Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     PID Control เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ในเครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล (Digital Temperature Controller) โดยการควบคุมแบบ PID Control เป็นระบบควบคุมแบบป้อนกลับ (Feedback Control System) ที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมีการควบคุมรูปแบบ ON-OFF, Fuzzy, Auto-Tuning เป็นต้น ในแต่ละรูปแบบก็จะให้ผลที่แตกต่างกันออกไป โดยเป็นระบบการควบคุมและประมวลผลภายในของเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) ซึ่งเราได้นำเสนอข้อมูลกันไปแล้วในหัวข้อ PID Control กับ On/Off Control ของ Temperature Controller ต่างกันอย่างไร? โดยรูปแบบการควบคุมที่กล่าวมานั้นเหมาะสำหรับงานอุตสาหกรรมที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิได้หลายค่าในกระบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหรรมพลาสติก อุตสาหรรมเคมี ฯลฯ
 
     การวัดและควบคุมอุณหภูมิที่รับค่าอินพุตจากเซ็นเซอร์วัดอุณภูมิ Thermocouple, RTD Pt100, NTC, PTC โดยเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temp Control) ที่มีระบบการควบคุมแบบ PID แล้ว นอกจากนี้ยังมีวิธีการวัดและควบคุมอุณหภูมิโดยใช้ PLC+HMI โดยการเขียนโปรแกรมป้อนคำสั่ง (Ladder) และสามารถแสดงผลในรูปแบบกราฟฟิคได้อีกด้วย
 
     โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำในหัวข้อ “ควบคุมอุณหภูมิ (PID Control) และแสดงผลด้วย PLC+HMI” ว่ามีหลักการอย่างไร? และยกตัวอย่างการเขียนคำสั่งโปรแกรมอย่างไร? พอสังเขปเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ ดังนี้
 
     การควบคุมอุณหภูมิโดยใช้ PLC+HMI นั้น เราจะแนะนำฟังก์ชั่นในการควบคุมระบบแบบ Closed Loop ซึ่งเป็นระบบควบคุมแบบป้อนกลับ (Feedback Control) คือ ระบบที่มีการป้อนอินพุต (Input) ซึ่งอาจอยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า (Electrical Signal) เข้าที่ระบบ (System) และมีอุปกรณ์เครื่องมือวัด (Measurement) นำสัญญาณเอาต์พุตป้อนกลับสู่ระบบเพื่อเปรียบเทียบกับผลตอบสนองของสัญญาณเอาต์พุต (Output Signal) ที่ต้องการ โดยยกตัวอย่าง Vision PLC รุ่น V1040 ยี่ห้อ UNITRONICS ดังรูป
     การทำงานของ PLC+HMI (รุ่น V1040 ยี่ห้อ UNITRONICS) ดังรูป คือ จะมีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple, RTD, NTC, PTC) ทำหน้าที่วัดอุณหภูมิส่งมาที่ PLC+HMI (รุ่น V1040 ยี่ห้อ UNITRONICS) เพื่อทำการประมวลผลตามค่าและคำสั่งที่ทางโปรแกรมเมอร์ตั้งค่าไว้ หากอุณหภูมิไม่ได้ตามที่ตั้งไว้ PLC+HMI (รุ่น V1040 ยี่ห้อ UNITRONICS) จะจ่ายแรงดันไปให้ฮีตเตอร์ (Heater) เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้ได้ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ
 
     โดยหลักการในการเขียนคำสั่งเพื่อให้ PLC+HMI (รุ่น V1040 ยี่ห้อ UNITRONICS) ประมวลผลจะใช้ภาษา Ladder ในการโปรแกรม PID CONTROL โดยขอยกตัวอย่างการเขียนโปรแกรม PID CONTROL ดังนี้

ตัวอย่างการเขียนโปรแกรม PID CONTROL
 
     จากรูปจะเป็นตัวอย่างในการเขียน PID AUTOTUNE โดยเน้นการ Configuration ของ Function PID ซึ่งหลัก ๆ จะประกอบไปด้วย
        • PID Target
        • PID INPUT
        • Proportional Band - Defined in units of 0.1% (P gain)
        • Integral Time - Defined in units of 1 second (I gain)
        • Derivative Time - Defined in units of 1 second (D gain)
        • Sample Time - Defined in units of 10 mSec Recommended value = 10 to 100 (0.1 to 1 sec)
        • Input Range - Process Value Low limit
        • Input Range - Process Value High limit
        • Output Range - Control Value Low limit
        • Control Value - The PID output
 
     เปรียบเทียบการควบคุมอุณหภูมิ PID CONTROL ระหว่างเครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล (Digital Temperature Controller) กับ พีแอลซี PLC+HMI (Programmable Logic Control+Human Machine Interface) ดังตาราง
 
เครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล
(Digital Temperature Controller)
PLC+HMI พีแอลซี (Programmable Logic Control+
Human Machine Interface)
• เหมาะกับการควบคุมอุณหภูมิที่ติดลบจนถึงอุณหภูมิที่สูง
• แบบ Digital Temperature Controller มี 7-Segment 2 แถว แสดงค่าอุณหภูมิที่วัดได้ และค่า Set Point ที่ตั้งไว้
• ไม่มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิในตัว (ทำให้ต้องหาซื้อเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิเพิ่ม)
• เซ็นเซอร์ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ระหว่างหัววัดอุณหภูมิหรือสัญญาณที่เป็น 4-20 mA
• มีรูปแบบการ Control ที่หลากหลาย เช่น ON-OFF Control, PID Control, Fuzzy Logic Control
• การตั้งค่า Set Point ซับซ้อน เนื่องจากเหมาะกับงานที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิที่มีความแม่นยำและความละเอียดสูง
• Output มีให้เลือกแบบ Relay, SSR, 4-20mA, 0-10VDC
• การติดตั้งแบบ Panel
• มีหน้าจอให้เลือกหลากหลาย LCD, Touch Screen (สีและขาวดำ)
• สามารถกำหนดรูปแบบการแสดงผลแบบหน้าจอ โดยออกแบบข้อความและกราฟฟิกการแสดงผลได้
• สามารถรับ Input ได้มากว่า 1 Input
• สามารถเขียนคำสั่งเงื่อนไขในการประมวลผลได้ตามความต้องการ
 
 
 
 
 
 
 
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน PLC
 
ระบบควบคุมความเร็วมอเตอร์ เครื่องบรรจุแป้งใส่ถุง
 
โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK