Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     Pressure Transmitter เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดความดันหรือแรงดัน (Pressure) และแปลงสัญญาณทางด้านเอาต์พุต (Output) ออกมาเป็นสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน เช่น 4-20mA, 0-10VDC เป็นต้น โดย Pressure Transmitter นั้น สามารถวัดได้ทั้งของเหลว (Liquid)  เช่น น้ำ (Water) และน้ำมัน (Oil) เป็นต้น รวมไปถึงการวัดความดันของนิวเมติก (Pneumatic) หรือลมและแก๊ส (Gas) นั่นเอง

     ปัจจุบันมีการนำอุปกรณ์ตรวจวัดแรงดันมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, อาหารและยา, เคมี, ยานยนต์ เป็นต้น เพื่อวัดและควบคุมแรงดันในระบบ เช่น การวัดแรงดันนํ้ามันในกระบอกไฮดรอลิก, วัดความดันลม, วัดแรงดันน้ำของปั๊มนํ้า, วัดแรงดันไอนํ้าในหม้อนํ้า (Boiler) เป็นต้น เพื่อนำไปควบคุมและแสดงผลค่าของแรงดันที่ต้องการจะวัดของกระบวนการต่าง ๆ ในระบบ โดย Pressure Transmitter มีหน่วยในการแสดงผลของค่าแรงดันที่วัดได้ เช่น Bar, mbar, kpa, psi, mmHg เป็นต้น หรือบางทีเรียกกันว่า Pressure Transmitter, Pressure Switch, Pressure Transducer, Pressure Sensor ขึ้นอยู่กับการควบคุมของงานแต่ละประเภท ดังนี้
 
     รูปแบบของเซ็นเซอร์วัดความดัน (Pressure Sensor) แบ่งตามลักษณะการควบคุมได้ 2 ประเภท ดังนี้
          1. Pressure Switch เป็นสวิทช์แรงดันที่เปลี่ยนแรงดันทางกลผ่านชุดไดอะแฟรมเชิงกล (Mechanical Diaphragm) หรือลูกสูบ (Piston) โดยสัมผัสกับชุดสวิทช์ในการเปลี่ยนแปลงของหน้าคอนแทค (ON-OFF) เหมาะสำหรับควบคุมแรงดันในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ปั๊มลม, วาล์วหรือควบคุมแรงดันน้ำ, อากาศหรือน้ำมันไฮดรอลิก เป็นต้น  (ดังรูป)

Pressure Switch (Model : P/PS 920/924/932) / Differential Pressure (Model : PD 900/904/912)
 
          2. Pressure Transmitter เป็นอุปกรณ์วัดแรงดันที่เปลี่ยนแรงดันทางกลผ่านชุด Transducer (ชนิด Strain Gauge) ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าในรูปแบบของอนาล็อก เช่น 0-20mA, 4-20mA , Voltage 0-5 Vdc, 0-10 Vdc เป็นต้น และ Pressure Transmitter สามารถนำมาต่อใช้งานร่วมกับอุปกรณ์แสดงผลหรือควบคุมอื่น เช่น มิเตอร์ (Meter), คอนโทรลเลอร์ (Controller) หรือพีแอลซี (PLC) เป็นต้น เพื่อแสดงค่าแรงดันในการนำไปควบคุมในระบบได้ (ดังรูป)

Pressure Transmitter EPI Series 8287
 
     จากที่ทราบถึงประเภทของเซ็นเซอร์วัดความดัน (Pressure Sensor) ตามลักษณะการควบคุมกันทั้ง 2 แบบกันไปแล้วนั้น ต่อไปเราจะมาแนะนำในส่วนของการเลือกใช้งานของอุปกรณ์ที่วัดความดันและแปลงสัญญาณทางด้านเอาต์พุต (Output) ออกมาเป็นสัญญาณอนาล็อก 4-20mA, 0-10VDC หรือ Pressure Transmitter ว่าควรเลือกแบบใด เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน
 
การเลือก Pressure Transmitter ให้เหมาะสมกับงาน
 
Pressure Transmitter
EPI 8287-Series TRAFAG KS-Series TRAFAG TPSA-Series TRAFAG
     อุปกรณ์วัดแรงดันมีเอาต์พุตเป็นสัญญาณอนาล็อก 4-20mA, 0-10VDC เป็นต้น เหมาะสำหรับควบคุมแรงดันในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ปั๊มลม, วาล์ว หรือควบคุมแรงดันน้ำ, อากาศ หรือน้ำมันไฮดรอลิก เป็นต้น
 
Flush Diaphragm Pressure Transmitter
TPF-Series GEFRAN TPFADA-Series GEFRAN
     อุปกรณ์วัดแรงดันแบบ Diaphragm มีเอาต์พุตเป็นสัญญาณอนาล็อก mV/V (รุ่น TPF) และ 4-20mA, 0-10VDC (รุ่น TPFA-DA) โดยใช้หลักการขยายตัวของ Strain Gauges เหมาะสำหรับวัดความดันที่มีความเหนียวสูง เช่น ของเหลวที่มีความข้น, น้ำมัน, ยาง, ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสารเคมี เป็นต้น / รุ่น TPF โครงสร้าง Diaphragm ผลิตจากสแตนเลสชนิด 17-4 PH ป้องกันสนิม / รุ่น TPFADA มีฟังก์ชั่นพิเศษคือ Digital Auto Zero & Span ทำให้ง่ายต่อการใช้งานโดยใช้ปากกาแม่เหล็ก 
 
Melt Pressure Transmitter & Transducer
M-Series GEFRAN
     อุปกรณ์วัดแรงดันแบบ Melt Pressure Transmitter มีเอาต์พุตเป็นสัญญาณอนาล็อก mV/V, 4-20mA, 0-10VDC เหมาะสำหรับระบบการเติมของเหลวที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิคงที่ และอุณหภูมิสูงถึง 400 ํC ในการวัดจะทำได้โดยการเปลี่ยนความตึงให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า โดยใช้หลักการของ Strain Gauge ผลิตจากสแตนเลสชนิด 17-7 PH Corrugated Diaphragm วัสดุที่ใช้ทำ Titanium Nitride (สำหรับย่านวัดต่ำสุด 100 bar ถึง 1500 psi)
 
การประยุกต์ใช้งาน
 
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอาหารและยา อุตสาหกรรมยานยนต์

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK