าค่าพิกัดกระแสที่กำหนดจะมีผลอย่างไร      โดยปกติ CT นั้นจะมีค่าความเที่ยงตรง (Accuracy) ที่เหมาะสมที่สุดเมื่อใช้งานตาม Ratio ค่ากระแส Maximum ตาม Spec ของ CT ตัวนั้น ๆ เช่น CT รุ่น MSQ-30 Ratio 100/5A Class 0.5 กรณีใช้ที่พิกัด 100 % (100 A) ค่า Accuracy = 0.5      หมายเหตุ : ย่านการใช้งานที่เหมาะสมไม่ควรต่ำกว่า 20% ของพิกัดกระแส CT โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าเป็นสัญญาณ Analog 4-20mA, 0-10VDC

Digital Signal Transmitter IM-Series คุณสมบัติ • แสดงผลของสัญญาณด้านอินพุตและเอาต์พุตผ่าน Display • อินพุตและเอาต์พุตแยกอิสระจากกัน (Isolation) • สามารถโปรแกรมเลือกสัญญาณด้านเอาต์พุตแบบ Direct หรือ Inverse ได้ • เอาต์พุตมีสูงสุด 2 เอาต์พุต และมี 4 Alarm Function • สามารถสื่อสารกับ Computer โดยผ่านพอร์ท RS-485 Signal Transmitter EM-Series คุณสมบัติ • อินพุตและเอาต์พุตแยกอิสระจากกัน (Isolation) • เอาต์พุตมีสูงสุด 2 เอาต์พุต • สามารถเลือกเอาต์พุตได้ทั้งสัญญาณ Direct หรือ Inverse • มี LED แสดงแรงดันไฟเลี้ยงการทำงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
ยืดอายุการใช้งานของพัดลมในตู้คอนโทรลด้วย Thermostat

     ต่อเนื่องจากเรื่องที่เราได้นำเสนอ "วิธียืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล, ตู้สวิทบอร์ด (MDB)" ไปแล้วนั้น ในหัวข้อนี้เราจะมาแนะนำอุปกรณ์ เทอร์โมสตัท (Thermostat) เป็นอุปกรณ์สำหรับควบคุมอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรลและทำการตัดต่อพัดลมระบายอากาศในตู้คอนโทรล (Cabinet Filter Fans) ไม่ให้ทำงานตลอดเวลา เพื่อยืดอายุการทำงานของพัดลม      ในกรณีที่อุณหภูมิภายในตู้คอนโทรลสูงกว่าค่าที่ตั้งไว้ (Setpoint) จะสั่งให้พัดลมทำงาน (ON) เพื่อระบายความร้อน ทำให้ประหยัดพลังงานและยืดอายุการทำงานของพัดลม (Fans) อีกด้วย (โดยปกติแนะนำให้ตั้งอุณหภูมิที่เหมาะสม 28-30 ํC)      โดยทั่วไปเทอร์โมสตัท (Thermostat) มีทั้ง เทอร์โมสตัทแบบอนาล็อก (Analog Thermostat) และ เทอร์โมสตัทแบบดิจิตอล (Digital Thermostat) สามารถเลือกประเภทตามลักษณะการใช้งาน 2 แบบ ดังนี้      1. เทอร์โมสตัท (Thermostat) ที่มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิภายในตัว (Internal Temperature Sensor) เพื่อวัดอุณหภูมิแวดล้อมบริเวณรอบ ๆ      2. เทอร์โมสตัท (Thermostat) ที่มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิแบบโพรบแยก (External Temperature Sensor) เพื่อเลือกตำแหน่งในการวัดอุณหภูมิ      นอกจากนี้ยังมีแบบเกลียวที่ติดกับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) สำหรับยึดในการติดตั้ง เพื่อตามความเหมาะสมตามลักษณะหน้างานอีกด้วย (ดังรูปต่อไปนี้) CMA-001 (Analog Thermostat with Sensor) CMA-001-E เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ PTC (2 kΩ) (Analog Thermostat External Sensor)   CMA-002 (Digital Thermostat with Sensor)    External Temp Sensor Prob       *** ข้อดีของเทอร์โมสตัทแบบดิจิตอล (Digital Thermostat) ทำให้ผู้ใช้งานรู้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในตู้และหากมีปัญหาสามารถแก้ไขได้ทันเวลา *** ลักษณะการติดตั้ง เทอร์โมสตัท (Thermostat) ภายในตู้คอนโทรล, ตู้ไฟฟ้า, ตู้สวิทบอร์ท (MDB)      ในกรณีที่ภายในตู้คอนโทรลมีความร้อนที่สะสมเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการติดพัดลมมากกว่า 1 ตัวภายในตู้ ดังนั้นควรเลือกใช้ เทอร์โมสตัท (Thermostat) ที่เหมาะสมกับการใช้งานในโหมด Heat/Cool เพื่อสลับการทำงานของพัดลมทั้ง 2 ตัว (ดังรูปวงจรการต่อ)

Image Alternative text
การจัดการบริหารวิเคราะห์และบันทึกค่าพลังงานไฟฟ้าด้วยระบบ SOFTWARE

KM-07 : Multifunction Power Meter คุณสมบัติ • มัลติมิเตอร์วัดและวิเคราะห์ค่าพลังงานทางไฟฟ้า • หน้าจอแสดงผลแบบ LCD • สามารถตั้งค่า PT Ratio และ CT Ratio ได้ • สามารถสื่อสารผ่านพอร์ท RS-485, MODBUS RTU Protocol • เอาท์พุทแบบ Pulse และ 4-20 mA (Option)   โปรแกรม Primus Soft Pro คุณสมบัติ      โปรแกรม Primus Soft Pro เป็นโปรแกรมสำหรับ Power Meter ที่สามารถนำนำข้อมูลที่ได้จากโปรแกรมนี้ไปวิเคราะห์เพื่อดูปริมาณการใช้ไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลา นำไปคิดค่าไฟฟ้าและยังสามารถควบคุมโหลดได้ในกรณีที่มีการ Peak ของ Kw เพื่อช่วยค่าไฟฟ้าได้ในที่สุด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601 ID LINE    : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
ลดปัญหามอเตอร์กระชากขณะออกตัว ด้วย Soft Start & Soft Stop

     มอเตอร์ (Motor) ถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนกระบวนการต่าง ๆ ในระบบอุตสาหกรรม และมอเตอร์เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ใช้งานในเครื่องจักร เช่น สายพานลำเลียงชิ้นงาน (Conveyer ), เครน, รอก, พัดลม (Blower) และปั๊มต่าง ๆ (Pump) โดยปกติการใช้งานมอเตอร์นั้นจะมีลักษณะการใช้งานแบบเดินต่อเนื่องหรือ เดิน ๆ หยุด ๆ ตามลักษณะการใช้งานที่ไม่เหมือนกันจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการที่จะยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์และลดการสึกหรอของอุปกรณ์อื่นที่ติดตั้งร่วมด้วย      ซึ่งโดยทั่วไปในการต่อใช้งานควบคุมมอเตอร์นั้นจะต่อตรง (Direct On Line) อาจจะทำให้มีปัญหาเรื่องการกินกระแสไฟฟ้าที่สูงในช่วงสตาร์ท หรืออาจเกิดการสึกหรอของแมคคานิคต่าง ๆ ได้ วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการที่จะลดปัญหาเหล่านี้ด้วยการต่อแบบมีอุปกรณ์ช่วยในการออกตัวสตาร์ทและหยุด (Soft Start & Soft Stop) เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างการต่อแบบ DOL (Direct On Line) กับการต่อร่วมกับ Soft Start Motor การสตาร์ทแบบต่อตรงมอเตอร์ DOL (Direct On Line) การสตาร์ทแบบต่อร่วม Soft Start & Soft Stop   กราฟแสดงกระแสขณะสตาร์ท ผลที่ได้จากการสตาร์ทแบบต่อตรงมอเตอร์ DOL(Direct On Line) ผลที่ได้จากการสตาร์ทแบบต่อร่วม Soft Start & Soft Stop ผลทางไฟฟ้า : เนื่องจากมอเตอร์มีแรงบิดที่สูง (Torque) ในการออกสตาร์ท (Start) ทำให้กินกระแสสูงมากกว่าปกติ ออกตัวไม่นิ่มนวลเกิดการกระชากและทำให้แรงดันไฟฟ้าตก ส่งผลให้อุปกรณ์ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ในระบบทำงานไม่เสถียร ผลทางกล : ทำให้อายุการใช้งานสิ้นส่วนของอุปกรณ์ Mechanical ที่ติดตั้งกับมอเตอร์ (Motor) สั้นลง เช่น การสึกหรอของเฟือง สายพานในไลน์ผลิตเกิดการกระตุกหรือสั่น ชิ้นงานตกหล่น ทำให้กระบวนการผลิตมีปัญหา เป็นต้น Soft Start & Soft Stop : นอกจากจะสามารถช่วยให้มอเตอร์ออกตัวและหยุดได้อย่างนิ่มนวล ไม่เกิดการกระชากแล้ว (Soft Start & Soft Stop) ยังช่วยลดกระแสในช่วงขณะสตาร์ทได้อีกด้วย และมีการปรับทางด้านแรงบิด (Torque) ทำให้มอเตอร์ออกตัวได้ในขณะที่มีโหลด (Load) เพื่อลดการสึกหรอของแมคคานิคและลดปัญหาชิ้นงานเสียหาย เนื่องจากเกิดการกระชากของมอเตอร์ช่วงสตาร์ท (Soft Start)

Image Alternative text
ลดปัญหาความชื้นในตู้ไฟฟ้าด้วยฮีตเตอร์ไล่ความชื้น (Anti-Condensation Heater)

     ภายในตู้ควบคุมไฟฟ้า (Electrical Control) มีอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย ทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Relays, Electronic Board, PCB, Magnetic, Inverter เป็นต้น การควบคุมอุณหภูมิ (Temperature) และความชื้น (Humidity) ภายในตู้ควบคุมไฟฟ้าจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก จะทำให้สามารถช่วยให้ยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์เหล่านี้ การควบคุมอุณหภูมิหรือการระบายความร้อนในตู้คอนโทรลมีการพูดถึงกันเยอะแล้ว เช่น การใช้พัดลมสำหรับตู้คอนโทรล (Filter Fan) หรือแอร์ตู้คอนโทรล (Air Condition for Control Boxes) แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงวิธีลดความชื้นในตู้คอนโทรลไฟฟ้าว่ามีวิธีใดบ้าง      ซึ่งการไล่ความชื้นในตู้ไฟฟ้าก็มีหลายวิธี เช่น การใช้หลอดไฟไล่ความชื้น การใช้ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) แต่เนื่องจากในตู้ไฟฟ้ามีพื้นที่จำกัด การติดตั้งอุปกรณ์จำพวกนี้จึงยุ่งยากและทำให้ภายในตู้ไม่สวยงาม       ปัจจุบันจึงได้มีการออกแบบอุปกรณ์ที่เรียกว่า ฮีตเตอร์ไล่ความชื้น (Anti-Condensation Heater) มาใช้สำหรับติดตั้งในตู้ไฟฟ้า สามารถติดตั้งได้ง่ายโดยยึดราง (Din rail) ภายในตู้ได้เลย ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งอีกด้วย ซึ่งโดยทั่วไปสามารถติดตั้งฮีตเตอร์ไล่ความชื้น (Anti-Condensation Heater) นี้ได้โดยตรง หรือต่อร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมความชื้น (Digital Hygrostat and Thermostat Controller) ก็ได้เช่นกัน (ดังรูป) รูปแสดงการติดตั้งฮีตเตอร์ไล่ความชื้น (Anti-Condensation Heater) ในตู้ไฟฟ้า โดยไม่ได้ต่อร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมความชื้น (Digital Hygrostat and Thermostat Controller)        ฮีตเตอร์ไล่ความชื้นนี้ เป็นฮีตเตอร์ที่ฝังไปในฮีตซิงค์ (Heat sink) ทำให้กระจายความร้อนภายในตู้คอนโทรลไฟฟ้าได้ดี และสามารถเลือกรุ่นที่มีกำลังวัตต์ที่เหมาะสมกับขนาดของตู้คอนโทรล ฮีตเตอร์ไล่ความชื้น (Anti-Condensation Heater) จะทำงานไล่ความชื้นตลอดเวลาเมื่อจ่ายไฟให้อุปกรณ์ (220VAC)      และสามารถนำฮีตเตอร์ไล่ความชื้น (Anti-Condensation Heater) ไปต่อร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมความชื้น (Digital Hygrostat and Thermostat Controller) เพื่อให้สามารถรักษาระดับความชื้นได้เหมาะสมกับการใช้งาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายในตู้ไฟฟ้าอีกด้วย (ดังรูป)                                                ฮีตเตอร์ไล่ความชื้น (Anti-Condensation Heater)                                  อุปกรณ์ควบคุมความชื้น (Digital Hygrostat and Thermostat Controller)   รูปแสดงวงจรการต่อฮีตเตอร์ไล่ความชื้น (Anti-Condensation Heater) ร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมความชื้น (Digital Hygrostat and Thermostat Controller)   --- ทั้งนี้การต่อสามารถทำได้ทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กับการใช้งานและความเหมาะสมของตู้ไฟ้ฟ้าที่ใช้หน้างาน ---

Image Alternative text
ค่า kW ติดลบ เกิดจากอะไร ?

     หลายท่านคงเจอปัญหาค่า kW ติดลบที่หน้างานกันอยู่บ้าง สำหรับการใช้งานมิเตอร์วัดค่าพลังงานทางไฟฟ้า (Power Meter) ทั้งที่การต่อสายใช้งานถูกต้อง แต่ทำไมค่า kW ที่แสดงหน้าจอของมิเตอร์ (Power Meter) ยังติดลบอยู่ ดังนั้นในหัวข้อนี้เราจะมาสรุปสาเหตุหลักที่ทำให้ค่า kW ติดลบ เมื่อต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ลดทอนกระแสหรือ CT (Current Trasnformer) ของมิเตอร์วัดค่าพลังงานทางไฟฟ้า (Multi Function Meter), เพาเวอร์มิเตอร์ (Power Meter) ดังนี้      แสดงการต่อ CT ที่ถูกต้อง มิเตอร์จะแสดงค่า kW ที่วัดได้ตามปกติ ดังรูป รูปแสดงการต่อขั้ว CT ที่ถูกต้อง ขั้วบวก (สีแดง) S1-K, ขั้วลบ (สีดำ) P1-K สาเหตุที่ทำให้ค่า kW ติดลบ      ต่อ CT สลับขั้ว มิเตอร์จะแสดงค่า kW ที่วัดได้จะมีค่าติดลบ ดังรูป รูปแสดงการต่อขั้ว CT ที่ไม่ถูกต้อง ขั้วบวก (สีแดง) S1-K, ขั้วลบ (สีดำ) P1-K   รูปแสดงมิเตอร์ค่าติดลบ เมื่อต่อ CT สลับขั้ว      หรือ หากต่อสายถูกต้องแล้ว แต่กลับด้านของตัว CT ก็จะทำให้ ค่า kW ที่วัดได้ติดลบเช่นกัน ดังรูป รูปแสดงการต่อ CT กลับด้าน โดยรูปที่ 1 P1-K อยู่ด้านบน, รูปที่ 2 P2-L อยู่ด้านบน แนวทางการแก้ไข • เช็คสายขั้วบวก ขั้วลบของ CT เข้าตรงหรือไม่ • เช็คทิศทางการไหลของกระแสเข้าตรงตามทิศทางหรือไม่ • ในกรณีที่ค่า kW ติดลบ ให้สลับขั้วสายของ CT โดยไม่ต้องถอดตัว CT ออก

Image Alternative text
ROTATION WARNING LIGHT ไฟหมุนสัญญาณแจ้งเตือน

  TLW-02 : ROTATION WARNING LIGHT ไฟหมุนสัญญาณแจ้งเตือน   คุณสมบัติ • ไฟหมุนสัญญาณแจ้งเตือน  มีให้เลือกทั้งไฟ AC และ DC  • ให้ความสว่างสูงและอายุการใช้งานได้นาน ด้วย LED High Power • 3 Pattern Flashing คือ Rotation Pattern, Flashing Pattern และ Strobe Pattern • Buzzer แจ้งเสียงเตือนได้ 3 แบบ ที่ความดัง 90 dB Max (at 1M.) และสามารถปรับระดับความดังของเสียงได้ตามความต้องการ • Push/Pull Connection สามารถใช้ได้ทั้ง NPN/PNP, Open Collector • RS-485 MODBUS RTU Protocol Communication • วัสดุป้องกันสนิม Protection IP55 (การติดตั้งแบบตั้งขึ้น), IP23 (การติดตั้งแบบกลับหัว) • สามารถมองเห็นได้ชัดเจน 360 ํ   การทำงาน      TLW-01/TLW-02 Rotation Warning Light สามารถติดตั้งได้ทั้งแบบตั้งขึ้นและแบบกลับหัวลง เหมาะกับการติดตั้งใช้งานภายในอาคาร ส่วนการติดตั้งภายนอกอาคารสามารถติดตั้งได้เฉพาะแบบตั้งขึ้นเท่านั้น      TLW-01/TLW-02 สามารถทํางานได้ 3 Pattern Flashing คือ Rotation Pattern (หมุนตลอดเวลา 175+-10 Flashes/Minute) Flashing Pattern (กระพริบ 55+-10 Flashes/Minute)Strobe Pattern (หมุนและกระพริบ 2 ครั้ง 75+-10 Flashes/Minute)      นอกจากนั้นยังมี Buzzer แจ้งเสียงเตือนในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานอยู่ไกลจากเครื่องจักรได้ 3 แบบ ที่ความดัง 90 dB Max (at 1M.) หรือส่งข้อมูลแจ้งเตือนผ่าน Computer ด้วย RS-485 ได้   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601, 090-197-9594 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
ประโยชน์ของไฟแจ้งเตือนสถานะเครื่องจักร (Signal Tower Light)

ไฟสัญญาณพร้อมเสียงแจ้งเตือนสถานะเครื่องจักร (Signal Tower Light) มีประโยชน์อย่างไรในงานอุตสาหกรรม      ปัจจุบันในโรงงานอุตสาหกรรม มีการใช้เครื่องจักรสำหรับช่วยในกระบวนการผลิต เช่น ไลน์ผลิต ไลน์คอนเวเยอร์ สายพาน หรือระบบลำเลียง เป็นต้น ทั้งอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดใหญ่  ซึ่งหากเครื่องจักรบางตัวไม่มีอุปกรณ์การแจ้งเตือนเพื่อทราบถึงสถานะการทำงาน อาจจะทำให้กระบวนการผลิตเกิดความผิดพลาดได้ เช่น เครื่องจักรเกิดความขัดข้องหรือหยุดการทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ ในวันนี้เราจะมาแนะนำถึงประโยชน์ของการติดตั้ง ไฟสัญญาณพร้อมเสียง (Signal Tower Light With Buzzer) สำหรับแจ้งเตือนสถานะการทำงานของเครื่องจักร ดังนี้ ประโยชน์ไฟสัญญาณพร้อมเสียง (Signal Tower Light With Buzzer)      • ช่วยลดเวลาในกระบวนการผลิต หากผู้ควบคุมเครื่องจักรต้องเดินไปตรวจเช็คเครื่องจักรอยู่บ่อย ๆ      • ช่วยแจ้งเตือนสำหรับผู้ควบคุมเครื่องจักรในกรณีที่เครื่องจักรมีปัญหาสามารถแก้ไขได้ทันเวลา      • ช่วยในการมองเห็นและได้ยินเสียง (Buzzer) สถานะของเครื่องจักร เพื่อการตรวจสอบในสภาวะปกติขณะเครื่องจักรทำงานหรือเครื่องจักรผิดปกติ      • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง ไม่เกะกะพื้นที่ปฏิบัติงาน หากต้องติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเตือนที่มีขนาดใหญ่และต้องลากสายระยะไกล รูปแสดงความหมายของชั้นสีของไฟสัญญาณพร้อมเสียง (Signal Tower Light With Buzzer)  แจ้งเตือนสถานะของเครื่องจักร      ดังนั้นหากผู้ใช้งานหรือผู้ควบคุมเครื่องจักรได้ทราบถึงประโยชน์ในการมีอุปกรณ์ไฟสัญญาณพร้อมเสียง (Signal Tower Light With Buzzer) กันไปบ้างแล้ว เราจึงขอแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการติดตั้งกับตู้คอนโทรลหรือเครื่องจักร โดยมีขนาด 40 mm. , 60 mm. และ 80 mm. ให้เลือกใช้งานเพื่อความเหมาะสมตามลักษณะการใช้งานต่าง ๆ ดังนี้ รูปแสดงลักษณะการติดตั้ง ไฟสัญญาณพร้อมเสียง (Signal Tower Light With Buzzer)   สำหรับติดตั้งแบบด้านข้าง 90 องศา (และรุ่นปรับได้ 2ทิศทาง) สำหรับติดตั้งแบบด้านบน (ตรง)      หากผู้ใช้งานต้องการเปลี่ยนสถานะแต่ละชั้นสีสำหรับแจ้งเตือนและถอดสลับชั้นสี ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ (ดังรูป) รูปแสดงการประกอบใส่-ถอด และเชื่อมต่อแบบง่ายของแต่ละชั้นสี      มีสีให้เลือกเพิ่มเติมอีก เช่น สีขาว (White), สีน้ำเงิน ( Blue) สูงสุด 5 ชั้นสี และมี Buzzer ส่งเสียงเตือนในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานอยู่ไกลจากเครื่องจักร ที่ความดัง 90 dB Max (at 1M.) หรือส่งข้อมูลแจ้งเตือนผ่าน Computer ด้วย RS-485ได้ รูปแสดงชั้นสี ไฟสัญญาณพร้อมเสียง 5 ชั้นสี (Signal Tower Light With Buzzer)      นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ประเภท ไฟหมุนสัญญาณแจ้งเตือน (Rotation Warning Light) ที่เหมาะสำหรับติดตั้งภายในอาคาร (IP 55) ซึ่งให้ความสว่างสูงด้วยเทคโนโลยี LED High Power สามารถมองเห็นได้ชัดเจน 360 องศา มีเสียงให้เลือกถึง 3 แบบด้วยกันและสามารถปรับระดับเสียงได้ รูปไฟหมุนสัญญาณแจ้งเตือน (Rotation Warning Light) รุ่น TLW-01 / TLW-02 Note : ติดตั้งภายนอกอาคาร (IP 23) ควรติดตั้งแบบตั้งขึ้นเท่านั้น และสามารถเลือกสีได้ เช่น แดง (RED), เหลือง (Yellow), เขียว (Green), สีน้ำเงิน (Blue)

Image Alternative text
ทรานสดิวเซอร์ (Transducer) กับ ทรานสมิตเตอร์ (Transmitter) แตกต่างกันอย่างไร

Transducer vs Transmitter        ปัจจุบันกระบวนการผลิตในงานอุตสาหกรรม  มีการใช้งานอุปกรณ์ประเภทเครื่องมือวัดและควบคุมอยู่หลายชนิด ทั้งในรูปแบบของ เซนเซอร์ (Sensor), ทรานสดิวเซอร์ (Transducer), คอนโทรลเลอร์ (Controller) ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะนำมาใช้ในการวัดค่าต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ เช่น อุณหภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity), ปริมาณอัตราการไหล (Flow Rates), การเคลื่อนที่หรือการแสดงตำแหน่ง (Linear Displacement), ความดัน (Pressure) เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงค่าต่าง ๆ เหล่านี้ไปเป็นพลังงานอีกรูปแบบหนึ่ง และนำผลของค่าที่ได้ไปทำการบ่งบอกสถานะการทำงานหรือปริมาณในการวัดค่าต่าง ๆ แต่ในบางครั้งผู้ใช้งานยังคงมีความสับสนเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง เซนเซอร์ (Sensor), ทรานสดิวเซอร์ (Sensor Transducer) และ ทรานสมิตเตอร์ (Transmitter)        ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะพูดถึงความแตกต่างของ เซนเซอร์ (Sensor), ทรานสดิวเซอร์ (Transducer) และ ทรานสมิตเตอร์ (Transmitter) เพื่อให้ผู้ใช้งานมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นและสามารถเลือกใช้งานอย่างเหมาะสม ดังนี้        เซนเซอร์ (Sensor) เป็นอุปกรณ์ตรวจจับการเปลี่ยนแปลง ที่สามารถรับรู้และบ่งบอกสถานะ ปริมาณในการวัดของอุปกรณ์เหล่านั้นได้ เช่น ค่าอุณหภูมิ (Temperature), ความชื้น (Humidity), ปริมาณอัตราการไหล (Flow Rates), ตำแหน่ง (Linear Displacement), ความดัน (Pressure), และยังมีเซนเซอร์แบบอื่น เช่น โฟโต้เซนเซอร์ (Photo Electric Sensor), พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Proximity Sensor) เพื่อบ่งบอกสถานะทำงาน เช่น สถานะ ON-OFF เป็นต้น        ทรานสดิวเซอร์ (Transducer) ทำหน้าที่ เปลี่ยนแปลงพลังงานจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นพลังงานอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น อุณหภูมิ (Temp), ความชื้น (Humidity), แรงกด (Pressure), อากาศ (Air), อัตราการไหล (Flow Rates), แรงตึงเครียด (Strain) ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเป็นพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แรงดันไฟฟ้า (Voltage), กระแสไฟฟ้า (Current), ความร้อน (Thermal), แสงสว่าง (Light), ความต้านทาน (Resistance)  เป็นต้น      ยกตัวอย่าง อุปกรณ์เครื่องมือวัดที่เป็น เซนเซอร์ (Sensor) และ ทรานสดิวเซอร์ (Transducer) ดังนี้ เซนเซอร์วัดระดับของเหลว เอาท์พุต ความต้านทาน (Output Resistance) - Level Switch, Level Sensor   เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ (Output mV, Ohm) - เทอร์โมคัปเปิ้ล (Thermocouple), อาร์ทีดี (RTD PT100)                             เซนเซอร์วัดการเคลื่อนที่, ระยะทางหรือตำแหน่ง เอาต์พุต ความต้านทาน (Output Resistance) - Linear Scale                           เซนเซอร์วัดน้ำหนัก (แรงกด, แรงดึง) (Output mV/V) - โหลดเซล Load cell      ทรานสมิตเตอร์ (Transmitter) คือ ตัวที่ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจากอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ  เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แรงดัน ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน ที่มีสัญญาณทางด้านเอาต์พุต เช่น 0-10Vdc, 4-20mA เป็นต้น      ยกตัวอย่าง อุปกรณ์เครื่องมือวัดที่มีสัญญาณทางด้านเอาต์พุต เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน ดังนี้         อุปกรณ์วัดความชื้นและอุณหภูมิ แปลงสัญญาณอนาล็อก (Output 4-20mA,0-10VDC) - Humidity & Temperature Transmitter อุปกรณ์วัดแรงดัน แปลงสัญญาณอนาล็อก (Output 4-20mA, 0-10VDC) - Pressure Transmitter            ดังนั้น จึงสรุปได้อย่างเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ อุปกรณ์ทุกตัวที่เป็นเซนเซอร์ก็คือทรานสดิวเซอร์ (Transducer) นั่นเอง แต่ทรานสมิสเตอร์ (Transmitter) ก็คือตัวแปลงค่าต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แรงดัน ระดับน้ำ แรงกด แล้วนำสัญญาณที่ได้ผ่านวงจรทางไฟฟ้ามาเพื่อแปลงเป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน เพื่อมาใช้ในการวัดและควบคุมกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม .....Link สินค้าที่เกี่ยวข้อง..... https://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=17 https://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=35 https://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=38

Image Alternative text
ฮีตเตอร์ขาดเกิดจากอะไร ?

     ฮีตเตอร์ (Heater) คือ อุปกรณ์ให้ความร้อนแก่ชิ้นงาน โดยอาศัยหลักการนำพาความร้อนโดยผ่านขดลวดตัวนำ (R) ทำให้เกิดกระแสขึ้น ในปัจจุบันมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรม, อุตสาหกรรมอาหาร, อุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น งานอบสี, บรรจุภัณฑ์, งานขึ้นรูปพลาสติก เป็นต้น      และเนื่องจากฮีตเตอร์ (Heater) มีอายุการใช้งาน หากผู้ใช้งานเข้าใจวิธีดูแลรักษาก็จะทำให้ฮีตเตอร์ (Heater) มีอายุการใช้งานได้ยาวนานและไม่ขาดง่าย มีประสิทธิภาพต่องานอุตสาหกรรมของท่านเพิ่มขึ้น      วันนี้เราจะมาแนะนำถึงสาเหตุและวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ฮีตเตอร์เกิดความเสียหายหรือฮีตเตอร์ขาด ที่เกิดจากการทำงานหนักตลอดเวลา ฮีตเตอร์ขาดเกิดจากอะไร สาเหตุ วิธีการป้องกัน 1. การจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสม เช่น ฮีตเตอร์ 220V จ่ายแรงดัน 380V ทำให้เสียหาย 2. กำลังวัตต์ที่ไม่เหมาะสมกับขนาดฮีตเตอร์ เช่น ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) ที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 5W/CM2 3. การเลือกใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสมกับงาน เช่น ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) นำไปใช้งานกับน้ำที่มีสารเคมี แต่เลือกใช้วัสดุที่ไม่สามารถทนต่อสารเคมีได้ สแตนเลส SUS304 เป็นต้น 4. คราบตะกรันติดที่ท่อฮีตเตอร์ เช่น ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ที่สะสม ถ้าไม่หมั่นทำความสะอาดจะทำให้การถ่ายเทความร้อนไม่ดี ทำให้ฮีตเตอร์ทำงานหนักขึ้น 5. อุปกรณ์ควบคุม เช่น Temperature Controller หรือ Thermostat ไม่ตัดการทำงาน ทำให้ฮีตเตอร์ทำงานตลอดเวลา 1. จ่ายแรงดันที่เหมาะสมตามสเปคการใช้งาน เช่น  ฮีตเตอร์ 220V จ่ายแรงดัน 200V 2. ใช้งานในกำลังวัตต์ที่เหมาะสมตามประเภทของฮีตเตอร์ เช่น ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) ไม่ควรเกิน 5W/CM2 3. เลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) ที่นำไปใช้งานกับน้ำที่มีสารเคมี ควรเลือกใช้วัสดุที่ทนต่อการกัดกร่อน สแตนเลส SUS316, SUS316L เป็นต้น 4. หมั่นทำความสะอาดคราบตะกรันที่ขั้วหรือท่อฮีตเตอร์ เพื่อไม่ให้ฮีตเตอร์ทำงานหนักจนเกินไป 5. ควรมีอุปกรณ์การแจ้งเตือนกรณีที่ฮีตเตอร์เกิดความผิดปกติ เช่น ตัวเช็คฮีตเตอร์ขาด เช็คกระแสเกินที่สามารถต่อร่วมกับอุปกรณ์ที่แจ้งเตือนแสงและเสียง  Tower Light พร้อม Buzzer      Note : นอกจากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว การเลือกใช้ฮีตเตอร์ตามประเภทที่เหมาะสมกับหน้างานก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ ซึ่งเราก็มีข้อมูลสำหรับประเภทของฮีตเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภทตาม Link ด้านล่างนี้เลยค่ะ http://www.heaterprimus.com/ https://www.primusthai.com/

Image Alternative text
RTD Pt100 แบบ 2 สาย 3 สาย และ 4 สาย ต่างกันอย่างไร

     ในงานอุตสาหกรรมเรามักจะพบเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิหลากหลายชนิด ทั้ง Thermocouple, Thermistor แบบ  NTC PTC, RTD แบบ Pt100, Pt500, Pt1000  แต่วันนี้เราจะพูดเฉพาะ RTD (Resistance Temperature Detector)  หรือบางคนนิยมเรียกกันว่า Pt100 โดย Pt100 เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิที่อาศัยหลักการของความต้านทาน คือ เมื่ออุณหภูมิที่ 0 ํC ค่าความต้านทานจะมีค่า 100 โอห์ม ถ้ามีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นค่าความต้านทานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย แต่เคยทราบไหมว่า Pt100 นอกจาก แบบ 3 สาย แล้ว ยังมี Pt100 ทั้งแบบ 2 สาย และ 4 สายด้วย แล้ว Pt100 แบบ 2 สาย, 3 สาย, 4 สาย แตกต่างกันอย่างไร และเหมาะสมกับงานแบบไหนบ้าง เรามาดูกัน        Pt100 แบบ 2 สาย 3 สาย และ 4 สาย ต่างกันอย่างไร และแบบไหนเหมาะสมกับการใช้งานอย่างไร  ก่อนอื่นนั้นเรามาดูโครงสร้าง พีที100 (Rtd Pt100) แต่ละแบบกันก่อนว่าเป็นอย่างไร รูปโครงสร้างและสัญลักษณ์ Pt100 แบบ 2 สาย        RTD (Pt100) แบบ 2 สาย (2-Wire Rtd Pt100) เหมาะกับงานที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก และไม่เหมาะสมกับงานที่มีระยะทางในการเดินสายไกล ๆ เนื่องจากจะทำให้ค่าที่วัดไม่ตรง เนื่องมาจากความต้านทานภายในสาย รูปโครงสร้างและสัญลักษณ์ Pt100 แบบ 3 สาย        RTD (Pt100) แบบ 3 สาย (3-Wire Rtd Pt100) เหมาะกับงานที่ต้องการความละเอียดและมีความแม่นยำในการวัดกว่าแบบ 2 สาย ระยะทางจะไม่ค่อยมีผลต่อความผิดเพี้ยนในการวัด เนื่องจากมีสายเพิ่มอีก 1 เส้น ที่มาต่อขนานเพื่อชดเชยความผิดพลาดของความต้านทานที่เกิดจากการต่อสาย และเป็นที่นิยมมากที่สุดในอุตสาหกรรม รูปโครงสร้างและสัญลักษณ์ Pt100 แบบ 4 สาย        RTD (Pt100) แบบ 4 สาย (4-Wire Rtd Pt100)  เหมาะกับงานที่ต้องการความละเอียดมากที่สุดกว่าทั้งแบบ 2 สาย และ 3 สาย  มีความแม่นยำสูง สามารถชดเชยความต้านทานของสายตัวนำได้ทั้งหมด และเหมาะกับการใช้วัดอุณหภูมิในห้องปฏิบัติการและห้อง Lab ทดสอบ ต่าง ๆ เพื่อต่อร่วมกับ Recorder หรือ Data Logger เพื่อบันทึกค่าและเก็บข้อมูลอุณหภูมิ        จากที่ได้ดูโครงสร้างภายใน Pt100 แบบ 2 สาย, Pt100 แบบ 3 สาย และ Pt100 แบบ 4 สาย กันไปแล้วนั้น นอกจากนี้เรายังมี Rtd Pt100 ในรูปแบบต่าง ๆ ตามลักษณะการใช้งานมาฝากกันค่ะ   Rtd Pt100 แบบหัวกระโหลกอลูมิเนียม มีเกลียวสำหรับยึดหน้างาน   Rtd Pt100 แบบหัวกระโหลก Blackalite มีเกลียวสำหรับยึดหน้างาน เหมาะสำหรับงานที่มีสารเคมี   ..........สามารถผลิตตามแบบต่าง ๆ ได้ดังนี้..........    

Image Alternative text
ทำไมต้องเลือกใช้มิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้าแบบ True RMS (Electrical Meter True RMS)

     มิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้า (Electrical Meter) โดยทั่วไปนั้นมีมากมายหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น มิเตอร์แบบพกพา (Clamp-On Meter) และ มิเตอร์ติดหน้าตู้แบบดิจิตอล (Digital Panel Meter) ที่วัดค่าต่าง ๆ ทางไฟฟ้า ทั้ง 1เฟส (Single Phase) และ 3 เฟส (Three Phase) เช่น Volt AC/DC, Amp AC/DC, Watt, kWh-MD, Hertz, PF เป็นต้น     แล้วทำไมถึงต้องเลือกใช้มิเตอร์วัดค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ทางไฟฟ้าแบบ True RMS (Electrical meter True RMS)      เนื่องจากในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีเครื่องมือวัดและควบคุมหลากหลายชนิดและอุปกรณ์บางตัวอาจเป็นตัวสร้างสัญญาณฮาร์โมนิกส์ Harmonic ให้เกิดขึ้น ซึ่งตัวที่ทำให้เกิดสัญญาณฮาร์โมนิกส์ เช่น บัลลาสอิเล็กทรอนิกส์, อินเวอร์เตอร์ (Inverter), UPS หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปคลื่นทางไฟฟ้าที่มีความผิดเพี้ยนของรูปคลื่นสัญญาณ จึงส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้      ในการเลือกใช้มิเตอร์วัดค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ทางไฟฟ้าควรเลือกให้เหมาะสม เพื่อที่จะได้วัดค่าต่าง ๆ ทางไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำและเที่ยงตรง ซึ่งนำผลที่ได้จากการวัดนี้ไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางไฟฟ้าและตัดสินใจในการเลือกหาวิธีป้องกันเพื่อปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้ดียิ่งขึ้น      ปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าได้มีการออกแบบให้มีการวัดค่าต่าง ๆ ทางไฟฟ้า เช่น กระแสไฟฟ้า (Current), แรงดันไฟฟ้า (Voltage), วัตต์ (Watt), กิโลวัตต์ฮาว (Kilowatt Hour) ให้มีความแม่นยำและเที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น แต่โดยทั่วไปมิเตอร์จะมีลักษณะการวัดอยู่ 2 แบบ คือวัดแบบค่าเฉลี่ย (Average Value Meter) และ วัดแบบ True RMS ในการวัดทั้ง 2 แบบนี้ต่างกันอย่างไร และควรเลือกใช้มิเตอร์(Meter) แบบใดจึงจะเหมาะสมกับงาน        มิเตอร์ชนิดวัดค่าเฉลี่ย (Average Value Multimeter) VS มิเตอร์ชนิด True RMS      1. การวัดแบบ Average คือ การวัดแบบค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับงานที่มีโหลดเป็นเชิงเส้น เช่น ฮีตเตอร์หรือมอเตอร์ ที่ความถี่ 50 Hz และไม่มีสัญญาณ Harmonic เพิ่มเข้ามา หากอุปกรณ์เหล่านี้มีสัญญาณ Harmonic เพิ่มเข้ามา และทำให้รูปคลื่นผิดเพี้ยนไป หากเราใช้มิเตอร์แบบ Average วัดค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ทางไฟฟ้านั้นจะทำให้วัดได้ไม่เที่ยงตรง          2. การวัดแบบ True RMS คือ การวัดแบบค่าเฉลี่ยกำลังสอง RMS (Root Mean Square) เหมาะสำหรับงานที่มีโหลดไม่เป็นเชิงเส้น เช่น UPS, Inverter, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น มิเตอร์แบบ True-RMS สามารถวัดพารามิเตอร์ต่าง ๆ ทางไฟฟ้าที่มีสัญญาณ Harmonic เพิ่มอยู่ในระบบได้เที่ยงตรงกว่ามิเตอร์ที่มีการวัดแบบ Average                จากสมการข้างต้น ทั้งค่า RMS จะมีค่ามากกว่าค่า Average ที่แตกต่างกันเล็กน้อย ในรูปคลื่น Sine wave (ดังรูป)          และถ้าหากกราฟไม่เป็นรูปคลื่น Sine wave ค่า RMS และค่า Average ก็จะยิ่งแตกต่างกันมากขึ้น (ดังตาราง)          ดังนั้นผู้ใช้งานต้องพิจารณาในการเลือกใช้มิเตอร์วัดค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า (Electrical Meter) ให้เหมาะสมกับงานในราคาที่เหมาะสมกันด้วยนะคะ   เราขอแนะนำมิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้า (Electrical Meter) แบบ True RMS ราคาถูกและมีหลายแบบให้เลือกใช้งาน     Digital Volt Meter KM-09N-V                      Digital Hertz Meter KM-09N-H                   Digital Amp Meter KM-09N-A   สินค้าที่เกี่ยวข้อง      #ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ (Digital Multimeter), #มัลติมิเตอร์ (Multimeter), #มิเตอร์วัดค่าพลังงานทางไฟฟ้า (Multifunction Meter), #มิเตอร์ติดหน้าตู้ (Panel Meter), #มิเตอร์แบบติดราง (Din Rail Multimeter), #มิเตอร์วัด Volt AC/DC, Amp AC/DC, Watt, kWh-MD, Hertz, PF         #มัลติมิเตอร์แบบพกพา (Clamp-On Meter) AC/DC True RMS, Multifunction Meter,AC/DC True RMS Clamp Meter, Din Rail Meter, Clip Amp      

Image Alternative text
การนำไปใช้งานของ Signal Transmitter และ การต่อใช้งาน Signal Transmitter แบบต่างๆ

           ในระบบเครื่องมือวัดและควบคุมอัตโนมัติในงานอุตสาหกรรม เรามักพบเจออุปกรณ์ต่างๆ เช่น PLC (Programmable Logic Controller) , Temperature Controller, Process Controller, Indicator , Recorder ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้สามารถรับ Input ได้ทั้ง Thermocouple , PT100 , 4-20mA , 0-10V แต่ในบางครั้งอุปกรณ์ที่เรามีอยู่ อาจมีสัญญาณที่ต่างชนิดกันทำให้ไม่สามารถต่อร่วมกันได้            วันนี้เราจะมาแนะนำ Signal Transmitter ที่จะช่วยให้คุณสามารถนำอุปกรณ์ที่มีสัญญาณต่างชนิดกัน ให้สามารถต่อร่วมกันได้ อีกทั้งยังมีการแยกอิสระกัน ระหว่าง Input กับ Output (Isolation) เพื่อช่วยไม่ให้เกิดความเสียหายทางด้าน Output หากด้าน Input เกิดปัญหา และยังช่วยในการเพิ่ม Impedance ทางด้าน output อีกด้วย ยกตัวอย่างการนำไปใช้งาน เช่น เรามี Pressure Transmitter ย่านการวัด 0-10 bar output 0-5V ต้องการต่อร่วมกับ Indicator ที่รับสัญญาณ Input 4-20mA โดยปกติจะไม่สามารถต่อร่วมกันได้ เราจึงใช้ตัว Signal Transmitte ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแปลงสัญญาณจาก 0-5V เป็น 4-20 mA หรือ ในบางกรณีเราต้องการ Signal Transmitte ที่มี 2 Output คือ OUTPUT 1 สัญญาณออกเป็น 4-20mA Output 2 สัญญาณออกเป็น 0-10 V หรือ OUTPUT 1 สัญญาณออกเป็น 4-20mA Output 2 สัญญาณออกเป็น RS 485 เราก็สามารถเลือกอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้มาต่อร่วมกัน ตามความเหมาะสมในการใช้งานตามลักษณะงานต่างๆ ดังรูปด้านล่างนี้ รูปแบบ การต่อใช้งาน Signal Transmitter แบบต่างๆ  อุปกรณ์แปลงสัญญาณ(Transmitter)จาก Pressure Transmitter 0-5V เป็น 4-20mA อุปกรณ์แปลงสัญญาณ(Transmitter)จาก 0-5A เป็น 4-20mA เป็น 4-20mA และ 0-10V อุปกรณ์แปลงสัญญาณ(Transmitter)จากThermocouple /PT100 เป็น 4-20mA และ 0-10V อุปกรณ์แปลงสัญญาณ(Transmitter)จาก Humidity Transmitter(4-20mA) เป็น 4-20mA และ 0-10V อุปกรณ์แปลงสัญญาณ(Transmitter)จาก Humidity Transmitter(4-20mA) เป็น 4-20mA และ RS485

Image Alternative text
หลักการทำงานของ Signal Transmitter แบบต่าง ๆ

     Signal Transmitter อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณอนาลอกมาตรฐาน หรือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางอินพุตให้เป็นสัญญาณอนาลอกมาตรฐาน      มีประโยชน์ในการใช้งานอย่างไร วันนี้เราจะมากล่าวถึงอุปกรณ์ตัวนี้กัน เนื่องจากระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรมประกอบด้วยอุปกรณ์เครื่องมือวัดหลายชนิดต่อร่วมกันเพื่อ รับ-ส่ง สัญญาณระหว่างกัน ซึ่งมีหลากหลายสัญญาณ จึงต้องมีการกำหนดสัญญาณที่เป็นสากลขึ้นเพื่อควบคุมอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ ทั้งสัญญาณประเภทนิวเมติก (3-15 psi) และสัญญาณทางไฟฟ้า (4-20mA,0-10Vdc) เช่น อุปกรณ์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter), อุปกรณ์วัดความชื้นและอุณหภูมิ (Humidity&Temperature Transmitter), เซ็นเซอร์อุณหภูมิ (Temperature Transmitter) เป็นต้น       ส่วนประเภทของสัญญาณอนาลอกมาตรฐานทางไฟฟ้า มี 2 ประเภท ดังนี้      1.สัญญาณกระแสไฟฟ้ามาตรฐานเป็นสัญญาณในรูปแบบของกระแสตรง (DC Current) 4-20mA คือ เมื่อวัดค่าที่ 0% กระแสที่ออกทางด้านเอาต์พุตจะได้ 4mA และเมื่อวัดค่าที่ 100% กระแสที่ออกทางด้านเอาต์พุตจะได้ 20mA (ดังตัวอย่างกราฟ) เป็นสัญญาณที่นิยมใช้กันอย่างมาก เนื่องจากสามารถส่งสัญญาณได้ระยะไกล และสัญญาณรบกวนจะน้อยกว่าสัญญาณที่เป็นแรงดันไฟฟ้า  กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่วัดและสัญญาณของกระแส ทั้งแบบ Direct และ Inverse        ตัวอย่าง รูปการต่อใช้งานเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple) ร่วมกับ Transmitter (1Channel) เพื่อแปลงเป็นสัญญาณ 4-20mA และต่อร่วมกับอุปกรณ์ควมคุมแบบโปรแกรม PLC (Vision Programmable Logic Controller)            กรณีที่ต้องการวัดกระแสจากมอเตอร์โดยต่อผ่านตัว CT 500/5A เพื่อเข้าอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Current Transmitter) จาก 0-5A/AC เป็น 4-20mA และต่อร่วมกับเครื่องวัดค่าแสดงผล (Digital Indicator) และเครื่องบันทึกค่า (Recorder) ในจุดเดียวกันก็สามารถทำได้โดย Transmitter ที่เป็นรุ่นที่มีเอาต์พุต 2 Channel ซึ่งจะแยกอิสระจากกัน (Isolation) ดังรูป        ตัวอย่าง รูปการต่อใช้งาน CT 500/5A (Current Transformer) ร่วมกับ Transmitter (2Channel) เพื่อแปลงเป็นสัญญาณ 4-20mA และต่อร่วมกับอุปกรณ์เครื่องวัดค่าแสดงผล (Digital Indicator) และเครื่องบันทึกค่า (Recorder)         2. สัญญาณแรงดันไฟฟ้ามาตรฐานเป็นสัญญาณในรูปแบบของแรงดันไฟฟ้า (DC Voltage) 0-10VDC คือ เมื่อวัดค่าที่ 0% กระแสที่ออกทางด้านเอาต์พุตจะได้ 0Vdc และเมื่อวัดค่าที่ 100% กระแสที่ออกทางด้านเอาต์พุตจะได้ 10Vdc (ดังตัวอย่างกราฟ) ซึ่งสัญญาณมาตรฐานแบบแรงดันนี้ไม่เหมาะกับการส่งสัญญาณระยะไกล เนื่องจากจะเกิดความต้านทานของสายสัญญาณขึ้นและทำให้เกิดสัญญาณรบกวนได้ง่าย   กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่วัดและสัญญาณของแรงดัน ทั้งแบบ Direct และ Inverse        กรณีที่ต้องการวัดกระแสโดยต่อผ่านตัว R Shunt เพื่อเข้าอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Current Transmitter) จาก 0-60mV เป็น 4-20mA และต่อร่วมกับเครื่องวัดค่าแสดงผล 2 ตัว (Digital Indicator) ในจุดเดียวกัน ก็สามารถทำได้โดย Transmitter ที่เป็นรุ่นที่มีเอาต์พุต 2 Channel ซึ่งจะแยกอิสระจากกัน (Isolation) ดังรูป            นอกจากนี้อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณอนาลอกมาตรฐาน (Signal Transmitter) นี้ ยังสามารถรับอินพุตประเภท AC/DC Current, AC/DC Voltage, Resistance, Frequenc , RPM, Strain-gauge และ Multi Input for Thermocouple, PT100 (RTD) เช่น สัญญาณ 4-20mA, 0-20mA, 0-5Vdc, 0-10Vdc โดย อินพุต-เอาต์พุตแยกอิสระจากกัน (Isolation) ทำให้ไม่เกิดการรบกวนสัญญาณต่อกัน และหากสัญญาณด้านอินพุตเกิดการช็อตก็จะไม่มีผลกระทบต่อสัญญาณด้านเอาต์พุต   สินค้าที่เกี่ยวข้อง เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple) อุปกรณ์แปลงอุณหภูมิเป็นสัญญาณอนาลอก (Thermocouple Transmitter) อุปกรณ์แปลงแรงดัน 0-60mV เป็นสัญญาณอนาลอก 0-10Vdc(Voltage Transmitter) อุปกรณ์แปลงกระแส 0-5A/AC เป็นสัญญาณอนาลอก 4-20mA (Current Transmitter) อุปกรณ์แปลงอุณหภูมิเป็นสัญญาณอนาลอก (Thermocouple Transmitter) อุปกรณ์แปลงกระแส 0-5A/AC เป็นสัญญาณอนาลอก 4-20mA (Current Transmitter) Vision Programmable Logic Control+HMI (PLC+HMI) อุปกรณ์ลดทอนกระแส (Current Transmitter) CT500/5A อุปกรณ์แสดงผล รับสัญญาณ 4-20mA (Digital Indicator with Alarm) เครื่องบันทึกอุณหภูมิแบบไม่ใช้กระดาษ (Paperless Recorder)  

Image Alternative text
การเชื่อมต่อ I/O Modules แบบไร้สายในยุค IOT (Internet of Things)

     เนื่องด้วยปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องมือวัดและควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการเชื่อมต่อสัญญาณรูปแบบต่าง ๆ เช่น Analog Input/Output (I/O Modules) เช่น 4-20mA, 0-10Vdc จาก Pressure Transmitter, Humidity Transmitter, Level Transmitter และ Digital Input/Output (I/O Modules) จาก Photoelectric Sensor, Proximity Switch, Encoder, Contact, NPN, PNP เป็นต้น      นอกจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Input/Output ในรูปแบบสัญญาณทางไฟฟ้าแล้ว ยังมีการสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์เครื่องมือวัดกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านระบบ Modbus RTU โดยการต่อสาย 2 เส้น แบบ RS485 (2-Wire RS485) กับระบบการเชื่อมต่อผ่าน Modbus TCP/IP โดยสาย LAN      แต่วันนี้เราจะมาแนะนำทางเลือกในการเชื่อมต่ออุปกรณ์  I/O Modules ของ Input/Output ทั้งแบบ Digital Input และ Digital Output แบบไร้สาย (Wireless I/O Modules) เพื่อลดความยุ่งยากในการเดินสายไฟและเพื่อเกิดประโยชน์ในการใช้งาน         ดังรูปแสดงการเชื่อมต่ออุปกรณ์เครื่องมือวัดและควบคุมผ่านการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ รูปการเชื่อมต่อ I/O Modules กับระบบเครื่องมือวัดและควบคุม ผ่านเครือข่าย RS485                  รูปการเชื่อมต่อ I/O Modules กับระบบเครื่องมือวัดและควบคุม ผ่านเครือข่าย RS485 ด้วย ด้วย Modbus RTU โดยต่อแบบ 2-Wire ร่วมกับอุปกรณ์ Converter (USB RS422/RS485)           Modbus RTU โดยต่อร่วมกับอุปกรณ์ Converter (TCP RS485/RS232 WIFI) เพื่อลดการเดินสาย     รูปการเชื่อมต่อ I/O Modules กับระบบเครื่องมือวัดและควบคุมผ่านเครือข่าย Ethernet                   รูปแบบการเชื่อมต่อ I/O Modules กับระบบเครื่องมือวัดและควบคุมผ่านเครือข่าย Ethernet ด้วย Modbus TCP โดยสาย LAN ผ่าน Hub Switch                                                                        ด้วย Modbus TCP โดยต่อร่วมกับอุปกรณ์ Hub Switch WIFI เพื่อลดการเดินสาย   อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้การเชื่อมต่อของสัญญาณมีความเสถียรภาพหรือไม่นั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ - การออกแบบ - พื้นที่ของการกระจายสัญญาณ หรือ สัญญาณรบกวน - ส่วนประกอบของอุปกรณ์ IT ที่ใช้ ( Specification) , ความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูล - สภาพอากาศแวดล้อม , ระยะทางระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อ เป็นต้น