Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text
     Signal Transmitter อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณอนาลอกมาตรฐาน หรือ อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางอินพุตให้เป็นสัญญาณอนาลอกมาตรฐาน
     มีประโยชน์ในการใช้งานอย่างไร วันนี้เราจะมากล่าวถึงอุปกรณ์ตัวนี้กัน เนื่องจากระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรมประกอบด้วยอุปกรณ์เครื่องมือวัดหลายชนิดต่อร่วมกันเพื่อ รับ-ส่ง สัญญาณระหว่างกัน ซึ่งมีหลากหลายสัญญาณ จึงต้องมีการกำหนดสัญญาณที่เป็นสากลขึ้นเพื่อควบคุมอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ ทั้งสัญญาณประเภทนิวเมติก (3-15 psi) และสัญญาณทางไฟฟ้า (4-20mA,0-10Vdc) เช่น อุปกรณ์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter), อุปกรณ์วัดความชื้นและอุณหภูมิ (Humidity&Temperature Transmitter), เซ็นเซอร์อุณหภูมิ (Temperature Transmitter) เป็นต้น
     
ส่วนประเภทของสัญญาณอนาลอกมาตรฐานทางไฟฟ้า มี 2 ประเภท ดังนี้
     1.สัญญาณกระแสไฟฟ้ามาตรฐานเป็นสัญญาณในรูปแบบของกระแสตรง (DC Current) 4-20mA คือ เมื่อวัดค่าที่ 0% กระแสที่ออกทางด้านเอาต์พุตจะได้ 4mA และเมื่อวัดค่าที่ 100% กระแสที่ออกทางด้านเอาต์พุตจะได้ 20mA (ดังตัวอย่างกราฟ) เป็นสัญญาณที่นิยมใช้กันอย่างมาก เนื่องจากสามารถส่งสัญญาณได้ระยะไกล และสัญญาณรบกวนจะน้อยกว่าสัญญาณที่เป็นแรงดันไฟฟ้า 
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่วัดและสัญญาณของกระแส ทั้งแบบ Direct และ Inverse
 
     ตัวอย่าง รูปการต่อใช้งานเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple) ร่วมกับ Transmitter (1Channel) เพื่อแปลงเป็นสัญญาณ 4-20mA และต่อร่วมกับอุปกรณ์ควมคุมแบบโปรแกรม PLC (Vision Programmable Logic Controller)
     
     กรณีที่ต้องการวัดกระแสจากมอเตอร์โดยต่อผ่านตัว CT 500/5A เพื่อเข้าอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Current Transmitter) จาก 0-5A/AC เป็น 4-20mA และต่อร่วมกับเครื่องวัดค่าแสดงผล (Digital Indicator) และเครื่องบันทึกค่า (Recorder) ในจุดเดียวกันก็สามารถทำได้โดย Transmitter ที่เป็นรุ่นที่มีเอาต์พุต 2 Channel ซึ่งจะแยกอิสระจากกัน (Isolation) ดังรูป

 
     ตัวอย่าง รูปการต่อใช้งาน CT 500/5A (Current Transformer) ร่วมกับ Transmitter (2Channel) เพื่อแปลงเป็นสัญญาณ 4-20mA และต่อร่วมกับอุปกรณ์เครื่องวัดค่าแสดงผล (Digital Indicator) และเครื่องบันทึกค่า (Recorder) 
 
     2. สัญญาณแรงดันไฟฟ้ามาตรฐานเป็นสัญญาณในรูปแบบของแรงดันไฟฟ้า (DC Voltage) 0-10VDC คือ เมื่อวัดค่าที่ 0% กระแสที่ออกทางด้านเอาต์พุตจะได้ 0Vdc และเมื่อวัดค่าที่ 100% กระแสที่ออกทางด้านเอาต์พุตจะได้ 10Vdc (ดังตัวอย่างกราฟ) ซึ่งสัญญาณมาตรฐานแบบแรงดันนี้ไม่เหมาะกับการส่งสัญญาณระยะไกล เนื่องจากจะเกิดความต้านทานของสายสัญญาณขึ้นและทำให้เกิดสัญญาณรบกวนได้ง่าย
 

กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าที่วัดและสัญญาณของแรงดัน ทั้งแบบ Direct และ Inverse
 
     กรณีที่ต้องการวัดกระแสโดยต่อผ่านตัว R Shunt เพื่อเข้าอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Current Transmitter) จาก 0-60mV เป็น 4-20mA และต่อร่วมกับเครื่องวัดค่าแสดงผล 2 ตัว (Digital Indicator) ในจุดเดียวกัน ก็สามารถทำได้โดย Transmitter ที่เป็นรุ่นที่มีเอาต์พุต 2 Channel ซึ่งจะแยกอิสระจากกัน (Isolation) ดังรูป
     
     นอกจากนี้อุปกรณ์แปลงสัญญาณทางไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณอนาลอกมาตรฐาน (Signal Transmitter
นี้ ยังสามารถรับอินพุตประเภท AC/DC Current, AC/DC Voltage, Resistance, Frequenc , RPM, Strain-gauge และ Multi Input for Thermocouple, PT100 (RTD) เช่น สัญญาณ 4-20mA, 0-20mA, 0-5Vdc, 0-10Vdc โดย อินพุต-เอาต์พุตแยกอิสระจากกัน (Isolation) ทำให้ไม่เกิดการรบกวนสัญญาณต่อกัน และหากสัญญาณด้านอินพุตเกิดการช็อตก็จะไม่มีผลกระทบต่อสัญญาณด้านเอาต์พุต
 
สินค้าที่เกี่ยวข้อง