Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการวัดระยะทาง, ความเร็วรอบ, มุม, องศาการเคลื่อนที่ ซึ่งอาศัยหลักการทำงานโดยการเข้ารหัสจากระยะทางจากการหมุนของแกนเพลา แล้วทำการแปลงออกมาในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า (Pulse) เพื่อนำมาต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์แสดงผล เช่น เครื่องนับจำนวน (Digital Counter), เครื่องวัดความถี่และระยะทาง (Freqenecy Meter), พีแอลซี (PLC) เป็นต้น
     การใช้งาน Encoder นั้น ผู้ใช้งานจะต้องมีการกำหนดค่าพัลส์ต่อรอบ Pulse/Revolution (ตาม Spec ของ Encoder) ได้เพียงค่าเดียวในการวัด เช่น เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) แบบแกนเพลา รุ่น PR-01N-S 360 Pulse/Revolution นั่นหมายความว่า ในการวัดต่อ 1 รอบ จะมีพัลส์เกิดขึ้น 360 Pluse ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงความละเอียดในการวัดระยะจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ใหม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งผลที่ตามมาคือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น, ความยุ่งยากในการต่อสายและอาจจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบในการติดตั้งใหม่
     ปัจจุบันนี้ Encoder ได้มีการพัฒนาที่ตอบโจทย์กับปัญหาตรงจุดนี้โดยการใช้เอ็นโค้ดเดอร์แบบที่สามารถโปรแกรม Pluse/Revolution ได้เพียงตัวเดียว หรือที่เรียกว่า Programmable Encoderโดยการเชื่อมต่อกับ Computer ผ่าน Software เพื่อกำหนดจำนวน Pulse/Revolution ของ Encoder ตั้งแต่ 1-65,536 Pulse/Revolution (อ้างอิง Encoder รุ่น PR-04 Brand Primus) ดังรูป

รูปแสดงตัวอย่างการกำหนด Pluse ของ Encoder โดยผ่าน Software และอุปกรณ์การเชื่อมต่อ USB Converter (PR-PRO)

ประโยชน์ของ Programmable Encoder ที่มีความแตกต่างจาก Encoder แบบกำหนด Pluse ทั่วไป มีอะไรบ้างมาดูกัน
     กำหนด Resolution Pluse : สะดวกในการกำหนดค่า Pluse ผ่าน Software ได้ตามที่ต้องการใน Encoder เพียงตัวเดียว และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามการวัด ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนมอเตอร์ หรือเปลี่ยนไลน์ผลิตใหม่ เป็นต้น

     กำหนดทิศทางการหมุน : สามารถบอกทิศทางของการหมุนตามเข็ม (CW) หรือทวนเข็มนาฬิกา (CCW) เพื่อตรวจเช็คสถานะทิศทางการหมุนของมอเตอร์ หรือการเคลื่อนที่ไปหรือกลับของวัตถุบนสายพานลำเลียง ทำให้ประหยัดเวลาในการเดินไปตรวจเช็คที่ตัวมอเตอร์ของผู้ปฏิบัติงาน
 
     กำหนด Index Position : สามารถกำหนดตำแหน่งหรือมุมในการเคลื่อนที่ของ Encoder เช่น ใน 1 รอบของการหมุน มุมที่ต้องการ 180 ํ เป็นต้น หรือ กำหนดการเคลื่อนที่ของเครื่อง CNC ในการเคลื่อนที่ไปยังชิ้นงานและกลับมายังตำแหน่งเดิม เป็นต้น
 
     จากที่ได้เห็นข้อแตกต่างของ Encoder และ  Programmable Encoder กันไปแล้วนั้น ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกเอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder) ให้เหมาะสมและนำมาประยุกต์ใช้กับลักษณะงาน ดังนี้
Light-duty Encoder
     • ประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
     • เครื่องพิมพ์, เครื่องมือแพทย์
     • ชิ้นส่วนอุปกรณ์เซมิคอนดัคเตอร์
Industrial Encoder
     • อุตสาหกรรมสิ่งทอ
     • อุตสาหกรรมพลาสติก, บรรจุภัณฑ์, อุตสาหกรรมเซรามิก
     • อุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
Heavy-Duty Encoder
     • เครน, ลิฟท์, รถบรรทุกลำเลียง
     • อุตสาหกรรมน้ำมัน
     • อุตสาหกรรมเหมืองแร่


โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK