Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิในกระบวนการผลิตภายในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิก็มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน คือ เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple), Resistance Temperture Detecor (RTD) หรือ Pt100, Pt500, Pt1000 และ Thermistor ชนิด NTC, PTC เป็นต้น สามารถวัดได้ทั้งของแข็ง ของเหลว หรืออากาศ เป็นต้น แต่โดยส่วนใหญ่จะใช้ฮีตเตอร์ (Heater) ในการทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงค่าหนึ่ง โดยต้องรักษาอุณหภูมิให้คงที่ด้วยโซลิดสเตตรีเลย์ (Solid State Relay : SSR) และทำการควบคุมอุณหภูมิด้วยเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) หรือ PLC จึงได้มีการใช้เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple), อาร์ทีดี (RTD) PT100 หรือ Thermistor ชนิด NTC, PTC ในการวัดอุณหภูมิตามแต่ลักษณะงานนั้น ๆ เช่น กระบวนการอุตสาหกรรมผลิตอาหาร, อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม, อุตสาหกรรมโลหะ, ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมทั่วไป เป็นต้น โดยแบ่งออกได้ 3 รูปแบบ คือ
        1. Thermocouple
        2. Resistance Temperature Detector (RTD) Pt100, Pt500, Pt1000
        3. Thermistor (NTC,PTC)
 
     1. Thermocouple เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) โดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า ทำมาจากโลหะตัวนำที่ต่างชนิดกัน 2 ตัว มาเชื่อมต่อปลายทั้งสองเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดความต่างศักย์ (มีหน่วยเป็น mV) โดยที่ปลายด้านที่เชื่อมติดกัน เรียกว่า "จุดวัดอุณหภูมิ" ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งปล่อยเปิดไว้ เรียกว่า "จุดอ้างอิง" นิยมใช้ในการวัดช่วงอุณหภูมิปานกลางถึงช่วงอุณหภูมิที่สูง ขึ้นอยู่กับชนิดของเทอร์โมคัปเปิล(ดังรูป)

รูปแสดงสัญลักษณ์โลหะตัวนำที่ต่างชนิดกัน 2 ชนิด ของเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ Thermocouple
 
     2. Resistance Temperature Detector (RTD) เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ที่ให้ค่าการวัดที่ละเอียดและมีความแม่นยำสูงกว่าเทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) นิยมใช้ในการวัดช่วงอุณหภูมิต่ำถึงปานกลาง โดยที่อุณหภูมิ 0 ํC ค่าความต้านทานของ RTD จะมีค่าเป็น 100, 500 และ 1000 โอห์ม ตามลำดับ มักนิยมเลือกใช้งาน Pt100 ในงานที่ต้องการความละเอียด ส่วน Pt500 และ Pt1000 จะเลือกใช้ในงานที่ต้องการความละเอียดที่มากขึ้น (ดังรูป)

รูปแสดงสัญลักษณ์และรูปแบบของเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ Rtd (Pt100) แบบ 3 สาย
 
     3. Thermistor เป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิชนิดความต้านทาน (Resistance) โดยค่าความต้านทานจะเปลี่ยนแปลงเมื่อได้รับความร้อน โดยทั่วไปจะมีย่านการใช้งาน -30  ํC ถึง 130  ํC และมีค่าความต้านทาน เช่น 1K, 2K, 10K เป็นต้น นิยมใช้กับงานตู้แช่แข็ง ตู้เย็น ตู้น้ำแข็ง เป็นต้น แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ (ดังรูป)
        3.1 Positive Temperature Comitial (PTC) คือ เมื่อได้รับความร้อนจะทำให้มีค่าความต้านทานสูงขึ้น
        3.2 Negative Temperature Comitial (NTC) คือ เมื่อได้รับความจะทำให้มีค่าความต้านทานจะต่ำลง

รูปแสดงสัญลักษณ์และรูปแบบของเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ Thermistor ชนิด NTC, PTC
 
     จากที่ได้ทราบถึงคุณสมบัติของ Thermocouple, RTD, Thermistor (NTC, PTC), เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ทั้ง 3 ชนิด กันไปแล้วนั้น โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิแบบ Rtd และ Thermistor (NTC, PTC) เนื่องจากเป็นเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ชนิดที่มีสัญญาณทางด้านเอาท์พุตเป็นค่าความต้านทาน (Resistance) และสามารถวัดค่าของอุณหภูมิที่ติดลบได้ ในหัวข้อ การเลือกใช้ RTD และ Thermistor (NTC, PTC) ให้เหมาะสมอย่างไร? ซึ่งอธิบายข้อแตกต่างของการเลือกใช้เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิชนิด Rtd หรือ Thermistor (NTC, PTC) ให้เหมาะสม ดังตาราง
 
RTD (Pt100, Pt500, Pt1000) Thermistor (NTC, PTC)
 1. วัดค่าอุณหภูมิได้ละเอียดและแม่นยำสูง
 2. วัดค่าอุณหภูมิได้ตั้งแต่ -200  ํC ถึง 600  ํC
 3. นิยมใช้กับงานอาหาร, ยา, เครื่องมือทางการแพทย์
 4. ราคาสูง แต่สามารถเลือกใช้งานได้หลากหลายงาน
 5. มีอุปกรณ์รองรับในการใช้งานหลากหลาย เช่น Temperature Controller, PLC เป็นต้น
 1. วัดอุณหภูมิย่านต่ำ ๆ ที่ไม่ต้องการความละเอียดมาก
 2. วัดค่าอุณหภูมิได้ตั้งแต่ -30  ํC ถึง 130  ํC
 3. นิยมใช้กับงานเครื่องแช่/ตู้เย็น (NTC)
 4. นิยมใช้กับงานควบคุมการทำงานของพัดลมในการระบายความร้อนในตู้คอนโทรล (PTC)
 
 
     สรุปเพิ่มเติมจากข้อมูลในตาราง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ ชนิด Rtd และ Thermistor (NTC, PTC) นำมาใช้งานให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ดังนี้
        • Rtd (Pt100) เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดและแม่นยำสูงในการวัดอุณหภูมิของงาน เช่น อุตสาหกรรมอาหารและยา เป็นต้น
        • Thermistor (NTC, PTC) โดยส่วนมากจะมีค่าความต้านทานที่ 1K, 2K หรือ 10K เป็นต้น สามารถใช้ร่วมกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิ รุ่น DEF-01 และ DEF-03N สำหรับตู้แช่, เครื่องทำความเย็น หรือระบบควบคุมความเย็นได้
 
     การประยุกต์ใช้งานเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) RTD
 
เครื่องจักรอาหาร/Frozen ให้ความร้อนกับของเหลว
ในกระบวนการผลิตอาหาร/ยา
เครื่องมือแพทย์/ผลิตเครื่องสำอาง
 
     การประยุกต์ใช้งานเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) Thermistor
 
ตู้เย็น/ตู้แช่ ควบคุมการทำงานของพัดลมในตู้คอนโทรล เครื่องผลิตน้ำแข็ง
 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK