Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text
OEE (Overall Equipment Effectiveness) มีประโยชน์อย่างไรต่ออุตสาหกรรมการผลิต?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      OEE ย่อมาจาก Overall Equipment Effectiveness คือ การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรซึ่งเป็นวิธีการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ หรือประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเครื่องจักร ความสามารถของผู้ปฎิบัติงาน รวมถึงการบริหารจัดการได้อย่างดี โดย OEE (Overall Equipment Effectiveness) ออกแบบมาเพื่อช่วยในการติดตามตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น มี Report พร้อมทั้งเก็บข้อมูลเรียกดูย้อนหลังได้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และยังสามารถรู้ถึงสาเหตุของความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการ คือ สามารถแยกประเภทการสูญเสียและรายละเอียดของสาเหตุนั้น ทำให้สามารถที่จะปรับปรุง ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบ        ทำไมถึงต้องมีระบบ OEE (Overall Equipment Effectiveness) สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้าจะต้องมีการวัดประสิทธิผลการทำงานของเครื่องจักร เพื่อเป็นระบบติดตามผลและแจ้งเตือนผู้ปฏิบัติงานทันทีเมื่อมีปัญหา ทำให้รู้เร็ว ผลิตได้เร็ว ลดการสูญเสีย เพิ่มผลผลิต แสดงผล Real Time ผ่านระบบ Online ต่าง ๆ โดย OEE (Overall Equipment Effectiveness) จะมีสูตรการคำนวณดังนี้        การคำนวณ OEE (Overall Equipment Effectiveness) จะมีส่วนประกอบหลัก 3 อย่าง คือ      1. ลดช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำการผลิต (Unproductive Time) = Availability      2. ลดระยะเวลาที่ใช้ผลิต (Cycle Time) = Performance      3. ลดของเสีย/เศษที่เกิดจากการผลิต (Waste/Scrap) = Quality        สำหรับการคำนวณ OEE ทางผู้ประกอบการจำเป็นต้องแยก Factor ย่อย ๆ ของ OEE ออกมาก่อน แล้วจึงนำไปเข้าสูตรการคำนวณ OEE โดยมีรายละเอียดดังนี้   OEE (Overall Equipment Effectiveness) % OEE (Overall Equipment Effectiveness) มีค่าสูง OEE % = Availability % x Performance % x Quality % OEE มีค่าสูง = ต้นทุนการผลิตต่ำ        OEE (Overall Equipment Effectiveness) ถือเป็นอีกหนึ่งการคำนวณสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย และภายในการคำนวณนั้นยังสามารถแบ่งส่วนประกอบย่อยๆ ออกมา เพื่อตรวจสอบการทำงานได้อีกด้วย ซึ่งการใช้ OEE ให้ดีที่สุดนั้น ต้องมีการเก็บข้อมูลที่ครบถ้วน และการคำนวณที่ถูกต้อง        ความหมายของสูตรคำนวณ OEE (Overall Equipment Effectiveness)      • Availability % (อัตราการเดินเครื่อง) คือ ความพร้อมของเครื่องจักรในการทำงาน ระยะเวลาที่เครื่องจักรหยุด (Downtime Loss) มีสาเหตุมาจากเครื่องจักรขัดข้อง (Breakdowns) การปรับแต่งเครื่องจักร (Setup/Adjustments) หรือการจัดการกระบวนการการทำงานที่ไม่ดี (Management)      • Performance % (ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง) คือ สมรรถนะการทำงานของเครื่องจักร การสูญเสียประสิทธิภาพ (Performance Loss)  มีสาเหตุมาจากการหยุดเล็กน้อย การเดินเครื่องตัวเปล่า (Minor Stoppage and Idling Losses) และการสูญเสียความเร็วของเครื่องจักร (Speed Losses)      • Quality % (อัตราคุณภาพ) คือ ความสามารถในการผลิตของดีตรงตามข้อกำหนดของเครื่องจักร การสูญเสียด้านคุณภาพ (Quality Loss) มีสาเหตุมาจากความสูญเสียเนื่องจากชิ้นงานเสีย (Defects) งานซ่อม (Rework) และความสูญเสียช่วงเริ่มต้นการผลิต (Start up Loss)        เครื่องจักรที่ดีไม่ใช่เป็นเพียงแค่เครื่องจักรที่ไม่เสีย เปิดสวิตช์เมื่อใดทำงานได้เมื่อนั้น หากแต่ต้องเป็นเครื่องจักรที่เปิดขึ้นมาแล้วทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คือ เดินเครื่องได้เต็มกำลังความสามารถ แต่ถ้าเครื่องจักรใช้งานได้ตลอดเวลาและเดินเครื่องได้เต็มกำลัง แต่ชิ้นงานที่ผลิตออกมาไม่มีคุณภาพก็คงไม่มีประโยชน์อะไร ดังนั้นเรื่องคุณภาพของงานที่ออกมาจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะใช้ในการพิจารณาเครื่องจักร และที่สำคัญเครื่องจักรที่ดีต้องใช้งานได้อย่างปลอดภัย ดังนั้นในวันนี้ผู้บรรยายจะยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้เครื่องแสดงผลการนับจำนวนแบบดิจิตอลหรือป้ายแสดงจำนวนสินค้า (Target Counter หรือ Target Board) ในงานการผลิต โดยแสดงผลแบบ Real Time        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เครื่องแสดงผลการนับจำนวนแบบดิจิตอลหรือป้ายแสดงจำนวนสินค้า (Target Counter/ Target Board) ในงานการผลิต ด้วยระบบ OEE (Overall Equipment Effectiveness)      จากตัวอย่างการประยุกต์ใช้เครื่องแสดงผลการนับจำนวนแบบดิจิตอลหรือป้ายแสดงจำนวนสินค้า (Target Counter/Target Board) ในงานการผลิต ด้วยระบบ OEE (Overall Equipment Effectiveness) โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้   OEE แสดงค่าการคำนวณ = Aty. x  Perf. x Qty.        Availability % (อัตราการเดินเครื่อง) แสดงค่าคำนวณ           =  เวลาที่ต้องการทำงาน (เวลารวมของแต่ละกะ) - เวลาที่หยุดทำงาน (Down Time)                                                                                                                                       เวลาที่ต้องการทำงาน (เวลารวมของแต่ละกะ)        Performance % (ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง) แสดงค่าคำนวณ =              เวลามาตรฐาน (Cycle Time) - จำนวนชิ้นที่ผลิตได้ (Actual)                                                                                                                          เวลาที่ต้องการทำงาน (เวลารวมของแต่ละกะ) - เวลาที่หยุดทำงาน (Down Time)        Quality % (อัตราคุณภาพ) แสดงค่าคำนวณ                                 =  จำนวนชิ้นงานทั้งหมด (Actual) - จำนวนชิ้นงานเสีย (NG)                                                                                                                                   จำนวนชิ้นงานทั้งหมด (Actual)        ผู้ใช้สามารถจัดทำ Report และวิเคราะห์วางแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพได้จากตารางดังนี้   • การเก็บข้อมูลสามารถ Export ออกมาเป็น Report ได้ เช่น OEE Report รายงานการหยุดทำงานและรายงานคุณภาพ • วิเคราะห์และวางแผนเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการวัดผลของการปรับปรุงกระบวนการ          ข้อดีของการประยุกต์ใช้ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ในอุตสาหกรรมการผลิตดังนี้      • สามารถรวบรวมข้อมูลการควบคุมเครื่องจักรของพื้นที่การผลิตทั้งหมด ส่งผลให้มีแผนการ Maintenance ที่ชัดเจน ไม่ส่งผลกระทบกับการผลิตสินค้า      • พนักงานทราบข้อมูลในการผลิตที่ชัดเจน เช่น Plan, Actual, Diff, Eff (%), Time, Master Plan เป็นต้น      • พนักงานทราบสถานะการทำงานของเครื่องจักร (ความผิดปกติต่าง ๆ Downtime Breaktime Changeover) และค่า OEE รวมถึงสถานะการสั่งงาน การติดตามคุณภาพ และสาเหตุการหยุดทำงานได้แบบ Real Time      • ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการผลิตจะถูกเก็บไว้ใน Computer Server สามาถเรียกดูได้ไม่สูญหาย      • สามารถ Export ออกมาเป็น Report ได้ เช่น OEE Report รายงานการหยุดทำงานและรายงานคุณภาพ      • วิเคราะห์และวางแผนเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการวัดผลของการปรับปรุงกระบวนการ      • สามารถดูข้อมูลต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ได้ โดยผ่านอุปกรณ์เสริม V-BOX        นอกจากจะมีข้อดีแล้ว ยังมีข้อที่ควรระวังในการใช้ระบบ OEE (Overall Equipment Effectiveness) ดังนี้        ข้อควรระวังในการใช้ OEE (Overall Equipment Effectiveness)      • ควรมีการเก็บข้อมูลที่ครบถ้วน แม่นยำ      • ทุกการคำนวณในโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องมีการจดบันทึกที่ครบถ้วน ถูกต้อง หากขาดตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งจะทำให้ข้อมูลในการคำนวณน้อยเกินไป ทำให้ผลการคำนวณออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริง เกิดผลเสียในระยะยาว      • หน่วยการคำนวณต้องเหมือนกัน หากข้อใดข้อหนึ่งใช้ตัวแปรด้านเวลาเป็นหน่วยชั่วโมง ตัวแปรด้านเวลาของข้อที่เหลือจำเป็นต้องใช้หน่วยชั่วโมงเช่นกัน หากเป็นนาทีก็ต้องเปลี่ยนให้เป็นนาทีเหมือนกัน ไม่เช่นนั้นข้อมูลที่คำนวณได้จะผิดเพี้ยน      • สำหรับการทำงานจริงแล้ว นอกจากการคำนวณด้วยบุคคล การใช้เครื่องมือประเภท IoT ในการเก็บข้อมูลการทำงาน ก่อนทำผ่านการประมวลผลด้วยโปรแกรมคำนวณค่าสำหรับโรงงาน อาจจะเป็นวิธีที่ดีกว่า ง่ายกว่า ลดความผิดพลาดได้มากกว่า เหมาะสำหรับการทำงานในระยะยาวเป็นอย่างยิ่ง        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   ตรวจสอบประสิทธิภาพของไลน์ผลิตอิเล็กทรอนิกส์ ตรวจสอบประสิทธิภาพของไลน์ผลิตกระเบื้องแผ่น ตรวจสอบประสิทธิภาพของไลน์ผลิตรถยนต์ สามารถดูข้อมูลประสิทธิภาพการผลิตผ่านระบบออนไลน์ได้   Digital Indicator,Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Digital Preset Counter เครื่องนับจํานวนแบบดิจิตอล Digital Counter เครื่องนับจํานวนแบบดิจิตอล Proximity Switch Photoelectric Sensor โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
TVM-94N-1-A / TVM-94N-2-A : Digital AC/DC Volt Meter

TVM-94N-1-A / TVM-94N-2-A : Digital AC/DC Volt Meter คุณสมบัติ • เป็นอุปกรณ์วัดและแสดงผลค่าแรงดันไฟฟ้า AC 5-500VAC (สำหรับรุ่น TVM-94N-1-A) • สามารถตั้งค่าตัวคูณ PT Ratio เมื่อใช้ในระบบ High Voltage • มี Alarm Relay สำหรับตั้งเงื่อนไข High, Low Alarm ได้ • มี Option Transfer Output 4-20mA และ 0-10Vdc โดยสามารถเลือกเป็น Direct และ Inverse ได้ • สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่าน Option RS485 เพื่อแสดงผลและเก็บค่าข้อมูลผ่าน Software ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้งาน 1. หน้าจอขึ้นขีดบน 2. หน้าจอขึ้นขีดล่าง 3. ค่าที่แสดงผลหน้าจอไม่ตรง 4. ค่า Transfer ออกไม่ตรง 5. ค่าแรงดันมีการกระเพื่อมหรือแกว่ง วิธีการตรวจเช็คและแนวทางแก้ไข 1. หน้าจอขึ้นขีดบน     วิธีการแก้ไข : ให้ทำการตรวจเช็คค่า SLH High Limit Setting ว่าตั้งค่าไว้ต่ำเกินหรือไม่ 2. หน้าจอขึ้นขีดล่าง     วิธีการแก้ไข : ให้ทำการตรวจเช็คว่ามีสัญญาณแรงดันไฟฟ้าหรือไม่ และตรวจเช็ค SLL Low Limit Setting ว่าตั้งค่าไว้สูงหรือไม่ ปกติจะตั้งไว้ที่ 0 3. ค่าที่แสดงผลหน้าจอไม่ตรง     วิธีการแก้ไข : ให้ทำการตรวจเช็คค่าตัวคูณหรือค่า PT Ratio ว่าตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่ 4. ค่า Transfer ออกไม่ตรง     วิธีการแก้ไข : ให้ทำการตรวจเช็คค่า tLH High Limit Transfer Output และ tLl Low Limit Transfer Output ว่าตั้งค่าใช้ถูกต้องหรือไม่ 5. ค่าแรงดันมีการกระเพื่อมหรือแกว่ง     วิธีการแก้ไข : ให้ทำการปรับค่า Filter Input ให้เพิ่มขึ้น PUF เพื่อลดการแกว่งของสัญญาณแรงดัน **รวมเทคนิคง่าย ๆ การแก้ปัญหาที่พบบ่อย CLICK

Image Alternative text
CM-004N / CM-006N : Digital Indicator

CM-004N / CM-006N : Digital Indicator   คุณสมบัติ • CM-004N เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่รับสัญญาณอินพุต 0-10VDC, 0-20mA และ 4-20mA • CM-006N เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่รับสัญญาณอินพุตจาก Thermocouple Type K, J และ RTD (PT100) • มี 1 Alarm Relay สามารถตั้ง Function การทำงาน High, Low และ High-Low Alarm ได้ • มีแหล่งจ่าย 12VDC สำหรับเลี้ยงอุปกรณ์ Trums Duser (CM-004N)   ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้งาน 1. ค่าที่อ่านได้ไม่ตรง 2. อ่านค่า Input ไม่ได้ 3. ค่าที่ได้แกว่ง หรือวิ่งขึ้น-วิ่งลง   วิธีตรวจเช็คและการแก้ไข   1. อ่านค่าไม่ตรง     ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการตั้งรหัส Type Input ผิด ให้ทำการตรวจเช็คการตั้ง Type Input   2. อ่านค่า Input ไม่ได้     มักเกิดจากสาเหตุของการต่อขั้ว Input ผิดตำแหน่ง ในกรณี CM-004N ให้ดู Terminal ของการต่อ 4-20mA กับ 0-10V ในกรณี CM-006N ให้ดู Terminal TC บวก-ลบ และ RTD ในส่วนของการต่อสัญญาณ A B b   3. ค่าที่ได้แกว่ง หรือวิ่งขึ้น-วิ่งลง     • ให้ตรวจเช็คสายสัญญาณว่าจุดต่อหลวมหรือมีสายขาดหรือไม่     • ให้ปรับค่า LPF Filter Inputเพิ่มขึ้น ในกรณีรับ Input Analog (CM-004N)   **รวมเทคนิคง่าย ๆ การแก้ปัญหาที่พบบ่อย CLICK

Image Alternative text
ดูค่าอุณหภูมิออนไลน์ด้วย Cloud ผ่านมือถือ (Smart Phone)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      การวัดอุณหภูมิในงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมพลาสติก ฯลฯ โดยส่วนใหญ่จะใช้อุปกรณ์เครื่องมือวัดอุณหภูมิที่มีทั้งแบบสัมผัสและแบบไม่สัมผัสกับชิ้นงาน เช่น เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ Thermocouple, RTD (PT100), เกจวัดอุณหภูมิ (Pressure Gauge), เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer), เครื่องวัดอุณหภูมิพื้นผิวแบบไม่สัมผัส (Infrared Thermometer) หรือใช้งานเครื่องบันทึกอุณหภูมิ-ความชื้น Data Logger เป็นต้น เพื่อนำอุณหภูมิที่วัดได้ไปควบคุมในกระบวนการต่อไป        ปัจจุบันในงานการวัดอุณหภูมิ (Measurement Temperature) ได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากโดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อให้ง่ายต่อการดูค่าผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น Computer หรืออุปกรณ์สื่อสารที่สามารถดูค่าแบบ Online ด้วยระบบ Cloud ผ่านมือถือ Smart Phone ได้ โดยระบบ Cloud คือ เครื่องมือหรือการบริการ System Host (ระบบที่เป็นตัวกลางไว้ควบคุม System อื่น ๆ) ต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในการเก็บข้อมูล มีความเสถียรสูงและมีมาตรฐานเรื่องความปลอดภัย สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์เครื่องมือวัดทางด้านไฟฟ้าได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในงานอุตสาหกรรม ช่วยให้เราสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปบริหารจัดการการผลิตให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพตามที่คาดหวังและสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น        โดยวันนี้ผู้บรรยายจะขอยกตัวอย่างเครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอลสำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น (Digital Refrigerator Controller) หรือ Defrost Controller รุ่น DEF-01-Series ยี่ห้อ Primus ที่สามารถดูค่าอุณหภูมิผ่านมือถือ (Smart Phone) ได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้   เครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอลสำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น (Digital Refrigerator Controller) หรือ Defrost Controller : DEF-01-Series การแสดงผลหน้าจอ        เครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอลสำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น (Defrost Controller) หรือ Defrost Controller รุ่น DEF-01-Series เป็นเครื่องควบคุมอุณหภูมิสำหรับตู้แช่และระบบทำความเย็นที่มีขนาดเล็ก (Mini Temperature Controller) ช่วยให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งในตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็นที่มีฟังก์ชั่นการละลายน้ำแข็ง (Defrost) ทำหน้าที่ในการประมวลผลสัญญาณ (Input) ที่รับเข้ามาจากตัวเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ประเภท Thermistor ชนิด NTC, PTC ในตัวเดียวกัน ซึ่งสามารถวัดอุณหภูมิในย่านติดลบได้ดี (-40 ถึง 130 ํ C) โดยการควบคุมสามารถควบคุมได้ทั้งระบบความร้อนและระบบควบคุมความเย็น ดังนี้        ระบบความร้อน คือ Output ของ DEF-01-Series จะทำงานเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า Setpoint และควบคุมแบบระบบความเย็น คือ Output จะทำงานเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า Setpoint มี Alarm ให้เลือกหลายแบบตามต้องการ โดยสามารถตั้ง Alarm แบบ Deviation คือ วิ่งตาม Setpoint หรือแบบ Absolute คือตั้งค่าอุณหภูมิตามที่เรากำหนด ซึ่งมี 4 Relay Output สำหรับควบคุม Compressor พัดลม, การละลายน้ำแข็ง (Defrost) และ Auxiliary Relay        ระบบควบคุมควมเย็น DEF-01-Series จะทำการวัดอุณหภูมิเพื่อควบคุมการทำงานของ Compressor Relay เพื่อสั่งให้ Compressor ทำงานจนอุณหภูมิลดลงถึงค่า Setpoint ที่ตั้งไว้และจะกลับมาทำงานอีกครั้งเมื่ออุณหภูมิสูงกว่าค่า Setpoint + Hysteresis หากตั้งค่าการทำงานเป็น Heat Mode จะทำให้ Compressor Relay ทำงานตรงข้ามกัน        นอกจากนี้ เครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอลสำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น (Defrost Controller) หรือ Defrost Controller รุ่น DEF-01-Series ยังมีระบบการตรวจเช็คแรงดันไฟฟ้ากรณีไฟตก (Under Voltage), ไฟเกิน (Over Voltage) เพื่อป้องกันคอมเพรสเซอร์หรือระบบทำความเย็นเสียหาย พร้อมทั้งแสดงผลเมื่อแรงดันสูงกว่าหรือต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้สำหรับการแจ้งเตือนได้        ในกรณีที่ต้องการอ่านค่าอุณหภูมิผ่านมือถือ (Smart Phone) หรือเก็บข้อมูลและเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านั้นคือ IoT Gateway ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้      • เครื่องวัดและแสดงผลค่าอุณหภูมิ (Temperature Controller) ที่จะต้องมี Port ติดต่อสื่อสาร อาทิ RS-485 Modbus RTU Protocol เป็นต้น      • Platform Cloud ในรูปแบบของ Web SCADA เพื่อดูค่าผ่าน Computer/Laptop, Smart phone/Tablet      • V-BOX เพื่อแปลงพอร์ทสื่อสาร อาทิ RS-485/RS-422 หรือ RS-232 ส่งค่าขึ้น Platform Cloud        ซึ่งในปัจจุบันเราอาศัยระบบทำความเย็น (Refrigerator System) มาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การผลิตอาหาร, การเก็บรักษาอาหาร, การแช่แข็ง, การทำความเย็นในตู้แช่, ห้องเย็น, โรงน้ำแข็ง เป็นต้น ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานของเครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอลสำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น (Digital Refrigerator Controller) หรือ Defrost Controller รุ่น DEF-01-Series ยี่ห้อ Primus ดูค่าอุณหภูมิผ่านมือถือ (Smart Phone) โดยต่อร่วมกับอุปกรณ์เสริม Dongle Module for RS-485 Expansion Module (DEF-01-A3) ดังนี้        เครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอลสำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น (Digital Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller) รุ่น DEF-01-Series ยี่ห้อ Primus ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานของเครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอลสำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น (Digital Refrigerator Controller) หรือ Defrost Controller รุ่น DEF-01-Series ยี่ห้อ Primus ดูค่าอุณหภูมิผ่านมือถือ (Smart Phone)        จากตัวอย่างสามารถอธิบายหลักการได้ดังนี้      การใช้งานควบคุมความเย็นให้ห้อง Cool Room โดยมี DEF-01-F3 เป็น Controller และใช้ DEF-01-A3 เป็น Port RS-485 เพื่อให้ V-BOX เข้ามาดึงข้อมูลและส่งค่าไปยังระบบ Could โดยผู้ใช้งานสามารถทราบถึงข้อมูลจากที่ไหนก็ได้แค่มี Ethernet ดูผ่าน Smart phone และ PC ได้      จากการยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานของเครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอลสำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น (Digital Refrigerator Controller) หรือ Defrost Controller ดูค่าอุณหภูมิผ่านมือถือ (Smart Phone) ได้ สามารถบอกถึงข้อดีได้ ดังนี้      • สามารถดูค่า Monitor ผ่าน Smart Phone ได้      • สามารถคาดการณ์และวางแผนการผลิตได้      • ช่วยเก็บข้อมูลทำ Report ผ่านระบบ Could      • ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์คอยจัดเก็บข้อมูล        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   งานห้องเย็น งานคลังวัตถุดิบ งานห้องเย็นเคลื่อนที่   Digital Temperature Controller Digital Temperature Controller PID Control Function Temperature Coefficient เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ Single Phase Solid State Relay 3 Phase Solid State Relay โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
KM-18-1 : Data Logger for Energy Meter

KM-18-1 : Data Logger for Energy Meter   คุณสมบัติ • เป็นอุปกรณ์อ่านค่าและบันทึกข้อมูลจาก Meter ผ่าน RS485 MODBUS RTU • สามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์ได้สูงสุด 32 ตัว • มีการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของ Text File และสามารถเปิดไฟล์ผ่าน Notepad และ Excel ได้ • สามารถเก็บข้อมูลผ่าน SD Card ได้สูงสุด 16 GB   ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้งาน 1. เชื่อมต่อไม่ได้ 2. ค่าที่อ่านได้ไม่ครบตามจำนวนอุปกรณ์ที่ Link 3. ค่าไม่ตรง/เวลาไม่ตรง 4. ข้อมูลขาดหาย   วิธีการตรวจเช็คและแนวทางแก้ไข   1. เชื่อมต่อไม่ได้    • ให้ทำการตรวจเช็คสายสัญญาณ 485 ในขั้ว A และ B ว่าต่อตรงกันหรือไม่    • ให้ทำการตรวจเช็ค Address ของอุปกรณ์แต่ละตัวว่าซ้ำกันหรือไม่    • ให้ทำการตรวจเช็คชื่ออุปกรณ์ที่ทำการเชื่อมต่อว่ารหัสตรงตามรุ่นหรือไม่   2. ค่าที่อ่านได้ไม่ครบตามจำนวนอุปกรณ์ที่ Link    • กรณีที่ Link อุปกรณ์มากกว่า 1 ตัว ต้องทำการตั้งค่า Setting ID ของแต่ละตัว    • ต้องตั้งค่า Slave Address ไม่ให้ซ้ำกัน       เช่น มีมิเตอร์ 3 ตัว เป็น KM-07-THD               ID_01               Slave Address 001               Meter KM-07-THD                 ID_02               Slave Address 002               Meter KM-07-THD                 ID_03               Slave Address 003               Meter KM-07-THD   3. ค่าไม่ตรง/เวลาไม่ตรง    • ให้ทำการตรวจเช็คการตั้งค่า Time and Date ว่าตรงกันหรือไม่   4. ข้อมูลที่อ่านได้ขาดหาย    • ให้ทำการตรวจเช็คความไว้ในการรับส่งข้อมูลของการสื่อสาร Baud Rate ว่าตั้งใช้เร็วเกินไปหรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนอุปกรณ์ที่ทำการ Link    • ให้ตรวจเช็คระยะเวลาในการอ่านข้อมูลและบันทึกข้อมูลว่าเร็วเกินไปหรือไม่ Logging & Sampling   **รวมเทคนิคง่าย ๆ การแก้ปัญหาที่พบบ่อย CLICK

Image Alternative text
ข้อดีของการติดตั้งพัดลมในตู้คอนโทรลไฟฟ้า (Cabinet Filter Fans)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      พัดลมระบายความร้อนในตู้คอนโทรลไฟฟ้า, ตู้สวิทบอร์ด (MDB) หรือโดยทั่วไปเรียกว่า Cabinet Filter Fans เป็นการนำพัดลมประเภท Axial Fans มาประกอบเข้ากับหน้ากากพร้อมแผ่นกรองฝุ่น (Filter) เพื่อทำหน้าที่ระบายความร้อนภายในตู้คอนโทรล ปัจจุบันในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตสินค้า ทำให้มีความร้อน ฝุ่น ควัน มลพิษต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการ หรืออาจเกิดจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติจากภายนอก ทำให้มีผลโดยตรงต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องมือวัดต่าง ๆในตู้คอนโทรล อาทิ หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer), อินเวอร์เตอร์ (Inverter), พีแอลซี (PLC), เบรกเกอร์ (Breaker) เป็นต้น และเมื่ออุปกรณ์มีการทำงานเป็นระยะเวลาติดต่อกันจะทำให้อุปกรณ์มีการสะสมความร้อน ซึ่งความร้อนเหล่านี้จะสะสมภายในตู้ และเมื่อไม่มีการระบายความร้อนที่ดีจะทำให้อุณหภูมิภายในตู้สูงขึ้นและเกิดความร้อนสะสม ซึ่งจะส่งผลให้อุปกรณ์ดังกล่าวจะเริ่มมีปัญหา ทำงานบกพร่อง ทำให้กระบวนการผลิตเกิดความเสียหายได้      ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดการที่ดีในการระบายอากาศ เพื่อการถ่ายเทความร้อนให้มีประสิทธิภาพและช่วยให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเครื่องมือวัดต่าง ๆในตู้คอนโทรล หรือเครื่องจักรมีอายุการใช้งานที่ยืนยาวมากขึ้น โดยการใช้พัดลมระบายความร้อนในตู้คอนโทรล (Cabinet Filter Fans) ซึ่งเราได้มีการนำเสนอกันไปแล้วในหัวข้อ วิธียืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล, ตู้สวิทช์บอร์ด (MDB) ซึ่งพัดลมระบายความร้อนในตู้คอนโทรลไฟฟ้า (Cabinet Filter Fans), ตู้สวิทช์บอร์ด (MDB) ที่พบเห็นโดยมากในงานอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างพัดลม Cabinet Filter Fans รุ่น PMV-Series และ PMV-N-Series ยี่ห้อ PRIMUS ดังนี้      พัดลมระบายความร้อนในตู้คอนโทรลไฟฟ้า (Cabinet Filter Fans), ตู้สวิทช์บอร์ด (MDB) ตัวอย่างพัดลมระบายความร้อนในตู้คอนโทรลไฟฟ้า (Cabinet Filter Fans), ตู้สวิทช์บอร์ด (MDB) รุ่น PMV-Series และรุ่น PMV-N-Series ยี่ห้อ PRIMUS   PMV-N-Series ยี่ห้อ PRIMUS PMV-Series ยี่ห้อ PRIMUS      ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาการเกิดความร้อนสะสมภายในตู้คอนโทรลไฟฟ้า, ตู้สวิทช์บอร์ด (MDB) เพื่อยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล, ตู้สวิทช์บอร์ด (MDB) ให้ยาวนานยิ่งขึ้นและไม่ส่งผลกระทบความเสียหายต่อกระบวนการผลิต อีกหนึ่งวิธีที่ผู้บรรยายขอนำเสนอในข้อดีของการติดตั้งพัดลมระบายความร้อน (Filter Fans) ภายใต้หัวข้อ "ข้อดีของการติดตั้งพัดลมในตู้คอนโทรลไฟฟ้า (Cabinet Filter Fans)" โดยการยกตัวอย่างการติดตั้งพัดลมระบายความร้อนสำหรับตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล (Cabinet Filter Fans) รุ่น PMV-N-Series ยี่ห้อ PRIMUS ดังต่อไปนี้ ตัวอย่างการติดตั้งพัดลมระบายความร้อนสำหรับตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล (Cabinet Filter Fans) รุ่น PMV-N-Series ยี่ห้อ PRIMUS      สำหรับพัดลมระบายความร้อนสำหรับตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล (Cabinet Filter Fans) รุ่น PMV-N-Series ยี่ห้อ PRIMUS ที่ถูกออกแบบให้มีรูปทรงที่สวยงามและบาง ทำให้ติดตั้งแนบเรียบไปกับผิวหน้าตู้ (ตัวอย่างรูป A) และสามารถติดตั้งไต้ง่าย, รวดเร็วและแข็งแรงด้วย Clips Lock ด้วยการออกแบบอย่างเหมาะสม โดยใช้เนื้อพลาสติกที่มีความยืดหยุ่น ไม่ใช้เนื้อเดียวกันกับโครงสร้างของพัดลม ซึ่งแข็งไม่เหมาะกับการยึดเกาะ ทำให้พัดลมไม่สั่นขณะทำงาน (ตัวอย่างรูป B) ในการเปลี่ยนแผ่นกรองฝุ่นสามารถทำได้ง่ายด้วยการออกแบบของ Flap-Open โดยเพียงดึงหน้ากากออกเพื่อเปลี่ยนแผ่นกรองฝุ่นและดันหน้ากากเข้ากลับที่เดิม (ตัวอย่างรูป C) ขั้วต่อไฟแบบ Spring Terminal ทำให้การ Wiring สาย เป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว (ตัวอย่างรูป D) โดยปกติลักษณะการถ่ายเทความร้อน อากาศที่มีความร้อนจะลอยตัวจากด้านล่างขึ้นด้านบน ดังนั้นพัดลมระบายความร้อนสำหรับตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล (Cabinet Filter Fans) รุ่น PMV-N-Series ยี่ห้อ PRIMUS ควรจะติดตั้งบริเวณด้านบนของตู้ โดยจะมีหน้ากากพร้อมแผ่นกรองฝุ่น (PMF-N-Series) ติดตัวอยู่บริเวณด้านล่าง เพื่อเป็นช่องทางให้อากาศจากภายนอกเข้ามาภายในตู้ (ตัวอย่างรูป E)      นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริม Thermostat แบบ Analog รุ่น CMA-001 และแบบ Digital รุ่น CMA-002 สำหรับตัดต่อพัดลมเพื่อยืดอายุการใช้งานและประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยทำหน้าที่สั่งให้พัดลมทำงานเฉพาะในเวลาที่มีอุณหภูมิสูงเท่านั้น เพื่อให้พัดลมไม่ต้องทำงานตลอดเวลา      ตัวอย่างการต่อใช้งานพัดลมระบายความร้อนสำหรับตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล (Cabinet Filter Fans)      จากการบรรยายการติดตั้งพัดลมระบายความร้อนสำหรับตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล (Cabinet Filter Fans) ข้างต้นนั้น สามารถบอกถึงประโยชน์และข้อดีของการติดตั้งพัดลม (Cabinet Filter Fans) ที่ตู้คอนโทรลไฟฟ้า ได้ดังนี้      ข้อดีของการติดตั้งพัดลมในตู้คอนโทรลไฟฟ้า (Cabinet Filter Fans)        • ช่วยยืดอายุการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ภายในตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล        • ติดตั้งได้ง่ายสำหรับรุ่น PMV-N-Series ใช้ Clip Lock โดยไม่ต้องยึดน็อต        • สามารถเปลี่ยนแผ่นกรองฝุ่นได้ง่าย เพียงตึงหน้ากากออกเพื่อเปลี่ยนแผ่นกรองฝุ่นและดันหน้ากากเข้ากลับที่เดิม สำหรับรุ่น PMV-N-Series        • ทำให้ตู้ไฟฟ้า, ตู้คอนโทรล มีความสวยงามเนื่องจากหน้ากากถูกออกแบบให้มีรูปทรงที่สวยงามและบาง ทำให้ติดตั้งแนบเรียบไปกับผิวหน้าตู้สำหรับรุ่น PMV-N-Series        • มีทั้งรุ่นดูดลมเข้า (A) และเป่าลมออก (P)        • การออกแบบให้หน้ากากมีรูปทรงที่สวยงามและสามารถนำไปใช้ให้เข้ากับสีของตู้คอนโทรลได้ โดยมีให้เลือกโทนสีที่ต้องการได้ 3 โทนสี ดังนี้           1. สีเทาขาว (RAL7035 รุ่น Standard)           2. สีครีม (RAL7032)           3. สีเทา      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน ตู้คอนโทรล Inverter ใช้ PMV25 เป่าลมเข้าตู้ ใช้ PMB02 ดูดลมร้อนออก ตู้คอนโทรลเครื่องจักร ใช้ PMV205NP ดูดความร้อนออก Analog Thermostat Digital Thermostat Air Conditioner for Control Boxes Heater ฮีตเตอร์ Signal Tower Light โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ปัญหาที่พบบ่อยของอุปกรณ์วัดและแสดงผลค่ากระแส รุ่น TCM-94N-1-A

TCM-94N-1-A : Digital Ac Meter (True RMS)   คุณสมบัติ 1. เป็นอุปกรณ์วัดและแสดงผลค่ากระแส โดยใช้งานร่วมกับ CT ย่านการวัด 0-5A 2. มี Alarm Relay สำหรับตั้งเงื่อนไข High Low Alarm ได้  3. มี Option Transfer Output 4-20mA และ 0-10VDC โดยสามารถเลือกตั้งค่าเป็น Direct และ Inverse ได้ 4. สามารถเชื่อมต่อกับ Computer ผ่าน RS-485 เพื่อแสดงผลข้อมูล โดยใช้งานร่วมกับ Software   ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้งาน   1. หน้าจอขึ้น Sbr   2. หน้าจอขึ้นขีดบน   3. หน้าจอขึ้นขีดล่าง   4. ค่าที่แสดงผลหน้าจอไม่ตรง 5. ค่า Transfer Output ออกไม่ตรง 6. ตรวจเช็คว่าค่าที่แสดงผลหน้าจอตรงและถูกต้องหรือไม่   วิธีการตรวจเช็คและแนวทางแก้ไข   1. หน้าจอขึ้น Sbr วิธีการแก้ไข : ให้ทำการตรวจเช็ค Input ว่ามีกระแสส่งมาจาก CT หรือไม่ ปกติจะมีสัญญาณ 0-5AAC   2. หน้าจอขึ้นขีดบน วิธีการแก้ไข : ให้ทำการตรวจเช็คค่า SLH High Limit Setting ว่าตั้งค่าไว้ต่ำเกินไปหรือไม่ ปกติจะต้องตั้งไว้สูงกว่ากระแสสตาร์ทและกระแสใช้งาน   3. หน้าจอขึ้นขีดล่าง วิธีการแก้ไข : ให้ทำการตรวจเช็คค่า SLL Low Limit Setting ว่าตั้งค่าไว้สูงหรือไม่ ปกติจะตั้งไว้ที่ 0   4. ค่าที่แสดงผลหน้าจอไม่ตรง     วิธีการแก้ไข : ให้ทำการตรวจเช็คการตั้งค่า MUL Multiplier และค่า div divisor ว่าตั้งถูกหรือไม่ ปกติจะตั้งได้ 2 แบบ         กรณี CT 100/5             แบบที่ 1 ตั้ง MUL = 100                                     div = 5               แบบที่ 2 ตั้ง MUL = 200                                     div = 1   5. ค่า Transfer Output ออกไม่ตรง     วิธีการแก้ไข : ให้ทำการตรวจเช็คค่า InH High Limit Setting Analog Input ปกติจะตั้งไว้ที่ 5 และเช็คค่า InL Low Limit Setting Analog Input ปกติจะตั้งไว้ที่ 100                             ให้ทำการตรวจเช็คค่า trH High Limit Setting for Transfer Output ปกติจะตั้งไว้ที่ 20 และค่า trL Low Limit Setting Transfer Output ปกติจะตั้งไว้ที่ 0   6. ตรวจเช็คว่าค่าที่แสดงผลหน้าจอตรงและถูกต้องหรือไม่     วิธีการแก้ไข : การตรวจเช็คว่าค่าที่โชว์บนหน้าจอถูกต้องหรือไม่ ให้ทำการใช้ Clamp Meter คล้องที่สาย CT และอ่านค่า แล้วนำไปคูณกับค่า CT Ratio และเปรียบเทียบที่หน้าจอว่าตรงกันหรือไม่ ถ้าไม่ตรงให้ทำการชดเชยค่าที่ PUS แทน   รวมเทคนิคง่าย ๆ การแก้ปัญหาที่พบบ่อย CLICK

Image Alternative text
ปัญหาที่พบบ่อยของ Process Indicator รุ่น TIM-94N

TIM-94N : Universal Input Digital Indicator   คุณสมบัติ 1. เป็น Process Indicator ที่ใช้แสดงผลค่าต่าง ๆ 2. Input เป็น Universal รับสัญญาณได้ทั้ง TC, RTD, 4-20mA, 0-10VDC, 0-10V, 0-5V 3. มี Alarm Relay สูงสุด 3 Alarm เพื่อตั้ง Function High Low Alarm ได้ 4. มี Option Transfer Output 4-20mA และ 0-10VDC โดยสามารถเลือกตั้งค่าเป็น Direct และ Inverse ได้ ตลอดจนมี RS-485 เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับ Computer ในการแสดงผลข้อมูลผ่าน Software   ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้งาน   1. หน้าจอขึ้น Sbr   2. หน้าจอขึ้นขีดบน   3. หน้าจอขึ้นขีดล่าง   4. ค่าที่แสดงผลหน้าจอไม่ตรง 5. ค่า Transfer Output ออกไม่ตรง 6. ค่าอุณหภูมิวิ่งลง   วิธีการตรวจเช็คและแนวทางแก้ไข   1. หน้าจอขึ้น Sbr     วิธีการแก้ไข : ให้ทำการตรวจเช็ค Input ว่าตั้ง Type Input ถูกต้องหรือไม่ ตรวจเช็คสายและจุดต่อว่าหลวมหรือขาดหรือไม่   2. หน้าจอขึ้นขีดบน     วิธีการแก้ไข : ให้ทำการตรวจเช็คค่า SLH High Limit Setting ว่าตั้งค่าไว้ต่ำเกินไปหรือไม่   3. หน้าจอขึ้นขีดล่าง     วิธีการแก้ไข : ให้ทำการตรวจเช็คค่า SLL Low Limit Setting ว่าตั้งค่าไว้สูงหรือไม่   4. ค่าที่แสดงผลไม่ตรงกับหน้าจอ     วิธีการแก้ไข : ให้ทำการตรวจเช็คค่า PUS PV Correction Gain ว่าตั้งค่าถูกหรือไม่ และปรับค่าชดเชยที่ค่า PUS PV Correction แทน   5. ค่า Transfer Output ออกไม่ตรง     วิธีการแก้ไข : ให้ทำการตรวจเช็คค่า InH High Limit Setting in Analog Input Limit และเช็คค่า InL Low Limit Setting in Analog Limit ว่าตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่   6. ค่าอุณหภูมิที่วัดได้วิ่งลง     วิธีการแก้ไข : ให้ทำการตรวจเช็คขั้วต่อสาย Input ว่าจ่ายชุดขั้วบวกกับลบหรือไม่   รวมเทคนิคง่าย ๆ การแก้ปัญหาที่พบบ่อย CLICK

Image Alternative text
วิธีดูแลบำรุงรักษา PLC

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      PLC หรือ พีแอลซี ย่อมาจาก โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ (Programmable Logic Controller) เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานต่าง ๆ ซึ่งสามารถรับสัญญาณอินพุต (Input) และส่งออกสัญญาณเอาต์พุต (Output) จากอุปกรณ์เครื่องมือวัดได้โดยตรง โดยภายในมี Microprocessor ที่เป็นมันสมองในการสั่งการ เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติเลยก็ว่าได้        ในปัจจุบันได้มีนำ PLC มาใช้งานในอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีหลายรุ่นแตกต่างกันเพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกใช้ให้เหมาะสม เช่น PLC ที่มีขนาดเล็ก (Micro PLC) ที่มีจำนวน Input/Output ไม่มากนัก และ Vision PLC ที่มีการแสดงผลหน้าจอแบบ Graphic, LCD หรือ PLC แบบใช้ปุ่มกด (Keypad Switch), PLC แบบ Touch Screen เป็นต้น โดย PLC แต่ละรุ่นจะมีจำนวนอินพุต (Input) และเอาต์พุต (Output) ของอุปกรณ์ที่สามารถทำการเชื่อมต่อกับ PLC ได้แตกต่างกัน รวมถึง Port ที่ใช้ในการสื่อสารต่าง ๆ กับ PLC ด้วย โดย PLC แยกตามประเภทการใช้งานและงบประมาณ ยกตัวอย่าง PLC ยี่ห้อ Unitronics ดังนี้        ประเภทของ PLC (Programmable Logic Controller) ยี่ห้อ Unitronics   UniStream PLC Vision PLC Samba PLC Jazz & M91 PLC UniStream PLC เน้นกับงานที่ใช้กราฟฟิคหน้าจอแบบ Touch Screen Vision PLC สามารถเก็บข้อมูล (Data Logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen Samba PLC สามารถเก็บข้อมูล (Data Logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen (ราคาถูก) Jazz and M91 PLC มีขนาดเล็กกะทัดรัด (Micro PLC) หน้าจอแบบ LCD      โดยส่วนมากในงานอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภทจะมีระบบควบคุมอัตโนมัติ (Automatic System) ที่ใช้ PLC เป็นตัวควบคุม และ HMI เป็นตัวสื่อสารระหว่างผู้ใช้งาน (Human) กับตัว PLC โดยให้ PLC สั่งงานไปที่เครื่องจักร (Machine) ซึ่งการทำงานของ PLC จะคล้ายกับหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่มีอินพุต (Input), หน่วยประมวลผล (Process Microprocessor ) และเอาต์พุต (Output) เพื่อต่อออกไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมือวัดอื่น ๆ ในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักร (Machine) ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิต      ดังนั้นในการใช้งาน PLC ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีการหมั่นตรวจเช็คเป็นประจำ เนื่องจาก PLC จะประกอบไปด้วยภาคส่วนของอินพุต (Input), หน่วยประมวลผล (Process Microprocessor) และเอาต์พุต (Output) ซึ่งอาจจำเป็นจะต้องหมั่นดูแลตรวจสอบและซ่อมบำรุงรักษาเป็นประจำ เช่น การทำความสะอาด, ตรวจเช็คแบตเตอรี่ใน PLC, การตรวจเช็คพอร์ตสื่อสาร เป็นต้น        โดยในวันนี้ทางผู้บรรยายจะขอแนะนำการบำรุงรักษาในหัวข้อ “วิธีดูแลบำรุงรักษา PLC” เพื่อยืดอายุการใช้งานและลดความเสียหายของ PLC ดังนี้        • ควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ เนื่องจากอุปกรณ์ PLC มีส่วนประกอบของแผงวงจรและขั้วไฟฟ้าต่าง ๆ เมื่อใช้งานในงานอุตสาหกรรมที่มีฝุ่นและความร้อนให้หมั่นทำความสะอาดตลอดเวลา เพื่อลดฝุ่นไปเกาะในส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้ PLC ทำงานได้ไม่ดีและไม่เต็มประสิทธิภาพ และในการทำความสะอาดควรจัดทำแผนในการ Maintenance ให้สอดคล้องกับไลน์การผลิตอุปกรณ์ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับการผลิต และควรใช้แรงดันลมระดับกลางในการเป่าทำความสะอาดเพื่อไล่ฝุ่น และในส่วนของแผงวงจรอาจใช้ Contact Cleaner ใช้ในการทำความสะอาด        • ควรตรวจสอบแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ของ PLC บางรุ่นจะมีคาร์ปาซิเตอร์ เมื่อมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่ข้อมูลยังคงอยู่ แต่ในบางรุ่นซึ่งไม่มีคาร์ปาซิเตอร์ ก่อนทำการเปลี่ยนต้องทำการสำรองข้อมูลก่อน และควรทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ในการเปลี่ยนแต่ละครั้ง โดยแบตเตอรี่จะมีการติดตั้งในหน่วยประผลกลางของ PLC ทำหน้าที่จ่ายกระแสเพื่อรักษาข้อมูลและโปรแกรมที่ใช้ในการทำงาน โดยส่วนมากอายุการใช้งานของแบตเตอรี่มีอายุการใช้งาน 5-10 ปี หากเป็น PLC ที่มีอายุการใช้งานมายาวนานแบตเตอรี่อาจเสื่อม ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับขั้วของวงจรที่ต่อกับแบตเตอรี่ หรือหากในกรณีที่ไฟของแบตเตอรี่อ่อนย่อมส่งผลให้การนำข้อมูลมาใช้หรือโปรแกรมทำได้ไม่เต็มที่        • ควรตรวจสอบพอร์ตสื่อสารเป็นประจำ ในการบำรุงรักษาอาจต้องมีการถอด PLC ออกมาในแต่ละชิ้น พอร์ตอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ กับ PLC ก็เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่มีความสำคัญ หากตัวเชื่อมต่อไม่ดีอาจส่งผลให้การรับ-ส่งข้อมูลเกิดปัญหาได้ การตรวจสอบพอร์ตหลังจากที่ทำการบำรุงรักษาแล้วจะทำการเช็คดังนี้          - ตรวจสอบการทำงานของ PLC โดยดูจาก LED ที่แสดงสถานะการทำงานของ CPU โดยตรวจเช็คว่าอยู่ในสภาพทำงาน (RUN) หรือไม่          - ตรวจสอบที่ไฟสถานะของพอร์ตสื่อสาร สีเขียว คือ ทำงานถูกต้อง สีแดงเมื่อไม่สามารถทำการเชื่อมต่อได้ โดยปกติไฟในจุดนี้ควรกระพริบอยู่ตลอดหากข้อมูลส่งผ่านอย่างต่อเนื่อง          - หากพบว่าไฟมีสถานะแจ้งเตือนความผิดปกติ ควรตรวจสอบขั้วสัญญาณว่ามีอาการหลวมหรือหลุดหรือไม่ หากมีคาบฝุ่นให้ทำความสะอาดโดยการเป่าลมไล่ฝุ่นออก          - หากตรวจสอบตามข้อที่ 1-3 แล้วยังเกิดปัญหาการสื่อสารควรตรวจสอบสายสัญญาณว่ามีการขาดชำรุดหรือไม่ การขาดชำรุดอาจเกิดขึ้นภายในต้องตรวจสอบโดยใช้มิเตอร์ร่วมด้วย        ยกตัวอย่างภาพการตรวจสอบแบตเตอรี่ของ PLC รุ่น VISION 130 ยี่ห้อ UNITRONICS รูปตัวอย่างที่ 1 : ภาพการตรวจสอบแบตเตอรี่ของ PLC รุ่น Vision 130 ยี่ห้อ Unitronics        จากรูปตัวอย่างที่ 1 : วิธีการตรวจสอบแบตเตอรี่ PLC Unitronics ให้ดูในส่วนของ SB7 (SYSTEM BIT) ถ้า มีค่า =1 หมายถึง แบตเตอรี่กำลังอ่อนหรือหมดให้รีบทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่ เนื่องจากถ้าแบตเตอรี่หมดจะส่งผลให้ค่าต่าง ๆ ของ PLC หาย จะทำให้เครื่องจักรไม่สามารถทำงานได้เพราะเครื่องจักรต้องมีค่าพารามิเตอร์ในการควบคุม เช่น Setpoint หรือ Time Counter ใน PLC ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง Backup ข้อมูล และโปรแกรมไว้ก่อนทำการเปลี่ยนแบตเตอรี่        ตัวอย่างภาพการตรวจสอบพอร์ตสื่อสารของ PLC รุ่น VISION 130 ยี่ห้อ UNITRONICS รูปตัวอย่างที่ 2 : การเช็คการสื่อสารของ Port PLC โดยทำการเชื่อมต่อสายเข้ากับ Port1 ของ PLC รุ่น Vision 130 ยี่ห้อ Unitronics        จากรูปตัวอย่างที่ 2 : ด้านบนเป็นการเช็คการสื่อสารของ Port  PLC โดยทำการเชื่อมต่อสายเข้ากับ Port1 ของ PLC จากนั้น เลือก PC Port เป็น Port เดียวกันกับ Device Manager ใน Hardware บนคอมพิวเตอร์ แล้วเข้าไปที่เมนู Connection ตามด้วยเมนู Communication and OS จากนั้นเลือก Baud Rate 115200 แล้วทำการกด Get OPLC Information ถ้าเชื่อมตัวได้จะปรากฏ Model, O/S ในหน้านี้ กรณีเชื่อมตัวไม่ได้ให้เช็คที่คอมพิวเตอร์ก่อนหรือสายที่เชื่อมต่อมีการเสียบอยู่หรือไม่ จากนั้นให้เช็ค Comport ว่า Detect เป็น Comport ไหน        ข้อดีของการดูแลบำรุงรักษา PLC ดังนี้      • ยืดอายุการใช้งานของ PLC+HMI      • มีแผนการ Maintenance ที่ชัดเจน ไม่ส่งผลกระทบกับการผลิตสินค้า      • หลีกเลี่ยงปัญหาเครื่องจักรหยุด        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   ระบบควบคุมปั๊มลม เครื่องทดสอบอุปกรณ์ ระบบจ่ายเคมี   Switching Power Supply 5A Slim Relay Module SPDT Relay Module รีเลย์โมดูล Signal Tower Light  Terminal Block โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การเลือกใช้งาน Flow Switch vs Water Meter ให้เหมาะสม

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ในปัจจุบันการใช้งานเครื่องมือวัดการไหล (Flow) หรือของไหล (Fluid) ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวัดการไหลของไหลภายในท่อระบบปิดในโรงงานอุตสาหกรรม หรือบ้านพักอาศัย อาคาร คอนโดมิเนียม โดยธรรมชาติของของไหล (Fluid) จะมีตัวแปรต่าง ๆ ที่คอยส่งผลกระทบต่อการไหล (Flow) ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ (Temperature), ความดัน (Pressure), ความหนืด (Viscosity), ความหนาแน่น (Density), ความอัดตัวได้ (Compressibility) หรือสิ่งปฏิกูล ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้การไหล (Flow) ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร แล้วจะมีตัวช่วยในเรื่องดังกล่าวอย่างไร? วันนี้เราจะมาแนะนำอุปกรณ์เครื่องมือวัดของไหล (Flow Measuremen) ที่เป็นส่วนหนึ่งของการวัดการไหล คือ Flow Switch ตรวจจับการไหลของน้ำหรือของไหลในท่อ และ Water Meter มิเตอร์น้ำหรือมาตรวัดน้ำ อุปกรณ์สำหรับการวัดปริมาณการใช้น้ำเพื่อการเลือกใช้งานที่เหมาะสม ในหัวข้อ "การเลือกใช้งาน Flow Switch vs Water Meter ให้เหมาะสม"        ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Flow Switch และ Water Meter ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร? โดยแยกเป็น 2 ประเภทตามการใช้งาน ดังนี้        1. Flow Switch (สวิตช์ใบพาย) เป็นอุปกรณ์สวิตช์ (ON-OFF) ที่ติดตั้งไว้กับท่อเพื่อตรวจสอบเมื่อมีของไหลผ่านจะทำให้หน้าสัมผัสของสวิตช์ทำงาน ปกติหน้าสัมผัสที่ใช้ในสวิตช์ควบคุมการไหลมีแบบปกติปิด (NC) และแบบปกติเปิด (NO) ให้เลือกใช้ในทางปฏิบัติ นิยมต่อสวิตช์ควบคุมการไหลอนุกรมกับคอยล์ของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ที่ควบคุมปั๊มอีกที หรือหลอดไฟสัญญาณแสดงสถานะการทำงานเพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้ปั๊มเกิดการ Run Dry ในกรณีที่ไม่มีของไหลไหลภายในท่อ ดังรูป ลักษณะการติดตั้ง Flow Switch โดยการยึดเกลียวเพื่อตรวจจับการไหลของน้ำในท่อ รุ่น WS-01 (แบบใบพาย 3 ระดับ)        ข้อแนะนํา : การติดตั้งตัว Flow Switch แบบใบพาย ควรเว้นระยะห่างจา ข้องอ, วาล์ว หรืออุปกรณ์อื่น ๆ อย่างน้อย 5 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ จึงจะสามารถทํางานได้ดีที่สุด        2. Water Meter (มิเตอร์น้ำ หรือ มาตรวัดน้ำ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดปริมาตรของน้ำ โดยมิเตอร์น้ำ (Water Meter) จะทำหน้าที่วัดปริมาตรน้ำเมื่อมีการไหลผ่าน และส่งค่าที่ได้ไปที่หน้าปัดหรือหน้าจอแสดงผลซึ่งมีหลักการคำนวณและแปลงอัตราส่วนที่คำนวณได้เพื่อแสดงผลเป็นค่าที่ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านได้เป็นสากล เช่น ปริมาตรหน่วยลิตร (Liter) หรือลูกบาศก์เมตร (Cubic Meter) เป็นต้น โดยมีมิเตอร์น้ำ (Water Meter) หรือมาตรวัดน้ำแต่ละประเภท      ชนิดของ Water Meter แต่ละประเภท ทั้งแสดงเป็นตัวเลข แสดงค่าของปริมาณน้ำที่หน้าปัด หรือส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังชุดแสดงผล   Single Jet Multi Jet Horizontal Woltmann Model : CPR-M3-I Model : GMB-I Model : WDE-K50        การใช้งานอุปกรณ์เครื่องมือวัดของไหล (Flow Measuremen) ที่เป็นส่วนหนึ่งของการวัดการไหลนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเราจึงสรุปข้อมูลที่สำคัญเพื่อช่วยในการพิจารณาเลือกใช้งาน โดยมีข้อแตกต่างการนำไปใช้งานของ Flow Switch และ Water Meter ดังนี้        Flow Switch (สวิตช์ใบพาย) เป็นสวิตช์ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น ปั๊มน้ำ โดยอาศัยการไหลของน้ำหรือของเหลวมาพัดพาให้ใบพายที่เชื่อมต่อไปยังสวิตช์เคลื่อนที่ไปตามทิศทางการไหล ซึ่งจะมีผลให้สวิตช์มีการตัดต่อและสั่งจ่ายหรือตัดกระแสไฟฟ้าที่จ่ายไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้านั้น ๆ โดยมี Timer การปรับหน่วงเวลา สามารถปรับให้การตัดต่อสวิตช์เป็นไปตามอัตราการไหลมากน้อยได้ตามต้องการ        Water Meter (มิเตอร์น้ำ หรือ มาตรวัดน้ำ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดปริมาตรของน้ำ ทั้งมิเตอร์น้ำจากการประปาที่ติดตั้งทุกครัวเรือน และมิเตอร์น้ำแยกย่อย เช่น ตามหอพัก อะพาร์ตเมนต์ บ้านเช่า โรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง งานเกษตรกรรม เป็นต้น เพื่อตรวจสอบปริมาณการใช้น้ำของแต่ละจุด        ตารางสรุปความแตกต่างเพื่อเลือกใช้งาน Flow Switch กับ Water Meter ให้เหมาะสม   Flow Switch Water Meter • มี Delay Timer สั่ง OFF ในกรณีที่น้ำมาไม่เต็มท่อ หรือน้ำมาขาดเป็นบางช่วง • มีหน้าจอแสดงค่าของปริมาณน้ำที่หน้าปัดหรือส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังชุดแสดงผล • เอาต์พุตแบบ Relay Output • มีเอาต์พุตแบบ Pulse Output เพื่อไปแสดงค่าให้กับอุปกรณ์อื่น ๆ • ประยุกต์ใช้ได้กับระบบอุตสาหกรรมและบ้านเรือน • ประยุกต์ใช้งานกับหอพัก, คอนโด, อะพาร์ตเมนต์ • เป็นการช่วยตรวจสอบไม่ให้ปั๊มเกิดการเสียหาย, ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง, ทำให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น • ติดตั้งเพื่อเก็บค่าการใช้น้ำของแต่ละห้อง เพื่อนำมาคิดค่าใช้จ่ายแบบไม่ต้องเดินจด โดยผ่าน Software ได้      ตัวอย่างลักษณะการติดตั้ง Flow Switch โดยการยึดเกลียวเพื่อตรวจจับการไหลของน้ำในท่อ        การประยุกต์ใช้งานมิเตอร์น้ำ (Water Meter) ร่วมกับมิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้าและน้ำ รุ่น KM-24-Lโดยสื่อสารบนเครือข่ายแบบไร้สาย LoRaWan มิเตอร์น้ำ (Water Meter) ประเภท 1 Phase kWh Meter with LoRaWan Model : KM-24-L ร่วมกับ Multi Jet Single Phase kWh Meter With LoRa Single Pump Relay Single Pump Controller Level Switch เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับ Industrial Pressure Transmitters โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
วิธีการตั้งค่าโหมดการทำงานการนับขึ้น-ลงของเครื่องนับจำนวน (Digital Counter)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Digital Counter เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล ที่ใช้สำหรับแสดงผลของการนับจำนวนวัตถุหรือสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้จากการนับจำนวนของสัญญาณพัลส์ที่ได้รับเข้ามาจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่าง ๆ เช่น Proximity Switch, Encoder, Mechanical Contact, Limit Switch, NPN, PNP เป็นต้น โดยสามารถรับอินพุตได้เร็วถึง 10kHz (รุ่น CMT-007AN, CMP-N) เพื่อแสดงผลการนับจำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ในการผลิตแต่ละครั้งจากการตั้งค่าเป้าหมาย (Target) ในการผลิตและจำนวนของชิ้นงานที่ผลิตได้จริง (Actual) ให้สอดคล้องกับ Target ที่ตั้งไว้ และมีการแสดงจำนวนผลต่างของชิ้นงานที่ตั้งเป้าไว้และผลิตได้จริง (Diff) เพื่อช่วยลดความผิดพลาด (Error) และควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) สามารถทํางานได้ทั้งเงื่อนไขการนับขึ้น (Count Up) และนับลง (Count Down) เพื่อใช้วางแผนในการผลิต ซึ่งในการนับจำนวน (Counter) ของวัตถุหรือชิ้นงานต่าง ๆ ที่ใช้เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) แล้วยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้งานกันโดยทั่วไปในการนับจำนวน (Counter) หรือรูปแบบการตั้งเวลานับชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักรและแสดงผล (Hour Counter) ในงานภาคอุตสาหกรรม เช่น อุปกรณ์นับชั่วโมงการทํางานของเครื่องจักร (Hour Counter), Target Counter หรือ PLC+HMI เป็นต้น โดยในวันนี้จะขอยกตัวอย่างเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) รุ่น CMT-007AN ยี่ห้อ Primus ดังนี้        เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) รุ่น CMT-007AN ยี่ห้อ Primus   เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) รุ่น CMT-007AN ยี่ห้อ Primus หน้าจอแสดงผลของเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) รุ่น CMT-007AN ยี่ห้อ Primus      จากบทความในหัวข้อ “การใช้งานเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) ร่วมกับ Proximity Switch และ Photoelectric Sensor” ที่ผู้บรรยายได้บรรยายที่ผ่านมาแล้วนั้น ทำให้ผู้อ่านทราบถึงคุณสมบัติและหลักการทำงานเบื้องต้น ดังนั้นวันนี้ผู้บรรยายจะขอบรรยายถึงการตั้งค่าโหมดการทำงานของเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) รุ่น CMT-007AN ยี่ห้อ Primus ในหัวข้อ “วิธีการตั้งค่าโหมดการทำงานการนับขึ้น (Count Up) - นับลง (Count Down) ของเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter)” โดยสามารถอธิบายตามรูปการตั้งค่าดังนี้      โหมดการทำงานการนับขึ้น (Count Up) - นับลง (Count Down) ของเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) รุ่น CMT-007AN ยี่ห้อ Primus      อธิบายโหมดการทำงานการนับขึ้น (Count Up) - นับลง (Count Down) ของเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) รุ่น CMT-007AN ยี่ห้อ Primus ได้ 5 โหมด ดังนี้      ตัวอย่างกราฟการทำงานของ เครื่องนับจำนวน (Digital Counter) รุ่น CMT-007AN ยี่ห้อ Primus   Normal (A+, B-) = เมื่อมีสัญญาณเข้ามาที่ IN A ค่าจะนับขึ้น และเมื่อมีสัญญาณเข้ามาที่ IN B จะนับค่าลง   Sum Up (A+, B+) = เมื่อมีสัญญาณเข้ามาที่ IN A ค่าจะนับขึ้น และเมื่อมีสัญญาณเข้ามาที่ IN B ค่าจะนับขึ้น   Sum Down (A-, B-) = เมื่อมีสัญญาณเข้ามาที่ IN A ค่าจะนับค่าลง และเมื่อมีสัญญาณเข้ามาที่ IN B จะนับค่าลง   And Up (A and B = Count +) = เมื่อมีสัญญาณเข้ามาที่ IN A และ IN B เข้ามาพร้อมกัน ถึงจะนับค่าขึ้น   And Down (A and B = Count -) = เมื่อมีสัญญาณเข้ามาที่ IN A และ IN B เข้ามาพร้อมกัน ถึงจะนับค่าลง      จากกราฟการทำงานของเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) สามารถอธิบายโหมดการทำงานนับขึ้น (Count Up) - นับลง (Count Down) ได้ดังนี้      • โหมดการนับขึ้น Count Up เป็นการนับสัญญาณพัลส์แบบนับขึ้น (Count Up) เพียงอย่างเดียว เมื่อมีการให้สัญญาณอินพุตกับตัว Counter หน้าจอแสดงผลของ Digital Counter จะนับตัวเลขโดยบวกขึ้นไปเรื่อย ๆ      • การนับลง Count Down เป็นการนับสัญญาณพัลส์แบบนับลง (Count Down) เพียงอย่างเดียว เมื่อมีการให้สัญญาณอินพุตกับตัว Counter หน้าจอแสดงผลของ Digital Counter จะนับตัวเลขโดยบวกขึ้นไปเรื่อย ๆโดยลบลงไปเรื่อย ๆ      • การนับขึ้นและนับลง (Count Up-Down) เป็นการนับสัญญาณพัลส์แบบนับขึ้น (Count Up) หรือนับลง (Count Down) ก็ได้ โดยจะอาศัยสัญญาณอินพุตอีกตัวที่เป็นตัวกำหนดว่าจะให้นับขึ้นหรือนับลง หรือจะใช้เป็นลักษณะนับแยกกันโดยกำหนดอินพุตให้เป็นตัวนับขึ้น และอีกอินพุตเป็นตัวนับลง      โดยสามารถยกตัวอย่างการต่อใช้งานของ เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) รุ่น CMT-007AN ยี่ห้อ Primus ดังนี้      ตัวอย่างการต่อใช้งานของเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) รุ่น CMT-007AN ยี่ห้อ Primus ร่วมกับ Proximity Sensor และ Photoelectric Sensor รูปหน้างานและการต่อใช้งาน        จากรูปหน้างานและการต่อใช้งานเป็นการนับจำนวนของเนื้อไก่สด โดยที่ Proximity Sensor จะจับบริเวณก้านแขวนเนื้อไก่สด และ Photoelectric Sensor จะจับเนื้อไก่สด โดยที่ Sensor ทั้งสองต้องทำงานพร้อมกันถึงจะนับจำนวนเนื้อไก่สดได้ตามโหมดการนับ And Up (A and B = Count +)        เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) สามารถกำหนดฟังก์ชั่นต่าง ๆ ได้จากหน้าเครื่องและเลือกการใช้งานได้หลากหลาย เช่น เลือกตำแหน่งของจุดทศนิยมของตัวคูณสเกลได้ แสดงผลด้วยตัวเลข 7-Segment แบบ Real Time มองเห็นและอ่านค่าได้ชัดเจน ขนาดเล็กเหมาะสำหรับพื้นที่ติดตั้งจำกัด ฟังก์ชั่นการใช้นับจำนวนเก็บบันทึกค่าการนับด้วย FRAM สามารถ Link กับ Computer หรือ PLC ได้ทาง RS-485 และสามารถ Monitor, Logging, Edit ค่าได้        จากคุณสมบัติดังกล่าวและตัวอย่างการต่อใช้งานเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) รุ่น CMT-007AN สามารถบอกถึงข้อดีของการใช้งานเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) ได้ดังนี้      • มีความความแม่นยำในการนับจำนวนชิ้นงาน      • สามารถรับอินพุตได้หลากหลายจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่าง ๆ เช่น Photoelectric Sensor, Photo Switch, Proximity Switch, Encoder, Contact, NPN, PNP เป็นต้น      • โหมดการทำงานให้เลือกใช้ 11 โหมดการทำงาน      • มี Digital Input (Dry Contact) สำหรับ Reset ค่าได้      • สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ท RS-485 MODBUS RTU        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   นับจำนวนการผลิตกระเบื้อง นับจำนวนคนเดินผ่าน เครื่องตรวจจับโลหะ/สแกนโลหะ นับจำนวนรถ Hour Counter อุปกรณ์นับชั่วโมงการทํางานของเครื่องจักร Digital Preset Counter เครื่องนับจํานวนแบบดิจิตอล Increment Encoder ø50 mm. Photoelectric Sensor Proximity Switch โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ข้อดีของการใช้รีเลย์โมดูล (Relay Module)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      รีเลย์โมดูล (Relay Module) คือ Module ที่ประกอบด้วย Relay จำนวนหลาย ๆ ตัวต่ออยู่ในชุดเดียวกัน สำหรับรับ-ส่งสัญญาณ AC/DC Control Voltage แบบไม่ต้องต่อร่วมกับ Socket โดย Input จะเป็น Common ร่วม ใช้สายเพียง 1 เส้น ประเภท NPN หรือ PNP มีให้เลือกหลายรุ่นตามจำนวน Relay ที่ใช้งาน ตั้งแต่ 2,4,8,12,16 Relay เป็นต้น มีทั้งรุ่นแบบหน้าคอนแทค SPDT (Single Pole Double Throw) และแบบ DPDT (Double Pole Double Throw) มี LED แสดงสถานะการทำงานของ Relay แต่ละตัว มีขนาดกะทัดรัด ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งบนราง Din Rail ได้เลย โดยรีเลย์โมดูล (Relay Module) มีโครงสร้างลักษณะทั่วไป คือ Input และ Output จะถูกแยกกันคนละฝั่ง จึงง่ายต่อการเข้าสายไฟ ทำให้ประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่าย โดย Relay Module มีหลักการทำงานดังนี้      หลักการทำงานของวงจรรีเลย์โมดูล (Relay Module) คือ การเปิด-ปิดวงจรด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อขดลวดเหนี่ยวนำมีกระแสไหลผ่านจะมีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็ก สามารถส่งแรงผลักหรือดูดเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งสวิตช์ได้ โดยมีสวิตช์เปิด-ปิดวงจรตามแรงดูดของขดลวด หน้าสัมผัสของสวิตช์มี 2 ชนิด คือ      • หน้าสัมผัสปกติเปิดหรือ NO (Normally Open) หมายถึง หน้าสัมผัสที่เปิดในภาวะขดลวดไม่เหนี่ยวนำ      • หน้าสัมผัสปกติปิดหรือ NC (Normally Closed) หมายถึง หน้าสัมผัสที่ปิดในภาวะขดลวดไม่เหนี่ยวนำ      ซึ่งโดยทั่วไปผู้ใช้งานมักจะพบเห็นรีเลย์ (Relay) ที่ใช้งานในงานด้านอุตสาหกรรมแบบแยกชิ้น ซึ่งผู้บรรยายเคยได้บรรยายคุณสมบัติเบื้องต้นของรีเลย์ (Relay) ดังกล่าวไว้ในบทความภายใต้หัวข้อ “มาทำความรู้จักกับ Relay Module” โดยรูปแบบต่าง ๆ ของรีเลย์ (Relay) หรือรีเลย์โมดูล (Relay Module) มีดังนี้ รีเลย์ (Relay) แบบแยกชิ้น และแบบต่อร่วมกับ Socket รีเลย์โมดูล (Relay Module) รีเลย์โมดูลแบบบาง (Slim Relay Module) Relay / Relay with Socket Relay Module (RP-Series) Slim Relay Module (RPL-Series)      จากรูปผู้อ่านจะเห็นถึงความแตกต่างของโครงสร้างรีเลย์ (Relay) และรีเลย์โมดูล (Relay Module) ที่แตกต่างกัน โดยในวันนี้ผู้บรรยายจะขอยกตัวอย่างรีเลย์โมดูล (Relay Module) ยี่ห้อ Primus โดยมีคุณสมบัติเด่นดังนี้ รีเลย์โมดูล (Relay Module) รุ่น RP-XXS-Series ยี่ห้อ Primus คุณสมบัติพิเศษ • รับแรงดันด้านอินพุต 24 VAC/DC ประเภท NPN และ PNP • รีเลย์เอาต์พุตแบบ SPDT 250 VAC, 10A. • ใช้สายไฟขนาด 2.5 mm2 ในการ Wiring เข้า Terminal • สามารถต่อร่วมกับเอาต์พุตของ PLC หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่เป็นทั้ง PNP และ NPN • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 8 รีเลย์ • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 12 รีเลย์ • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 16 รีเลย์   รีเลย์โมดูล (Relay Module) รุ่น RP-XXW-Series ยี่ห้อ Primus คุณสมบัติพิเศษ • รับแรงดันด้านอินพุต 24 VAC/DC ประเภท NPN และ PNP • รีเลย์เอาต์พุตแบบ DPDT 250 VAC, 5A. • ใช้สายไฟขนาด 2.5 mm2 ในการ Wiring เข้า Terminal • สามารถต่อร่วมกับเอาต์พุตของ PLC หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่เป็นทั้ง PNP และ NPN • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 2 รีเลย์ • รีเลย์โมดูล (Relay Module)  1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 4 รีเลย์ • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 8 รีเลย์ • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 12 รีเลย์ • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 16 รีเลย์   รีเลย์โมดูล (Relay Module) รุ่น RP-XXWA-Series ยี่ห้อ Primus คุณสมบัติพิเศษ • รับแรงดันด้านอินพุต 250 VAC • รีเลย์เอาต์พุตแบบ DPDT 250 VAC, 5A. • ใช้สายไฟขนาด 2.5 mm2 ในการ Wiring เข้า Terminal • สามารถต่อร่วมกับเอาต์พุตของ PLC หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่เป็นไฟ 220Vac • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 4 รีเลย์ • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 8 รีเลย์ • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 12 รีเลย์ • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 16 รีเลย์   รีเลย์โมดูลแบบบาง (Slim Relay Module) รุ่น RPL-XX-Series ยี่ห้อ Primus คุณสมบัติพิเศษ • รับแรงดันด้านอินพุต 24 VAC/DC ประเภท NPN และ PNP • รีเลย์เอาต์พุตแบบ SPDT 250 VAC/30 VDC, 6A. • ใช้สายไฟขนาด 2.5 mm2 ในการ Wiring เข้า Terminal • สามารถต่อร่วมกับเอาต์พุตของ PLC หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่เป็นทั้ง PNP และ NPN • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 2 รีเลย์ • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 4 รีเลย์ • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 6 รีเลย์ • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 8 รีเลย์ • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 12 รีเลย์ • รีเลย์โมดูล (Relay Module) 1 ชุด มีรีเลย์จำนวน 16 รีเลย์      จากคุณสมบัติกล่าวของรีเลย์โมดูล (Relay Module) รุ่น RP-XXS-Series, RP-XXW-Series, RP-XXWA-Series และ RPL-XX-Series และรีเลย์โมดูลแบบบาง (Slim Relay Module) ผู้บรรยายขอยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานร่วมกับ PLC และ Proximity Sensor ดังนี้      ตัวอย่างประยุกต์การต่อใช้งาน Relay Module รุ่น RP-03W ร่วมกับ PLC      ตัวอย่างประยุกต์การต่อใช้งาน Relay Module รุ่น RPL-04S ร่วมกับ Proximity Sensor      จากตัวอย่างการประยุกต์การต่อใช้งานและคุณสมบัติ สามารถบอกถึงข้อดีของการใช้รีเลย์โมดูล (Relay Module) ดังนี้      • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง มีทั้งแบบ Relay ธรรมดา และแบบ Slim      • ประหยัดสาย เนื่องจาก Input เป็น Common ร่วม ใช้สายเพียง 1 เส้น โดยจากวงจรการต่อเป็นการต่อแบบ PNP และ NPN      • Input และ Output ถูกแยกกันคนละฝั่งจึงง่ายต่อการเข้าสายไฟ      • ง่ายในการตรวจสอบและซ่อมบำรุง      • เหมาะสำหรับงาน PLC เนื่องจาก I/O ของ PLC มีราคาค่อนข้างสูงถ้าเอาไปต่อกับวงจรคอนโทรลโดยตรงจะทำให้ Relay ของ PLC เสียหายได้      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน ตู้คอนโทรลการทำงานของ Heater ตู้คอนโทรล PLC ตู้คอนโทรลวงจร Timer Digital Temperature Controller PID Control Function Digital Temperature Controller Digital Temperature Controller 3-Phase SCR Power Regulator  Single Phase Solid State Relay โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ข้อดีของการเลือกใช้งาน Programmable Temperature Controller

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Temperature Controller หรือ เครื่องควบคุณอุณภูมิ ที่ใช้งานกันโดยทั่วไปทำหน้าที่ในการประมวลผล (Process) ของสัญญาณอินพุต (Input) ที่รับเข้ามาจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) เช่น PT100/Thermocouple/NTC/PTC เป็นต้น และสั่งงานทางด้านเอาต์พุต (Output) เพื่อไปควบคุมการเพิ่มหรือลดของอุณภูมิ (Temperature) ซึ่งกระบวนการควบคุมก็มีหลายรูปแบบ เช่น ON-OFF Control, PID Control, Fuzzy Logic Control เป็นต้น ซึ่ง Temperature Controller ที่กล่าวมาข้างต้นนี้นิยมใช้งานในการควบคุมอุณหภูมิแบบคงที่ เช่น ต้องการต้มน้ำที่อุณหภูมิ 50 ํC และเมื่อถึงอุณหภูมิที่ต้องการให้สั่งงานทางด้านเอาต์พุต (Output) ทำงาน เพื่อไปควบคุมอุปกรณ์อื่น เช่น ต่อใช้งานร่วมอุปกรณ์โซลิดสเตทรีเลย์ (SSR) เพื่อใช้ในการตัด-ต่อ (On-Off) วงจรไฟฟ้า หรือแบบ เร่ง-หรี่ (Phase Angle Controller) สำหรับควบคุมการทำงานของฮีตเตอร์ (Heater) เป็นต้น        มี Temp Control อีกหนึ่งรูปแบบของการควบคุมอุณหภูมิโดยมีเงื่อนไขของอุณหภูมิที่สัมพันธ์กับเวลา เพื่อใช้ในการกำหนดการควบคุมอุณหภูมิในช่วงเวลานั้น คือ Programmable Temperature Controller เป็นการควบคุมลักษณะแบบสเต็ป จะมีข้อแตกต่างของฟังก์ชั่นในการควบคุมอุณหภูมิที่เป็นลักษณะสเต็ป (Step Control) โดยสามารถตั้งค่า (SV) ที่อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิได้หลาย ๆ ค่า และตั้งค่าเวลาในการทำอุณหภูมิเพื่อให้เวลาและอุณหภูมิทำงานสัมพันธ์กัน เหมาะสำหรับงานที่จำเป็นต้องค่อย ๆ เพิ่ม และค่อย ๆ ลดอุณหภูมิ เช่น การอบชิ้นงาน, อบขนม, อบเซรามิค เป็นต้น เพื่อป้องกันความเสียหายแก่ชิ้นงาน        โดยทั่วไปผู้ใช้งานมักจะพบเห็น Programmable Temperature Controller ที่ใช้ในงานด้านอุตสาหกรรม โดยขอยกตัวอย่าง รุ่น TTM-P4W ยี่ห้อ TOHO ดังนี้   Programmable Temperature Controller รุ่น TTM-P4W ยี่ห้อ TOHO สัญลักษณ์ต่าง ๆ หน้าจอแสดงผลของ Programmable Temperature Controller รุ่น TTM-P4W ยี่ห้อ TOHO        ตัวอย่างกราฟแสดงการทำงานของอุณหภูมิที่สัมพันธ์กับเวลาของ Programmable Temperature Controller รุ่น TTM-P4W ยี่ห้อ TOHO        จากกราฟแสดงการทำงานของอุณหภูมิที่สัมพันธ์กับเวลาของ Programmable Temperature Controller สามารถอธิบายได้ดังนี้           Step ที่ 1 : ให้ทำอุณหภูมิที่ 40 ํC ภายในเวลา 60 นาที และช่วงของการรักษาอุณหภูมิ (Hold) คงที่ 40 ํC ที่เวลา 30 นาที           Step ที่ 2 : ให้ทำอุณหภูมิที่ 90 ํC ภายในเวลา 30 นาที และช่วงของการรักษาอุณหภูมิ (Hold) คงที่ 90 ํC ที่เวลา 10 นาที           Step ที่ 3 : ให้ทำอุณหภูมิที่ 50 ํC ภายในเวลา 40 นาที และช่วงของการรักษาอุณหภูมิ (Hold) คงที่ 50 ํC ที่เวลา 60 นาที        เมื่อครบกำหนดตามที่ตั้งค่าไว้จึงสามารถนำชิ้นงานที่อบออกมาจากตู้อบได้ นอกจากนี้ Temperature Controller แบบ Step ยังมี Function ที่เรียกว่า Wait Function เพื่อใช้สำหรับรอเวลาและรออุณหภูมิในกรณีที่เวลาถึงแต่อุณหภูมิไม่ถึง หรืออุณหภูมิถึงแต่เวลาไม่ถึง เพื่อให้อุณหภูมิและเวลาสัมพันธ์กันตามเงื่อนไขที่ตั้งค่า ทำให้เกิดความเสถียรภาพในการควบคุมอุณหภูมิเพิ่มมากขึ้น (Function Wait Function) ดังรูป        กราฟแสดงการทำงาน Function Wait Function เพื่อใช้สำหรับรอเวลาและรออุณหภูมิของ Programmable Temperature Controller รุ่น TTM-P4W ยี่ห้อ TOHO กราฟแสดงการทำงาน Function Wait Function        จากคุณสมบัติดังกล่าวของ Programmable Temperature Controller รุ่น TTM-P4W ยี่ห้อ TOHO ผู้บรรยายขอยกตัวอย่างการต่อใช้งานดังนี้        ตัวอย่างการต่อใช้งานการประยุกต์ใช้งาน Programmable Temperature Controller รุ่น TTM-P4W ยี่ห้อ TOHO ร่วมกับเตาเผาเซรามิก        จากตัวอย่างการใช้งาน Programmable Temperature Controller กับการเผาผลิตภัณฑ์เซรามิก ในการเผาผลิตภัณฑ์เซรามิกโดยสรุปมี 3 ขั้นตอน ดังนี้      1. การเผาดิบ (Biscuit Firing)      2. การเผาเคลือบ (Gloss Firing)      3. การเผาตกแต่ง (Decorating Firing)        โดยสามารถอธิบายความหมายได้ดังนี้      1. การเผาดิบ (Biscuit Firing) ชิ้นงานที่ผ่านการเผาแล้วยังคงมีความชื้นและสารอินทรีย์อยู่ในชิ้นงาน การเผาไล่ความชื้นและสารอินทรีย์ก่อนนำไปชุบเคลือบเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากช่วยลดปริมาณน้ำในชิ้นงานซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดแรงดันจนชิ้นงานอาจระเบิดในการเผาเคลือบ ถ้าชิ้นงานถูกเผาดิบมาก่อน การเผาในช่วงแรกเร่งไฟเร็วขึ้นได้ การชุบเคลือบจะชุบได้ง่ายกว่าชิ้นงานที่ยังไม่ได้เผาดิบ บรรยากาศของการเผาดิบ คือ บรรยากาศออกซิเดชัน (Oxidation Firing : OF) ที่เผาบรรยากาศนี้ เพื่อเปลี่ยนเหล็กออกไซด์ในชิ้นงานให้อยู่ในรูปของสารประกอบของเฟอร์ริกออกไซด์ การเผาดิบคือการเผาครั้งที่หนึ่งโดยยังไม่ได้ชุบน้ำเคลือบ สามารถที่จะเผาในอุณหภูมิต่ำหรืออุณหภูมิสูงก็ได้ ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเผาดิบแล้วจะมีความพรุนตัวสูงเนื่องจากการเผาดิบ เผาในอุณหภูมิต่ำ 750-800 องศาเซลเซียส ทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถดูดซึมน้ำเคลือบได้ดี เหมาะสำหรับผู้ไม่ชำนาญในการชุบเคลือบ เมื่อชุบเสียสามารถนำผลิตภัณฑ์ไปล้างเคลือบออก ผึ่งให้แห้งแล้วนำมาเคลือบใหม่ วงจรการเผาดิบผลิตภัณฑ์ประเภทถ้วยชาม แจกันที่มีขนาดสูงไม่เกิน 30 เซนติเมตร ใช้วงจรการเผาดิบธรรมดา แต่ถ้าเป็นงานประติมากรรมหรืองานที่มีความหนาเกิน 1 นิ้ว ต้องเผาให้ช้าลงกว่าธรรมดา ควรแยกเผาคนละเตา สรุปการเผาดิบจะต้องเผาแบบสันดาปสมบูรณ์ (Fully Oxidation) ตั้งแต่ต้นจนจบ 24-750 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 6-7 ชั่งโมง ระวังไม่ให้เกิดเขม่าหรือควันสีดำจับผลิตภัณฑ์ และเตาเผาถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ควรอุ่นที่อุณหภูมิ 60-80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2-4 ชั่วโมง ผึ่งในแสงแดดร้อนจัด อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปผลิตภัณฑ์อาจแตกได้ เผาเสร็จแล้วทิ้งให้เตาเย็นลงเท่ากับเวลาที่ทำการเผา ห้ามเปิดเตาก่อนอุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส ผลิตภัณฑ์กระทบอากาศเย็นนอกเตาจะแตกได้        2. การเผาเคลือบ (Gloss Firing) ชิ้นงานที่เผาดิบถูกนำมาชุบเคลือบแล้วเผา เพื่อให้เคลือบหลอมเป็นแก้วติดแน่นอยู่บนผิวชิ้นงาน การเผาเคลือบจะเผาที่อุณหภูมิเท่าใร ภายในบรรยากาศใด ขึ้นอยู่กับชนิดของผลิตภัณฑ์ เช่น การเผาผลิตภัณฑ์พอร์ซเลน เริ่มต้นเผาภายใต้บรรยากาศออกซิเดชัน ตั้งแต่อุณหภูมิเริ่มจุดเตาจนถึงอุณหภูมิประมาณ 950 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นเผาภายใต้บรรยากาศรีดักชัน (Reduction Firing : RF) จนถึงอุณหภูมิสูงสุดที่ต้องการ ภาชนะที่ชุบเคลือบแล้วทุกชิ้นต้องเช็ดก้นผลิตภัณฑ์ให้หมดเคลือบ เพื่อป้องกันการหลอมละลายของเคลือบติดบนแผ่นรองเตาเผา ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นจะต้องวางห่างกันเล็กน้อยไม่ให้น้ำเคลือบสัมผัสกันเพราะเคลือบจะหลอมติดกัน เมื่อเผาที่อุณหภูมิสูงผลิตภัณฑ์ในเตาแก๊สควรวางห่างจากบริเวณหัวพ่นเล็กน้อย ถ้าผลิตภัณฑ์โดนเปลวไฟเลียเคลือบจะด่าง ในเตาไฟฟ้าอย่าวางผลิตภัณฑ์ชิดขดลวดมากเกินไป เคลือบจะไหลติดขดลวดเสียหายได้ ผลิตภัณฑ์ใหญ่ควรวางไว้กลาง ๆ เตาให้ได้รับความร้อนสม่ำเสมอ ลดความบิดเบี้ยวหลังการเผา วงจรในการเผาเคลือบช่วงที่ 1 อุณหภูมิห้อง 24-950 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง ช่วงที่ 2 อุณหภูมิ 950-1250 องศาเซลเซียส OF ใช้เวลา 3-4 ชั่วโมง หรือ 950-1250 องศาเซลเซียส RF ใช้เวลา 4-5 ชั่วโมง ช่วงที่ 3 เผายืนไฟที่อุณหภูมิคงที่ (Soaking) 1250 องศาเซลเซียส 15 นาที การเผาในบรรยากาศสันดาปไม่สมบูรณ์ต้องใช้เวลาในการเผานานกว่าเตาไฟฟ้าเล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความจุของเตาเผา เตามีขนาดใหญ่จะต้องใช้เวลาในการเผานานขึ้น และแช่อุณหภูมิคงที่ไว้นาน 20-30 นาที โดยปกติเตาเผาทุกเตาบริเวณชั้นบนจะร้อนกว่าด้านล่าง 20-30 องศาเซลเซียส ผู้ใช้เตาควรสังเกตผลการเผาทุกครั้ง เพื่อให้ทราบความแตกต่างของเตาเผาแต่ละเตา        3. การเผาตกแต่ง (Decoration Firing) ชิ้นงานที่เผาเคลือบแล้ว นิยมตกแต่งด้วยสี หรือติดรูปลอก (Decal) ที่ทำขึ้นสำหรับตกแต่งสีโดยเฉพาะติดลงไปบนภาชนะที่เคลือบแล้วนำไปเผา เพื่อให้สิ่งตกแต่งติดทนกับชิ้นงาน เรียกว่า "การตกแต่งบนเคลือบ" (On Glaze Firing) อุณหภูมิที่ใช้เผาตกแต่งบนเคลือบประมาณ 650-850 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับชนิดสี (Pigment) หรือประเภทวัตถุดิบที่นำมาทำสีว่าจะสุกที่อุณหภูมิใด การเผาสีตกแต่งลอกและสีเงินสีทองจะต้องเผาในบรรยากาศสันดาปสมบูรณ์ตลอดการเผา จากอุณหภูมิห้องถึง 750 องศาเซลเซียส ในเตาเผาไม่ควรมีความชื้นอยู่ ถ้าเตาเผามีความชื้นจากการเผาดิบ เมื่อนำสีทองเผาต่อจากเตาเผาดิบสีทองจะหมองเพราะไม่ชอบความชื้น สีเขียนก็จะพองเพราะมีความชื้นในเตาเผามากเกินไป ดังนั้นถึงแม้ว่าอุณหภูมิในการเผาดิบที่ 750 องศาเซลเซียส ใกล้เคียงกับการเผาสีตกแต่งก็ไม่ควรเอาชิ้นงานเขียนสีและติดรูปลอกเข้าเตาเผาในการเผาดิบ เพราชิ้นงานที่ออกมาจะมีตำหนิ ไม่ได้มาตรฐาน สีหมองคล้ำหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กราฟแสดงช่วงอุณหภูมิในการผลิตของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบางประเภท        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   เตาเผาไฟฟ้า เตาเผาพลอย, จิวเวลรี่ ห้องอบสี   Digital Temperature Programmable Controller Digital Temperature Controller PID Control Function 3-Phase SCR Power Regulator Heater Thermocouple,RTD โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
PLC+HMI แจ้งเตือนผ่าน Line ได้หรือไม่?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      งานอุตสาหกรรมในปัจจุบันเกือบทุกประเภทจะมีระบบควบคุมอัตโนมัติโดยใช้ PLC+HMI เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ หรือเครื่องจักรแบบอัตโนมัติ เพื่อการตรวจสอบของพนักงานควบคุมระบบในการตรวจสอบการทำงานต่าง ๆ ของกระบวนการผลิตภายในโรงงาน และสัญญาณต่าง ๆ ผ่านระบบและอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ เมื่อพบความผิดปกติจากการทำงานของเครื่องจักรก็สามารถดำเนินการแก้ไขในแต่ละจุดหรือห้องควบคุมระบบได้ทันที โดยเป็นการแจ้งเตือน Alarmในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ไฟสัญญาณแจ้งเตือน (Signal Tower Light), Rotation Warning Light หรือ Monitor เป็นต้น แล้ว PLC+HMI สามารถแจ้งเตือนในรูปแบบอื่นได้หรือไม่ คำตอบคือ "ได้" วันนี้เราจะมาแนะนำ PLC+HMI ที่สามารถแจ้งเตือนผ่าน Application Line ได้ กล่าวคือ แอปพลิเคชัน LINE กลายเป็นแพลตฟอร์มที่นิยมใช้ในอันดับต้น ๆ เนื่องจากมีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีและมีความเสถียรในการรับส่งข้อมูลรูปภาพหรือไฟล์ต่าง ๆ        จากหัวข้อบทความ PLC+HMI แจ้งเตือนผ่าน Line ได้หรือไม่? วันนี้ผู้บรรยายขอแนะนำการประยุกต์ใช้งาน Line ร่วมกับ PLC+HMI ในการแจ้งเตือน ดังนี้ รูปแสดงการแจ้งเตือน Line ร่วมกับ PLC+HMI        การแจ้งเตือน Line Notify ด้วย PLC+HMI ของปัญหาการทำงานของเครื่องจักร หรือข้อมูลสถานะทางการผลิต Target Plan Actual และ Diff เป็นต้น เพื่อทำให้ผู้ใช้งานทราบสถานะการทำงานหรือผลผลิตว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ สามารถทำได้ตามเป้าหรือไม่ เป็นต้น และถึงแม้ว่าผู้ใช้งานไม่ได้อยู่ในโรงงาน ผู้ใช้งานก็จะได้รับข้อมูลตลอดเวลา ผ่านการส่งข้อความหรือการแจ้งเตือนต่าง ๆ จาก PLC Vision V130 and Line โดยส่วนใหญ่เราจะแจ้งเตือนในกรณีที่เกิดความผิดพลาดจากอุปกรณ์จากในระบบควบคุม โดยใช้ตัว PLC เป็นตัวประมวณผล เช่น การทำงานผิดผลาดของปั๊ม มอเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ และส่งข้อมูลผ่านการสื่อสารที่ชื่อ Modbus ไปยังอุปกรณ์ที่ทำหน้ารับข้อมูลจาก PLC และส่งออกในรูปแบบ Line Notify (ดังรูปตัวอย่าง)        จากรูปเป็นตัวอย่างการเขียน PLC เชื่อมต่อไปยัง Line CBT Notify        จากรูปด้านบนเป็นการเขียน Ladder เพื่อ Config ค่าในการสื่อสารของ PLC กับ Line Notify ในรูปแบบการสื่อสาร Modbus RTU โดยตั้งค่า PLC เป็น Modbus แบบ Slave จากนั้นนำ Input ที่ต้องการส่ง Alarm มาสั่ง MB1 เพื่อ Triger ไปยัง Line Box หรือเขียน Function ในรูปแบบการเปรียบเทียบ และเมื่อค่า A มากกว่า B ก็จะสั่งให้ MB5 เพื่อ Triger ไปยัง Line        จากรูปเป็นการตั้งค่าของ CBT Line Notify โดยเมื่อทำการเขียน Ladder ที่ PLC เสร็จ ต้องมาทำการตั้งค่าที่อุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อให้สื่อสารกับ PLC Unitronics ได้ และสามารถทำการป้อนค่าข้อความที่จะส่งออกไปยังไลน์ได้        ข้อดีของการแจ้งเตือน Line Notify ด้วย PLC+HMI      • สามารถทราบสถานะข้อมูลงานหรือปัญหางานได้รวดเร็ว      • ไม่จำเป็นต้องอยู่โรงงานก็สามารถทราบสถานะหรือปัญหาได้ ผ่านระบบเครือข่ายมือถือ      • สามารถรับรู้และตอบคำถามได้ทุกสถานที่      • สามารถรับรู้ภายในองค์กรนั้น ๆ ได้พร้อมกันในเวลาเดียว        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   ระบบบำบัดน้ำเสีย ชุดควบคุมโรบอทเครื่องฉีด เครื่องเทสแผงโซล่าเซลล์   Rotation Warning Light Signal Tower Light Switching Power Supply Connector Wiring Duct And Accessories โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ควบคุมปั๊มน้ำ 1 ตัว ด้วย Single Pump Relay กับ Level Control for Conductive Liquid ต่างกันอย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปั๊มน้ำ (Water Pump) ในปัจจุบันมีการใช้กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งถูกนำมาใช้งานในหลาย ๆ ด้าน โดยสามารถพบเห็นใช้งานกันทั้งในบ้านเรือน , หอพัก, อะพาร์ตเมนต์, อาคารตึกสูง, คอนโดมิเนียม หรือแม้แต่ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยปั๊มน้ำ (Water Pump) จะทำหน้าที่ในการรับ-ส่งน้ำจากต้นทางไปยังปลายทาง หรือสูบน้ำจากบ่อพักน้ำใต้ดินเข้าสู่ระบบในอาคารดังกล่าวโดยตรง เรียกว่า Transfer Pump และในกรณีที่มีการใช้น้ำมากเกินไปจะต้องมีใช้ปั๊ม 2 ตัว เพื่อช่วยกันทำงาน หากปั๊มตัวที่หนึ่งทำงานไม่ทันจะทำให้ระดับแรงดันตก (Under Voltage) หรือเรียกว่า Twin Pump โดยการควบคุมของเครื่องควบคุมปั๊มน้ำหรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) จะสั่งให้ปั๊มอีกตัวทำงาน ทำให้แรงดันและระดับน้ำในระบบคงที่ หรือเรียกว่า Booster Pump ซึ่งได้มีการพูดถึงกันไปแล้วในหัวข้อ "การควบคุมปั๊มน้ำ (Water Pump) แบบ Transfer Pump กับ Booster Pump ต่างกันอย่างไร?" และ หัวข้อ "เครื่องควบคุมปั๊มน้ำแบบ DIN Rail (Pump Relay) กับแบบ Panel (Digital Pump Controller) แตกต่างกันอย่างไร?" เนื่องจากทั้ง 2 หัวข้อที่กล่าวข้างต้นเป็นการแนะนำการใช้งานอุปกรณ์ในการควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว (Twin Pump)        โดยในวันนี้เราจะมาพูดถึงความแตกต่างในการควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ (Water Pump) 1 ตัว ระหว่าง Single Pump Relay กับ Level Control for Conductive Liquid ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร? ในหัวข้อ “ควบคุมปั๊มน้ำ 1 ตัว ด้วย Single Pump Relay กับ Level Control for Conductive Liquid ต่างกันอย่างไร?” โดยขอยกตัวอย่างการเปรียบเทียบดังนี้   Level Control for Conductive Liquid อุปกรณ์ควบคุมการตรวจจับระดับน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ Model : PM-021N-1 , Brand : Primus Single Pump Relay สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊ม 1 ตัว Model : PM-021N-2 , Brand : Primus    อุปกรณ์ควบคุมการตรวจจับระดับน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ (PM-021N-1) จะทำหน้าที่ควบคุมการตรวจจับระดับน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ โดยทำการต่อร่วมกับชุด Electrode Holder for Conductivity Level Control (ก้าน Electrode) โดยใช้น้ำเป็นตัวนำในการเดินทางของกระแสไฟฟ้าในวงจรของแท่ง Electrode    การทำงานแบบ Charging เมื่อระดับน้ำอยู่ในระดับต่ำสุด (Min) รีเลย์จะทำงานเพื่อสั่งให้ปั๊มน้ำสูบน้ำเข้าแท็งก์น้ำจนกระทั่งระดับน้ำเพิ่มขึ้นจนถึงระดับสูงสุด (Max) รีเลย์จะหยุดทำงาน และเมื่อระดับน้ำลดลงมาถึงระดับต่ำสุด (Min) รีเลย์จะทำงานอีกครั้ง แต่ถ้าเป็นฟังก์ชั่นแบบ Discharging เมื่อระดับน้ำเต็ม (Max) รีเลย์จะทำงานเพื่อสั่งให้ปั๊มน้ำสูบน้ำออกจากแท็งก์น้ำจนกระทั่งระดับน้ำลดลงจนถึง (Min) รีเลย์จะหยุดทำงาน    อุปกรณ์ควบคุมที่สามารถควบคุมปั๊มน้ำ 1 ตัว (PM-021N-2) จะทำงานโดยให้ทำงานสัมพันธ์กันระหว่างระดับของบ่อพักน้ำ (Water Well) และถังเก็บน้ำ (Water Tank) นอกจากนั้นยังมี Function สำหรับ Voltage Protection คอยตรวจจับความผิดปกติของแรงดันไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลทำให้ปั๊มเสียหายได้ โดยทั้ง 2 ส่วน จะทำงานสัมพันธ์กัน คือ ระดับแรงดันไฟฟ้าจะต้องปกติปั๊มจึงจะทำงานได้ (Relay ON) มีให้เลือกทั้ง 1-Phase และ 3-Phase    1-Phase จะมี Function Over and Under Voltage และ 3-Phase จะมี Function Over and Under Voltage, Phase Sequence and Phase พร้อม LED แสดงสถานะความผิดปกติของแรงดัน          จากข้อมูลข้างต้น ผู้ใช้งานขอยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานการควบคุมปั๊มน้ำ 1 ตัว ด้วย Single Pump Relay และ Level Control for Conductive Liquid ดังนี้        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน การควบคุมปั๊มน้ำ 1 ตัว ในการเติมน้ำเข้าถังเก็บน้ำ ด้วย Single Pump Relay (PM-021N-2) กับ Electrode        จากภาพตัวอย่าง การควบคุมปั๊มน้ำ 1 ตัว ในการเติมน้ำเข้าถังเก็บน้ำ ด้วย Single Pump Relay (PM-021N-2) กับ Electrode เป็นการทำงานของ Single Pump Relay (PM-021N-2) ในการควบคุมปั๊มน้ำ 1 ตัว โดยจะทำงานด้วยระบบ Water Supply เมื่อน้ำในถังเก็บน้ำลดต่ำลงถึงระดับ Probe L ของ Electrode B Output Relay ทำงานและสั่งให้ปั๊มทำงานหลังจากปั๊มทำงานแล้ว ระดับน้ำในถังเก็บน้ำเพิ่มขึ้นจนถึงระดับ Probe H ของ Electrode B Output Relay หยุดทำงานและสั่งให้ปั๊มหยุดทำงานด้วย และในกรณีที่ระดับน้ำในถังพักน้ำ (Water Well) น้ำต่ำกว่าระดับ Probe L ของ Electrode A Output Relay จะ OFF เช่นกัน เพื่อป้องกันปั๊มเดินตัวเปล่าโดยไม่มีน้ำการต่อใช้งาน        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน การควบคุมปั๊มน้ำ 1 ตัว ในการเติมน้ำเข้าถังเก็บน้ำ ด้วย Level Control for Conductive Liquid (PM-021N-1) กับ Electrode      จากภาพตัวอย่าง การควบคุมปั๊มน้ำ 1 ตัว ในการเติมน้ำเข้าถังเก็บน้ำ ด้วย Level Control for Conductive Liquid  (PM-021N-1) กับ Electrode เป็นการทำงาน Level Control for Conductive Liquid  (PM-021N-1) ในการควบคุมปั๊มน้ำ 1 ตัว โดยจะทำงานแบบ Charging คือ เมื่อระดับน้ำอยู่ในระดับต่ำสุด (Min) Probe L Relay จะทำงานเพื่อสั่งให้ปั๊มน้ำสูบน้ำเข้าถังเก็บน้ำจนกระทั่งระดับน้ำเพิ่มขึ้นจนถึงระดับสูงสุด (Max) Probe H Relay จะหยุดทำงาน และเมื่อระดับน้ำลดลงมาถึงระดับต่ำสุด (Min) Probe L Relay จะทำงานอีกครั้ง        จากภาพข้างต้นทั้ง 2 ภาพ ผู้ใช้งานเห็นความแตกต่างแล้วว่า PM-021N-2 Single Pump Relay จะมีการทำงานที่ให้ความสำคัญของระดับน้ำของทั้งถังเก็บน้ำและถังพักน้ำ เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำในถังพักน้ำมีเพียงพอให้ปั๊มน้ำไปยังถังเก็บน้ำหรือถังที่ต้องการใช้น้ำหรือไม่ เพื่อป้องกันปั๊มน้ำเดินตัวเปล่า อีกทั้งยังเพิ่ม Function Voltage Protection ขี้นมาเพื่อป้องกันมอเตอร์อีกด้วย        ส่วน PM-021N-1 Level Control for Conductive Liquid จะทำงานโดยการเช็คระดับเพียงจุดเดียว เหมาะสำหรับงานที่มีการควบคุมไม่มาก แต่ก็อาจจะส่งผลให้ปั๊มน้ำเดินตัวเปล่ากรณีน้ำทางด้านถังพักน้ำไม่มีเพียงพอ        จากข้อมูลดังกล่าวในการใช้อุปกรณ์ควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control) สำหรับคอนโด, อะพาร์ตเมนต์, ที่พักอาศัย สามารถช่วยลดอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control Cabinet) ได้ ดังรูปข้อมูลการเปรียบเทียบ        เปรียบเทียบการใช้งาน PM-021N-2 จำนวน 1 ตัว เทียบเท่ากับการใช้งาน PM-021N-1 จำนวน 2 ตัว ร่วมกับ Voltage Protection Relay จำนวน 1 ตัว รูปแสดงการเปรียบเทียบการใช้งาน PM-021N-2 จำนวน 1 ตัว เทียบเท่ากับการใช้งาน PM-021N-1 จำนวน 2 ตัว ร่วมกับ Voltage Protection Relay (VPM-05) จำนวน 1 ตัว        สรุปข้อดีของการควบคุมปั๊มน้ำ 1 ตัว ด้วย Single Pump Relay และ Level Control for Conductive Liquid ดังนี้         Single Pump Relay           • สามารถควบคุมการทำงานของปั๊ม 1 ตัว ได้ทั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส           • สามารถเช็คระดับได้ทั้งบ่อพักน้ำ (Water Well) และถังเก็บน้ำ (Water Tank) สำหรับใช้งาน (Water Tank)           • มี Voltage Protection เช็คไฟตก-ไฟเกิน, Phase Sequence, Phase Loss           • สามารถเลือกต่อใช้งานร่วมกับ Level Sensor ได้ทั้ง Electrode, Float Switch และ Pressure Switch           • เลือกการทำงานได้ทั้งแบบ Water Supply และ Drainage           • ลดการ Wiring สายไฟที่ยุ่งยาก และตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงได้ง่าย           • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งและประหยัดค่าใช้จ่าย           • สามารถทราบระดับน้ำภายในบ่อพักน้ำ (Water Well) และถังเก็บน้ำสำหรับใช้งาน (Water Tank), Sensor, Voltage Protection, สถานะการทำงานของ Pump ขณะทำงานได้           Level Control for Conductive Liquid           • เป็นอุปกรณ์สำหรับตรวจจับระดับน้ำเพื่อไปประยุกต์ใช้งานควบคุมปั๊มน้ำในการจ่ายน้ำเข้า-ออกระบบได้           • เลือกฟังก์ชั่นการทำงานเป็นแบบ Charging หรือ Discharging ได้        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   บ่อพักน้ำอาคารพักอาศัย Booster Pump 1 Pump โรงเก็บน้ำ Single Pump Controller Level Control For Conductive Liquids Single Pump Relay Twin Pump Relay ควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว สลับกันทำงาน พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์ โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การใช้งานเครื่องนับจำนวน (Digital Counter) ร่วมกับ Proximity Switch และ Photoelectric Sensor

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      โดยทั่วไปกระบวนการผลิตในงานอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้าจะมีการนับจำนวนชิ้นงาน, วัตถุ หรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในกระบวนการ เพื่อให้ทราบจำนวนสินค้าที่ผลิตได้อย่างถูกต้องแม่นยำและเพื่อช่วยควบคุมปริมาณการผลิตให้เป็นไปตามแผนการผลิต ซึ่งในการนับจำนวนนั้นอาจจะใช้เป็นมนุษย์ (Human), หุ่นยนต์ (Robot) หรือเครื่องจักร (Machine) ฯลฯ เพื่อเป็นการบ่งบอกสถานะที่ผลิตได้ตามแผนที่วางไว้ แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ระบบการนับแบบอัตโนมัติ (Automation Counting System) เนื่องจากมีความถูกต้องและแม่นยำในการนับชิ้นงานกว่ามนุษย์ โดยระบบการนับจำนวนชิ้นงาน (Counting) แบบอัตโนมัติจะประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ คือ เซ็นเซอร์ (Sensor) อุปกรณ์สำหรับตรวจจับชิ้นงาน เช่น Photoelectric Sensor, Photo Switch, Proximity Switch เป็นต้น ซึ่งในการใช้งานเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter/Target Counter) หลัก ๆ เพื่อแสดงผลการนับจำนวนให้ทราบจำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ และสามารถสื่อสารผ่าน MODBUS RTU RS-485 เพื่อทำให้ผู้ใช้สามารถดู Monitor ผ่าน Computer ได้ โดยเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter/Target Counter) และเซ็นเซอร์ (Sensor) สำหรับตรวจจับชิ้นงานที่มักพบเห็นกันในโรงงานอุตสาหกรรมมีตัวอย่างดังนี้        เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter/Target Counter)   Digital  Counter (เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล) รุ่น CMT-007AN-Series ยี่ห้อ Primus Digital Preset Counter (เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล) รุ่น CMP-N-Series ยี่ห้อ Primus รุ่น CMT-007AN-Series มีโหมดการทํางานให้เลือก 11 โหมด มีปุ่ม Shotcut โดยการกดปุ่ม F ที่หน้าจอเพื่อตั้งค่า Setpoint, กดปุ่ม Down เพื่อแสดงค่า Total,กดปุ่ม Up เพื่อ Reset ค่า Count และเก็บบันทึกค่าการนับด้วย FRAM สามารถ Link กับ Computer หรือ PLC ได้ทาง RS-485 และสามารถ Monitor, Logging, Edit ค่าได้ รุ่น CMP-N-Series มีโหมดการทํางานให้เลือกใช้ 11 โหมด เก็บบันทึกค่าการนับด้วย FRAM สามารถ Link กับ Computer หรือ PLC ได้ทาง RS-485 และสามารถ Monitor, Logging, Edit ค่าได้        เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter/Target Counter) คือ เครื่องนับจำนวนและแสดงผลเพื่อแสดงค่าให้ทราบจำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ในการผลิตแต่ละครั้ง โดยสามารถตั้งค่าเป้าหมาย (Target) ในการผลิต และจำนวนของชิ้นงานที่ผลิตได้จริง (Actual) ให้สอดคล้องกับ Target ที่ตั้งไว้ และมีการแสดงจำนวนผลต่างของชิ้นงานที่ตั้งเป้าไว้และผลิตได้จริง (Diff) เพื่อช่วยลดความผิดพลาด (Error) สามารถวางแผนระยะเวลาในการผลิตได้ และเพื่อควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมาย ลดความผิดพลาดหรือใช้ตรวจสอบสถานะการทํางานของเครื่องจักร ในการนับจํานวนของเข้า Stock สามารถทํางานได้ทั้งนับขึ้นและนับลง รับอินพุตจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่าง ๆ เช่น Proximity Switch, Encoder, Mechanical Contact, NPN, PNP โดยสามารถรับอินพุตได้เร็วถึง 10kHz (รุ่น CMT-007AN, CMP-N-Series) ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้งานกันโดยทั่วไปในการนับจำนวน (Counter) หรือรูปแบบการตั้งเวลานับชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักรและแสดงผล (Hour Counter) ในงานภาคอุตสาหกรรม เช่น เครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter), Hour Counter, Target Counter หรือ PLC+HMI เป็นต้น        เซ็นเซอร์ (Sensor) ตรวจจับชิ้นงาน, วัตถุ (Photoelectric Sensor, Photo Switch, Proximity Switch)   Proximity Switch ยี่ห้อ AECO Photoelectric Sensor ยี่ห้อ OPTEX Inductive & Capacitive Sensor Proximity Photoelectric Sensor, Photo Switch        เซ็นเซอร์ (Sensor) ตรวจจับชิ้นงาน, วัตถุ (Photoelectric Sensor, Photo Switch, Proximity Switch) คือ เซ็นเซอร์สำหรับตรวจจับชิ้นงาน เช่น Photoelectric Sensor, Photo Switch, Proximity Switch เป็นต้น โดยเซ็นเซอร์ (Sensor) แต่ละชนิดจะนำไปต่อเข้าร่วมกับเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter), Target Counter หรือ PLC+HMI เพื่อแสดงผลและแจ้งเตือน Alarm ให้ผู้ใช้งานทราบ โดยเอาต์พุตของเซ็นเซอร์ (Sensor) ที่พบเห็นส่วนใหญ่ในงานภาคอุตสาหกรรม อาทิ เอาต์พุตประเภท NPN, PNP, NO, NC, Relay Contact เป็นต้น        โดยวันนี้ผู้บรรยายจะขอแนะนำผู้อ่านเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้งานการนับจำนวนของเครื่องนับจำนวนแบบดิจิตอล (Digital Counter) ร่วมกับเซ็นเซอร์ (Sensor) ในหัวข้อ “การใช้งานเครื่องนับจำนวน (Digital Counter) ร่วมกับ Proximity Switch และ Photoelectric Sensor” ผู้บรรยายจะขอยกตัวอย่างดังนี้        ตัวอย่างการใช้งานเครื่องนับจำนวน (Digital Counter) ร่วมกับ Proximity Switch และ Photoelectric Sensor การใช้งานเครื่องนับจำนวน (Digital Counter) ร่วมกับ Proximity Switch        จากภาพตัวอย่างวงจรการใช้งานเครื่องนับจำนวน (Digital Counter) ร่วมกับ Proximity Switch เป็นการแสดงการต่อวงจร Digital Preset Counter ร่วมกับ Proximity Switch นับจำนวนการเปิด-ปิดประตู เมื่อถึงจำนวนการเปิด-ปิดประตูที่กำหนดไว้ เพื่อทำการ Maintenance ประตูต่อไป        การใช้งานเครื่องนับจำนวน (Digital Counter) ร่วมกับ Photoelectric Sensor      จากภาพตัวอย่างวงจรการใช้งานเครื่องนับจำนวน (Digital Counter) ร่วมกับ Photoelectric Sensor เป็นการแสดงการต่อวงจร Digital Counter ร่วมกับ Photoelectric Sensor เพื่อนับจำนวนของชิ้นงานในกระบวนการผลิต        ข้อดีของการใช้งานเครื่องนับจำนวน (Digital Counter/Digital Preset Counter) ร่วมกับ Proximity Switch และ Photoelectric Sensor ดังนี้      • เพื่อความแม่นยำในการนับจำนวน      • แสดงผลด้วยตัวเลข 7-Segment สีขาว เพื่อง่ายต่อการมองเห็น      • สามารถรับอินพุตจากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่าง ๆ เช่น Photoelectric Sensor, Photo Switch, Proximity Switch, Encoder, Contact, NPN, PNP      • โหมดการทำงานให้เลือกใช้ 11 โหมดการทำงาน      • ใช้งานง่าย โดยการโปรแกรมผ่านหน้าจอ      • มี Digital Input (Dry Contact) สำหรับ Reset ค่าได้      • สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ท RS-485 MODBUS RTU        การประยุกต์ใช้งาน      • อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์      • อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์      • สายพานลําเลียง ฯลฯ        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สายพานลําเลียง   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ข้อดีของการใช้อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกันกับงานห้อง Oven [Duct Mount Humidity & Temperature Transmitter (High Temp. 0-150 ํC)]

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Oven Room หรือ ห้องอบ คือ ห้องที่ใช้ความร้อนสูงในการอบเพื่อถนอมอาหาร เช่น ผักผลไม้ ขนมปัง หรือใช้เพื่ออบยางพารา อบถุงมือยาง รวมถึงอุตสาหรรมอบสีรถยนต์ ห้องพ่นสี เป็นต้น โดยได้มีการนำอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกัน (Humidity & Temperature Transmitter) มาประยุกต์ใช้งาน เพื่อวัดอุณหภูมิและความชื้นตามที่ต้องการของลักษณะงานแต่ละประเภท เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) และอุณหภูมิ (Temperature) เป็นปัจจัยที่สำคัญต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องจักรในกระบวนการในการผลิต      โดยอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกัน (Humidity & Temperature Transmitter) สามารถต่อใช้งานร่วมกับเครื่องควบคุม (Controller), เครื่องบันทึก (Recorder), เครื่องแสดงผล (Digital Indicator) หรือ PLC ได้ เนื่องจากมีการแปลงสัญญาณให้เป็นสัญญาณมาตรฐานทางไฟฟ้า เช่น 4-20mA/0-10VDC แล้ว ผู้อ่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมในบทความที่ผ่านมาของเราได้ในหัวข้อ “เราจะวัดและควบคุมความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิในอากาศได้อย่างไร?” โดยอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกัน (Humidity & Temperature Transmitter) มีรูปแบบดังนี้      • อุปกรณ์โพรบวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์รูปแบบแกน (Probe) Duct Mount Humidity & Temperature Transmitter เหมาะสําหรับติดตั้งวัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ภายในตู้อบ, ถังฆ่าเชื้อ, ถังไล่ความชื้น เป็นต้น      • อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์รูปแบบติดผนัง (Wall Mount Humidity & Temperature Transmitter) เหมาะสําหรับติดตั้งบนผนังหรือบนเพดานภายในห้อง เป็นต้น      โดยในวันนี้ผู้บรรยายจะขอแนะนำการใช้อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่ใช้กับงานหม้อฆ่าเชื้อหรืองานห้อง Oven ที่ต้องใช้กับอุณหภูมิสูง (High Temp.) ในหัวข้อ “ข้อดีของการใช้อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกันกับงานห้อง Oven [Duct Mount Humidity & Temperature Transmitter (High Temp. 0-150 ํC)]” ดังตัวอย่างต่อไปนี้ อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกันกับงานห้อง Oven [Duct Mount Humidity & Temperature Transmitter (High Temp. 0-150 ํC)] รุ่น RHM-005-Series ยี่ห้อ Primus กราฟแสดง Accuracy อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกันกับงานห้อง Oven [Duct Mount Humidity & Temperature Transmitter (High Temp. 0-150 ํC)] รุ่น RHM-005-Series ยี่ห้อ Primus      อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกัน [Duct Mount Humidity & Temperature Transmitter (High Temp. 0-150 ํC)] ผู้บรรยายขออธิบายถึงห้อง Oven, หม้อรีทอร์ท หรือเครื่องฆ่าเชื้อ เป็นห้องหรือเครื่องสำหรับฆ่าเชื้อโรคในอาหาร หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการฆ่าเชื้อ หรืองานอบต่าง ๆ ที่สามารถทำความร้อนได้เร็ว ให้ความร้อนได้ต่อเนื่อง (Steam Sterilization หรือ Hot Water Sterilization) ซึ่งผู้อ่านสามารถพบเห็นทั่วไปในภาคอุตสาหกรรม ดังตัวย่าง ห้อง Oven      ดังนั้นการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในห้อง Oven, หม้อรีทอร์ท หรือเครื่องฆ่าเชื้อ ให้ได้ประสิทธิภาพนั้น สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คืออุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกัน [Duct Mount Humidity & Temperature Transmitter (High Temp. 0-150 ํC)] โดยมีคุณสมบัติดังนี้ อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกันกับงานห้อง Oven [Duct Mount Humidity & Temperature Transmitter (High Temp. 0-150 ํC)] รุ่น RHM-005-Series ยี่ห้อ Primus คุณสมบัติเด่น • เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกัน โดยทำหน้าที่แปลงสัญญาณอุณหภูมิและความชื้นเป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (4-20mA) • ย่านการวัดอุณหภูมิ 0-150 ํC (High Temperature) และย่านการวัดความชื้นสัมพัทธ์ 0-100% RH • การติดตั้งโดยเจาะรูฝังแกน Probe เข้าไปในตู้ให้ส่วนหัวกะโหลกอยู่ภายนอกตู้ ซึ่งมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายใน ทำให้สามารถใช้กับตู้อบที่มีอุณหภูมิสูงได้ • มีฟิลเตอร์ Silicon Carbonate ด้านปลาย Probe เพื่อป้องกันฝุ่น และมีหน้าแปลนยึดสำหรับประกอบติดตั้ง      จากข้อมูลของอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกัน [Duct Mount Humidity & Temperature Transmitter (High Temp. 0-150 ํC)] ผู้บรรยายขอยกตัวอย่างการต่อใช้งานดังนี้      ตัวอย่างการต่อใช้งานอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกันกับงานห้อง Oven [Duct Mount Humidity & Temperature Transmitter (High Temp. 0-150 ํC)]      โดย HM-005N-00-3-H เป็น Sensor วัดอุณหภูมิ/ความชื้น ในย่าน High Temp และมี Output เป็นแบบ 2 Wire โดยสามารถต่อร่วมกับจอแสดงผลเพื่อดูค่าอุณหภูมิ/ความชื้น โดยใช้ Digital Indicator รุ่น TIM-94N แสดงผลตามรูปตัวอย่าง      ข้อดีของการใช้อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกันกับงานห้อง Oven [Duct Mount Humidity & Temperature Transmitter (High Temp. 0-150 ํC)] ดังนี้      • ความแม่นยำในการวัด (Accuracy) : Humidity (+/- 3% RH (20-90% RH)) และ Temperature (+/- 1 ํC (0-150 ํC)) เสถียรภาพในช่วงเวลายาว ๆ (Stability)      • สามารถทนอุณหภูมิได้สูงสุด 150 ํC      • มีฟิลเตอร์ Silicon Carbonate ด้านปลาย Probe เพื่อป้องกันฝุ่น      ข้อแนะนำในการดูแลห้อง Oven, หม้อรีทอร์ท หรือเครื่องฆ่าเชื้อ ให้ได้ประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งาน      • ระบายอากาศ : เปิดประตู หน้าต่าง ควรปิดแอร์หรือพักแอร์ เพราะเป็นการช่วยเร่งให้เกิดการถ่ายเทอากาศและดูดเอาเชื้อโรคต่าง ๆ ออกไปได้เร็วยิ่งขึ้น      • ทำความสะอาด : ตลอดเวลา อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง      • หมั่นตรวจเช็คเครื่องมือวัดอุณหภูมิและความชื้นอย่างสม่ำเสมอ      • ส่งสอบเทียบเครื่องมือ (Calibrate) เพื่อให้อุปกรณ์มีประสิทธิภาพ      การประยุกต์ใช้งาน      • ระบบ Duct Heater ไล่ความชื้น      • อุตสาหกรรมห้องอบ ฯลฯ      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกันกับงานห้อง Oven [Duct Mount Humidity & Temperature Transmitter (High Temp. 0-150 ํC)] ใช้กับงานไล่ความชื้นในท่อ Duct เครื่องอบลมร้อน ห้องอบสี Humidity & Temperature Transmitter Digital Indicator Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Bar Graph Indicator With Alarm Unit  4 Channel Digital Indicator โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ข้อดีของการสื่อสารแบบไร้สายระยะไกลด้วย LoRaWAN

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันการสื่อสารแบบไร้สายในภาคอุตสาหกรรม (Industrial Communication Wireless) ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการพัฒนาระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรมให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการนำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless Technology) กับอุปกรณ์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์แบบไร้สาย (Wireless Humidity & Temperature Transmitter) มาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ (Computer) หรือเครื่องจักร (Machine) ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งเป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นความสะดวกสบายของผู้ใช้ ลดการใช้สาย เคลื่อนย้ายสะดวกในกรณีที่ต้องบำรุงรักษา และเพื่อประสิทธิภาพของข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารที่ถูกต้อง โดยเทคโนโลยีการสื่อสารที่นิยมใช้กันในยุคปัจจุบัน คือ การสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) ภายใต้เครือข่าย LoRaWAN และ Wi-Fi โดยมีความหมายดังนี้        Wi-Fi (Wireless Fidelity) เป็นเทคโนโลยีแบบไร้สาย (Wireless) ที่ช่วยในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ดิจิทัลทีวี ให้สามารถสื่อสารกันได้ผ่าน Access Point โดยการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นการเชื่อมต่อโดยปราศจากการใช้สายสัญญาณ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณและติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้น ซึ่งแตกต่างจากระบบ LAN ที่จะต้องใช้สาย LAN เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายนั่นเอง และปัจจุบันนิยมใช้ Wi-Fi เพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต        LoRaWAN (Long Range Wide Area Network)      • LoRa หมายถึง โปรโตคอลการเชื่อมต่อเฉพาะในส่วนของ Link      • LoRaWAN หมายถึง การเชื่อมต่อในลักษณะของการเป็นโครงข่าย        เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) แบบวงกว้างและสื่อสารได้ในระยะไกล ใช้พลังงานต่ำ (เมื่อเทียบกับ WiFi และ Bluetooth) โดยอาศัยโปรโตคอล LoRa ในการพัฒนาเพื่อให้รองรับอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานต่ำ ๆ ได้หลากหลาย ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากในกลุ่มงานด้าน IoT (Internet of Thing) เช่น การเชื่อมต่อ Power Meter System เพื่อ Monitor & Analysis และ Record บันทึกข้อมูลในงานอุตสาหกรรม เป็นต้น สำหรับโครงสร้างของ LoRaWAN จะประกอบด้วยหลายอุปกรณ์ เช่น อุปกรณ์ปลายทางจะส่งสัญญาณไปยัง Gateway หลังจากนั้น Gateway จะสื่อสารกับ Server ด้วย TCP และ UDP โดยสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) LoRaWAN มาใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมือวัดไฟฟ้าอุตสาหกรรมได้ดังตัวอย่าง        ตัวอย่างการต่อใช้งานมิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้าแบบไร้สาย LoRaWAN รุ่น KM-24-L และดึงค่าอุณหภูมิจาก Digital Indicator ผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณ RS-485 เป็น LoRa (Converter) รุ่น RM-012-L เพื่อ Monitor, Analysis, Record ผ่าน Prisoft Software        จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นผู้อ่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความในหัวข้อ “เปรียบเทียบการสื่อสารไร้สายแบบ LoRaWAN กับ WIFI ในงานอุตสาหกรรมต่างกันอย่างไร?” และ “การประยุกต์ใช้งานเซ็นเซอร์วัดและบันทึกอุณหภูมิ ความชื้นระยะไกลแบบไร้สาย (LoRaWAN)” ซึ่งในวันนี้ผู้บรรยายจะขอยกตัวอย่าง LoRaWAN (Long Range Wide Area Network) อุปกรณ์การสื่อสารระยะไกลแบบไร้สาย (LoRaWAN) รุ่น HM-008-L และ HM-009 ยี่ห้อ Primus ว่ามีข้อดีอย่างไร? ในหัวข้อ “ข้อดีของการสื่อสารแบบไร้สายระยะไกลด้วย LoRaWAN” โดยมีข้อมูลดังนี้   LoRa Baseboard Interface UART การสื่อสารแบบไร้สาย LoRaWAN Model : HM-008-L , Brand : Primus UNIVERSAL INPUT 2/4 CHANNEL LoRa อุปกรณ์วัดและแสดงผลค่าสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานและค่าอุณหภูมิ และ Process ต่าง ๆ Model : HM-009 , Brand : Primus      LoRa Baseboard Interface UART การสื่อสารแบบไร้สาย LoRaWAN Model : HM-008-L, Brand : Primus เป็นอุปกรณ์ LoRa Node ที่สามารถอ่านค่าสัญญาณ Sensor หรือสั่งงาน Output จาก Signal Card ผ่านสัญญาณย่านความถี่ 923-925 MHz ด้วย LoRaWAN Protocal สามารถสื่อสารได้ระยะถึง 1 กิโลเมตร จาก LoRaWAN Gateway การทำงาน HM-008-L จะทำการอ่าน Signal Card และส่งข้อมูลไปยัง Network Server ทุก ๆ 40 วินาที เพื่อเก็บข้อมูลและนำไปใช้เป็น Application ต่าง ๆ เช่น แสดงเป็นข้อมูลอุณหภูมิจาก Signal Card ผ่าน Dash Board เหมาะสำหรับงานที่ต้องการส่งค่าระยะทางไกล ๆ และไม่ต้องการเดินสายสัญญาณ เช่น Smart Industries, Facilities Management, Smart Building เป็นต้น      ตัวอย่างการต่อใช้งาน LoRa Baseboard Interface UART การสื่อสารแบบไร้สาย LoRaWAN        UNIVERSAL INPUT 2/4 CHANNEL LoRa อุปกรณ์วัดและแสดงผลค่าสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานและค่าอุณหภูมิ และ Process ต่าง ๆ Model : HM-009, Brand Primus เป็นอุปกรณ์วัดค่าที่รับสัญญาณได้ 2/4 Input ในตัวเดียวกัน ทําให้ประหยัดพื้นที่ สามารถติดต่อสื่อสารผ่านทาง USART เพื่อนำค่าไปใช้อื่น ๆ ได้ ยกตัวอย่างการนำ HM-009 ต่อกับ HM-008-L เพื่อส่งค่าเข้าสู่ระบบ LoRaWAN เพื่อนำข้อมูลไปใช้งานได้อีกด้วย        ตัวอย่างการต่อใช้งาน UNIVERSAL INPUT 2/4 CHANNEL LoRa อุปกรณ์วัดและแสดงผลค่าสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานและค่าอุณหภูมิ และ Process ต่าง ๆ        จากข้อมูลของ LoRa Baseboard Interface UART การสื่อสารแบบไร้สาย LoRaWAN และ UNIVERSAL INPUT 2/4 CHANNEL LoRa อุปกรณ์วัดและแสดงผลค่าสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานและค่าอุณหภูมิ และ Process ต่าง ๆ ที่ทางผู้บรรยายได้กล่าวมาข้างต้น สามารถบอกข้อดีของการสื่อสารแบบไร้สายระยะไกลด้วย LoRaWAN ดังนี้      • ลดความผิดพลาดในการจดบันทึกของผู้ปฏิบัติงาน      • ลดเวลาการทำงาน ลดแรงงาน      • สะดวกในการติดตั้ง เนื่องจากไม่ต้องเดินสายไฟไปยังคอมพิวเตอร์      • สามารถใช้งานได้ถึง 1000 Device ใน 1 Loop การใช้งาน      • อุปกรณ์เป็น Universal Input ไม่ว่าโรงงานจะมี Sensor ประเภทไหนอยู่สามารถรองรับได้หมด      • ส่งข้อมูล Realtime ทุก ๆ 1นาที        ยกตัวอย่างวงจรการต่อใช้งานของการสื่อสารแบบไร้สายระยะไกลด้วย LoRaWAN            การสื่อสารแบบไร้สายระยะไกลด้วย LoRaWAN เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภทดังนี้      • อาคาร, สำนักงาน      • โรงงาน      • ที่พักอาศัย        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   Chill Room โรงงานผลิตยา เครื่องจักรอาหาร   SINGLE PHASE kWh-METER WITH LORA Wireless RS-485 TO LoRaWAN Converter Wireless Humidity & Temperature Transmitter  MULTIFUNCTION POWER METER  THREE PHASE VOLT-AMP kWh-METER WITH PROTECTION RELAY โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ข้อดีของการใช้ Phase Selector with Protection Relay (เฟสซีเล็คเตอร์พร้อมป้องกันไฟตก-ไฟเกิน)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ระบบไฟฟ้าเป็นปัญหาที่พบบ่อยในโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage), ไฟดับ (Black Out), ไฟกระชาก (Spike) รวมถึงสัญญาณรบกวน (Noise) ต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการผลิตเป็นอย่างมาก เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะมีความไวต่อความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้ชิ้นงานชำรุดเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นจึงได้มีการติดตั้งเฟสโปรเทคชั่นรีเลย์ (Phase Protection Relay) เป็นอุปกรณ์รีเลย์ (Relay) ประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับป้องกันความผิดปกติที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าของระบบไฟ 3 เฟส 3 สาย และ 3 เฟส 4 สาย เช่น ป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage), เฟสขาดหาย (Phase Loss), เฟสไม่สมดุล (Phase Unbalance), สลับเฟส (Phase Sequence) เป็นต้น เพื่อทำการตัดวงจรในระบบไม่ให้อุปกรณ์เกิดความเสียหาย และขอแนะนำอุปกรณ์สำหรับเลือกเฟสอัตโนมัติเพื่อจ่ายไฟ 1 Phase 220VAC, 5A, 50Hz โดยรับแรงดันไฟฟ้า 3x380VAC, 4 Wire สำหรับการป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องจักรเสียหาย เช่น Motor, Inverter, Switching Power Supply ภายในตู้คอนโทรล MDB เป็นต้น        Phase Selector with Protection Relay (เฟสซีเล็คเตอร์พร้อมป้องกันไฟตก-ไฟเกิน) เป็นอุปกรณ์เลือกเฟสอัตโนมัติเพื่อจ่ายให้ระบบ Voltage Monitoring หรือระบบ Protection ต่าง ๆ ของตู้ MDB และ DB นิยมใช้ร่วมกับ Phase Protection, Under-Over Voltage Trip, Shunt Trip เป็นต้น โดยในวันนี้ผู้บรรยายจะขอยกตัวอย่าง Phase Selector with Protection Relay (เฟสซีเล็คเตอร์พร้อมป้องกันไฟตก-ไฟเกิน) รุ่น VPM-07-Series ยี่ห้อ “Primus” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่รับแรงดันไฟฟ้า 3 Phase 380VAC (4 Wire) และจ่ายไฟ 1 Phase 220VAC, 5A, 50Hz จำนวน 2 Output (สำหรับจ่าย Shunt Trip และ Load อื่น ๆ) สามารถแสดงค่าแรงดันไฟฟ้าผ่านหน้าจอแสดงผลได้ภายในตัว มีให้เลือกการต่อใช้งานจากภายนอก (Phase Selector External Phase Protection) รุ่น VPM-07-1 และรุ่นที่เช็ค Phase Protection ในตัว (Phase Selector Internal Phase Protection) รุ่น VPM-07-2 โดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้   Phase Selectorwith Protection Relay (เฟสซีเล็คเตอร์พร้อมป้องกันไฟตก-ไฟเกิน) VPM-07-1 VPM-07-2 หน้าจอแสดงผลค่าแรงดันไฟฟ้า Yes Yes แรงดันไฟฟ้า (Power Supply) 3P4W 380VAC Yes Yes External Input Trip (Input 1) Yes Yes External Phase Protection Trip (Input 2) Yes None Shunt Trip (Output 1) *Time Delay On Yes Yes Load (Output 2) Yes Yes Over-Under Voltage, Phase Sequence, Unbalance (Output 3) None Yes      จากตารางข้อมูลข้างต้นผู้บรรยายสามารถอธิบายหลักการทำงาน คือ Phase Selector with Protection Relay (เฟสซีเล็คเตอร์พร้อมป้องกันไฟตก-ไฟเกิน) เป็นอุปกรณ์ที่จ่ายไฟ 1 Phase 220VAC, 5A, 50Hz โดยรับแรงดันไฟฟ้า 3 Phase 380VAC, 4 Wire โดยการเลือก Phase ที่จ่ายไฟ 220VAC จาก Phase 1 ก่อน เมื่อแรงดัน Phase 1 หายไป จะนํา Phase 2 เข้ามาจ่ายแทน และเมื่อแรงดัน Phase 1 กลับมา Output 2 ก็จะยังใช้งาน Phase 2 อยู่จนกว่า Phase 2 หายไป ระบบจะนํา Phase 3 มาใช้งานหากว่า Phase 3 หายไประบบก็จะเลือก Phase 1 มาจ่ายแทน โดยระบบจะทําการวนจนครบ โดยสามารถยกตัวอย่างการใช้งาน Phase Selector with Protection Relay (เฟสซีเล็คเตอร์พร้อมป้องกันไฟตก-ไฟเกิน) ได้ดังนี้      ตัวอย่างวงจรการต่อใช้งาน Phase Selector with Protection Relay (เฟสซีเล็คเตอร์พร้อมป้องกันไฟตก-ไฟเกิน) ในงานอุตสาหกรรม วงจรการต่อใช้งาน Phase Selector with Protection Relay (เฟสซีเล็คเตอร์พร้อมป้องกันไฟตก-ไฟเกิน) รุ่น VPM-07 ในงานอุตสาหกรรม        จากตัวอย่างวงจรการต่อใช้งาน Phase Selector with Protection Relay (เฟสซีเล็คเตอร์พร้อมป้องกันไฟตก-ไฟเกิน) ในงานอุตสาหกรรม สามารถอธิบายได้ดังนี้         Phase Selector with Protection Relay (เฟสซีเล็คเตอร์พร้อมป้องกันไฟตก-ไฟเกิน) รุ่น VPM-07 สามารถจ่ายไฟ 220VAC, 5A, 50Hz ได้ 2 Output         • Output 1 จะจ่ายไฟให้กับระบบ Shunt Trip เมื่อเกิดความผิดปกติต่อระบบไฟ 3 Phase โดยรับสัญญาณจาก Input 1 External Input Trip, Input 2 Phase Protection Trip และสัญญาณ Phase Loss         • Output 2 จะจ่ายไฟให้กับโหลดอื่น ๆ ต่อเนื่อง โดยเลือก Phase ใด Phase หนึ่ง ที่มีแรงดันไฟฟ้าที่ปกติจาก 3 Phase      หน้าจอแสดงผลเฟสซีเล็คเตอร์ (Phase Selector) รุ่น VPM-07-1   หน้าจอแสดงผล VPM-07-1 : Phase Selector (เฟสซีเล็คเตอร์) หน้าจอแสดงผล VPM-07-2 : Phase Selector with Protection Relay (เฟสซีเล็คเตอร์พร้อมป้องกันไฟตก-ไฟเกิน) VPM-07-1 : Phase Selector (เฟสซีเล็คเตอร์) เป็นรุ่นที่ต้องต่อกับ Phase Protection Relay ภายนอก เมื่อเกิดความผิดปกติของระบบไฟ 3 Phase, VPM-07-1 จะรับสัญญาณ Dry Contact ที่ Protection Input Trip จะเริ่มหน่วงเวลาตามระยะเวลาที่ตั้งค่าไว้ และจ่ายไฟ 220VAC เมื่อครบเวลาที่ตั้งค่าไว้ แต่ถ้ามีสัญญาณ Dry Contact ที่ External Input Trip VPM-07-1 จะไม่หน่วงเวลาและจ่ายไฟ 220VAC ทันที ถึงแม้ Protection Input Trip จะทํางานหรือไม่ก็ตาม VPM-07-2 : Phase Selector with Protection Relay (เฟสซีเล็คเตอร์พร้อมป้องกันไฟตก-ไฟเกิน) เป็นรุ่นที่มี Phase Protection Relay อยู่ในตัว ไม่ต้องใช้ Phase Protection จากภายนอก จะทำให้ลดสายไฟในตู้คอนโทรลและลดระยะเวลาในการทำงาน          ตัวอย่างใช้งาน Phase Selector with Protection Relay (เฟสซีเล็คเตอร์พร้อมป้องกันไฟตก-ไฟเกิน) ในงานอุตสาหกรรม        สรุปข้อดีของการใช้งาน Phase Selector with Protection Relay (เฟสซีเล็คเตอร์พร้อมป้องกันไฟตก-ไฟเกิน) ได้ดังนี้      • ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องจักรเสียหาย เช่น มอเตอร์, อินเวอร์เตอร์, สวิตช์ชิ่งพาวเวอร์ซัพพลาย, เครื่องจักร เป็นต้น ที่เกิดจากระบบไฟฟ้าผิดปกติ เช่น แรงดันไฟฟ้าเกิน (Over-Voltage), แรงดันไฟฟ้าตก (Under-Voltage), แรงดันไฟฟ้าขาดหาย (Phase Loss), แรงดันไม่สมดุลกันในแต่ละเฟส (Unbalance) และแรงดันไฟฟ้าสลับเฟส (Phase Sequence) เป็นต้น      • มี Function Over-Under Voltage, Phase Loss, Unbalance, Phase Sequence ในตัวเดียวกัน โดยไม่ต้องจัดหาอุปกรณ์อื่นเพิ่ม (สำหรับรุ่น VPM-07-2)      • ลดวงจร Timer สามารถ Set ได้ที่ตัวอุปกรณ์      • มี 2 Output สําหรับจ่ายไฟให้ Shunt Trip และต่อโหลดอื่น ๆ      • มีหน้าจอแสดงผลค่าแรงดันไฟฟ้าในตัว      • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง      • ลดการ Wiring สายในตู้คอนโทรลที่มีความซับซ้อน, ลดเวลาในการผลิต        Phase Selector with Protection Relay (เฟสซีเล็คเตอร์พร้อมป้องกันไฟตก-ไฟเกิน) เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภทดังนี้      • อาหารและเครื่องดื่ม      • อาคาร, สำนักงาน              • โรงงาน      • ประกอบตู้        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Phase Selector with Protection Relay (เฟสซีเล็คเตอร์พร้อมป้องกันไฟตก-ไฟเกิน) การต่อ VPM-07 เพื่อสั่งปลดวงจร Circuit Breaker 3 Phase Under&Over Voltage And Phase Monitor Relay Phase Selector อุปกรณ์ที่จ่ายไฟ 1 Phase 220VAC Electronics Overload Relay เป็น Electronics Overload Compact Soft Start And Soft Stop Motor Digital Voltage Protection Relay Relay โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
7 ข้อดี ที่ทำให้ PLC ได้รับความนิยมสำหรับงานควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      PLC (Programmable Logic Controller) โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ (พีแอลซี) อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานต่าง ๆ แบบอัตโนมัติ โดยการออกแบบและสร้างวงจรการควบคุมของผู้ใช้งานและป้อนโปรแกรมคำสั่ง (Ladder) เข้าไปใน PLC ซึ่งภายในโครงสร้างของ PLC มี Microprocessor เป็นมันสมองสั่งการที่สำคัญ และ PLC จะมีส่วนที่เป็นอินพุตและเอาต์พุตที่สามารถต่อออกไปใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ เช่น เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader), เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนอกจากตัวเครื่อง PLC จะใช้งานแบบเดี่ยว (Stand Alone) แล้วยังสามารถต่อ PLC หลายๆ ตัวเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย (Network) เพื่อควบคุมการทำงานของระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย จะเห็นได้ว่าการใช้งาน PLC มีความยืดหยุ่นมาก ดังนั้นในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จึงนำ PLC เข้ามาใช้งานกันมากขึ้น       ปัจจุบัน PLC ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเป็นการรวมกันระหว่าง PLC กับ HMI กล่าวคือ PLC+HMI ย่อมาจาก Human Machine Interface เป็นการสื่อสารระหว่างผู้ใช้งาน (Human) กับ PLC หรือจอแสดงผล (Display) ต่าง ๆ ในระบบ PLC+HMI เป็นการทำงานร่วมกัน โดยใช้ PLC เป็นตัวควบคุม และ HMI เป็นตัวสื่อสารระหว่างผู้ใช้งาน (Human) กับระบบ Module PLC หรือจอแสดงผลต่าง ๆ โดยให้ PLC สั่งงานไปที่เครื่องจักร (Machine) อีกที โดย PLC+HMI ได้ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก ทั้งในส่วนของ Hardware และ Software โดยเฉพาะระบบการประมวลผลของไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ให้มีการตอบสนองที่เร็วขึ้น มีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง และมีฟังก์ชันในการจัดเก็บหรือถ่ายโอนข้อมูลได้ง่าย ทำให้ง่ายต่องานที่มีความซับซ้อน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมได้หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมพลาสติก, อุตสาหกรรมยาง, อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมในยุค 4.0 เป็นอย่างมาก โดยทางผู้บรรยายขอยกตัวอย่าง PLC+HMI ยี่ห้อ UNITRONICS ดังนี้      ตัวอย่าง PLC ยี่ห้อ UNITRONICS รูปแบบต่าง ๆ โดยสามารถดูรายละเอียดรุ่นเพิ่มเติมในบทความที่ผ่านมาในหัวข้อ “PLC+HMI UNITRONICS มีหน้าจอแบบไหนบ้าง?” ตัวอย่าง PLC (PLC+HMI) ที่ผู้ใช้สามารถพบเห็นในโรงงานอุตสาหกรรม UniStream PLC Vision Series PLC Samba Series PLC Jazz & M91 PLC UniStream PLC เน้นกับงานที่ใช้กราฟิกหน้าจอแบบ Touch Screen Vision PLC สามารถเก็บข้อมูล (Data Logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen Samba PLC สามารถเก็บข้อมูล (Data Logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen (ราคาถูก) Jazz and M91 PLC มีขนาดเล็กกะทัดรัด หน้าจอแบบ LCD      จากตัวอย่าง PLC+MHI ยี่ห้อ Unitronics ในการพัฒนารูปแบบของ PLC (พีแอลซี) ที่มี HMI อยู่ภายในตัวเดียว เป็น PLC+HMI (Programmable Logic Control + Human Machine Interface) เพื่อง่ายต่อการออกแบบและรวม PLC+HMI อยู่ในตัวเดียวกัน โดยที่ PLC+HMI เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมระบบการทำงานของเครื่องจักรต่าง ๆ สามารถใช้แทนการควบคุมแบบวงจรรีเลย์ (Relay Circuit) ที่ใช้งานยุ่งยาก สามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ Input และ Output ได้โดยตรง และผู้ออกแบบสามารถเขียนโปรแกรมคำสั่ง (Ladder Program) ป้อนเข้าไปในอุปกรณ์ PLC+HMI ให้ควบคุมอุปกรณ์หรือเครื่องจักรได้ตามที่ต้องการแบบอัตโนมัติ หรือหากต้องการเปลี่ยนเงื่อนไขการทำงานของเครื่องจักรใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายเพียงแค่เปลี่ยนแปลงคำสั่งในโปรแกรมใหม่เท่านั้นเอง โดยมีตัวอย่างหน้าตาของ Ladder Program (ดังรูปตัวอย่าง)      ตัวอย่างการเขียน Ladder ในการควบคุมระดับน้ำในถัง      จากข้อมูลการยกตัวอย่าง Ladder ในการควบคุมแบบระดับน้ำ แจ้ง Alarm ในกรณีระดับน้ำต่ำกว่าค่าที่ตั้งหรือสูงกว่าค่าที่ตั้ง โดยรับสัญญาณเป็น Ultra Sonics ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์ที่ใช้วัดระดับน้ำ และนำเอาต์พุตที่เป็นสัญญาณอนาล็อกมาค่าเขียนรับค่าโดยใช้ฟังก์ชัน Linearization ทำการแปลงค่าอนาล็อก 4-20 mA เป็นค่าใช้งาน จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับค่าที่ตั้ง โดยเราสามารถเขียนตั้งค่าต่ำกว่าให้ Alarm หรือสูงกว่าให้ Alarm ได้      สามารถนำมาเขียน Diagram การต่อใช้งานภาค Input/Output ของวงจรการต่อใช้งานดังนี้      ยกตัวอย่าง Diagram การต่อใช้งานภาค Input/Output ของวงจรการต่อใช้งาน      ดังนั้นจากข้อมูลเบื้องต้นสามารถบอกถึงข้อดีของการใช้งาน PLC (PLC+HMI) โดยสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้        7 ข้อดีของการควบคุมด้วย PLC+HMI           1. มีความยืดหยุ่นสูงในการควบคุมระบบต่าง ๆ ได้รวดเร็วและง่ายต่อการใช้งาน           2. มีความสามารถด้านคำนวณจึงใช้กับงานที่ซับซ้อนได้           3. อุปกรณ์มีความน่าเชื่อถือสูงและมีอายุการใช้งานยาวนาน           4. เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการทำงานได้ง่ายด้วยการเขียนโปรแกรม Ladder ป้อนคำสั่ง           5. สามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ Input และ Output ได้หลากหลาย           6. ง่ายต่อการใช้งาน ตรวจสอบการทำงาน หรือการ Maintenance           7. ลดความซับซ้อนในการออกแบบระบบ เนื่องจากมีทั้ง HMI และ PLC อยู่ภายในตัวเดียว      PLC สำหรับงานควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภทดังนี้      • โรงงาน      • อาคาร, สำนักงาน      • ฟาร์ม, เกษตรกรรม      • งานระบบบำบัดน้ำเสีย ฯลฯ      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC (PLC+HMI) ระบบควบคุมประตูอัตโนมัติ เครื่องจ่ายเคมีในการล้าง ตู้ควบคุมห้องอบรมเซรามิค Switching Power Supply Relay Module Signal Transmitter  Target Counter Programmable Logic Controller โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ลดอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control Cabinet) สำหรับคอนโด, อะพาร์ตเมนต์, ที่พักอาศัย ด้วย Pump Control

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปั๊มน้ำ (Water Pump) หรือ ปั๊มคอนโทรล (Pump Control) ปัจจุบันมีการใช้งานกันเป็นอย่างมาก เช่น ในอะพาร์ตเมนต์ อาคารตึกสูง คอนโดมิเนียม และในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยปั๊มน้ำ (Water Pump) จะทำหน้าที่ในการรับ-ส่งน้ำจากต้นทางไปยังปลายทาง หรือสูบน้ำจากบ่อพักน้ำใต้ดินเข้าสู่ระบบในอาคารโดยตรง (Transfer Pump) และในกรณีที่มีการใช้น้ำมากเกินไปจะต้องมีปั๊ม 2 ตัว หรือเรียกว่า Twin Pump เพื่อช่วยกันทำงาน หากปั๊มตัวที่หนึ่งทำงานไม่ทันจะทำให้ระดับแรงดันตก ตู้ควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control Cabinet) ก็จะสั่งให้ปั๊มอีกตัวทำงาน ทำให้แรงดันและระดับน้ำในระบบคงที่ หรือเรียกว่า Booster Pump และในภาคอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้าจะมีสิ่งปฏิกูลหรือน้ำเสียเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ดังนั้นในโรงงานอุตสาหกรรมจะมีบ่อบำบัดน้ำเสียซึ่งจะต้องใช้ตัว Pump ในการดูดน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วทิ้งออกไป หรือเรียกว่า Drain Water Pump นั่นเอง โดยจะประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ (Pump Control) ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับเครื่องควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ (Pump Control) กันก่อน        เครื่องควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ (Pump Control) หรือ Level Control   เครื่องควบคุมปั๊มน้ำแบบ Panel (Digital Pump Controller) เครื่องควบคุมปั๊มน้ำแบบ DIN Rail  (Pump Relay) Single Pump Relay / Twin Pump Controller Model : CM-015 Series Level Control for Conductive Liquids Model : PM-021N-1 Single Pump Relay / Twin Pump Controller Model : PM-021N-2, PM-021N-3      อุปกรณ์สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ (Pump Control) เป็นอุปกรณ์ควบคุมปั๊มน้ำให้ทำงานสัมพันธ์กันระหว่างระดับของบ่อพักน้ำ (Water Well) และถังเก็บน้ำ (Water Tank) สามารถใช้ได้ทั้งระบบไฟ 1-Phase และ 3-Phase โดยมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ (Water Pump) ให้เป็นแบบอัตโนมัติ เช่น สั่งให้ปั๊มหยุดขณะปิดวาล์วหรือสั่งปั๊มหยุดการทำงานในขณะน้ำขาดหรือแรงดันต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ปั๊มน้ำเสียหายหรือปั๊มน้ำไหม้เกิดขึ้น ซึ่งเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control) โดยทั่วไปจะใช้เซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ (Level Sensor) ประเภทต่าง ๆใน การติดตั้ง เช่น ติดตั้งโดยการใช้สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลว (Level Switch), อุปกรณ์วัดระดับแบบก้านอีเล็คโทรด (Electrode Level Switch), สวิตช์ควบคุมแรงดัน (Pressure Switch) เป็นต้น เพื่อประกอบเข้าภายในตู้คอนโทรล ซึ่งโดยปกติแล้วในตู้คอนโทรลปั๊ม (Pump Control Cabinet) จะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบเข้าภายในตู้ เช่น มิเตอร์วัดแรงดัน (Voltmeter), มิเตอร์วัดกระแส (Ampmeter), มิเตอร์วัดชั่วโมงการทำงาน (Hour Counter), อุปกรณ์เช็คกระแสเกิน (Current Protection Relay), อุปกรณ์ป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Voltage Protection Relay), อุปกรณ์ป้องกันปั๊มน้ำเดินตัวเปล่า (Dry Run Protection Relay), อุปกรณ์ควบคุมระดับน้ำ (Level Control) เป็นต้น ซึ่งต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งของตู้คอนโทรลค่อนข้างมาก และการมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลาย ๆ ตัว ส่งให้มีการผลิตความร้อนเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลเสียต่ออายุการใช้งานของอุปกรณ์ภายในตู้คอนโทรลด้วย และอีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ Function ครบถ้วนตามที่ต้องการ แล้วเราจะสามารรถลดอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control Cabinet) ได้อย่างไร ในวันนี้ทางผู้บรรยายจะอธิบายถึงวิธีการที่เราจะสามารถลดอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control Cabinet) ได้อย่างไร? โดยจะยกตัวอย่างว่าต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้างตามภาพ ดังนี้      ตัวอย่าง Twin Pump Relay สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊ม 2 ตัว (1 ตัว เทียบเท่ากับการใช้อุปกรณ์อื่นหลาย ๆ ตัว)      จากภาพข้างต้นทำให้เห็นว่า Twin Pump Relay with Voltage Protection อุปกรณ์สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊ม 2 ตัว จำนวน 1 ตัว สามารถทดแทนอุปกรณ์ได้ถึง 3 ตัว ทำให้ลดพื้นที่การติดตั้งภายในตู้คอนโทรลได้มาก และที่สำคัญลดความยุ่งยากในการเข้าสายได้อีกด้วย จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ใช้ที่กำลังมองหาอุปกรณ์ในการควบคุมปั๊มน้ำภายในตู้คอนโทรล (Pump Control) สำหรับคอนโด, อะพาร์ตเมนต์, ที่พักอาศัย   ตัวอย่างอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control Cabinet) สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊ม 2 ตัว แบบใช้ Twin Pump Relay ตัวอย่างอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control Cabinet) สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊ม 2 ตัว แบบทั่วไป Credit : https://www.motors-pump.com/      ตัวอย่างการใช้งาน Twin Pump Relay อุปกรณ์สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊ม 2 ตัว ภายในตู้ควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control Cabinet) สำหรับคอนโด, อะพาร์ตเมนต์, ที่พักอาศัย      จากตัวอย่างอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control Cabinet) สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊ม 2 ตัว แบบใช้ Twin Pump Relay และแบบทั่วไป สำหรับคอนโด, อะพาร์ตเมนต์, ที่พักอาศัย สรุปข้อดีได้ดังนี้        ข้อดีของการใช้งาน Twin Pump Relay with Voltage Protection อุปกรณ์สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊ม 2 ตัว ภายในตู้คอนโทรล (Pump Control) สำหรับคอนโด, อะพาร์ตเมนต์, ที่พักอาศัย      • มี Latching Relay ควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว สลับการทำงาน      • สามารถควบคุมและเช็คระดับน้ำอยู่ในตัวเดียวกัน ทั้งถังพักน้ำด้านล่างและถังเก็บน้ำด้านบนดาดฟ้า      • มี Voltage Protection เช็คไฟตก-ไฟเกิน, Phase Sequence, Phase Loss      • มี Function ช่วยให้ปั๊ม 2 ตัวทำงานพร้อมกันเมื่อเวลาใช้น้ำมากกว่าปกติ      • สามารถเลือกต่อใช้งานร่วมกับ Level Sensor ได้ทั้ง Electrode, Float Switch และ Pressure Switch      • ลดการ Wiring สายไฟ ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งและประหยัดค่าใช้จ่าย      • ลดอุปกรณ์จำพวก Relay ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งและประหยัดค่าใช้จ่าย      • ลดการ Wiring สายไฟที่ยุ่งยาก และตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงได้ง่าย      • ควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำได้ 2 ระบบ คือ แบบอัติโนมัติ และแบบสั่งทำงานด้วยตนเอง      • สามารถทราบระดับน้ำภายในบ่อพักน้ำ (Water Well) และถังเก็บน้ำสำหรับใช้งาน (Water Tank) ขณะทำงานได้      • สามารถมองเห็นสถานะความผิดปกติของระดับน้ำ, Sensor, Voltage Protection, สถานะการทำงานของ Pump แต่ละตัวได้      • สามารถ OFF เพื่อทำการตัดระบบการทำงานของปั๊มได้        และนอกจากอุปกรณ์สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ แบบ Twin Pump Relay สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊ม 2 ตัว ยังมี อุปกรณ์สำหรับ ควบคุมการทำงานของปั๊ม แบบ Single Pump Relay สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊ม 1 ตัว ด้วยเช่นกัน โดยมีข้อแตกต่างกันดังนี้   Single Pump Relay / Twin Pump Relay PM-021N-2 : Single Pump Relay สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊ม 1 ตัว PM-021N-3 : Twin Pump Relay สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊ม 2 ตัว เครื่องควบคุมการทํางานของปั๊มน้ำ 1 ตัว Yes No เครื่องควบคุมการทํางานของปั๊มน้ำ 2 ตัว (Twin Pump) No Yes ใช้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส Yes Yes ใช้กับ Level Sensor ประเภท Electrode / Float Cable Switch / Pressure Switch Yes Yes Input Probe 3x3 3x4 Function การทํางานแบบ Water Supply (Charging) และ Drainage (Discharging) Yes Yes Function Under & Over Voltage Yes Yes Function Phase Sequence (For 3-Phase) Yes Yes Latching Function สําหรับสลับการทํางานของปั๊ม 2 ตัว No Yes Booster Function สําหรับสั่งปั๊ม 2 ตัวทํางานพร้อมกันในกรณีที่ระดับน้ำลดลงมาก No Yes การติดตั้ง Din Rail Din Rail      นอกจากนี้หากผู้ใช้งานต้องการ Monitor การใช้งาน หรือวิเคราะห์ค่าต่าง ๆ สามารถใช้ Software Web Server Monitoring System สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์บน TCP/IP, RS485, RS232 และ Lora Wan ได้ โดยจะทำหน้าที่อ่านค่าตัวแปรที่ผู้ใช้ต้องการผ่านระบบสื่อสารและนำข้อมูลมาเก็บใน Database บนเครื่อง Computer เพื่อดูค่า Monitor และจัดการระบบต่าง ๆ โดยผู้อ่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทความที่ผ่านมาในหัวข้อ “การควบคุมและจัดการระบบไฟและน้ำในอาคาร, คอนโด ด้วย Smart Buildings Monitor”      รูปตัวอย่างการควบคุมและจัดการระบบไฟและน้ำภายในอาคาร, คอนโดด้วย Smart Building Monitor      อุปกรณ์สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ (Pump Relay with Voltage Protection) เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภท ดังนี้      • คอนโดมิเนียม,หอพัก      • อาคาร, สำนักงาน      • โรงงาน      • ที่พักอาศัย        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Pump Control   Booster Pump Transfer Pump ตู้ควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control Cabinet) Switching Power Supply Digital Indicator Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit 4 Channel Digital Indicator Digital Temperature Controller PID Control Function โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
มาทำความรู้จัก Digital Load Cell Transmitter (อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Signal Transmitter) คือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าทางด้านอินพุต (Input Signal) ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (Analog Signal) ทางด้านเอาต์พุต (Output) เช่น 4-20mA, 0-10V เป็นต้น และอุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Signal Transmitter) สามารถรับอินพุตประเภท AC/DC Current, AC/DC Voltage, Resistance, Frequency, RPM, Strain-Gauge และ Multi Input for Thermocouple, PT100 (RTD) ได้ โดยที่อินพุต-เอาต์พุตแยกอิสระจากกัน (Isolation) ทำให้ไม่เกิดการรบกวนสัญญาณต่อกัน และหากสัญญาณด้านอินพุต (Input) เกิดการช็อตก็จะไม่มีผลกระทบต่อสัญญาณด้านเอาต์พุต (Output) ซึ่งในวันนี้ทางผู้บรรยายจะขอนำเสนอ อุปกรณ์แปลงสัญญาณน้ำหนักหรือแรงดันจากโหลดเซลล์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล (Digital Load Cell Transmitter) โดยรับอินพุตจาก Strain-Gauge เช่น1.5, 2, 2.5, 3, 3.3 mV/V by Excite Voltage 5V หรือ 10V เป็นต้น ในหัวข้อ "มาทำความรู้จัก Digital Load Cell Transmitter (อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล)" ว่ามีคุณสมบัติและข้อดีอย่างไร รวมถึงการประยุกต์ใช้งานของอุปกรณ์ Digital Load Cell Transmitter (อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล) เพื่อสามารถนำไปใช้งานร่วมกับเครื่องแสดงผลและควบคุมได้อย่างเหมาะสม IM-G-Series : Digital Load Cell Transmitter (อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล) รูปอธิบายส่วนต่าง ๆ ของอุปกรณ์      Digital Load Cell Transmitter (อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล) คือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าแรงดันไฟ DC จากวงจรภายในโหลดเซลล์ (Load Cell Circuit) หรือวงจรบริดจ์ (Bridge Circuit) ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (Analog Signal) ทางด้านเอาต์พุต (Output) เช่น 4-20mA, 0-10V เป็นต้น โดยที่อินพุต-เอาต์พุตแยกอิสระจากกัน (Isolation) ทำให้ไม่เกิดการรบกวนสัญญาณต่อกัน โดย Digital Load Cell Transmitter (อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล) จะสามารถรับชนิดของ Load Cell ได้หลายประเภท อาทิ แรงกด (Compression), แรงดึง (Force) หรือน้ำหนัก (Weight) เป็นต้น โดยหลักการทำงานของโหลดเซลล์ (Load Cell) เมื่อมีแรงมากระทำจะถูกเปลี่ยนแปลงออกมาในรูปแบบของสัญญาณทางไฟฟ้า (mV/V) ซึ่งภายในโหลดเซลล์ (Load Cell) จะมีตัว Strain-Gauge จำนวน 4 ตัว อยู่ภายใน ซึ่งเป็นความต้านทานที่จะเปลี่ยนแปลงค่าไปตามแรงกดหรือแรงดึง จัดเรียงในรูปแบบของวงจรบริดจ์ (Bridge Circuit) โดยโหลดเซลล์ (Load Cell) และอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อก (Load Cell Transmitter) มีตัวอย่างดังนี้      ตัวอย่างชนิดของโหลดเซลล์ (Load Cell) และ Digital Load Cell Transmitter อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล (Digital Load Cell Transmitter) IM-G-Series Brand Primus Single Point Load Cell Bending Beam Load Cell Shear Beam Load Cell S Beam Load Cell Load Cell for Compression รูปวงจรบริดจ์ (Bridge Circuit) และสัญลักษณ์แสดงการดึง-การกด ของ Load Cell      จากคุณสมบัติของ Digital Load Cell Transmitter (อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล) ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ทางผู้บรรยายขอยกตัวอย่างการต่อใช้งานของ Digital Load Cell Transmitter (อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล) ร่วมกับ PLC, Digital Indicator และ Recorder ดังนี้      ตัวอย่างการต่อใช้งาน Digital Load Cell Transmitter (อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล) ร่วมกับ PLC      จากตัวอย่างเป็นการต่อใช้งานของ Digital Load Cell Transmitter (อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล) ร่วมกับ PLC Unitronics รุ่น V1040 Touch Screen+HMI เพื่อส่งสัญญาณ Analog ของค่าน้ำหนักที่วัดได้ ณ ปัจจุบัน (Real Time) ไปใช้งานในการเขียนโปรแกรม PLC ต่อไป      ตัวอย่างการต่อใช้งานของ Digital Load Cell Transmitter (อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล) ร่วมกับ Digital Indicator + Recorder      จากตัวอย่างเป็นการต่อใช้งานของ Digital Load Cell Transmitter (อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล) ร่วมกับ Digital Indicator และ Recorder โดยจะทำการแยกสัญญาณ Analog ออกเป็น 2 Channel ต่อเข้ากับ Paperless Recorder ยี่ห้อ TOHO รุ่น TRM-20 Series เพื่อบันทึกค่าน้ำหนักที่วัดได้ และ Digital Indicator ยี่ห้อ Primus รุ่น TIM-94N เพื่อแสดงค่าน้ำหนักที่วัดได้ ณ ปัจจุบัน (Real Time)      ข้อดีของการใช้ Digital Load Cell Transmitter (อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล)      • เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Transmitter) ที่มีหน้าจอแสดงผลในตัวเดียวกัน      • อินพุต-เอาต์พุตแยกอิสระจากกัน (Isolation) ทำให้ไม่เกิดการรบกวนของสัญญาณ      • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง เนื่องจากมีขนาดบาง      • ลดการ Wiring สาย ทำให้ตู้คอนโทรล, ตู้ไฟฟ้า เป็นระเบียบ      • สะดวกในการซ่อมบำรุงและตรวจสอบ      • มี Option ให้เลือกใช้งาน เช่น เลือกสัญญาณ Analog มาตรฐาน 4-20mA, 0-10V ได้สูงสุดถึง 2 ช่องสัญญาณ และ RS-485 MODBUS RTU Protocol      การประยุกต์ใช้งาน Digital Load Cell Transmitter (อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล)      • เครื่องชั่งน้ำหนักหรือเครื่องแสดงค่าน้ำหนัก อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร, อุตสาหกรรมพลาสติก, อุตสาหกรรมยาง, โพลิเมอร์, ยางไฟเบอร์ ฯลฯ      • แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน ต่อใช้งานร่วมกับระบบ PLC, SCADA (DCS), Digital Indicator, Paperless Recorder เป็นต้น      ตัวอย่าง Application การใช้ Digital Load Cell Transmitter (อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกแบบดิจิตอล) ในงานอุตสาหกรรม ส่งสัญญาณเข้าระบบ PLC ด้วยสัญญาณ 4-20mA หรือ RS-485 ชั่งน้ำหนักบนสายพาน เครื่องชั่งน้ำหนักการให้อาหารสัตว์ในฟาร์ม ชั่งน้ำหนักบนสายพานและส่งสัญญาณไปยังระบบ SCADA (DCS) Digital Load Cell Transmitter Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Paperless Recorder Load cell Programmable Logic Controller โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
Pressure Transmitter คืออะไร? และข้อควรระวังในการติดตั้ง Pressure Transmitter

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดความดันหรือวัดแรงดัน (Pressure) ของเหลว รวมไปถึงการวัดความดันของ Pneumatic หรือลมและแก๊ส (Gas) และแปลงสัญญาณทางไฟฟ้าให้ออกมาเป็นสัญญาณมาตรฐาน เช่น 4-20mA, 0-10V เป็นต้น เหมาะสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม เพื่อนำไปแสดงค่าและควบคุมกระบวนการต่าง ๆ      Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์) สามารถวัดได้ทั้งของเหลวหรืออากาศ เช่น แก๊ส, นํ้ามัน, นํ้ามันไฮดรอลิก, น้ำของปั๊มนํ้า, ไอนํ้าในหม้อนํ้า (Boiler) เป็นต้น โดยมีหน่วยที่ใช้ในการวัดเป็น Bar, mbar, psi, Pa, kpa, mmHg เป็นต้น ดังนั้นการเลือกใช้งาน Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์) จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและควรเลือกให้ถูกตามลักษณะการใช้งาน โดยทางเราได้นำเสนอข้อมูลกันไปแล้วในหัวข้อ การเลือกใช้ Pressure Transmitter ให้เหมาะสมกับงาน รวมถึง Pressure ประเภทต่าง ๆ เช่น Pressure Switch, Flush Diaphragm Pressure Transmitter, Melt Pressure Transmitter เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีการนำอุปกรณ์วัดแรงดันและแปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Pressure Transmitter) มาใช้งานวัดแรงดัน (Pressure) กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, อาหารและยา, เคมี, ยานยนต์ เป็นต้น เพื่อวัดและควบคุมแรงดันในระบบต่าง ๆ ในงานอุตสาหกรรม        โดย Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์) สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะการทำงาน ดังนี้ รูปแบบของ Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์)        ประเภทของ Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์)      • Strain Gauge : หลักการทำงาน คือ อาศัยการยืดหดตัวของ Strain Gauge ที่ยึดติดอยู่กับแผ่นไดอะแฟรมและต่อวงจรไปยังวงจรวิทสโตนบริดจ์ (Wheatstone Bridge) เพื่อแปลงความดัน (Pressure) ไปเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า      • Thin Film : เป็นเซ็นเซอร์ลักษณะแผ่นฟิล์มบาง ๆ ที่จะรับแรงกดแล้วแสดงค่าแรงดันออกมา นิยมใช้กับงานที่มีแรงดันต่ำ      • Thick Film : ไดอะแฟรมจะผลิตจากวัสดุ เช่น เซรามิก เหมาะกับงานที่แรงดันสูง มีความแข็งแรงมากกว่าประเภท Thin Film นิยมใช้ในงานไฮดรอลิก        ตัวอย่าง Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์) หรือ อุปกรณ์วัดแรงดันหรือความดัน (Pressure) และแปลงสัญญาณทางด้านเอาต์พุต (Output Signal) ออกมาเป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน เช่น 4-20mA, 0-10VDC   EPI 8287-Series : Pressure Transmitter EPI 8472-Series : Pressure Transmitter NAT 8252-Series : Pressure Transmitter   NSL 8257-Series : Low Pressure Transmitter FPT 8235-Series : Flush Membrane Transmitter P/PS: 900/904/912-Series : Pressure Switch      จากคุณสมบัติและรูปแบบต่าง ๆ ของ Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์) ข้างต้น ผู้บรรยายขอยกตัวอย่างการต่อใช้งานของ Pressure Transmitter รุ่น EPI 8287-Series ยี่ห้อ TRAFAG ต่อใช้งานร่วมกับ Digital Indicator รุ่น TIM-94N ดังนี้      จากรูป เป็นการแสดงการวัดแรงดันของเครื่อง Generator โดยใช้ Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์) รุ่น EPI 8287-Series ยี่ห้อ TRAFAG ร่วมกับเครื่องแสดงผลแบบดิจิตอล Digital Indicator รุ่น TIM-94N เพื่อแสดงค่าแรงดันและ Alarm ในขณะที่มีแรงดันเกินตามค่าที่กำหนดไว้ โดยในการใช้งานอุปกรณ์วัดแรงดันและแปลงสัญญาณทางด้านเอาต์พุตออกมาเป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (4-20mA, 0-10VDC) หรือ Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์) ควรคำนึงถึงการติดตั้ง Pressure Transmitter ด้วยเช่นกัน ซึ่งมีข้อควรระวังดังนี้      ข้อควรระวังในการติดตั้ง Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์)      • ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้ง Pressure Transmitter บริเวณใกล้วาล์วที่มีการเปิด-ปิดแบบทันทีทันใด เพราะบริเวณดังกล่าวอาจทำให้หัวเซ็นเซอร์ของ Pressure Transmitter เสียหาย เนื่องจากเกิดแรงดันหรือแรงกระแทก Dynamic Pressure (Water Hammer)      • หากจำเป็นต้องใช้ Pressure Transmitter ในงานมีมีอุณหภูมิสูงควรต่อร่วมกับหัวเซ็นเซอร์ชนิด Syphon เพื่อทนต่อสภาพอุณหภูมิที่ค่อยข้างสูงได้      • ควรระบุเลือกย่านแรงดันสำหรับเผื่อการใช้งานประมาณ 25-50% เพื่อป้องกันการเสียหายที่เกิดจาก Shock Load      • สำหรับงาน Food Grade แนะนำให้ผู้ใช้งานเลือกวัสดุที่เป็น Stainless Steel 316 เพื่อป้องกันสนิม      ข้อดีของการเลือกใช้ Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์)      • มีย่านการวัดแรงดันที่หลากหลาย ทำให้สามารถเลือกให้เหมาะกับการใช้งานได้ตามความเหมาะสม      • มีรุ่นที่สามารถทนแรงดัน 3 เท่า และ 5 เท่า ของย่านแรงดันการใช้งาน ทำให้สามารถทนแรงดันหรือแรงกระแทก Dynamic Pressure (Water Hammer) ได้      • มีสัญญาณ Output ให้เลือกใช้งานได้ 4-20mA, 0-10VDC เป็นต้น      • ใช้งานง่าย ต่อสัญญาณเข้าร่วมกับอุปกรณ์ได้หลากหลาย เช่น PLC, Controller, Digital Indicator ได้      การนำไปใช้งาน Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์)      • Machine Tools      • Hydraulics      • Water Treatment      • Large Engines      • Shipbuilding      • Generator        ตัวอย่าง Application การประยุกต์ใช้ Pressure Transmitter (เพรสเชอร์ทรานสมิตเตอร์) ในงานอุตสาหกรรม Marine Scrubber Water Treatment Success Story DPS System Ceramics Ink Printer Elevator Systems Industrial Pressure Transmitters Universal Input Digital Indicator With Alarm Unit Digital Indicator Relay Module อุปกรณ์สำหรับรับ-ส่ง สัญญาณ Relay Unit Interface โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การควบคุมและจัดการระบบไฟและน้ำในอาคาร, คอนโด ด้วย Smart Buildings Monitor

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันในยุคดิจิทัลได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาเชื่อมต่อการทำงานเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อควบคุม วิเคราะห์ และสั่งการอัตโนมัติด้วยระบบ IoT (Internet of Things) ในการบริหารจัดการระบบไฟและน้ำในอาคาร, คอนโด อย่างเต็มรูปแบบอย่างล้ำสมัย หรือที่เรียกว่า ระบบบริหารจัดการไฟและน้ำอาคารด้วยเทคโนโลยี Smart Buildings Monitor เพื่อยกระดับความสะดวกสบายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ในการควบคุมการทำงานอุปกรณ์ต่าง ๆ ประหยัดค่าใช้จ่าย และอีกทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย        วันนี้ผู้บรรยายจะขอยกตัวอย่างระบบการควบคุมและจัดการได้อย่างอัตโนมัติผ่านซอฟต์แวร์ (Software) ที่ทำงานควบคู่กับระบบ IoT (Internet of Things) ในหัวข้อ “การควบคุมและจัดการระบบไฟและน้ำภายในอาคาร, คอนโดด้วย Smart Buildings Monitor” โดยมีฟังก์ชั่นการบันทึกข้อและการแสดงผลแจ้งเตือนต่าง ๆ ดังนี้      Smart Buildings Monitor คือ ระบบ Monitor และควบคุมในอาคาร, คอนโดมิเนียม, ที่พักอาศัย  ฯลฯ สามารถดูค่าและบันทึกข้อมูลผ่าน Computer และดูค่า Monitor ผ่านช่องทาง Online ได้ สามารถดูสถานะการทำงานของปั๊มน้ำ, ระดับน้ำในอาคาร, ระบบแสงสว่าง, การเปิด-ปิดประตูหนีไฟ หรือประตูอื่น ๆ, ค่าพลังานไฟฟ้าและปริมาณการใช้น้ำ เพื่อช่วยลดการจดบันทึกรูปแบบเดิมที่อาจทำให้ข้อมูลผิดพลาดได้ สามารถตรวจเช็คระบบไฟฟ้าหรือการทำงานของอุปกรณ์ได้ และเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลระบบ และกรณีระบบเกิดความผิดปกติสามารถแจ้งเตือนผ่านทาง Application Line ได้ สามารถดูข้อมูลย้อนหลังในรูปแบบ Excel ได้ และประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลสถานที่ (ดังตัวอย่างต่อไปนี้) รูปตัวอย่างการควบคุมและจัดการระบบไฟและน้ำภายในอาคาร, คอนโดด้วย Smart Buildings Monitor        จากรูปตัวอย่างการควบคุมและจัดการระบบไฟและน้ำภายในอาคาร, คอนโด ด้วย Smart Buildings Monitor เป็นการใช้ซอฟต์แวร์ (Software) Prisoft ยี่ห้อ Primus ซึ่งเป็น Software Web Server Monitoring System ที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์บน TCP/IP, RS485, RS232 และ LoraWan ได้ โดยจะทำหน้าที่อ่านค่าตัวแปรที่ผู้ใช้ต้องการผ่านระบบสื่อสารและนำมาเก็บข้อมูลใน Database บนเครื่อง Computer เพื่อดูค่า Monitor และจัดการระบบต่าง ๆ อาทิ การ Monitor และจัดการการใช้ Twin Pump Relay สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊ม 2 ตัว (Twin Pump) โดยมี Latching Function สลับการการทำงานของปั๊ม 2 ตัว และ Booster Function สำหรับสั่งปั๊ม 2 ตัวทำงานพร้อมกันในกรณีที่ระดับน้ำลดลงมาก และมีระบบป้องกันไฟตก-ไฟเกิน Over and Under Voltage และ Phase Sequence, Phase Loss ในตัวเดียวกัน, การ Monitor และวัดค่าพลังงานไฟฟ้า, แรงดันไฟฟ้า (V), กระแสไฟฟ้า (A), กําลังไฟฟ้า (kW), พลังงานไฟฟ้า (kWh) และวัดการใช้ปริมาณน้ำ (รับ Pulse ของ Water Meter) แบบไร้สาย LoRaWAN โดยสามารถส่งข้อมูลได้ไกล 500 M. (สําหรับในอาคาร) และ 1000 M. (สําหรับนอกอาคาร) นอกจากนี้ยังสามารถ Monitor ดูสถานะการทำงานของปั๊มน้ำ, ระดับน้ำในอาคาร, ระบบแสงสว่าง, การเปิด-ปิดประตูหนีไฟ หรือประตูอื่น ๆ ได้ โดยมีอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊มและมิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้า และวัดการใช้ปริมาณน้ำ แบบไร้สาย LoRaWAN ดังนี้   Twin Pump Relay สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊ม 2 ตัว PM-021N-3-3 ยี่ห้อ Primus มิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้า และวัดการใช้ปริมาณน้ำ แบบไร้สาย LoRaWAN KM-24-L ยี่ห้อ Primus        ตัวอย่างรูปแบบซอฟต์แวร์ (Software) Prisoft ยี่ห้อ Primus      สรุปข้อดี การควบคุมและจัดการระบบไฟและน้ำภายในอาคาร, คอนโด ด้วย Smart Buildings Monitor ได้ดังนี้      • สามารถ Monitor และควบคุมในอาคาร, คอนโดมิเนียม, ที่พักอาศัย ฯลฯ สามารถดูค่าและบันทึกข้อมูลผ่าน Computer และดูค่า Monitor ผ่านช่องทาง Online ได้      • สามารถดูสถานะการทำงานของปั๊มน้ำ, ระดับน้ำในอาคาร, ระบบแสงสว่าง, การเปิด-ปิดประตูหนีไฟ หรือประตูอื่น ๆ, ค่าพลังานไฟฟ้า และปริมาณการใช้น้ำ      • ช่วยลดการจดบันทึกที่ทำให้ข้อมูลผิดพลาดได้      • สามารถตรวจเช็คระบบไฟฟ้าหรือการทำงานของอุปกรณ์ได้      • เพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลระบบ      • กรณีระบบเกิดความผิดปกติสามารถแจ้งเตือนผ่านทาง Line ได้      • สามารถดูข้อมูลย้อนหลังในรูปแบบ Excel ได้      • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลสถานที่        Smart Buildings Monitor เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภทดังนี้      • คอนโดมิเนียม      • อาคาร, สำนักงาน      • โรงงาน      • ที่พักอาศัย ฯลฯ        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   คอนโดมิเนียม อาคาร, สำนักงาน โรงงาน   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
แนะนำรางเดินสายไฟในอาคารแบบลอย

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันการค้นหาที่พักอาศัย อาทิ คอนโดมิเนียม, ทาวน์โฮม ฯลฯ ให้ตรงกับความต้องการเป็นหัวใจสำคัญที่ต้องมีความพิถีพิถันในทุกขั้นตอน รวมถึงการสร้างบ้านให้ออกมาสมบูรณ์แบบเจ้าของบ้านจำเป็นต้องใส่ใจในทุกรายละเอียด ตั้งแต่การดีไซน์ภายนอกไปจนถึงจุดเล็กจุดน้อยภายในบ้าน โดยเฉพาะงานระบบไฟที่นอกจากจะต้องเรียบร้อยเพื่อความปลอดภัยของบ้าน, คอนโดมิเนียมและผู้อยู่อาศัยแล้ว รูปแบบงานเดินสายไฟภายในบ้านหรือคอนโดมิเนียม ยังมีส่วนเสริมความสวยงามและความปลอดภัยภายในบ้านอีกด้วย ซึ่งทางเลือกในการเดินสายไฟสำหรับคนสร้างบ้านจะมีให้เลือก 2 รูปแบบคือ “เดินสายไฟแบบฝังผนัง และ เดินสายไฟแบบเดินลอย”  ซึ่งมีความหมายและข้อดีแตกต่างกันดังนี้      การเดินสายไฟแบบฝัง คือ การเดินสายไฟแบบฝังผนัง เป็นการเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟ (Electrical Conduit) ที่ฝังไว้ในผนังหรือฝ้าเพดานให้บังเเนวท่อร้อยสายไฟเอาไว้ ผนังบ้านจะดูเรียบไปทั้งผืนไม่มีแนวสายไฟ ไม่มีท่อร้อยสายไฟยึดบนผนังให้เห็น      การเดินสายไฟแบบลอย คือ การเดินสายไฟให้เลื้อยแนบติดกับผนัง มี 2 แบบหลัก ๆ คือ แบบตีกิ๊บและแบบร้อยท่อ วิธีตีกิ๊บจะเดินสายไฟแบบเปิดให้เห็นสายไฟเป็นเส้น ๆ แนบไปกับผนัง สายไฟหักงอไปตามเสา ตามคาน แล้วเชื่อมต่อไปยังเต้ารับและเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนอีกรูปแบบแบบคือ การเดินสายไฟแบบร้อยสายผ่านท่อพีวีซีหรือท่อเหล็กแบบยึดผนัง (ไม่ได้ซ่อนฝังไว้ใต้ผนัง)        จากข้อมูลความหมายของการเดินสายไฟแบบฝังและการเดินสายไฟแบบเดินลอย โดยในวันนี้ผู้บรรยายจะขอนำเสนอการเดินสายไฟแบบเดินลอย ในหัวข้อ "แนะนำรางเดินสายไฟในอาคารแบบลอย" ซึ่งปัจจุบันได้มีความนิยมกันเป็นอย่างมากสำหรับงานอาคาร เช่น คอนโดมิเนียม, ทาวน์โฮม เป็นต้น เนื่องจากการเดินสายไฟแบบลอยจะใช้ระยะเวลาติดตั้งและงบประมาณน้อย เพราะขั้นตอนติดตั้งไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ยึดและเก็บสายไฟเข้าในรางก็เรียบร้อย หากเกิดการชำรุดเสียหายก็สามารถตรวจเช็ค ปรับปรุง ซ่อมแซม เพิ่ม-ลดสายไฟภายหลังได้สะดวก ไม่ต้องรื้อผนัง  ดังตัวอย่างต่อไปนี้        ตัวอย่างการเดินสายไฟแบบลอยภายในอาคาร, คอนโดมิเนียม       จากรูปตัวอย่างการเดินสายไฟแบบลอยภายในอาคาร, คอนโดมิเนียม ประกอบด้วยอุปกรณ์เสริมของรางเดินสายไฟ ดังนี้    No. Picture Model Name Description 1 Pabio IP65 ตู้คอนซูมเมอร์ ตู้คอนซูมเมอร์, ตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้า 2 LAN ฝาปิดท้ายแบบลอย ฝาปิดสำหรับปิดท้ายของรางกันฝุ่นหรือแมลงเข้าในราง 3 NTAN กล่องรวมสายไฟ กล่องรวมสายไฟ สำหรับทำเป็นทางแยก 2 ทาง, 3 ทาง, 4 ทาง ได้ 4 SDN กล่องรวมสัญญาณพร้อมตัวคั่น กล่องรวมสัญญาณพร้อมตัวคั่นสายไฟ มีช่องสำหรับแบบโซนของสายเพื่อความเป็นระเบียบในกล่อง 5 SEP-N ตัวแยกสายในราง ใช้เพื่อแยกสายให้ดูเป็นระเบียบ 6 CS-G 40 ฝาปิดตัวกั้น ฝาปิดใช้ปิดร่วมกับตัวแยกสายในรางเพื่อปิดแบ่งแยกสาย 7 CSA-3N ตัวครอบกล่องสวิตช์ กล่องครอบสวิตช์ใช้ร่วมกับกล่องสวิตช์ทั่วไปได้ 8 NEAV มุมด้านนอก ข้องอมุมด้านนอกใช้ร่วมกับราง 9 NIAV มุมด้านใน ข้องอมุมด้านในใช้ร่วมกับราง 10 NPAN  มุม 90 องศา มุม 90 องศา ใช้ร่วมกับราง 11 SA-MN เข็มขัดรวบสาย เข็มขัดรวบสายใช้รวบสายในรางเพื่อความสวยงาม 12 SAN-3 กล่องใส่อุปกรณ์ กล่องใส่สวิตช์และเต้ารับสามารถใช้กับหน้ากากที่มีขายทั่วไปได้        ข้อดีของการใช้รางเดินสายไฟในอาคารแบบลอย      • เมื่อเกิดปัญหาของระบบไฟฟ้าสามารถซ่อมแซม ปรับปรุง แก้ไขได้ง่าย      • ประหยัดเวลา ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง เมื่อเทียบกับชนิดฝังท่อ      • มีความสวยงามเข้ากับอาคาร      • เหมาะสำหรับงานเดินไฟในออฟฟิศหรืออาคารคอนโดที่มีการรีโนเวทใหม่      • มีอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ให้เลือก เช่น ฉากเข้ามุมนอก (NEAV), ฉากเข้ามุมใน (NIAV), ข้องอ 45 องศา (NPAN), กล่องพักสาย (NTAN), กล่องใช้กับเต้ารับหรือสวิตช์ (SAN-3), ฉากกั้นในราง (SEP-N)       การใช้รางเดินสายไฟในอาคารแบบลอยเหมาะสำหรับ      • คอนโดมิเนียม, โรงแรม, อพาร์ทเมนท์, ที่พักอาศัย, อาคาร, สำนักงาน ฯลฯ      นอกจากนี้ยังมีรางเก็บสายไฟ (Wiring Duct) ประเภทที่ใช้สำหรับเก็บสายไฟประเภทต่าง ๆ เช่น สายไฟฟ้า, สาย LAN, สายใยแก้วนำแสง, สายโทรศัพท์ เป็นต้น เพื่อเก็บสายไฟให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สำหรับงานเดินสายไฟในตู้คอนโทรล (MDB), ตู้ไฟฟ้า หรือการเดินสายไฟภายในอาคาร ด้วยการใช้งานที่เหมาะสมกับการเก็บสายทุกประเภท สามารถเลือกใช้งานได้ทุกพื้นที่ มีความทนทานและมีความยืดหยุ่นสูง พร้อมทั้งลักษณะที่หลากหลายให้เลือกใช้งานได้ตามความต้องการ ดังนี้   Wiring Duct แบบโปร่งพร้อมฝาปิด (Cover) เหมาะสำหรับงานเดินสายไฟงานคอนโทรลในตู้ MDB Wiring Duct แบบทึบพร้อมฝาปิด (Cover) เหมาะสำหรับงานเก็บสายไฟเพื่อป้องกันฝุ่นหรือน้ำ, น้ำมัน เป็นต้น Wiring Duct แบบทึบใช้ร่วมกับ (Cable Gland) เหมาะสำหรับงานเดินสาย ที่ใช้ร่วมกับท่อสายไฟหรืองานลิฟต์ที่ต้องการแยกสายไฟในแต่ละชั้น        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน     โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
เทคนิคการใช้ Function Timer ใน PLC Touch Screen

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      PLC (Programmable Logic Controller) พีแอลซี อุปกรณ์สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องจักรแบบอัตโนมัติที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม โดย PLC มีหน้าจอแสดงผลรูปแบบต่าง ๆ เช่น PLC จอแสดงผลชนิดตัวอักษร, PLC จอแสดงผลชนิด TFT ความละเอียดสี 65,536สี+LED BACKLIGHT, PLC จอแสดงผลแบบ Touch Screen ที่ถูกออกแบบให้แสดงผลเป็นรูปภาพ (Picture), กราฟิก (Graphics), ตัวเลข (Number) และกราฟเส้น (Line Graph) เป็นต้น มีขนาดจอตั้งแต่ 3.5” - 15.6” (Unitronics) ซึ่งแต่ละรุ่นก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป โดยในวันนี้เราจะขอแนะนำ PLC แบบหน้าจอสัมผัส (Touch Screen) แบบโปรแกรมได้ สามารถทำงานได้ทั้งการรับและการแสดงผลข้อมูล ซึ่งในส่วนของการใช้งานหน้าจอทัชสกรีน (Touch Screen) ร่วมกับ PLC มีส่วนประกอบหลัก ๆ ด้วยกัน 3 ส่วน คือ ตัว Touch Screen, Cable Link และส่วนที่เป็น Software นั่นเอง       PLC หน้าจอแบบ Touch Screen เป็นการทำงานในรูปแบบการส่งและรับข้อมูลของ Register ต่าง ๆ ใน PLC ไม่ว่าจะเป็น Input, Relay หรือ Output โดยมาแสดงในรูปแบบของกราฟิก, รูปภาพ, ค่าตัวเลข, ค่าตัวอักษร หรืออื่น ๆ บนหน้าจอ Touch Screen ซึ่ง Register เหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กับ Ladder Diagram ที่ได้โปรแกรมเอาไว้ใน PLC เช่น การโปรแกรมออกแบบ Switch ไว้บนหน้าจอ Touch Screen และกำหนดค่า Register เมื่อกดปุ่มดังกล่าวในหน้าจอ Touch Screen จะส่งผลให้ Register ใน PLC ทำงานด้วย โดย Touch Screen PLC มีรูปแบบดังนี้ PLC Touch Screen SAMBA V570 COLOR OPLC 1040 COLOR OPLC V280 GRAPHIC/TOUCH OPLC V530 GRAPHIC/TOUCH OPLC UNISTREAM COLOR OPLC      จากรูปตารางแสดงรุ่นต่าง ๆ ของ PLC Touch Screen ยี่ห้อ Unitronics วันนี้ผู้บรรยายจะขอยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Function Timer ที่มีอยู่ในตัวของ PLC Touch Screen ในหัวข้อ “เทคนิคการใช้ Function Timer ใน PLC Touch Screen ว่ามีข้อดีอย่างไร” และตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานอย่างไร ดังตัวอย่างต่อไปนี้      ตัวอย่างที่ 1 : การเขียน Ladder Diagram การควบคุมเวลาการเปิด-ปิดไฟในอาคารสำหนักงานด้วย Function Timer ร่วมกับหน้าจอ Touch Screen V1040      จากรูปตัวอย่างที่ 1 : เป็นการเขียน Leader โดยใช้ Timer 2 ตัวในการเปิดและปิดปั๊มน้ำ โดยสามารถตั้งเวลาเปิด-ปิดที่หน้าจอ Touch Screen ได้เพียงการกดปุ่ม Start ปั๊มน้ำตามเวลาที่ตั้ง และเมื่อครบเวลาที่ตั้งอีกตัวก็จะสั่งปิดปั๊ม        ตัวอย่างที่ 2 : การประยุกต์ใช้งานการควบคุมเวลาการเปิด-ปิดไฟในอาคารสำหนักงานด้วย Function Timer ร่วมกับหน้าจอ Touch Screen V1040      จากรูปตัวอย่างที่ 2 : เป็นภาพตัวอยากการนำ PLC และ HMI มาใช้ควบคุมปั้มน้ำในงานอาหารและโรงงานอุตสาหกรรม โดยควบคุมการทำงานแบบ TIME ON TIME OFF โดยใช้ TIMER ภายใน PLC เป็นตัวสั่งงาน และยังสามารถดูการทำงานผ่านมือถือด้วยระบบ CLOUD MONITORING ได้      ข้อดี “เทคนิคการใช้ Function Timer ใน PLC Touch Screen” ดังนี้      • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งเนื่องจาก PLC Touch Screen มี Function Timer ในตัว      • ลดความผิดพลาดในการจดบันทึกของผู้ปฏิบัติงาน สามารถดู Report ได้      • สามารถจำค่าที่เซตไว้ได้ในกรณีที่ไฟดับ      • ค่าของ TIMER ของ PLC อ้างอิงจากฐานเวลาของนาฬิกา  จึงง่ายต่อการเขียนและตั้งค่า      • ในกรณีงานที่มีการใช้งานแบบ RTC (Real Time Clock) สามารถนำมาใช้งานได้โดยง่าย       เทคนิคการใช้ Function Timer ใน PLC Touch Screen เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภท ดังนี้      • โรงงาน      • อาคาร, สำนักงาน      • ฟาร์ม      • เกษตรกรรม      • งานระบบบำบัดน้ำเสีย ฯลฯ      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC   ระบบควบคุมปั้มน้ำ ควบคุมรอบ Inverter ระบบบำบัดน้ำเสีย   Switching Power Supply Relay Module อุปกรณ์สำหรับรับ-ส่ง สัญญาณ Relay Unit Interface Signal Transmitter I/O Modules โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
แนะนำการ Calibrate อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (Digital Load Cell Transmitter)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Signal Transmitter) คือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณอะนาล็อกมาตรฐาน (Analog Signal) เช่น 4-20mA, 0-10V เป็นต้น ที่สามารถรับอินพุตประเภท Load Cell, Strain-Gauge, AC/DC Current, AC/DC Voltage, Resistance, Frequency, RPM และ Multi Input for Thermocouple, PT100 (RTD) ฯลฯ โดยที่อินพุต (Input) และเอาต์พุต (Output) แยกอิสระจากกัน (Isolation) จึงทำให้ไม่เกิดการรบกวนสัญญาณต่อกัน และหากสัญญาณด้านอินพุต (Input) เกิดการช็อตก็จะไม่มีผลกระทบต่อสัญญาณด้านเอาต์พุต (Output) ซึ่งสัญญาณเหล่านี้ในบางครั้งไม่สามารถนำมาใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เครื่องมือวัดได้โดยตรง เนื่องจากเป็นสัญญาณที่ต่างชนิดกันของเครื่องมือวัดแต่ละตัว ดังนั้นจึงได้มีการกำหนดมาตรฐานของสัญญาณอนาล็อกขึ้น (4-20mA, 0-10VDC) เพื่อให้สามารถใชังานร่วมกับอุปกรณ์ประเภททรานสดิวเซอร์ (Transducer) หรืออุปกรณ์เครื่องมือวัดและควบคุมอื่น ๆ ได้ เช่น เซ็นเซอร์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter), เซ็นเซอร์วัดความชื้นและอุณหภูมิ (Humidity & Temperature Transmitter), เซ็นเซอร์วัดระดับแบบต่อเนื่อง (Level Sensor / Level Transmitter), เครื่องแสดงผล (Indicator), เครื่องควบคุม (Controller) หรือ PLC เป็นต้น โดยการนำเอาสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานทางด้านเอาต์พุต (Output Signal) ที่ได้จากอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Signal Transmitter) มาแสดงผลหรือควบคุมของระบบในโรงงานอุตสาหกรรม โดยในส่วนการนำไปใช้งานของ Signal Transmitter นั้น ท่านผู้อ่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในบทความที่ผ่านมาของเราได้ ในหัวข้อ “การนำไปใช้งานของ Signal Transmitter และการต่อใช้งาน Signal Transmitter แบบต่าง ๆ”      โดยในวันนี้ผู้บรรยายขอยกตัวอย่างอุปกรณ์แปลงสัญญาณน้ำหนักหรือแรงดันจาก Load Cell โดยรับอินพุตจาก Strain-Gauge เช่น 1.5, 2, 2.5, 3, 3.3 mV/V by Excite Voltage 5Vdc หรือ 10Vdc ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (Analog Signal) 4-20mA, 0-10V รุ่น IM-G Series ยี่ห้อ Primus ที่มี Display 7-Segment แสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Load Cell Transmitter) ง่ายต่อการใช้งาน ดังนี้ Digital Load Cell Transmitter (IM-G-Series) อธิบายสัญลักษณ์ของ Display อุปกรณ์แปลงสัญญาณน้ำหนัก หรือแรงดันจาก Load Cell ให้เป็นสัญญาณอะนาล็อกมาตรฐานแบบดิจิตอล ที่มี Display แสดงผลง่ายต่อการทำางาน      อุปกรณ์แปลงสัญญาณน้ำหนักหรือแรงดันจาก Load Cell ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานแบบดิจิตอล (Digital Load Cell Transmitter) ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแรงดันไฟ DC จากวงจรโหลดเซลล์ (Load Cell) หรือวงจรบริดจ์ (Bridge Circuit) เป็นสัญญาณไฟฟ้า DCV (0-10V) หรือ DCmA (4-20mA) โดยเซ็นเซอร์โหลดเซลล์ (Load Cell) จะถูกแปลงสัญญาณทางกลเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว โดยจะถูกรับจากแรงที่มากระทำ อาทิ แรงกด (Compression), แรงดึง (Force) หรือน้ำหนัก (Weight) ให้เปลี่ยนแปลงออกมาในรูปแบบของสัญญาณทางไฟฟ้า (mV/V) ซึ่งภายในโหลดเซลล์ (Load Cell) เกือบ 80% นั้น จะมีตัว Strain-Gauge จำนวน 4 ตัว อยู่ภายในซึ่งเป็นความต้านทานที่จะเปลี่ยนแปลงค่าไปตามแรงกดหรือแรงดึง โดยจัดเรียงในรูปแบบของวงจรบริดจ์ (Bridge Circuit) ดังรูป      ตัวอย่างวงจรของ Digital Load Cell Transmitter (IM-G-Series)      ซึ่งโดยปกติตัว Load Cell Transmitter จะมีทั้งรูปแบบของปุ่มปรับหมุน หรือแบบ Dip Switch เพื่อนำสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (4-20mA , 0-10VDC) ทางด้านเอาต์พุตมาต่อใช้งานร่วมกับจอแสดงผล (Indicator) หรือเครื่องควบคุม (Controller) และ Load Cell Transmitter แสดงผลที่หน้าจอแบบดิจิตอล       โดยในวันนี้ผู้บรรยายจะขอแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับการ Calibrate Digital Load Cell Transmitter โดยยกตัวอย่างอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน หรือโหลดเซลล์ทรานสมิตเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Load Cell Transmitter) รุ่น IM-G Series ยี่ห้อ Primus ในหัวข้อ “แนะนำการ Calibrate อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (Digital Load Cell Transmitter)” ว่ามีเทคนิควิธการ Calibrate อย่างไร? เพื่อให้ค่าสัญญาณ Output มีความแม่นยำ โดย 2 ตัวอย่างดังนี้      1. Calibrate by Key Sensor Rating (mV)          การ Calibrate ค่าน้ำหนักในการชั่ง โดยกำหนดค่า mV ได้ 2 ตำแหน่ง คือ จุดเริ่มต้น (ไม่มีโหลดหรือไม่มีน้ำหนัก) และจุดสุดท้าย (มีโหลดสูงสุดหรือน้ำหนักสูงสุด)      2. Calibrate by Load          การ Calibrate ค่าน้ำหนักในการชั่ง โดยใช้โหลดจริงหรือน้ำหนักจริงในการ Calibrate สามารถ Calibrate ละเอียดได้สูงสุดถึง 8 ตำแหน่ง      ตัวอย่างที่ 1 การต่อใช้งาน Load Cell และการ Calibrate by Key Sensor Rating (mV) (Digital Load Cell Transmitter)      จากรูปตัวอย่างที่ 1 : การ Calibrate ค่าน้ำหนักในการชั่ง โดยกำหนดค่า mV ได้ 2 ตำแหน่ง คือ จุดเริ่มต้น (ไม่มีโหลดหรือไม่มีน้ำหนัก) โดยกำหนด 0.000mV และจุดสุดท้าย (มีโหลดสูงสุดหรือน้ำหนักสูงสุด) 20.000mV (ดังรูปที่ 1)      รูปที่ 1         มาทำความเข้าใจความหมายของสัญญาณโหลดเซลล์ (Load Cell) กันก่อนนะครับ         หากจ่ายแรงดัน 10V. ให้กับโหลดเซลล์ที่มี Rated Output 2 mV/V ที่ Full load         สมมติว่าเป็น 100 กิโลกรัม         ดังนั้นเมื่อมีแรงกระทำต่อโหลดเซลล์ที่น้ำหนัก 100 กิโลกรัม สัญญาณที่ออกมาจะได้เท่ากับ 20 mV         Excitation x mV = mV/V ที่ Full load      ตัวอย่างที่ 2 การต่อใช้งาน Load Cell และการ Calibrate by Load (Digital Load Cell Transmitter)      จากรูปตัวอย่างที่ 2 : การ Calibrate ค่าน้ำหนักในการชั่ง ใช้โหลดจริงหรือน้ำหนักจริง โดยการ Calibrate 3 ตำแหน่ง           Calibrate จุดเริ่มต้น (ไม่มีน้ำหนัก) คือ 0 kg           Calibrate จุดที่ 1 (น้ำหนัก 20 kg)           Calibrate จุดที่ 2 (น้ำหนัก 40 kg)           Calibrate จุดที่ 3 (น้ำหนัก 60 kg) เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวัดค่าน้ำหนัก (ดังรูปที่ 2)      รูปที่ 2      จากการแนะนำการ Calibrate อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (Digital Load Cell Transmitter) สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้      อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (Load Cell Transmitter)      • ใช้งานร่วมกับ PLC      • ใช้งานร่วมกับ Digital Indicator      • ใช้งานร่วมกับระบบ DCS      • ใช้งานร่วมกับระบบ SCADA      อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (Digital Load Cell Transmitter) เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภท ดังนี้      • เครื่องชั่งน้ำหนักหรือเครื่องแสดงค่าน้ำหนัก, อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร, อุตสาหกรรมพลาสติก, อุตสาหกรรมยาง, โพลิเมอร์, ยางไฟเบอร์ ฯลฯ    ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   เครื่องชั่งน้ำหนักหรือเครื่องแสดงค่าน้ำหนัก อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร/ชั่งน้ำหนักอาหาร     โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ลดปัญหาชิ้นงานเสียหายด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ในอุตสาหกรรมฉีดหรือขึ้นรูปพลาสติกต่าง ๆ ในปัจจุบัน มักมีการติดตั้งใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่หลักสิบตัวไปจนถึงเป็นร้อยตัวต่อเครื่อง เพื่อทำหน้าที่ให้ความร้อนแก่ชิ้นงาน และทางผู้ใช้งานย่อมเคยเจอเหตุการณ์ที่ชิ้นงานที่ผลิตออกมาไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการโดยผู้ใช้งานเองก็ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะมาจากอุณหภูมิที่ไม่เพียงพอของฮีตเตอร์ (Heater) อันเนื่องมาจากฮีตเตอร์ (Heater) อาจมีการชำรุด ทำให้ไม่สามารถทำอุณหภูมิได้ตามที่ต้องการ และกว่าทางผู้ใช้งานจะทราบว่าฮีตเตอร์ (Heater) เกิดการชำรุดหรือฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) นั้น อาจทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหายไปแล้ว ส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายหรือเสียเวลาในการตรวจหาว่าฮีตเตอร์ (Heater) ตัวไหนขาดอีกด้วย และยังมีสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) โดยสรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้      1. การจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสม เช่น ฮีตเตอร์ (Heater) 220V จ่ายแรงดัน 380V ทำให้เสียหาย      2. กำลังวัตต์ที่ไม่เหมาะสมกับขนาดฮีตเตอร์ เช่น ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) ที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 5W/CM2 เป็นต้น      3. การเลือกใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสมกับงาน เช่น ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) นำไปใช้งานกับน้ำที่มีสารเคมี แต่เลือกใช้วัสดุที่ไม่สามารถทนต่อสารเคมีได้ สแตนเลส SUS304 เป็นต้น      4. คราบตะกรันติดที่ท่อฮีตเตอร์ เช่น ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) ที่สะสม ถ้าไม่หมั่นทำความสะอาดจะทำให้การถ่ายเทความร้อนไม่ดี ทำให้ฮีตเตอร์ทำงานหนักขึ้น      5. อุปกรณ์ควบคุม เช่น Temperature Controller หรือ Thermostat ไม่ตัดการทำงาน ทำให้ฮีตเตอร์ (Heater) ทำงานตลอดเวลา      ดังนั้นทางผู้บรรยายจึงขอแนะนำอุปกรณ์ที่จะช่วยทางผู้ใช้งานประหยัดเวลาในการตรวจเช็ค อีกทั้งยังสามารถป้องกันและลดปัญหาชิ้นงานเสียหายได้อีกด้วย คือ อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาดโดยเฉพาะ เพื่อแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงความผิดปกติของฮีตเตอร์ (Heater) ก่อนที่จะทำให้สินค้าหรือไลน์การผลิตเกิดความเสียหายเกิดขึ้น (ดังรูป) อุปกรณ์สำหรับเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) Model : CM-005N-4CH เครื่องแสดงผลค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Digital Monitor For Heater Break Alarm) Model : CM-005DN      ข้อดีของการใช้อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm)      • ลดความเสียหายของสินค้าหรือชิ้นงานอันเนื่องมาจากฮีตเตอร์ขาด (Heater Break)      • ง่ายต่อการซ่อมบำรุงรักษา เนื่องจากทราบตำแหน่งฮีตเตอร์ (Heater) ที่เสียหายชัดเจน      • ป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อฮีตเตอร์ (Heater) ตัวอื่น ๆ ในเครื่องเดียวกัน ทำงานหนักชดเชยแทนตัวที่เสียหาย      • เข้าถึงหน้างานได้รวดเร็ว เพื่อลดความเสียหายของสินค้าหรือชิ้นงาน อันเนื่องมาจากฮีตเตอร์ขาด (Heater Break)      • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงาน      • ประหยัดเวลาในการตรวจเช็คกรณีที่เกิดฮีตเตอร์ (Heater) ขาด หรือ Short Circuit เพราะสามารถดูได้จาก LED ที่กระพริบ หรือดูจาก Monitor ได้เลย      • Monitor และ Record ข้อมูลผ่าน MODBUS RTU RS-485 ได้      • ไม่ต้องต่อร่วมกับ CT (Current Transfomer) ภายนอก ทำให้ประหยัดเนื้อที่ในตู้ได้      โดยในวันนี้ผู้บรรยายจะขอยกตัวอย่าง วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH ต่อใช้งานร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005D (Digital Monitor For Heater Break Alarm) เพื่อแสดงค่ากระแสของฮีตเตอร์ (Heater) กับเครื่องเทอร์โมฟอร์มพลาสติก และการใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH ต่อใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ในงานห้องอบสี ดังรูปตัวอย่าง      ตัวอย่างที่ 1 : ยกตัวอย่างวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH ต่อร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005D (Digital Monitor For Heater Break Alarm) กับ เครื่องเทอร์โมฟอร์มพลาสติก      จากรูป ตัวอย่างที่ 1 วิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH ต่อร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005DN (Digital Monitor For Heater Break Alarm) กับเครื่องเทอร์โมฟอร์มพลาสติก โดยต่อใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH เพื่อเช็คฮีตเตอร์ (Heater) จำนวน 20 ตัว โดยแบ่งเป็นฮีตเตอร์ (Heater) จำนวน 5 ตัว ใน 1 ชุดการคอนโทรล ทั้งหมด 4 ชุดคอนโทรล และต่อร่วมกับเครื่องแสดงผล รุ่น CM-005DN (Digital Monitor For Heater Break Alarm) สำหรับตั้งค่ากระแส Heater Break โดยจะตั้งค่าให้ต่ำกว่าค่ากระแสจริงที่ฮีตเตอร์ทั้ง 5 ตัวที่ใช้งาน หากเกิดความผิดปกติฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดตัวนึงในชุดนั้นขาด อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาดรุ่น CM-005N-4CH (Heater Break Alarm) ก็จะแจ้งเตือน Alarm ทันที โดยที่ไฟ Warning Light รุ่น TLW ก็จะติด พร้อมทั้งที่เครื่องแสดงผล CM-005DN จะโชว์สถานะและตำแหน่งที่ฮีตเตอร์เกิดผิดปกติ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทราบและเข้าตรวจสอบได้ทันที      ตัวอย่างที่ 2 : ยกตัวอย่างวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH ต่อใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ในงานห้องอบสี      จากรูป ตัวอย่างที่ 2 ยกตัวอย่างวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH ต่อใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ในงานห้องอบสี โดยต่อใช้งานอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH เพื่อเช็คฮีตเตอร์ (Heater) จำนวน 40 ตัว โดยแบ่งเป็นฮีตเตอร์ (Heater) จำนวน 20 ตัว ต่อ 1 ชุดการคอนโทรล ทั้งหมด 2 ชุดคอนโทรล โดยใน 1 ชุดการคอนโทรล จะทำการตรวจเช็คฮีตเตอร์ (Heater) 2 Group (1 Group = 10 Heater) และต่อใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ สำหรับตั้งค่ากระแส Heater Break พร้อมทั้งดูสถานะต่าง ๆ ของฮีตเตอร์ โดยจะตั้งค่ากระแส Heater Break ให้ต่ำกว่าค่ากระแสจริงที่ฮีตเตอร์ทั้ง 10 ตัวใช้งาน เมื่อเกิดความผิดปกติกับฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดตัวนึงในชุดนั้นขาด อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ขาดรุ่น CM-005N-4CH (Heater Break Alarm) ก็จะแจ้งเตือน Alarm ทันที โดยที่ไฟ Warning Light รุ่น TLW ก็จะติด พร้อมทั้งที่หน้า Software จะโชว์สถานะและตำแหน่งที่ฮีตเตอร์เกิดผิดปกติ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทราบและเข้าตรวจสอบได้ทันที      จากตัวอย่างข้างต้น ในการยกตัวอย่างวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH ทั้งการต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์แสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) รุ่น CM-005DN โดยอุปกรณ์แสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) รุ่น CM-005DN จะสามารถแสดงค่ากระแสและสถานะของฮีตเตอร์ (Heater) แต่ละตัวได้สูงสุดถึง 8 ตัว (ต่อเข้ากับ CM-005N-4CH 2 ตัว) และวิธีเช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break) ด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH ต่อใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากกับเครื่องจักรที่มีการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) หลาย Zone เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะถ้าฮีตเตอร์ (Heater) เส้นใดเส้นหนึ่งขาดโดยที่ผู้ปฎิบัติงานไม่รู้จะทำให้ชิ้นงานเสียหายได้ ดังนั้นในวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นสำหรับการเช็คฮีตเตอร์ขาดนั้น หวังว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับผู้ใช้งานได้ไม่มากก็น้อย และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานฮีตเตอร์ (Heater) นั้น การเลือกใช้อุปกรณ์ต่อร่วมก็สำคัญเช่นกัน เช่น Temperature Controller, Solid State Relay, Temperature Sensor เป็นต้น      ดังนั้น จากที่ผู้บรรยายกล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปข้อดีของการลดปัญหาชิ้นงานเสียหายด้วยอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) ดังนี้      1. ป้องกันชิ้นงานเสียหายอันเนื่องจากฮีตเตอร์ชำรุด ในกรณีที่ผู้ใช้งานฮีตเตอร์จำนวนหลายตัวในเครื่องเดียวในการให้ความร้อนกับชิ้นงาน      2. เพิ่มอายุการใช้งานของฮีตเตอร์ เช่น ในกรณีที่มีฮีตเตอร์ (Heater) ตัวใดตัวหนึ่งขาด คุณจะไม่สามารถทราบเลยว่ามีฮีตเตอร์ (Heater) ขาดเกิดขึ้น เพราะเนื่องจากอุณหภูมิที่ได้นั้นยังมีค่าเท่าเดิม แต่ผลลัพธ์คือการทำงานของฮีตเตอร์ตัวที่ใช้ได้มีการทำงานหนักขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อายุการใช้งานของฮีตเตอร์ (Heater) สั้นลง      3. ง่ายต่อการ Maintenance เพราะอุปกรณ์เช็คฮีตเตอร์ขาด (Heater Break Alarm) รุ่น CM-005N-4CH จะมี LED และ Alarm แสดงสถานะการขาดของฮีตเตอร์ (Heater) ทำให้ช่างทำการซ่อมหรือเปลี่ยนฮีตเตอร์ (Heater)ได้ทันที      4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงาน ไม่ต้องเสียเวลาในการตรวจเช็คความผิดปกติของฮีตเตอร์ (Heater)ให้ยุ่งยาก      ข้อแนะนำ : การออกแบบฮีตเตอร์ (Heater) และการเลือกประเภทของฮีตเตอร์ (Heater) ให้เหมาะสมกับลักษณะงานในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ทำให้ช่วยลดปัญหาชิ้นงานเกิดความเสียหายได้ เช่น การใช้ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่เครื่องฉีดพลาสติก, ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater) เพื่อให้ความร้อนกับแผ่นแม่พิมพ์, ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater) เพื่อต้มน้ำมัน-ของเหลวหรือต้มสารเคมี, ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater) เพื่อให้ความร้อนแก่แม่พิมพ์ในการอุ่นของเหลว-อุ่นกาว, ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) เพื่อให้ความร้อนในการอุ่นของเหลว, ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เพื่อให้ความร้อนกับอากาศในการอบแห้ง-ไล่ความชื้น, ฮีตเตอร์อินฟราเรด (Infrared Heater) ให้ความร้อนโดยการแผ่รังสี งานอบสี, อบขนม, อบอาหาร ฯลฯ โดยฮีตเตอร์ (Heater) สามารถนำมาใช้งานร่วมกับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) เช่น Thermocouple, RTD Pt100, เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) หรือ Thermostat, Solid State Relay เป็นต้น      อุปกรณ์แจ้งเตือนฮีตเตอร์ (Heater Break Alarm) เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภท ดังนี้      • อุตสาหกรรมพลาสติก       • อุตสาหกรรมยานยนต์       • อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม      • อุตสาหกรรมสิ่งทอ ฯลฯ      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน เครื่องเทอร์โมฟอร์มพลาสติก เครื่องฉีดพลาสติก ห้องอบสีรถยนต์ Heater Break Alarm Heater ฮีตเตอร์ NTC/PTC Temperature Coefficient Digital Temperature Controller Digital Temperature Controller PID Control Function โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
การประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นแบบไร้สาย (Wireless Humidity & Temperature) สำหรับงานฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      ปัจจุบันงานด้านเกษตรกรรมมีปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ (Temperature), ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ (Relative  Humidity) ล้วนเป็นสิ่งสำคัญต่อกระบวนการในการเจริญเติบโตของผลผลิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในประเภทการทำการเกษตร, การเลี้ยงสัตว์, ฟาร์ม หรือโรงเรือนต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น (Humidity & Temperature) ต่าง ๆ เหล่านี้ ดังนั้นจึงได้มีการนำอุปกรณ์เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นที่เรียกว่า Thermo-Hygrometer มาใช้วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศบริเวณใดบริเวณหนึ่ง เพื่อควบคุมอุณหภูมิและความชื้นตามความเหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการนำนวัตกรรมด้านงานเกษตรกรรมเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในด้านการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล Thailand 4.0 ที่เน้นเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม Value-Based Economy ในโครงการ Smart Farmer โดยทำให้เห็นความสำคัญการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจใน Thailand 4.0 ซึ่งเรื่องที่เป็นจุดเน้นมากที่สุดคือ กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น      Smart Farmer คือ เกษตรกรที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบดิจิทัล นวัตกรรม รวมถึงข้อมูลหรือแนวคิดทางธุรกิจแบบใหม่ เพื่อผลักดันประสิทธิภาพการผลิตของตัวเองให้ได้มากที่สุด ภายใต้งบประมาณที่เหมาะสมที่สุด และต้องเข้าใจตั้งแต่กระบวนการผลิต การบริหารจัดการ เข้าใจธรรมชาติ และเข้าใจเทคโนโลยีในรูปแบบครบวงจร      แนวคิดของ Smart Farmer เพิ่มความเป็นไปได้ยิ่งขึ้นอีก เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีและระบบดิจิทัล ที่ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ IoT การใช้งาน Big Data การใช้งานโดรน หรือการใช้หุ่นยนต์รูปแบบต่าง ๆ ร่วมกับการเกษตรก็สามารถหาได้ง่ายขึ้น ต้นทุนลดต่ำลง      ตัวอย่างการใช้นวัตกรรมแบบไร้สาย (Wireless) ในงานเกษตรกรรมหรือฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm)      ดังนั้นในวันนี้ผู้บรรยายขอยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่เป็นส่วนหนึ่งในนวัตกรรมที่จะมาประยุกต์ใช้งานเกี่ยวกับงานฟาร์ม ในหัวข้อ “การประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นแบบไร้สาย (Wireless Humidity & Temperature) สำหรับงานฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm)” ว่ามีคุณสมบัติและมีประโยขน์อย่างไร? โดยใช้อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นแบบไร้สาย (Wireless Humidity & Temperature) ดังนี้ Wireless Humidity & Temperature Transmitter อุปกรณ์วัดความชื้นและอุณหภูมิในตัวเดียวกันแบบไร้สาย, Model : HM-007, Brand : PM      HM-007 : Wireless Humidity & Temperature Transmitter อุปกรณ์วัดความชื้นและอุณหภูมิในตัวเดียวกันแบบไร้สาย เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในตัวเดียวกัน แล้วทำการส่งข้อมูลแบบไร้สายทุก ๆ 36 วินาที ไปยัง LoRaWAN Gateway ที่ต่อกับ Computer เพื่อเก็บข้อมูลเข้า Computer แสดงผลผ่าน Dashboard มีปุ่มสำาหรับส่งข้อมูลเพื่อเป็นการทดสอบระบบเครือข่าย LoRaWAN      นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์ Prisoft รองรับสำหรับการจัดการข้อมูลด้วย HM-007 เหมาะสำหรับงานที่ต้องการส่งค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ระยะทางไกล และไม่ต้องเดินสายไฟ เช่น Smart Farmer, Food Industries, Smart Industries, Facilities Management และ Smart Building สะดวกต่อการใช้งาน Online ระบบตลอดเวลา ลดแรงงาน และให้ความถูกต้องในการจดบันทึก ประหยัดค่าใช้จ่าย      ตัวอย่างการใช้อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นแบบไร้สาย (Wireless Humidity & Temperature) ในโรงเรือน      ข้อดีการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นแบบไร้สาย (Wireless Humidity & Temperature) สำหรับงานฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm) ดังนี้      • ทำให้ผู้ใช้งานทราบถึงอุณหภูมิและความชื้นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันความเครียดจากความร้อนในสัตว์เนื่องจากสภาวะอากาศร้อน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในตัวสัตว์มีการเปลี่ยนแปลงระบบฮอร์โมนในร่างกายสัตว์ และทำให้สัตว์เกิดความเครียด ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ การกินอาหารลดลง และประสิทธิภาพในการผลิตลดลง เช่น อัตราเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากอาหาร ระบบการสืบพันธุ์ และอาจก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างร้ายแรง      • ลดความผิดพลาดในการจดบันทึกของผู้ปฏิบัติงาน      • ลดเวลาการทำงาน ลดแรงงาน      • สะดวกในการติดตั้ง เนื่องจากไม่ต้องเดินสายไฟไปยังคอมพิวเตอร์      • สามารถใช้งานได้ถึง 1000 Device ใน 1 Loop การใช้งาน      อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นแบบไร้สาย (Wireless Humidity & Temperature) สำหรับงานฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm) เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภท ดังนี้      • ฟาร์ม, โรงเรื่อนต่าง ๆ      • เกษตรกรรม      • โรงงาน      • อาคาร, สำนักงาน ฯลฯ      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน วัดและเก็บข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นในฟาร์มหมู วัดและเก็บข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นในฟาร์มไก่ วัดและเก็บข้อมูลอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรืองเพาะปลูก I/O Modules I/O Modules LoRa Baseboard interface UART การสื่อสารแบบไร้สาย LoRaWAN WIFI TO RS-485/RS-232 CONVERTER SINGLE PHASE kWh-METER WITH LORA โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ประเภทและการเลือกใช้มิเตอร์น้ำ (Water Meter) ในงานอุตสาหกรรมและอาคาร, ที่พักอาศัย

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      มิเตอร์น้ำ (Water Meter) หรือ มาตรวัดน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดปริมาตรของน้ำ โดยมิเตอร์น้ำ (Water Meter) จะทำหน้าที่วัดปริมาตรน้ำเมื่อมีการไหลผ่าน และส่งค่าที่ได้ไปที่หน้าปัดหรือหน้าจอแสดงผลซึ่งมีหลักการคำนวณและแปลงอัตราส่วนที่คำนวณได้เพื่อแสดงผลเป็นค่าที่ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านได้เป็นสากล เช่น ปริมาตรหน่วยลิตร (Litre) หรือ ลูกบาศก์เมตร (Cubic meter) เป็นต้น   *** ข้อดี *** ของการใช้ มิเตอร์น้ำ (Water Meter) พร้อม communicaton modules M-BUS wired and wireless M-BUS - ลดการเดินจดข้อมูลตัวเลข สามารถอ่านข้อมูลผ่านระบบได้ สะดวกรวดเร็วกับผู้ใช้งาน          มิเตอร์น้ำ (Water Meter) จะมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คำนวณปริมาตรน้ำที่แตกต่างกันอยู่ภายใน ตามแต่ประเภทของ มิเตอร์น้ำ (Water Meter) หรือ มาตรวัดน้ำ อาทิ มาตรวัดน้ำแบบ Single Jet , มาตรวัดน้ำแบบ Multi Jet, มิเตอร์น้ำแบบ Piston และมาตรวัดน้ำที่ใช้หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อน้ำไหลผ่านอุปกรณ์การวัดจะหมุน หรือคำนวณตามปริมาตรของน้ำที่ไหลผ่าน อุปกรณ์การวัดจะมีการเชื่อมต่อกับแกนหมุนตัวเลข หรือส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังชุดแสดงผลเพื่อจะแสดงค่าของปริมาณน้ำที่หน้าปัด เป็นต้น        ประเภทของมิเตอร์น้ำ (Water Meter) หรือมาตรวัดน้ำ   Single Jet Multi Jet Horizontal Woltmann Model : CPR-M3-I Model : GMB-I Model : WDE-K50   Electronic Pulse Emitter 1 Phase kWh Meter with RS-485 1 Phase kWh Meter with LORA Model : IWM-PL3/PL4 Model : KM-24-M Model : KM-24-L      โดยมิเตอร์น้ำ (Water Meter) หรือ มาตรวัดน้ำแต่ละประเภทอธิบายได้ดังนี้      • Single Jet Water Meter      มิเตอร์ประเภท Single Jet Water Meter นี้ จะใช้วัดความเร็วของกระแสน้ำที่ไหลผ่านใบพัด ซึ่งกำหนดความเร็วเอาไว้ ณ จุดหนึ่งที่จะสามารถทำให้ใบพัดหมุนตามทิศทางและความแรงของการไหลของน้ำ ส่งผลไปยังแกนหมุนที่เชื่อมต่อกับหน้าปัดตัวเลขทำให้สามารถระบุค่าปริมาณน้ำที่ไหลผ่านได้เหมาะ สำหรับใช้วัดน้ำที่มีปริมาณน้อยเพราะใบพัดไม่สามารถทนทานกับปริมาณน้ำมาก ๆ ได้ โดยสามารถเลือกรุ่นการใช้งานที่เหมาะสม มิเตอร์น้ำเย็น น้ำอุณหภูมิปกติ 0.1-50 องศาเซลเซียส และมิเตอร์น้ำร้อนอุณหภูมิ 30-90 องศาเซลเซียส จะเป็นมิเตอร์น้ำติดตั้งแบบเกลียว โดยจะมีตั้งแต่ขนาด 15mm. - 20mm. หรือท่อขนาด 1/2 นิ้ว ถึง 3/4 นิ้ว เป็นต้น   Single Jet Model : CPR-M3-I ลักษณะการติดตั้งของ Single Jet Model : CPR-M3-I      • Multi Jet Water Meter      มิเตอร์ประเภท Multi Jet Water Meter ส่วนประกอบของมาตรวัดน้ำจะประกอบด้วย ห้องวัดปริมาตรน้ำ โดยการทำงานส่วนของห้องวัดน้ำจะมีรูเล็ก ๆ เป็นแนวเฉียงรอบในพัด เพื่อให้น้ำไปหมุดใบพัด เมื่อมีกระแสน้ำมากระทบใบพัดที่มีแม่เหล็กเชื่อมต่ออยู่ ใบพัดจะหมุนและส่งแรงเหนี่ยวนำแม่เหล็กที่เฟืองอีกชิ้นหนึ่งให้เคลื่อนไหวตามไปด้วย ปรากฏเป็นตัวเลขที่เครื่องบันทึกปริมาตรน้ำ จะเป็นมิเตอร์น้ำติดตั้งแบบเกลียว โดยจะมีตั้งแต่ขนาด 15mm. - 50mm. หรือ ท่อขนาด 1/2 นิ้ว ถึง 2 นิ้ว เป็นต้น Multi Jet Model : GMB-I ลักษณะการติดตั้งของ Multi Jet Model : GMB-I      • Woltmann Water Meter      มิเตอร์ประเภท Woltmann Water Meter เป็นมิเตอร์ที่วัดปริมาตรของน้ำแบบแนวนอนและแบบแนวตั้งที่ไหลผ่านใบพัด เหมาะสำหรับการวัดน้ำปริมาณมากที่มีอัตราการไหลสูง ซึ่งเป็นที่นิยมใช้งานในงานประปา งานระบบน้ำขนาดใหญ่ ฯลฯ เมื่อน้ำไหลผ่านใบพัดของมิเตอร์โวลท์แมน ใบพัดจะหมุนตามแรงของน้ำ การหมุนนี้จะถูกส่งไปยังหน้าปัดที่จะแสดงผลด้วยการทดรอบอัตราส่วนของระบบเฟืองทำให้สามารถวัดปริมาณของน้ำหรือของเหลวที่ต้องการจะวัดได้ ประเภทมิเตอร์น้ำแบบ Woltman จะเป็นแบบหน้าแปลน มีขนาด 50mm. - 200mm.  หรือ ท่อขนาด 2 นิ้ว ถึง 8 นิ้ว เป็นต้น Woltmann Model : WDE-K50 ลักษณะการติดตั้งของ Woltmann Model : WDE-K50      นอกจากนี้ยังมีมิเตอร์ประเภทที่สามารถวัดค่าพลังงานทางไฟฟ้าแบบ 1 เฟส โดยสามารถแสดงผลการใช้นํ้าเป็นลูกบาศก์เมตร (m3) จาก Pulse ของ Water Meter ได้ ขอยกตัวอย่างรุ่น KM-24-M และ KM-24-L ที่มีทั้งการสื่อสารแบบ RS485 Modbus RTU Protocol และการสื่อสารแบบไร้สาย LoRaWAN ดังนี้      1 Phase kWh Meter with RS-485 มิเตอร์ประเภท 1 Phase kWh Meter with RS-485 เป็นมิเตอร์วัดค่าแรงดันไฟฟ้า (V), กระแสไฟฟ้า (A), กําลังไฟฟ้า (kW), พลังงานไฟฟ้า (kWh) และแสดงผลการใช้นํ้าเป็นลูกบาศก์เมตร (m3) จาก Pulse ของ Water Meter ได้ มี Input สําหรับรับ Pulse จาก Water Meter เพื่อส่งข้อมูลการใช้นํ้าเป็นลูกบาศก์เมตร ทำให้ประหยัดอุปกรณ์ในการต่อรวมกับ Software และประหยัดสายในการเชื่อมต่อเข้ากับระบบ โดยจะส่งข้อมูลการใช้ไฟฟ้าและการใช้น้ำไปพร้อมกัน ทําให้สะดวกต่อการใช้งาน Online ระบบตลอดเวลา ลดแรงงาน และให้ความถูกต้องในการจดบันทึก ประหยัดค่าใช้จ่าย แสดงผล 7-Segment LED แถวบนแสดงค่า Volt และ Amp สลับกันแถวล่างแสดงค่า kW, kWh และการใช้นํ้าเป็นลูกบาศก์เมตร (m3) สลับกันตลอดเวลา ใช้กับกระแสไฟฟ้าได้โดยตรงสูงสุดถึง 45A (ดังรูป)   1 Phase kWh Meter with RS-485 Model : KM-24-M ลักษณะการติดตั้งของ 1 Phase kWh Meter with RS-485 Model : KM-24-M      1 Phase kWh Meter with LORAWAN มิเตอร์ประเภท 1 Phase kWh Meter with LORAWAN เป็นมิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้า 1 Phase แบบไร้สาย LoRaWAN (LoRa Meter, มิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้าและน้ำ, มิเตอร์สำหรับอะพาร์ตเมนต์) ส่งข้อมูลแบบไร้สายได้ไกลถึง 500 m. สําหรับในอาคาร และ 1000 m. สําหรับนอกอาคาร สามารถติดตั้งมิเตอร์ไร้สาย ทำให้ประหยัดค่าแรงในการเดินสายและลดอุปกรณ์ โดยจะส่งสัญญาณเข้าระบบ ผ่าน LoRa Gateway เป็นตัวรับสัญญาณเข้า Computer สามารถวัดและแสดงค่าแรงดันไฟฟ้า (V), กระแสไฟฟ้า (A), กําลังไฟฟ้า (kW), พลังงานไฟฟ้า (kWh) และแสดงผลการใช้นํ้าเป็นลูกบาศก์เมตร (m3) โดยรับ Pulse ของ Water Meter ได้ มี Input สําหรับรับ Pulse จาก Water Meter เพื่อส่งข้อมูลการใช้นํ้าเป็นลูกบาศก์เมตร (m3) ร่วมด้วย ให้ความถูกต้องในการจดบันทึก ประหยัดค่าใช้จ่าย แสดงผล 7-Segment LED แถวบนแสดงค่า Volt และ Amp แถวล่างแสดงค่า kW, kWh และการใช้นํ้าเป็นลูกบาศก์เมตร (m3) สลับกันตลอดเวลา ใช้กับกระแสไฟฟ้าได้โดยตรงสูงสุดถึง 45A   1 Phase kWh Meter with LORAWAN Model : KM-24-L ลักษณะการติดตั้งของ 1 Phase kWh Meter with LORAWAN Model : KM-24-L      นอกจากระดับความแม่นยำของมิเตอร์น้ำ (Water Meter) แต่ละชนิดที่ต้องคำนึงถึงแล้ว ทิศทางการไหลของน้ำหรือทิศทางการติดตั้งมาตรวัดน้ำยังเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกด้วย เพราะมิเตอร์น้ำ (Water Meter) หรือมาตรวัดน้ำบางประเภทจะมีประสิทธิภาพในการวัดได้เฉพาะการติดตั้งในแนวนอน จึงไม่สามารถเชื่อถือผลของมาตรวัดน้ำประเภทนี้ที่ได้รับการติดตั้งในแนวตั้งได้ ในขณะที่มิเตอร์น้ำ (Water Meter) หรือมาตรวัดน้ำบางประเภทสามารถติดตั้งได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังต้องคำนึงถึงขนาดของมิเตอร์น้ำ (Water Meter) หรือมาตรวัดน้ำ ที่ต้องเลือกให้มีความเหมาะสมกับปริมาณน้ำที่ต้องการวัดค่าและชนิดของน้ำที่ต้องการวัดค่าอีกด้วย เช่น น้ำที่จะวัดเป็นน้ำที่มีอุณหภูมิสูงหรือไม่? ต้องใช้มิเตอร์น้ำร้อนโดยเฉพาะหรือไม่? เป็นต้น      จากข้อมูลที่ผู้บรรยายได้กล่าวมาข้างต้นนั้น สามารถยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานมิเตอร์ประเภท 1 Phase kWh Meter with LORAWAN Model : KM-24-L ร่วมกับ Multi Jet Model : GMB-I ดังนี้        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานมิเตอร์ประเภท 1 Phase kWh Meter with LORAWAN Model : KM-24-L ร่วมกับ Multi Jet Model : GMB-I รูปแสดงตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานมิเตอร์ประเภท 1 Phase kWh Meter with LORAWAN Model : KM-24-L ร่วมกับ Multi Jet Model : GMB-I        การใช้งานมิเตอร์น้ำต่อร่วมกับ kWh Meter รุ่น KM-24-L โดยใช้งานเพื่อวัดค่าปริมาณการใช้น้ำและค่าไฟฟ้าได้ในตัวเดียว      ข้อดีของการเลือกใช้ของมิเตอร์น้ำ (Water Meter) ในงานอุตสาหกรรมและอาคาร, ที่พักอาศัย ที่เหมาะกับการใช้งาน มีดังนี้      • ต้องเป็นมิเตอร์น้ำที่มีมาตรฐาน ผ่านการชั่งตรวงวัด สำนักชั่งตวงวัดกรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์      • ต้องเป็นมิเตอร์น้ำที่มีมาตรฐาน ผ่านการสอบเทียบโดยการประปา      • มีสัญญาณ Pulse Output เพื่อไปแสดงค่าให้กับอุปกรณ์อื่น หรือเก็บค่าการใช้น้ำเพื่อคิดค่าใช้จ่ายผ่าน Software ได้        เทคนิคการตรวจสอบดูแลมิเตอร์น้ำ (Water Meter) หรือ มาตรวัดน้ำด้วยตัวเอง      มิเตอร์น้ำ (Water Meter) หรือ มาตรวัดน้ำ  มีลักษณะการติดตั้งไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ถ้าเป็นบ้านพักอาศัยจะติดตั้งอยู่นอกบ้านหรือติดกับรั้วด้านในของบ้าน เพื่อสะดวกในการให้เจ้าหน้าที่การประปาอ่านค่าการใช้น้ำในแต่ละเดือนได้ง่าย แต่การที่ติดตั้งอยู่ด้านนอก ทำให้มิเตอร์น้ำนั้นต้องโดนทั้งแดดทั้งฝน และแต่ละยี่ห้อก็ผลิตจากวัสดุที่แตกต่างกัน มิเตอร์น้ำยี่ห้อไหนดีหรือไม่ดีนั้นจะส่งผลต่อคุณภาพและมาตรฐานที่ต่างกันด้วย เราจะมาดูกันว่าเรามีวิธีตรวจสอบมิเตอร์น้ำอย่างไรว่ายังใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ      • วาล์วเปิด-ปิดน้ำต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ทดสอบได้โดยการหมุนเข้าหมุนออกได้ปกติ      • ฝาปิดพับบนหน้าปัด ต้องไม่หักชำรุด      • สภาพของมิเตอร์น้ำไม่เป็นสนิม หรือมีคราบตะไคร่ คราบตะกรันเกรอะกรัง      • เลขบนหน้าปัดมิเตอร์น้ำมองเห็นได้ชัด หน้าปัดไม่ขุ่นเป็นฝ้าหรือมัว      • ไม่มีน้ำหยดออกมาตามข้อต่อต่าง ๆ หากพบการรั่วซึมต้องรีบดำเนินการแก้ไขโดยทันที เพราะหากปล่อยนานไปราคาค่าน้ำก็จะพุ่งสูงขึ้น        มิเตอร์น้ำ (Water Meter) หรือ มาตรวัดน้ำ เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภทดังนี้      • คอนโดมิเนียม, หอพัก, ตึกอาคารสูง      • อุตสาหกรรมบ่อบำบัดน้ำเสีย      • โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานมิเตอร์น้ำ (Water Meter) หรือ มาตรวัดน้ำ   การต่อมิเตอร์น้ำร่วมกับ kWh Meter รุ่น KM-24-M การต่อมิเตอร์น้ำกับ Digital Counter รุ่น CMT-007A   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
PLC ON CLOUD ได้อย่างไร?

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      PLC (Programmable Logic Controller) พีแอลซี คือ อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรแบบอัตโนมัติ โดยมีส่วนของ Input/Output และตัวประมวลผล  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเราจะเห็นว่า พีแอลซี (PLC) มีวิวัฒนาการพัฒนามาเรื่อย ๆ ตั้งแต่การเขียนโปรแกรมใน PLC โดยใช้ Ladder Diagram PLC ที่เขียนลงกระดาษก่อนแล้วค่อยเขียนลงในตัว PLC โดยใช้ Keypad      ต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีมาเรื่อย ๆ โดยการเขียน PLC สามารถเขียน Ladder Diagram ใน Computer PC ได้เลย รวมทั้งการใช้งาน PLC ร่วมกับ HMI (Human Machine Interface) ในการควบคุมเครื่องจักรผ่านหน้าจอแบบต่าง ๆ และพีแอลซี (PLC) สามารถเขียนโปรแกรมสร้างฟังก์ชั่นและเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานได้ตามความต้องการ ถ้าต้องการจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการทำงานใหม่ก็สามารถทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมเพียงเท่านั้น      จากบทความที่ผ่านมาในหัวข้อ “การต่อใช้งาน Analog Input กับ PLC” ที่ผู้บรรยายได้มีการแนะนำเกี่ยวกับประเภทของอินพุต (Input) / เอาท์พุต (Output) และการต่อใช้งานของ PLC รุ่น Vision130 ยี่ห้อ Unitronics ไว้พอแบบสังเขปเพื่อให้ท่านผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเบื้องต้น โดยในวันนี้ผู้บรรยายจะมาแนะนำวิธีการเขียน PLC+HMI ขึ้น Cloud ว่ามีวิธีการเขียนอย่างไร? ในหัวข้อ “PLC ON CLOUD ได้อย่างไร?” Cloud ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Cloud ในเบื้องต้นกันก่อน Cloud ย่อมาจาก Cloud Computing การประมวลผลระบบคลาวด์ ความหมายคือ เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็น Host บริการผ่าน Internet เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดเก็บข้อมูล, ดำเนินการ และจัดการข้อมูลต่าง ๆ ผ่าน Internet ได้ด้วยการประมวลผลระบบคลาวด์ที่มีชุดเซิร์ฟเวอร์และกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ศูนย์ข้อมูลที่กระจายอยู่ทั่วโลกที่เราสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ ซึ่งประโยชน์หลัก ๆ ของการใช้ Cloud (Cloud Computing) ช่วยในการลดต้นทุนในการดูแลรักษาอุปกรณ์ไอที, กู้คืนความเสียหายของข้อมูลได้, มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล, สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ผ่านอุปกรณ์อื่นนอกจากคอมพิวเตอร์ เช่น มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น โดยการประมวลผลระบบคลาวด์สามารถแบ่งออกเป็นฟังก์ชั่นหลักที่แตกต่างกัน 3 ฟังก์ชั่น ได้แก่ โมเดลการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS), การให้บริการด้านแพลตฟอร์ม (PaaS) และการให้บริการด้านซอฟต์แวร์ (SaaS)      โครงสร้างระบบ Cloud (Cloud Computing)      จากโครงสร้างของ Cloud ที่กล่าวมาข้างต้น ผู้บรรยายขอยกตัวอย่างการแนะนำการเขียน Vision130 PLC+HMI Monitor On Cloud ว่ามีขั้นตอนอย่างไร? และมีข้อดีอย่างไร? โดยมี Feature ของ PLC Vision130 PLC+HMI ดังนี้ Vision130 PLC+HMI Monitor Feature ของ Vision130 PLC+HMI Monitor • I/O options include digital, analog, high-speed, temperature & weight measurement.   See tables below • Auto-tune PID, up to 24 independent loops • Recipe programs and data logging via data tables • Micro SD card-log, backup, clone & more • Function Blocks • Monochrome • Multi-language display • RS485/RS232 • 2 ports may be added : 1 Serial/Ethernet/Profibus and 1 CANbus • Built-in Alarm Screens      จากข้อมูล Feature PLC Vision130 PLC+HMI ข้างต้น สามารถนำมายกตัวอย่างในการเขียน Ladder Program ได้ดังนี้      ตัวอย่าง Ladder Vision130 PLC+HMI ในการควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย      จากภาพเป็นการเขียนคำสั่ง เปิดช่องทางการสื่อสารโดยใช้ Function Modbus TCP เพื่อในการเชื่อมต่อสื่อกับอุปกรณ์ เพื่อดึงข้อมูลจาก PLC ขึ้นไปยัง Cloud โดยใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก โดยเราจะใช้อุปกรณ์ภายนอกในการเชื่อมต่อผ่าน Cloud โดยมีตัวอย่างการใช้ Vision130 PLC+HMI ร่วมกับ Cloud Box (ดังรูป)      ตัวอย่าง Vision130 PLC+HMI ใช้ร่วมกับ Cloud Box      จากรูปเป็นการใช้ PLC Vision130 ร่วมกับ Cloud Box  เพื่อแสดงค่าของของเครื่องบรรจุในไลน์การผลิต โดยดูค่าผ่านมือถือและคอมพิวเตอร์ การใช้งานง่าย ประหยัดเวลา สะดวกสบายในการดูข้อมูลย้อนหลังผ่าน Cloud      จากข้อมูลที่ยกตัวอย่างข้างต้นของ PLC Vision130 PLC+HMI Monitor On Cloud ทำให้ได้ทราบถึงข้อดีของวิธีการเขียน Vision130 PLC+HMI Monitor On Cloud ได้ดังนี้      • การ Wiring สายไม่ยุ่งยาก และตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงได้ง่าย      • มีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า      • เพิ่มความสะดวกและความรวดเร็วในการใช้งาน      • มีความสามารถในการขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว      • เข้าถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ      • มีการบำรุงรักษาและความปลอดภัยสูง      • สะดวกในการดูและควบคุมโดยผ่านมือถือและคอมพิวเตอร์ได้ทุกที่ ทุกเวลา      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC+HMI ระบบบำบัดน้ำเสีย เครื่องชั้งกระสอบปาล์ม เครื่องทดสอบน้ำยาง      PLC+HMI Monitor On Cloud เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภทดังนี้      • อุตสาหกรรมอาหาร  เช่น เครื่องบรรจุ  เครื่องฆ่าเชื้อโรคอาหาร       • อุตสาหกรรมยายนต์  เช่น  ไลน์การผลิต  ระบบตรวจสอบ       • อุตสาหกรรมการเกษตร  เช่น ระบบสมาร์ทฟาร์ม   โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
มาทำความรู้จักตู้ควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว สลับกันทำงาน (Transfer Pump) พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์ (Voltage Protection)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เครื่องควบคุมปั๊มน้ำหรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) เป็นอุปกรณ์ควบคุมปั๊มน้ำให้ทำงานสัมพันธ์กันระหว่างระดับของบ่อพักน้ำ (Water Well) และถังเก็บน้ำ (Water Tank) สามารถใช้ได้ทั้งระบบไฟ 1-Phase และ 3-Phase โดยมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ (Water Pump) ให้เป็นแบบอัตโนมัติ เช่น สั่งให้ปั๊มหยุดขณะปิดวาล์วหรือสั่งปั๊มหยุดการทำงานในขณะน้ำขาดหรือแรงดันต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ปั๊มน้ำเสียหายหรือปั๊มน้ำไหม้เกิดขึ้น ซึ่งเครื่องควบคุมปั๊มน้ำ (Pump Control) โดยทั่วไปจะใช้เซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ (Level Sensor) ประเภทต่าง ๆ ในการติดตั้ง เช่น ติดตั้งโดยการใช้สวิตช์ลูกลอยตรวจจับระดับของเหลว (Level Switch), อุปกรณ์วัดระดับแบบก้านอีเล็คโทรด (Electrode Level Switch), สวิตช์ควบคุมแรงดัน (Pressure Switch) เป็นต้น        เครื่องควบคุมปั๊มน้ำหรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) สามารถแบ่งออกหลัก ๆ เป็น 3 ประเภทตามการใช้งาน      • Booster Pump คือ การรักษาแรงดันภายในระบบให้มีความคงที่สม่ำเสมอ โดยอาศัยการทำงานของ Pressure Switch เป็นตัวตัดต่อการทำงานระบบ Booster Pump ที่นิยมกันจะเป็นแบบทำงานสลับ และเสริมช่วยอีกตัวเพื่อใช้ปรับตั้งแรงดันตามความต้องการ ประกอบด้วยปั๊มน้ำจำนวน 2 ตัว สลับการทำงานและเสริมช่วยการทำงาน      • Transfer Pump คือ รับ-ส่งน้ำจากต้นทางไปยังปลายทาง หรือจากบ่อด้านล่างส่งไปบ่อด้านบน นิยมใช้กันมากในอะพาร์ตเมนต์ แมนชั่น หรืออาคารตึกสูง คอนโดฯ ประกอบด้วยปั๊มน้ำจำนวน 2 ตัว สลับการทำงานและเสริมช่วยการทำงาน ในกรณีที่มีการใช้น้ำมากเกินไปจะต้องมีปั๊มอีกตัวเพื่อช่วยกันทำงานหากปั๊มตัวที่หนึ่งทำงานไม่ทัน      • Drain Water Pump คือ เป็นการทำงานโดยจะวัดระดับน้ำเสียในบ่อเก็บโดยส่วนใหญ่จะใช้ลูกลอยแบบสายไฟ เนื่องจากน้ำมีความสกปรกมาก ไม่เหมาะกับก้านอิเล็กโทรด เช่น ในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะมีสิ่งปฏิกูลหรือน้ำเสียเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตซึ่งจะต้องใช้ตัวปั๊มในการดูดน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วทิ้งออกไป        จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น ทางผู้บรรยายขอยกตัวอย่าง เครื่องควบคุมปั๊มน้ำหรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) แบบ Twin Pump Relay สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊ม 2 ตัว (ดังรูป)   TWIN PUMP RELAY สำหรับควบคุมการทำงานของปั๊ม 2 ตัว Model : PM-021N-3 , Brand : Primus การทำงานสำหรับระบบ Water Supply with Electrode Level Switch      โดย TWIN PUMP RELAY ตัวอย่างรุ่น PM-021N-3 เป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของปั๊ม 2 ตัว ให้สลับกันทำงาน (Transfer Pump) และสัมพันธ์กันระหว่างระดับของบ่อพักน้ำ (Water Well) และถังเก็บน้ำ (Water Tank) และสามารถเลือกการทำงานได้ทั้งแบบ Water Supply และ Drainage โดยยกตัวอย่างการทำงานสำหรับระบบ Water Supply ดังนี้      หลักการทำงานสำหรับระบบ Water Supply      1. เมื่อระดับน้ำในถังเก็บน้ำ (Water Tank) ลดต่ำลงถึงระดับ Probe M ของ Electrode B ที่ถังเก็บน้ำบนดาดฟ้า จะทำให้ Output ของ Pump 1 ทำงาน และสั่งให้ปั๊มตัวที่ 1 ทำงาน จนระดับน้ำในถังเก็บน้ำเพิ่มขึ้นจนถึงระดับ Probe H ของ Electrode B Output ของ Pump 1 หยุดทำงาน และสั่งให้ปั๊มหยุดทำงานด้วย      2. เมื่อน้ำในถังเก็บน้ำ (Water Tank) ลดต่ำลงถึงระดับ Probe M ของ Electrode B อีกครั้ง จะสลับให้ Output ของ Pump 2 ทำงาน และสั่งให้ปั๊มตัวที่ 2 ทำงาน จนระตับน้ำในถังเก็บน้ำเพิ่มขึ้นจนถึงระดับ Probe H ของ Electrode B อีกครั้ง Output ของ Pump 2 หยุดทำงาน และสั่งให้ปั๊มหยุดทำงานด้วย      3. ปั๊มทั้ง 2 ตัว จะสลับกันทำงานตลอดเวลาตามระดับของน้ำที่เพิ่มขึ้นและลดลง      4. ในกรณีที่ระดับน้ำในบ่อพักน้ำ (Water Well) มีระดับน้ำต่ำกว่าระดับ Probe L ของ Electrode A Output ของ Pump 1 และ Output Pump 2 จะ OFF เช่นกัน เพื่อป้องกันปั๊มเดินตัวเปล่าโดยไม่มีน้ำ        นอกจากนี้ TWIN PUMP RELAY รุ่น PM-021N-3 ยังมี Function Voltage Protection คอยตรวจจับความผิดปกติของแรงดันไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลทำให้ปั๊มเสียหายได้ โดยทั้ง 2 ส่วน จะทำงานสัมพันธ์กัน คือ ระดับแรงดันไฟฟ้าจะต้องปกติ ปั๊มจึงจะทำงานได้ (Relay ON) มีให้เลือกทั้ง 1-Phase และ 3-Phase ดังนี้   การทำงานแบบ 1 Phase Under and Over Voltage Protection การทำงานแบบ 3 Phase Under and Over Voltage Protection      การทำงานแบบ 1 Phase Under and Over Voltage Protection และการทำงานแบบ 3 Phase Under and Over Voltage Protection โดยมีรายละเอียดดังนี้      • 1-Phase, Over and Under Voltage ถ้าแรงดันอยู่ระหว่าง Lower Limit และ Upper Limit ที่ตั้งไว้ Relay Output จะ ON และสั่งให้ปั๊มทำงาน แต่ถ้าแรงดันต่ำกว่า Lower Limit หรือสูงกว่า Upper Limit ที่ตั้งไว้ Relay Output จะ OFF และ LED จะแสดงสถานะความผิดปกติของแรงดัน      • 3-Phase, Over and Under Voltage, Phase Sequence and Phase Loss เมื่อแรงดันอยู่ในสภาวะปกติคืออยู่ระหว่าง Lower Limit และ Upper Limit ที่ตั้งไว้ ลำดับเฟสถูกต้องไฟมาครบทุกเฟส (R, S, T) Relay Output จะ ON และสั่งให้ปั๊มทำงาน แต่ถ้าแรงดันต่ำกว่า Lower Limit หรือ สูงกว่า Upper Limit หรือลำดับเฟสไม่ถูกต้อง หรือไฟไม่ครบทุกเฟส Relay Output จะ OFF และ LED จะแสดงสถานะความผิดปกติของแรงดัน        จากรายละเอียดของ TWIN PUMP RELAY รุ่น PM-021N-3 ที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น สามารถนำมาประกอบเป็นชุดตู้ควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว เราจะมาแนะนำกันในหัวข้อ “มาทำความรู้จักตู้ควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว สลับกันทำงาน พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์ (Voltatge Protection)”   ลักษณะด้านหน้าของตู้ควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว สลับกันทำงาน (Transfer pump) พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์ (Voltatge Protection) ลักษณะภายในตู้ควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว สลับกันทำงาน พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์ (Voltatge Protection)        จากรูปลักษณะภายในตู้ควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว สลับกันทำงาน พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์ (Voltatge Protection) โดยภายในตู้จะประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้      • TWIN PUMP RELAY : PM-021N-3-3-230 อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของปั๊ม 2 ตัว ให้สลับกันทำงาน (Transfer Pump) พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์ (Voltatge Protection)      • Breaker      • Magnetic + Overload      • Lamp โชว์สถานะต่าง ๆ หน้าตู้      • สามารถต่อใช้งานร่วมกับเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ (Level Sensor) ได้ทั้ง Electrode, Float Switch และ Pressure Switch เป็นต้น        ตัวอย่างการต่อใช้งานตู้ควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว สลับกันทำงาน (Transfer Pump) พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์ (Voltage Protection) ร่วมกับปั๊มน้ำ 2 ตัว เพื่อควบคุมระดับน้ำในอาคารหอพัก      จากตัวอย่างการต่อใช้งานตู้ควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว สลับกันทำงาน พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์ (Voltage Protection) ร่วมกับปั๊มน้ำ 2 ตัว เพื่อควบคุมระดับน้ำในอาคารหอพัก จะทำงานโดยจะมีก้าน Electrode ในการตรวจวัดระดับน้ำของบ่อพักน้ำด้านล่างตึก (Water Well) และถังเก็บน้ำด้านบนดาดฟ้า (Water Tank) และจะสั่งให้ปั๊มตัวที่ 1 ทำงาน เมื่อน้ำในถังบนต่ำกว่าระดับก้าน Electrode จนเมื่อปั๊มน้ำดูดมาเติมจนเต็มถึงระดับ ปั๊มตัวที่ 1 ก็จะหยุดการทำงาน และในการทำงานครั้งต่อไป ระบบจะสั่งสลับการทำงานให้ปั๊มตัวที่ 2 ทำงานแทน อีกทั้งเมื่อเกิดเหตุที่ใช้น้ำมากกว่าปกติ ระบบจะมี Function Booster ให้ปั๊ม 2 ตัวทำงานพร้อมกันเพื่อให้เพียงพอกับการใช้น้ำของคนบนตึก        จากข้อมูลข้างต้นของตู้ควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว สลับกันทำงาน (Transfer Pump) พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์ (Voltage Protection) ทำให้สามารถทราบข้อดีของการเลือกใช้ตู้ควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว (Twin Pump Control) ดังนี้      • มี Latching Relay ควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว สลับการทํางาน (Transfer Pump)      • สามารถควบคุมและเช็คระดับน้ำอยู่ในตัวเดียวกัน ทั้งถังพักน้ำด้านล่างใต้ดินและถังเก็บน้ำด้านบนดาดฟ้า      • มี Voltage Protection เช็คไฟตก-ไฟเกิน, Phase Sequence (ลำดับเฟส), Phase Loss (เฟสขาดหาย) เพื่อป้องกันปั๊มเสียหาย      • มี Function Booster ให้ปั๊ม 2 ตัวทำงานพร้อมกันเมื่อเวลาใช้น้ำมากกว่าปกติ      • สามารถรับ Level Sensor ได้ทั้ง Electrode, Float Switch และ Pressure Switch      • ลดการ Wiring สายไฟ ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งและประหยัดค่าใช้จ่าย       • สามารถทราบระดับน้ำภายในบ่อพักน้ำ (Water Well) และถังเก็บน้ำสำหรับใช้งาน (Water Tank) ขณะทำงานได้      • สามารถมองเห็นสถานะการทำงานของ Pump แต่ละตัวได้      • สามารถมองเห็นสถานะความผิดปกติของระดับน้ำ, Sensor, Voltage Protection      • สามารถ OFF เพื่อทำการตัดระบบการทำงานของปั๊มได้ ในกรณีที่ปั๊มตัวใดตัวนึงมีปัญหา        ตู้ควบคุมปั๊มน้ำ 2 ตัว สลับกันทำงาน (Transfer Pump) พร้อมโวลท์เตจโปรเทคชั่นรีเลย์ (Voltage Protection) เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมประเภท ดังนี้      • คอนโดมิเนียม, หอพัก      • ตึกอาคารสูง      • อุตสาหกรรมบ่อบำบัดน้ำเสีย      • โรงงานอุตสาหกรรม        โดยทั่วไปเรามักจะพบเห็นตู้คอนโทรลปั๊มที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลาย ๆ ตัว ภายในตู้คอนโทรล อาทิ มิเตอร์วัดแรงดัน (Voltmeter), มิเตอร์วัดกระแส (Ampmeter), มิเตอร์วัดชั่วโมงการทำงาน (Hour Counter), อุปกรณ์เช็คกระแสเกิน (Current Protection Relay), อุปกรณ์ป้องกันไฟตก-ไฟเกิน (Voltage Protection Relay), อุปกรณ์ป้องกันปั๊มน้ำเดินตัวเปล่า (Dry Run Protection Relay), อุปกรณ์ควบคุมระดับน้ำ (Level Control) เป็นต้น ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานต้องสิ้นเปลืองพื้นที่ในการติดตั้งภายในตู้คอนโทรล อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ Function ครบถ้วนตามที่ต้องการ ดังนั้นทางเราขอนำเสนอเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับผู้ใช้งาน คือ เครื่องควบคุมปั๊มน้ำหรือปั๊มคอนโทรล (Pump Control) หรือที่เรียกว่า เครื่องควบคุมปั๊มน้ำ 1 ตัว (Single Pump) และ2 ตัว (Twin Pump) พร้อมจอแสดงผล (Twin Pump Controller) รุ่น CM-015 Series ที่สามารถใช้ได้ทั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส เพื่อตอบโจทย์ในการใช้งาน โดยเครื่องควบคุมปั๊มน้ำพร้อมจอแสดงผล (Pump Controller) เป็นรูปแบบติดหน้าตู้ (Digital Pump Controller) ซึ่งมี Function ในการทำงานต่าง ๆ ครบถ้วนภายในตัว        เครื่องควบคุมปั๊มน้ำหรือปั๊มคอนโทรล (Pump Controller) ในระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส   เครื่องควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ 1 ตัว (Single Pump Controller) Model : CM-015-1 , Brand : PM เครื่องควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ 2 ตัว (Twin Pump Controller) Model : CM-015-2 , Brand : PM      ข้อดีของการใช้งานเครื่องควบคุมปั๊มน้ำพร้อมจอแสดงผล (Pump Controller) รุ่น CM-015 Series สรุปได้ดังนี้      • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง      • การ Wiring สายไม่ยุ่งยาก และตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงได้ง่าย      • มี Function ในตัวเดียวกันหลากหลาย โดยไม่ต้องจัดหาอุปกรณ์อื่นเพิ่ม      • ประหยัดงบประมาณ      • สามารถทราบระดับน้ำภายในบ่อพักน้ำ (Water Well) และถังเก็บน้ำสำหรับใช้งาน (Water Tank) ขณะทำงานได้      • สามารถมองเห็นสถานะการทำงานของ Pump แต่ละตัวได้      • สามารถมองเห็นสถานะความผิดปกติของระดับน้ำ, Sensor, Voltage Protection      • ในกรณีที่ปั๊มตัวใดตัวนึงมีปัญหา เราสามารถ OFF เพื่อทำการตัดระบบได้        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน Pump Control   คอนโดมิเนียม/หอพัก บ่อบำบัดน้ำเสีย โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ไม่ได้ต่ออินพุตหรือสายอินพุตขาด (TIM-94N-4CH : 4 Channels Digital Indicator)

TIM-94N-4CH : 4 Channels Digital Indicator   ปัญหา : ไม่ได้ต่ออินพุตหรือสายอินพุตขาด     วิธีการแก้ไข : ต้องเช็คการต่ออินพุตและเช็คว่าสายอินพุตขาดหรือไม่

Image Alternative text
ไม่ได้ต่ออินพุตหรือสายอินพุตขาด (TIM-94N : Universal Input Digital Indicator)

TIM-94N : Universal Input Digital Indicator ปัญหา : ไม่ได้ต่ออินพุตหรือสายอินพุตขาด วิธีการแก้ไข : ต้องเช็คการต่ออินพุตและเช็คว่าสายอินพุตขาดหรือไม่

Image Alternative text
ไม่ได้ต่ออินพุตหรือสายอินพุตขาด (DEF-01-F1 : Mini Digital Refrigeration Temperature Controller)

DEF-01-F1 : Mini Digital Refrigeration Temperatue Controller   ปัญหา : ไม่ได้ต่ออินพุตหรือสายอินพุตขาด     วิธีการแก้ไข : ต้องเช็คการต่ออินพุตและเช็คว่าสายอินพุตขาดหรือไม่  

Image Alternative text
แนะนำการเขียน PLC Ladder ควบคุมลิฟต์ด้วย PLC+HMI Unitronics

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      PLC (Programmable Logic Controller) พีแอลซี อุปกรณ์สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือระบบต่าง ๆ แบบอัตโนมัติ สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ Input/Output ได้โดยตรง โดยสามารถเขียนโปรแกรมสร้าง Function และเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานได้ตามความต้องการ        PLC (Programmable Logic Controller) พีแอลซี สามารถออกแบบโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบให้เป็นไปตามเงื่อนไขได้หลากหลาย        ดังนั้น การออกแบบโปรแกรมให้เป็นระบบและมีโครงสร้างของโปรแกรมที่ดี ทำความเข้าใจได้ง่าย จะทำให้ระบบควบคุมอัตโนมัติมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด ไม่มีความผิดพลาดในการทำงาน และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังได้ง่าย รวดเร็ว ที่สำคัญประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอีกด้วย โดยขอยกตัวอย่าง PLC+MHI ยี่ห้อ Unitronics ดังนี้        PLC Unitronics เป็น PLC ที่มีทั้งตัว PLC และ HMI (PLC+HMI) อยู่ในตัวเดียวกัน และยังมีหน้าจอแสดงผลแบบต่าง ๆ ให้เลือกอีกหลายรูปแบบ เช่น หน้าจอสี, หน้าจอ LCD, หน้าจอแบบปุ่มกด (Keypad) และหน้าจอแบบ Touch Screen เป็นต้น (ดังรูป)        ตัวอย่าง PLC+MHI ยี่ห้อ Unitronics   UniStream PLC Vision Series PLC Samba Series PLC Jazz & M91 PLC UniStream PLC เน้นกับงานที่ใช้กราฟิก หน้าจอแบบ Touch Screen Vision PLC สามารถเก็บข้อมูล (Data logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen Samba PLC สามารถเก็บข้อมูล (Data logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen (ราคาถูก) Jazz and M91 PLC มีขนาดเล็กกะทัดรัด หน้าจอแบบ LCD      จากตัวอย่าง PLC+MHI ยี่ห้อ Unitronics ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการนำมาใช้งานในการควบคุม Solution ต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทั้งระบบในงานอุตสาหกรรม เนื่องจาก PLC+HMI Unitronics มี Function Block และ Ladder ที่ง่ายต่อการเขียนโปรแกรม (ดังตัวอย่าง)   LD (Ladder Diagram) FBD (Function Block Diagram)      จากตัวอย่าง Function Block และ Ladder สำหรับการเขียนโปรแกรมแล้ว และในบทความนี้เราจะแนะนำทุกท่านเกี่ยวกับตัวอย่างการออกแบบโปรแกรมควบคุมการทำงานของลิฟต์ ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในภาคงานอุตสาหกรรมและงานด้านที่พักอาศัย, คอนโดมิเนียม, อาคารสำนักงาน ในหัวข้อ “แนะนำการเขียน PLC Ladder ควบคุมลิฟต์ด้วย PLC+HMI Unitronics” ว่ามีขั้นตอนการเขียนคำสั่งอย่างไรบ้าง? โดยขั้นตอนแรกสำหรับผู้เริ่มรู้จักการการทำงานของระบบลิฟต์ โดยตัวอย่างจะเป็นการออกแบบลิฟต์ขนส่งสินค้า 2 ชั้น (ดังนี้)      ตัวอย่าง Diagram การควบคุมลิฟต์      จากวงจรการควบคุมลิฟต์ดังกล่าวสามารถนำมาเขียน Ladder PLC เพื่อใช้เป็นคำสั่งในการควบคุมลิฟต์ดังนี้        ตัวอย่าง Ladder PLC        ยกตัวอย่างการใช้ Ladder PLC and Function Linear จากรูปด้านบนจะเป็นตัวอย่างลิฟต์ขนสินค้า จำนวน 2 ชั้น โดยติดตั้ง Load cell เพื่อแจ้งเตือนเมื่อน้ำหนักเกิน โดยการเขียนจะเป็นการเขียนแบบง่าย โดยเมื่อกดปุ่มสตาร์ทจะเช็คตำแหน่งด้วย Limit แล้วสั่งให้มอเตอร์หมุนแบบ Forward จนถึงตำแหน่งและสั่งหยุดมอเตอร์ โดยมีการเขียนรับสัญญาณจากโหลดเซลล์โดยใช้ Function Linear ในการรับสัญญาณ 4-20 mA มาแปลงเป็นค่าน้ำหนักในการแจ้งเตือนเมื่อมีน้ำหนักมากกว่า 200 Kg.        ข้อดีของการใช้ Function Block Ladder PLC ในการควบคุมลิฟต์      1. สามารถประยุกต์ใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ให้มากขึ้น      2. กรณีการควบคุมขนาดเล็ก ง่ายต่อการออกแบบ      3. มีหน้าจอแสดงค่าน้ำหนัก แต่ตั้งค่าได้      4. ง่ายต่อการซ่อมบำรุงตรวจเช็ค เนื่องจากออกแบบโดยใช้ PLC        การประยุกต์ใช้งาน   เครื่องฉีดรองเท้าพียู เครื่องทดสอบการเดินเรือ ระบบบำบัดน้ำเสีย   Jazz Micro-OPLC Programmable Logic Control Vision Programmable Logic Control Vision Programmable Logic Control Switching Power Supply Relay Module โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
ลูกค้าตั้งค่าอินพุตไม่ตรง (2) (CM-004N : Digital Indicator)

CM-004N : Digital Indicator ปัญหา : ลูกค้าตั้งค่าอินพุตไม่ตรง (คลิกรูปภาพเพื่อชมคลิปวีดีโอ) วิธีการแก้ไข : ตั้งฟังก์ชั่น Loc ไว้ต้องเปลี่ยนให้เป็น 0 เพื่อที่จะทำการแก้ไขการตั้งค่าได้

Image Alternative text
ลูกค้าตั้งค่าอินพุตไม่ตรง (1) (CM-004N : Digital Indicator)

CM-004N : Digital Indicator ปัญหา : ลูกค้าตั้งค่าอินพุตไม่ตรง วิธีการแก้ไข : ต้องเช็คว่าอินพุตที่ตัวอุปกรณ์ได้รับเป็นอินพุตอะไร และตั้งค่าอินพุตที่ตัวอุปกรณ์ให้ตรงกัน เช่น รับอินพุต 4-20 mA ต้องเลือก Type Input 01

Image Alternative text
การเลือกวัสดุของ Thermocouple & RTD (PT100) ให้เหมาะสมกับอุณหภูมิการใช้งาน

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) คือ เซ็นเซอร์สำหรับงานวัดอุณหภูมิชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรม ได้แก่ เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple), อาร์ทีดี (RTD), เทอร์มิสเตอร์ (Thermistor) ซึ่งแต่ละประเภทมีหลักการทำงานและวัตถุประสงค์การวัดอุณหภูมิที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยส่วนใหญ่มักจะใช้เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ชนิดเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) และอาร์ทีดี (RTD Pt100) เนื่องจากมีย่านการวัดอุณหภูมิที่กว้างและมีความแม่นยำ ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม เกษตรกรรม อาหาร เหล็ก พลาสติก แก้ว เคมีภัณฑ์ เป็นต้น แล้วเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ทั้ง 2 ชนิดนี้จะเลือกใช้อย่างไร เหมาะกับงานแบบไหน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) และอาร์ทีดี (RTD Pt100) ทั้ง 2 ประเภทนี้กันก่อน ดังนี้        โครงสร้างและส่วนประกอบของเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple)   โครงสร้างของเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) ส่วนประกอบของเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple)      เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) หรือหัววัดอุณหภูมิ, เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ คือ อุปกรณ์วัดอุณหภูมิหรือเซ็นเซอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ โดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิหรือความร้อนเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า (emf) โดย Thermocouple ประกอบด้วยลวดโลหะตัวนำ 2 ชนิดที่แตกต่างกันทางโครงสร้างของอะตอม นำมาเชื่อมปลายทั้ง 2 เข้าด้วยกัน โดยเรียกปลายนี้ว่า Measuring Point หรือ Hot Junction (จุดวัดอุณหภูมิ) ซึ่งเป็นจุดที่ใช้วัดอุณหภูมิ และจะมีปลายอีกข้างหนึ่งของลวดโลหะปล่อยว่าง ซึ่งเรียกว่า Cold Junction (จุดอ้างอิง) ซึ่งหากจุดวัดอุณหภูมิและจุดอ้างอิงมีอุณหภูมิต่างกันก็จะทำให้มีการนำกระแสในวงจรเทอร์โมคัปเปิลทั้ง 2 ข้าง      โครงสร้างและส่วนประกอบของอาร์ทีดี (RTD Pt100) (Resistance Temperature Detector)   โครงสร้างของอาร์ทีดี (RTD Pt100) ส่วนประกอบของอาร์ทีดี (RTD Pt100)      อาร์ทีดี (PT100) (Resistance Temperature Detector : RTD) เป็นทรานสดิวเซอร์วัดอุณหภูมิ (Transducer Temperature) โดยอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานไฟฟ้าของวัสดุ จัดเป็นทรานสดิวเซอร์ประเภทพาสซีพ (Passive Transducer) การทำงานต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟภายนอกป้อนให้กับวงจร โดยค่าความต้านทานไฟฟ้าของวัสดุและอุณหภูมิแสดงความสัมพันธ์แบบแปรผันตรง โดยเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นค่าความต้านทานของโลหะจะมีค่าสูงขึ้น ในการใช้งานควรเลือกใช้วัสดุที่ค่าสัมประสิทธิ์ความต้านทานสูง เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิไปเพียงเล็กน้อยค่าความต้านทานของโลหะจะเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน      วัสดุที่นิยมใช้ทำ RTD ได้แก่ แพลตทินั่ม (Platinum) นิกเกิล (Nickel) และทองแดง (Copper) เป็นต้น ทองแดงและนิกเกิลเป็นวัสดุที่มีราคาถูก ประกอบง่าย จึงนิยมใช้งานในช่วงอุณหภูมิต่ำ โดยทั่วไปการใช้งานในอุตสาหกรรมและในห้องปฏิบัติการนิยมใช้ RTD ที่ทำมาจากแพลตทินั่มมากที่สุด เนื่องจากมีความเที่ยงตรง (Precision) และมีความเป็นเชิงเส้น (Linearity) สูงที่สุด แต่มีราคาค่อนข้างแพงเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุชนิดอื่น        วันนี้เราจะมาดูหนึ่งในเรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญอีกหนึ่งเรื่องสำหรับการเลือกใช้งาน Thermocouple / RTD นั่นก็คือการเลือกวัสดุของท่อให้เหมาะกับหน้างาน เพื่อทำให้หัววัดอุณหภูมิสามารถใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น ในหัวข้อ "การเลือกวัสดุของ Thermocouple & RTD (PT100) ให้เหมาะสมกับอุณหภูมิการใช้งาน"        โดยมีข้อพิจารณาในการเลือกวัสดุท่อของ Thermocouple หรือ PT100 เราจะต้องพิจารณาว่าต้องการวัดอุณหภูมิของของเหลวหรืออากาศ หากเป็นของเหลวแล้วเป็นของเหลวที่มีสารเคมีหรือไม่, อุณหภูมิที่ใช้วัดมีอุณหภูมิการใช้งาน ต่ำ-กลาง หรือสูงเป็น 1000 ํC เป็นต้น และข้อมูลต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลของวัสดุท่อที่เรานำมาผลิตเป็น Thermocouple และ RTD ดังนี้      • SUS304 เป็นสแตนเลสที่ใช้ในงานทั่วไป ไม่ขึ้นสนิม ลักษณะมันเงาสวยงาม สามารถทนต่อการกัดกร่อนได้ไม่สูงมากนัก สามารถขึ้นรูปเย็นและเชื่อมได้ดี      • SUS316 ใช้กับงานทนกรด ทนเคมี หรือเป็นเกรดที่มีปฏิกิริยากับกรดน้อย      • SUS316L คุณสมบัติเหมือนกับ SUS316 ทุกอย่าง ที่แตกต่างกันคือการทนการผุกร่อนได้สูงขึ้นในสภาวะที่มีการกัดกร่อนที่สูง เหมาะสำหรับงานอาหาร        • Sheath Thermocouple SUS316 (หรือ Mineral Insulated Thermocouple) คือ เทอร์โมคัปเปิลแบบที่ตัว Metal Sheath ผลิตสำเร็จรูป มีขนาดแกนเล็กและทนอุณหภูมิสูงกว่าแบบธรรมดามาก นิยมใช้ในกรณีอุณหภูมิกลางถึงสูงและต้องการความคงทน มีความยืดหยุ่นในการติดตั้งที่สามารถดัดได้หน้างานเพื่อให้เข้ากับลักษณะของงาน        • SUS310S แกน Stainless เป็นเหล็กกล้าไร้สนิมที่ทนการผุกร่อนในสภาวะที่มีการกัดกร่อนที่สูง ทนต่อแรงอัดและกรดด่างที่เป็นสารเคมีได้ดี ทนต่ออุณหภูมิที่จุดหลอมละลายได้สูงถึง 1100 ํC        • Inconel (Ni-CoNel) 600 จะสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 1200 ํC ทนต่อการกัดกร่อนจากสารประกอบคลอไรด์ สารละลายด่างที่ทุกอุณหภูมิและความเข้มข้น ทนต่อกรดของสารกลุ่มฮาโลเจน, คลอรีน และกรดไฮโดรคลอริก (เหมาะสำหรับ Type K, R, S)        • Ceramic Alumina (วัสดุจากเซรามิค) นิยมใช้ในการวัดอุณหภูมิสูง เป็นวัสดุผสมทำมาจากดินอะลูมิน่า ทำให้วัดอุณหภูมิสูงได้ดีถึง 1600 ํC (เหมาะสำหรับ Type R, S)        • Silicon Carbide Tube (ซิลิกอนคาร์ไบด์) นิยมใช้ในการวัดอุณหภูมิสูง เหมาะสำหรับงานหลอมอลูมิเนียม วัดอุณหภูมิได้สูงและทนการกัดกร่อนได้ดีมาก วัดอุณหภูมิได้สูงถึง 1500 ํC ( เหมาะสำหรับ Type R, S)        การเลือกใช้เซ็นเซอร์ประเภทเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) หรือ อาร์ทีดี RTD (PT100) เป็นสิ่งสำคัญมากต่อการวัดค่าอุณหภูมิ เนื่องจากแต่ละประเภทนั้นทำมาจากวัสดุที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานได้โดยตรง ดังนั้นในการเลือกใช้เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) หรืออาร์ทีดี RTD (PT100) ให้ได้ประสิทธิภาพนั้น การเลือกรูปแบบการต่อสายและลักษณะในการติดตั้งหน้างานก็เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน โดย Thermocouple หรือ RTD (PT100) มีทั้งลักษณะแบบหัวกะโหลกและแบบออกสาย ดังตัวอย่างในตาราง   Thermocouple & RTD (PT100) แบบหัวกะโหลก Thermocouple & RTD (PT100) แบบออกสาย แบบเกลียว แบบเกลียวยกคอ (Sleeve) แบบหน้าแปลน Ferule แบบออกสาย แบบรัดท่อ แบบเขี้ยวล็อค      นอกจากนี้เซ็นเซอร์ประเภทเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) หรือ อาร์ทีดี RTD (PT100) ยังมีรูปแบบการติดตั้งหน้างานอื่น ๆ อีก เช่น รูปแบบ Thermocouple & RTD (PT100) แบบหัวกะโหลกมีเกลียว, RTD (PT100) แบบหัวกะโหลกปีกนก, Thermocouple & RTD (PT100) แบบหน้าแปลน, Thermocouple & RTD (PT100) แบบหน้าแปลนปีกนก, Thermocouple & RTD (PT100) แบบออกสาย, Thermocouple & RTD (PT100) แบบเขี้ยวล็อค, Thermocouple & RTD (PT100) แบบรัดท่อ, Thermocouple & RTD (PT100) แบบแกนสำเร็จ (Sheath) วัดอุณหภูมิสูงได้ดี สามารถดัดงอได้ ฯลฯ แล้วนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกเรื่องคือ ชนิดของ Thermocouple & RTD (PT100) เช่น Thermocouple Type K, J, R, S, T, E, N รวมถึงวัสดุที่นำมาใช้ทำหัววัดอุณหภูมิ (Probe) อีกด้วย ในการวัดอุณหภูมิโดยที่ใช้งานร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller), เครื่องบันทึกอุณหภูมิ (Recorder), เครื่องแสดงผลอุณหภูมิ (Digital Temperature Indicator) เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการควบคุมอุณหภูมิ ดังตัวอย่างต่อไปนี้      ตัวอย่างการต่อใช้งาน Thermocouple Type K ร่วมกับ TMP-Series : Temperature Controller และ Solid State Relay ในการควบคุมความร้อนของ Heater ตัวอย่างการต่อใช้งาน Thermocouple Type K ร่วมกับ TMP-Series : Temperature Controller และ Solid State Relay ในการควบคุมความร้อนของ Heater        จากรูปตัวอย่างข้างต้น การต่อใช้งาน Thermocouple Type K แบบรุ่นแกนเซรามิค ร่วมกับ TMP-Series : Temperature Controller และ Solid State Relay ในการควบคุมความร้อนของ Heater ในงานเตาอบ        ตัวอย่างการต่อใช้งาน อาร์ทีดี (PT100) (Resistance Temperature Detector, RTD) ร่วมกับ TTM-007W Series : Temperature Controller และ Solid State Relay ในการควบคุมความร้อนของ Heater ในงานต้มน้ำ ตัวอย่างการต่อใช้งาน อาร์ทีดี (PT100) (Resistance Temperature Detector, RTD) ร่วมกับ TTM-007W Series : Temperature Controller และ Solid State Relay ในการควบคุมความร้อนของ Heater ในงานต้มน้ำ        จากรูปตัวอย่างข้างต้น การต่อใช้งาน RTD แบบรุ่นแกนสแตนเลส ร่วมกับ TTM-007W Series : Temperature Controller และ Solid State Relay ในการควบคุมความร้อนของ Heater ในงานต้มน้ำในอุตสาหกรรมอาหาร        ดังนั้น การเลือกวัสดุของ Thermocouple & RTD (PT100) ให้เหมาะสมกับอุณหภูมิการใช้งาน สามารถสรุปได้ดังนี้      • SUS304 เหมาะกับการใช้งานวัดอุณหภูมิ อากาศหรือของเหลวทั่วไป เช่น ของเหลวที่ไม่มีสารเคมี, วัดอากาศอุณหภูมิห้อง นิยมใช้กับทั้ง Thermocouple และ RTD      • SUS316 เหมาะกับการใช้งานวัดอุณหภูมิ อากาศหรือของเหลวที่มีกรดทางเคมี หรือเป็นเกรดที่มีปฏิกิริยากับกรดน้อย นิยมใช้กับทั้ง Thermocouple และ RTD      • SUS316L เหมาะกับการใช้งานวัดอุณหภูมิ สำหรับงานอาหาร/ยา นิยมใช้กับทั้ง Thermocouple และ RTD      • Sheath Thermocouple SUS 316 หรือ Metal Sheath ผลิตสำเร็จรูป เหมาะใช้ในกรณีอุณหภูมิกลางถึงสูงและต้องการความคงทน มีความยืดหยุ่นในการติดตั้ง เนื่องจากมีขนาดแกนเล็กกว่ารุ่นธรรมดา (มีเฉพาะ Thermocouple Type K และ J)      • SUS310S เหมาะกับการใช้งานวัดอุณหภูมิสูงถึง 1100 ํC เช่น งานเตาอบ นิยมใช้กับ Thermocouple Type K, R, S      • Inconel 600 เหมาะกับการใช้งานวัดอุณหภูมิสูงถึง 1200 ํC นิยมใช้กับ Thermocouple Type K, R, S เช่น งานเตาเผา      • Ceramic Alumina เหมาะกับการใช้งานวัดอุณหภูมิในอากาศที่อุณหภูมิสูง วัดอุณหภูมิสูงได้ดีถึง 1600 ํC นิยมใช้กับ Thermocouple Type R, S เช่น งานเตาเผา      • Silicon Carbide Tube (ซิลิกอนคาร์ไบด์) นิยมใช้ในการวัดอุณหภูมิสูง เช่น งานเตาหลอมอะลูมิเนียม วัดอุณหภูมิได้สูงถึง 1500 ํC นิยมใช้กับ Thermocouple Type R, S        การประยุกต์ใช้งาน Thermocouple & RTD (PT100)      • อุตสาหกรรมอาหารและยา      • อุตสาหกรรมผลิตขวดแก้ว      • อุตสาหกรรมหลอมทองแดง      • อุตสาหกรรมฉีดพลาสติก, อุตสาหกรรมโลหะ ปิโตรเคมี   อุตสาหกรรมผลิตขวดแก้ว อุตสาหกรรมฉีดพลาสติก อุตสาหกรรมอาหารและยา Temperature Sensor & Wire Single Phase Solid State Relay 3 Phase Solid State Relay Heater Heat Sink อุปกรณ์ระบายความร้อน โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK  

Image Alternative text
การประยุกต์ใช้งาน Digital Load Cell Transmitter ร่วมกับ PLC, Indicator, SCADA (DCS)

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Signal Transmitter) คือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าทางด้านอินพุต (Input Signal) ให้เป็นสัญญาณอนาลอกมาตรฐาน (Analog Signal) ทางด้านเอาต์พุต (Output) เช่น 4-20mA, 0-10V เป็นต้น และสามารถรับอินพุตประเภท AC/DC Current, AC/DC Voltage, Resistance, Frequenc, RPM, Strain-Gauge และ Multi Input for Thermocouple, PT100 (RTD) ได้ โดยที่อินพุต-เอาต์พุตแยกอิสระจากกัน (Isolation) ทำให้ไม่เกิดการรบกวนสัญญาณต่อกัน และหากสัญญาณด้านอินพุต (Input) เกิดการช็อตก็จะไม่มีผลกระทบต่อสัญญาณด้านเอาต์พุต (Output) โดยประเภทของอุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Signal Transmitter) มีรูปแบบต่าง ๆ (ดังตาราง)        ตัวอย่างอุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Signal Transmitter) ยี่ห้อ PRIMUS   Signal Transmitter Programmable Signal Transmitter Digital Signal Transmitter Digital Loadcell Transmitter EM-Series EM-L, EM-LC IM-Series IM-G      โดยปัจจุบันเราสามารถพบเห็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Signal Transmitter) ในงานด้านอุตสาหกรรม (ดังตาราง)        อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Signal Transmitter) สามารถแบ่งตามประเภทของสัญญาณอนาลอกมาตรฐานทางไฟฟ้าได้ 2 ประเภท ดังนี้      1. สัญญาณกระแสไฟฟ้ามาตรฐานเป็นสัญญาณในรูปแบบของกระแสตรง (DC Current) 4-20mA คือ เมื่อวัดค่าที่ 0% กระแสที่ออกทางด้านเอาต์พุตจะได้ 4mA และเมื่อวัดค่าที่ 100% กระแสที่ออกทางด้านเอาต์พุตจะได้ 20mA (ดังตัวอย่างกราฟ) เป็นสัญญาณที่นิยมใช้กันอย่างมาก เนื่องจากสามารถส่งสัญญาณได้ระยะไกล และสัญญาณรบกวนจะน้อยกว่าสัญญาณที่เป็นแรงดันไฟฟ้า (ดังรูปกราฟที่ 1)   รูปกราฟที่ 1 แสดงตัวอย่างทางด้านเอาต์พุต รูปแบบของกระแสไฟฟ้า (DC Current) 4-20mA        2. สัญญาณแรงดันไฟฟ้ามาตรฐานเป็นสัญญาณในรูปแบบของแรงดันไฟฟ้า (DC Voltage) 0-10VDC คือ เมื่อวัดค่าที่ 0% กระแสที่ออกทางด้านเอาต์พุตจะได้ 0Vdc และเมื่อวัดค่าที่ 100% กระแสที่ออกทางด้านเอาต์พุตจะได้ 10Vdc (ดังตัวอย่างกราฟ) ซึ่งสัญญาณมาตรฐานแบบแรงดันนี้ไม่เหมาะกับการส่งสัญญาณระยะไกล เนื่องจากจะเกิดความต้านทานของสายสัญญาณขึ้นและทำให้เกิดสัญญาณรบกวนได้ง่าย (ดังรูปกราฟที่ 2)   รูปกราฟที่ 2 แสดงตัวอย่างทางด้านเอาต์พุต รูปแบบของแรงดันไฟฟ้า (DC Voltage) 0-10VDC        จากประเภทของสัญญาณอนาล็อกมาตรฐานทางไฟฟ้าดังกล่าว ยังมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้า (Signal Transmitter) ที่รับสัญญาณประเภทโหลดเซลล์ (Load Cell) เพื่อทำหน้าที่แปลงสัญญาณแรงดันไฟ DC จากวงจรโหลดเซลล์ (Load Cell) เป็นสัญญาณไฟฟ้า DCV หรือ DCmA โดยวันนี้ทางเราจะขอแนะนำอุปกรณ์แปลงสัญญาณประเภทโหลดเซลล์ (Load Cell Transmitter) เพิ่มเติม ในหัวข้อ "การประยุกต์ใช้งาน Digital Load Cell Transmitter ร่วมกับ PLC, Indicator, SCADA (DCS)" โดยขอยกตัวอย่างอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐานแสดงผลแบบดิจิตอล (Digital Load Cell Signal Transmitter) ยี่ห้อ Primus รหัสสินค้า IM-G ดังต่อไปนี้        อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Signal Transmitter) ยี่ห้อ Primus รหัสสินค้า IM-G รูปแสดงโครงสร้างภายในของวงจร Load Cell และตัวอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์ เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Signal Transmitter)        จากภาพอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Signal Transmitter) ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแรงดันไฟ DC จากวงจรภายในโหลดเซลล์ (Load Cell Circuit) หรือวงจรบริดจ์ (Bridge Circuit) เป็นสัญญาณไฟฟ้า DCV (0-10V) หรือ DCmA (4-20mA) โดยเซ็นเซอร์โหลดเซลล์ (Load Cell) จะถูกแปลงสัญญาณทางกลเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเรียบร้อยแล้ว โดยจะถูกรับจากแรงที่มากระทำ อาทิ แรงกด (Compression), แรงดึง (Force) หรือน้ำหนัก (Weight) ให้เปลี่ยนแปลงออกมาในรูปแบบของสัญญาณทางไฟฟ้า (mV/V) ซึ่งภายในโหลดเซลล์ (Load Cell) เกือบ 80% นั้น จะมีตัว Strain-Gauge จำนวน 4 ตัว อยู่ภายใน ซึ่งเป็นความต้านทานที่จะเปลี่ยนแปลงค่าไปตามแรงกดหรือแรงดึง โดยจัดเรียงในรูปแบบของวงจรบริดจ์ (Bridge Circuit) ดังรูปโครงสร้างข้างต้น        ซึ่งโดยปกติตัว Load Cell Transmitter จะมีทั้งรูปแบบของปุ่มปรับหมุน หรือแบบ Dip Switch เพื่อนำสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (4-20mA, 0-10VDC) ทางด้านเอาต์พุตมาต่อใช้งานร่วมกับจอแสดงผล (Indicator) หรือเครื่องควบคุม (Controller) และ Load Cell Transmitter แสดงผลที่หน้าจอแบบดิจิตอล ซึ่งในหัวข้อนี้จะขอยกตัวอย่างอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐานหรือโหลดเซลล์ทรานสมิตเตอร์แบบดิจิตอล (Didital Load Cell Transmitter) โดยการประยุกต์ใช้งานร่วมกับ PLC, Indicator, SCADA (DCS) ดังตัวอย่างต่อไปนี้        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Signal Transmitter) ร่วมกับ PLC ยี่ห้อ UNITRONICS รุ่น V1040 Touch Screen+HMI        จากภาพวงจรเป็นการแสดงการต่อวงจรระหว่าง Load Cell กับ Digital Load Cell Transmitter และ Digital Load Cell Transmitter กับ UNITRONICS รุ่น V1040 Touch Screen+HMI เพื่อส่งสัญญาณ Analog ของค่าน้ำหนักที่วัดได้ ณ ปัจจุบัน (Real Time) ไปใช้งานในการเขียนโปรแกรม PLC ต่อไป        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Signal Transmitter) ร่วมกับ Digital Indicator ยี่ห้อ Primus รุ่น TIM-94N และ Paperless Recorder ยี่ห้อ TOHO รุ่น TRM-20        จากภาพวงจรเป็นการแสดงการต่อวงจรระหว่าง Load Cell กับ Digital Load Cell Transmitter และ Digital Load Cell Transmitter โดยจะทำการแยกสัญญาณ Analog ออกเป็น 2 Channel ต่อเข้ากับ Paperless Recorder ยี่ห้อ TOHO รุ่น TRM-20 เพื่อบันทึกค่าน้ำหนักที่วัดได้ และ Digital Indicator ยี่ห้อ Primus รุ่น TIM-94N เพื่อแสดงค่าน้ำหนักที่วัดได้ ณ ปัจจุบัน (Real Time)        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Signal Transmitter) ร่วมกับ SCADA (DCCS)      จากภาพวงจรเป็นการแสดงการต่อวงจรระหว่าง Load Cell กับ Digital Load Cell Transmitter และ Digital Load Cell Transmitter ต่อเข้าระบบ SCADA (DCS)        สรุปข้อดีของการประยุกต์ใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณประเภทโหลดเซลล์ (Digital Load Cell Transmitter) ร่วมกับ PLC, Indicator, SCADA (DCS)      ข้อดีของการประยุกต์ใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Signal Transmitter)      • เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Transmitter) ที่มีหน้าจอแสดงผลในตัว      • อินพุต-เอาต์พุตแยกอิสระจากกัน (Isolation) ทำให้ไม่เกิดการรบกวนของสัญญาณ      • ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง เนื่องจากมีขนาดบาง      • ลดการ Wiring สาย ทำให้ตู้คอนโทรล, ตู้ไฟฟ้า เป็นระเบียบ      • สะดวกในการซ่อมบำรุงและตรวจสอบ      • มี Option ให้เลือกใช้งาน เช่น เลือกสัญญาณ Analog มาตรฐาน 4-20mA, 0-10V ได้สูงสุดถึง 2 ช่องสัญญาณ และ RS-485 MODBUS RTU Protocol        การประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน (Digital Load Cell Signal Transmitter)      • เครื่องชั่งน้ำหนักหรือเครื่องแสดงค่าน้ำหนัก      • อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร      • อุตสาหกรรมพลาสติก      • อุตสาหกรรมยาง, โพลิเมอร์, ยางไฟเบอร์ ฯลฯ      • แปลงสัญญาณโหลดเซลล์เป็นสัญญาณไฟฟ้ามาตรฐาน ต่อใช้งานร่วมกับระบบ PLC, SCADA (DCS), Digital Indicator, Paperless Recorder        ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน   ชั่งน้ำหนักบนสายพาน เครื่องน้ำหนักการให้อาหารสัตว์ในฟาร์ม ชั่งน้ำหนักบนสายพานและส่งสัญญาณไปยังระบบ SCADA (DCS) Digital Load Cell Indicator With Alarm S Type Load cell Single Point Load cell Comprssion And Tension Digital Frequency Meters With Alarm โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
หน้าจอแสดง ---- (TTM-i4N : Digital Temperature Controller)

TTM-i4N : Digital Temperature Controller ปัญหา : หน้าจอแสดง ----     วิธีการแก้ไข 1. เช็คการตั้งค่า Type อินพุตว่าตรงกับหัววัดอุณหภูมิหรือไม่ 2. เช็คหัววัดอุณหภูมิว่าเสียหรือไม่ เนื่องจากหน้าจอแสดงว่าไม่มีอินพุต

Image Alternative text
หน้าจอแสดง 888 (CMT-007A : Digital Counter)

CMT-007A : Digital Counter     ปัญหา : หน้าจอแสดง 888   วิธีการแก้ไข : ทำการรีเซ็ต Power Supply ใหม่ ถ้ารีเซ็ตแล้วไม่หายส่งสินค้ามาเช็คภาค Supply

Image Alternative text
ทำไมต้องเลือกใช้ Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller ในการควบคุมอุณหภูมิในตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK      Temperature Controller เครื่องควบคุมอุณหภูมิ ทำหน้าที่ในการประมวลผลสัญญาณ (Input) ที่รับเข้ามาจากตัวเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) เช่น Thermocouple, Pt100 หรือ Thermister ชนิด NTC, PTC เป็นต้น แล้วสั่งการให้เอาต์พุต (Output) ทำงาน เพื่อควบคุม Load เช่น ฮีตเตอร์ (Heater), วาล์ว (Valve) ในการเพิ่มหรือลดลงของอุณหภูมิให้ได้ตามค่าที่ตั้งไว้ และเพื่อควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในสภาวะคงที่ ที่ต้องการใช้ในงานนั้น ๆ ซึ่ง Temperature Controller มีรูปแบบวิธีการในการควบคุมอุณหภูมิที่แตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อ เช่น ระบบการควบคุมแบบ ON-OFF (ON-OFF Control), ระบบการควบคุมแบบ Fuzzy (Fuzzy Control), ระบบการควบคุมแบบ PID (PID Control) เป็นต้น โดยเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) นิยมใช้ในโรงงานของประเภทอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร, เครื่องบรรจุภัณฑ์, เครื่องฉีดพลาสติก, อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์, อุตสาหกรรมเซรามิกส์ ฯลฯ แบ่งตามประเภทได้ดังนี้   ประเภทของ Temperature Controller เครื่องควบคุมอุณหภูมิ เครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบอนาล็อก (Analog Temperature Control) ปรับค่าง่าย เป็นแบบเข็มหมุน เหมาะสำหรับวัดอุณหภูมิที่ไม่ต้องการความถูกต้องและแม่นยำมากนัก เนื่องจากโครงสร้างภายในใช้เพียงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller) ในการควบคุมหรือคำนวณ และไม่มีฟังก์ชั่นที่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์อื่นในระบบควบคุมได้ เครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล (Digital Temperature Controller) นิยมใช้งานมาก เนื่องจากมีความเที่ยงตรงในการวัดสูง การตอบสนองได้ดีกว่าแบบอนาล็อก ควบคุมอุณหภูมิได้ทั้งร้อนและเย็น (Heat-Cool) และยังสามารถต่อเข้าร่วมกับอุปกรณ์อื่นเพื่อเก็บข้อมูลหรือเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่าน RS485 ได้        จากประเภทของ Temperature Controller เครื่องควบคุมอุณหภูมิ จะเห็นได้ว่าหน้าที่หลัก ๆ คือ ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิเหมือนกันและใช้ในงานควบคุมอุณหภูมิทั่วไป แต่ในการเลือกใช้งานให้เหมาะสมนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เช่น ถ้าหากเราต้องการควบคุมอุณหภูมิกับงานที่ต้องการ ควบคุมอุณหภูมิย่านติดลบหรือความเย็นจะเลือกใช้ Temperature Controller ประเภทใดจึงจะเหมาะสมกับหน้างาน โดยในวันนี้เราจะมายกตัวอย่างเครื่องควบคุมอุณหภูมิย่านติดลบหรือความเย็น หรือ Refrigerator Controller/Defrost Controller ยี่ห้อ Primus Model : DEF-01-Series สำหรับควบคุมอุณหภูมิในตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น โดยมีรายละเอียดดังนี้   Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller (DEF-01-Series) การแสดงผลหน้าจอ **Free Input Sensor NTC 6x50 mm. Wire 1 M. (10K)**        เครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอล สำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น (Digital Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller) เป็นเครื่องควบคุมอุณหภูมิสำหรับตู้แช่และระบบทำความเย็นที่มีขนาดเล็ก (Mini Temperature Controller) ช่วยให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งในตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น ที่มีฟังก์ชั่นการละลายน้ำแข็ง (Defrost) โดยการใช้เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิสำหรับเป็นอินพุต (Input) ให้กับตัว Temp Defrost Controller ประเภทนี้จะเป็น Thermister ชนิด NTC หรือ PTC ซึ่งสามารถวัดอุณหภูมิในย่านติดลบได้ดี (-40 ถึง 130 ํC) โดยใช้หลักการควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์ (Compressor) เพื่อใช้ในการเพิ่มความดันให้กับน้ำยาหรือสารทำความเย็น อาทิ ตู้แช่เย็น, ระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น, ระบบควบคุมความดัน พัดลม รวมถึงระบบทำความเย็นสำหรับอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันเราอาศัยระบบทำความเย็น (Refrigerator System) มาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การผลิตอาหาร, การเก็บรักษาอาหาร, การแช่แข็ง, การทำความเย็นในตู้แช่, ห้องเย็น, โรงน้ำแข็ง เป็นต้น        โดยในวันนี้ทางเราขอนำเสนอข้อมูลและเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องควบคุมอุณหภูมิสำหรับตู้แช่และระบบทำความเย็นขนาดเล็ก (Mini Temperature Controller) ที่เน้นในเรื่องของการควบคุมอุณหภูมิย่านติดลบหรือความเย็น เพื่อควบคุมปริมาณน้ำแข็ง เพราะการผลิตหรือเก็บรักษาอาหารหรือผลผลิตทางการเกษตรบางประเภทจะควบคุมให้มีความชื้นในอากาศสูง เพื่อรักษาให้อาหารหรือผักผลไม้ให้มีความสด ไม่เหี่ยวเฉา และช่วยลดปริมาณการเกิดน้ำแข็งที่ผิวคอยล์เย็น ในหัวข้อ "ทำไมต้องเลือกใช้ Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller ในการควบคุมอุณหภูมิในตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น"        ยกตัวอย่างรุ่น DEF-01-F3 (Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller) ในการควบคุมอุณหภูมิในตู้แช่, เครื่องทำความเย็น ที่มีประสิทธิภาพ โดยทำหน้าที่รับอินพุตจาก Thermistor NTC, PTC เซ็นเซอร์ที่วัดอุณหภูมิในย่านติดลบได้ดี (-40 ถึง 130 ํC) โดยใช้หลักการการควบคุมของ Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller สามารถควบคุมได้ทั้งระบบความร้อนและระบบทำความเย็น คือ      • การควบคุมแบบระบบความเย็น (Cooling) คือ Output จะทำงานเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าค่า Setpoint      • การควบคุมแบบระบบความร้อน (Heating) คือ Output จะทำงานเมื่ออุณหภูมิสูงกว่าค่า Setpoint        เครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอล สำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น (Refrigerator Controller, Defrost Controller) รุ่น DEF-01-F3 นอกจากนี้ยังมีระบบป้องกันแรงดันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage Protection) ภายในตัวเดียวกัน เพื่อป้องกันคอมเพรสเซอร์ (Compressor) เสียหายและช่วยลดการ Wiring สายไฟอีกด้วย        ตัวอย่าง DEF-01-F3 : Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller ในการควบคุมอุณหภูมิในตู้แช่, เครื่องทำความเย็น      Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller รุ่น DEF-01-F3 ใช้ควบคุมอุณหภูมิของห้องเย็น โดยมี Output ควบคุม Compressor, Defrost, FAN, Auxiliary ให้ใช้งาน และยังมี Accessories DEF-01-A3 เป็น Dongle Module for RS-485 เพื่อใช้เชื่อมต่อเข้ากับ Software เพื่อเก็บข้อมูลและแจ้งเตือน Alarm ผ่าน Line ได้ โดย Temp Defrost Controller รุ่น DEF-01-Series มี Function Alarm เป็นแบบ Deviation Alarm (ค่าที่ตั้งเปลี่ยนแปลงตาม Setpoint) และแบบ Absolute Alarm (ค่าที่ตั้งไม่เกี่ยวข้องกับ Setpoint) สามารถแจ้งเตือนอุณหภูมิได้ถึง 8 Function ดังนี้   1. Deviation High Low Band Alarm 2. Deviation value High Alarm 3. Deviation value Low Alarm 4. Deviation value High Low Range Alarm   5. Absolute High Low Band Alarm 6. Absolute High Alarm 7. Absolute Low Alarm 8. Absolute High Low Range Alarm        การทำงานของเครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอล สำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น (Digital Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller)        ระบบการละลายน้ำแข็ง (Defrost) สามารถสั่งงานได้จากปุ่มกด Digital Input หรือตามช่วงเวลาที่กำหนด และสามารถเลือกใช้การละลายน้ำแข็งได้ทั้งแบบ Electrical Heater หรือ Hot Gas        Digital Input สามารถตั้งให้รับอินพุตเพื่อใช้ทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น แสดงสัญญาณเตือนเริ่มการทำงานของระบบละลายน้ำแข็ง สวิตช์แรงดันหรือสวิตช์เปิด-ปิดประตู หรือม่าน เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถตั้งหน่วงเวลาก่อนการแจ้งเตือนได้อีกด้วย        Voltage Protection เป็น Function Over-Under Voltage Protection เพื่อเช็คแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับระบบ โดยหากมีแรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่าหรือต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้ Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller รุ่น DEF-01-Series จะหยุดการทำงานทั้งหมดหลังจากเวลาที่ตั้งไว้ เพื่อป้องกันคอมเพรสเซอร์หรือระบบทำความเย็นเสียหาย        ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงานถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าเราเลือกใช้อุปกรณ์ได้เหมาะสมกับงานจะส่งผลให้งานของเรานั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยทางเราได้สรุปมาเป็นหัวข้อหลัก ๆ ว่าทำไมต้องเลือกใช้ Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller ในการควบคุมอุณหภูมิในตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น ดังนี้      • เครื่องควบคุมอุณหภูมิตู้แช่, เครื่องทำความเย็น (Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller) ขนาดเล็กทะทัดรัด ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง      • มีระบบป้องกันแรงดันไฟตก-ไฟเกิน (Under-Over Voltage Protection) ในตัว เพื่อป้องกันคอมเพรสเซอร์ (Compressor) เสียหาย      • ลดการ Wiring สาย สะดวกในการซ่อมบำรุงและตรวจสอบ      • มี Dongle Terminal สำหรับเชื่อมต่อกับ Option Sensor Probe, RS-485 และสามารถคัดลอกพารามิเตอร์ไปยังตัวอื่น ๆได้      • Free Input Sensor NTC        การประยุกต์ใช้งานเครื่องควบคุมอุณหภูมิและแสดงผลแบบดิจิตอล สำหรับตู้แช่หรือเครื่องทำความเย็น (Digital Refrigerator Controller หรือ Defrost Controller)   ระบบห้องเย็น ตู้แช่ ตู่แช่แข็ง Mini Digital Refrigeration Temperature Controller Converter,USB to RS-422/RS-485 Digital Temperature Controller PID Control Function Analog Temperature Controller Prisoft Primus โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

Image Alternative text
แนะนำเทคนิคง่าย ๆ การแก้ปัญหาที่พบบ่อยของสินค้าไฟฟ้าอุตสาหกรรม

Digital Counter & Target Counter • CMT-007A : Digital Counter (หน้าจอแสดง 888) Digital Indicator • CM-004N / CM-006N : Digital Indicator • CM-004N : Digital Indicator (ลูกค้าตั้งค่าอินพุตไม่ตรง 1) • CM-004N : Digital Indicator (ลูกค้าตั้งค่าอินพุตไม่ตรง 2) • CM-013 : Digital Load Cell Indicator with Alarm (หน้าจอแสดง Err.U) • TIM-94N : Universal Input Digital Indicator (ไม่ได้ต่ออินพุตหรือสายอินพุตขาด) • TIM-94N : Universal Input Digital Indicator (ปัญหาที่พบบ่อยของ Process Indicator รุ่น TIM-94N) • TCM-94N-1-A : Digital Ac Meter (True RMS) (ปัญหาที่พบบ่อยของอุปกรณ์วัดและแสดงผลค่ากระแส รุ่น TCM-94N-1-A) • TVM-94N-1-A / TVM-94N-2-A : Digital AC/DC Volt Meter • TIM-94N-4CH : 4 Channels Digital Indicator (ไม่ได้ต่ออินพุตหรือสายอินพุตขาด) I/O Module • PH-05 / PH-07 : Modbus RS-485 I/O Module (แนะนำการเชื่อมต่อ ESP8266 Mudule RS-485 เข้ากับ PH-05,PH-07,RM-012N-D) Multifunction Meter / Power Meter • KM-06N : 3 Phase Power and Energy Meter with RS-485 (การใช้ Arduino ติดต่อ Meter KM-06N ทำอย่างไร?) • KM-07 : Multifunction Power Meter (หน้าจอแสดงผลไม่ชัดเจน) • KM-18-1 : Data Logger for Energy Meter • KM-07-A-2 : Multifunction Power Meter Phase Protection & Dry Run Protection • VPM-D-Series :  Digital Voltage Protection Relay • PM-007 : Dry Run / Load Protection Relay RPM Meter • CM-001 / CM-001-L : Digital Tachometer Solid State Relay • PSA-A1 : Amplifier (Solid State Relay) (การขยาย Input/Output ของการใช้ Temperature Controller ได้น้อย) Temperature Controller • TMP-Series : Digital Temperature Controller PID Control Function (หน้าจอแสดง -Sb-) • TTM-i4N : Digital Temperature Controller (หน้าจอแสดง Err1) • TTM-i4N : Digital Temperature Controller (หน้าจอแสดง ----) • DEF-01-F1 : Mini Digital Refrigeration Temperatue Controller (ไม่ได้ต่ออินพุตหรือสายอินพุตขาด) • TTM-i4N : Digital Temperature Controller Timer & Timer Switch • PT-03 : Digital Timer (ตั้งค่าแล้วแต่ไม่นับเวลา)

Image Alternative text
หน้าจอแสดง Err1 (TTM-i4N : Digital Temperature Controller)

TTM-i4N : Digital Temperature Controller ปัญหา : หน้าจอแสดง Err1 วิธีการแก้ไข 1. เช็คการตั้งค่า Type อินพุตว่าตรงกับหัววัดอุณหภูมิหรือไม่ 2. เช็คหัววัดอุณหภูมิแล้วตรง แสดงว่า IC ภาคอินพุตเสีย ซ่อมไม่ได้เนื่องจากตัวอุปกรณ์ไม่สามารถถอดได้