Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     ปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องมือวัดที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermoocuple, Pt100), อุปกรณ์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ (Humidity & Temperature Transmitter), อุปกรณ์ตรวจจับระดับของเหลว (Level Sensor, Level Switch), อุปกรณ์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter), เซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ-ชิ้นงาน (Photoelectric Sensor, Proximity Switch), เอ็นโค้ดเดอร์ (Encoder), อุปกรณ์แปลงสัญญาณ (Transmitter) และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ เหล่านี้ มีรูปแบบสัญญาณมาตรฐาน คือ รูปแบบสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) และสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) เพื่อเป็นสัญญาณทางด้านอินพุต (Input) / เอาต์พุต (Output) ให้กับเครื่องแสดงผล (Indicator), เครื่องนับจำนวน (Counter), เครื่องควบคุม (Controller), เครื่องบันทึก (Recorder) หรือ พีแอลซี (PLC) เป็นต้น
 
     แต่ในวันนี้เราจะมาพูดถึงรูปแบบสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) และสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) ที่เป็นสัญญาณมาตรฐานทางด้านอินพุต (Input) ให้กับพีแอลซี (PLC, Programmable Logic Controller) โดยเฉพาะเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานของ Solution ต่าง ๆ ในระบบอุตสาหกรรมยุค 4.0 ในหัวข้อ ความแตกต่างระหว่างสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) และอนาล็อก (Analog Signal) อินพุต (Input) ที่ใช้ร่วมกับ PLC โดยมีความแตกต่างกันดังนี้
 
     สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) หมายถึง สัญญาณในรูปแบบของคลื่นต่อเนื่อง หรือ Sine Wave ซึ่งมีความถี่และความเข้มของสัญญาณต่างกัน มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง โดยคุณสมบัติเด่นของสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) คือ สามารถส่งสัญญาณได้ในระยะไกล สามารถพบเห็นการใช้สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) ทั่วไปในงานภาคอุตสาหกรรมร่วมกับอุปกรณ์ PLC โดย PLC จะสามารถรับอินพุตประเภทสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) เช่น 4-20 mA, 0-20mA, 0-10VDC เป็นต้น (ดังรูป)

รูปแบบของคลื่นต่อเนื่อง (Sine Wave)
 
     ตัวอย่าง : รูปแบบการใช้งานของสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) โดยการนำเอาสัญญาณทางด้านเอาต์พุต (Output) จากอุปกรณ์วัดแรงดัน (Pressure Transmitter) ต่อเป็นอินพุต (Input) ให้กับ PLC+HMI เพื่อควบคุมระดับของเหลวภายในถัง (ดังรูป)
ตัวอย่าง : แสดงการรับสัญญาณอนาล็อก Input 4-20mA จาก Pressure Transmitter โดยใช้ PLC+HMI ควบคุมการตัด-ต่อ การทำงานของปั๊มน้ำ เพื่อควบคุมระดับของเหลวภายในถังให้อยู่ในระดับมาตรฐานและสามารถ Monitoring ค่าแบบ Real Time รวมทั้ง Record และสามารถดูค่าผ่าน Smart Phone ได้


     สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) มีขนาดแน่นอนแต่อาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกัน โดยปกติมักแทนค่าด้วยระดับแรงดันที่แสดงสถานะเป็น "0" และ "1"  ถ้าสูงเกินค่าที่ตั้งไว้สถานะเป็น "1" ถ้าต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้สถานะเป็น "0" โดยสามารถพบเห็นการใช้สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) ทั่วไปในงานภาคอุตสาหกรรมร่วมกับอุปกรณ์ PLC โดย PLC จะสามารถรับอินพุต (Input) ประเภทสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) เช่น Open Collector NPN, PNP, ON-OFF, Logic, Switch, Relay เป็นต้น (ดังรูป)


รูปแบบของคลื่นแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data)
 
     ตัวอย่าง : รูปแบบการใช้งานของสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) โดยการนำเอาสัญญาณทางด้านเอาต์พุต (Output) ชนิด NPN จากเซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะ (Proximity Switch) ต่อเป็นอินพุต (Input) ให้กับ PLC+HMI เพื่อควบคุมการตัด-ต่อ มอเตอร์ป้อนชิ้นงานเข้าราง Conveyor (ดังรูป)
ตัวอย่าง : แสดงการรับสัญญาณดิจิตอล Input ประเภท NPN จาก Proximity Switch โดยใช้ PLC+HMI ควบคุมการตัด-ต่อ มอเตอร์ป้อนชิ้นงานเข้าราง Conveyor เมื่อจำนวนสินค้าครบตามความต้องการและสามารถ Monitoring ค่าแบบ Real Time รวมทั้ง Record และสามารถดูค่าผ่าน Smart Phone ได้


     สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) และสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) สามารถนำมาใช้เป็นสัญญาณอินพุต (Input) ของอุปกรณ์เครื่องมือวัดต่าง ๆ หรือ PLC+HMI ที่เราได้กล่าวมาข้างต้นได้ ขึ้นอยู่กับประเภทการรับสัญญาณของอุปกรณ์นั้น ๆ หรือความเหมาะสมกับหน้างานในการเลือกใช้สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) หรือ สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) ทั้งนี้สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) และสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นเดียวกัน โดยสรุปได้ดังนี้

ข้อดีของสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal)
ข้อเสียของสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal)
• สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) ควบคุมได้ง่ายกว่าสัญญาณดิจิตอล
• สัญญาณมีความยืดหยุ่นกว่าแบบดิจิตอล
• สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) จะถูกรบกวนได้ง่าย (Noise) หากถูกรบกวนมากก็อาจส่งผลต่อข้อมูลให้เกิดความผิดพลาดได้
• ความผิดพลาดมากกว่าสัญญาณดิจิตอล
 
ข้อดีของสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) ข้อเสียของสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal)
• มีความทนทานต่อสัญญาณรบกวนได้ดีกว่า
• สามารถจำแนกระหว่างข้อมูลกับสัญญาณรบกวนได้ง่ายกว่าแบบอนาล็อก และสัญญาณดังกล่าวยังคงรูปจำแนกความเป็น 0 หรือ 1 ได้
• ระยะทางการส่งสัญญาณข้อมูลจะใกล้กว่าสัญญาณอนาล็อก หากต้องการยืดระยะทางในการส่งข้อมูลดิจิตอลต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ (Repeater)
 


     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC Unitronics

ชุดควบคุมน้ำยางมะตอย ตัวควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์แบบอนาล็อก (Analog)


Unistream Vision Programmable Logic Control Switching Power Supply Proximity Switch Photoelectric Sensor

 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK