Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     PLC (Programmable Logic Controller) พีแอลซี อุปกรณ์สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องจักรหรือระบบต่าง ๆ แบบอัตโนมัติ สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ Input/Output ได้โดยตรง โดยสามารถเขียนโปรแกรมสร้าง Function และเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อควบคุมการทำงานได้ตามความต้องการ
 
     PLC (Programmable Logic Controller) พีแอลซี สามารถออกแบบโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบให้เป็นไปตามเงื่อนไขได้หลากหลาย
 
     ดังนั้น การออกแบบโปรแกรมให้เป็นระบบและมีโครงสร้างของโปรแกรมที่ดี ทำความเข้าใจได้ง่าย จะทำให้ระบบควบคุมอัตโนมัติมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด ไม่มีความผิดพลาดในการทำงาน และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังได้ง่าย รวดเร็ว ที่สำคัญประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอีกด้วย โดยขอยกตัวอย่าง PLC+MHI ยี่ห้อ Unitronics ดังนี้
 
     PLC Unitronics เป็น PLC ที่มีทั้งตัว PLC และ HMI (PLC+HMI) อยู่ในตัวเดียวกัน และยังมีหน้าจอแสดงผลแบบต่าง ๆ ให้เลือกอีกหลายรูปแบบ เช่น หน้าจอสี, หน้าจอ LCD, หน้าจอแบบปุ่มกด (Keypad) และหน้าจอแบบ Touch Screen เป็นต้น (ดังรูป)
 
     ตัวอย่าง PLC+MHI ยี่ห้อ Unitronics
 
UniStream PLC Vision Series PLC Samba Series PLC Jazz & M91 PLC
UniStream PLC เน้นกับงานที่ใช้กราฟิก หน้าจอแบบ Touch Screen Vision PLC สามารถเก็บข้อมูล (Data logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen Samba PLC สามารถเก็บข้อมูล (Data logger) ได้ภายในตัวของ PLC เลย หน้าจอแบบ Touch Screen (ราคาถูก) Jazz and M91 PLC มีขนาดเล็กกะทัดรัด หน้าจอแบบ LCD

     จากตัวอย่าง PLC+MHI ยี่ห้อ Unitronics ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการนำมาใช้งานในการควบคุม Solution ต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทั้งระบบในงานอุตสาหกรรม เนื่องจาก PLC+HMI Unitronics มี Function Block และ Ladder ที่ง่ายต่อการเขียนโปรแกรม (ดังตัวอย่าง)
 
LD (Ladder Diagram) FBD (Function Block Diagram)


     จากตัวอย่าง Function Block และ Ladder สำหรับการเขียนโปรแกรมแล้ว และในบทความนี้เราจะแนะนำทุกท่านเกี่ยวกับตัวอย่างการออกแบบโปรแกรมควบคุมการทำงานของลิฟต์ ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในภาคงานอุตสาหกรรมและงานด้านที่พักอาศัย, คอนโดมิเนียม, อาคารสำนักงาน ในหัวข้อ “แนะนำการเขียน PLC Ladder ควบคุมลิฟต์ด้วย PLC+HMI Unitronics” ว่ามีขั้นตอนการเขียนคำสั่งอย่างไรบ้าง? โดยขั้นตอนแรกสำหรับผู้เริ่มรู้จักการการทำงานของระบบลิฟต์ โดยตัวอย่างจะเป็นการออกแบบลิฟต์ขนส่งสินค้า 2 ชั้น (ดังนี้)

     ตัวอย่าง Diagram การควบคุมลิฟต์
     จากวงจรการควบคุมลิฟต์ดังกล่าวสามารถนำมาเขียน Ladder PLC เพื่อใช้เป็นคำสั่งในการควบคุมลิฟต์ดังนี้
 
     ตัวอย่าง Ladder PLC
 
     ยกตัวอย่างการใช้ Ladder PLC and Function Linear จากรูปด้านบนจะเป็นตัวอย่างลิฟต์ขนสินค้า จำนวน 2 ชั้น โดยติดตั้ง Load cell เพื่อแจ้งเตือนเมื่อน้ำหนักเกิน โดยการเขียนจะเป็นการเขียนแบบง่าย โดยเมื่อกดปุ่มสตาร์ทจะเช็คตำแหน่งด้วย Limit แล้วสั่งให้มอเตอร์หมุนแบบ Forward จนถึงตำแหน่งและสั่งหยุดมอเตอร์ โดยมีการเขียนรับสัญญาณจากโหลดเซลล์โดยใช้ Function Linear ในการรับสัญญาณ 4-20 mA มาแปลงเป็นค่าน้ำหนักในการแจ้งเตือนเมื่อมีน้ำหนักมากกว่า 200 Kg.
 
     ข้อดีของการใช้ Function Block Ladder PLC ในการควบคุมลิฟต์
     1. สามารถประยุกต์ใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ให้มากขึ้น
     2. กรณีการควบคุมขนาดเล็ก ง่ายต่อการออกแบบ
     3. มีหน้าจอแสดงค่าน้ำหนัก แต่ตั้งค่าได้
     4. ง่ายต่อการซ่อมบำรุงตรวจเช็ค เนื่องจากออกแบบโดยใช้ PLC
 
     การประยุกต์ใช้งาน
 
เครื่องฉีดรองเท้าพียู เครื่องทดสอบการเดินเรือ ระบบบำบัดน้ำเสีย

 

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK