Thailand Web Stat Truehits.net
Image Alternative text

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK

     Temperature Controller หรือ เครื่องควบคุมอุณหภูมิ คือ อุปกรณ์ที่รับค่า (Input) สัญญาณจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) เช่น Thermocouple, RTD (PT100), NTC, PTC หรือรูปแบบสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน 4-20mA, 0-10VDC เป็นต้น แล้วส่งข้อมูลที่วัดค่าได้ไปประมวลผล (Process) แสดงผลที่หน้าจอ (Display) พร้อมทั้งส่งเอาต์พุต (Output) ออกไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การปรับค่าอุณหภูมิของ Heater ให้เพิ่มขึ้นหรือลดลง ด้วยกระบวนการควบคุมแบบ PID Control, ON-OFF Control, Fuzzy Logic Control เป็นต้น โดย Temperature Controller หรือเครื่องควบคุมอุณหภูมิ สามารถแบ่งตามประเภทของ Temperature Controller มี 2 แบบหลัก ๆ ดังนี้
 
 
Analog Temperature Controller Digital Temperature Controller
เครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบอนาล็อก เครื่องควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล
 
     หลักการทำงานเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) ทำหน้าที่ในการประมวลผลสัญญาณอินพุตจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Thermocouple, RTD, NTC/PTC) หรือสัญญาณอนาล็อกมาตรฐาน (4-20mA, 0-10VDC) และทำการสั่งงานเอาต์พุต (Relay, SSR, 4-20mA, 0-10VDC) เพื่อไปควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Heater, Solid State Relay, Motor, Vale, Pump Water เป็นต้น ตามเงื่อนไขที่ทำการตั้งค่าไว้ โดยกระบวนการควบคุมนั้นมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ เช่น ON-OFF, PID, Fuzzy เป็นต้น
 
     จากข้อมูลข้างต้น ในวันนี้ผู้บรรยายจะขอแนะนำวิธีการติดตั้ง Temperature Controller อย่างถูกวิธี ควรทำอย่างไรและมีปัจจัยอะไรบ้างในการติดตั้ง เพื่อทำให้ค่าที่ได้ไม่เพี้ยนและมีความแม่นยำในการ Control อุณหภูมิ ในหัวข้อ “5 วิธี ติดตั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) ที่ทำให้ค่าอุณหภูมิเที่ยงตรงและแม่นยำ” โดยมีปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
 
     ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการใช้งานเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) ได้แก่
     • ตำแหน่งของตัวเซ็นเซอร์ที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิ
     • ความเร็วการตอบสนองต่ออุณหภูมิของตัวเซ็นเซอร์
     • การเดินสายสัญญาณและชนิดของสายสัญญาณของตัวเซ็นเซอร์
 
     และส่วนอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งรายละเอียดต่อจากนี้จะเป็นการแนะนำถึงปัจจัยที่ควรคำนึงถึงสำหรับการติดตั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) อย่างถูกวิธี ที่ทำให้ค่าอุณหภูมิเที่ยงตรงและแม่นยำ ทางผู้บรรยายขอแนะนำ 5 วิธี ดังนี้
 
     1. ตำแหน่งของตัวเซ็นเซอร์ที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ระยะห่างของตัวเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) ไม่ควรเกิน 15 เมตร เนื่องจากจะเกิดค่า Error ขึ้น ทำให้ค่าอุณหภูมิไม่เที่ยงตรง แต่ในฟังก์ชั่นของเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) สามารถตั้งค่าชดเชยอุณหภูมิได้ หรือในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงระยะมากกว่า 15 เมตรได้ ผู้บรรยายขอแนะนำให้ใช้ตัวแปลงสัญญาณที่มี Analog Output ใช้งานร่วมด้วย อาทิ Temperature Signal Transmitter เป็นต้น
 
     ตัวอย่างระยะการติดตั้งของตัวเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิกับเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) รุ่น TMP-48C ยี่ห้อ Primus กับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ

ตัวอย่างระยะการติดตั้งเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิร่วมกับ Temperature Controller
 
     2. ความเร็วการตอบสนอง (Sampling Time) ต่ออุณหภูมิของเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) กับตัวเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) ความเร็วการตอบสนองต่ออุณหภูมิเป็นสิ่งสำคัญในการรับสัญญาณระหว่างเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) กับตัวเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ โดยสามารถพิจารณาได้จากข้อมูลทางเทคนิคดังตัวอย่างดังนี้
 
     ตัวอย่างตารางข้อมูลทางเทคนิคเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) รุ่น TMP-48C ยี่ห้อ Primus

ข้อมูลทางเทคนิค Temperature Controller รุ่น TMP-48C ยี่ห้อ Primus
 
     3. การเดินสายสัญญาณและชนิดของสายสัญญาณของตัวเซ็นเซอร์ (Temperature Sensor Wire) การเดินสายสัญญาณและการเลือกชนิดของสายเซ็นเซอร์เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง โดยส่งผลต่อระยะทางและเพื่อให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมและหน้างาน โดยผู้ใช้สามารถพิจารณาเลือกชนิดของสายให้เหมาะสม (ตัวอย่างสาย Thermocouple Type K, J) ดังนี้
 

ขนาดและชนิดสายเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor Wire)
 
     4. การเจาะรูยึด (Panel Cut Out) เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) การเจาะรูยึดเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) มีความสำคัญมาก เนื่องจากจะทำให้โครงสร้างของเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) ไม่บิดเบี้ยว ทนต่อแรงสั่นสะเทือน และสามารถระบายความร้อนภายในตัวได้ดี สะดวกต่อการเดินสายไฟและซ่อมบำรุง โดยปกติแล้ว Panel Cut Out นั้นจะถูกระบุไว้ที่คู่มือของตัวควบคุมอุณหภูมิอยู่แล้ว
 
     ตัวอย่างเจาะรูยึด (Panel Cut Out) เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) รุ่น TMP-48C ยี่ห้อ Primus

ตัวอย่างขนาด Diamension การเจาะรูยึด (Panel Cut Out) ของ Temperature Controller รุ่น TMP-48C ยี่ห้อ Primus
 
     5. สัญลักษณ์ (Symbol) Diagram การต่อใช้งานที่เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) สัญลักษณ์ (Symbol) ที่ตัวเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ผู้ใช้งาน Wiring สายได้ถูกต้องโดยไม่ต่อเข้าขั้วผิด ทำให้ไม่เกิดการผิดพลาดขณะทำงานหรือการอ่านค่าผิดเพี้ยน เป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้กับคอนโทรลเลอร์ เช่น การลัดวงจร หรือภาครับอินพุตเสียหาย ซึ่งเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นได้
 
     ตัวอย่างสัญลักษณ์และ Diagram การต่อใช้งานที่เครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) Symbol TMP-48C ยี่ห้อ Primus

สัญลักษณ์และ Diagram การต่อใช้งาน Temperature Controller รุ่น TMP-48C ยี่ห้อ Primus
 
     ข้อดีของการติดตั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller)
     • การควบคุมอุณหภูมิและการแสดงผลมีความถูกต้องและแม่นยำ
     • ประหยัดเวลาในการซ่อมบำรุง
     • ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ราคาถูก
 
     ตัวอย่างการต่อใช้งานเครื่องควบคุมอุณหภูมิ (Temperature Controller) รุ่น TMP-48C ยี่ห้อ Primus
 
     หลักการทำงาน Temperature Controller คือ Controller จะรับ Input จากอุปกรณ์ประเภทเซ็นเซอร์ เช่น Thermocouple, Pt100 ที่ตรวจวัดอุณหภูมิ และทำการเปรียบเทียบกับอุณหภูมิที่ผู้ใช้งานได้ตั้งไว้ Set Value (SV) และประมวลผล (Process) ตามฟังชันก์ Control ที่ตั้งไว้ (PID, ON-OFF) แล้วจึงส่งสัญญาณ Output ไปยังอุปกรณ์ Solid Stat Relay (SSR) ที่ใช้ในการตัด-ต่อ เพื่อควบคุมฮีตเตอร์ (Heater) ให้ได้อุณหภูมิตามที่ต้องการ
 
     ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
 
เครื่องฉีดพลาสติก เครื่องบรรจุ เครื่องจักรอาหาร

โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 
กรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ CLICK