Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     จากบทความที่ได้นำเสนอเกี่ยวกับ Solid State Relay โซลิดสเตจรีเลย์ (SSR) กันไปแล้ว ในหัวข้อ Solid State Relay มีแบบใดบ้าง? ทำให้ผู้อ่านได้ทราบถึงประโยชน์และการเลือกนำไปใช้งานของ Solid State Relay ได้อย่างเหมาะสมของแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นโซลิดสเตจรีเลย์แบบ 1 เฟส (Single Phase Solid State Relay), โซลิดสเตจรีเลย์แบบ 2 เฟส (Two Phase Solid State Relay), โซลิดสเตจรีเลย์ แบบ 3 เฟส (Three Phase Solid State Relay), โซลิดสเตจรีเลย์ แบบ DC (DC Solid State Relay), โซลิดสเตทรีเลย์ขนาดเล็กสำหรับใส่ลงบนวงจร PCB (Solid State Relay for PCB), โซลิดสเตจรีเลย์แบบ Socket ติดตั้งบนราง DIN Rail (Solid State Relay for DIN Rail), โซลิดสเตจรีเลย์ปรับค่าได้ (Phase Angle Solid State Relay) เป็นต้น โดยสัญญาณทางด้านอินพุต (Input) ที่ใช้ในการควบคุมมีทั้งแรงดันไฟกระแสตรง (DC) และแรงดันไฟกระแสสลับ (AC) เพื่อใช้งานกับ Load ประเภท Resistive เช่น ฮีตเตอร์, หลอดไฟ หรือ Inductive เช่น มอเตอร์ เป็นต้น

     Solid State Relay โซลิดสเตจรีเลย์ (SSR) ที่นำมาใช้งานในการควบคุม Load ดังกล่าว ต้องนำมาต่อร่วมกับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) และเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) เพื่อควบคุมอุณหภูมิความร้อนของฮีตเตอร์ (Heater) หรือการทำงานของมอเตอร์ เป็นต้น ซึ่งในการควบคุมที่ใช้งานโดยทั่วไป มี 2 แบบ คือ
        1. ลักษณะการควบคุมแบบ ON-OFF
        2. ลักษณะการควบคุมแบบปรับค่าได้ (เร่ง-หรี่) โดยในหัวข้อนี้เราจะมาดูถึงความแตกต่างระหว่างโซลิดสเตจรีเลย์ปรับค่าได้ (Phase Angle Solid State Relay) กับ โซลิดสเตจรีเลย์ (Solid State Relay) ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร? ดังนี้

     เริ่มจากการวงจรต่อใช้งานและสัญญาณเอาต์พุตของ Phase Angle Solid State Relay (ดังรูป)

     Phase Angle Solid State Relay โซลิดสเตจรีเลย์ปรับค่าได้ (เร่ง-หรี่) เป็นโซลิดสเตจรีเลย์ที่ทำงานโดยการควบคุมมุมเฟสของสัญญาณ Sine Wave ทำให้กำลังไฟของโหลดมีการเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณอินพุตที่เข้ามา เหมาะกับงานที่ต้องการความละเอียดในการควบคุม เช่น ความสว่างของหลอดไฟ, ความร้อนของฮีตเตอร์หรือควบคุมความเร็วของมอเตอร์ เป็นต้น โดยสามารถต่อร่วมกับ POT ที่เป็นโวลลุ่ม (R-Volume) เพื่อใช้ในการปรับค่าได้ (ในกรณีที่อินพุตเป็นแบบ Resistance) โดย Phase Angle Solid State Relay หรือโซลิดสเตจรีเลย์ปรับค่าได้นั้น มีทั้งแบบ 1 Phase และ 3 Phase ให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม

     ต่อมาเป็นวงจรการต่อใช้งานและสัญญาณเอาต์พุตของ Solid State Relay (ดังรูป)

     Solid State Relay (SSR) โซลิดสเตจรีเลย์ เป็นรีเลย์ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ ไม่ใช้หน้าสัมผัส (Contact) ในการตัด-ต่อ โดยใช้เทคโนโลยีของเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ที่ไม่มีส่วนเคลื่อนที่ จึงไม่มีเสียงรบกวนในขณะเวลาตัด-ต่อของหน้าสัมผัส (Contact) และไม่เกิดการ Arc ทำให้มีประสิทธิภาพและอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยสามารถใช้ทดแทน Magnetic Contactor ได้ เหมาะกับงานที่มีการ ON/OFF บ่อย ๆ มีให้เลือกทั้งแบบที่ใช้กับ Resistive Load เช่น Heater, หลอดไฟ และ Inductive Load เช่น Motor เป็นต้น Solid State Relay (SSR) มีทั้งแบบ 1 Phase และ 3 Phase ให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม

     และเพื่อทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง Phase Angle Solid State Relay (โซลิดสเตจรีเลย์ปรับค่าได้) กับ Solid State Relay ได้ง่ายยิ่งขึ้น และสามารถเลือกนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม จึงอธิบายข้อมูลได้ดังตารางนี้

     ข้อแตกต่างของ Phase Angle Solid State Relay (โซลิดสเตจรีเลย์ปรับค่าได้) กับ Solid State Relay

Phase Angle Solid State Relay Solid State Relay
1. อินพุตเป็นแบบสัญญาณอนาล็อก 4-20mA หรือ Resistance (Ohm) สามารถปรับ เร่ง-หรี่ (Linear) ทำให้การควบคุม Load  มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น
2. เหมาะกับงานควบคุมความสว่างของหลอดไฟ, ปรับอุณหภูมิความร้อนของฮีตเตอร์หรือควบคุมความเร็วของมอเตอร์ เป็นต้น
1. การควบคุมเป็นแบบ ON-OFF (Control Voltage : 4-30VDC และ 90-240VAC)
2. เหมาะกับงานที่มีการ ตัด-ต่อ (ON-OFF) บ่อย ๆ เช่น ควบคุมการจ่ายไฟให้ฮีตเตอร์, การทำงานของมอเตอร์ เป็นต้น โดยสามารถใช้ทดแทน Magnetic Contactor ได้


     ข้อแนะนำการใช้งาน
        • ควรใช้ Heat Sink ระบายความร้อนติดตั้งกับ SSR ด้วยทุกครั้ง และไม่ควรใช้เกิน 40% เช่น ถ้าระบุไว้ 40A ไม่ควรใช้เกิน 16A (40%)
        • ควรใช้ซิลิโคนคอมพราวด์ทาระหว่าง Heat Sink กับตัว SSR เพื่อระบายความร้อนก่อนยึด SSR กับ Heat Sink
        • ควรติดตั้งในที่ที่มีอากาศถ่ายเทความร้อนได้ดีหรือใช้พัดลมช่วยระบายความร้อน
        • ถ้าไม่มี Heat Sink ไม่ควรใช้เกิน 10% ของค่ากระแสสูงสูด
        • ควรใช้ฟิวส์ที่ทนกระแสได้ไม่เกิน 50% ของค่าสูงสุด ต่ออนุกรมไว้กับ SSR เช่นถ้า SSR 40A ควรใช้ฟิวส์ 20A ชนิด FAST BLOW FUSES (ฟิวส์หลอมละลายเร็ว)

     จากที่เราได้ทราบความแตกต่างระหว่าง Phase Angle Solid State Relay หรือโซลิดสเตจรีเลย์ปรับค่าได้ กับ Solid State Relay หรือ SSR กันไปแล้วนั้น ในการเลือกใช้งานอย่างเหมาะสมและเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ Solid State Relay ให้ดียิ่งขึ้น ควรติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์ระบายความร้อน (Heat Sink) เพิ่มด้วย โดยสามารถนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) สำหรับควบคุมการทำงานของฮีตเตอร์ (Heater) ในงานต่าง ๆ เช่น เครื่องฉีดพลาสติก, เครื่องเพ็คกิ้ง, งานอบอาหาร, งานอบสีรถยนต์หรือในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น

     ตัวอย่าง Application ในงานต่าง ๆ

งานอุตสาหกรรมอาหารและยา งานบรรจุภัณฑ์ งานอบ

Amplifler  Digital Temperature Controller PID Control Function Thermocouple/RTD Infrared Heater Heater Break Alarm

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK