Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

ทำไมต้องใช้ Star-Delta Timer

           ในภาคอุตสาหกรรม และ ในเครื่องจักรประเภทต่างๆ มอเตอร์ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นส่วนสำคัญและมีอัตราในการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงมาก โดยส่วนมากในโรงงานอุตสาหกรรมนิยมใช้งานมอเตอร์แบบ 3 เฟส ซึ่งเป็นมอเตอร์ที่กินกระแสสูงในขณะสตาร์ท (Start Motor)  โรงงานอุตสาหกรรมต่างจึงมีความต้องการที่จะลดกระแสไฟฟ้าในขณะสตาร์ท การต่อมอเตอร์แบบ สตาร์ เดลต้า (Star Delta) จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เรา สามารถลดกระแสไฟฟ้าในขณะสตาร์ทได้ การใช้ Star-Delta Timer สามารถช่วยให้ง่ายมากขึ้น สำหรับการต่อวงจรไฟฟ้าในการควบคุม มอเตอร์สตาร์ เดลต้า (Star Delta) วันนี้เราอธิบาย วิธีการสตาร์ทมอเตอร์กระแสสลับแบบ 3 เฟส แต่ละแบบกัน

โดยมีวิธีการสตาร์ทมอเตอร์กระแสสลับแบบ 3 เฟส ดังนี้
              การสตาร์ทมอเตอร์แบบต่อตรง (Direct On Line )
เหมาะสำหรับมอเตอร์ที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 7.5kW(10HP) เพราะมีกระแสสูงในช่วงสตาร์ท แรงบิดสูงทำให้เกิดการกระชาก อาจจะเกิดผลกับระบบไฟฟ้า เช่น แรงดันไฟตก ไฟกระพริบ ส่งผลไปถึงโหลด หรือ อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เกิดความเสียหาย

              การสตาร์ทแบบสตาร์-เดลต้า (Star-Delta ) เหมาะกับมอเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีพิกัดเกิน 7.5 kW มากกว่าการสตาร์ทแบบต่อตรง (Direct On Line) เพราะจะมีกระแสช่วงสตาร์ทที่สูง (ประมาณ5 - 7เท่า ของค่ากระแสปกติของค่าพิกัดมอเตอร์) ดังกราฟ


                    กราฟแสดงการเปรียบเทียบของกระแสช่วงสตาร์ทมอเตอร์ ระหว่าง การสตาร์ทแบบ DOL และ การสตาร์ทแบบ Star Delta​

                      ขอบคุณเครดิตภาพจาก http://www.9engineer.com/index.php?m=article&a=print&article_id=2174

                 ในโรงงานอุตสาหกรรมที่นิยมใช้มอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่  จะเห็นว่าการต่อแบบการสตาร์ทมอเตอร์แบบสตาร์-เดลต้า (Start-Delta) จึงเหมาะสมมากกว่า การสตาร์ทแบบต่อตรง (Direct On Line) แต่ในการสตาร์ทมอเตอร์แบบ Star-Delta มักจะเจอปัญหาที่ทำให้แมกเนติกมันเกิดช็อตกันเกิดความเสียหาย ซึ่งเกิดจากเวลาในช่วงจังหวะที่มีการสับเปลี่ยนจาก สตาร์ เป็น เดลต้า

                  แล้วในช่วงเวลาควรตั้งเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ต่ออุปกรณ์ช่วยในการตั้งเวลาที่เรียกว่า สตาร์-เดลต้า ไทม์เมอร์ (Star-Delta Timer) ดังรูป

                                               รูปแสดงการต่อวงจรควบคุม โดยใช้ Timer ในการตั้งเวลาสลับการทำงานของ Star Delta

ลักษณะการทำงานของStar Delta Timer

             เป็น Star Delta Timer สำหรับ Start Motor ในระบบ 3 เฟส เพื่อช่วยลดกระแส Peak ในช่วงที่ Motor เริ่มหมุนทำให้กระแสที่ใช้ในการ Start Motor ไม่เกินพิกัดของกระแส Lock Rotor หรือช่วยให้ไม่เกิดไฟตกใน ช่วง Start Motor ในกรณีที่ Motor มีขนาดใหญ่

           เมื่อจ่ายไฟเข้า Supply ของ Star Delta Timer รุ่น PF-01 Relay ของชุด Star (Y) จะทำงานก่อน เมื่อครบเวลาที่ตั้งไว้ (TY) Relay ของชุด Star (Y) จะหยุดทำงาน และ หน่วงเวลาตาม Pause Time T(Y-∆) เพื่อเว้นระยะห่างการทำงานของ Magnetic Contractors ระหว่าง Star และ Delta เมื่อครบเวลา Pause Time T(Y-∆) แล้ว Relay ของชุด Delta (∆) จะทำงาน PF-01 สามารถเลือกเวลาการทำงานได้ 2 Ranges คือ 0.3-30 sec และ 1-120 sec โดยการต่อ Jumper

****ข้อแนะนำ : การตั้งค่านี้จะต้องในตั้งค่าที่ตัว Star Delta Timer ส่วนระยะเวลานานเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับขนาดพิกัดมอเตอร์โดยตรง ซึ่งดูได้จากตารางคู่มือ หรือ Nameplate ของมอเตอร์

 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK