Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text
PHOTOELECTRIC SENSORS AMPLIFIER BUILT-IN TYPE

PHOTOELECTRIC SENSORS AMPLIFIER BUILT-IN TYPE Z2 Series : Low Cost/Small Type คุณสมบัติ • เป็น Photoelectric Sensor สำหรับตรวจจับวัตถุ โดยออกแบบและพัฒนามาให้มีคุณภาพในการตรวจจับสูง • เหมาะกับงานตรวจจับ เช่น ตรวจนับล้อแม็กรถยนต์ เป็นต้น • เอาต์พุตแบบ NPN และ PNP Open Collector • มีระยะตรวจจับได้ไกล 25 M. (สำหรับรุ่น Thru-Beam) พร้อมปุ่มปรับความไวในการตรวจจับ 1 Turn Volume • ระดับป้องกัน IP67 APPLICATION Z2 Series C2 Series : M18 Cylindrical Type   คุณสมบัติ • เป็น Photoelectric Sensor สำหรับตรวจจับวัตถุ โดยไม่คำนึงสีพื้นหลังของวัตถุ • มีความแม่นยำในการตรวจจับสูง เช่น ตรวจนับชิ้นงานบนรางคอนเวเยอร์ เป็นต้น • เอาต์พุตแบบ NPN และ PNP Open Collector • มีระยะตรวจจับได้ไกล 20 M. (สำหรับรุ่น Thru-Beam) พร้อมปุ่มปรับความไวในการตรวจจับ 1 Turn Pot • รูปทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 mm. • ระดับป้องกัน IP67 APPLICATION C2 Series สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-880-8240, 090-197-9601 ID LINE    : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
EM-Series : Signal Transmitter

  Model : EM-Series Product Name : Signal Transmitter คุณสมบัติ (Specification) • อุปกรณ์แปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน 4-20mA , 0-10VDC • มีสัญญาณอินพุตให้เลือกทั้ง TC , RTD , 4-20mA , 0-10VDC , 0-500VDC , 0-500VAC , 0-5AAC (CT Input) และ Resistance ได้ (ระบุตอนสั่งซื้อ) จุดเด่นของสินค้า (Selling Point) • สามารถเลือกโปรแกรม สัญญาณอนาล็อกทางด้าน Output ให้เป็น Direct หรือ Inverse ได้     - Direct คือ Input แปรผันตรงกับ Output     - Inverse คือ Input แปรผกผันกับ Output • มีให้เลือกทั้งรุ่น 1 Input/1 Output , 1 Input/2 Output ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ (Benefit) • กรณีที่เกิดปัญหาทางด้าน Input จะไม่ส่งผลกระทบต่อสัญญาณทาง Output  เพราะตัวอุปกรณ์จะช่วยให้สัญญาณแยกอิสระจากกัน (Isolate) • ขนาดเล็กและบางทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง และสามารถยึดอุปกรณ์บนรางรีเลย์ (Din Rail) ได้เลย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9603, 090-197-9601 ID LINE    : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
IM-Series : Digital Signal Transmitter

  Model : IM-Series Product Name : Digital Signal Transmitter คุณสมบัติ (Specification) • อุปกรณ์แปลงสัญญาณไฟฟ้า ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน 4-20mA , 0-10VDC • มีหน้าจอแสดงผลแบบ Digital เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงทางด้านอินพุตได้ • รับอินพุต Universal ได้แก่ TC , RTD , 4-20mA , 0-10VDC , 0-5VDC (สำหรับรุ่น IM-A) • มีรุ่นที่รับสัญญาณทางไฟฟ้าอื่น ๆ ได้อีก เช่น 0-500VDC , 0-500VAC , 0-5AAC (CT Input) , Frequency (0-10 kHz) , RPM (0-9999 RPM) • สามารถดูค่า Peak สูงสุดของการใช้งานที่เกิดขึ้นได้ และ Reset ค่าได้ จุดเด่นของสินค้า (Selling Point) • สามารถเลือกโปรแกรม สัญญาณอนาล็อกทางด้าน Output ให้เป็น Direct หรือ Inverse ได้          - Direct คือ Input แปรผันตรงกับ Output          - Inverse คือ Input แปรผกผันกับ Output • รุ่นที่เป็น Output Relay สามารถตั้งค่า Alarm ได้ 4 Function • มี Port RS-485 สำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ , PLC หรือ Data Logger เพื่อเก็บข้อมูลได้ • มีให้เลือกทั้งรุ่น 1 Input/1 Output , 1 Input/2 Output หรือเลือก Output แบบ Relay ได้ ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ (Benefit) • ตัวอุปกรณ์เป็นได้ทั้ง Indicator และ Transmitter ได้ในตัว • กรณีที่เกิดปัญหาทางด้าน Input จะไม่ส่งผลกระทบต่อสัญญาณทาง Output  เพราะตัวอุปกรณ์จะช่วยให้สัญญาณแยกอิสระจากกัน (Isolate) • สามารถยึดอุปกรณ์บนรางรีเลย์ (Din Rail) ได้เลย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9603, 090-197-9601 ID LINE    : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
TIM-94N-Series Digital Indicator

  Model : TIM-94N-Series Product Name : Digital Indicator   คุณสมบัติ (Specification) • เครื่องแสดงผล Process ต่าง ๆ แบบ Digital โดยรับ Input แบบ Universal (TC , RTD , 4-20mA , 0-10VDC) ได้ในตัวเดียว • แสดงผล 5 Digits แบบ 7-Segment สีขาว ทำให้มองเห็นได้ชัดเจนแม้ในที่มืด • สัญญาณอนาล็อกอินพุต 4-20mA และ 0-10VDC ถ้าต่อผิดขั้วเครื่องจะสลับขั้วที่ถูกต้องให้อัตโนมัติ • มี Option Transfer Output ที่สามารถตั้งค่าแบบ Manual เพื่อใช้สำหรับจ่ายสัญญาณ (Simulate) ให้กับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ • สามารถดูค่า Peak สูงสุดของการใช้งานที่เกิดขึ้นได้ และ Reset ค่าได้ • มี Lock Function ป้องกันการเปลี่ยนค่า Setting ของหน้าจอ จุดเด่นของสินค้า (Selling Point) • มี Alarm Relay ให้ 1 Alarm และสามารถเพิ่มได้สูงสุด 3 Alarm (Option) • มี Option Transfer 4-20mA , 0-10VDC ที่สามารถส่งสัญญาณได้ทั้งแบบ Direct และ Inverse          - Direct คือ Output แปรผันตรงกับ Input          - Inverse คือ Output แปรผกผันกับ Input • มี Port RS-485 สำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ , PLC หรือ Data Logger เพื่อเก็บข้อมูลได้ • มี Supply 24VDC 30mA สำหรับจ่ายให้ Sensor โดยไม่ต้องต่อ Switching Power Supply จากภายนอก • กรณี Input มีปัญหาหรือ Sensor ขาด จะแจ้งเตือนสัญลักษณ์ที่หน้าจอ ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ (Benefit) • เป็นอุปกรณ์ที่นอกจากจะใช้แสดงผลค่า Process ต่างๆ แล้ว ยังรวม Function Transfer Output และ Simulate Output ไว้ในตัวเดียวกัน • ทำให้ไม่ต้องซื้ออุปกณ์หลาย ๆ รุ่น ลดความยุ่งยากในการ Wiring สาย   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-880-8240, 090-197-9601 ID LINE    : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com    

Image Alternative text
แอร์รักษาอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรล (ขนาด 2700BTU)

คุณสมบัติ • เครื่องรักษาอุณหภูมิและความชื้นภายในตู้คอนโทรล • มีปริมาณลมเย็นที่คงที่ • มีระบบควบคุมอุณหภูมิที่แม่นยำและแสดงผลที่ชัดเจน • มีระบบแจ้งเตือนและป้องกันความเสี่ยงในการเสียหาย • มีระบบป้องกันท่อน้ำทิ้งอุดตัน • มีระบบป้องกันคอมเพรสเซอร์เสียหาย • มีโครงสร้างแบบ Galvanized และ SUS 304 ที่ทนต่อสภาพหน้างาน APPLICATION   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 085-347-7599, 090-197-9601 ID LINE    : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
PLC + หน้าจอ HMI Controller High Resolution

Vision1040 คุณสมบัติ • จอแสดงผลขนาด 10.4 นิ้ว (Vision1040) • TFT LCD (White LED) 65,536 Colors หน้าจอแสดงผลแบบ Touch Screen • แสดงผลในรูปแบบของกราฟฟิก, กราฟเส้นได้ • Auto-Tune PID, up to 24 independent loops • Micro SD Card-Log, Backup, Clone&More • สามารถใช้งานร่วมกับ Snap-In I/O Modules และ I/O Expansion ได้   Vision1210 คุณสมบัติ • จอแสดงผลขนาด 12.1 นิ้ว (Vision1210) • TFT LCD (White LED) 65,536 Colors หน้าจอแสดงผลแบบ Touch Screen • แสดงผลในรูปแบบของกราฟฟิก, กราฟเส้นได้ • Auto-Tune PID, up to 24 independent loops • Micro SD Card-Log, Backup, Clone&More • สามารถใช้งานร่วมกับ Snap-In I/O Modules และ I/O Expansion ได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9591 ID LINE  : @primusthai WEBSITE  : www.primusthai.com

Image Alternative text
Digital Techometer (RPM) & Line Speed เครื่องมือวัดความเร็วรอบและระยะทาง

  CM-001 : Digital Techometer (RPM) คุณสมบัติ • เครื่องวัดความเร็วรอบต่อนาที (RPM) • รับอินพุทจาก Photo Switch/Proximity Switch NPN/PNP • แสดงผลด้วย 7-Segment 4 หลัก ขนาด 0.56 นิ้ว การทำงาน      CM-001 DIGITAL TACHOMETER เป็นเครื่องวัดความเร็วรอบแบบดิจิตอล (Digital) โดยแสดงผลเป็นตัวเลข LED 4 หลัก สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยระบบไมโครโปรเซสเซอร์ สามารถปรับค่า Time Base ได้โดยอัตโนมัติจึงทำให้การแสดงผลตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ที่ความเร็วรอบต่ำและความเร็วรอบสูง ใช้ในการแสดงผลความเร็วรอบมอเตอร์ คอนเวเยอร์ (Motor Conveyor) เครื่องจักรและอื่น ๆ สามารถโปรแกรมการตั้งค่า RPM ได้หลาย Pulse ใน 1 รอบความเร็ว ซึ่งทำให้วัดค่าได้ละเอียดและรวดเร็วในรอบช้า ๆ เหมาะที่จะติดตั้งไว้กับตู้ควบคุมหรือตู้สวิตซ์บอร์ดใช้งานได้ง่าย CM-001L : Digital Techometer (RPM) & Line Speed คุณสมบัติ • เครื่องวัดความเร็วรอบต่อนาที (RPM) และ Line Speed • รับอินพุทจาก Photo Switch/Proximity Switch NPN/PNP • แสดงผลด้วย 7-Segment 4 หลัก ขนาด 0.56 นิ้ว การทำงาน         CM-001-L/DCM-001N TACHOMETER (RPM & LINE SPEED) / MINI TACHOMETER (RPM & LINE SPEED) เป็นเครื่องวัดความเร็วรอบและระยะทางแบบดิจิตอล แสดงผลเป็นตัวเลข 7-Segment สีแดง 4 หลัก มองเห็นได้อย่างชัดเจน เป็นระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ สามารถปรับค่า Time Base ได้โดยอัตโนมัติ จึงทำให้การแสดงผลตอบสนองได้อย่างรวดเร็วทั้งความเร็วต่ำและความเร็วสูง ใช้ในการแสดงผลความเร็วรอบของมอเตอร์ Conveyor เครื่องจักรและแสดงผลเป็นระยะทางต่อนาที         CM-001-L/DCM-001N TACHOMETER (RPM & LINE SPEED) / MINI TACHOMETER (RPM & LINE SPEED) จะมีฟังก์ชั่นการแสดงผลอยู่ 2 แบบคือ แบบ RPM ซึ่งสามารถโปรแกรมตั้งค่าได้หลาย Pulse ใน 1 รอบ จึงทำให้วัดค่าได้อย่างละเอียดและรวดเร็วในรอบช้า ๆ หน่วยของการแสดงผลเป็นรอบต่อนาที และแบบ Line Speed ซึ่งสามารถตั้งค่าเซนติเมตรและเมตรได้ตามความต้องการ หน่วยของการแสดงผลเป็นเซนติเมตรต่อนาที และเมตรต่อนาที โดยสามารถกดปุ่มเลือกโปรแกรมการใช้งานได้ตามความต้องการ DCM-001N : Mini Digital Techometer (RPM) & Line Speed คุณสมบัติ • เครื่องวัดความเร็วรอบต่อนาที (RPM) และ Line Speed ขนาดเล็ก • รับอินพุทจาก Photo Switch/Proximity Switch NPN/PNP • แสดงผลด้วย 7-Segment 4 หลัก ขนาด 0.39 นิ้ว การทำงาน         CM-001-L/DCM-001N TACHOMETER (RPM & LINE SPEED) / MINI TACHOMETER (RPM & LINE SPEED) เป็นเครื่องวัดความเร็วรอบและระยะทางแบบดิจิตอล แสดงผลเป็นตัวเลข 7-Segment สีแดง 4 หลัก มองเห็นได้อย่างชัดเจน เป็นระบบไมโครคอนโทรลเลอร์ สามารถปรับค่า Time Base ได้โดยอัตโนมัติ จึงทำให้การแสดงผลตอบสนองได้อย่างรวดเร็วทั้งความเร็วต่ำและความเร็วสูง ใช้ในการแสดงผลความเร็วรอบของมอเตอร์ Conveyor เครื่องจักรและแสดงผลเป็นระยะทางต่อนาที         CM-001-L/DCM-001N TACHOMETER (RPM & LINE SPEED) / MINI TACHOMETER (RPM & LINE SPEED) จะมีฟังก์ชั่นการแสดงผลอยู่ 2 แบบคือ แบบ RPM ซึ่งสามารถโปรแกรมตั้งค่าได้หลาย Pulse ใน 1 รอบ จึงทำให้วัดค่าได้อย่างละเอียดและรวดเร็วในรอบช้า ๆ หน่วยของการแสดงผลเป็นรอบต่อนาที และแบบ Line Speed ซึ่งสามารถตั้งค่าเซนติเมตรและเมตรได้ตามความต้องการ หน่วยของการแสดงผลเป็นเซนติเมตรต่อนาที และเมตรต่อนาที โดยสามารถกดปุ่มเลือกโปรแกรมการใช้งานได้ตามความต้องการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-880-8240, 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
PRIMUS SOFT ซอฟต์แวร์บริหารจัดการพลังงาน

     โปรแกรม Primus Soft Pro เป็นโปรแกรมสำหรับ Power Meter ที่สามารถนำนำข้อมูลที่ได้จากโปรแกรมนี้ไปวิเคราะห์เพื่อดูปริมาณการใช้ไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลา นำไปคิดค่าไฟฟ้า และยังสามารถควบคุมโหลดได้ในกรณีที่มีการ Peak ของ kW เพื่อช่วยค่าไฟฟ้าได้ในที่สุด Demand Monitoring      ในหน้า Demand Monitoring สามารถที่จะดูค่าต่างๆของ power meter ได้ในรูปแบบ Real time ซึ่งจะแสดงข้อมูล 2ลักษณะ ได้แก่ข้อมูลตัวเลข และ ข้อมูลเชิงกราฟ (ข้อมูลที่จะมาแสดงขึ้นอยู่กับ Power Meter แต่ละรุ่นเนื่องจาก Power Meter แต่ละรุ่นวัดค่าบางชนิดได้ไม่เท่ากัน) ดูข้อมูลแบบเข็ม ดูแบบตารางข้อมูล       การดูตารางข้อมูลจะช่วยให้เห็นภาพรวมของ Power meter แต่ละตัวว่าตอนนี้ ใช้ไฟฟ้าไปเท่าไร ดูค่า Harmonic ของโวลต์และแอมป์      ค่าฮาโมนิกส์ จะสามารถดูได้ในรูปแบบของ โวลต์ และ แอมป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9603, 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
CARTRIDGE HEATER (ฮีตเตอร์แท่ง)

คุณสมบัติ Cartridge Heater (ฮีตเตอร์แท่ง) • เป็นฮีตเตอร์แท่งที่ให้ความร้อนกับชิ้นงานโดยตรง เช่น โมลด์โลหะ เป็นต้น • ผลิตด้วยวัสดุสแตนเลสคุณภาพดี • ผลิตแบบ High Density ให้ความร้อนสม่ำเสมอ • ผลิตได้ตามขนาดและกำลังไฟฟ้าที่ต้องการ ลักษณะการใช้งาน Cartridge Heater (ฮีตเตอร์แท่ง) • งานแม่พิมพ์ • เครื่องรีดถุงพลาสติก • เครื่องแพ็ค Application Cartridge Heater (ฮีตเตอร์แท่ง)   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 098-279-5788, 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
AIR CONDITIONER FOR CONTROL BOXES แอร์รักษาอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรลสำหรับงานอุตสาหกรรม

PE-1000 (ขนาด 1000 BTU แบบติดตั้งข้างตู้) คุณสมบัติ • เป็นแอร์รักษาอุณหภูมิและความชื้นภายในตู้คอนโทรล • มีระบบควบคุมอุณหภูมิที่แม่นยำและแสดงผลที่ชัดเจน • มีระบบแจ้งเตือนและป้องกันความเสี่ยงในการเสียหาย • มีปริมาณลมเย็นคงที่ • มีโครงสร้งแบบ Galvanized และ SUS304 ที่ทนต่อสภาพหน้างาน PE-4000 (ขนาด 4000 BTU แบบติดตั้งหลังคาตู้) คุณสมบัติ • เป็นแอร์รักษาอุณหภูมิและความชื้นภายในตู้คอนโทรล • มีระบบควบคุมอุณหภูมิที่แม่นยำและแสดงผลที่ชัดเจน • มีระบบแจ้งเตือนและป้องกันความเสี่ยงในการเสียหาย • มีปริมาณลมเย็นคงที่ • มีโครงสร้งแบบ Galvanized และ SUS304 ที่ทนต่อสภาพหน้างาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9594 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
การเลือกใช้ Heater ให้เหมาะสมกับงาน

HEATER คืออุปกรณ์ให้ความร้อนกับชิ้นงานด้านอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ต้องการความร้อนไม่ว่าจะเป็นงานขึ้นรูปพลาสติก, ห้องอบสี, อาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย มีหลักการง่ายๆ คือการจ่ายกระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดตัวนำจนลวดตัวนำเกิดความร้อน ซึ่งแหล่งจ่ายไฟสามารถใช้ได้ที่แรงดัน 200 VAC กับ 380 VAC ฮีตเตอร์แต่ละประเภทก็จะมีความเหมาะสมต่อการใช้งานต่างกันออกไป ลองมาดูกันว่าฮีตเตอร์ประเภทไหนเหมาะกับการใช้งานแบบไหนบ้าง   1. ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ (Hot Runner Heater) ถูกออกแบบให้เหมาะกับท่อหัวฉีดทำให้ถ่ายเทความร้อนได้สม่ำเสมอและทั่วทั้งแท่ง เหมาะกับการใช้งานอุตสาหกรรมพลาสติก, ฝาพลาสติก และเครื่องฉีดพลาสติก 2. ฮีตเตอร์ต้มน้ำยาเคมี (Quartz Heater) ใช้อุ่นหรือต้มของเหลวได้แทบทุกประเภทที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสแตนเลส 316 เช่น น้ำมัน, น้ำ นอกจากนี้ยังอุ่นหรือต้มของเหลวที่เหนียวได้อีกด้วย 3. ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) ใช้สำหรับการอุ่นหรือให้ความร้อนต่อแม่พิมพ์, หัวพ่นกาว, ชิ้นงานเหล็ก, เครื่องพิมพ์ทอง, เครื่องรีดถุงพลาสติก หรือนำมาใส่เกลียวเพื่อต้มน้ำเคมีกาวในท่อได้ 4. เซรามิคฮีตเตอร์ (Ceramic Heater) ให้ความร้อนสูงเหมาะกับเครื่องฉีดพลาสติกที่ต้องใช้ความร้อนสูงและต่อเนื่อง ทำได้หลายแบบทั้งกลม แผ่น เหมาะกับอุตสาหกรรมพลาสติก, แม่พิมพ์ และอุตสาหกรรมผลิตยาง   5. ฮีตเตอร์ต้มน้ำ/จุ่ม (Immersion Heater) ให้ความร้อนกับของเหลว เช่น การอุ่นน้ำมัน, การต้มน้ำ ที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสแตนเลส เหมาะกับอุตสาหกรรมที่ต้องอุ่นหรือต้มของเหลวทุกประเภท หรือของเหลวที่เหนียวข้น เช่น ยางมะตอย  6. ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater) รูปทรงสี่เหลี่ยมเหมาะกับการให้ความร้อนต่อแม่พิมพ์ ระบุชนิดของวัสดุ ความยาว แรงดัน กำลังวัตต์ได้ 7. ฮีตเตอร์อินฟาเรด (Infrared Heater) ให้ความร้อนแบบแผ่รังสีส่งผลให้กระจายความร้อนได้ถึงเนื้อใน ใช้ในงานอบแห้ง เช่น อบสี เมล็ดพันธุ์ กาว แลคเกอร์ อบพลาสติก 8. ฮีตเตอร์บอบบิ้น (Bobbin Heater) เป็นฮีตเตอร์แบบจุ่มประเภทหนึ่งให้ความร้อนของเหลว เช่น งานชุบ สารละลายวัสดุที่เป็นควอทซ์ อุ่นต้มน้ำยาเคมี งานแช่ในกรด เป็นต้น เคลื่อนย้ายง่าย 9. ฮีตเตอร์ทิวบูล่าร์/ท่อกลม (Tubular Heater) ให้ความร้อนได้ทั้งอากาศ ของเหลว น้ำ เหมาะกับการใช้เพื่ออบสี อบชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ อบใยผ้า อบพลาสติก อบอาหาร 10. คอยล์ฮีตเตอร์ (Coil Heater) เหมาะกับการใช้ในเตาอบเพื่อให้ความร้อนกับชิ้นงาน นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเตาความร้อนสูง 11. เซอร์คูเรชั่นฮีตเตอร์ (Circulation Heater) ให้ความร้อนแบบหมุนเวียนที่ใช้น้ำ น้ำมัน ลม แก๊ส นำพาความร้อนไปใช้ นอกจากนี้ยังให้ความร้อนของเหลวกับแก๊สในท่อได้ด้วย 12. ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) ใช้ความร้อนกับท่อหรือถังรูปทรงกระบอก เช่น เครื่องฉีดพลาสติก เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการอุ่นหรือให้ความร้อนในท่อลำเลียงหรือถังพัก เช่น ท่อส่งน้ำมัน ท่อลำเลียงกาว เป็นต้น        นี่คือประเภทของฮีตเตอร์ที่มักนิยมนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรม แต่ละประเภทก็จะมีจุดเด่นต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าเหมาะสมกับการเลือกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมประเภทไหนมากกว่ากัน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 098-279-5788, 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
แอร์สำหรับตู้คอนโทรล (Air Condition For Control Boxes) มีประโยชน์อย่างไร

                     ปกติแล้วในงานอุตสาหกรรมจะต้องใช้ตู้คอนโทรล(Control Boxes) สำหรับควบคุมการทำงานของระบบไฟฟ้าหรือใช้เพื่อควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ แน่นอนว่าการใช้งานในลักษณะดังกล่าวนี้ย่อมทำให้เกิดความร้อนขึ้นกับตู้คอนโทรล(Control Boxes) หากว่ามีความร้อนภายในตู้มากเกินไปก็ย่อมส่งผลกระทบและปัญหาต่อการทำงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความร้อนที่เกิดขึ้นจึงจำเป็นต้องถูกระบายออกมา เอาเข้าจริงแล้วการเลือกหาวิธีในการระบายความร้อนให้กับตู้คอนโทรล(Control Boxes) เองก็มีด้วยกันหลากหลายทว่าวิธีการที่ดีที่สุดในการระบายความร้อนให้กับตู้คอนโทรล(Control Boxes)ก็คือ การติดตั้งแอร์สำหรับตู้คอนโทรล (Air Conditioner for Control Boxes) ซึ่งประโยชน์ในการติดแอร์สำหรับตู้คอนโทรล(Air Conditioner for Control Boxes) ก็สามารถแบ่งแยกออกมาให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนดังนี้      1. ทำให้ตู้คอนโทรล(Control Boxes) สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเนื่องจากว่าการได้ระบายความร้อนออกมาจะทำให้ความร้อนภายในตู้ไม่เยอะจนเกินไป และการทำงานก็จะทำงานได้เป็นปกติ ส่งผลให้งานที่ออกมาก็มีคุณภาพตามไปด้วยที่สำคัญการที่เครื่องจักรเหล่านี้สามารถใช้งานตู้คอนโทรล(Control Boxes) ได้อย่างต่อเนื่องทำให้ผลผลิตที่ได้ออกมามีความต่อเนื่องไม่หยุดชะงักด้วย      2. ช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับตู้คอนโทรล(Control Boxes) หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์(Part Electronic) เนื่องจากว่าหากตู้คอนโทรล(Control Boxes) มีความร้อนภายในมาก ๆ ระบบการทำงานก็ต้องถูกใช้อย่างหนัก เมื่อถูกใช้งานอย่างหนักการเสื่อมสภาพก็ย่อมเร็วกว่าปกติ การแอร์สำหรับตู้คอนโทรล(Air Conditioner for Control Boxes) จึงช่วยให้ระบบความร้อนทำงานเป็นมาตรฐานไม่หนักเกินไปส่งผลให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น      3. ลดปัญหาในเรื่องของฝุ่นละอองหรือสารเคมีต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตู้คอนโทรล(Control Boxes)หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์(Part Electronic) ด้านในต่าง ๆ ซึ่งฝุ่นละอองหรือสารเคมีเหล่านี้เป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้เกิดความเสียหาย      4. จากการที่ผลผลิตของชิ้นงานสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่มีการหยุดชะงักย่อมเป็นการเพิ่มรายได้โดยตรงให้กับบริษัท ทำให้ผลประกอบการของบริษัทก็ได้ขึ้นตามลำดับไปด้วยเช่นเดียวกัน      5. ช่วยควบคุมระดับความร้อนภายในตู้คอนโทรล(Control Boxes) และความร้อนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์(Part Electronic)ต่างๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ดังนั้นอันตรายที่จะเกิดขึ้นก็ย่อมมีน้อยลงตามไปด้วย ลดความกังวลเกี่ยวกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้      6. ช่วยลดความชื้นภายในตู้ควบคุมไฟฟ้าที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์(Part Electronic) ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี อาทิ บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์(Board Electronic), อินเวอร์เตอร์(Inverter) เป็นต้น ซึ่งความชื้นเหล่านี้ก็เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ตู้คอนโทรล(Control Boxes) และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์(Part Electronic)เหล่านี้เสื่อมสภาพได้เร็วขึ้นกว่าเดิมเช่นกัน      ประโยชน์ที่ได้จากการใช้งานแอร์สำหรับตู้คอนโทรล(Air Conditioner for Control Boxes) เหล่านี้นับว่าเป็นข้อดีที่เห็นผลได้ชัดเจนมาก ๆ ต่อโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหลาย จึงปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่านี่เป็นอุปกรณ์สำคัญอีกชนิดที่จะช่วยให้บริษัทเติบโตไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและที่สำคัญยังสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างหลากหลายแบบที่หลายคนคาดไม่ถึงอีกต่างหาก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9594 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com  

Image Alternative text
PLC+HMI All in One Unit

V430 คุณสมบัติ • ขนาดหน้าจอ 4.3 นิ้ว แบบ Wild Screen • Web Server • Send E-mail • PID 24 Loop • Alarm History • BACnet   SM35 คุณสมบัติ • รุ่น Samba ออกแบบมาเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่ต้องการอัพเกรดระบบ PLC แบบไม่มีหน้าจอหรือมีแต่เป็นแบบธรรมดา ให้มีหน้าตาดูดีขึ้น • จอสี Touch Screen ได้ • สะดวกตรงที่มี Digital I/O • Analog Input • สามารถรับสัญญาณจาก Temperature Sensor ได้โดยตรง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9591 ID LINE  : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
Small Displacement Sensor with Digital Display

CD22-Series คุณสมบัติ • มีขนาดเล็กกะทัดรัด ง่ายต่อการติดตั้งและใช้งานง่าย • Analog Output 4-20 mA (แล้วแต่รุ่น) • Analog Output 0-10 V (แล้วแต่รุ่น) • Switching Output (NPN or PNP, Max 100mA/DC30V) • ตรวจพบวัสดุต่าง ๆ ได้ เช่น ยางสีดำ , โลหะขัดเงา • มีความแม่นยำสูงและความละเอียด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-880-8240 ID LINE  : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
Level Switch / Level Sensor เซ็นเซอร์จับระดับของเหลว

  LP-01 Level Switch (เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับ) เป็นสวิทช์ลูกลอยที่ใช้ควบคุมระดับของเหลวภายในถังโดยการติดตั้งแบบข้างถัง อาศัยการเปลี่ยนแปลงสถานะของหน้าคอนแทค NO/NC เมื่อลูกลอยเคลื่อนที่ขึ้น-ลง ตามระดับของเหลว   LP-03 สวิทช์ลูกลอย ใช้ควบคุมระดับของเหลวภายในถัง โดยการติดตั้งแบบข้างถัง อาศัยการเปลี่ยนแปลงสถานะของคอนแทค NO/NC เมื่อลูกลอยเคลื่อนที่ขึ้น - ลง ตามระดับของแหลว    LP-04 Level Switch (เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับ) เป็นสวิทช์ลูกลอยที่ใช้ตรวจจับระดับของเหลวโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงสถานะของหน้าคอนแทค NO/NC เมื่อลูกลอยเคลื่อนที่ ขึ้น-ลง ตามระดับของเหลว เลือกติดตั้งได้ทั้งแบบเกลียวและหน้าแปลน โดยสามารถเลือกจุดทำงานได้สูงสุด 5 จุดการทำงาน หรือ 5 ระดับจำนวนเอาท์พุทจะเท่ากับจำนวนลูกลอย ทำให้ LP-04 สามารถวัดระดับของเหลวได้หลายระดับในตัวเดียว   LP-07 Level Indicator/Sensor (เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับ) เป็น Level Sensor ที่ใช้ตรวจจับระดับของเหลวแบบต่อเนื่อง สามารถวัดได้ละเอียดคือ 1 cm. (Resolution 1 cm.) โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน (ในขณะที่ลูกลอยเคลื่อนที่) เลือกติดตั้งได้ทั้งแบบเกลียวและหน้าแปลน เนื่องจาก LP-07-I จะมี Resistance Transmitter ที่แปลงความต้านทานออกมาเป็น 4-20 mA ติดตั้งอยู่ภายใน ดังนั้นจึงมีเอาท์พุทออกเป็น 4-20 mA ซึ่งเปลี่ยนค่าทุก ๆ ระดับ 1 cm.   CP-01 สวิทช์ลูกลอย สำหรับตรวจจับระดับน้ำในถัง หรือบ่อน้ำในระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อตรวจระดับน้ำและควบคุมให้อยู่ในตำแหน่งสูงหรือต่ำตามต้องการ โดยลูกลอยจะมีสวิทช์ปรอทอยู่ภายในและต่อเข้ากับสายไฟโดยยึดสายไฟติดกับด้านบนข้างถัง เมื่อน้ำมีระดับสูงขึ้น ลูกลอยจะอยู่ในลักษณะแนวนอนทำให้สวิตช์อยู่ในตำแหน่ง OFF แต่ถ้าน้ำอยู่ในระดับต่ำลูกลอยจะอยู่ในลักษณะแนวตั้ง ทำให้สวิทช์อยู่ในตำแหน่ง ON สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 098-279-5788, 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
Star Delta Timer เครื่องมือตั้งเวลาการทำงานรีเลย์

PM-022 คุณสมบัติ • ใช้ในการลดกระแสช่วง Start ของมอเตอร์ 3 เฟส • ลดค่า Peak kW Demand เพื่อจัดการด้านพลังงานไฟฟ้า • ใช้งานง่ายด้วยปุ่มปรับหมุน สามารถเลือกเวลาช่วง Start แบบ Star เป็นวินาที หรือ นาทีได้ในตัวเดียวกัน • ง่ายในการติดตั้งด้วย Socket แบบ 11 ขา • มีปุ่มปรับ Dif ช่วงเวลาห่างระหว่าง Star และ Delta การทำงาน      เครื่องตั้งเวลา PM-022 เมื่อจ่ายแรงดันไฟเลี้ยงเข้าที่ตัวเครื่อง 220 VAC ที่ขั้ว 2, 9 และ 380 VAC ขั้ว 2, 10 Jump 5, 6 เป็น (min) นาที หรือ 6, 7 เป็น (sec) วินาที บิดปุ่มปรับเวลา ปรับให้ได้เวลาที่ต้องการแล้วปรับ D.T. ตามต้องการ เครื่องจะทํางานเป็น Star รีเลย์ทํางาน LED สีเขียวจะติดและทำงานตามเวลาที่ตั้งไว้ เมื่อครบกำหนดเวลาที่ตั้งไว้รีเลย์จะหยุดทํางาน LED สีเขียวจะดับก่อนที่จะเป็น Delta D.T. จะหน่วงเวลา 100-1100 ms พอครบกำหนด D.T. หน่วงเวลารีเลย์จะทำงาน LED สีแดงจะติดและทำงานเป็น Delta ทันที และทํางานตลอดไปจนกว่าจะหยุดจ่ายไฟเลี้ยงเข้าที่ตัวเครื่อง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9594, 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
Signal Tower Light ไฟอะลาร์มแจ้งเตือนสำหรับงานอุตสาหกรรม

  TL40-Series คุณสมบัติ • ขนาดเล็กกะทัดรัดเพียง 40 mm. • ติดตั้งได้ง่ายด้วยอุปกรณ์ Bracket (ฐานตั้ง) พร้อมกับ Pole (ขา) ที่มีให้เลือก 4 แบบ ครบชุด • สามารถเลือกจำนวนชั้นและจำนวนสีได้สูงสุด 5 ชั้น 5 สี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน และสีขาว และสามารถถอดประกอบสลับเปลี่ยนตำแหน่งของสีในแต่ชั้นได้ง่ายตาามความต้องการ • การแจ้งเตือนสัญญาณไฟมีทั้งแบบติดต่อเนื่องและแบบติดกระพริบพร้อม Buzzer สัญญาณเสียงแจ้งเตือนที่มีความดังสูงสุด 90 dB ในระยะ 1 เมตร • Output แบบ Push-Pull ชนิด NPN, PNP, Open Collertor การทำงาน • เมื่อทำการติดตั้งและต่อวงจรตามรูปการต่อใช้งานและเมื่อ Switch สั่ง ON ตามตำแหน่งสีของ TL40 หลอดไฟของตำแหน่งนั้นจะสว่างขึ้นตาม Function ที่ต้องการเพื่อเตือนให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบถึงสถานะของเครื่องจักร เช่น      - Green หมายถึง เครื่องจักรกำลังทำงาน      - Yellow หมายถึง แจ้งผู้ปฏิบัติงานมาดูเครื่องจักร      - Red หมายถึง เครื่องจักรหยุดการทำงานหรืออื่น ๆ • นอกจากนั้นยังมี Buzzer ส่งเสียงเตือนในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานอยู่ไกลจากเครื่องจักรได้ 3 แบบ ที่ความดัง 90 dB Max (at 1M.) หรือส่งข้อมูลแจ้งเตือนผ่าน Computer ด้วย RS-485 ได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9594, 090-197-9594 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
Air Condition For Control Boxes

  PE-2700 คุณสมบัติ • เป็นแอร์รักษาอุณหภูมิและความชื้นภายในตู้คอนโทรล • มีระบบควบคุมอุณหภูมิที่แม่นยำ และแสดงผลที่ชัดเจน • มีระบบแจ้งเดือน และป้องกันความเสี่ยงในการเสียหาย • มีระบบป้องกันทางด้านน้ำทิ้งอุดตัน • มีปริมาณลมเย็นที่คงที่ • มีโครงสร้างที่ทนต่อสภาพหน้างาน   PE-7000 คุณสมบัติ • เป็นแอร์รักษาอุณหภูมิและความชื้นภายในตู้คอนโทรล • มีระบบควบคุมอุณหภูมิที่แม่นยำ และแสดงผลที่ชัดเจน • มีระบบแจ้งเดือน และป้องกันความเสี่ยงในการเสียหาย • มีระบบป้องกันทางด้านน้ำทิ้งอุดตัน • มีปริมาณลมเย็นที่คงที่ • มีโครงสร้างที่ทนต่อสภาพหน้างาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-1979594 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
PLC+HMI All in One Unit

US5-B10-B1 คุณสมบัติ • จอแสดงผลขนาด 5 นิ้ว แต่มีความสามารถเท่ากับรุ่นท็อป 15 นิ้ว ได้แก่ Ethernet/IP • VNC • FTP • Web Server • Video, MP3, SQL • สามารถขยาย I/O ได้ถึง 2,048 I/O PLC • Variety of I/O options including high-speed and temperature measurement • Auto-tune PID • Recipe programs and data logging via Data Tables & Sampling • Micro SD card – log, backup, clone & more • Trends • Media files: Video*, Audio* and PDF viewer • UDFBs and Structs HMI • High quality touchscreen • Multi Language • Built-in image library • UniApps V700-T20BJ คุณสมบัติ PLC • สามารถใช้งานร่วมกับ Snap-in I/O ได้ • I/O options include high - speed,temperature & weight measurement • Auto-tune PID, up to 24 independent loops • Micro SD card-log, backup, clone & more • สามารถสื่อสารแบบ RS232/485, Ethernet,CANBUS และ USB ได้ HMI • จอแสดงผลขนาด 7 นิ้ว • จอแสดงผลชนิด TFT ความละเอียดสี 65,536 สี + LED Backlight • แสดงผลในรูปแบบกราฟเส้นได้ • IP66/65/NEMA4X สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 098-279-5788, 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
Immersion Heater (ฮีตเตอร์จุ่ม)

คุณสมบัติ Immersion Heater (ฮีตเตอร์จุ่ม) •  Immersion Heater เป็นฮีตเตอร์ที่ใช้ให้ความร้อนกับของเหลวทุกชนิด • สามารถเลือกการติดตั้งทั้งเกลียวและหน้าแปลน • ผลิตด้วยสแตนเลสคุณภาพดี • ผลิตได้ตามขนาดและกำลังไฟฟ้าได้ตามต้องการ คุณลักษณะ Immersion Heater (ฮีตเตอร์จุ่ม)      Immersion Heater เป็นฮีตเตอร์สำหรับงานให้ความร้อนกับของเหลว โดยสามารถติดตั้งได้ทั้งแบบเกลียว หรือหน้าแปลน ข้อควรระวังในการใช้งานของฮีตเตอร์ชนิดนี้ จะต้องคำนึงถึงระยะ Heat Zone จะต้องไม่ให้โผล่พ้นของเหลว เพราะจะมีผลให้เกิดการเผาตัวเองและขาดในที่สุด ลักษณะการใช้งาน Immersion Heater (ฮีตเตอร์จุ่ม)      ใช้ให้ความร้อนกับของเหลวทุกชนิด เช่นต้มน้ำ, อุ่นน้ำมัน, อุ่นสารเคมี เป็นต้น ***โดยทางบริษัทฯ รับผลิต Immersion Heater (ฮีตเตอร์จุ่ม) ตามแบบที่ลูกค้าต้องการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 098-279-5788, 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
Area Sensor Light Curtian / Machine Safety Device เซ็นเซอร์ตรวจจับแบบม่านลำแสง

Area Sensor Light Curtian / Machine Safety Device เซ็นเซอร์ตรวจจับแบบม่านลำแสง Area Sensor Light Curtian SMNA-Series / SMNB-Series คุณสมบัติ • อุปกรณ์ตรวจจับวัตถุแบบม่านลำแสง • โครงสร้างบาง กะทัดรัด ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง • มีระยะห่างระหว่าง Beam Pitch มี 2 แบบ คือ 25mm. (SMNB-Series) และ 40mm. (SMNA-Series) • สามารถเลือกย่านการตรวจจับได้สูงสุด 7M. • มี LED แสดงสถานะการทำงาน • ระดับป้องกัน IP65 , มาตรฐาน CE LVD • N-Series เป็นอุปกรณ์ตรวจจับแบบม่านแสงที่ราคาย่อมเยา สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายในระบบงานอุตสาหกรรม • N-Series จะประกอบด้วยตัวส่ง (Tx) และ เครื่องรับ (Rx) • มี 2 Output คือ 1 PNP Output และ 1 NPN Output • ขั้วต่อคอนเน็กเตอร์ M12 x 4 ขา ใช้ได้กับ Tx และ Rx • ย่านการวัด 0.5M. ถึง 2.5M. (สำหรับรุ่น NA-X(P),NB-X(P)) และย่านการวัด 1M. ถึง 7M. (สำหรับรุ่น NA-X(LP),NB-X(LP) • สำหรับรุ่นออกสายเป็น Option มีให้เลือก 3M. และ 10M. • อุปกรณ์สำหรับยึดติดตั้ง (Bracket) ทำให้ง่ายต่อการติดตั้งใช้งาน Machine Safety Device 1000+ Series คุณสมบัติ • อุปกรณ์ตรวจจับวัตถุแบบม่านลำแสง ได้รับมาตรฐาน IEC61496-1/-2 (TYPE2) • เหมาะสำหรับติดตั้งบริเวณเครื่องจักร ที่มีพื้นที่มีความอันตรายสูง • มีระยะห่างระหว่าง Beam Pitch ที่ 30mm. , 40mm. , 45mm. , 50mm. • สามารถเลือกย่านการตรวจจับได้ 0.5M. ถึง 10M. • ติดตั้งง่าย ประสิทธิภาพสูง สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้ • มี LED แสดงสถานะการทำงาน • ระดับป้องกัน IP65 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-880-8240 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
พัดลม BLOWER สำหรับงานอุตสาหกรรม

CY100A2P2 : Centrifugal Blower (Forward-Curved) คุณสมบัติ • Reted Voltage 1 Phase 110/220 VAC 50 Hz • 2 Pole • Current 0.6A (for 110 VAC) , 0.30A (for 220 VAC) • Power 45 Watt • Weitht 2.4 kg.   CY150MN2P2 / CY150MN2P3 : Centrifugal Blower (Forward-Curved) คุณสมบัติ • Reted Voltage 1 Phase 110/220 VAC , 3 Phase 220/380 VAC 50 Hz • 2 Pole • Current 5.0A (for 110 VAC , 1 Phase) , 2.5A (for 220 VAC , 1 Phase) , 2.5A (for 220 VAC , 3 Phase) , 1.5A (for 380 VAC , 3 Phase) • Power 3/4 HP • Weitht 13 kg. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
THREE PHASE VOLT-AMP kWh-METER WITH PROTECTION RELAY

THREE PHASE VOLT-AMP kWh-METER WITH PROTECTION RELAY คุณสมบัติ • KM-22 เป็นมิเตอร์วัดค่าแรงดันไฟฟ้า(V), กระแสไฟฟ้า(A), พลังงานไฟฟ้า(kWh) พร้อมทั้งรีเลย์ป้องกันไฟตก-ไฟเกินได้ สําหรับระบบไฟ 3 เฟส • ย่านการวัดแรงดันไฟฟ้า20-500VAC • ย่านการวัดกระแส 0.02-5A, แสดงค่ากระแสสูงสุดได้ 9999A โดยผ่าน C.T. ratio range 1-2000 (10000/5A) • kw, kWh, Hour Counter, Counter Display With Relay Output • Under and Over Voltage, Phase Sequence, Phase Loss, Asymmetry Protection Relay • Under and Over Current Protection Relay • Peak Hold for Maximum ของค่าแรงดันไฟฟ้า (V), ค่ากระแสไฟฟ้า (A), และค่ากําลังไฟฟ้า (kW) • Fault Display With Memory • RS-485 MODBUS RTU • LED แสดงค่าที่วัดได้แต่ละ Phase , Output และ Peak • Manual / Auto Display ค่ากระแส และแรงดันไฟฟ้าในแต่ละเฟส • สามารถดูค่า P.F. (Power Factor) รวมของทั้งระบบได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
HEATERS (ฮีตเตอร์)

HEATERS (ฮีตเตอร์)      ฮีตเตอร์เป็นอุปกรณ์ให้ความร้อนแก่ชิ้นงานในโรงงานอุตสาหกรรม โดยส่วนประกอบส่วนใหญ่ของฮีตเตอร์ (Heater) มีดังนี้         - ฉนวนแมกนีเซียมอกไซด์ (MgO)         - แสตนเลส (Stainless) Stainless 304, Stainless 316         - ลวดฮีตเตอร์ (Heater): R80 HEATER ถูกแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ตามลักษณะการใช้งานดังนี้ Cartridge Heater (ฮีตเตอร์แท่ง)      มีลักษณะเป็นแท่งเหมาะสำหรับใช้ให้ความร้อนกับชิ้นงานที่เป็นของแข็งหรือแม่พิมพ์,โมลต่าง ๆ เช่น เหล็ก, อลูมิเนียม ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน เช่น งานบรรจุหีบห่อ, งานขึ้นรูปเซรามิค ,พลาสติก     Strip Heater (ฮีตเตอร์แผ่น)      มีลักษณะเป็นแผ่น สามารถออกแบบให้เป็นรูปทรงต่างๆ ได้ เช่น ทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส, ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ทรงกลม เป็นต้น   ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน เหมาะสำหรับใช้ให้ความร้อนกับชิ้นงานโดยแนบกับชิ้นงานโดยตรง     ใช้ติดข้างนอกของถังหรือท่อ เพื่ออุ่นหรือต้มของเหลว เช่น น้ำ, น้ำมัน และของเหลวทั่วไป   Band Heater  (ฮีตเตอร์รัดท่อ)      มีลักษณะเป็นวงแหวน ใช้รัดกับท่อ หรือถังทรงกระบอก เพื่อให้ความร้อนภายใน ส่วนใหญ่จะเป็นงานพลาสติก  หรืองานอุ่นของเหลวภายในท่อ     ลักษณะการติดตั้ง     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน      การนำไปใช้งานกับเครื่องฉีดพลาสติก          การนำไปใช้งานกับเครื่องอุ่นกาว   Tubular Heater (ฮีตเตอร์ท่อกลม)      ใช้ให้ความร้อนได้กับทั้งอากาศและของเหลว       ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน     Immersion Heater (ฮีตเตอร์จุ่ม-ต้มน้ำ)      ใช้ให้ความร้อนกับของเหลวทุกชนิด เช่น งานต้มน้ำ , ต้มน้ำมัน  วัสดุสแตนเลส 304 สำหรับของเหลวทั่วไป วัสดุที่เป็นอินโคลอย (Incoloy) สำหรับของเหลวที่ระบายความร้อนช้า วัสดุที่เป็นสแตนเลส 316 สำหรับของเหลวที่กัดกร่อน   ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Finned Heater (ฮีตเตอร์ครีบ)      เป็นฮีตเตอร์ที่ใช้หลักการให้ความร้อนโดยการพาความร้อน  ใช้กับอากาศเท่านั้น ตัวครีบจะเป็นตัวระบายความร้อนออกจากตัวฮีตเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้กับงาน เตาอบ  เหมาะสำหรับงานให้ ความร้อนกับอากาศ ให้ความร้อนคงที่สม่ำเสมอ ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และงานอบทั่วไป   ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน      ใช้สำหรับงานที่ต้องให้ความร้อนกับอากาศ เช่น อบสี, อบชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์, อบไล่ความชื้น, อบใยผ้า, อบแม่พิมพ์, อบพลาสติก  เป็นต้น     Infrared Heater      เป็นฮีตเตอร์ที่แผ่รังสีอินฟราเรดให้กับชิ้นงานได้สม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้ได้อุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย โดยมีแบบให้เลือกทั้งแบบ Black และแบบ Quartz   ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน      นำไปใช้ในงานอบไล่ความชื้น เช่น อบสีรถยนต์, อบชิ้นส่วนอะไหล่รถ, อบเพื่อแปรรูปพืชผลทางการเกษตร, ใช้ในโรงพยาบาลเพื่อให้ความอบอุ่นกับคน เป็นต้น       Bobbin Heater      เป็นฮีตเตอร์แบบจุ่มชนิดหนึ่ง  ถูกออกแบบสำหรับให้ความร้อนกับของเหลว สารเคมี  เมื่อฮีตเตอร์เสียสามารถถอดซ่อมได้  เหมาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมเคมีต่าง ๆ ทั่วไป ที่มีการอุ่นหรือให้ความร้อนกับสารเคมี ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน      นำไปใช้อุ่นหรือต้มน้ำยาเคมี และของเหลวเกือบทุกชนิด  งานชุปโลหะ เช่นชุบโครเมี่ยม ,ซิงค์ เป็นต้น Coil Heater & Hot Air Heater   ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน      เตาอบ ทำงานโดยอาศัยหลักการของการแผ่ความร้อนจาก Heater Coil   ตำแหน่งที่วาง Coil  และมีพัดลมพัดพาความร้อนให้กระจายทั่วถึง   ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   Circulation Heater   โครงสร้างของ Circulation  Heater   ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Quartz heater      เป็นฮีตเตอร์ที่มีลักษณะเป็นแท่งแก้ว  สามารถทนการกัดกร่อนของกรดและด่างได้ดี สามารถถ่ายเทความร้อนได้ทั่วแท่งแก้ว นิยมใช้ในอุตสาหกรรมงานชุบชิ้นงาน , งานต้มของเหลวต่าง ๆ หรืองานอบที่ให้อุณหภูมิความร้อนแบบเร็ว โครงสร้างของ Quartz  Heater ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน      งานชุบชิ้นงาน , งานต้มของเหลวต่าง ๆ เช่น ใช้ในงานต้มน้ำ ต้มสารเคมี กรด ด่าง ต่าง ๆ หรืองานอบที่ให้อุณหภูมิความร้อนแบบเร็ว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com

Image Alternative text
Temperature Sensor Thermocouple - RTD

เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple)      เทอร์โมคัปเปิล คืออุปกรณ์วัดอุณหภูมิที่อาศัยหลักการการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิหรือความร้อนเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า เทอร์โมคัปเปิลทำมาจากโลหะตัวนำที่ต่างชนิดกัน 2 ตัว มาเชื่อมต่อปลายทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยที่ปลายด้านที่เชื่อมติดกัน เรียกว่าจุดวัดอุณหภูมิ ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งปล่อยเปิดไว้ เรียกว่าจุดอ้างอิง Class ของเทอร์โมคัปเปิล (Class of Thermocuple)      เทอร์โมคัปเปิล แบ่งออกเป็น Class เพื่อวัตถุประสงค์ให้เกิดความเหมาะสม คุ้มค่าในการเลือกใช้เทอร์โมคัปเปิลกับงานที่มีความแตกต่างกัน เช่น งานที่ต้องการความละเอียดแม่นยำในการวัดค่าสูง กับงานที่ต้องการความละเอียดไม่สูงมากนัก ซึ่งเทอร์โมคัปเปิล แบ่งออกเป็น 2 Class คือ      Class 1 มีค่าความคลาดเคลื่อนต่ำ ย่านวัดแคบ      Class 2 มีค่าความคลาดเคลื่อนสูง ย่านวัดกว้าง      โดยในอุตสาหกรรมทั่ว ๆ ไป จะนิยมใช้เทอร์โมคัปเปิล Class 2 เนื่องด้วยราคาที่ย่อมเยากว่า แต่ถ้าเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ความละเอียดสูงและอุณหภูมิสูง จะนิยมใช้เทอร์โมคัปเปิล Class 1 และทางไพรมัส จะทำ Class 2 เป็นรุ่นมาตรฐาน กราฟแสดงค่าความคลาดเคลื่อนของเทอร์โมคัปเปิลชนิด K Class 1 และ Class 2 ปัจจุบันเทอร์โมคัปเปิลที่ทาง บริษัท ไพรมัส จำกัด มีผลิตและจำหน่าย คือ Thermocouple Type K, J, R, S, T, N (มาตรฐาน JIS) เทอร์โมคัปเปิลแบบ J      ให้ค่าการเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าต่ออุณหภูมิดี นิยมใช้กับงานทั่วไป ราคาไม่แพง เหมาะสำหรับใช้งานที่อุณหภูมิไม่เกิน 760 ํC ไม่เหมาะกับงานที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 ํC นิยมใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก เทอร์โมคัปเปิลแบบ K      เป็นเทอร์โมคัปเปิลชนิดที่นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด สามารถวัดอุณหภูมิได้สูงกว่าแบบ J และมีราคาถูกกว่า ทนอุณหภูมิได้ถึง 1300 ํC และที่อุณหภูมิต่ำถึง -250 ํC มีค่าความเป็นเชิงเส้นสูงที่สุดเมี่อเปรียบเทียบกับเทอร์โมคัปเปิลชนิดอื่น ให้แรงดันไฟฟ้าทางด้านเอาต์พุตสูง สามารถใช้กับงานที่มีการแผ่รังสีความร้อนได้ ไม่เหมาะกับงานในสภาวะสูญญากาศ (ยกเว้นการใช้งานในช่วงเวลาสั้น) เทอร์โมคัปเปิลแบบ S และ R      มีคุณสมบัติที่คล้ายกัน แต่แบบ R ให้ค่าแรงดันไฟฟ้าทางด้านเอาต์พุตที่สูงกว่า เหมาะสำหรับการใช้งานที่อุณหภูมิสูง เช่น เตาหลอมเหล็ก อุตสาหกรรมแก้ว โดยสามารถทนอุณหภูมิได้ถึง 1400 ํC ใช้งานได้ดีในสภาวะที่ไม่เกิดปฏิกิริยาทางเคมี ไม่เหมาะกับงานที่มีสภาวะแบบกัดกร่อน ไม่เหมาะกับงานในสภาวะสูญญากาศ ไม่เหมาะกับงานที่มีไอของโละหะและอโลหะ เทอร์โมคัปเปิลแบบ T      เหมาะสำหรับวัดอุณหภูมิในย่านต่ำ วัดอุณหภูมิอย่างต่อเนื่องได้จากช่วง -185 ํC ถึง 300 ํC และวัดอุณหภูมิแบบช่วงสั้น ๆ ได้จากช่วง -250 ํC ถึง 400 ํC เช่น การวัดอุณหภูมิในห้องเย็นและตู้แช่แข็ง มีเสถียรภาพในการวัดที่ดี สามารถทนต่อบรรยากาศที่มีการกัดกร่อนและมีความชื้นได้ดี ไม่ะหมาะกับงานที่ต้องสัมผัสกับการแผ่รังสีความร้อนโดยตรง เทอร์โมคัปเปิลแบบ N      สร้างจากโลหะผสมของนิกเกิล-โครเมี่ยม-ซิลิกอน (Nicrosil) และโลหะผสมของนิเกิล-ซิลิกอน (Nisil) มีเสถียรภาพต่ออุณหภูมิดีเยี่ยม มีอายุการใช้งานยาวนานที่อุณหภูมิสูง ให้แรงดันสูงกว่าเทอร์โมคัปเปิลอุณหภูมิสูง ๆด้วยกันและราคาถูก ทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ลักษณะการประกอบตัวเทอร์โมคัปเปิลเข้ากับ Metal Sheath มี 3 วิธี ดังนี้      1. แบบเปลือย (Exposed Junction) ให้ผลการวัดที่ไวที่สุด (Minimum Response Time) จุดต่อสำหรับวัดสัมผัสกับของเหลว (Fluid) ที่ต้องการวัดโดยตรง ผลเสียของแบบเปลือย คือ ชำรุดเสียหายง่ายและอายุการใช้งานสั้น ไม่เหมาะสำหรับงานความดันสูงหรือ Fluid ที่มีการกลั่นตัว      2. แบบ Grounded Junction สายทั้งคู่ของเทอร์โมคัปเปิ้ลที่เชื่อมติดกัน จะถูกเชื่อมต่อลงบนส่วนปลายท่อโลหะของ Metal Sheath อีกทีหนึ่ง สามารถใช้ได้กับ Fluid ที่เป็นสารกัดกร่อน ให้ผลการตอบสนองต่ออุณหภูมิไวกว่าแบบ Ungrounded Junction แต่มีข้อเสียคือ ถ้ามีกระแสไฟรั่วจากอุปกรณ์อื่นมาที่ Metal Sheath จะทำให้ค่าวัดอุณหภูมิผิดพลาดได้      3. แบบ Ungrounded Junction ใช้ได้กับ Fluid ที่เป็นสารกัดกร่อน มีอายุการใช้งานยืนยาวที่สุด แต่มีข้อเสียคือ ให้ผลการวัดช้า เหมาะกับงานที่อุณหภูมิไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง ในอุตสาหกรรมใช้แบบนี้เกือบทั้งหมด      ชีทเทอร์โมคัปเปิล (Sheath Thermocouple) คือ เทอร์โมคัปเปิลที่ตัว Metal Sheath ผลิตสำเร็จรูปมาพร้อมกับตัวสายเทอร์โมคัปเปิลเลย จึงทนอุณหภูมิได้สูงกว่าแบบธรรมดามาก เพราะฉนวนไฟฟ้าที่อยู่ระหว่าลวดเทอร์โมคัปเปิลกับ Metel Sheath จะถูกบีบอัดแน่นกว่าปกติหลายเท่า ท่อ Metal Sheath มักทำจากโลหะเหนียวและยืดหยุ่น สามารถดัดท่องอได้ตามความเหมาะสมกับงาน Resistance Temperature Detectors : RTD      RTD คือ อุปกรณ์วัดอุณหภูมิ ที่ใช้หลักการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานของโลหะ ซึ่งค่าความต้านทานดังกล่าวจะมีค่าเพิ่มตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น นิยมนำไปใช้ในการวัดอุณหภูมิในช่วง -270 to 850 °C โดย RTD ที่ทางไพรมัสผลิตและจำหน่ายจะทำจาก แพลทินัม เป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุด นั่นคือ PT-100, PT-1000 มีความแม่นยำ เที่ยงตรงสูง ซึ่งมีทั้งแบบ 3 สาย (standard) และ 4 สาย จะมีค่า 100 โอห์ม ที่ 0 ํC      PRT ย่อมาจาก Platinum Resistance Thermometers อาจเรียกสั้น ๆ ว่า Pt ซึ่งคือเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิซึ่งใช้ลวดความต้านทานเป็นแพลทินั่ม (Platinum) เนื่องจากมีความเที่ยงตรง (precision) และมีความเป็นเชิงเส้น (linearity) สูงที่สุดของกราฟระหว่างอุณหภูมิกับความต้านทาน แต่มีราคาค่อนข้างแพงเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุชนิดอื่น จึงนิยมใช้ Pt 100 ในงานวัดที่ต้องการความละเอียด ส่วน Pt 500 และ Pt 1000 เหมาะสมกับงานที่ต้องการความละเอียดมากขึ้นกว่า Pt 100 กราฟค่าความต้านทานที่อุณหภูมิต่าง ๆ ของ RTD Pt 100 การเลือกใช้เทอร์โมคัปเปิล หรือ RTD Pt100      เซ็นเซอร์ทั้งสองชนิดต่างใช้วัดอุณหภูมิในช่วงต่าง ๆ ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทและความละเอียดของงานที่ต้องการวัด เช่น      งานที่ใช้อุณหภูมิต่ำถึงปานกลาง ประมาณ -200 ถึง 800 ํC สามารถใช้เซ็นเซอร์ได้ทั้งแบบ RTD และ เทอร์โมคัปเปิล      งานที่ต้องใช้อุณหภูมิที่สูงมากกว่านั้นควรใช้เซ็นเซอร์แบบเทอร์โมคัปเปิล ข้อแตกต่างของเทอร์โมคัปเปิล กับ RTD Pt100 ข้อดีและข้อเสียของเทอร์โมคัปเปิล กับ RTD Pt100 วิธีการตรวจเช็คเทอร์โมคัปเปิล   กรณีที่ต้องการเช็คว่าเทอร์โมคัปเปิล ว่าเป็นชนิดใด      1. ดูจากภายนอกโดยดูจากสีของสายที่ออกมา      2. ต่อเข้ากับ Temperature Controller แล้วลองตั้งค่าพารามิเตอร์ของ Input ดูว่าพารามิเตอร์ใดใกล้เคียงกับอุณหภูมิจริงมากที่สุด แสดงว่าเป็นชนิดนั้น   กรณีที่ต้องการเช็คว่าเทอร์โมคัปเปิลใช้งานได้หรือไม่      1. ใช้มิเตอร์วัดถ้ามีค่าความต้านทานขึ้นแสดงว่าเทอร์โมคัปเปิลสามารถใช้งานได้ตามปกติ วิธีการตรวจเช็คเทอร์โมคัปเปิล วิธีการตรวจเช็ค RTD Pt100   RTD มีทั้งแบบ 2 สาย, 3 สาย และ 4 สาย กรณีที่ต้องการเช็คว่าเป็น RTD ชนิดใด Pt100, Pt1000      1. ใช้มิเตอร์วัด           1.1 ถ้าเป็น Pt100 ค่าจะขึ้นอยู่ที่ประมาณ 100 กว่าโอห์ม เมื่อเทียบกับอุณหภูมิห้อง           1.2 ถ้าเป็น Pt1000 ค่าจะขึ้นอยู่ที่ประมาณ 1000 กว่าโอห์ม เมื่อเทียบกับอุณหภูมิห้อง วิธีการตรวจเช็ค RTD Pt100 การดูแลรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งาน      1. ทำความสะอาด เช่น กรณีใช้กับของเหลวประเภทสารเคมี ควรหมั่นทำความสะอาดเพื่อไม่ให้สารเคมีเกาะบริเวณท่อจนเกินไป เพราะจะส่งผลให้การวัดอุณหภูมิช้าและเพี้ยนได้      2. การเลือกหัววัดอุณหภูมิใช้งานให้ถูกประเภท ถูกกับลักษณะงาน เช่น อุณหภูมิสูง ๆ ควรเลือกใช้เป็นเทอร์โมคัปเปิล หรืองานที่ต้องการความละเอียดในการอ่านอุณหภูมิควรเลือกเป็น RTD Pt100      3. การเลือกใช้สายและระยะการเดินสายใช้งาน เช่น ถ้าใช้ในอุณหภูมิสูงที่สายต้องสัมผัสกับความร้อนโดยตรง ควรเลือกใช้เป็นสายไฟเบอร์กลาสหุ้มชิลล์ เป็นต้น PTC & NTC      นอกเหนือจาก เทอร์โมคับเปิล และ RTD แล้ว เราก็ยังมีอุปกรณ์วัดอุณหภูมอื่น ๆ คือ PTC เป็นตัววัดอุณหภูมิโดยอาศัยหลักการ เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นความต้านทานก็จะเพิ่มขึ้น และ NTC เป็นตัววัดอุณหภูมิโดยอาศัยหลักการ เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นความต้านทานก็จะลดขึ้น ซึ่งจะเหมาะสมกับการใช้งานที่อุณหภูมิที่ไม่สูงมากนัก -30 ํC ถึง130 ํC สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : www.primusthai.com    

Image Alternative text
Photoelectric Sensor ตรวจจับวัตถุได้อย่างไร

Photoelectric Sensor ทำงานอย่างไร มีแบบไหนบ้าง Photoelectric Sensor ทำงานโดยใช้หลักการของแสง โดยแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ดังนี้         1. เซนเซอร์ ชนิด ตัวรับ - ตัวส่ง Thru Beam โดยลักษณะของ Photoelectric sensor นี้ มีตัวรับและตัวส่งแยกกัน ตัวหนึ่งจะเป็นตัวส่งแสง (Emitter Head)  อีกด้านหนึ่งเป็นตัวรับแสง  หรือที่เรียกว่า (Receiver Head)  เมื่อมีวัตถุตัดผ่านตรงกลางระหว่าง Photo sensor  2 ตัว ทำให้ตัวรับแสง ไม่ได้รับแสงหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า (Dark on) outputจะทำงาน         ข้อดีของ Photoelectric Sensor Type Thru Beam นี้คือ สามารถ ตรวจจับวัตถุ ได้ในระยะที่ไกล พื้นผิวและสีของวัตถุไม่มีผลต่อการตรวจจับ             Dark on คือสถานะของ Outputจะทำงาน ON เมื่อมีวัตถุมาอยู่ด้านหน้า Photoelectric Sensor แล้วไม่มีแสงผ่านมายังตัวรับแสง ดังรูป     เซนเซอร์ ชนิด ตัวรับ - ตัวส่ง Photoeletric Sensor Thru Beam     2. เซนเซอร์ ชนิด แผ่นสะท้อน Photoelectric sensor Type Retro reflective   นี้ มีตัวรับและตัวส่งอยู่ในตัวเดียวกัน ตัวหนึ่งจะเป็นตัวส่งแสง (Emitter)  และภายในตัวของมันเองก็มีตัวรับแสง (Receiver)  การตรวจจับวัตถุนี้จะอาศัยแผ่นสะท้อนเป็นตัวสะท้อนแสงกลับมายังตัวรับที่อยู่ภายในตัวของมันเองและ เมื่อมีวัตถุตัดผ่านตรงกลางระหว่าง Photo sensor กับแผ่นสะท้อน ทำให้ตัวรับแสง ไม่ได้รับแสงหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า (Dark on) outputก็จะทำงาน          ข้อดีของ Photoelectric Sensor Type Retro reflective หรือ เซนเซอร์ ชนิดใช้แผ่นสะท้อนแสงคือ ติดตั้งง่าย เนื่องจากเดินสายไฟเพียงด้านเดียวส่วนอีกด้านหนึ่ง ใช้แผ่นสะท้อนติดไว้ได้เลย  พื้นผิวและสีของวัตถุไม่มีผลต่อการตรวจจับ          Dark on คือสถานะของ Outputจะทำงาน ON เมื่อมีวัตถุมาอยู่ด้านหน้า Photoelectric Sensor แล้วไม่มีแสงผ่านมายังตัวรับแสง ดังรูป   เซนเซอร์ ชนิด แผ่นสะท้อน Photoelectric sensor Type Retro reflective   3. เซนเซอร์ ชนิด สะท้อนวัตถุโดยตรง Photoelectric sensor Type Diffuse reflective   นี้ มีตัวรับและตัวส่งอยู่ในตัวเดียวกัน ตัวหนึ่งจะเป็นตัวส่งแสง (Emitter)  และภายในตัวของมันเองก็มีตัวรับแสง (Receiver)  การตรวจจับวัตถุนี้จะอาศัยแผ่นสะท้อนกับวัตถุโดยตรงกลับมายังตัวรับที่อยู่ภายในตัวของมันเองและ เมื่อมีวัตถุตัดผ่านด้านหน้าของ Photoeletric Sensor ลำแสงจะตกกระทบกับวัตถุและสะท้อนกลับมายังตัวรับที่อยู่ภายในตัวรับแสง หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า (light on) outputก็จะทำงาน          ข้อดีของ Photoelectric Sensor Type Retro reflective หรือ เซนเซอร์ ชนิดใช้แผ่นสะท้อนแสงคือ ติดตั้งง่าย เนื่องจากเดินสายไฟเพียงด้านเดียวส่วนอีกด้านหนึ่ง ใช้แผ่นสะท้อนติดไว้ได้เลย  พื้นผิวและสีของวัตถุไม่มีผลต่อการตรวจจับ         Light On คือ สถานะของ Output จะทำงาน ON เมื่อมีวัตถุมาอยู่ด้านหน้า Photoelectric Sensor แล้วมีแสงสะท้อนมายังตัวรับแสง  ดังรูปด้านล่าง     เซนเซอร์ ชนิด สะท้อนวัตถุโดยตรง Photoelectric sensor Type Diffuse reflective       

Image Alternative text
การควบคุมอุณหภูมิในงานอุตสาหกรรมด้วย Temperature Controller

ควบคุมอุณหภูมิในงานอุตสาหกรรมด้วย Temperature Controller CMA-Series คุณสมบัติ • เครื่องควบคุมอุณหภูมิ Temp Control แบบอะนาลอก(แบบเข็ม) • รับอินพุทจาก Thermocouple Type k • ย่านการวัดอุณหภูมิ 0-200 ํC และ 0-400 ํC • เอาท์พุทแบบ Relay Contact 5A ,250 VAC และ SSR ,Solid State Relay,(12VDC) • การควบคุมแบบ ON/OFF TMD-Series คุณสมบัติ • เครื่องควบคุมอุณหภูมิ Temp Control แสดงผลแบบดิจิตอล  • รับอินพุทประเภท Thermocouple Type K,J และ RTD (PT100)  • เอาท์พุทแบบ Relay Contact และ SSR ,Solid State Relay, • Alarm Output แบบ Relay Contact Model. • การควบคุมแบบ ON-OFF และ Proportional (P-Control) • ย่านการวัดและความคุมอุณหภูมิ 0-400 ํC TTM-i4N คุณสมบัติ • เครื่องควบคุมอุณหภูมิ Temp control และแสดงผลแบบดิจิตอล ทำให้ระบบมีเสถียรภาพตรงตาม Setpoint ด้วยการทำงานของ Uitra-Fuzzy Control สามารถป้องกัน Over Shoot ได้ • 4 Digit LCD with black light • สามารถรับอินพุทได้ทั้งแบบ Thermocouple และ PT100      - Thermocouple: Type K, J, R, T, N, S, B      - RTD: PT100, JPT100 • 1 Output 2 Alarm (Alarm สามารถเลือกให้ทำหน้าที่ Alarm หรือเป็น Output ควบคุม Heat / Cool ได้) TTM-00Series TTM-004   TTM-005   TTM-007   TTM-009    คุณสมบัติ • เครื่องควบคุมอุณหภูมิ Temp Control หรือ Process ต่าง ๆ แบบดิจิตอล • แสดงผลด้วย 7-Segment 2 แถว 4 หลัก (7-Segment สีเขียวแสดงค่า PV และ สีแดงแสดงผลค่า SV) • รับอินพุทประเภท      - Thermocouple Type K,J,T,R,N,S,B      - RTD PT100, JPT100      - Current : 4-20mADC                           - Voltage : 0-5VDC • การควบคุมแบบ PID Control (Auto-Tunning, Self-Tunning), ON/OFF • มีเอาท์พุทให้เลือกแบบ      - Relay Contact (250VAC, 3A)              - SSR Solid state Relay  Drive Voltage (0-12VDC) - Current (4-20mA) • มีอะลาร์มแบบ Relay Contact และสามารถเปลี่ยนอะลาร์มที่ 2 เป็น Output 2 ได้ • มี Option ให้เลือกแบบ      - Relay Contact (250VAC,3A)               - SSR,Solid State Relay,Drive Voltage (0-12VDC)      - CT Input                                           - Digital Input      - Communication RS-485                     - Transfer Output : 0-1mVDC, 0-1VDC, 0-5VDC, 1-5VDC, 0-10VDC, 4-20mA • เอาท์พุทสามารถเลือกการทำงานได้ทั้งแบบ Heating และ Cooling สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : http://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=38&page_num=20

Image Alternative text
อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าเป็นสัญญาณ Analog 4-20mA, 0-10VDC

อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าเป็นสัญญาณ Analog 4-20mA, 0-10VDC Digital Signal Transmitter IM-Series • อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าแบบดิจิตอล ที่มี Display • สามารถแสดงผลของสัญญาณด้านอินพุทและเอาท์พุท • อินพุทและเอาท์พุทแยกอิสระจากกัน (Isolation) • สามารถโปรแกรมเลือกสัญญาณด้านเอาท์พุทแบบ Direct หรือ Inverse ได้ • เอาท์พุทมีสูงสุด 2 เอาท์พุทและมี 4 Alarm Function • สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์โดยผ่านพอร์ท RS-485 Modbus RTU Protocol Signal Transmitter EM-Series • อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า • อินพุทและเอาท์พุทแยกอิสระจากกัน (Isolation) • เอาท์พุทมีสูงสุด 2 เอาท์พุท • สามารถเลือกเอาท์พุทได้ทั้งสัญญาณ Direct และ Inverse • มี LED แสดงแรงดันไฟเลี้ยงการทำงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : http://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=35&page_num=20

Image Alternative text
อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรล, ไฟฟ้า

CMA-001 / CMA-001-E • อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรล, ไฟฟ้า แบบ Analog • มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิชนิด PTC 2K ในตัวและหัววัดอุณหภูมิแบบต่อไปยังภายนอก • ตั้งค่า Setpoint อุณหภูมิได้ง่ายด้วยปุ่มปรับ เพื่อควบคุมการ ON/OFF พัดลม • สามารถควบคุมการทำงานของพัดลมหรืออื่น ๆ ได้มากถึง 2 ตัว ด้วย 2 รีเลย์เอาท์พุทแบบ NO/NC CMA-002 • อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรล, ไฟฟ้า แบบ Digital • มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิภายในตัว • แสดงอุณหภูมิชัดเจนด้วย 7-Segment 3 หลัก 1 แถว สีแดง (-9.9 to 99.9 ํC) • ตั้งค่า Setpoint อุณหภูมิได้ง่ายด้วยปุ่มปรับ เพื่อควบคุมการ ON/OFF พัดลม • รุ่นนี้มีการเพิ่มฟังก์ชั่นเลือกการควบคุมการ ON/OFF แบบ Heat/Cool และตั้งค่า Delay Time หน่วงเวลาการทำงานของรีเลย์เอาท์พุทได้ 0-999 Sec. สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : http://www.primusthai.com/search?q%5Bsearch%5D=cma-

Image Alternative text
เครื่องตั้งเวลา(Digital Timer) รดน้ำอัตโนมัติแบบไหนดีที่สุด

เครื่องตั้งเวลา(Digital Timer) รดน้ำอัตโนมัติแบบไหนดีที่สุด แบบถ่านหรือแบบไฟฟ้า                                            ระบบถ่าน                                                                              ระบบไฟฟ้า จุดเด่นของเครื่องตั้งเวลา (Digital Timer) รดน้ำต้นไม้อัตโนมัติแบบถ่าน • ติดตั้งได้ง่าย • ไม่ต้อง Wiring สายไฟ • ประหยัดค่าใช้จ่าย จุดเด่นของเครื่องตั้งเวลา(Digital Timer) รดน้ำต้นไม้อัตโนมัติแบบไฟฟ้า • ตัดปัญหาไม่ต้องกังวลเรื่องถ่านหมดแล้วต้องคอยเปลี่ยน • หากอะไหล่ส่วนไหนเสียสามารถซ่อมได้ • สามารถตั้งค่าโปรแกรมและดูค่าต่าง ๆ ผ่าน SMART PHONE ผ่าน WIFI สะดวกกับผู้ใช้งานในยุค Thailand 4.0 • มีเอาท์พุทให้เลือกได้สูงสุด 4 เอาท์พุท แบบ 250VAC 10A (สำหรับ 1 และ 2 เอาท์พุท) และแบบ 250VAC 5A (สำหรับ 3 และ 4 เอาท์พุท) คุณสมบัติ • นาฬิกาตั้งเวลาระบบดิจิตอล แบบรายวันและรายสัปดาห์ • หน้าจอแสดงผลแบบ OLED สามารถมองเห็นได้ชัดเจน • สามารถตั้ง เปิด-ปิด อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ตามเวลาที่ต้องการได้ด้วยปุ่ม Keypad • สามารถตั้งค่าหน่วยเวลาเป็น วินาที, นาที, ชั่วโมง, วัน, เดือน, ปีได้ • สามารถโปรแแกรมวันหยุดล่วงหน้า 30 วัน และช่วงวันหยุดพักร้อนได้ 10 ช่วงเวลา • หน่วยความจำ 99 โปรแกรม (ON/OFF) 1 โปรแกรม (Recycle) การทำงาน      SMW-SERIES เป็นนาฬิกาตั้งเวลา หรือ Timer Switch แบบดิจิตอล ใช้สำหรับตั้งเวลาในการทำงานซึ่งเหมาะกับงานที่ต้องการควบคุมเวลาในการทำงานโดยสามารถตั้งเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าตามเวลาที่ต้องการ หรือตั้งให้ทำงานแบบ Recycle Timer      สามารถโปรแกรมวันหยุดล่วงหน้าได้ 30 วัน และช่วงวันหยุดพักร้อนได้ 10 ช่วงเวลา นอกจากนี้ Output ยังสามารถสั่ง ON/OFF แบบ Manual ได้ด้วย ในกรณีไฟดับสัญญาณนาฬิกาของ SMW-SERIES ยังทำการนับเวลาต่อไป ไม่จำเป็นต้องตั้งเวลาหรือโปรแกรมการทำงานใหม่      การแสดงผลด้วย OLED Display สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และสามารถตั้งเวลาในการปิดหน้าจอ OLED เมื่อไม่มีการกด Keypad ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีของประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่ยุค Thailand 4.0 หากมองในเรื่องของ 1. อายุการใช้งานเครื่องตั้งเวลา(Digital Timer) แบบระบบไฟฟฟ้าจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า เนื่องจากเครื่องตั้งเวลาแบบถ่าน (Digital Timer) นั้นหากถ่านหมดต้องมีการถอดเปลี่ยนถ่านตลอดอาจเกิดการชำรุดได้ 2. โอกาสที่จะเปิดน้ำทิ้งสูงหากใช้เครื่องตั้งเวลาแบบถ่าน(Digital Timer) ในกรณีถ่านหมดเอาท์พุทอาจไม่ทำงานได้ สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : http://www.primusthai.com/search?q%5Bsearch%5D=sm

Image Alternative text
เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) เซ็นเซอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ

เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple)      เทอร์โมคัปเปิล คือ อุปกรณ์วัดอุณหภูมิ หรือเซ็นเซอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ โดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ หรือความร้อนเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า (emf) Thermocouple ประกอบด้วย ลวดโลหะตัวนำ 2 ชนิดที่แตกต่างกันทางโครงสร้างของอะตอม นำมาเชื่อมปลายทั้ง 2 เข้าด้วยกัน โดยเรียกปลายนี้ว่า Measuring point หรือ Hot junction (จุดวัดอุณหภูมิ) ซึ่งเป็นจุดที่ใช้วัดอุณหภูมิ และจะมีปลายอีกข้างหนึ่งของลวดโลหะปล่อยว่าง ซึ่งเรียกว่า Cold junction (จุดอ้างอิง) ซึ่งหากจุดวัดอุณหภูมิ และจุดอ้างอิง มีอุณหภูมิต่างกันก็จะทำให้มีการนำกระแสในวงจรเทอร์โมคัปเปิลทั้งสองข้าง เทอร์โมคัปเปิล และ RTD Pt100 เซนเซอร์ใช้วัดอุณหภูมิ (Industrial temperature measurement)      ในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่จะใช้ฮีตเตอร์ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงค่าหนึ่งๆ ซึ่งต้องรักษาและควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ จึงมีการใช้เทอร์โมคัปเปิล หรือ RTD Pt 100 ในการวัดอุณหภูมิอาทิเช่น กระบวนการอุตสาหกรรมผลิตอาหาร อุตสาหกรรมโลหะ ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมทั่วไป โดยจะมีเซนเซอร์หัววัดอุณหภูมิที่นิยมใช้อยู่สองกลุ่มใหญ่ๆ คือ เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouples ;TC) และ RTD (Resistance temperature detectors) Pt100      โดยทางบริษัท ไพรมัส จำกัด มีฝ่ายผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านกลุ่มงาน เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouples ;TC) และ RTD (Resistance temperature detectors) Pt100 โดยลูกค้าสามารถระบุแบบตามความต้องการได้ ด้วยคุณภาพของฝ่ายผลิตเราการันตีด้านประสบการณ์ที่มากถึง 20 กว่าปี ลูกค้าจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพอย่างแน่นอน สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : http://www.primusthai.com/primus/product?productID=900

Image Alternative text
การตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน

 การตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงาน      การตรวจวัดการใช้พลังงานเป็นสิ่งจำเป็นในการที่จะทำให้ทราบถึงปริมาณการใช้พลังงานและประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งใช้ในการประเมินแนวทางการประหยัดพลังงาน การวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุน ตลอดจนการตรวจสอบติดตามผลการประหยัดที่เกิดขึ้นจริง หลังจากที่ได้ดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงาน พื้นฐานของการตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและระบบที่ใช้พลังงานความร้อน รวมทั้งการประเมินการใช้พลังงานของโรงงานระบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ได้แก่ ระบบส่งจ่ายไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ระบบอากาศอัด ระบบแสงสว่าง ระบบปั๊มน้ำและมอเตอร์ เป็นต้น ส่วนระบบที่ใช้พลังงานความร้อน ได้แก่ ระบบไอน้ำ ระบบน้ำมันร้อน และเตาอุตสาหกรรม เป็นต้น        1. พื้นฐานการใช้พลังงาน          การใช้พลังงานโดยทั่วไปสำหรับสถานประกอบการ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พลังงานไฟฟ้าและพลังงานกล ที่มีรูปแบบการใช้งาน 2 ด้าน คือ ด้านความดันและด้านความร้อน             1.1  พลังงานไฟฟ้า                  พลังงานไฟฟ้าแบ่งได้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับและไฟฟ้ากระแสตรง หลักการเหมือนกันคือแหล่งจ่ายพลังงานทำหน้าที่จ่ายพลังงานไปยังอุปกรณ์ (Load) เมื่ออุปกรณ์ได้รับพลังงานไฟฟ้าแล้วจะเปลี่ยนจากพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปแบบอื่น ๆ เช่น แสงสว่าง ความร้อน พลังงานกล เป็นต้น                    ดังรูป การใช้พลังงานของวงจรไฟฟ้ากระแสสลับและกระแสตรง   การใช้พลังงานของวงจรไฟฟ้ากระแสสลับและกระแสตรง   การใช้พลังงานของวงจรไฟฟ้ากระแสตรง             1.2  พลังงานกลในรูปของความดัน                  ความดัน (Pressure) ความดันเกจ (gauge pressure) ความดันบรรยากาศ (atmospheric pressure) ความดันสมบูรณ์ (absolute pressure) อัตราการไหล (flow rate) ปริมาณแรงดันที่กระทำตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ การแสดงค่าความดันมีได้หลายอย่าง เช่น แรงต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ (นิวตันต่อตารางเมตร) ความสูงของแท่งของเหลว (มิลลิเมตรปรอท) หรือ การแสดงค่าโดยเทียบกับความดันบรรยากาศ เป็นต้น              1.3 พลังงานกลในรูปความร้อน                  ในทางอุตสาหกรรมมีการใช้พลังงานที่เปลี่ยนรูปแบบหรือส่งต่อกันไปเพื่อใช้งาน เช่น ระบบไฟฟ้า จ่ายแรงเคลื่อนไฟฟ้า 380 V ให้กับมอเตอร์ และมอเตอร์ขับเคลื่อนปั๊มน้ำสร้างความดันน้ำ 20 บาร์ ขับเคลื่อนน้ำอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ไหลไปยังเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่มีอุณหภูมิสูง 35 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อนไปยังน้ำ ทำให้น้ำมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ซึ่งการตรวจวัดและวิเคราะห์ค่าพลังงานทางไฟฟ้า สามารถใช้อุปกรณ์ชุด Energy Saving Kit เป็นชุดกระเป๋ามิเตอร์วัดและวิเคราะห์ค่าพลังงานทางด้านไฟฟ้า โดยในชุดกระเป๋าจะประกอบไปด้วย           1. KM-07-A-2 Multimiter Function           2. CT 500/5A           3. KM-18 Data Logger           4. RM-012-D Converter RS-485 to USB           5. Software Primus Soft     ข้อมูลอ้างอิง https://ienergyguru.com   สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : http://www.primusthai.com/primus/product?productID=900

Image Alternative text
อุปกรณ์ที่ใช้กับระบบ MODBUS TCP RTU Protocol/MODBUS RS-485 RTU Protocol

PB-Series - เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบ MODBUS TCP RTU Protocol มี Input และ Output ในตัวเดียวกัน - รับ Input ประเภท Photoelectric Sensor, Proximity Switch, Encoder, Thermocouple, RTD, Digital, Analog - Output ประเภท Relay,Open Collertion NPN / PNP - Input ประเภท Digital Input สามารถโปรแกรมให้ทำงานเป็น Counter โดยสามารถเลือกการโปรแกรมได้ 3 Mode คือ Disable,Count Up,Count Down - การทำงานผ่านระบบ MODBUS TCP RTU Protocol - LED แสดงสถานะการทำงานแต่ละ Input และ Output PH-Series - เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กับระบบ MODBUS RS-485 RTU Protocol มี Input และ Output ในตัวเดียวกัน - รับ Input ประเภท Photoelectric Sensor, Proximity Switch, Encoder, Thermocouple, RTD, Digital, Analog - Output ประเภท Relay, Open Collection NPN / PNP - Input ประเภท Digital Input สามารถโปรแกรมให้ทำงานเป็น Counter โดยสามารถเลือกการโปรแกรมได้ 3 Mode คือ Disable,Count Up,Count Down - การทำงานผ่านระบบ MODBUS RS-485 RTU Protocol - LED แสดงสถานะการทำงานของแต่ละ Input และ Output สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : http://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=58&page_num=20

Image Alternative text
มาทำความรู้จักกับ Relay Module

มาทำความรู้จักกับ Relay Module          รีเลย์ (Relay) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ตัดต่อวงจรแบบเดียวกับสวิตช์ โดยควบคุมการทำงานด้วยไฟฟ้า Relay มีหลายประเภท ตั้งแต่ Relay ขนาดเล็กที่ใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป จนถึง Relay ขนาดใหญ่ที่ใช้ในงานไฟฟ้าแรงสูง โดยมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันออกไป แต่มีหลักการทำงานที่คล้ายคลึงกัน สำหรับการนำ Relay ไปใช้งาน จะใช้ในการตัดต่อวงจร ทั้งนี้ Relay ยังสามารถเลือกใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ วงจรไฟฟ้าของรีเลย์ภายใน Relay จะประกอบไปด้วยขดลวดและหน้าสัมผัส 1. หน้าสัมผัส NC (Normally Close) เป็นหน้าสัมผัสปกติปิด โดยในสภาวะปกติหน้าสัมผัสนี้จะต่อเข้ากับขา COM (Common) และจะลอยหรือไม่สัมผัสกันเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด 2.  หน้าสัมผัส NO (Normally Open) เป็นหน้าสัมผัสปกติเปิด โดยในสภาวะปกติจะลอยอยู่ ไม่ถูกต่อกับขา COM (Common) แต่จะเชื่อมต่อกันเมื่อมีกระแสไฟไหลผ่านขดลวด 3. ขา COM (Common) เป็นขาที่ถูกใช้งานร่วมกันระหว่าง NC และ NO ขึ้นอยู่กับว่า ขณะนั้นมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดหรือไม่ หน้าสัมผัสใน Relay 1 ตัวอาจมีมากกว่า 1 ชุด ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและลักษณะของงานที่ถูกนำไปใช้ จำนวนหน้าสัมผัสถูกแบ่งออกดังนี้        สวิตช์จะถูกแยกประเภทตามจำนวน Pole และจำนวน Throw ซึ่งจำนวน Pole (SP-Single Pole, DP-Double Pole, 3P-Triple Pole, etc.) จะบอกถึงจำนวนวงจรที่ทำการเปิด-ปิด หรือ จำนวนของขา COM นั่นเอง และจำนวน Throw (ST, DT) จะบอกถึงจำนวนของตัวเลือกของ Pole ตัวอย่างเช่น SPST- Single Pole Single Throw สวิตช์จะสามารถเลือกได้เพียงอย่างเดียวโดยจะเป็นปกติเปิด (NO-Normally Open) หรือปกติปิด (NC-Normally Close) แต่ถ้าเป็น SPDT- Single Pole Double Throw สวิตช์จะมีหนึ่งคู่เป็นปกติเปิด (NO) และอีกหนึ่งคู่เป็นปกติปิดเสมอ (NC)  1. SPST คือ Single Pole Single Throw 2. DPST คือ Double Pole Single Throw 3. SPDT คือ Single Pole Double Throw 4. DPDT คือ Double Pole Double Throw            ดังนั้น เราจะใช้งาน Relay แบบ SPDT (Single Pole Double Throw) หลักการทำงานของ Relay นั้น ในส่วนของขดลวด เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จะทำให้ขดลวดเกิดการเหนี่ยวนำและทำหน้าที่เสมือนแม่เหล็กไฟฟ้า ส่งผลให้ขา COM ที่เชื่อมต่ออยู่กับหน้าสัมผัส NC (ในสภาวะที่ยังไม่เกิดการเหนี่ยวนำ) ย้ายกลับเชื่อมต่อกับหน้าสัมผัส NO แทน และปล่อยให้ขา NC ลอย เมื่อมองที่ขา NC กับ COM และ NO กับ COM แล้วจะเห็นว่ามีการทำงานติด-ดับลักษณะคล้ายการทำงานของสวิชต์ เราสามารถอาศัยคุณสมบัตินี้ไปประยุกต์ใช้งานได้  เราจะกล่าวถึงวิธีการนำ Relay Module ไปประยุกต์ใช้งานจริง แต่ก่อนอื่นเรามาดูวิธีอ่านคุณสมบัติของ Relay ว่าสามารถรองรับการทำงานที่แรงดันและกระแสไฟฟ้าเท่าไร ใช้แรงดันไฟฟ้าในการทำงานอย่างไรก่อนนะครับ  1. ยี่ห้อ รุ่นของผู้ผลิต (แบรนด์) รวมถึงสัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ 2. รายละเอียดของไฟฟ้ากระแสสลับที่รองรับการทำงานได้ (VAC) 3. รายละเอียดของไฟฟ้ากระแสตรงที่รองรับการทำงานได้ (VDC) 4. โมเดลระดับแรงดันฝั่งขดลวด ชนิดและโครงสร้างและข้อมูลด้าน Coil Sensitivity   สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601 ID LINE : @primusthai WEBSITE : http://www.primusthai.com/search?q%5Bsearch%5D=relay+module

Image Alternative text
ทำไมเราต้องมีอุปกรณ์แจ้งเตือนสถานะการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม

ทำไมเราต้องมีอุปกรณ์แจ้งเตือนสถานะการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม      ถ้าใครทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม มักจะพบว่า เครื่องจักรจะมีอาการเสียบ่อย ทำให้ต้องหยุดการทำงานของเครื่องจักร หรือบางโรงงานอาจถึงขั้นต้องหยุดไลน์การผลิต หรือหยุดงานเลยก็ว่าได้ ดังนั้น เราจึงมีอุปกรณ์ประเภท Signal Tower Light ขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการเตือนในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อแจ้งสถานะการทำงานของเครื่องจักร ซึ่งทำให้สามารถทราบปัญหาที่เกิดขึ้นของเครื่องจักรได้ทันท่วงที เพื่อทำการซ่อมบำรุง ลดการสูญเสียเวลาในการผลิต Signal Tower Light อุปกรณ์แจ้งสัญญาณไฟและเสียงเตือนยี่ห้อ PM ดีอย่างไร - ถูกออกแบบมาให้สามารถเลือกสีเลือกจำนวนชั้นที่ต้องการใช้งานได้ โดยมีให้เลือกสูงสุด 5 ชั้น 5 สี Red, Yellow, Green, Blue, White สามารถถอดประกอบและสลับตำแหน่งของสีในแต่ละชั้นด้วยมือได้ตามความต้องการใช้งาน - การให้ความสว่างถูกพัฒนามาเป็นแบบ LED สามารถมองเห็นได้ชัดเจน มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 10,000 ชั่วโมง ทนต่อการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร และประหยัดพลังงานได้ - มีขนาดเล็กกะทัดรัดให้เลือกใช้ 60 mm. และ 80 mm. ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง - เอาท์พุทแบบ Push-Pullชนิด NPN, PNP, Open Collector ทำให้สามารถเลือการต่อใช้งานได้ตามความเหมาะสมของงาน - สัญญาณไฟการแจ้งเตือนมีทั้งแบบติดต่อเนื่องและติดแบบกระพริบให้เลือกใช้ - RS-485 MODBUS RTU Protocol สามารถต่อกับ PLC หรืออื่น ๆ ได้ - ระดับการป้องกัน IP 54 Signal Tower Light ควรเลือกอย่างไร?      หลาย ๆ ท่านคงจะเคยประสบปัญหากับ Signal Tower Light ของเครื่องจักร เช่น หลอดไฟขาดบ่อย,สัญญาณเสียงเตือนดังไม่พอ เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้จะทำให้เกิดความล่าช้าในสายการผลิต และมีผลกระทบโดยตรงต่อกำลังการผลิตด้วย จากเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ Single Tower Light เป็นอุปกรณ์สำคัญเคียงคู่กับเครื่องจักร ที่จะต้องได้รับการดูแลรักษาให้พร้อมทำงานตลอดเวลา ดังนั้นผู้ใช้งานจึงควรเลือกใช้ Single Tower Light ที่มีคุณภาพและให้มีความเหมาะสมกับงาน สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601 ID LINE : @primusthai LINK WEBSITE : http://www.primusthai.com/primus/product?productID=1058

Image Alternative text
มาทำความรู้จักกับ Encoder

มาทำความรู้จักกับ "Encoder"                                           เราสามารถนำเอ็นโค้ดเดอร์นั้นมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมได้อย่างหลากหลาย ซึ่งในแต่ละอุตสาหกรรมนั้นก็จะมีเครื่องจักรต่างๆมากมายหลายประเภท เพื่อตอบสนองการทำงานต่างๆนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกใช้งาน โรตารี่ เอ็นโค้ดเดอร์ ที่แตกต่างกันออกไป โดยเราสามารถยกตัวอย่างการประยุกต์ เอ็นโค้ดเดอร์ ของประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้   Light-duty Encoders      เป็นเอ็นโค้ดเดอร์ในแบบมาตรฐานที่มีความนิยมใช้งานในทั่วไป โดยจะมีราคาไม่สูงมากนัก ซึ่งจะเหมาะสำหรับการใช้งานในห้องทดลองหรือในอุตสาหกรรมที่สภาวะแวดล้อมไม่เลวร้ายมาก ใช้เพื่อควบคุมความชื้นฝุ่นและอุณหภูมิ เนื่องจากเอ็นโค้ดเดอร์เหล่านี้จะมีค่า IP ratingที่ค่อนข้างต่ำ โดยตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานของเอ็นโค้ดเดอร์ประเภทนี้นั้นจะได้แก่ กระบวนการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เครื่องพิมพ์ เครื่องติดป้าย เครื่องมือวัดต่าง ๆ เช่น ในการวัดความยาว หรือ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น   Industrial Encoders      สามารถนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีการเพิ่มความทนทานให้กับตัวเอ็นโค้ดเดอร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ IP rating ที่สูงมากขึ้นอีกทั้งยังทนการทนแรงกระแทก และ แรงสั่นสะเทือนที่ได้มากกว่าเอ็นโค้ดเดอร์แบบ Light-duty Encoders โดยส่วนใหญ่จะใช้ในระบบควบคุมตำแหน่งของเซอร์โวมอเตอร์ซึ่งจะมีความเร็วและความเร่งที่สูง ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานเอ็นโค้ดเดอร์ประเภทนี้ ได้แก่ - เครื่องบรรจุภัณฑ์ต่างๆ - อุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม - การแปรรูปเหล็กและพลาสติก - การแปรรูปไม้และเฟอร์นิเจอร์ - การแปรรูปหินและเซรามิก - อุตสาหกรรมสิ่งทอ - อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมสายพานลำเลียง   สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601 ID LINE : @primusthai LINK : http://www.primusthai.com/primus/product?productID=247

Image Alternative text
วันนี้จะมาทำความรู้จักกับตะกรัน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ Heater ขาด

วันนี้จะมาทำความรู้จักกับตะกรัน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ Heater ขาด          ตะกรัน คือ คราบ เมือก เศษตะกอน อาจจะเป็นคราบหินปูนที่เกิดจากสารละลายต่าง ๆ เช่น เกลือแคลเซียม, แมกนีเซียมคาร์บอเนต ซึ่งตะกรันพวกนี้ก็จะไปจับติดกับพื้นผิวและพอกหนาขึ้นเรื่อย ๆ คุณสมบัติอย่างหนึ่งของตะกรันจะคล้ายกับฉนวนกันความร้อน คือกันความร้อนออกเมื่อฮีตเตอร์ทำความร้อน และมีตะกรันเกาะที่ตัวท่อฮีตเตอร์ ฮีตเตอร์ก็จะไม่สามารถระบายความร้อนออกจากตัวมันได้ ฮีตเตอร์ก็จะเผาตัวเองจนท่อระเบิด      วิธีการป้องกันการเกิดตะกรัน           หมั่นดูแลทำความสะอาดบริเวณผิวของสแตนเลสอย่างสม่ำเสมอ     วิธีการยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์      ฮีตเตอร์ที่ถูกออกแบบมาอย่างเหมาะสม สามารถมีอายุการใช้งานเป็นปี ๆ แต่บ่อยครั้งที่เราพบปัญหาอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ที่สั้นผิดปกติ ปัญหาอาจเกิดขึ้นจากทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ แต่บางครั้งเราสามารถยืดอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ได้ เพียงปฏบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ :      1. ใช้งานตามค่ากำหนดของฮีตเตอร์ เช่น การจ่ายไฟให้ฮีตเตอร์ ควรตรงตามค่าแรงดันไฟที่ระบุไว้      2. หากในชุดฮีตเตอร์มีเส้นฮีตเตอร์มากกว่า 1 เส้นขึ้นไป ควรตรวจสอบการต่อขั้วไฟหรือการต่อสะพานไฟของฮีตเตอร์ให้ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการต่อสะพานไฟ เช่น เปลี่ยนจากการต่อแบบสตาร์ (Y) เป็นเดลต้า อาจส่งผลให้ชุดฮีตเตอร์ทำงานเกินขีดจำกัดของตัวเองได้      3. ดูแลรักษาขั้วไฟของฮีตเตอร์ให้สะอาดอยู่สม่ำเสมอ      4. ฮีตเตอร์แต่ละชนิดมีความแตกต่างในสภาวะการใช้งาน เช่น ฮีตเตอร์บางชนิดควรใช้ในอากาศ หรือบางชนิดควรใช้ในของเหลว เพราะฉะนั้นไม่ควรสลับเปลี่ยนสภาวะการใช้งานของฮีตเตอร์      5. ต่อเนื่องจากข้อ 4 หากฮีตเตอร์ทำงานอยู่ในสภาวะใด ควรคงสภาพนั้นให้ต่อเนื่องที่สุด เช่น หากใช้งานในอากาศ ต้องมีลมถ่ายเทออกอยู่ตลอดเวลาหรือใช้งานในของเหลวก็ไม่ควรปล่อยให้ของเหลวแห้งขอด เพราะหลักการทำงานของฮีตเตอร์คือ การนำพาความร้อนจากวัตถุหนึ่งไปสู่อีกวัตถุหนึ่งโดยอาศัยตัวกลาง เช่น น้ำ หรืออากาศ      6. หากมีตัวควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เป็นปกติ มิฉะนั้นหากตัวควบคุมอุณหภูมิเสีย จะทำให้ฮีตเตอร์ทำงานหนักเกินขีดจำกัด      7. บ่อยครั้งที่ตัวฮีตเตอร์มีคราบสกปรก หรือมีตะกรันเกาะอยู่ ทำให้ความร้อนถ่ายเทออกจากฮีตเตอร์ไม่ดี เมื่อมีความร้อนสะสมที่จุดนั้น อาจทำให้ตัวฮีตเตอร์เสียหาย เช่น มีรอยร้าว แตกปริ ส่งผลให้ลวดความร้อนที่อยู่ภายในขาดในที่สุด      8. หากเป็นฮีตเตอร์ที่ตัวฮีตเตอร์ต้องแนบติดกับชิ้นงานหรือใส่ลงไปในช่องชิ้นงานควรเลือกฮีตเตอร์ให้มีขนาดเหมาะสม และแนบกับชิ้นงานให้ได้มากที่สุด โดยทั่วไปแล้วความร้อนจะถ่ายเทได้ดีที่สุดกับของแข็ง ตามด้วยของเหลวและอากาศ หากมีช่องว่างระหว่างฮีตเตอร์กับชิ้นงานมากเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพของการถ่ายเทความร้อนลดลง   สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601  ID LINE : @primusthai WEBSITE : http://www.primusthai.com/primus/category?CategoryID=20&page_num=20

Image Alternative text
การเลือกวิธีการสตาร์ทมอเตอร์ให้ถูกต้อง

การเลือกวิธีการสตาร์ทมอเตอร์ให้ถูกต้อง      การเริ่มสตาร์ทมอเตอร์นั้น โดยธรรมชาติแล้วขณะที่มอเตอร์หยุดนิ่งมันจะใช้กระแสจำนวนมากในการที่จะต้องเอาชนะแรงเฉื่อย ซึ่งทำให้อาจเกิดผลกระทบต่อแหล่งจ่ายไฟฟ้า และสร้างความเสียหายต่อตัวมอเตอร์เองหรือโหลดต่างๆ ที่ต่ออยู่ในระบบ ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบไฟฟ้าในขณะที่มีการสตาร์ทมอเตอร์เกิดขึ้น เราจำเป็นต้องเลือกใช้วิธีการสตาร์ทมอเตอร์ให้เหมาะสม มาดูกันว่าการสตาร์ทมอเตอร์ที่ว่านี้ มีแบบไหนบ้างและต่างกันอย่างไร แบบที่ 1.การสตาร์ทมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง หลักการเบื้องต้นของการลดกระแสสตาร์ทของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ทำได้โดยนำความต้านทานมาต่ออนุกรมกับขดลวดอาเมเจอร์ เพื่อช่วยลดปริมาณกระแสที่ไหลผ่านในขดลวดอาเมเจอร์ เมื่อมอเตอร์หมุนไปแล้วก็จะค่อยๆลดค่าความต้านทานลงทีละน้อย จนปลดความต้านทานนี้ออกไปจากขดลวดอาเมเจอร์ในที่สุด แบบที่ 2.การสตาร์ทมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่งเป็น 2.1 การสตาร์ทมอเตอร์โดยตรง (Direct on Line Starter) เป็นการสตาร์ทด้วยการใช้แรงดันเต็มพิกัด นิยมใช้ในการสตาร์ทมอเตอร์ขนาดเล็ก โดยที่มอเตอร์จะถูกต่อผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สวิตซ์ คอนแทคเตอร์ เบรกเกอร์ เป็นต้น โดยใช้แรงดันพิกัดทันทีทันใด ทำให้กระแสที่เกิดขึ้นมีค่าประมาณ 6 – 8 เท่าของกระแสพิกัด 2.2 การสตาร์ทมอเตอร์โดยใช้หม้อแปลงอัตโนมัติ (Auto-Transformer Starter ) เป็นวิธีการสตาร์ทมอเตอร์โดยการใช้หม้อแปลงออโต้ที่มีขดลวดหลายชุดที่สามารถเปลี่ยนแท็ปแรงดันได้หลายระดับ เช่น 55%, 65%, หรือ 80% ของแรงดันพิกัด โดยจะรักษาระดับแรงดันในช่วงที่มอเตอร์มีความเร็วรอบเพิ่มขึ้น จนกว่าจะมีคำสั่งให้สับมอเตอร์แต่ละระดับเข้าเป็นลำดับ จนกระทั่งเข้าสู่ระดับแรงดันเต็มพิกัด 2.3 การสตาร์ทมอเตอร์แบบสตาร์-เดลต้า (Start-Delta Starter) เป็นวิธีการสตาร์ทมอเตอร์ที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากทำได้ง่ายและเหมาะที่จะใช้กับมอเตอร์เหนี่ยวนำ โดยมีหลักการทำงาน คือ ขณะที่ทำการสตาร์ทมอเตอร์จะทำการต่อแบบสตาร์ ซึ่งช่วยลดกระแสขณะสตาร์ทได้ และเมื่อมอเตอร์เริ่มหมุนไปได้ระยะหนึ่งก็จะทำการต่อแบบเดลต้า 2.4 การสตาร์ทมอเตอร์แบบซอฟท์สตาร์ทเตอร์ (Electronic Soft Starter) วิธีนี้มีหลักการ คือ ใช้วงจรอิเล็คทรอนิคส์กำลังในการตัดต่อกระแสไฟฟ้าที่เข้าไปยังขดลวดมอเตอร์ โดยการปรับเพิ่มแรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์อย่างช้าๆและนิ่มนวลจนถึงระดับแรงดันพิกัด ทำให้สามารถป้องกันกระแสอินรัชที่มีค่าสูงและป้องกันแรงกระแทกที่มีผลต่ออุปกรณ์ทางกลของมอเตอร์ นอกจากนี้ยังมีความแม่นยำ ความหลากหลาย และประสิทธิภาพในการป้องมอเตอร์สูงอีกด้วย      จากหลักการการสตาร์ทมอเตอร์ที่แตกต่างกัน หากเราเลือกใช้วิธีการสตาร์ทมอเตอร์ได้อย่างเหมาะสม เราก็สามารถหมดกังวลในเรื่องของผลกระทบต่อแหล่งจ่ายไฟได้แน่นอน      ทางบริษัท ไพรมัส จำกัด มีอุปกรณ์สำหรับช่วยให้มอเตอร์ออกตัวไม่กระชากและเริ่มหมุนที่รอบต่ำ Model PI-Seriesโดยสามารถปรับ Torque ได้ ทำให้ออกตัวได้ในขณะมี Load , ช่วยลดกระแสช่วง Start ได้ โดยสามารถใช้กับมอเตอร์ 3 เฟส, 380-400VAC, 0.18-7.5 kW. มี Soft Start and Soft Stop Function มีขนาดเล็กกะทัดรัด ติตดั้งแบบ DINRIAL การทำงาน      PI-SERIES เป็น Soft Start and Soft Stop Motor ที่ช่วยให้มอเตอร์แบบ 3 เฟส ออกตัวโดยไม่มีการกระชากและลดกระแสในช่วง Start โดยสามารถตั้ง Ramp-Up และ Ramp-Down ได้ตั้งแต่ 1-10 Second ทำให้มอเตอร์สามารถออกตัวได้ตั้งแต่หยุดนิ่งถึง Normal Speed ในเวลาที่กำหนด และยังตั้ง Torque ได้ตั้งแต่ 0-100% ทำ ให้สามารถ Start Motor ได้ในขณะที่มี Load จึงเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์สำ หรับใช้ในงานประเภท 3-Phase Motor เนื่องจากทำหน้าที่ทั้ง Soft Start and Soft Stop และยังเป็น Electronic Contactor ด้วย คือ ทำหน้าที่แทน Magnetic Contactor ในวงจรได้      PI-SERIES มี LED สีแดงและ LED สีเขียว แสดงสถานะการทำ งานโดยเมื่อจ่ายไฟให้กับ PI-SERIES LED สีเขียวจะติดค้าง และเมื่อกด Switch ON Motor จะเริ่มหมุนแบบ Soft Start ตามเวลาที่ตั้งค่าไว้จาก และเมื่อครบเวลาที่ตั้งไว้ LED สีแดงจะติดค้าง Motor จะหมุนด้วยความเร็วปกติ (Normal Speed) และเมื่อกด Switch OFF Motor จะหยุดหมุนแบบ Soft Stop จนกระทั่ง Motor หยุดหมุน และ LED สีแดงจะดับ      PI-SERIES มีประโยชน์ในการลดการสึกหรอของ Machanical Part ที่ติดตั้งกับ Motor เนื่องจากมีการ Start ที่นุ่มนวล และเหมาะสำ หรับงาน Conveyor Belts หรือ Crane ที่ลดปัญหากับชิ้นงาน หรือ Load ไม่ให้เสียหาย อันเนื่องจากการกระชากของ Motor ในช่วง Start   สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE : 090-197-9601  ID LINE   : @primusthai LINK       : http://www.primusthai.com/primus/product?productID=1030 อ้างอิง http://www.engineerfriend.com/2011/articles/

Image Alternative text
วิธีการยืดอายุการใช้งานตู้แช่ให้ยาวนานขึ้น ด้วยวิธีง่าย ๆ

วิธีการยืดอายุการใช้งานตู้แช่ให้ยาวนานขึ้น ด้วยวิธีง่าย ๆ          ในปัจจุบันโลกของเรามีอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในประเทศไทยอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศอยู่ประมาณ 40 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ประชาชนต้องหาวิธีคลายร้อนด้วยวิธีต่าง ๆ      โดยผู้ประกอบธุรกิจ SME ได้มองเห็นถึงโอกาสในการทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มมากขึ้น อาทิ ร้านกาแฟ, ร้านไอศกรีม, บิงซู เป็นต้น ซึ่งในการประกอบธุรกิจดังกล่าวจำเป็นต้องมีตู้แช่สำหรับรักษาอุณหภูมิของอาหารและเครื่องดื่มเพื่อให้ลูกค้าได้รับประทานอาหารที่สดใหม่, เย็นสดชื่น เป็นการคลายร้อน รับมือกับอากาศที่อบอ้าว      ดังนั้น สำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีเครื่องทำความเย็น, ตู้แช่ ทางบริษัท ไพรมัส จำกัด มีวิธีการรักษาเครื่องทำความเย็น, ตู้แช่ ให้มีอายุการทำงานที่ยาวนานขึ้น โดย   วิธีการแช่สินค้าหรือเครื่องดื่ม      1. นําสินค้าหรือเครื่องดื่มที่ต้องการแช่เข้าแช่ภายในตู้เย็น      2. อย่าวางสินค้าหรือเครื่องดื่มปิดกั้นช่องดูดอากาศและช่องปล่อยอากาศ เพราะจะทําให้ประสิทธิภาพในการ  ถ่ายเทของตู้แช่ลดลง      3. วางสินค้าหรือเครื่องดื่มให้พอดีกับชั้นวางของ   ข้อแนะนําในการยืดอายุการใช้งานของตู้แช่และเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน      1. ห้ามตั้งตู้แช่ใกล้แหล่งความร้อน การตั้งตู้แช่ใกล้เตาไฟ หรือถูกแสงแดดส่องถึงจะทําให้ตู้แช่ทํางานอย่างหนัก      2. ควรตั้งตู้แช่ในอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรตั้งตู้แช่ในที่อับชื้น ตําแหน่งที่ตั้งตู้แช่ควรมีระยะห่างจากเพดานประมาณ30 ซม.ด้านข้าง 3 ซม. ด้านหลังควรห่างจากผนัง 10 ซม. เพื่อความสะดวกในการปิดเปิดตู้และระบายอากาศ      3. ระมัดระวังอย่าให้สายไฟชํารุด ในการติดตั้งตู้แช่ควรตรวจสอบสายไฟว่าชํารุดหรือไม่ ซึ่งอาจมีผลมาจากการวางตัวตู้ทับสายไฟ หรือสายไฟถูกปาดขณะติดตั้งถ้าพบว่าสายไฟเกิดชํารุด ต้องแจ้งให้ช่างเปลี่ยนโดยด่วน      4. อย่าเสียบปลั๊กตู้แช่ร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ปลั๊กของตู้แช่ควรแยกออกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ และควรมีอุปกรณ์ตัดกระแสไฟฟ้าป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรไว้ด้วย      5.เลือกใช้อุณหภูมิให้เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อประหยัดพลังงาน      6. ห้ามใช้น้ําราดภายในตู้แช่โดยเด็ดขาด เพราะจะทําให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วจากระบบไฟฟ้าได้        ปัจจุบันทางบริษัท ไพรมัส จำกัด ได้ผลิตสินค้าเกี่ยวกับเครื่องรักษาอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอลสำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น Model DEF-01-Series โดยรับอินพุทประเภท Thermistor NTC หรือ PTC(แถมฟรีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิประเภท NTC 6x50 mm. สายยาว 1 เมตร 10K) ย่านการวัดแสดงผล -40 ถึง 130 องศาเซลเซียส โดยผลิตด้วยฝีมือคนไทย และมีทีมวิศวกรให้คำปรึกษาการใช้งานฟรี   หากสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม HOTLINE  : 090-197-9601  ID LINE    : @primusthai    

Image Alternative text
ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ต้องติดตั้งแอร์สำหรับรักษาอุณหภูมิในตู้คอนโทรล?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK PE-1000 (1000 BTU) PE-2700 (2700 BTU) PEV-4000 (4000 BTU) PE-7000 (7000 BTU) PE-13000 (13000 BTU) PE-4000 (4000 BTU)      เนื่องจากปัจจุบันโลกของเรามีอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลของความร้อนที่เพิ่มขึ้นเกิดจากผลกระทบต่าง ๆ อาทิ การปล่อยแก๊สเรือนกระจก, การตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น      ซึ่งผลกระทบของอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ หามาตรการนำเครื่องมือมาช่วยรักษาอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรล เพื่อให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายในตู้และเครื่องจักรทำงานได้มีประสิทธิภาพและยาวนานขึ้น      ดังนั้น แอร์รักษาอุณหภูมิภายในตู้คอนโทรล Model : PE-Series ยี่ห้อ PM จึงเป็นทางเลือกสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและยืดอายุการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักร โดย PE-Series มีขนาด BTU ให้เลือกตั้งแต่ 1000BTU, 2700BTU, 4000BTU, 7000BTU และ 13000BTU โครงสร้างถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรมอาหาร (โครงสร้าง Stainless SUS) และโครงสร้างมาตรฐาน (เหล็กขึ้นรูปป้องกันสนิม) มีระบบป้องกันน้ำล้น, ท่อต้นและคอมเพรสเซอร์เสียหาย อีกทั้งสามารถเลือกลักษณะการติดตั้งแบบติดตั้งด้านข้างตู้และบนหลังคาตู้      ซึ่งการระบายความร้อนให้กับตู้คอนโทรลด้วยวิธีนี้เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุดเมื่อเทียบกับการระบายความร้อนในรูปแบบอื่น ๆ เพราะมีคุณสมบัติในการระบายความร้อนและสามารถป้องกันปัญหาเรื่องความชื้นและเศษสิ่งสกปรกได้อย่างดีเยี่ยม ระบบการทำงานจะเป็นระบบปิด โดยจะมีระบบทำความเย็นภายในตัวเครื่องส่งลมเย็นเข้าไปภายในตู้คอนโทรลเพื่อระบายความร้อน และความร้อนส่วนนั้นจะถูกดึงกลับเข้าสู่ช่องรับลมกลับเพื่อระบายออกสู่ภายนอก PE-1000 (1000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PE-1000SUS (1000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก PE-2700 (2700 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PE-2700SUS (2700 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก PEV-4000 (4000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PEV-4000SUS (4000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก PE-7000 (7000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PE-7000SUS (7000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก PE-13000SU (13000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PE-13000SUS (13000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก PE-4000 (4000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : เหล็ก สั่งซื้อ คลิก PE-4000SUS (4000 BTU) Air Condition For Control Boxes วัสดุ : สแตนเลส สั่งซื้อ คลิก   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
เรามาทำความรู้จักการ Check Heater ขาดแบบง่ายๆกัน

วิธีการ Check Heater ขาด          วิธีการ Check Heater ขาด ด้วยเครื่อง Check Heater ขาด หลายท่านสงสัยว่าจำเป็นด้วยหรอที่ต้องใช้ตัว Check Heater ขาดนี้? ผมบอกเลยว่าจำเป็นครับ เพราะ   1. กรณีที่คุณใช้งานฮีตเตอร์จำนวนหลายๆ ตัว เพื่อให้ความร้อนกับชิ้นงาน และมีฮีตเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งขาด คุณจะไม่สามารถทราบเลยว่ามีฮีตเตอร์ขาดเกิดขึ้น เพราะเนื่องจากอุณหภูมิที่ได้นั้นยังมีค่าเท่าเดิม แต่ผลลัพธ์คือ การทำงานของฮีตเตอร์ตัวที่ใช้ได้มีการทำงานหนักขึ้น ซึ่งส่งผลให้อายุการใช้งานของฮีตเตอร์สั้นลง 2. ง่ายต่อการ Maintenance เพราะเครื่อง Check Heater ขาด ของเรามี LED แจ้งสถานะการขาดของ Heater ทำให้ช่างทำการซ่อมหรือเปลี่ยนฮีตเตอร์ได้ทันที สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม CM-005D:Digital Monitor For Heater Break Alarm http://primusthai.com/primus/product?productID=95 CM-005N:Heater Break Alarm http://primusthai.com/primus/product?productID=94  

Image Alternative text
Pump Control ใช้ง่าย ลดการ wiring สายในตู้คอนโทรล

สวัสดีครับ   วันนี้ผมจะมานำเสนอ อุปกรณ์ที่จะทำให้ท่านสะดวกและง่ายในการที่จะต้องควบคุมปั๊มน้ำโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการต่อวงจรควบคุมทางไฟฟ้าก็ สามารถใช้ Pump Control หรือ ตัวควบคุมปั๊มน้ำได้ นอกเสียจากจะควบคุมปั๊มน้ำได้แล้วตัวนี้ยังมีตัวอุปกรณ์ตัว Level Control และ ตัว Phase Protection ในตัวไม่ต้องต่อวงจรไฟฟ้าให้ยุ่งยากอีกต่อไป โดย เรามี อยู่ 2 รุ่น ด้วยกัน คือแบบ Single Pump ใช้ควบคุมปั๊มน้ำ 1 ตัว และ Twin Pump ใช้ควบคุมปั้มน้ำ 2ตัว ใน กรณีที่ปั๊มตัวใดตัวหนึ่งทำงานอยู่แต่ปริมาณน้ำที่ใช้ยังเพียงอยู่จะสลับการทำงานกัน แต่ เมื่อใดที่ปริมาณการใช้น้ำเยอะ จนถึงระดับล่างต่ำให้ปั้มทำงานพร้อมกัน 2 ตัว ในกรณีทีน้ำแห้งให้มี Alarm สำหรับป้องกัน ปั๊มน้ำเดินตัวเปล่า สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ  http://www.primusthai.com/search?q%5Bsearch%5D=pump สุวพากย์ ชาติสุทธิ Sales Special Phone : 090-197-9594 Specification : Power Meter, E-mail : suwaphak@primusthai.com Line ID : suwaphak

Image Alternative text
PMV-115N Cabinet Filter Fan

PMV-115N Cabinet Filter Fan เ ป็ น พัดลมขนาด 115x115 mm ระบายความร้อนสำหรับตู้ไฟฟ้า         PMV-115N มีท้งัรุ่นดูดลมเข้าและเป่าลมออก โดยถูกออกแบบให้หน้ากากที่มีรูปทรงที่สวยงามและบาง ทำให้ติดต้ังแนบเรียบไปกับผิวหน้าตู้ และในการ ติดต้งัสามารถติดต้งัไดง้่าย , รวดเร็วแข็งแรงด้วย Clips-Lock การออกแบบอย่างเหมาะสม โดยใช้เน้ือ พลาสติกที่มีความยืดหยุ่น ไม่ใช้เน้ือเดียวกันกับ Case ของพดัลม ซ่ึงแข็งไม่เหมาะกบัการยึดเกาะ ทา ให้ พดัลมไม่สั่นขณะทา งาน ในการเปลี่ยนแผน่ กรองฝ่นุ PMV-115N สามารถทา ไดง้่ายดว้ยการออกแบบของFlap-Open โดยเพียงดึงหนา้กากออกเพื่อเปลี่ยนแผน่ กรองฝุ่นและดันหน้ากากเข้ากลับที่เดิม PMV-115N มีข้วัต่อไฟแบบ Spring Terminals ทำให้ การ Wiring สายเป็นไปไดง้่ายและรวดเร็ว โดยปกติลกัษณะการถ่ายเทความร้อน อากาศที่มีความร้อนจะลอยตัวจาก ดา้นล่างข้ึนดา้นบนดงัน้นั พลัม Cabinet Filter Fan ควรจะติดต้งับริเวณดา้นบนของตูโดยจะมีหน้ากาก พร้อมแผ่นกรองฝ่นุ ติดตวัอยบู่ ริเวณดา้นล่าง เพื่อเป็นช่องทางใหอ้ากาศจากภายนอกเขา้มาภายในตู้

Image Alternative text
INDUSTRY 4.0 The Next Industrial Revolution

  INDUSTRY 4.0 The Next Industrial Revolution          การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการอุตสาหกรรมกำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้ง นับตั้งแต่การกำเนิดขึ้นของ เครื่องจักรไอน้ำในศตวรรษที่ 18 ที่โลกได้รู้จักคำว่าอุตสาหกรรม มาจนถึงปัจจุบันที่ภาคอุตสาหกรรมได้รับการ พัฒนาควบคู่ไปกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ เมื่อมีการบูรณาการเทคโนโลยี และองค์ความรู้สาขา ต่างๆ มาต่อยอดให้กับอุตสาหกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ INDUSTRY 4.0 จึงเป็น ที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ครั้งนี้ จะพลิกโฉมหน้าการผลิตไปมากน้อยอย่างไร             เครื่องจักรกลที่ “คิดเป็นและสื่อสารได้” การกำเนิด ขึ้นของ 3D Printing ที่สามารถเปลี่ยนจินตนาการ ให้เป็นวัตถุของจริงที่จับต้องได้ทำงานได้ หุ่นยนต์ที่จะเข้ามาทำงานร่วมกับมนุษย์เหมือนเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT ที่จะเข้ามาเป็นตัวกลางช่วยทำให้การสื่อสารระหว่างคนกับเครื่องจักร และระหว่างเครื่องจักรด้วยกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุด เทคโนโลยีที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้จะทำให้ระบบการ ผลิตเปลี่ยนโฉมหน้าไปอย่างสิ้นเชิง เพื่อประสิทธิภาพ ของการผลิต และการตอบสนองความต้องการที่ หลากหลายของผู้บริโภค     การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ผ่านมา           การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกของโลกเกิดขึ้นเมื่อมีการ สร้างเครื่องจักรไอน้ำในปี คศ. 1784 มันถูกนำมาใช้ทดแทนพลังงาน ที่ได้จากธรรมชาติในการผลิต รวมทั้งเกิดการสร้างรถไฟซึ่งทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงด้านการคมนาคมขนส่ง กระตุ้นการบริโภคสินค้า อุตสาหกรรมและนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 ในปลาย ของศตวรรษที่ 19 เมื่อมีการพัฒนาเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า และ เปลี่ยนแปลงระบบการผลิตมาเป็นระบบโรงงาน ทำให้เกิดการผลิต สินค้าครั้งละมากๆ และมีคุณภาพที่ทัดเทียมกับงานหัตถกรรม ที่สำคัญ คือสินค้าเหล่านี้มีราคาไม่แพง ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสินค้า อุตสาหกรรมได้ จนเกิดเป็นกระแสบริโภคนิยมที่แพร่ในทุกภูมิภาค ของโลก            การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 เมื่อการพัฒนาด้านอิเลคทรอนิคส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT ถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิต มีการปรับปรุงกระบวนการ ผลิตและระบบบริหารจัดการด้านคุณภาพ การพัฒนาเครื่องจักรให้มี ความสามารถในด้านความเร็วและความละเอียดแม่นยำ รวมถึงการ นำเอาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาใช้ในกระบวนการผลิต ระบบ การผลิตสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม 3.0 เน้นการผลิตแบบ mass production เพื่อตอบสนองการบริโภคที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แม้ว่า ในแต่ละหน่วยของระบบการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรกล ระบบ อัตโนมัติ หรือซอฟท์แวร์การผลิต จะได้รับการพัฒนาให้มีความ ก้าวหน้าแต่ระบบทั้งหมดนี้ยังต้องได้รับการบริหารจัดการจากหน่วย ควบคุมกลาง เราเรียกระบบนี้ว่า ระบบรวมศูนย์ หรือ centralization แนวคิดอุตสาหกรรม 4.0            การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะเป็นการบูรณาการ โลกของการผลิต เข้ากับการเชื่อมต่อทางเครื่อข่ายในรูปแบบ “Internet of Things (IoT)” ทุกหน่วยของระบบการผลิต ตั้งแต่ ตัววัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ หน่วยต่างๆ เหล่านี้จะถูกติดตั้งระบบเครือข่ายเพื่อให้สามารถสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันอย่างอิสระ เพื่อการจัดการกระบวน การผลิตทั้งหมด ปัจจัยและเงื่อนไขที่จะทำให้การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 เป็นไปได้คือ CPS (Cyber-Physical System) ซึ่งเป็น เทคโนโลยีที่จะผสมผสานโลกดิจิตอลเข้ากับโลกแห่งความเป็นจริง และ Cyber-Physical Production Systems (CPPS) ซึ่งเป็น ระบบที่จะประสานความสามารถของเทคโนโลยีการผลิตเข้ากับ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้โรงงานอัจฉริยะ ระบบโลจิสติกส์ และ ลูกค้าสามารถติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลการผลิตได้แบบเรียลไทม์ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ     จุดเด่นของอุตสาหกรรม 4.0              เช่น โปรแกรมด้านการออกแบบ CAD ระบบการบริหารการจัดการ ERP/MRP ทำให้การสื่อสารเกือบทั้งหมดไม่ต้องผ่านตัวกลาง (Media) จึงเกิดความรวดเร็วทั่วถึง ที่สำคัญคือลดความผิดพลาดได้เกือบ 100% ตัวอย่างเช่น ข้อมูลการออกแบบผลิตภัณฑ์ CAD จากบริษัท ผู้ว่าจ้างจะสามารถสื่อสารไปยังหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของ ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนโปรแกรม CNC สำหรับ เครื่องจักรกลการผลิต การทำโปรแกรมเครื่องวัด CMM การตรวจสอบ คุณภาพชิ้นงาน การออกแบบระบบการจับยึด (Jig & Fixture) การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การคำนวนต้นทุนขนส่งด้านโลจิสติกส์ กระบวนการเหล่านี้สามารถทำได้ในทันที เพิ่มความรวดเร็วและลด ความผิดพลาดในการทำงานเนื่องจากแชร์ข้อมูลเดียวกัน การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่นี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลง จากระบบเดิมที่ควบคุมโดยส่วนกลาง Centralized มาเป็นระบบ Decentralized ที่แต่ละหน่วยของระบบการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร หุ่นยนต์ หรืออุปกรณ์เครื่องมือวัดต่างๆ มีความสามารถในการรับรู้ (Recognition) การวิเคราะห์ (Diagnosis) การเพิ่มประสิทธิภาพ (Optimizations) และการกำหนดรูปแบบ (Configuration) ด้วยตัวเอง    

Image Alternative text
การพัฒนาของระบบสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless LAN)

มาดูการพัฒนาของระบบการสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless LAN)ในปัจจุบันกัน           ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1971 บนเกาะฮาวาย โดยโปรเจกต์ ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า “ALOHNET” ขณะนั้นลักษณะการส่งข้อมูลเป็นแบบ Bi-directional ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ 7 เครื่อง ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะโดยรอบ และมีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะๆหนึ่ง ที่ชื่อว่า Oahu          ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความคล่องตัวมาก ซึ่งอาจจะนำมาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สาย          ที่สำคัญก็คือ การที่มันไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์   ประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย            mobility improves productivity & service มีความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหน หรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใด ก็ยังมีการเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ในระยะการส่งข้อมูล               installation speed and simplicity สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล และไม่รกรุงรัง                installation flexibility สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี พีซีการ์ดมาต่อเข้ากับโน๊ตบุ๊ค หรือพีซี ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที              reduced cost- of-ownership ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา และการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง             scalability เครือข่ายไร้สายทำให้องค์กรสามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งาน โดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย Peer-to-peer ( ad hoc mode )           รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน สามารถทำงานของตนเองได้และขอใช้บริการเครื่องอื่นได้ เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในด้านความรวดเร็วหรือติดตั้งได้โดยง่ายเมื่อไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ ยกตัวอย่างเช่น ในศูนย์ประชุม, หรือการประชุมที่จัดขึ้นนอกสถานที่   Client/server (Infrastructure mode)            ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะสามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต้องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50 อุปกรณ์ ของเครื่องลูกข่าย เหมาะสำหรับการนำไปขยายเครือข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิมในออฟฟิต, ห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น Multiple access points and roaming            โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง Use of an Extension Point            กรณีที่โครงสร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหาผู้ออกแบบระบบอาจจะใช้ Extension Points ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สาย เป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมในการรับส่งสัญญาณ The Use of Directional Antennas          ระบบแลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณระหว่างอาคารที่อยู่ห่างกัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคาร เพื่อส่งและรับสัญญาณระหว่างกัน ยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่มีการพัฒนาใช้ในปัจจุบัน Wireless Transmitter: PWT-Series             อุปกรณ์แปลงสัญญาณจากอุณหภูมิ, ความต้านทาน, แรงดันไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า หรือความถี่ให้เป็นสัญญาณไร้สาย เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และเวลาในการติดตั้งแบบที่ใช้สายยุ่งยาก หลักการทำงาน: โดย Wireless Master ทำหน้าที่สื่อสารสัญญาณแบบไร้สายกับ Wireless End Device ได้ระยะไกลถึง 400 เมตร และมี Wireless Repeater ทำหน้าที่ขยายสัญญาณในกรณีที่บริเวณนั้นเป็นที่อับสัญญาณ บริษัท ไพรมัส จำกัด www.primusthai.com

Image Alternative text
การต่อลงดิน

การต่อลงดิน การเลือกขนาดสาย วิธีติดตั้ง และความต้านทานระหว่างหลักดินกับดิน 4.1 วงจรและระบบไฟฟ้ากระแสที่ต่อลงดิน วงรจและระบบไฟฟ้ากระแสสลับตามที่กำหนดไว้ข้อ 4.1.1ถึง 4.1.2 ต้องต่อลงดินส่วนวงจรและระบบอื่นนอกจากนี้ จาจต่อลงดินก็ได้ � 4.1.1 ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 50 โวลต์ แต่ไม่ถึง 1,000โวลต์ ต้องต่อลงดินเมื่อมีสภาพตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ��� 4.1.1.1 เป็นระบบ 3 เฟส 4 สาย และนำตัวนิวทรัลเป็นสายวงจรด้วย ��� 4.1.1.2 เป็นระบบ 3 เฟส 4 สาย และจุดกึ่งกลางของเฟสใดเฟสหนึ่งใช้เป็นสายวงจรด้วย ��� 4.1.1.3 เป็นระบบ 3 เฟส 3 สาย ��� 4.1.1.4 เป็นระบบ 1 เฟส 3 สาย หรือ 1 เฟส 2 สาย � 4.1.2 วงจรและระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000 โวลต์ ขึ้นไป ถ้าจ่ายไฟให้บริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดเครื่อนไหวที่จะได้ต้องต่อลงดิน แต่ถ้าจ่ายไฟฟ้าให้บริภัณฑ์ไฟฟ้าอื่นๆอนุญาตให้ต่อลงดินได้แต่ต้องไม่ขัดกับ ข้อกำหนดข้ออื่นๆ ยกเว้น� ระบบที่มีตัวจ่ายไฟแยกต่างหาก(Separately Derived Systems)โดยเฉพาะระบบไฟฟ้าที่รับพลังงานจากเครื่องกำหนดไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า คอนเวอร์เตอร์ที่มีขดลวดซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อจ่ายไฟให้ระบบไฟฟ้าพิเศษและ ไม่มีการต่อทางไฟฟ้ากับวงจรระบบอื่น ไม่บังคับให้ต่อลงดิน หากต้องการต่อลงดินตามข้อ 4.1.1 ข้างต้นจะต้องปฏิบัติตาม ข้อ 4.6 ด้วย 4.2 วงจรและระบบไฟฟ้าที่ห้ามต่อลงดิน �4.2.1 วงจรของปั้นจั่นที่ใช้งานอยู่เหนือวัสดุเส้นใยที่อาจลุกไหม้ได้ ซึ่งอยู่ในบริเวณอันตราย �4.2.2 วงจรที่กำหนดให้ใช้สำหรับสิ่งที่อำนวจความสะดวกเพื่อรักษาสุขภาพ 4.3 การต่อลงดินของระบบประธาน � 4.3.1 ระบบไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าที่ยต้องต่อลงดินตาทข้อ 4.1 จะต้องต่อลงดินที่บริภัณฑ์ประธานแต่ละชุด จุดต่อลงดินต้องอยู่ในจุดที่เข้าถึงสะดวกที่ปลายตัวนำประธาน หรือบัสหรือขั้วต่อที่ต่อเข้ากับตัวนำนิวทรัลของตัวนำประธานภายในบริภัณฑ์ ประธาน ในกรณีหม้อแปลงไฟฟ้าติดตั้งภายนอกอาคารจะต้องต่อลงดินเพิ่มอีกอย่างน้อย 1 จุด ทางด้านไฟออกของหม้อแปลงไฟฟ้า ณ จุดที่ติดตั้งหม้อแปลงหรือจุดอื่นท่ี่แหมาะสม ห้ามต่อลงดินที่จุดอื่นๆ อีกทางด้านไฟออกของบริภัณฑ์ประธาน ข้อยกเว้นที่1 ถ้าอาคารนั้นรับไฟจากตัวนำประธานมากกว่า 1 ชุดซึ่งอยู่ภายในสิ่งห่อหุ้มเดียวกัน หรือติดตั้งแยกคนละสิ่งห่อหุ้มแต่อยู่ติดกันและต่อถึงกันทางด้านไฟออก ที่จุดต่อถึงกันนี้สามารถต่อตัวนิวทรัลหรือสายที่มีการต่อลงดินของตัวนำ ประธานลงหลักเพียงชุดเดียวก็ได้ ข้อยกเว้นที่2 .ในกรณีที่มีการต่อฝาก ระหว่างบัสบาร์นิวทรัลกับบัสบาร์ต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้่ที่บริภัณฑ์ประธาน ตามข้อ 4.15.6 สามารถต่อสายต่อหลักดินเข้ากับบัสบาร์ต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีต่อฝาก นั้นได้ � 4.3.2 ระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 โวลต์ที่่มีการต่อลงดินที่จุดใดๆ จะต้องเดินสายที่มีการต่อลงดินนัน้นไปยังบริภัณฑ์ประธานทุกชุดและต่อต่อฝาก เข้ากับสิ่งห่อหุ้มของบริภัณฑ์ประธาน สายดังกล่าวจะต้องเดิมร่วมไปกับสายเส้นไฟด้วย 4.4 การต่อลงดินของวงจรที่มีบริภัณฑ์ประธานชุดเดียวจ่ายไฟให้อาคาร 2 หลัง หรือมากกว่า � 4.4.1 แต่ละอาคารต้องมีหลักดินเพื่อต่อสายที่มีการต่อลงดินของวงจรและระบบไฟฟ้ากระแสสลับและเครื่องห่อหุ้มของเครื่องปลดวงจรลงดิน � 4.4.2 อนุญาติให้ไม่ต้องทำหลักดินของแต่ละอาคารตามข้อ 4.4.1 ก็ได้ถ้ามีสภาพตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ �� 4.4.2.1 ในอาคารมีวงจรย่อยชุดเดียวและไม่ได้จ่ายไฟให้แก่บริภัณฑ์ที่ต้องต่อลงดิน �� 4.4.2.2 มีการ เดินสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าร่วมกับตัวนำอื่นวงจร เพื่อไปต่อส่วนที่ไม่เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าของบริภัณฑ์ไฟฟ้าระบบท่อโลหะ ภายในและโครงสร้างของอาคารที่ต้องการลงดินสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้านั้นจะต้อง มีการต่อฝาลงดินที่อาคารอีกหลังหนึ่ง 4.5 ตัวนำที่มีการต่อลงดินของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ � สำหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้ภายในอาคาร สายตัวนำของระบบต้องมีการต่อลงดินตัวนำที่มีการต่อลงดินต้องทำตามข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ �4.5.1 ระบบ 1 เฟส 2 สาย กำหนดให้ตัวนำนิวทรัลเป็นสายที่่ต่อลงดิน �4.5.2 ระบบ 1 เฟส 3 สาย กำหนดให้ตัวนำนิวทรัลเป็นสายที่่ต่อลงดิน �4.5.3 ระบบ 3 เฟส 3 สาย กำหนดให้ตัวนำเส้นใดเส้นหนึ่งต่อลงดิน �4.5.4 ระบบ 3 เฟส 4 สาย กำหนดให้ตัวนำนิวทรัลเป็นสายที่่ต่อลงดิน 4.6 การต่อลงดินสำหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่มีตัวจ่ายแยกต่างหาก � ระบบไฟฟ้ากระแสสลับที่มีตัวจ่ายแยกต่างหากต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ �4.6.1 ต้องใช้สายต่อฝากลงดิน (ที่มีขนาดตามข้อ 4.15.6.3 ซึ่งกำหนดขนาดจากสายเส้นไฟของระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหาก) เชื่อมต่อสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า(ของระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหาก)เข้ากับ สายตัวนำที่มีการต่อลงดินของระบบไฟฟ้า การต่อฝากให้ทำที่จุดใดก็ได้ระหว่างระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหากกับเครื่อง ป้องกันกระแสเกินตัวแรกเท่านั้น �4.6.2 สายต่อหลักดินที่เชื่อมต่อหลักดินเข้ากับสายตัวนำที่มีการต่อสายลงดินของ ระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหากให้ใช้ขนาดตามข้อ 4.19 ซึ่งกำหนดขนาดจากสายเส้นไฟของระบบที่มีตัวจ่ายแยกต่างหาก �4.6.3 หลักดินเป็นไปตามข้อ 2.4 และต้องอยู่ใกล้จุดต่อลงดินมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 4.7 การต่อลงดินของเครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะของตัวนำประธานและของบริภัณฑ์ประธาน ����� เครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะของตัวนำประธานและของบริภัณฑ์ประธานต้องต่อลงดิน 4.8 เครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะของสายตัวนำ ต้องต่อลงดิน � ข้อยกเว้นที่1 เครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะสั้นๆซึ่งป้องกันความเสียหายทางกายภาพที่มีการต่อ สายเคเบิลหรือใช้จับยึดสาย ไม่บังคับให้ต่อลงดิน � ข้อยกเว้นที่2 เครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะของสายที่ต่อจากการติดตั้งเดิมที่เป็นการเดินสาย แบบเปิดเดินสายบนตุ้มหรือใช้สายที่มีเปลือกนอกไม่เป็นโลหะไม่จำเป็นต้องต่อ ลงดินถ้าระยะเดินสายที่เพิ่มมีความยาวไม่เกิน 8 เมตรไม่สัมผัสกับดินหรือโลหะที่ต่อลงดิน หรือวัสดุที่เป็นตัวนำ และมีการป้องกันไม่ให้บุคคลสัมผัส 4.9 การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ หรือชนิดที่มีการเดินสายถาวร ����� บริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ หรือชนิดที่มีการเดินสายถาวร ส่วนที่เป็นโลหะที่เปิดโล่งและไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าของบริภัณฑ์ ไฟฟ้าดังกล่าวต้องต่อลงดินเมื่อมีสภาพตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ �4.9.1 ห่างจากพื้นหรือโลหะที่ต่อลงดินไม่เกิน 2.4 เมตรในแนวดิ่ง หรือ1.5เมตรในแนวระดับ และบุคคลอาจสำผัสโดยบังเอิญ �4.9.2 อยู่ในสถานที่เปียกหรือชื้นและไม่ได้แยกอยู่ต่างหาก �4.9.3 มีการสัมผัสไฟฟ้ากับโลหะ �4.9.4 อยู่ในบริเวณอันตราย �4.9.5 รับไฟฟ้าจากสายชนิดหุ้มส่วนนำกระแสไฟฟ้าด้วยโลหะ (Metal-Clad,Metal-Sheath) หรือสายที่เดินในท่อสายโลหะเว้นแต่ที่ได้ยกเว้นในข้อ4.8 4.10 การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ทุกขนาดแรงดัน ������� บริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ทุกขนาดแรงดัน ส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งและไม่เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า บริภัณฑ์ไฟฟ้าต่อไปนี้ต้องต่อลงดิน � 4.10.1 โครงของแผงสวิตช์ � 4.10.2 โครงของมอเตอร์ชนิดติดกับที่ � 4.10.3 กล่องของเครื่องควบคุมมอเตอร์ ยกเว้นฝาครอบสวิตช์ ปิด-เปิดที่มีฉนวนรองด้านใน � 4.10.4 บริภัณฑ์ไฟฟ้าของลิฟล์ปั้นจั่น � 4.10.5 บริภัณฑ์ไฟฟ้าในอู่จอดรถ โรงมหรสพ โรงถ่ายภาพยนตร์ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ ������������ ยกเว้น โคมไฟแบบแขวน 4.11 การต่อลงดินของบริภัณฑ์ซึ่งได้รับกระแสโดยตรง ����� บริภัณฑ์ซึ่งไม่ได้รับกระแสไฟฟ้าโดยตรง ส่วนที่เป็นโลหะของบริภัณฑ์ต่อไปนี้ต้องลงดิน � 4.11.1 โครงและร่างของปั้นจั่นที่ใช้ไฟฟ้า � 4.11.2 โครงของผู้โดยสารลิฟต์ที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าแต่มีสายไฟฟ้าติดอยู่ � 4.11.3 ลวดสลิงซึ่งใช้ยกของด้วยแรงคนและลวดสลิงของลิฟต์ที่ใช้ไฟฟ้า � 4.11.4 สิ่งกั้นที่เป็นโลหะ รั้ว หรือสิ่งห่หุ้มของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันระหว่างสายเส้นไฟเกิน 1,000 โวลต์ 4.12 การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีสายพร้อมเต้าเสียบ ���� บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีสายพร้อมเต้าเสียบ ส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่งของบริภัณฑ์ไฟฟ้าจะต้องต่อลงดินถ้ามีสภาพตามข้อใด ข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ � 4.12.1 ใช้ในบริเวณอันตราย � 4.12.2 ใช้แรงดันไฟฟ้าวัดเทียบกับดินเกิน 150 โวลต์ ������������� ข้อยกเว้นที่ 1 มอเตอร์ที่มีการกั้น ������������� ข้อยกเว้นที่ 2 โครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าทางความร้อน ซึ่งมีฉนวนกั้นระหว่างโครงโลหะกับดินอย่างถาวร ������������� ข้อยกเว้นที่ 3 บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ระบุว่าเป็นฉนวน 2 ชั้นหรือเทียบเท่า ซึ่งมีเครื่องหมายแสดงชัดเจนว่าไม่ต้องต่อลงดิน � 4.12.3 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในสถานที่อยู่อาศัยต่อไปนี้ ������������ 4.12.3.1 ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง เครื่องปรับอากาศ ������������ 4.12.3.2 เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เครื่องล้างจาน เครื่องสูบน้ำทิ้ง เครื่องใช้ไฟฟ้าในตู้เลี้ยงปลา ������������ 4.12.3.3 เครื่องมือชนิดมือถือที่ทำงานด้วยมอเตอร์ (Hand-Held Motro-Operated Tools) ������������ 4.12.3.4 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำงานด้วยมอเตอร์ เช่น เครื่องเล็มต้นไม้ เครื่องตัดหญ้า เครื่องขักถูชนิดใช้น้ำ ������������ 4.12.3.5 ดวงโคมไฟฟ้าชนิดหยิบยกได้ ������������ ยกเว้น บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ระบุว่าเป็นฉนวน 2 ชั้นหรือเทียบเท่า ซึ่งมีเครื่องหมายแสดงชัดเจนว่าไม่ต้องต่อลงดิน �4.12.4 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้ในสถานที่อยู่อาศัย ต่อไปนี้ ����������� 4.12.4.1 ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง เครื่องปรับอากาศ ����������� 4.12.4.2 เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า เครื่องล้างจาน เครื่องสูบน้ำทิ้ง เครื่องใช้ไฟฟ้าในตู้เลี้ยงปลา ����������� 4.12.4.3 เครื่องมือชนิดมือถือที่ทำงานด้วยมอเตอร์ ����������� 4.12.4.4 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำงานด้วยมอเตอร์ เช่น เครื่องเล็มต้นไม้ เครื่องตัดหญ้า เครื่องขักถูชนิดใช้น้ำ ����������� 4.12.4.5 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสายพร้อมเต้าเสียบใช้ในสถานที่เปียกหรือชื่น หรือบุคคลอื่นที่ใช้ยืนอยู่บนพื้นดินหรือพื้นโลหะ หรือทำงานอยู่ในถังโลหะหรือหม้อน้ำ ����������� 4.12.4.6 เครื่องมือที่อาจนำไปใช้ในที่เปียก หรือ ใช้ในบริเวณที่นำไฟฟ้าได้ ����������� 4.12.4.7 ดวงโคมไฟฟ้าชนิดหยิบยกได้ ����������� ขอยกเว้นที่1 เครื่องมือและวัดโคมไฟฟ้าชนิดหยิบยกได้ ที่อาจนำไปใช้ในที่เปียกหรือใช้ในบริเวณที่นำไฟฟ้าได้ ไม่บังคับให้ต่อลงดินถ้ารับพลังไฟฟ้าจากหม้อแปลงนิรภัยที่ขดลวดด้านไฟออกมี แรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 50 โวลต์ และไม่ต่อลงดิน ����������� ขอยกเว้นที่2 บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ระบุว่าเป็นฉนวน 2 ชั้นหรือเทียบเท่าหรือมีเครื่องหมายแสดงชัดเจนว่าไม่ต้องต่อลงดิน 4.13 ระยะห่างจากตัวนำระบบล่อฟ้า ������� ท่อสาย เครื่องห่อหุ้ม โครงโลหะ และส่วนโลหะอื่นของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ไม่เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าต้องมีระยะ ห่างจากตัวนำระบบล่อฟ้าไม่น้อย 1.80 เมตร หรือต้องต่อฝากเข้ากับตัวนำระบบล่อฟ้า 4.14 วิธีต่อลงดิน ������� 4.14.1 การต่อสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีตัวจ่ายแยกต่างหากโดยเฉพาะ ต้องปฏิบัติตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 4.6.1 การต่อสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่บริภัณฑ์ประธานต้องปฏิบัติดังนี้ ������������������ 4.14.1.1 ระบบไฟฟ้าที่มีการต่อลงดิน ให้ต่อฝากสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าเข้ากับตัวนำประธานที่มีการต่อลงดินและสาย ต่อหลักดิน ��������������������������������� ยกเว้น กรณีต่อลงดินของห้องชุดในอาคารชุดให้เป็นไปตามที่กำหนดในบทที่ 9 ������������������ 4.14.1.2 ระบบไฟฟ้าที่ไม่มีการต่อลงดิน ให้ต่อฝากสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าเข้ากับสายต่อหลักดิน ������� 4.14.2� ทางเดินสู่ดินที่ใช้ได้ผลดี �������������������� ทางเดินสู่ดินจากวงจร บริภัณฑ์ไฟฟ้า และเครื่องห่อหุ้มที่เป็นโลหะ ต้องมีดังนี้ �������������������� ลักษณะดังนี้ �������������������� 4.14.2.1 เป็นชนิดติดตั้งถาวรและมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้า �������������������� 4.14.2.2 มีขนาดเพียงพอสำหรับนำกระแสลัดวงจรทุกชนิดที่อาจเกิดขึ้ได้อย่างปลอดภัย �������������������� 4.14.2.3 มีอิมพีแดนซ์ต่ำเพียงพอที่จะจำกัดแรงดันไฟฟ้าวัดเทียบกับดินไม่ให้สูงไป และช่วยให้เครื่องป้องกันกระแสเกินในวงจรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ �������� 4.14.3 การใช้หลักดินร่วมกัน ������������������� ถ้าระบบไฟฟ้ากระแสสลับมีการต่อลงดินภายในอาคารหรือสถานที่ตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ 4.3 และข้อ 4.4 แล้ว ต้องใช้หลักดินนั้นสำหรับต่อเครื่องห่อหุ้มสายและส่วนที่เป็นโลหะของ บริภัณฑ์ไฟฟ้าลงดินด้วยสำหรับอาคารที่รับไฟจากแหล่งจ่ายไฟแยกกันต้องใช้หลัก ดินร่วมกัน หลักดินสองหลักหรือมากกว่าที่ต่อฝากว่าที่ต่อฝากเข้าด้วยกันอย่างใช้ได้ผลดี ถือว่าเป็นหลักดินหลักเดียว �������� 4.14.4 การต่อของบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดยึดติดกับที่ หรือชนิดที่มีการเดินสายถาวร ������������������� ส่วนที่เป็นโลหะของบริภัณฑ์ไฟฟ้าและไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า ถ้าต้องการต่อลงดินจะต้องต่อโดยวิธีใดวิธีหนึ่งต่อไปนี้ ������������������� 4.14.4.1 โดยใช้สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าประเภทต่างๆตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ4.17 ������������������� 4.14.4.2 โดยใช้สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าเดินสายร่วมไปกับสายวงจรในท่อสายเดียวกันหรือ เป็นส่วนหนึ่งของสายเคเบิลหรือสายอ่อนสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าอาจหุ้มฉนวน หรือไม่หุ้มฉนวนก็ได้ ฉนวนหรือเปลืกของสายดินต้องเป็นสีเขียวหรือเขียวแถบเหลือง ���������������������������������� ข้อยกเว้นที่1� สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดหุ้มฉนวนขนาดใหญ่กว่า 10 ตร.มม. อนุญาติให้ทำเครื่องหมายที่ถาวรเพื่อแสดงว่าเป็นสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ ปลายสายและทุกแห่งที่เข้าได้ การทำเครื่องหมาย ต้องใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ����������������������������������������������������� 1.1) ปอกฉนวนหรือเปลือกส่วนที่มองเห็นทั้งหมดออก ����������������������������������������������������� 1.2) ทำให้ฉนวนหรือเปลือกส่วนที่มองเห็นเป็นสีเขียว ����������������������������������������������������� 1.3) ทำเครื่องหมายบนฉนวนหรือเปลือกส่วนที่มองเห็นด้วยเทปพันสายหรือแถบกาวสี เขียว ���������������������������������� ข้อยกเว้นที่2 ถ้าการบำรุงรักษากระทำโดยผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง อนุุญาติให้ทำเครื่องหมายถาวรที่ปลายสายและทุกแห่งที่เข้าถึงได้ที่ฉนวนของ ตัวนำในเคเบิลหลายแกนเพื่อนแสดงว่าเป็นเป็นสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า การทำเครื่องหมายต้องใช้วิธีหนึ่งวิธีใดดังต่อไปนี้ ����������������������������������������������������� 2.1) ปอกฉนวนหรือเปลือกส่วนที่มองไม่เห็นทั้งหมดออก ����������������������������������������������������� 2.2) ทำให้ฉนวนหรือเปลือกที่มองเห็นเป็นสีเขียว ����������������������������������������������������� 2.3) ทำเครื่องหมายเป็นฉนวนหรือเปลือกส่วนที่มองเห็นด้วยเทปพันสายหรือแถบกาวสี เขียว �������� 4.14.5 บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ถือว่ามีการต่อลงดินอย่างใช้ได้ผลดี ������������������� ส่วนที่เป็นโลหะของบริภัณฑ์ไฟฟ้าซึ่งไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า เมื่อมีสภาพดังต่อไปนี้ถือว่ามีการต่อลงดินแล้ว ������������������� 4.15.5.1 บริภัณฑ์ไฟฟ้ากระแสสลับที่ยึดแน่และสัมผัสทางไฟฟ้ากับโครงสร้างโลหะที่ รองรับและโครงสร้างโลหะดังนั้นต่อลงดินตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 4.14.4 แล้วไม่อนุญาตให้ใช้โครงสร้างโลหะของอาคารแทนสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้านั้น ������������������� 4.15.5.2 โครงโลหะของผู้โดยสารลิฟต์ที่แขวนกับลวดสลิง ซึ่งคล้องหรือพันรอบเพลากว้านของมอเตอร์ลิฟต์ที่ต่อลงดินตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ� 4.14.4 �������� 4.14.6 บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีสายพร้อมเต้าเสียบ ������������������� ส่วนที่เป็นโลหะของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีพร้อมเต้าเสียบ ซึ่งไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า ถ้าต้องต่อลงดินให้ใช้วิธีใดดังต่อไปนี้ ������������������� 4.14.6.1 โดยใช้สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าเดินสายร่วมกับสายวงจรอยู่ภายในสายเคเบิลสหรือ สายอ่อนเดียวกัน และปลายสายต่อเข้ากับขาดินของเต้าเสียบชนิดขาดินตายตัวสายดินของบริภัณฑ์ ไฟฟ้าอาจไม่หุ้มฉนวนก็ได้ ถ้าหุ้มฉนวนสีของฉนวนต้องเป็นสีเขียวหรือเขียวแถบเหลือง ������������������� 4.14.6.2 โดยใช้สายอ่อนหรรือแถบโลหะแยดต่างหากอาจจะหุ้มฉนวนหรือไม่หุ้มฉนวนก็ได้แต่ ต้องมีการป้องกันความเสียหายทางกายภาพ 4.15 การต่อฝาก การต่อฝากมีจุดประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่ามีความต่อเนื่องทางไฟฟ้า และสามารถรับกระแสลัดวงจรใดๆที่อาจเกิดขึ้น ������� 4.15.1 การต่อฝากที่บริภัณฑ์ประธาน ������������������ ส่วนที่เป็นโลหะซึ่งไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าของบริภัณฑ์ไฟฟ้าต่อไปนี้ต้องมีการต่อฝากถึงกันอย่างใช้ผลดี ������������������ 4.15.1.1 ท่อสายรางเคเบิลและเปลือกนอกที่เป็นโลหะของตัวนำประธาน ������������������ 4.15.1.2 เครื่องห่อหุ้มของบริภัณฑ์ประธาน ������������������ 4.15.1.3 ท่อสายโลหะของสายต่อหลักดิน 4.15.2 วิธีต่อฝากที่บริภัณฑ์ประธาน ���������� การต่อถึงกันทางไฟฟ้าที่บริภัณฑ์ประธานที่ต้องปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ������������������ 4.15.2.1 ต่อฝากตู้บริภัณฑ์ประธานเข้ากับตัวนำประธานเส้นที่การต่อลงดินตามวิธีที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 4.22 �������������������������������� ยกเว้น บริภัณฑ์ประธานของห้องชุดให้เป็นไปตามข้อ 9.1.12 ������������������ 4.15.2.2 โดยใช้ข้อต่อแบบมีเกลียวต่อเข้ากับกล่องหรือสิ่งห่อหุ้มที่ทำเกลียวในเมื่อ ใช้ท่อโลหะหนาหรือท่อโลหะหนาปานกลางการต่อให้ใช้ประแจขันให้แน่น ������������������ 4.15.2.3 โดยใช้ข้อต่อแบบไม่ต้องใช้เกลียวต่อให้ท่อใให้แน่นสนิทเมื่อใช้โลหะบาง ������������������ 4.15.2.4 ใช้สายต่อฝากหรืออุปกรณ์อื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมรอบรอยต่อที่ช่องน็อกเอา ต์เพื่อให้การต่อลงดินมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้า ������������������ 4.15.2.5 ใช้อุปกรณ์อื่นๆเช่น ใช้บุชชิงแบบมีขั้วต่อสายดินพร้อมกับล็อกนัต ��������� 4.15.3 การต่อขั่วต่อสายดินของเต้าเข้ากับกล่องโลหะ ��������������������� ขอยกเว้นที่1 กล่องโลหะเป็นแบบติดตั้งบนพื้นผิว การสัมผัสโดยตรงระหว่างกล่องกับเต้ารับถือได้ว่าเป็นการต่อลงดินของเต้ารับ เข้ากับกล่อง������������������������������������������� �������� ข้อยกเว้นที่ไม่ใช้กับเต้ารับที่ติดตั้งบนฝาครอบที่ได้ระบุว่ามีความต่อ เนื่องทางไฟฟ้าาเพียงพอระหว่างกับเต้ารับ ���� ขอยกเว้นที่2 อุปกรณ์สัมผัสหรือก้านยื่นซึ่งได้ออกแบบและระบุว่าให้ใช้ร่วมกัยสกรูยึด เพื่อเป็นวงจรต่อลงดินระหว่างเต้ารับกับกล่องชนิดติดตั้งเสมอผิว ���� ขอยกเว้นที่3 กล่องแบบติดตั้งบนพื้นผิวซึ่งได้ออกแบบและระบุว่ามีความต่อเนื่องลงดินทางไฟฟ้าระหว่างกล่องกับอุปกรณ์ ���� ขอยกเว้นที่4 ในกรณีที่ต้องการลดการลบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในวงจรสายดิน อาจใช้เต้ารับที่มีฉนวนคั่นระหว่าขั้วต่อลงดินกับสิ่งที่ยึดหรือติดตั้ง เต้ารับโดยต่อขั้วต่อสายดินของเต้ารับเข้ากับสายดินของบริภัณฑืไฟฟ้าเป็นสาย หุ้มฉนวนเดินร่วมไปกับสายของวงจร สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้านนี้อาจ������������������������������������������� เดินผ่านแผงย่อยแผงเดียวหรือหลายแผงโดยไม่ต้องต่อกับตัวแผงก็ได้แล้วไปต่อ เข้ากับขั้วต่อสายดินของบริภัณฑ์ประธานด้านไฟออก �������� 4.15.4 การต่อฝาห่อหุ้มอื่นๆ �� ท่อสายที่เป็นโลหะ รางเคเบิล เครื่องห่อหุ้มโครงเครื่องประกอบในการติดตั้งและส่วนที่เป็นนโลหะอื่นๆที่ ไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า ถ้าสิ่งเหล่านี้ทำทำหน้าที่สายดินต้องมีการต่อถึงกันทางไฟฟ้าและสามารถลด กระแสลัดวงจรใดๆ เกลียวและหน้าสัมผัสให้ขูดสีหรือสิ่งเคลือบอื่นๆที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้าออก ก่อนทำการต่อ เว้น������������������� แต่ใช้อุปกรณ์การต่อที่ออกแบบไว้โดยเฉพาะ �������� 4.15.5 การต่อฝากในบริเวณอันตราย ������������������� ส่วนเป็นโลหะของบริภัณฑ์ไฟฟ้าและไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าที่ทุกระดับ แรงดันไฟฟ้าซึ่งอยู่ในบริเวณอันตรายต้องต่อถึงกันทางไฟฟ้าตามวิธีที่กำหนด ไว้ในข้อ 4.15.2.2-4.15.2.5 โดยเลือวิธีให้เหมาะกับการเดินสาย ������� 4.15.6สายต่อฝากลงดิน และสายต่อฝากของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ������������������ 4.15.6.1 สายต่อฝากลงดิน แลละสายต่อของฝากของบริภัณฑ์ไฟฟ้าต้องเป็นชนิดตัวนำทองแดง ������������������ 4.15.6.2 สายต่อฝากลงดิน และสายต่อฝากลงดิน และสายต่อฝากของบริภัณฑ์ไฟฟ้าต้องติดตั้งตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4.22 เมื่อเป็นสายต่อลงดินของวงจรหรือบริภัณฑ์ไฟฟ้าและข้อ 4.24 เมื่อเป็นสายต่อหลักดิน ����������������� 4.15.6.3 สายต่อฝากของบริภัณฑ์ไฟฟ้าทางด้านไฟเข้าของบริภัณฑ์ประธานและสายต่อฝากลงดิน ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าขนาดของสายยต่อหลักดินที่กำหนดไว้ในตาราง 4-1ถ้าสายเส้นไฟของตัวนำประธานมีขนาดใหณ่กว่าาที่กำหนนดไว้ในตาราง 4-1ให้ใช้สายต่อขนาดไม่เล็กกว่าร้อยละ 12.5ของตัวนำปรระธานขนาด������������������������������� ใหญ่ที่สูดถ้าใช้ตัวนำประธานเดินในท่อสายหรือเป็นสายเคเบิลมากกว่า 1 ชุดขนาดกัน แต่ละท่อสายหรือสายเคเบิลให้ใช้สายต่อฝากที่มีขนาดที่ไม่เล็กว่าที่ ได้������������������������������� กำหนดไว้ในตารางดังกล่างโดยคำนวนจากขนาดของสายในแต่ละท่อสายหรือสายเคเบิล �4.15.6.4 สายต่อฝากของบริภัณฑ์ไฟฟ้าด้านไฟออกของบริภัณฑ์ประธานต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า ขนาดของสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ได้กำหนดไว้ในตารางที่ 4-2 4.16 ชนิดของสายต่อหลักดิน ������� สายต่อหลักดินต้องเป็นตัวนำทองแดง เป็นชนิดตัวเดียวหรือตัวนำตีเกลียวหุ้มฉนวนและต้องเป็นตัวนำเส้นเดียวยาว ตลอดโดยไม่มีการต่อ แต่ถ้าเป็นบัสบาร์อนุญาตให้มีการ������� ต่อได้ 4.17 ชนิดของสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่เดิมมร่วมสายไปกลับสายของวงจรต้องเป็นดังต่อไปนี้ ������ 4.17.1 ตัวนำทองแดง หุ้มฉนวนหรือไม่หุ้มฉนวนก็ได้ ������ 4.17.2 เปลือกโลหะของสายเคเบิลชนิด AC ,MI และ MC ������ 4.17.3 บัสเวย์ที่ได้ระบุให้ใช้แทนสายสำหรับต่อลงดินได้ 4.18 วิธีติดตั้งสายดิน ������� 4.18.1 สายต่อหลักดินหรือเครื่องห่อหุ้มต้องยึดแน่นกับสิ่งรองรับสายนี้จะต้องร้อย ในสายท่อไฟฟ้าหรือใช้เคเบิลแบบมีการเกราะเมื่อใช้ในสถานที่ที่อาจเกิดความ เสียหายหายทางกายภาพ ������� 4.18.2 เครื่องห่อหุ้มโลหะของสายต่อหลักดินจะต้องมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้านับ ตั้งแต่จุดที่ต่อกับตู้ หรือบริภัณฑ์ไฟฟ้าจนถึงหลักดิน และมีการต่อเต้ากับหลักดินอย่างมั่นคงด้วแคลป์หรืออุปกรณ์อื่นๆที่เหมาะสม ถ้าเครื่องหุ้มห่มนี้ไม่ต่อเนื่องทางไฟฟ้าให้ใช้สายต่อฝากที่ปลายทั้งสอง ข้างของเครื่องหุ้มห่ม ������� 4.18.3 สายดินบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่เป็น เกราะสายเคเบิล เปลือกนอกโลหะของสายเคเบิลหรือเป็นสายแยกในช่องเดินสายหรือแกนๆหนึ่งใน เคเบิลต้องติดตั้งใช้เครื่องประกอบ หัวต่อ ข้อต่อที่ได้รับการรับรองสำหรับวิธีการเดินสายวิธีนั้นๆในการติดตั้งต้องใช้ เครื่องมือที่เหมาะสมและต้องขันให้แน่ 4.19 ขนาดสายต่อหลักดินของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ������� สายต่อหลักดินต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าที่ได้กำหนดไว้ในตารางที่ 4-1 4.20 ขนาดสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ������� 4.20.1 กำหนดให้บริภัณฑ์ไฟฟ้าต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าที่ได้กำหนดไว้ในตารางที่ 4-2 ������� 4.20.2 ในกรณีเดินสายควบ ถ้ามีสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ให้เดินขนานกันไปในแต่ละท่อสาย และให้คำนวณขนาดสายดินจากพิกัดหรือขนาดปรับตั้งของเครื่องป้องกันกระแสเกิน ของวงจรนั้น ���������� ในกรณีเดินสายหลายวงจรในท่อสายเดียวกัน แต่ใช้สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าร่วมกันในท่อสายนั้น ให้คำนวณขนาดสายดินพิกัดหรือขนาดปรับตั้งของเครื่องป้องกันกระแสเกินที่ใหญ่ ที่สุดที่ป้องกันในสายท่อสายนั้น ���������� ในกรณีเครื่องป้องกันกระแสเกินเป็นชนิดอัตโตนมัติปลดวงจรทันที หรือเป็นเครื่องป้องกันกระแสลัดวงจรของมอเตอร์ขนาดสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า นั้นให้เลือกตามพิกัดของเครื่องป้องกันการใช้งานเกินกำลังของมอเตอร์ ���������� ข้อยกเว้นที่1 สำหรับสายพร้อมเต้าเสียบของบริภัณฑ์ไฟฟ้าซึ่งใช้ไฟฟ้าจากวงจรซึ่งมีเครื่อง ป้องกันกระแสเกินมีขนาดไม่เกิน 20 แอมแปร์ สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่เป็นตัวนำทองแดงและเป็นแกนหนึ่งของสายอ่อน อาจมีขนาดเล็กกว่าที่กำหนดไว้ในตาราง 4-2 ได้แต่ต้องไม่เล็กกว่าขนาดสายตัวนำของวงจรและไม่เล็กกว่า1.0 ตร.มม. ���������� ข้อยกเว้นที่2 สายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ไม่ต้องเป็นต้องใหญ่กว่าสายตัวนำของวงจรของบริภุณฑ์ไฟฟ้านั้น ���������� ข้อยกเว้นที่3 ในกรณีที่ใช้เกราะหุ้มสายเคเบิลหรือเปลือกหุ้มสายเคเบิล เป็นสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ตามที่อนุญาตในข้อ 4.17.2 4.21 จุดต่อสายหลักดิน (เข้ากับหลักดิน) ������� จุดต่อของสายต่อหลักดินเข้ากับหลักดินต้องอยู่ในที่เข้าถึงได้ โดยต้องเลือกจุดต่อและวิธีการต่อเพื่อให้มีความมั่งคงทนและใช้ได้ผลดี ������� ข้อยกเว้น จุดต่อกับหลักดินที่อยู่ในคอนกรีต หรือฝังอยู่ในดิน ไม่จำเป็นต้องอยู่ในที่ซึ่งเข้าถึงได้ ����������������������������������������������������� ��ตารางที่4-1 ������������������������������ �ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดินของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ขนาดตัวนำประธาน     (ตัวนำทองแดง)     (ตร.มม.)     ขนาดต่ำสุดของสายต่อหลักดิน     (ตัวนำทองแดง)     (ตร.มม.)     ไม่เกิน 35     10*     เกิน 35 แต่ไม่เกิน 50     16     เกิน 50แต่ไม่เกิน 95     25     เกิน 95 แต่ไม่เกิน 185     35     เกิน 185แต่ไม่เกิน 300     50     เกิน 300 แต่ไม่เกิน 500     70     เกิน 500     95       หมายเหตุ* แนะนำให้ติดตั้งท่อโลหะหนา ท่อโลหะหนาปานกลาง ท่อโลหะบาง หรืออโลหะ และการติดตั้งสอดคล้องตามข้อ 5.4. และ 5.8 4.22 การต่อสายดินและสายต่อฝากต้องใช้วิธีเชื่อมด้วยความร้อน หรือใช้หัวต่อแบบบีบ ประกับจับสายหรือสิ่งอื่นที่ระบุให้ใช้เพื่อการนี้ ห้ามใช้ต่อโดยการบัดกรีเป็นหลัก 4.23 การต่อสายดินเข้ากับกล่อง ������ ในแต่ละกล่องถ้ามีสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าอยู่หลายเส้น แต่ละเส้นต้องต่อถึงกันทางไฟฟ้าเป็นอย่างดี และต้องจัดให้การต่อลงดินมีความต่อเนื่องโดยไม่ขาดตอนแม้ว่าจะถอดหรือปลด วงจรเครื่องประกอบ หรือสิ่งอื่นที่ได้รับไฟฟ้าจากกล่องนั้น ������� 4.23.1กล่องโลหะ ����������������� ต้องต่อสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีอยู่ในกล่องโลหะ ซึ่งอาจเป็นสายเดียวหรือสายเข้ากับกล่องโลหะ โดยต่อที่สลักเกลียวสายดิน ซึ่งห้ามใช้งานในหน้าที่อื่น หรือใช้ต่อในอุปกรณ์ที่ได้ระบุให้ใช้สำหรับการต่อลงดิน �� 4.23.2 กล่องอโลหะสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีอยู่ในกล่องอโลหะต้องต่อเข้ากับขั้ว ต่อสายดินเข้าเต้าเสียนหรืออุปการณ์ประกอบหรือติดตั้งไว้ในกล่องนี้ ������������������������������������������������������������������������������������������ ตารางที่ 4-2 ������������������������������������������������������������������������ ขนาดต่ำสุดของสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า พิกัดหรือขนาดปรับตั้งของเตรื่องป้องกันกระแสเกินไม่เกิน     (แอมแปร์)     ขนาดต่ำสุดของสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า     (ตัวน

Image Alternative text
อุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนประกอบของอุปกรณ์การดูและรักษาการซ่อมแซม   เครื่อง ควบคุมอุณหภูมิเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิให้ได้ตามค่าอุณหภูมิ ที่กำหนดไว้ โดยจะนำมาใช้ในการสั่งการให้กับอุปกรณ์สำหรับทำความร้อนหรืออุปกรณ์ทำความ เย็น ทำงาน ตามที่ได้ตั้งค่าอุณหภูมิไว้ การนำมาใช้งานและการควบคุมก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการใช้งาน   ต้วอย่างเครื่องควบคุมอุณภูมิ เครื่อง วัดอุณหภูมิก็จะมีส่วนที่รับอุณหภูมิ (input) จากหัววัดอุณหภูมิ หรือที่เรียกกันว่าเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิแล้วมาแสดงผลที่หน้าจอ Display พร้อมกับควบคุมอุณหภูมิให้ได้ตามค่าที่ได้กำหนดไว้ หากอุณหภูมิไม่ได้ตามที่กำหนดไว้ก็จะมีในส่วนของการสั่งงาน (output) สั่งงานให้อุปกรณ์สำหรับทำความร้อนหรืออุปกรณ์ทำความเย็นทำงานให้ได้ตาม ค่าที่กำหนดไว้   หัววัดอุณหภูมิ   ตัวทำความร้อน Heater   ตัวอย่างวงจรในการนำไปใช้งาน การ ต่อวงจรและการทำงานของเครื่องควบคุมอุณหภูมิจะมีข้อแตกต่างกันบ้างขึ้นอยู่ กับผู้ผลิต ก่อนการนำไปใช้งานควรมีการศึกษาจากคู่มือของเครื่องควบคุมอุณหภูมินั้นๆ

Image Alternative text
สารแม่เหล็ก

     สารแม่เหล็ก ในธรรมชาตินั้นมีหินชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถที่จะดึงดูดโลหะบางชนิดได้ เช่น เหล็ก หินชนิดนี้เรียก ว่า แร่เหล็กแมกนิไทต์ การที่แร่เหล็กสามารถดึงดูดวัตถุที่เป็นเหล็กได้เรียกว่า มีอำนาจแม่เหล็กและแม่เหล็กชนิดนี้เรียกว่า แม่เหล็กธรรมชาติ ค่าต่างๆ ที่ควรทราบเกี่ยวกับแม่เหล็ก ขั้วแม่เหล็ก(pole)ขั้วแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็กแต่ละแท่งจะมี2ขั้ว คือขั้วเหนือและขั้วใต้อำนาจแม่เหล็กที่แสดงออกมานั้นจะเกิดได้สองลักษณะคือ การผลักกันและการดูดกัน การที่ขั้วแม่เหล็ก ผลักกันเนื่องจากเส้นแรงแม่เหล็ก(Flux line)พุ่งสวนทางกัน เช่น เมื่อนำขั้วเหนือมาวางใกล้กับขั้วเหนือหรือขั้วใต้วางใกล้กับขั้วใต้ก็จะ เกิดการผลักกัน(ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ 2549 :182) เส้นแรงแม่เหล็ก และสนามแม่เหล็ก เส้นแรงแม่เหล็ก หมายถึง ส่วนของอำนาจแม่เหล็กซึ่งเดินทางระหว่างขั้วแม่เหล็กทั้งสองเป็นเส้นทางที่ แน่นอนบริเวรใดที่เส้นแรงแม่เหล็กเดินทางผ่าน บริเวณนั้นจะมีอำนาจแม่เหล็กและเรียกว่าสนามแม่เหล็ก โดยปกติอำนาจแม่เหล็กที่แสดงออก เช่น การดึงดูดวัตถุที่เป็นเหล็กเป็นต้นและจะแสดงได้ในเวลาบริเวณที่มีเส้นแรงแม่ เหล็กเดินทางไปถึง หรือบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก เท่านั้น (ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ 2549 :179) เส้นโค้งกำเนิดแม่เหล็ก เส้นโค้งกำเนิดแม่เหล็กเป็นเส้นโค้งที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่น ของเส้นแรงแม่เหล็ก Bกับความเข็มของสนามแม่เหล็กHโดยความเข็มของสนามแม่เหล็ก จะขึ้นอยู่กับค่ากระแสไฟฟ้าI และจำนวนรอบที่พันของขดลวดNที่พันอยู่บนแกนของสารที่เป็นสารแม่เหล็ก ถ้ากำหนดให้ความยาวเฉลี่ยของแกนIและจำนวนรอบที่พันมีค่าคงที่ วัสดุแต่ละชนิดที่เป็นสารแม่เหล็กจะมีลักษณะเส้นโค้ง B-H ที่คล้ายคลึงกันแต่จะมีความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กต่างกันโดยที่ความเข็ม ของสนามแม่เหล็กเท่ากันทั้งนี้เพราะว่าวัสดุที่เป็นสารแม่เหล็กมีค่าความซาบ ซึมได้ไม่เท่ากัน ถ้าสารชนิดใดมีค่าความซาบซึมได้มากกว่าก็จะให้ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่ เหล็กมากกว่า ขอบคุณข้อมูลจาก wikipedia